The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นวัตกรรมการนิเทศ CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Janchai Pokmoonphon, 2022-06-11 05:13:52

นวัตกรรมการนิเทศ CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI

นวัตกรรมการนิเทศ CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรยี นรูเ้ เละพฒั นา DALI หนา้ : ก

บทสรุปผู้บริหาร

รายงานนวัตกรรมการนิเทศ ติดตาม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ด้วย
CLA Quality Model @P.N. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม โดยมีเป้าหมายพัฒนา
ครใู หส้ ามารถจดั การเรียนการสอนเเบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการนเิ ทศเเบบ open class และพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ให้เกิด
กบั ผู้เรียน และเปา้ หมายของการดำเนินงานคือ ครูมกี ระบวนการจัดการเรยี นการสอนเเบบ Active Learning โดย
พจิ ารณาจากเเบบประเมินเเผนการจัดการเรียนร้เู เบบ Active Learning ในระดับดี (หาเเบบประเมินเเผน Active)
โดยให้ดำเนินงานภายใต้กิจกรรมชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ตระหนักถึง
ความสำคัญของกิจกรรมดังกล่าว จึงได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเเบบ Open Class มาสร้างเป็น
นวตั กรรมกระบวนการนเิ ทศเเบบ Open Class ร่วมกับกระบวนการนิเทศเเบบ DALI เพ่อื ยกระดบั ผลสมั ฤทธิ์เเละ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้น Active Learning เป็นสำคัญ โดยได้ขับเคลื่อนเครือข่ายการนิเทศ
รว่ มกบั หนว่ ยงานที่เกยี่ วข้องกับการจัดการศึกษาในพ้ืนทกี่ ารศึกษา ไดแ้ ก่ สำนกั งานเขตพนื้ ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษา
นนทบรุ ี เพ่ือพฒั นาการจัดการเรียนรู้และถา่ ยทอดองค์ความร้เู ก่ยี วกับรปู แบบ/แนวทางการพัฒนานักเรียน ให้ตรง
กบั บริบทของพื้นทโ่ี รงเรยี น

ผลการดำเนินงาน
๑. ผลการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศ ติดตามเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
โพธนิ มิ ติ วิทยาคม ดว้ ย CLA Quality Model @P.N. เพ่ือพัฒนาคุณภาพการศกึ ษา" ประเมินใน ๔ ประเด็น ไดแ้ ก่

๑.๑ กระบวนการออกเเบบเเละพัฒนานวัตกรรม ประกอบด้วย ๓ ประเด็นพิจารณา คือ
(๑) วเิ คราะหบ์ รบิ ทขอ้ มูลจากตวั บ่งชี้ตา่ ง ๆ โดยศึกษาขอ้ มลู จากสารสนเทศของโรงเรยี น ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๓
(๒) ศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้วงล้อแห่งการเรียนรู้และพัฒนา DALI ในระดับโรงเรียน
และระดับเครือข่าย และ (๓) ดำเนินการนเิ ทศภายในโดยใชว้ งล้อแห่งการเรียนรูแ้ ละพฒั นา DALI

๑.๒ รายละเอียดการนิเทศ ติดตามเพ่อื ยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธนิ ิมิตวิทยาคม
ด้วย CLA Quality Model @P.N. ประกอบด้วย ๓ ตัวบ่งชี้ คือ (๑) การพัฒนาห้องเรียนมุ่งสู่ห้องเรียนคุณภาพ
ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ Open Class (๒) การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสู่แผนการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Leaning แบบมีคุณภาพ และ (๓) การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันของครู (PLC) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้
วชิ าชีพดว้ ย Lesson Study

๑.๓ รูปแบบและวิธกี ารนำนวตั กรรมไปใช้งาน ดว้ ยกระบวนการ DALI
๑.๔ ผลลัพธ์ท่ีเกดิ จากการพัฒนาและนำนวตั กรรมไปใช้งาน ประกอบดว้ ย ๓ ตวั บง่ ชี้ คือ
(๑) ผลทเี่ กิดกับสถานศกึ ษา (๒) ผลท่ีเกดิ กับครผู สู้ อน และ (๓) ผลทเ่ี กดิ กบั ผูเ้ รียน
โดยผลการดำเนินงานทั้ง ๔ ด้าน พบว่า มีการปฏิบัติโดยมีร่องรอยหลักฐานที่ชัดเจน ครบถ้วน
สมบรู ณ์
ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย
๑. ผ้บู รหิ าร ครู ควรมีการขยายผลการดำเนินงาน ผลการปฏบิ ตั ิทเ่ี ป็นเลิศใหแ้ กค่ รแู ละบุคลากรทางการ
ศึกษาในระดบั โรงเรียน ระดับเครือข่าย ระดบั อำเภอ และระดบั จังหวดั อยา่ งสมำ่ เสมอ
๒. ควรมีการพัฒนาและตอ่ ยอดทมี พัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษาของโรงเรียนให้เข้มแข็ง เป็นแบบอยา่ งที่ดี
๓. ควรมกี ารวางแผนพฒั นาคุณภาพการศึกษารว่ มกันระหว่างผบู้ รหิ ารและครูผสู้ อนอยา่ งต่อเนื่องและเป็น
ระบบ

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรยี นรเู้ เละพฒั นา DALI หน้า : ข

คำนำ

ตามที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานโครงการ
Innovation For Thai Education (IFTE) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ และมีกิจกรรมการคัดเลือกแนวทาง
หรอื รปู แบบการพัฒนานวตั กรรมการศึกษา ๓ ด้าน ไดแ้ ก่ ด้านการบริหารจัดการ การจดั การเรียนรู้ และการนิเทศ
ตดิ ตาม และประเมนิ ผล โดยทางโรงเรียนโพธินมิ ิตวิทยาคมได้รับทราบแลว้ นั้น

ด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ได้รายงานนวัตกรรมการนิเทศ ติดตาม เพื่อยกระดับคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ด้วย CLA Quality Model @P.N. ขึ้นมา เพื่อสร้างคุณลักษณะและ
ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ให้เกิดกับผู้เรียน และเป้าหมายของการดำเนินงานคือ ครูมีกระบวนการจัดการ
เรียนการสอนเเบบ Active Learning

รายงานฉบับน้สี ำเรจ็ ได้ด้วยความรว่ มมือของข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษาโรงเรียน โพธินิมิต
วิทยาคม ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมจนประสบผลสำเร็จสามารถนำไปใช้ในการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตลอดจน
ดูแลช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนทางไกลอันเนื่องมาจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – ๑๙) ส่งผลให้ครู นักเรียน และ
ผู้ปกครอง สามารถเรยี นรใู้ นรปู แบบทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม เป็นอย่างยิ่ง ที่ร่วม
สร้างสรรค์ผลงานการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ให้เป็นที่ยอมรับของบุคคล
ทัว่ ไป

คณะผจู้ ัดทำ

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรยี นรเู้ เละพฒั นา DALI หนา้ : ค

สารบญั

บทสรปุ ผู้บริหาร หน้า


คำนำ ข

สารบัญ ค

สารบัญตาราง ง

สารบัญภาพ จ

ส่วนท่ี 1 บทนํา

1) ชอ่ื ผลงานนวัตกรรม 1

2) ชอื่ ผพู้ ฒั นานวตั กรรม/ผรู้ ว่ มพัฒนานวัตกรรม 1

3) รายชอ่ื เครือขา่ ยความร่วมมอื (MOU)/การบรู ณาการเพื่อใช้นวตั กรรม 1

4) กรอบแนวคิดในการพฒั นานวัตกรรม 1

5) ความเป็นมาและความสําคัญ 6

6) วตั ถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา 8

7) ขอบเขตการดําเนนิ งาน/กลุ่มเป้าหมาย 8

8) ระยะเวลาดําเนินการ 8

ส่วนท่ี 2 หลกั การ แนวคิด ทฤษฎีท่เี ก่ยี วข้อง

1) หลกั การแนวคิดเกีย่ วกับการนิเทศการศกึ ษา 9

2) ทฤษฎีเก่ยี วกับเครื่องมือในการพัฒนางาน 11

3) ทฤษฎเี กีย่ วกับนิเทศ 12

4) ทฤษฎีเกี่ยวกับการจดั การเรยี นรู้ 14

5) หลกั การ แนวคดิ ทฤษฎเี กย่ี วกับชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้ทางวชิ าชพี (PLC) 16

6) กรอบแนวคิด CAL 18

ส่วนที่ 3 ผลการดาํ เนินงาน

1) กระบวนการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม 20

2) รายละเอียดของนวตั กรรม 22

3) รูปแบบและวธิ ีการนํานวัตกรรมไปใชง้ าน 24

4) ผลลพั ธท์ เ่ี กดิ จากการพฒั นาและนาํ นวตั กรรมไปใช้งาน (ผบู้ ริหาร/ผสู้ อน/ผ้นู ิเทศ/ผูเ้ รยี น/อ่ืน ๆ) 34

5) ปจั จัยความสาํ เร็จ ปัญหา อปุ สรรคและข้อเสนอแนะ 39

6) การเผยแพร/่ การขยายผลต่อยอด 40

บรรณานุกรม 41

ภาคผนวก 42

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรยี นรเู้ เละพัฒนา DALI หน้า : ง

สารบญั ตาราง

ตาราง หนา้
31
ตารางท่ี 1 แผนภูมแิ สดงข้อมูลแบบรายงานการนเิ ทศแบบ Open Class ภาคเรยี นท่ี 2 32
ปีการศึกษา 2564 33
34
ตารางท่ี 2 สรปุ ผลความพงึ พอใจทม่ี ีต่อการใชน้ วตั กรรมการนเิ ทศ CAL Quality Model @P.N.ดว้ ย
วงล้อเเหง่ การเรยี นรู้เเละพัฒนา DALI 35

ตารางท่ี 3 แบบประเมินความพึงพอใจของนกั รียนทมี่ ตี ่อการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอน 35
แบบ Active Learning ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564
36
ตารางท่ี 4 การเปรียบเทยี บผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนระดับดี (เกรด 3) ข้นึ ไป
ตามระดบั กล่มุ สาระการเรยี นรขู้ องนักเรียน ระดับชน้ั มัธยมศึกษาตอนต้น 36
ปีการศึกษา 2563 – 2564 36
37
ตารางที่ 5 แผนภูมิแสดงผลการเปรยี บเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนระดบั ดี (เกรด 3) ขึน้ ไปตาม 37
ระดบั กล่มุ สาระการเรียนรู้ของนกั เรียน ระดบั ช้นั มัธยมศึกษาตอนต้น 38
ปกี ารศึกษา 2563 – 2564 39

ตารางท่ี 6 การเปรยี บเทียบผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นระดับดี (เกรด 3) ขนึ้ ไป
ตามระดบั กลุ่มสาระการเรียนร้ขู องนักเรียน ระดบั ชัน้ มธั ยมศึกษาตอนปลาย
ปีการศึกษา 2563 – 2564

ตารางท่ี 7 ตารางท่ี 7 แผนภมู ิแสดงผลการเปรยี บเทยี บผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนระดับดี (เกรด 3)
ข้นึ ไปตามระดบั กลมุ่ สาระการเรียนรขู้ องนักเรียน ระดับชน้ั มัธยมศกึ ษาตอนตน้
ปีการศึกษา 2563 – 2564

ตารางที่ 8 การเปรียบเทยี บผลการประเมินคุณลักษณะอนั พงึ ประสงค์ ระดบั ชั้นมัธยมศกึ ษาตอนตน้
ปีการศึกษา 2563 – 2564

ตารางท่ี 9 การเปรยี บเทียบผลการประเมนิ คณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ ระดบั ชนั้ มัธยมศึกษา
ตอนปลายปีการศึกษา 2563 – 2564

ตารางที่ 10 ตารางคา่ เฉล่ยี ระดบั ความพงึ พอใจของผู้นิเทศและผรู้ ับการนิเทศ มตี ่อการใชน้ วัตกรรม
การนิเทศ CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI

ตารางท่ี 11 การเปรยี บเทยี บจำนวนนักเรียนทม่ี ีผลการเรยี นติดคา้ ง ปีการศกึ ษา 2563 - 2564

ตารางที่ 12 แผนภูมิแสดงผลการเปรยี บเทียบจำนวนนกั เรยี นที่มีผลการเรียนติดค้าง ปกี ารศกึ ษา
2563 - 2564

ตารางที่ 13 แบบประเมนิ ความพงึ พอใจของนกั เรยี นทม่ี ีต่อการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอน
แบบ Active Learning ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2564

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเห่งการเรยี นรูเ้ เละพฒั นา DALI หนา้ : จ

