The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

B4CC14AA-2A36-4A8C-983E-53591FA781B6

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by bbkrblue432, 2022-03-02 01:43:19

E-book

B4CC14AA-2A36-4A8C-983E-53591FA781B6

การใช้นวัตกรรมเพื่อกระตุ้น
และส่งเสริมการเรียนรู้

คำนำ

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาหนังสืออืเล็กทรอนิกส์
(E-BOOK) เรื่องใช้นวัตกรรมกระตุ้นเเละส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้
ได้รู้เกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ เพื่อนำไปจัดหนังสือโดย จัดทำโดย
นักศึกษาชั้นปีที่1 คณะศึกษาศาสตร์เเละนวัตกรรมการศึกษาสาขาวิชา
เอกภาษาไทย

ผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อ
ผู้อ่านไม่มากก็น้อย ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือเนื้อหาที่เหมาะสมก็ต้องขอ
อภัยมาณที่นี้

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ 1
2
การใช้นวัตกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ 3
-การสอนแบบไม่แบ่งชั้น 3
4
-แบบเรียนสำเร็จรูป 4
4
-เครื่องช่วยสอน 5

-การสอนเป็นคณะ 6
7
-การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
9
-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 10
ความสำคัญของนวัตกรรมการและเทคโนโลยี 12

สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 13
บทบาทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้นวัตกรรมการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อการเรียนรู้
ฮอร์นไดด์
บรุนเนอร์
การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในเทคโนโลยี
ทางการศึกษาและการสอน
บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้
ในการศึกษา

การใช้นวัตกรรมการศึกษาด้านต่างๆในประเทศไทย 14
15
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้
ในการพัฒนาการเรียนการสอน 15
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
องค์การทางการศึกษา 16
การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การ
ทางการศึกษา

การใช้นวัตกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้

มีนักวิชาการ เช่น ขัณธ์ชัย อธิเกียรติและธนารักษ์สารเถื่อนแก้ว
ได้เสนอว่าการจัดการศึกษา ของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความ
แตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้ อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการ
ศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และ
ความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่
การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็น
เกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนอง - แนวความคิดพื้นฐานนี้
เช่น การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded Sc hool) แบบเรียน
สำเร็จรูป (Programmed Text Book) เครื่องสอน (Teaching
Machine) การสอนเป็นคณะ (Team Teaching) การจัดโรงเรียนใน
โรงเรียน (School within School) เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Comput er Assisted Instruction)

1

การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)

คือการเรียนสำหรับโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก ซึ่งการสอนของครู
จะเป็นการสอนเป็นทีม ไม่ใช่แยกกันสอน จึงทำให้นักเรียนที่เรียน
แบบไม่แบ่งชั้นเรียนตั้งใจเรียนอย่างจริงจังมากกว่า และประสบ
ความสำเร็จได้สูงกว่าระบบโรงเรียนทั่วไป ซึ่งได้ตระหนักในความ
แตกต่างของแต่ละบุคคลแต่การจัดการศึกษาในระบบแบบไม่มีชั้น
เรียนเป็นสิ่งที่ท้าทายมากๆสำหรับนักการศึกษาทั้งหลาย เพราะที่จะ
ทำการเรียนการสอนต้องมีความเข้าใจอย่างจริงจัง การประเมินผล
อุปกรณ์ต่างๆต้องมีเพียงพอและมีคุณภาพ และที่สำคัญการศึกษา
ทั้งหลายต้องเปิดใจยอมรับได้อีกด้วย

2

แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book

คือ ตัวช่วยสอนที่ทำขึ้นแบบสำเร็จรูปโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีครู
มาช่วยสอนคือผู้เรียนสามารถเรียนกับแบบเรียนสำเร็จรูปเลยก็ได้
เพื่อที่จะเป็นการเรียนในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากความแตก
ต่างระหว่างบุคคล

เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine

คือเดิมเครื่องช่วยสอนนี้มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลที่สร้างขึ้น
เพื่อช่วยในการเรียนการสอน เช่น อาจจะมีการเสนอบทเรียน คำ
อธิบาย ตามมาด้วยคำถามคำตอบ วิธีนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถ
เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เครื่องจะช่วยตรวจคำตอบเพื่อวัดความเข้าใจ
นับคะแนน เสนอบทเรียนต่อไปถ้าคะแนนเป็นที่พอใจ ให้ทำแบบ
ฝึกหัดซ้ำถ้า คำตอบยังไม่เป็นที่พอใจ ต่อมา ได้มีผู้นำความคิดใน
เรื่องเครื่องช่วยสอนนี้มาทำเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรียกว่า
CAI หรือ computer-aided instruction ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไป
ได้ไกลมาก โดยเฉพาะวิชาที่ยังเรียนด้วยของจริงไม่ได้ เช่น การขับ
เครื่องบิน เป็นต้น นอกจากนั้น ใช้ทำบทเรียนที่เป็นการทบทวน
หรือเรียนด้วยตัวเองได้ดี คำเครื่องช่วยสอนในปัจจุบันจึงหมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรม CAI ดู computer aided
instruction ประกอบ