สารบญั ภาพ

ภาพ การนิเทศติดตามเพ่ือยกระดบั คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธนิ ิมิตวิทยาคม หน้า
ภาพที่ 1 CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเหง่ การเรียนร้เู เละพัฒนา 1
การเรยี นผสมผสานเเบบ Blended Learning
ภาพท่ี 2 กรวยแหง่ การเรียนรู้ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเรียนร้แู บบ Passive Learning 13
ภาพท่ี 3 วงลอ้ เเห่งการเรียนรู้และพฒั นา DALI 14
ภาพที่ 4 การนิเทศ ติดตามเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิตวทิ ยาคม 20
ภาพท่ี 5 ด้วย CAL Quality Model @P.N. 22
แบบบันทกึ การนิเทศการสอน รปู แบบ On Hand สำหรบั การนเิ ทศแบบกำหนดตาราง
ภาพที่ 6 และแบบสุ่ม (On-Site) 25
แบบบันทึกการนเิ ทศการสอน รปู แบบ Online สำหรบั การนิเทศแบบ Online
ภาพที่ 7 ภาพประชุมกระบวนการนเิ ทศ 25
ภาพท่ี 8 กจิ กรรมชนุ ชนการพัฒนาวชิ าชพี (PLC) 25
ภาพที่ 9 จดั การอบรมเชงิ ปฏบิ ัติการ การเขยี นเเผนการจัดการเรยี นรู้เชงิ รุก Active Learning 26
ภาพที่ 10 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการใช้ส่อื เทคโนโลยใี นการจดั การเรียนรู้ เเละมีการใช้ 26
ภาพที่ 11 สารสนเทศ ระบบติดตามเเละตรวจสอบการสง่ งานของนักเรยี น (Google Sheets) 26
ในการบริหารจดั การช้ันเรียน
ภาพท่ี 12 กจิ กรรมวพิ ากยเ์ เผนการจัดการเรียนรู้ 27
ภาพที่ 13 การเรียนการสอนรหสั ลำลองร่วมกับการใชโ้ ปรแกรม Liveworksheet สำหรบั นกั เรยี น 27
ช้ันมัธยมศกึ ษาปีที่ 1 วชิ า เทคโนโลยี 2 (วิทยาการคำนวณ) รหัสวิชา ว21104
ภาพที่ 14 นิเทศประเมินผลการนเิ ทศ ผ่านแบบบนั ทึกการนิเทศ โดยมกี ารกำหนดเกณฑก์ าร 28
ประเมินท่ีชดั เจน
ภาพที่ 15 แบบประเมนิ ความพงึ พอใจที่มีตอ่ การใช้นวัตกรรมดา้ นการนเิ ทศ CAL Quality Model 28
บน Google Form และบนกระดาษ
ภาพท่ี 16 แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชา ภาษาจีนและวทิ ยาศาสตร์พืน้ ฐาน 29
ภาคเรียนท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564
ภาพที่ 17 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมกี ารจดั กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 29
Active Learning ภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโพธินมิ ิตวทิ ยาคม
ภาพท่ี 18 การรายงานผลแบบบนั ทึกการนเิ ทศ แบบกำหนดตาราง ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 30
2564
ภาพที่ 19 การรายงานผลแบบบันทึกการนเิ ทศ แบบสมุ่ ภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2564 30
ภาพท่ี 20 การรายงานผลแบบบันทึกการนเิ ทศ แบบ Online ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2564 31

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเห่งการเรยี นรู้เเละพัฒนา DALI หนา้ : ๑

สว่ นท่ี 1 บทนำ

1. ช่ือผลงานนวัตกรรม
“การนิเทศ ตดิ ตาม เพอื่ ยกระดบั คณุ ภาพการศึกษาของโรงเรยี นโพธินมิ ิตวิทยาคม CAL Quality Model

@P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรูเ้ เละพัฒนา DALI”

2. ชอ่ื ผู้พัฒนานวตั กรรม/ผ้รู ่วมพัฒนานวตั กรรม

1. นางกรชนก สุตะพาหะ ตำแหนง่ ผอู้ ำนวยการโรงเรยี น

2. นางสาววรางคณา น่ิมราศรี ตำเเหนง่ รองผู้อำนวยการโรงเรียน

3. นางสาวสภุ ทั รา บญุ พัชรชยั ตำแหน่ง ครู 4. นางสาวจนั ทร์ฉาย โภคมลู ผล ตำแหน่ง ครชู ำนาญการ

5. นางเอ้ือมพร เบ็ญนา ตำแหน่ง ครชู ำนาญการ 6. นางสาววิมลมาศ สงั ฆะวนั ตำแหน่ง ครู

7. นายวสนั ต์ ศรเี มือง ตำแหนง่ ครู 8. นายพิพากษา สทุ ธนิ า ตำแหน่ง ครูอตั ราจ้าง

9. นางสาวจันทร์สุดา ทอ่ นเสาร์ ตำแหนง่ ครอู ตั ราจา้ ง 1๐. นางสาวทิพามณี หาผล ตำแหน่ง ครอู ัตราจ้าง

3. รายชื่อเครอื ขา่ ยความรว่ มมือ (MOU) / การบูรณาการเพอื่ ใชน้ วัตกรรม

- สำนักงานเขตพื้นที่การศกึ ษามธั ยมศึกษานนทบรุ ี - สโมสร เมอื งทอง ยูไนเตด็

- สถาบันการจัดการปญั ญาภิวฒั น์ (PIM) - เทศบาลนครปากเกรด็

- มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร - องค์การบริหารสว่ นจงั หวดั นนทบรุ ี

4. กรอบเเนวคดิ ในการพัฒนานวัตกรรม

การนิเทศ ติดตาม เพื่อยกระดับคุณภาพ
การศกึ ษาของโรงเรยี นโพธนิ มิ ติ วทิ ยาคม
CAL Quality Model @P.N ด ้ ว ย ว ง ล้ อ
เเหง่ การเรยี นรเู้ เละพัฒนา DALI

ภาพท่ี 1 การนิเทศติดตามเพื่อยกระดับ
คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิต
วิทยาคม CAL Quality Model @P.N ด้วย
วงล้อเเหง่ การเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI

กรอบแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมมีการน้อมนำ
“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นหลักปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล
อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการ
วางแผนและดำเนินการการจัดการศึกษาทุกขั้นตอน ในขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของนักเรียน
ครู และบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมรองรับ
การเปลี่ยนเแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน นำไปสู่การกำหนด

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเห่งการเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI หนา้ : ๒

ทิศทางการดำเนินงาน (Input) โดยนำหลัก 3C ที่เป็นหลักการพัฒนากระบวนการบริหารงานคุณภาพมาใช้ ซ่ึง
ประกอบไปด้วย

1. Concept (รู้หลัก) เริ่มจากศึกษาหลักการ แนวคิด กระบวนการ ข้อเสนอแนะ และนำมาจับประเด็น
เช่ือมโยงสู่มาตรฐาน เช่ือมโยงการประเมนิ ผลโครงการ เพ่อื นำไปสกู่ ารกำหนดเป้าหมายจากมาตรฐานท่ีกำหนด

2. Context (รู้โจทย์) การนำมาตรฐานไปใช้กำหนดเป้าหมายได้นั้น จำเป็นต้องดูบริบท (โจทย์)
ของโรงเรยี น โดยมปี ระเดน็ ทีต่ ้องศึกษาและทำความเขา้ ใจโดยการวเิ คราะห์ SWOT

3. Criteria (รู้เกณฑ์) เปน็ การกำหนดเปา้ หมายการพัฒนา ควรกำหนดเปา้ หมายทต่ี อ้ งการใหเ้ ปลี่ยนแปลง
ใหเ้ กิดขน้ึ อยา่ งชดั เจน โดยยดึ เกณฑก์ ารประเมินคุณภาพในงานประกนั คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

ซึ่งการพิจารณานำหลัก 3C มาใช้เพื่อทำความเข้าใจและกำหนดเปา้ หมายนั้น โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม
เล็งเห็นว่า หลักการ 3C นั้น เป็นหลักการที่เหมาะสมในการนำมาจัดทำ Action Plan Quality และกำหนด
เปา้ หมายหรือทิศทางการพฒั นาของโรงเรยี นได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

การต้งั เปา้ หมายขององค์กรท่ีดีและชัดเจนน้นั เปน็ สว่ นสำคัญทจ่ี ะส่งผลให้โรงเรยี นมีการบรหิ ารจัดการที่ดี
และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อให้เป้าหมายของโรงเรียนมีทิศทางในการปฏิบัติที่เข้าใจง่าย โรงเรียน
โพธินมิ ิตวทิ ยาคม จงึ นำหลักการ S.M.A.R.T มาใช้ เพื่อที่จะทำใหเ้ ปา้ หมายของโรงเรยี นเกิดความชัดเจน ตลอดจน
มแี นวทางปฏิบัตทิ ่เี ปน็ รปู ธรรม ดงั น้ี

1. S: Specific – เฉพาะเจาะจง คือการที่โรงเรียน องค์กรหรือบุคคลจะต้องมีเป้าหมายที่เฉพาะ
เจาะจงลงไป ไมก่ วา้ งจนเกนิ ไป มคี วามชัดเจน ไม่คลมุ เครือ และตอ้ งระบใุ หช้ ดั เจนอยา่ งมีทศิ ทาง

2. M: Measurable – สามารถวัดได้ ต้องวัดผลได้ มีหลักการวัดผล วิธีการ ตลอดจนการคำนวณ
และสรปุ ผลออกมาได้อยา่ งชดั เจน มหี ลกั ฐานยืนยนั ได้ หากสามารถวดั ผลสำเรจ็ ได้ก็จะทำให้ทราบวา่ การปฏิบัติน้ัน
สำเร็จหรือไม่เพียงไร เข้าใกล้เป้าหมายมากน้อยแค่ไหน และควรจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้

3. A: Achievable – บรรลุผลได้ เป้าหมายที่ดีจะต้องสามารถบรรลุผลได้จริง ประสบผลสำเร็จได้
รวมถึงเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริง มีโอกาสสำเร็จได้ และสามารถกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย
ให้ได้ ในทางตรงกันข้าม หากเป้าหมายยิ่งใหญ่เกินไปมีโอกาสสำเร็จได้ยาก หรือมีเป้าหมายที่สูงจนเกินไป ก็จะยิ่ง
ทำให้เกิดการท้อแท้ รู้สึกว่าไม่มีวันเป็นไปได้ เสียกำลังใจในการทำงาน เป้าหมายที่ไม่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิด
พลังในการทำงานน้นั อาจไมใ่ ชเ่ ปา้ หมายทดี่ ี

4. R: Realistic – สมเหตุสมผล สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง เปา้ หมายที่ตั้งต้องอยู่บนพ้ืนฐาน
ความเป็นจริง สถานการณ์จริง มีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ รวมถึงสอดคล้อง
กับสิ่งที่องค์กรต้องการ หากเป็นการตั้งเป้าหมายย่อยก็ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ ดำเนินไปในทิศทาง
เดียวกัน เพื่อส่งเสริมกันให้เกิดความสำเร็จ เป้าหมายควรสัมพันธ์กับธุรกิจและการประกอบการของตน นำข้อมูล
จริงมาใช้ในการต้งั เป้าหมาย ไมใ่ ช่ต้ังขึ้นมาลอย ๆ หรอื นำข้อมูลจากแหล่งอน่ื ๆ ท่ีไมเ่ กยี่ วข้องหรือสัมพนั ธ์กับธุรกิจ
ตลอดจนองคก์ รมาตัง้ เปา้ หมาย

5. T: Time-bound/Timely - กำหนดชว่ งเวลาทช่ี ัดเจน ส่งิ สำคัญท่สี ดุ อย่างหน่งึ ของการต้งั เป้าหมาย
คือต้องมีการกำหนดเวลาให้ชัดเจน มีการวางแผนให้ชัดเจน มีกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติการที่กำหนดไว้ให้รู้
ชดั เจน เพือ่ การปฏิบัติให้ชดั แจ้ง และการวางแผนปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ ด้วย หากไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน
จะไมส่ ามารถทราบว่าทำไปถงึ เมอ่ื ไร วางแผนอยา่ งไร นน่ั อาจเรยี กว่าไม่มเี ป้าหมายเลยก็เปน็ ได้

ถัดจากการกำหนดเป้าหมายหรือ Input นั้นก็คือส่วนของกระบวนการหรือ Process ซึ่งโรงเรียน
โพธินิมิตวิทยาคมได้มีกระบวนการทำงานตามหลักการของวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI งานนิเทศ

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรียนรู้เเละพฒั นา DALI หนา้ : ๓

การสอน โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม จึงได้ออกเเบบกระบวนการปฏิบัติงาน ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา
DALI ดังนี้

ขัน้ ตอนที่ 1 D = Design
1. งานนิเทศการสอน โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ได้ดำเนินการสำรวจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ
การเรยี นการสอน สภาพปจั จุบัน
2. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎกี ารนิเทศตา่ ง ๆ เพ่อื เป็นข้อมลู ประกอบการออกเเบบรปู เเบบการนเิ ทศ
3. ออกแบบรูปแบบการนิเทศทเ่ี หมาะสมกบั บริบทของโรงเรยี น
4. กำหนดตารางการนเิ ทศของบคุ ลากรภายในโรงเรียนตามกลมุ่ สาระการเรยี นรู้
5. ช้แี จงขั้นตอนและแนวทางการจัดการนเิ ทศ
ขน้ั ตอนที่ 2 A = Action
1. บุคลากรภายในโรงเรียนเข้ารับการนิเทศตามรูปแบบ Open Class มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่ห้องเรียน
คณุ ภาพ Classroom Quality โดยการนิเทศรูปเเบบ Open Class มกี ารจัดกลมุ่ การนิเทศออกเปน็ 3 กลุ่ม

กลมุ่ ที่ 1 การนเิ ทศเเบบ Schedule คอื การนิเทศเเบบกำหนดตาราง
กลุ่มท่ี 2 การนเิ ทศเเบบ Line คือ การนิเทศเเบบออนไลน์
กลมุ่ ท่ี 3 การนิเทศเเบบ Random คือ การนิเทศเเบบสุ่ม
2. ครจู ัดทำเเผนการจดั การเรียนรู้เเบบ Active Learning
3. ผู้นิเทศดำเนินการประเมินเเผนการจัดการเรียนรู้ของครูตามเเบบประเมินเเผนการจัดการเรียนรู้
Active Learning เพื่อพัฒนาเเผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นเเผนการจัดการเรียนรู้เเบบ Active Leaning ที่มี
คุณภาพ
4. ครูผู้รับการนิเทศ ดำเนินการปรับปรุงเเผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นเเผนการจัดกาเรียนรู้เเบบ
Active Learning ที่มคี ุณภาพ
5. ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้ปกครอง และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ดำเนินการนเิ ทศเเบบ
Open Class ตามความถนดั ในแต่ละกลมุ่ สาระการเรยี นรู้
ขน้ั ตอนท่ี 3 L = Learning
1. เก็บรวบรวมและวิเคราะหข์ ้อมลู จากแบบบันทึกการนเิ ทศ
2. นำข้อมลู ท่วี ิเคราะหแ์ ล้ว มาจดั เรียงให้เปน็ ระบบ
3. เข้าร่วมกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เเบบ Lesson Study เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
แบ่งปันเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอน เสนอแนวทางและให้คำปรึกษาร่วมกัน มุ่งสู่การเรียนรู้
เเบบมคี ุณภาพ (Learning Quality)
ขนั้ ตอนที่ 4 I = IMPROVE
นำข้อมูลที่ได้จากกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เเบบ Lesson Study มาพัฒนา
ปรบั ปรุงใหด้ มี ากยิ่งข้นึ

การจดั การขอ้ มูล (Data Management)
โรงเรียนโพธินิมติ วทิ ยาคมไดจ้ ัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างเปน็ ระบบ มมี าตรฐาน สามารถนำมาใช้ได้ง่าย และ

ตรวจสอบได้ โรงเรียนได้มีขัน้ ตอนในการจัดระบบข้อมลู สารสนเทศ มกี ารกำหนดนโยบายการจัดระบบสารสนเทศ
ในสถานศึกษา มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน แต่งตั้งทีมงานหรือ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละงานอย่างชัดเจน ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการจัดระบบ

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรยี นรเู้ เละพฒั นา DALI หน้า : ๔

สารสนเทศ คำนึงถึงความต้องการของการนำไปใช้ มีแบบฟอร์มในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การเก็บข้อมูล
รายบุคคลของนักเรียน (DMC) ข้อมูลนักเรียนเรียนรวม (SET) แผนการจัดซื้อจัดจ้าง (E-GP) แบบประเมินตนเอง
ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (SDQ) ระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณประจำปี (E-Budget) และ
นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Student Care)
โปรแกรมการประเมินผลการเรียน (Bookmark) โปรแกรมการจัดตารางสอน ระบบการรับสมัครนักเรยี นออนไลน์
และ ระบบสำนกั งานอิเลก็ ทรอนิกส์ (My Office) เปน็ ตน้

การใชข้ อ้ มูลสารสนเทศ (Information)
โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศที่ได้ประมวลผลมาแล้ว นำไป

เปรียบเทียบให้สอดคล้อง เหมาะสมกับการนำไปใช้ในการประกอบการทำงาน การตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ
มีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ รายงานข้อมูลไปยังหน่วยงานต้นสังกัด
ตามระยะเวลาที่กำหนด เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ขอ้ มลู และสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ท่ีเก่ียวข้องทราบท้ังใน
และนอกโรงเรียน มีรูปแบบการรายงานผลและนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งในรูปเอกสารแผ่นพับ
รูปเลม่ วารสาร และผา่ นทางระบบอนิ เทอรเ์ นต็ นำข้อมลู ทไ่ี ด้ไปวางแผน แก้ไข พัฒนา และปฏิบตั ิจริงในการบริหาร
สถานศึกษา

การใชเ้ ทคโนโลยี (Technology)
การนำเทคโนโลยีในการบริหารมาใช้ของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรใน

โรงเรียนมีทักษะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับดีมาก จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ครูและบุคลากร
ในโรงเรียนด้วยแนวทางวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง สร้างความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีในการจัด
การเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ทั้ง on-site และ online และมีการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลหลังการอบรม
ตลอดจนนำผลมาปรับปรุงพัฒนาเพื่อใช้ในปัจจุบันในสถานการณ์ปกติและปรับใช้ในชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อรับส่ง
จดหมายอิเลก็ ทรอนกิ ส์ การใช้ระบบสำนักงานอิเลก็ ทรอนิกส์ การใช้งานเวบ็ ไซตส์ ารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัด
และการเข้าถึง Platform แต่ละประเภท เช่น Google , Messenger , Line และ Zoom เพื่อประชุมและการ
ดำเนินงานกจิ กรรมตา่ ง ๆ

สถานศึกษาปลอดภัย (Safe School)
ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนได้รับงบประมาณตามโครงการโรงเรียนคุณภาพภายใต้ชื่อโครงการ

“โรงเรยี นปลอดภัย Safety School” งบประมาณจำนวน 300,000 บาท เพอ่ื ใช้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ดงั นี้
1. แบ่งบริเวณโรงเรียนออกเป็น ๓ พื้นที่ ได้แก่ บริเวณอันตราย (พื้นที่สีแดง) บริเวณเฝ้าระวัง (พื้นท่ี

สีเหลอื ง) และ บรเิ วณปลอดภัย (พ้นื ทีส่ เี ขยี ว)
2. จดั ทำคมู่ ือโรงเรียนปลอดภยั
3. ติดตงั้ อปุ กรณแ์ ละอ่างลา้ งมอื เพ่ือลดความเส่ยี งการติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา (COVID-19) และโรคตดิ ต่ออ่ืน ๆ
4. กำหนดจุดเวน้ ระยะหา่ งตามมาตรการของ ศบค. ทุกจุดของอาคารเรยี นทั้งหมด 3 อาคาร
5. ปรบั ปรงุ ป้อมยามเพ่ืออำนวยความสะดวกให้เจ้าหนา้ ทร่ี ักษาความปลอดภยั
6. จัดหาอปุ กรณ์อำนวยความสะดวกในงานจราจร
7. ทาสีสัญลักษณ์ทางมา้ ลาย
8. จดั ทำปา้ ยนิเทศใหค้ วามรู้มาตรการความปลอดภัยในด้านตา่ ง ๆ

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรยี นรู้เเละพัฒนา DALI หน้า : ๕

ชุมชนแห่งการเรยี นรู้ (PLC)
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning

Community: PLC) ในโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม เป็นการรวมตัวของผู้บริหารและครู ในการลงมือปฏิรูปการ
เรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกัน เน้นปฏิสัมพันธ์และการเป็นผู้นำร่วมกัน ซึ่งเริ่มจากการเห็นคุณค่าวิสัยทัศน์ และ
การเรียนรู้ในทิศทางเดียวกัน แล้วนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ สมาชิกใน PLC จะมุ่งเน้นว่า
“ศิษย์ของเรา” มากกว่าว่า “ศิษย์ของฉัน”และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจาก
“การเรียนรู้ของครู” เรียนรู้ที่จะมองเห็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ของตนเอง
เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนโพธนิ ิมิตวิทยาคมได้พัฒนากระบวนการ PLC โดยการเริ่มทำ PLC เริ่มจากคำถาม
ท้าทายเชิงคุณค่าว่า “เราจะช่วยกันทำให้โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนคุณภาพได้อย่างไร” ซึ่งคำถามดังกล่าวจะ
นำไปสู่การกำหนดเป้าหมาย (Purpose Statement) ค่านิยมหลัก (Core Value) และแนวทางการเปลี่ยนแปลง
ของโรงเรยี นร่วมกนั

การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
การจัดการความเสี่ยงในสถานศึกษานับเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียน

คุณภาพ ผูบ้ รหิ ารสถานศึกษามีนโยบายส่งเสริมให้การบริหารความเสยี่ งเป็นของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้บุคลากร
ที่เกี่ยวข้องมีความรู้และเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยง เกิดการตระหนักรู้และนำมาใช้ในการบริหารงานใน
ชีวิตประจำวันได้ กระบวนการบริหารความเสี่ยง เพื่อช่วยให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีระบบ สามารถ
ควบคุมและตรวจสอบได้ ดังนั้น การกําหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรตามมาตรฐานสากล ซ่ึง
ประกอบดว้ ย การกาํ หนดนโยบายในเรื่องการบรหิ ารความเสย่ี งทีช่ ัดเจนจากผู้บริหารองค์กร โครงสรา้ งการบริหาร
ความเสี่ยง บทบาทหน้าท่ีในการกํากับดูแลรวมถึงหลักเกณฑ์และแนวทางในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐาน
เดียวกันท่วั ทั้งองค์กร

หลักธรรมาภบิ าล (Good Government)
สถานศึกษาเป็นหน่วยงานสำคัญในการบริหารจัดการศึกษาและให้การศึกษาแก่ประชาชน จึงมีความ

จำเป็นทจ่ี ะต้องนำหลักธรรมาภิบาลมาบูรณาการในการบริหารจดั การศกึ ษา ผู้บรหิ ารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคัญ
ในการบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้ในด้านทฤษฎี มีทักษะในการบริหาร
รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีประสบการณ์การบริหารการศึกษายุคใหม่
เพื่อทำให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จ สามารถสนองตอบความต้องการของชุมชน ทันสมัย พ ร้อมรับ
กับการเปล่ยี นแปลง การพัฒนาการศกึ ษาทั้งทางด้านการบริหารสถานศึกษา ด้านการเรียนการสอน และดา้ นแหล่ง
เรียนรู้ ซ่ึงโรงเรยี นโพธินมิ ติ วิทยาคมนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารงานในสถานศึกษา เพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพและ
มีประสิทธิผล มีองค์ประกอบ ๖ ประกอบ คือ ๑) หลักนิติธรรม (Rule of Laws) ๒) หลักคุณธรรม (Ethics) ๓)
หลักความโปร่งใส (Transparency) ๔) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ๕) หลักความรับผิดชอบ
(Accountability) และ ๖) หลกั ความคุ้มค่า (Effectiveness)

เครอื ขา่ ย (Network)
รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ประกอบด้วย

กระบวนการสรา้ งเครือข่าย ๖ ขนั้ ตอน ได้แก่ ๑) ข้นั ตระหนกั ถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย ๒) ขั้นประสาน
หน่วยงาน/องค์กรเครือข่าย ๓) ขั้นสร้างพันธสัญญาร่วมกัน ๔) ขั้นบริหารจัดการเครือข่าย ๕) ขั้นพัฒนา
ความสัมพันธ์ และ ๖) ขั้นรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมดำเนินการผ่านการจัด

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเห่งการเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI หน้า : ๖

กิจกรรมที่เสริมประสิทธิภาพการดำเนินภารกิจของเครือข่าย ทั้งในรูปแบบของกลุ่มบุคคล หน่วยงาน/องค์กรท้ัง
ภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สมาคมผู้ปกครองนักเรียนผู้นำชุมชนประธานชุมชน สถาบั นทางศาสนา
สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับประเทศ กลุ่มศิษย์เก่า โรงพยาบาลชุมชน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และองค์ก ร
ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้ดำเนินการตามกระบวนการปฏิบัติงานของเครือข่าย ตั้งแต่การวิเคราะห์บริบทเพ่ือ
ทราบจุดแข็ง และจุดที่ควรพัฒนาของการดำเนินงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านการ
บริหารทวั่ ไป

5. ความเปน็ มาและความสำคญั
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 กําหนดทิศทางให้คนไทยเป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะและ

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ทั้งนี้สังคมไทย
ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม รู้รัก สามัคคี และร่วมมือผนึกกําลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศ
อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางและความ
เหล่ือมล้ำภายในประเทศลดลง

กระบวนการนิเทศการจัดการศึกษา ถือเป็นสิ่งที่สําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาการจัดการเรียน
การสอนของครู ทั้งนี้เพื่อให้ครูได้รับผลการสะท้อนกลับจากการปฏิบัติหน้าที่จัดการเรียนการสอนเพื่อนําไปใช้ใน
การปรบั ปรงุ และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มปี ระสิทธภิ าพสงู ข้นึ ซ่งึ การนิเทศการศึกษาเป็นความร่วมมือ
และประสานงานของบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู
อนั จะทาํ ใหผ้ ้เู รียนเกดิ การเรยี นรูอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ (ชารี มณศี ร.ี 2552 : 16) ดงั นนั้ ในการบริหารจัดการศึกษา
ของผู้บริหาร สถานศึกษา จึงจําเป็นต้องมีระบบการนิเทศภายในโรงเรียนเพือ่ ให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุนหรือให้
ความช่วยเหลือครูในโรงเรียนให้ประสบความสําเร็จในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก คือการสอนหรือการ
เสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นไปตามวัย
และเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียน (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
2551 : 51)