3

การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)

คือ เป็นการทำงานร่วมกันของครู ตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกัน
วางแผนการสอน ทำงานร่วมกัน และรับผิดชอบ ในการเรียนการ
สอนนักเรียนกลุ่มเดียวกันครบทั้งกระบวนการ ผู้สอนอาจเลือกวิธี
สอนใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของการเรียน

การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

คือโรงเรียนภายในโรงเรียน คือโรงเรียนสาธารณะขนาด ใหญ่
ที่มีการแบ่งเป็นขนาดเล็ก หลายๆ โรงเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

คือสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้
ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่
ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว
และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่
ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่
สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิด
ความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดี
ของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จาก
การมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ
(FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตก
ต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และ
ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

4

การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)

คือ เป็นการทำงานร่วมกันของครู ตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกัน
วางแผนการสอน ทำงานร่วมกัน และรับผิดชอบ ในการเรียนการ
สอนนักเรียนกลุ่มเดียวกันครบทั้งกระบวนการ ผู้สอนอาจเลือกวิธี
สอนใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของการเรียน

การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

คือโรงเรียนภายในโรงเรียน คือโรงเรียนสาธารณะขนาด ใหญ่
ที่มีการแบ่งเป็นขนาดเล็ก หลายๆ โรงเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

คือสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้
ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่
ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว
และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่
ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่
สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิด
ความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดี
ของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จาก
การมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ
(FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตก
ต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และ
ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

4

ความสำคัญของนวัตกรรมการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของนวัตกรรมการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทางการศึกษา นวัตกรรมการมีความสำคัญต่อการศึกษาหลาย
ประการทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลง
ในทุกด้านอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา
เปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิมเพื่อให้ทันสมัยต่อการ
เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอีกทั้ง
เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมี
ประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึง
จำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อ
แก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน
จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยการผลิต
และการพัฒนาสื่อใหม่ๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้
เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลงการใช้นวัตกรรมาประยุกต์ใน
ระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้
ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียน
รู้ด้วยตนเอง

5

บทบาทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอนมีความหายมากขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวางเรียนได้เร็วขึ้นทำให้ผู้สอนมี
เวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2.เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน
ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารของผู้เรียนการเรียนการ
สอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละ
บุคคลได้ดี
3.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษาตั้งบนรากฐานของวิธี
การทางวิทยาศาสตร์ทำให้จัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4.เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้นการนำ
เทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง
และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆการศึกษา
ในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

6

การใช้นวัตกรรมการและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
การเรียนรู้

การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี (Technology)
ในการจัดการศึกษาคือใช้ ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง2อย่างร่วม
กันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์มา
ใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็มว่า
“InnovationTechnology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและ
เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ขณะนี้ยังไม่มีศัพท์เฉพาะในปัจจุบันถือว่า
เป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้อง นำเอาหลักวิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่ง
ใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่ เป็นInnovation มาใช้ร่วมกันไป
กับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอน ซึ่ง
เป็นTechnologyนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปว่าถึงเวลา
แล้วที่จะต้อง นำ INNOTECH เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการ
ศึกษาการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ใน
การเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 2 ประการ คือ

ดูหน้าต่อไปเลย

7

1.ประสิทธิภาพ(Efficiency)ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้
เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตร
เต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็ม
ความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ
(Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น

2.ประสิทธิผล(Productivity)ในการจัดการเรียนการสอนให้
บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการ
เรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามา
ช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะ
สมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงิน
ประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน

8

ธอร์นไดค์

นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่ง
การเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครู
ไว้2ประการและเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการ
ศึกษาไว้ 5 ประการ ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตาม
แนวของกฎ 2 ประการ คือ

1.ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆที่ควรจะไปด้วยกันให้ได้
ดำเนินไปด้วยกัน

2.ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควร
ให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่
เหมาะสมขึ้นมาได้

9

นอกจากนั้น ธอร์นไดค์ ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยว
กับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้ 5 ประการคือ
• การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
• การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
• การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and
Mentalset)
• คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
• คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม(Socialization)

บรุนเนอร์

นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้มีความสนใจในพัฒนาการของ
มนุษย์เกี่ยวกับความสามารถในการใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็น
เครื่องมือในการขยายความสามารถเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า
อย่างไม่มีความหยุดยั้งท่านผู้ นี้เป็นผู้เสนอวิธีการเรียนรู้ด้วยการ
ค้นพบด้วยตนเอง (DiscoveryLearning)

10

เทคนิคสำคัญในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนของบรุน
เนอร์ ที่ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษาและ
การสอน พอสรุปได้ 4 ประการ คือ