การนเิ ทศการสอน นบั เป็นกระบวนการสําคญั ในการปรับปรุง พัฒนาการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนใน
ชั้นเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน มีจุดมุ่งหมายสําคัญอยู่ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุ
เป้าหมายที่กําหนดไว้ในหลักสูตร การนิเทศเป็นการส่งเสริมให้ครูเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อการ
เรียนรู้ของผูเ้ รียน เช่น ศักยภาพของครู เทคนิควิธีการจดั กระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการของผู้เรียน ความสามารถ
ความสนใจ ความต้องการของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน การนิเทศการจัดการเรียนรู้เป็น
กิจกรรมระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ โดยผู้นิเทศอาจเป็นศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรยี น ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ
หวั หนา้ กลุม่ สาระการเรยี นรู้ ผ้เู ชีย่ วชาญด้านการสอน ตลอดจนครทู ุกคน สาํ หรับผู้รับการนิเทศก็คือ ครูผู้สอนหรือ
ผู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้ ผู้นิเทศจะช่วยตรวจสอบว่าผู้รับการนิเทศได้ออกแบบกิจกรรมการเรียน
การสอนที่เน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มี
ส่วนร่วม ฝึกทักษะ ฝึกปฏิบัติทั้งในสถานการณ์จําลองและสภาพจริง สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถ
เชื่อมโยงความรู้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ซึ่งเป็นลักษณะของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning)

การจัดทำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เป็นกลยุทธ์ระดับ
องค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มพัฒนา

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรียนร้เู เละพฒั นา DALI หน้า : ๗

จากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้
ร่วมกันในทางวิชาชีพ ชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) มีหน้าที่สำคัญ
เนื่องจากครูมีหน้าที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน ซึ่งหากครูสามารถจัดการเรียนการสอนที่มี
ประสิทธิภาพเเล้ว จะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น ทั้งนี้หากครูมีการสะท้อนการจัดการเรียน
การสอนร่วมกันในชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) ครูจะสามารถ
พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาหลายโรงเรียนในประเทศ
สหรัฐอเมริกา พบว่าชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) ส่งผลดีต่อครูและ
ผ้เู รียน โดยมเี ป้าหมายท่ีม่งุ พัฒนาผู้เรียนเปน็ สำคญั นอกจากนีส้ ำนักงานคณะกรรมการขา้ ราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้นำผลการสังเคราะห์ความคิดเห็นจากนักวิชาการและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมากำหนด
เป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการดำเนินการปรับปรงุ หลกั เกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา พบว่าการจัดทำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ
ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาใหป้ ระสบความสำเร็จ

โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จัดการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,016 คน
ครูจำนวน 56 คน โดยเป็นข้าราชการครู 45 คน ครูอัตราจ้าง 11 คน มีการจัดการนิเทศภายในโดยผู้บริหาร
เเละหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง โดยในการนิเทศการเรียนการสอน
เป็นการนิเทศเเบบมีกำหนดการ ซึ่งในการนิเทศการเรียนการสอนนี้จัดขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียน
การสอนของครู ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น รวมถึงลดจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียน
ตกค้าง และจากกระบวนการนิเทศในปีการศึกษาที่ผ่านมา สามารถสรุปประเด็นปัญหาในการจัดการสอนของ ครู
ได้ว่า ครูจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 62.70 มีจัดการเรียนการสอนเเบบ Passive Learning ซึ่งเป็นการสอน
เเบบเน้นฟัง อ่าน ดู ใหค้ วามสำคัญกบั สมุดเเละหนังสือมากท่ีสุด ครูมหี น้าทใี่ นการมอบคำสั่ง เเละนักเรียนมีหน้าที่
ทำตามคำส่ัง มีการวดั เเละประเมินผลด้วยการสอบข้อเขียน กากบาท จับคู่ โดยหากวเิ คราะหห์ าสาเหตุของปัญหา
การจัดการเรียนการสอนของครูส่วนใหญ่เเบบ Passive Learning นั้น มีสาเหตุมาจากครูขาดเเนวทาง
ในการจัดการเรียนการสอนในรูปเเบบที่หลากหลาย ส่งผลต่อความสนใจ ใส่ใจในการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้
นักเรียนไม่ค่อยสนใจเรียน ประกอบกับการจัดการศึกษาในปีการศึกษา 2564 ซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์
การเเพร่ระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ทำให้โรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนเเบบ Hybrid โดย
มีรูปเเบบการจัดการสอนเเบบ On-Line, On-Hand, On Demand เเละ On-Site (สลบั กลมุ่ มาเรียน) ซ่ึงจากการ
สอนเเบบ On-Line ในชว่ งสถานการณ์ดงั กล่าว พบวา่ ยิ่งครูจัดการเรียนการสอนเเบบ Passive Learning ยงิ่ ทำให้
นักเรยี นไมเ่ ขา้ เรียนเปน็ จำนวนมาก เกดิ ปัญหาความถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)

จากปญั หาดังกลา่ วข้างต้น งานนเิ ทศการสอนโรงเรียนโพธนิ ิมิตวทิ ยาคม จึงไดส้ รุปปัญหาการจัดการเรียน
การสอน รายงานต่อผู้บริหารโรงเรียนในกิจกรรมชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้
ทำการศึกษาขอ้ มลู ท้งั หมด 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการนิเทศ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยผ้บู รหิ าร
ได้มอบหมายให้งานนิเทศการสอนศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการนิเทศ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการนิเทศ
เเบบ Coaching, กระบวนการนิเทศแบบ PDSA, เเละวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI รวมถึงมอบหมายให้
ทุกกลุ่มสาระการเรยี นรู้ ศึกษากระบวนการจัดการเรยี นการสอนเเบบต่าง ๆ อาทิ การจัดการเรยี นรเู้ ชงิ รุก (Active
Learning), Open Class เเละการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยมีเป้าหมายเพื่อเเก้ปัญหาการ
จัดการเรียนการสอนเเบบ Passive Learning ของครู ปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย
น่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยในกิจกรรมชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) แบบ Lesson Study คณะครูเเละ

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเหง่ การเรยี นรู้เเละพฒั นา DALI หนา้ : ๘

ผู้บริหารโรงเรียนได้ข้อสรุปว่า โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ควรใช้ CAL Quality Model @P.N. ซึ่งมาจาก
Classroom Quality, Action Plan Quality เเละ Learning Quality ด้วยกระบวนการทำเเบบ DALI โดยมี
รายละเอียดดงั น้ี

๑. Classroom Quality คือ การพัฒนาห้องเรียนมุ่งสู่ห้องเรียนคุณภาพ ด้วยกระบวนการนิเทศเเบบ
Open Class

๒. Action Plan Quality คือ การพัฒนาเเผนการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่เเผนการจัดการเรียนรู้เเบบ Active
Learning เเบบมีคุณภาพ

๓. Learning Quality คือ การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันของครู ผ่านชุมชนเเห่งการเรียนรู้วิชาชีพด้วย
Lesson Study

6. วตั ถุประสงค์เเละเป้าหมายการพัฒนา
เชงิ ปริมาณ
1. ร้อยละ 80 ของครู มีการจัดการเรียนการสอนเเบบ Active Learning
2. มกี ลุ่มสาระการเรียนรูท้ มี่ ีผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นเพิม่ ขน้ึ อยา่ งน้อย 3 กล่มุ สาระการเรียนรู้
3. นกั เรยี นมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ของจำนวนนกั เรียนท้ังหมด
เชงิ คณุ ภาพ
1. ร้อยละ 80 ของครมู ีการจัดการเรียนรู้เเบบ Active Learning เเบบคณุ ภาพในระดับดขี นึ้ ไป
2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนทง้ั หมด มีคุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์ ในระดับดขี ้นึ ไป
3. นักเรียนโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งมีการจัด

การเรียนการสอนเเบบ Active Learning ในระดับดีขึน้ ไป
4. ผูน้ เิ ทศเเละผู้รับการนิเทศมีความพงึ พอใจต่อการใช้นวัตกรรม CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อ

เเห่งการเรยี นรเู้ เละพัฒนา DALI ซง่ึ มีการจดั การเรยี นการสอนเเบบ Active Learning ในระดับดี

7. ขอบเขตการดำเนนิ งาน/กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้บริหารสถานศกึ ษา จำนวน 4 คน
2. ครผู สู้ อน โรงเรยี นโพธินิมติ วทิ ยาคม ปกี ารศกึ ษา 2564 จำนวน 56 คน
3. นักเรียน โรงเรยี นโพธินมิ ิตวิทยาคม ปีการศกึ ษา 2564 จำนวน 1,016 คน

8. ระยะเวลาการดำเนนิ การ
ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2564 (16 พฤษภาคม 2564 - 30 มีนาคม 2565)

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเหง่ การเรียนร้เู เละพัฒนา DALI หนา้ : ๙

ส่วนท่ี 2 หลกั การ เเนวคิด ทฤษฎที ่เี กี่ยวข้อง

ในการพฒั นานวตั กรรม “การนิเทศ ติดตาม เพือ่ ยกระดบั คณุ ภาพการศึกษาของโรงเรยี นโพธินมิ ติ วิทยาคม
CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเหง่ การเรยี นรู้เเละพัฒนา DALI” ไดศ้ ึกษาเอกสารเเละงานวจิ ยั ที่เก่ยี วข้อง
ซึ่งจะนำเสนอตามหวั ขอ้ ตอ่ ไปนี้

1. หลกั การเเนวคดิ เกี่ยวกบั การนเิ ทศการศกึ ษา
1.1 ความหมายของการนิเทศการศึกษา
1.2 ความหมายของการนเิ ทศภายในโรงเรยี น
1.3 จดุ มุ่งหมายของการนเิ ทศการศกึ ษา

2. ทฤษฎีเกีย่ วกบั เครื่องมือในการพัฒนางาน
2.1 กระบวนการทำงานเเบบ PDSA
2.2 วงลอ้ เเห่งการเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI

3. ทฤษฎเี กยี่ วกบั การนิเทศ
3.1 การนิเทศเเบบ Coaching
3.2 การนิเทศเเบบ Blended Learning

4. ทฤษฎีเก่ยี วกับการจัดการเรยี นรู้
4.1 การจัดการเรยี นรเู้ เบบ Passive Learning
4.2 การจัดการเรียนรู้เเบบ Active Learning

5. หลักการ แนวคดิ ทฤษฎเี ก่ยี วกับชมุ ชนแหง่ การเรียนรทู้ างวิชาชพี (PLC)
5.1 ชุมชนแหง่ การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
5.2 การ PLC เเบบ Lesson Study

6. กรอบเเนวคดิ CAL

1. หลักการเเนวคดิ เก่ียวกับการนิเทศการศกึ ษา
1.1 ความหมายของการนเิ ทศการศึกษา
ชาญชัย อาจินสมาจาร (2547 : 1) ได้กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กิจกรรมที่สําคัญ

ในการส่งเสริมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา วัตถุประสงค์เบื้องต้น คือ การปรับปรุงการเรียน
การสอนโดยพัฒนาวชิ าชีพอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547 : 179) ได้ให้ความหมายการนิเทศการศึกษาว่า
หมายถึง กระบวนการที่ผู้นิเทศในสถานศึกษาประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูวิชาการและครูอาจารย์ที่
ผบู้ ริหารมอบหมาย ดําเนินการโดยใชภ้ าวะผู้นําให้เกิดความรว่ มมือร่วมใจ ประสานงานและใช้ศกั ยภาพการทํางาน
อยางเต็มที่ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนางานของสถานศึกษานั้น ๆ โดยส่วนรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร
มาตรฐานการศึกษา

สรุปได้ว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการทํางานร่วมกันระหว่างครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เพือ่ เพม่ิ ประสิทธภิ าพของครูอันเป็นเป้าหมายสูงสดุ ในดา้ นการพฒั นาการเรียนรู้ของนักเรยี นให้ดยี ่งิ ขึ้น

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI หนา้ : ๑๐

1.2 ความหมายของการนเิ ทศภายในโรงเรยี น
การนิเทศภายในสถานศึกษา เป็นกระบวนการทํางานของผู้บริหารสถานศึกษา (หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย)
ในการพัฒนาคณุ ภาพการทํางานของครูและบคุ ลากรภายในสถานศึกษาเพ่อื ให้ได้มาซึ่งสัมฤทธผ์ิ ลสูงสุดในการเรียน
ของผู้เรียน (สงัด อุทรานนั ท์. 2529 : 200 – 202)
ธีรวุฒิ ประทุมนพรตั น์ และคณะ (อา้ งถึงใน ชมุ ศักด์ิ อินทรร์ กั ษ์, 2549 : 204 –205) ได้ให้ความหมาย
ของการนิเทศภายในสถานศึกษาว่าหมายถึงกระบวนการที่อาศัยความร่วมมือของบุคลากรในสถานศึกษาภายใต้
การนำของผูบ้ รหิ ารสถานศึกษา ในอันที่จะพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอน จนบคุ ลากรทุกฝ่ายสามารถนำตนเอง
ในการปฏิบัตงิ านไดแ้ ละกอ่ ใหเ้ กิดผลขนั้ สดุ ท้ายคือการศึกษาของนกั ศกึ ษากา้ วหนา้ ไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จากความหมายดงั กล่าวการนเิ ทศภายในสถานศกึ ษาจึงมีลักษณะดังน้ีคอื
1. บุคลากรภายในสถานศึกษาเป็นผู้จัดดำเนินการ และเป็นเจ้าของโครงการจัดตามความต้องการและ
ความจำเปน็ ของสถานศกึ ษานัน้
2. การดำเนนิ งาน กระบวนการ กจิ กรรมต่าง ๆ เกดิ ข้ึนภายในสถานศึกษา
การนิเทศมคี วามสมั พันธก์ ับการบริหารการศึกษา กเ็ พราะเปน็ รูปแบบของการบรหิ ารการศึกษาท่ีต้องการ
การมีส่วนร่วมของบุคคล เป็นลักษณะของการบริหารตามรูปแบบประชาธิปไตย การนิเทศใช้ลักษณะต่าง ๆ ของ
ประชาธิปไตยมาดำเนินการ ได้แก่ การเคารพซึ่งกันและกัน การประชุมปรึกษาหารือกัน การให้ความร่วมมือและ
ประสานงาน การรว่ มมอื แกป้ ัญหาในการจดั การเรยี นการสอนเพื่อพฒั นาการทำงานของครูใหม้ ีประสิทธิภาพส่งผล
ตอ่ คุณภาพการศกึ ษาของนักเรยี น