1.ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนนักการศึกษาและ
ครูผู้สอนทั้งหลายจะต้อง ยอมรับว่าการจูงใจผู้เรียนหรือการสร้าง
ความพอใจแก่ผู้เรียนให้เกิดความ รู้สึกอยากเรียนในสถานการณ์
นั้น ๆ เป็นสิ่งสำคัญ

2.จะต้องมีการจัดโครงสร้างของเนื้อหาวิชาให้เป็นลำดับขั้น
ตอน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในอันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิด
มโนคติได้ดีที่สุด

3.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้สอดคล้องกับหลัก
พัฒนาการทางสติปัญหา เช่นควรจะได้รับการสอนในสิ่งที่เป็นรูป
ธรรมแล้วจึงค่อยขยายมโนคตินั้นให้ เกี่ยวกับนามธรรมมากขึ้น

4.การเสริมแรงในระหว่างการสอนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะ
ว่าการเสริมแรงนั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการ
เรียนรู้ของนักเรียนผู้เรียนมาก

11

การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในเทคโนโลยีทางการ
ศึกษาและการสอน

การเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4 ประการ คือ

1.ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขันด้วยความ
พึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้

2.ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลันช่วยกระตุ้นผู้
เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป

3.ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่ง
ความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ

4.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความดับ
ข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ

12

บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการ
ศึกษา จึงแบ่งเป็น 3 ประเภท

คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (computer Applications into
Administration)
คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน (Computer -Managed
Instruction)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction)

วิธีการจัดการศึกษา สามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้ เช่น
การศึกษารายบุคคล การศึกษาเป็นกลุ่ม การศึกษามวลชน
(กิดานันท์ มลิทอง 2536 : 12-13) การศึกษาทางไกล การศึกษา
ระบบเปิด การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาผู้ใหญ่ เป็นต้น ( อุ่นตา
นพคุณ 2523 : 28-29 )
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีการเรียนรู้และหลัก
การแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกัน
อย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยี
ทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการ
สอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อ
ส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุด
ประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้
ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ

13

1.ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความ
พึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้

2.ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้
เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป

3.ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่ง
ความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ

4.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความดับ
ข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย

การใช้นวัตกรรมการศึกษาด้านต่างๆในประเทศไทย

การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูล (Database
Management) ขององค์การทางการศึกษาจะก่อให้เกิดผลดีหลาย
ประการ เช่น ได้ฐานข้อมูลที่มีความเบ็ดเสร็จในตัวเอง มีการแยก
การจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำการใด ๆ ที่เกี่ยวกับ
การบรรจุรวบรวมข้อมูลอีก ใช้ได้กับผู้ใช้บริการหลายกลุ่มและลด
ความซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะสามารถใช้ร่วมกันได้ ขจัดความไม่ตรง
กันของข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลและควบคุมการใช้ข้อมูลได้ใน
เวลาเดียวกัน สามารถกำหนดมาตรการในการควบคุมและ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ มีการกำหนดมาตรฐานข้อมูลไว้ตายตัว
เป็นแนวเดียวกันและทำให้ข้อมูลทุกด้านมีความสัมพันธ์กัน

14

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการ
พัฒนาการเรียนการสอน

วิธีการจัดการศึกษา สามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้ เช่น
การศึกษารายบุคคล การศึกษาเป็นกลุ่ม การศึกษามวลชน
(กิดานันท์ มลิทอง 2536 : 12-13) การศึกษาทางไกล การศึกษา
ระบบเปิด การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาผู้ใหญ่ เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การ
ทางการศึกษา

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการ
ศึกษาผู้บริหารองค์การทางการศึกษามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานสาขา
ต่าง ๆ หลายด้าน เช่น งานด้านงบประมาณและการเงิน งาน
บุคลากร งานอาคารสถานที่ งานโปรแกรมการศึกษาและงานนิสิต
นักศึกษา เป็นต้น งานเหล่านี้ยังแบ่งเป็นระบบงานย่อย ๆ อีก
มากมาย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศหรือข่าวสาร
ข้อมูลที่ดี กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ทันต่อเวลาและการใช้ประโยชน์ตรง
ตามความต้องการในขณะนั้น มีความถูกต้องแม่นยำ ความสมบูรณ์
ครอบคลุมทุกเรื่องที่ผู้บริหารต้องการ

15

การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทาง
การศึกษา

การเสริมสร้างคุณภาพขององค์การทางการศึกษา เป็นงาน
พัฒนาสถาบันที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการจัดการฐานข้อมูล การ
ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการตัดสินใจ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการ
บริหารที่กล่าวมาแล้ว
การเสริมสร้างคุณภาพภายใน (internal quality control)

การตรวจสอบคุณภาพ (quality auditing)
การประเมินคุณภาพ (quality assessment)

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการ
ศึกษาอันได้แก่การจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลฐานข้อมูล
การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอนการวางแผน
และการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตรการแนะแนว
และการบริการการทดสอบวัดผลการพัฒนาบุคลากร

16


Click to View FlipBook Version