1.3 จดุ มุง่ หมายของการนิเทศการศกึ ษา
สดใส ศรสี วสั ด์ิ (2549 : 8) กลา่ วว่า การนเิ ทศการศกึ ษามจี ุดมงุ่ หมายเพ่ือพฒั นาคน พฒั นาครู ช่วยเหลอื
ครู ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตาม
ความมุ่งหมายของการศกึ ษา
กระทรวงศึกษาธกิ าร (2552 : 33) ไดใ้ ห้ความหมายจุดม่งุ หมายของการนเิ ทศไวว้ ่า
1. เพื่อช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาให้มี
ประสทิ ธิภาพยง่ิ ขนึ้
2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคม
ทนั ต่อการเปลีย่ นแปลงทุกด้าน
3. เพ่อื สง่ เสรมิ ใหส้ ถานศึกษาปฏิรปู ระบบบรหิ าร โดยให้ทกุ คนมสี ่วนรบั ผดิ ชอบและชืน่ ชมในผลงาน
4. เพื่อให้เกิดการประสานงานและความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง
ไดแ้ ก่ ชมุ ชนและสังคม
สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายการนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการดําเนินการร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครู
ในสถานศึกษาในการให้คําแนะนําช่วยเหลือให้คําปรึกษาเสนอแนะแก่ผู้ร่วมงาน เกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริม
สนับสนุนและให้ความร่วมมือเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนให้มี
ประสทิ ธิภาพตามวัตถปุ ระสงคแ์ ละเป้าหมายของการศึกษาท่ีตั้งไว้

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรยี นรูเ้ เละพัฒนา DALI หน้า : ๑๑

2. ทฤษฎีเก่ียวกบั เคร่ืองมือในการพฒั นางาน
2.1 กระบวนการทำงานเเบบ PDSA
ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง (2561) กล่าวว่า PDSA เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชนิดหนึ่ง โดยย่อมา

จากคำว่า Plan - Do - Study - Act ซึ่งประยุกต์มาจากวงล้อคุณภาพ คือ วงล้อของเดมมิ่ง (PDCA) โดยการ
ดัดแปลงจาก C (Check) เป็น S (Study) เพื่อให้เกิดความลุ่มลึก ว่ามิใช่เพียงการตรวจสอบการฏิบัติหรือลงมือ
กระทำเท่าน้ัน แต่เป็นการเข้าไปเรียนรูว้ า่ ส่ิงทีเ่ ราลงมือทำไปน้ันให้บทเรียน ให้ข้อมูล ให้เราได้เรียนรู้ว่าดีขึ้น หรือ
เปน็ โอกาสพฒั นาที่เราจะพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างไร

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (2556) กล่าวว่า PDSA คือการขับเคลื่อนการ
พัฒนาและการเรียนรู้ เปน็ วงล้อของการปฏิบตั ิ เกดิ การพัฒนาและการเรียนรู้ ต้ังแตก่ ารออกแบบ การนำไปปฏิบัติ
ทบทวน ติดตามประเมนิ ผล และการปรบั ปรุงให้ดีข้นึ 3C-PDSA จะเร่ิมจากตรงไหนก่อนก็ได้ แตเ่ ร่มิ แล้ว ควรขยับ
ไปจนครบทุกองค์ประกอบที่เหลือ สิ่งท่ีเชื่อมระหว่างการคิด (3C) กับการทำ (PDSA) คือเป้าหมายหรือ
วัตถุประสงค์ ซึ่งมาจากการวิเคราะห์ context คู่กับเป้าหมายของ criteria เมื่อได้เป้าหมาย สามารถกำหนด
ตัวชวี้ ดั เพือ่ การตดิ ตาม กำกบั หรือการประเมนิ ผลได้ เม่ือมีเป้าหมายชดั เจน รู้ประเดน็ สำคญั ต่าง ๆ เป็นความเส่ียง
ทำให้สามารถออกแบบระบบงานที่เหมาะสม โดยมีค่านิยมหลัก (Core values & concepts) เป็นตัวกำกับ
เป็นสงิ่ ท่ีทำใหเ้ หน็ โอกาสพัฒนามากข้นึ

2.2 กระบวนการทำงานเเบบ DALI
DALI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชนิดหนึ่ง เป็นวงล้อแห่งการเรียนรู้ ที่ช่วยจัดระบบการทำงาน
อย่างเป็นรูปธรรม โดยย่อมาจากคำว่า Design – Action – Learning – Improve เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน
กระบวนการในการพัฒนาใหเ้ กดิ ความตอ่ เน่ืองและยั่งยืน
กระบวนการการทำงานแบบ DALI
กระบวนการทำงานของ DALI ประกอบไปดว้ ย 4 ขนั้ ตอน ดังต่อไปน้ี
ขั้นที่ 1 Design คือการกำหนด/ออกแบบแนวทาง วิธีการทำงาน แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ
วิธีปฏบิ ตั งิ านหรืออนื่ ๆ ท่ีเปน็ การบง่ บอกว่าขั้นตอนในการทำนั้นเป็นอย่างไร ซง่ึ แผนทวี่ างไวน้ ัน้ ควรตอบสนองต่อ
เป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น เป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แผนนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงจุด ไม่เปลืองแรง
ไม่เปลืองทรัพยากร และช่วยแก้ไข/สง่ เสริมในสิง่ ทเี่ ป็นความจรงิ
ขนั้ ที่ 2 Action คือ การลงมอื ทำตามแนวทางที่กำหนดไว้ และมีการตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ว่าสงิ่ ที่ปฏิบัติ
ยังคงอยใู่ นแผนทว่ี างไว้
ขั้นที่ 3 Learning คือ การเรียนรู้หลังจากที่ได้ลงมือทำ หรือขณะที่ทำตามแนวทางนั้น ผลลัพธ์ที่เกิดขนึ้
จากการลงมือทำ ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง ล้วนแต่เป็นข้อมูลที่มีคุณค่า ที่จะทำให้องค์กรพัฒนาและก้าวต่อไป
นับเป็นหัวใจสำคัญของ DALI อีกหนึ่งขั้นตอน ที่จะนำไปสู่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาให้กระบวนการ
นน้ั ๆ ได้พัฒนาใหด้ ยี ง่ิ ขน้ึ
ข้ันท่ี 4 Improve คือ การปรับปรุง เปล่ยี นแปลง ตามผลลัพธท์ ีไ่ ด้เรยี นรู้ (Learning) อยา่ งต่อเนอื่ ง
จากวงล้อ DALI จะเห็นได้ว่า การหมุนจะเริ่มตั้งแต่ การวางแผน - การลงมือทำ - การเรียนรู้ – การ
ปรบั ปรุง หมุนเวียนกันไปแบบนี้จนบรรลุตามเปา้ หมายที่ตัง้ ไว้ แต่ทว่า การบรรลุเป้าหมาย ไม่ใชก่ ารบอกว่าวิธีหรือ
กระบวนการน้ีถึงท่สี ดุ แลว้ ในการพัฒนา หากเวลาเปล่ียน บริบทเปล่ียน ความรเู้ ปลยี่ น เป้าหมายเปล่ยี น แนวทางน้ี
ก็จะลา้ สมัย จะตอ้ งหมนุ ด้วย DALI ตอ่ ไป เพราะ DALI คือวงลอ้ คณุ ภาพที่หมนุ ไมม่ วี ันหยุด

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI หนา้ : ๑๒

3. ทฤษฎีเก่ยี วกับการนิเทศ
3.1 การนิเทศเเบบชแ้ี นะ (Coaching)
การชี้แนะหรือ Coaching เป็นการช่วยเหลือบุคคลหรือผู้รับการชี้แนะจากผู้ชี้แนะบนพื้นฐานของการ

ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ชี้แนะและผู้รับการชี้แนะ มีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมผลการปฏิบัติและความสามารถใน
การเรียนรู้ของบุคคล โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) รวมทั้งการใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การจูงใจการใช้
คำถาม และการเตรียมความพร้อมให้ผู้รับการชี้แนะมีการปรับตัวให้เข้ากับงาน ซึ่งการให้บุคคลค้ นพบวิธีการ
แก้ปัญหาด้วยตนเอง การเสริมพลังอำนาจ (empowerment) เป็นการช่วยค้นหาพลังในตัวบุคคล เป็น
กระบวนการทเ่ี ป็นส่วนหน่ึงของการพัฒนาวชิ าชีพ ได้มีนักวชิ าการหลายทา่ นไดใ้ หค้ วามหมายของการชี้แนะ ดงั น้ี

วีณา ก๊วยสมบูรณ์ (2547) ให้ความหมายวา่ การชีแ้ นะคอื การให้ความชว่ ยเหลือและอำนวยความสะดวก
แก่ผู้รับการชีแ้ นะเพื่อพัฒนาจากสภาพที่เป็นอยู่ไปสู่สภาพทีพ่ ึงปรารถนา ซึ่งครอบคลุมถึงการชี้แนะทางกีฬา หรือ
การชี้แนะทางความคดิ

3.2 การนเิ ทศเเบบ Lesson Study
ความหมายของการพฒั นาบทเรยี นรว่ มกนั (Lesson Study)

ชาริณี ตรีวรัญญ (2552, 135 - 149) ให้ความหมายคําว่า “บทเรียน” ตามแนวคิดทางการศึกษาผ่าน
บทเรียนท่ีครอบคลุมไว้ 3 ประการ ดงั น้ี

1. บทเรียน หมายถงึ แผนการจัดการเรยี นการสอน

2. บทเรียน หมายถึง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของครูตามแผนที่ได้วางไว้ซึ่งรวมถึงการใช้สื่อ
การเรียนการสอน และวสั ดุอปุ กรณ์ต่าง ๆ

3. บทเรยี น หมายถึง การเรยี นรขู้ องนักเรยี น อาจเปน็ มโนทัศน์ ข้อความรู้ เจตคติ และทักษะ

นันทิพัฒน์ เป็นแสน และอรุณศรี อึงประเสริฐ (2554, 65) ให้ความหมายคําว่า การพัฒนาบทเรียน
ร่วมกัน (Lesson Study) หมายความว่าการศึกษาวิจัยบทเรียน หรือการวิจัยแผนการสอนที่จัดแก่นักเรียนเป็น
การศึกษาเพื่อหาคําตอบที่เป็นระบบตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงทดลองการวิจัยบทเรียน เป็นการทํางานร่วมกัน
ของกลุ่มครูเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและการพัฒนาแผนการสอนที่จะต้องมีการสังเกต การวิเคราะห์และทบทวนร่วมกัน
การกําหนดประเด็นของครูผา่ นกระบวนการเหลา่ น้ีก็เพื่อที่จะปรับปรงุ วิธีคิดของนักเรยี น และการทําให้บทเรียนมี
ประสทิ ธภิ าพมากขน้ึ

โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ความหมายของการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study, LS) หมายถึง การ
พัฒนาวิชาชีพแนวทางหนึ่งทีก่ ระทําโดยครูผู้สอน ซึ่งครูทํากิจกรรมร่วมกันอย่างร่วมมือรวมพลัง ได้แก่ การพัฒนา
แผนการจดั การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ สังเกตการจัดการเรียนรู้ และการสะทอ้ นผลในช้นั เรียน ซึ่งทํางานร่วมกัน
อยา่ งเป็นกลั ยาณมติ ร ช่วยเหลอื ซ่งึ กนั และกนั เพอื่ มุง่ ส่เู ปา้ หมายในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ใหก้ บั นักเรยี นได้จริงและพัฒนาไปพรอ้ มกับนักเรยี น

หลักการของการพฒั นาบทเรยี นร่วมกนั
ชาริณี ตรีวรัญญู (2552, 135-149) กล่าวว่า การดําเนินงานตามขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา
บทเรียนร่วมกัน (Lesson Study, LS) จําเป็นต้องคาํ นงึ ถึงหลกั การสําคัญของกระบวนการ ได้แก่ การทํางานแบบ
ร่วมมือและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ผลสะท้อนและการอภิปรายผลการปฏิบัติงานของครู ซึ่งการดําเนินการเกิดขึ้นใน
ระยะยาวและสามารถขับเคล่อื นกระบวนการให้สอดคล้องกบั บริบทการทํางานจรงิ โดยครผู ูส้ อน และการมีสว่ นรว่ ม
ของผู้รูห้ รอื ผทู้ ่ีมปี ระสบการณ์ หรอื ผเู้ ชย่ี วชาญทใ่ี หค้ วามรู้ในเนื้อหาสาระในการสอนของครู

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรียนรู้เเละพัฒนา DALI หนา้ : ๑๓

3.3 การนเิ ทศเเบบ Blended Learning
ความหมายของการเรยี นร้แู บบผสมผสาน (Blended Learning)
การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) อ่าน “เบล็น-เดด เลิร์นนิ่ง” ถือเป็นการเรียนรู้ที่มีการ
วางแผนการจัดกระบวนการเรียนแบบเผชิญหน้าที่ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายผสมผสานกับการเรียนระบบ
ออนไลนท์ ี่นําเทคโนโลยเี ขา้ ใช้ใหผ้ ู้เรยี นเข้าถึงการเรียนรู้ไดร้ วดเรว็ มากข้ึน
ฮอร์นและสตอกเกอร์ (2011) แห่ง Innosight Institute ได้นิยามเกี่ยวกับการเรียนแบบผสมผสานของ
ผเู้ รยี นในระดบั K-12 หมายถึง การเรยี นรูท้ ่ผี เู้ รียนไดร้ ับมวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้อย่างเปน็ อิสระผ่านระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยนักเรียนสามารถควบคุมตัวแปรทางการเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งในด้านเวลา สถานที่ แนว
ทางการเรยี นรแู้ ละอตั ราการเรียนรู้ของตนเอง
“A blended learning program uses a combination of e-learning and classroom instruction”
เบอร์นาท (2012) ได้สรุปว่า การเรียนแบบผสมผสานหรือ Blended Learning หมายถึงโปรแกรม
ทางการเรียนรู้ที่ใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ E-learning กับการสอนในชั้น
เรียนจากนิยามดังกล่าวสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนที่มีการ
วางแผนการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าที่ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายผสมผสานกับการเรียน
การสอนระบบออนไลนท์ ่ีนําเทคโนโลยเี ขา้ ใชใ้ ห้ผู้เรียนเข้าถึงการเรยี นรู้ได้รวดเร็วมากขนึ้

Model แสดงนิยามความหมายของการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended
Learning) สรุปได้ 3 มิติสําคัญ ดังท่ี Graham, Allen and Ure (2003)
ได้กล่าวไว้คือการผสมผสานการสอนผ่านสื่อการสอน การผสมผสาน
วิธีการเรียนการสอน และการผสมผสานระหว่างการสอนแบบเผชิญหน้า
กับการสอนออนไลน์

ภาพท่ี 2 การเรียนผสมผสานเเบบ Blended Learning
ทมี่ า: www.limitlesseducation.net

บทบาทของผ้เู รยี นและผู้สอนในการเรยี นแบบผสมผสาน
บทบาทของผู้เรียนและผู้สอนโดยการเรียนแบบผสมผสานได้จากการศึกษาจากงานวิจัยและแนวคิดของ
นักการศึกษา สุพรรณี แสงชาติ (2552), ซุห์ (2005) ผู้เขียนค้นพบว่า ผู้สอนจะต้องเป็นผู้กําหนดวิธีการสอน
แบบตา่ ง ๆ เตรยี มเอกสาร สือ่ และแหลง่ การเรียนร้รู วมถึงเทคโนโลยีทน่ี ํามาใช้ในการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอน
โดยมีบทบาทเป็นผู้ฝึก (Coach) และผู้สนับสนุน (Facilitator) กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้าง
สิ่งจูงใจและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าไปช่วยเหลือผู้เรียนเมื่อพบปัญหาที่
ยากเกินกว่าผู้เรียนจะแก้ปัญหาได้ ส่วนผู้เรียนมีบทบาทสําคัญ ได้แก่ เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ ทั้งจากกิจกรรม
การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (Face-to-Face: F2F) แบบการประยุกต์วิธีการในการบูรณาการ E-Learning ด้วย
การจัดการเรียน (LearningManagement System หรือ LMS) โดยใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนร่วมกับการสอน
แบบปกติ และแบบออนไลน์สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างเต็มศักยภาพของตนเองรวมถึงความพร้อมในเรื่อง
สญั ญาณระบบเครอื ข่ายท่ีสนับสนนุ การเรยี นรู้อย่างต่อเน่ือง
สรุปได้ว่าบทบาทของผู้เรยี นและผู้สอนโดยการเรียนแบบผสมผสานนั้น ผู้สอนจะต้องเป็นผู้กาํ หนดวิธกี าร
สอนแบบตา่ ง ๆ เตรยี มเอกสาร สอื่ และแหลง่ การเรยี นรู้รวมถึงเทคโนโลยีทน่ี ํามาใช้ในการจดั กจิ กรรมการเรียนการ
สอน โดยมบี ทบาทเป็นผฝู้ กึ (Coach) และผูส้ นับสนนุ (Facilator) กระตุ้นใหผ้ ู้เรยี นเกิดการเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง สร้าง
สง่ิ จงู ใจและเสรมิ สร้างทักษะการเรียนรผู้ ่านการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศเขา้ ไปชว่ ยเหลือผูเ้ รียนเมอื่ พบปัญหาที่ยาก

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเห่งการเรยี นรู้เเละพฒั นา DALI หนา้ : ๑๔

เกินกว่าผู้เรียนจะแก้ปัญหาได้ ส่วนผู้เรียนมีบทบาทสาํ คัญ ได้แก่ เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ ทั้งจากกิจกรรม การเรียน
การสอนแบบดง้ั เดิม และแบบออนไลน์สามารถใชส้ ื่อเทคโนโลยีอย่างเต็มศักยภาพของตนเองรวมถึงความพร้อมใน
เรอ่ื งสญั ญาณระบบเครอื ข่ายทส่ี นับสนนุ การเรียนร้อู ย่างต่อเนอ่ื ง

4. ทฤษฎีเก่ยี วกับการจัดการเรยี นรู้

4.1 การจัดการเรียนร้เู เบบ Passive Learning

ความหมายของการจดั การเรียนรแู้ บบ Passive Learning

ดร.วิชาญ คงธรรม (2554) กล่าวว่า passive learning เป็นการเรียนรู้ที่มีการสอนแบบบรรยาย ผู้เรียน

นั่งฟังผู้สอน ผู้สอนพูดฝ่ายเดียวโดยไม่สนใจข้อมูลย้อนกลับหรือการแสดงออกของผู้เรียนว่าได้รับรู้หรือเข้าใจ

หรือไม่ ส่งผลกระทบให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์จำนวนน้อยมาก ผู้เรียนที่ประสบผลสำเร็จในการเรียนแบบน้ี

จะเป็นผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้เดิมที่ดี มีความรับผิดชอบสูง ผู้เรียนลักษณะนี้ถึงจะสอนแบบไหน หรือให้ศึกษา

คน้ คว้าด้วยตนเอง เมอ่ื กำหนดเน้ือหาใหก้ ็จะเรียนไดเ้ กรดระดับสูงหรอื บรรลุวัตถปุ ระสงค์

ฉตั รชยั วรี ะเมธีกุล (2560) กล่าววา่ เป็นกระบวนการท่ีเกดิ จากการเรยี นรู้แบบท่องจำเป็นหลัก อาจเรียก

ได้ว่าเป็นการจำตามแบบ ไดแ้ ก่ การดู สาธติ การใช้สอ่ื ภาพและเสียง การอ่านเอง การฟงั บรรยาย ซึ่งจะได้ผลหรือ

เห็นผลในระยะส้นั เท่านัน้

กรวยแห่งการเรียนรู้แสดงให้

เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้แบบ

Passive Learning ดังน้ี

- กระบวนการเรียนรู้โดยการ

อ่านท่องจำ ผู้เรียนจะจำได้ในสิ่งท่ี

เรียนได้เพยี งร้อยละ 1๐

- การเรียนรู้โดยกา ร ฟัง

บรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้เรียน

ไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้

ดว้ ยกิจกรรมอืน่ ในขณะที่อาจารย์สอน

เมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนจะจำได้เพียง

ร้อยละ 20 หากในการเรียนการสอน

ผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบ

ด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้ ภาพที่ 3 กรวยแห่งการเรยี นรู้ แสดงกระบวนการเรยี นรแู้ บบ Passive Learning
เพ่ิมข้นึ เป็นร้อยละ 30 ท่มี า: https://parnward8info.wordpress.com

- กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น เช่น การให้ดูภาพยนตร์ การสาธิต
จดั นิทรรศการให้ผู้เรียน รวมท้ังการนำผู้เรียนไปทศั นศึกษาหรอื ดูงาน กท็ ำใหผ้ ลการเรียนรูเ้ พ่มิ ข้ึนเป็นรอ้ ยละ 50

4.2 การจัดการเรยี นรูเ้ เบบ Active Learning
ความหมายของการจัดการเรียนร้เู ชงิ รุก (Active Learning)
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียน
การสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher - Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์
และประเมินค่า ไมเ่ พียงแตเ่ ป็นผู้ฟัง ผ้เู รยี นต้องอ่าน เขียน ต้ังคาํ ถาม และถาม อภิปรายรว่ มกัน ผเู้ รยี นลงมือปฏบิ ตั ิ

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเหง่ การเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI หน้า : ๑๕

จริง โดยตอ้ งคํานึงถึงความรเู้ ดิมและความต้องการของผู้เรียนเปน็ สําคัญ ทั้งนี้ ผเู้ รียนจะถกู เปล่ียนบทบาทจากผู้รับ
ความรู้ไปสกู่ ารมสี ่วนรว่ มในการสรา้ งความรู้

ความสําคัญของการจดั การเรียนร้เู ชงิ รุก (Active Learning)
1. Active Learning ส่งเสริมการมีอิสระทางด้านความคิดและการกระทําของผู้เรียน การมีวิจารณญาณ
และการคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนจะมีโอกาสมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริงและมีการใช้วิจารณญาณในการคิดและ
ตดั สินใจในการปฏิบัตกิ ิจกรรมน้นั มงุ่ สร้างใหผ้ ู้เรียนเปน็ ผู้กํากบั ทิศทางการเรียนรู้ คน้ หาสไตลก์ ารเรยี นรขู้ องตนเอง
สู่การเป็นผู้รู้คิด รู้ตัดสินใจด้วยตนเอง (Metacognition) เพราะฉะนั้น Active Learning จึงเป็นแนวทางการจัด
การเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความคิดขั้นสูง (Higher order thinking) ในการมีวิจารณญาณ การ
วเิ คราะห์ การคดิ แกป้ ญั หา การประเมนิ ตดั สินใจ และการสรา้ งสรรค์

2. Active Leaning สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดความรว่ มมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความร่วมมอื ในการ
ปฏบิ ตั ิงานกล่มุ จะนาํ ไปสู่ความสาํ เรจ็ ในภาพรวม

3. Active Learning ทําให้ผู้เรียนทุ่มเทในการเรียน จูงใจในการเรียน และทําให้ผู้เรียน แสดงออกถึง
ความรู้ความสามารถ เมื่อผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ในสภาพแวดล้อมที่
เอื้ออํานวย ผ่านการใช้กิจกรรมที่ครูจัดเตรยี มไว้ให้อย่างหลากหลาย ผู้เรียนเลือกเรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ ตามความ
สนใจและความถนัดของตนเอง เกดิ ความรับผิดชอบและทุม่ เทเพ่อื มุง่ สู่ความสาํ เรจ็

4. Active Learning ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเชิงบวกทั้งตัวผู้เรียนและตัวครู
เป็นการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ผู้เรียนจะมีโอกาสได้เลือกใช้ความถนัด ความสนใจ ความสามารถที่เป็น
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) สอดรบั กับแนวคิดพหปุ ัญญา (Multiple Intelligence) เพ่ือ
แสดงออกถึงตัวตนและศักยภาพของตัวเอง ส่วนครูผู้สอนต้องมีความตระหนักที่จะปรับเปลี่ยนบทบาท แสวงหา
วิธีการ กิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน สิ่งเหล่านี้จะทําให้ครูเกิดทักษะใน
การสอนและมีความเชี่ยวชาญในบทบาทและหน้าทีท่ ี่รับผิดชอบ เป็นการพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาผู้เรียน
ไปพรอ้ มกัน

ลกั ษณะของการจัดการเรียนรูเ้ ชิงรุก (Active Learning)

ลกั ษณะของการจดั การเรียนรูเ้ ชงิ รกุ มดี งั น้ี

1. เปน็ การพัฒนาศักยภาพการคิด การแกป้ ัญหา และการนําความรู้ไปประยกุ ต์ใช้

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ในรูปแบ บ
ของความร่วมมอื มากกวา่ การแข่งขนั

3. เปิดโอกาสใหผ้ เู้ รียนมสี ่วนรว่ มในกระบวนการเรยี นรู้สงู สุด

4. เป็นกจิ กรรมทีใ่ หผ้ เู้ รยี นบรู ณาการข้อมลู ขา่ วสาร สารสนเทศ ส่ทู กั ษะการคดิ วเิ คราะห์และประเมนิ คา่

5. ผเู้ รยี นได้เรียนรคู้ วามมวี ินยั ในการทํางานรว่ มกับผูอ้ ่นื

6. ความรเู้ กดิ จากประสบการณ์ และการสรุปของผเู้ รียน

7. ผสู้ อนเป็นผอู้ าํ นวยความสะดวกในการจดั การเรียนรู้ เพือ่ ให้ผเู้ รียนเป็นผู้ปฏิบตั ิดว้ ยตนเอง

โดยสรุป การจัดการเรียนรู้ทีเ่ น้นบทบาทและการมสี ว่ นร่วมของผู้เรยี น โดยการนาํ เอาวิธีการสอน เทคนิค
การสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเหง่ การเรียนรู้เเละพฒั นา DALI หนา้ : ๑๖

ชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมใหผ้ ู้เรียนประยุกต์ใชท้ ักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้ นำไปปฏิบัติเพือ่ แก้ไขปัญหาหรอื
ประกอบอาชีพในอนาคตและถือเป็นการจัดการเรยี นรู้ประเภทหนึ่งที่ส่งเสรมิ ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับ
การเปล่ียนแปลงในยุคปัจจุบนั

จากการศึกษาหลักการ เเนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษา กระบวนการจัดการนิเทศ
และกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เนน้ ผเู้ รยี นเป็นสำคัญ พบวา่ การนิเทศการศึกษา เป็นกิจกรรมที่
สำคัญในการส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในสถานศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อปรับปรุง
และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู เพื่อให้ครูได้พัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนได้
อย่างเต็มที่และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกด้าน โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา
ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน นำไปสู่การศึกษาของนักเรียนที่ก้าวหน้าไป
อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เทียบเท่าหรือสูงขึ้นกว่าค่าเป้าหมายที่
สถานศึกษากำหนด โดยสามารถนำกระบวนการนิเทศแบบ PDSA / DALI ที่เป็นวงล้อแห่งการเรียนรู้และพัฒนา
ระบบการทำงาน มาประยุกต์ใช้ในการจัดระบบการนิเทศการสอน เพื่อให้ครูเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก
ส่งเสรมิ การแก้ไขปญั หาอย่างเป็นระบบภายในโรงเรียน หากไม่ไดผ้ ลลพั ธต์ ามเปา้ หมาย สามารถปรบั เปลย่ี นวิธีใหม่
ได้เรอ่ื ย ๆ ซงึ่ หากมกี ารวางแผนและกำหนดแนวทางการนิเทศร่วมกนั ระหว่างครผู ู้เข้ารบั การนเิ ทศและผนู้ ิเทศ โดย
ใช้การนิเทศในรูปแบบ group model ยิ่งเป็นการเสริมสร้างการสะท้อนคิดเพื่อหาจุดร่วมพัฒนา เป็นการกำหนด
เป้าหมายและแผนปฏิบัติการ เพื่อให้การนิเทศดำเนินไปตามแนวทางที่กำหนดและบรรลุเป้าหมายได้ อีกทั้งการ
จัดการเรียนการสอนของครู จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาแนวทางและกระบวนการจัดการเรียนสอน
โดยเนน้ การจดั การเรยี นการเรียนรู้แบบผสมผสาน นำเทคโนโลยแี ละส่ืออิเล็กทรอนิกสเ์ ข้ามาใช้ในชนั้ เรียน จัดการ
เรียนการสอนทสี่ ง่ เสรมิ ให้ผเู้ รยี นไดม้ ีสว่ นรว่ มในชน้ั เรียน กระต้นุ ใหผ้ ู้เรยี นเกิดการเรียนรู้ เกดิ กระบวนการคิดขั้นสูง
การวิเคราะหไ์ ดด้ ว้ ยตนเอง มุง่ ให้ผเู้ รยี นได้ลงมือปฏิบตั ิ โดยมคี รูเปน็ ผ้ฝู กึ และผูส้ นบั สนุน เพื่อยกระดับกระบวนการ
จดั การเรยี นการสอนใหด้ ขี ้นึ และเป็นประโยชนต์ อ่ ผเู้ รียนโดยตรง

5. หลักการ แนวคดิ ทฤษฎเี กีย่ วกบั ชมุ ชนแห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชพี (PLC)
5.1 ชุมชนแหง่ การเรยี นรู้ทางวชิ าชพี (PLC)
1. ความหมายของชมุ ชนแหง่ การเรยี นรูท้ างวิชาชีพ
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PlC) เป็นแนวทางการดำเนินการ

ที่ช่วยให้เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนทกุ ระดับ ครูผู้สอน รวมทั้งบุคลากรในโรงเรยี น จะต้องมุ่งเน้นการ
เรยี นรทู้ ีจ่ ะเกดิ ขน้ึ มากกว่าใหค้ วามสำคัญกบั การสอน ภายใตเ้ ปา้ หมายเดยี วกนั โดยอาศัยการพ่ึงพาซึง่ กนั และกนั

(สนอง โลหิตวิเศษ, 2563) การสั่งสมความรู้และการสรา้ งความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาตนเองและชุมชน
เพอ่ื พฒั นาสมรรถนะทางวชิ าชีพ และคณุ ภาพของผู้เรยี นร่วมกัน ผ่านกระบวนการเรยี นรรู้ ่วมมือ รว่ มใจ การเรียนรู้
ประสบการณ์ การปฏิบัติงานในพื้นที่ (วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล, 2562) ร่วมใจกันเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การศกึ ษาทมี่ ่งุ ผลสัมฤทธไิ์ ปท่ผี ้เู รยี น ใหผ้ ู้เรียนสามารถพัฒนาการเรยี นรไู้ ดด้ ้วยตนเองผา่ นกระบวนการทำงานอย่าง
มอื อาชพี เรียนรแู้ ลกเปลยี่ นเรยี นรู้ซง่ึ กนั และกนั ตลอดจนรว่ มดำเนินการการวางแผนอย่างเป็นระบบ ตั้งเป้าหมาย
หรือมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมสะท้อนผลการทำงาน และร่วมพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพ
การศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นวัฒนธรรมหรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน
และกัน (สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐาน, 2560)

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรยี นรู้เเละพัฒนา DALI หน้า : ๑๗

ดังนั้น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จึงหมายถึง กลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกั น
ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการเรียนการสอน โดยมีกระบวนการ
ทำงานอย่างมืออาชีพจนเกิดเป็นวัฒนธรรมหรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดพลังในการ
เปลีย่ นแปลงคุณภาพผู้เรยี น

2. กระบวนการของการจัดทำชมุ ชนแห่งการเรยี นร้ทู างวิชาชีพ (PLC)

ขน้ั ตอนการนำรปู แบบ PLC ไปใช้ในสถานศกึ ษามีรายละเอียดแต่ละขน้ั ตอน ดังน้ี

1. การรวมกลุ่ม PLC

รวมกลุ่มครทู ่มี ปี ญั หา/ความตอ้ งการเดียวกนั เชน่ กล่มุ สาระการเรียนรู้หรอื สอนระดบั ชั้นเดยี วกัน

2. คน้ หาปญั หา/ความต้องการ

1) รว่ มกนั เสนอปญั หา/ความตอ้ งการ 2) จัดกลมุ่ ปญั หา

3) จดั ลำดับความจำเปน็ เรง่ ด่วน 4) เลอื กปัญหาเพียง 1 ปัญหาโดยพจิ ารณาร่วมกนั

3. ร่วมกนั หาแนวทางในการแกป้ ญั หา

1) เรือ่ งเลา่ เรา้ พลงั /บอกเล่าประสบการณ์ท่แี กป้ ัญหาไดส้ ำเรจ็

2) ค้นหาตวั อยา่ ง/รปู แบบทีป่ ระสบความสำเร็จ

3) รว่ มกันตดั สินใจเลอื กรปู แบบ/วิธีการ/นวตั กรรมในการแก้ปญั หา

4. ออกแบบกจิ กรรมการแก้ปญั หา

ออกแบบกจิ กรรมตามวธิ ีการ/นวัตกรรมทก่ี ลุ่มเลือก

5. แลกเปลี่ยนเสนอแนะ

นำเสนอกิจกรรมการแกป้ ญั หา ใหผ้ ูเ้ ชีย่ วชาญหรอื ผทู้ ม่ี ปี ระสบการณใ์ ห้ข้อเสนอแนะ

6. นำสู่การปฏิบัติ/สังเกตการอสน

1) นำกจิ กรรมไปใชใ้ นการแกป้ ญั หา

2) ผสู้ ังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตในการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอน

7. สะทอ้ นผล

1) สรปุ ผลการนำรูปแบบ/วธิ กี าร ในการนำไปแกป้ ญั หา

2) อภปิ รายผลการแกป้ ญั หา เสนอแนะแนวทางในการพฒั นา

5.2 การ PLC เเบบ Lesson Study

ความหมายของการพัฒนาบทเรยี นรว่ มกัน (Lesson Study)

นฤมล อินทร์ประสิทธิ์ (2552, 13) ให้ความหมายคําว่าของการศึกษาบทเรียนหรือการศึกษาชั้นเรียน

คือการ “ศึกษา” ด้วยการดําเนินตามขัน้ ตอนในการพยายามเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการวิจัยท่ีครทู ุกคนเลือกว่า

จะทาํ งานร่วมกนั การศกึ ษาชั้นเรียน คอื รูปแบบหลักในการพัฒนาวชิ าชีพครูทถี่ ูกเลือกโดยครญู ีป่ ่นุ

ชาริณี ตรีวรัญญู (2552, 135 - 149) ให้ความหมายคําว่า “บทเรียน” ตามแนวคิดทางการศึกษาผ่าน
บทเรียนท่ีครอบคลมุ ไว้ 3 ประการ ดังนี้

1. บทเรยี น หมายถงึ แผนการจดั การเรียนการสอน
2. บทเรียน หมายถึง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของครู ตามแผนที่ได้วางไว้ซึ่งรวมถงึ

การใชส้ ื่อการเรียนการสอน และวัสดุอปุ กรณ์ตา่ ง ๆ
3. บทเรียน หมายถึง การเรียนรู้ของนักเรียน อาจเป็นมโนทัศน์ ข้อความรู้ เจตคติ และทักษะ

กระบวนการต่าง ๆ

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรียนรูเ้ เละพฒั นา DALI หนา้ : ๑๘

นันทิพัฒน์ เป็นแสน และอรุณศรี อึงประเสริฐ (2554, 65) ให้ความหมายคําว่า การพัฒนาบทเรียน
ร่วมกัน (Lesson Study) หมายความว่าการศึกษาวิจัยบทเรียน หรือการวิจัยแผนการสอนที่จัดแก่นักเรียน
เป็นการศึกษาเพื่อหาคําตอบที่เป็นระบบตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยบทเรียนเป็นการทํางาน
ร่วมกันของกลุ่มครูเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและการพัฒนาแผนการสอนที่จะต้องมีการสงั เกต การวิเคราะห์และทบทวน
ร่วมกัน การกําหนดประเด็นของครูผ่านกระบวนการเหล่านี้ก็เพื่อที่จะปรับปรุงวิธี คิดของนักเรียนและการทําให้
บทเรียนมีประสทิ ธิภาพมากขน้ึ

โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ความหมายของการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study, LS) หมายถึง การ
พัฒนาวิชาชีพซึ่งแนวทางหนึ่งที่กระทําโดยครูผู้สอน ซึ่งครูทํากิจกรรมร่วมกันอย่างร่วมมือรวมพลัง ได้แก่ การ
พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ สังเกตการจดั การเรียนรู้ และการสะท้อนผลในชั้นเรียน ซึ่งทํางาน
ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมติ ร ช่วยเหลอื ซ่ึงกนั และกัน เพื่อมุ่งสเู่ ปา้ หมายในการพัฒนาตนเอง และพฒั นาการจัดการ
เรยี นรใู้ ห้กับนักเรียนได้จริงและพฒั นาไปพรอ้ มกบั นกั เรยี น

6. กรอบเเนวคดิ CAL

กรอบแนวคิด CAL เป็นกรอบแนวคิดสำหรับการนิเทศ ติดตาม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของ
โรงเรยี นโพธินิมติ วิทยาคม ประกอบไปดว้ ย

1. C : Classroom Quality คอื การพัฒนาหอ้ งเรยี นม่งุ สู่ห้องเรียนคณุ ภาพ ด้วยกระบวนการนเิ ทศเเบบ
Open Class โดยมีทัง้ หมด 3 กลุม่ คอื

กลุ่มที่ 1 Schedule คือ การนิเทศเเบบกำหนดตาราง รายละเอียดคาบสอน โดยครูผู้สอน
ดำเนนิ การเตรยี มเเผนการสอน สือ่ การสอนเเละดำเนนิ การจัดการเรียนการสอนตามเเผนการสอน ซ่ึงงาน
นิเทศการสอนมีหน้าที่ในการจัดเตรียมเเบบบันทึกการนิเทศ รวมถึงเเบบประเมินเเผนการสอนเเบบ
Active Learning ดว้ ย

กลุ่มที่ 2 Line คือ การนิเทศเเบบออนไลน์ โดยมีการตั้ง Line Group เเบบสุ่ม จำนวนทั้งหมด
8 กลุ่ม คละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีสมาชิกกลุ่มละ 6-7 คน ซึ่งกำหนดให้ครูผู้สอนดำเนินการส่งวิดีโอ
การเรียนการสอนเวลา 1 ชั่วโมงใน Line Group เเละให้ครูในกลุ่มร่วมกันสะท้อนการเรียนการสอนได้
อยา่ งอสิ ระ

กลุ่มที่ 3 การนิเทศเเบบ Random คือ การนิเทศเเบบสุ่ม โดยกำหนดให้ผู้บริหารเเละหัวหน้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้ดำเนินการนเิ ทศเเบบสุ่ม กลุ่มสาระการเรียนรูล้ ะ 3 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 45.76 ของ
ครูผสู้ อนทง้ั หมด
2. A : Action Plan Quality คือ การพัฒนาเเผนการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่เเผนการจัดการเรียนรู้เเบบ
Active Learning เเบบมีคุณภาพ โดยมกี ระบวนการดังต่อไปนี้

2.1 จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำเเผนการเรียนรู้ Active Learning “การอบรมเชิง
ปฏิบัติการออกแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning และบูรณาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนยุค
ใหม”่

2.2 ครูร่วมกันจัดทำเเผนการเรียนรู้เเบบ Active Learning โดยนำผลการสอบ O-NET เเต่ละ
รายวิชามาวิเคราะห์ร่วมกับการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อออกเเบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ตาม
มาตรฐาน ตวั ชว้ี ดั เเละศกึ ษารายละเอียดจาก Test Blueprint ของ O-NET มาทำเเผนการจัดการเรียนรู้
ใช้่เทคนิคการสอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม มีเเผนการ
จดั การเรยี นร้ทู ี่มีองค์ประกอบ ครบถ้วน สมบรู ณ์

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรยี นร้เู เละพฒั นา DALI หน้า : ๑๙

2.3 จดั กจิ กรรมวิพากยเ์ เผนการจัดการเรียนรู้
2.4 ครูปรับปรุงเเผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning ตามคำเเนะนำจากกิจกรรมวิพากย์
เเผน
2.5 ดำเนินการนิเทศ กำหนดการนิเทศ โดยครูจัดการเรียนการสอนตามเเผนการจัดการเรียนรู้
Active Learning โดยเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีใน
การจัดการเรียนรู้ เเละมีการใช้สารสนเทศ ระบบติดตามเเละตรวจสอบการส่งงานของนักเรียนในการ
บริหารจัดการชน้ั เรยี น (Google Sheet)
2.6 ผนู้ ิเทศประเมนิ เเผนการจดั การเรยี นรู้
3. L : Learning Quality คือ การพัฒนาการเรียนร้รู ่วมกันของครู ผา่ นชุมชนเเห่งการเรียนรู้วิชาชีพดว้ ย
Lesson Study โดยดำเนนิ การดงั นี้
3.1 ครูร่วมกันจัดทำเเผนการเรยี นรเู้ เบบ Active Learning
3.2 ดำเนินการพัฒนาเเผนจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่ Action Plan Quality โดยจัดทำเเบบประเมิน
เเผนการจดั การเรียนรู้เเบบ Active Learning เเละเปิดโอกาสให้มีการวิพากย์เเผนการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ
การเรยี นรู้
สรุป จากการศึกษาข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทั้งหลักการ เเนวคิด เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา , ทฤษฎีที่
เกี่ยวกับการเครื่องมือในการพัฒนางาน, ทฤษฎีกระบวนการนิเทศ, ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ เเละ ทฤษฎีเกี่ยวกับ
ชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมเห็นสมควรใช้วงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา
DALI เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาระบบงานนิเทศการสอน เนื่องจากเป็นการออกเเบบกระบวนการนิเทศท่ี
เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน รวมถึงทำให้ค้นพบวิธวี ่าทำอยา่ งไรจึงจะสามารถนำรูปเเบบการนิเทศมาใช้ได้จรงิ
เเละเมื่อทดลองดำเนินการเเล้วหากไม่สำเร็จ จะสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง เเละสุดท้ายจะปรับปรุงอย่างไรให้มี
ประสทิ ธิภาพมากขนึ้
ในสว่ นรปู เเบบการนเิ ทศการสอนนั้น เน่อื งจากโรงเรยี นโพธินมิ ิตวิทยาคมมงุ่ ให้ครปู รับเปลยี่ นกระบวนการ
สอนจาก Passive Learning เป็น Active Learning มุ่งพัฒนาห้องเรียนสู่ห้องเรียนคุณภาพตามกรอบเเนวคิด
CAL Quality Model @P.N โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมจึงเลือกรูปเเบบการนิเทศเเบบ Open Class คือการเปิด
ชั้นเรียน โดยเเบ่งเป็นกลุ่มนิเทศทัง้ หมด 3 กลุ่ม คือ กลุ่มการนเิ ทศเเบบเเบบกำหนดตาราง (Schedule) กลุ่มการ
นิเทศเเบบออนไลน์ (Line) เเละกลุ่มการนิเทศเเบบสุ่ม (Landom) เมื่อทั้ง 3 กลุ่มดำเนินการนิเทศเรียบร้อยเเล้ว
โรงเรียนจะนำชุดข้อมูลการนิเทศการสอนดังกล่าวเข้าสู่กิจกรรมชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เเบบ
Lesson Study เพอื่ ดำเนนิ การตามวงลอ้ แห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI ต่อไป

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรียนรู้เเละพัฒนา DALI หนา้ : 20

สว่ นที่ 3 ผลการดำเนนิ งาน

3.1 กระบวนการออกเเบบเเละพฒั นานวตั กรรม
1. วิเคราะห์บริบทข้อมูลจากตัวบ่งชี้ต่าง ๆ โดยดูข้อมูลจากสารสนเทศโรงเรียน ปีการศึกษา 2563 โดย

พิจารณาดงั นี้
1.1 วเิ คราะห์ผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี น
1.2 วิเคราะห์ผลการทดสอบ O-NET มาตรฐานตัวชี้วัดเเต่ละรายวิชาตามหลักสูตรสถานศึกษา

ขน้ั พนื้ ฐานตามเเนวทางการทดสอบ O-NET เพื่อออกเเบบการจัดการเรียนรู้
1.3 วเิ คราะหข์ ้อมูลนักเรียนรายบุคคล
1.4 วิเคราะห์คุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ของนักเรยี นผ่านเกณฑ์ขัน้ ตำ่
1.5 วิเคราะห์เเผนพัฒนาสถานศกึ ษา
1.6 วิเคราะห์เเผนปฏิบตั กิ ารประจำปี

2. ศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้โรงเรียนโพธินิมิต
วิทยาคมเลือกใช้วงล้อเเห่งการเรยี นรูเ้ เละพฒั นา DALI ในกระบวนการพัฒนางานต่าง ๆ

3. ออกเเบบการดำเนนิ งานนิเทศ โดยใช้วงล้อเเหง่ การเรียนรเู้ เละพัฒนา DALI ดังน้ี

D = Design (การออกเเบบ) C = Classroom Quality
A = Action (การปฏบิ ัต)ิ A = Action Plan Quality
L = Learning (การเรยี นรู้) L = Learning Quality
I = Improve (การปรับปรุง พฒั นา)

ภาพที่ 4 การนิเทศ ตดิ ตามเพอ่ื ยกระดบั คณุ ภาพการศกึ ษาของโรงเรียนโพธินมิ ิตวทิ ยาคม
CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพฒั นา DALI

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรยี นรเู้ เละพัฒนา DALI หนา้ : 21

วงล้อเเห่งการเรยี นรู้ การดำเนนิ การของสถานศึกษา
เเละพฒั นา DALI
1. สำรวจปญั หาจากการนิเทศครู ในปีการศึกษาทีผ่ ่านมา ซ่งึ ในปกี ารศึกษา 2563
ขั้นตอนท่ี 1 พบว่า

ขน้ั ตอนที่ 2 1.1 ครูร้อยละ 62.70 จัดการเรียนการสอนเเบบ Passive Learning
ทำใหน้ ักเรยี นเกดิ ความเบื่อหน่าย ไมส่ นใจเรียน เกิดความถดถอยทางการเรยี น

1.2 ครขู าดความหลากหลายในกระบวนการจัดการเรียนการสอน
2. ลำดบั ความสำคัญของปญั หา
3. ศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศ รูปเเบบการนิเทศ กระบวนการจัดการ
เรียนการสอน เเละการสรา้ งชมุ ชนเเหง่ การเรยี นรู้ PLC
4. คณะครูเเละผู้บริหารโรงเรียน ร่วมกันวางเเผนออกเเบบการนิเทศ โดยมีเเบบ
บันทึกการนิเทศเป็นเครื่องมือ เเละออกเเบบเเละสร้างนวัตกรรมการนิเทศที่
เหมาะสมกับปัญหาเเละบริบทของสถานศึกษา ซ่ึงโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมเห็น
ควรให้ใช้ CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI
โดยมีรายละเอยี ด ดงั น้ี

4.1 Classroom Quality คือ การพัฒนาห้องเรียนมุ่งสู่ห้องเรียนคุณภาพ
ด้วยการนิเทศรูปเเบบ Open Class ดำเนินการวางเเผนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มารว่ มสงั เกตช้ันเรยี นโดยไมส่ ่งผลกระทบต่อนกั เรียน

4.2 Action Plan Quality คือ การพัฒนาเเผนการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่เเผน
การจดั การเรยี นรูเ้ เบบ Active Learning เเบบมคี ณุ ภาพ

4.3 Learning Quality คือ การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันของครู ผ่านชุมชน
เเหง่ การเรยี นรวู้ ชิ าชีพด้วย Lesson Study
5. ตรวจสอบความเป็นไปได้ของนวัตกรรม กอ่ นการนำไปใช้
6. กำหนดเวลาในการดำเนินการนเิ ทศ
7. เขียนกิจกรรมการนิเทศ
8. จัดการประชุมเพ่ือสร้างความเขา้ ใจในขัน้ ตอน/กระบวนการนิเทศ ให้ผูน้ ิเทศเเละ
ผู้รับการนิเทศ

1. สร้างชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วย Lesson Study มุ่งสู่สังคมเเห่งการ
เรียนรอู้ ย่างมีคุณภาพ Learning Quality
2. ครูร่วมกันจัดทำเเผนการเรียนรู้เเบบ Active Learning โดยนำผลการสอบ
o-net เเต่ละรายวิชามาวเิ คราะห์รว่ มกับการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพือ่ ออกเเบ
บกระบวนการจัดการเรียนรตู้ ามมาตรฐาน ตัวช้วี ัด เเละยึดรายละเอยี ดจาก บลูปร้ิน
ของ o-net มาทำเเผนการจัดการเรียนรู้ ใช้่เทคนิคการสอนต่างๆให้เหมาะสมกับ
วัตถุประสงค์ เป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม มีเเผนการจัดการเรียนรู้ที่มี
องคป์ ระกอบ ครบถ้วน สมบรู ณ์
3. ดำเนินการพัฒนาเเผนจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่ Action Plan Quality โดยจัดทำ

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรยี นรูเ้ เละพัฒนา DALI หนา้ : 22

วงล้อเเห่งการเรยี นรู้ การดำเนนิ การของสถานศึกษา
เเละพฒั นา DALI
เเบบประเมินเเผนการจัดการเรียนรูเ้ เบบ Active Learning เเละเปดิ โอกาสให้มีการ
ขนั้ ตอนที่ 3 วิพากย์เเผนการจดั การเรยี นรตู้ ามกลมุ่ สาระการเรียนรู้
4. ดำเนินการปฏิบัติการนิเทศ โดยครูจัดการเรียนการสอนตามเเผนจัดการเรียนรู้
เเบบ Active Learning มุ่งสู่ Classroom Quality ด้วยการนิเทศรูปเเบบ Open
Class

1. ครูสะท้อนผลชั้นเรียนในกิจกรรมชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วย Lesson
Study ตามรปู เเบบการนเิ ทศเเบบ Open Class
2. วเิ คราะหข์ ้อมูลเเยกเป็นกลุ่ม ๆ ตามรูปเเบบการนเิ ทศเเบบ Open Class
3. สรปุ ผลการนิเทศ
4. ปรับเเผนการจัดการเรียนรู้ ตามการสะท้อนผลชั้นเรียน เพื่อใช้ในปีการศึกษา
ถดั ไป

นำผลการนิเทศมาวิเคราะห์ ปรับปรุง รูปเเบบการนิเทศ ให้มีความเหมาะสม
มากยิ่งขึน้ เพ่อื มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนของครูให้มีคุณภาพ พัฒนาห้องเรียนให้มี
คณุ ภาพ เเละพัฒนาสงั คมเเห่งการเรยี นร้ใู หม้ คี ุณภาพต่อไป

ขนั้ ตอนท่ี 4

3.2 รายละเอียดของนวัตกรรม
การนเิ ทศ ตดิ ตาม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธินิมติ วิทยาคม CAL Quality Model @P.N.

C = Classroom Quality
A = Action Plan Quality
L = Learning Quality

ภาพที่ 5 การนิเทศ ตดิ ตามเพอ่ื ยกระดบั คณุ ภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธนิ มิ ิตวิทยาคม
ดว้ ย CAL Quality Model @P.N.

กรอบเเนวคิด CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเหง่ การเรียนรูเ้ เละพฒั นา DALI หน้า : 23

การดำเนนิ การของสถานศึกษา

Classroom Quality คือ การพัฒนาห้องเรียนมุ่งสู่ห้องเรียนคุณภาพ
ดว้ ยกระบวนการนิเทศเเบบ Open Class โดยมีทั้งหมด 3 กลมุ่ คอื

กลุ่มท่ี 1 Schedule คือ การนิเทศเเบบกำหนดตาราง รายละเอียด
คาบสอน โดยครูผู้สอนดำเนินการเตรียมเเผนการสอน สื่อการสอนเเละดำเนินการ
จัดการเรียนการสอนตามเเผนการสอน ซึ่งงานนิเทศการสอนมีหน้าที่ในการ
จัดเตรียมเเบบบันทึกการนิเทศ รวมถึงเเบบประเมินเเผนการสอนเเบบ Active
Learning ด้วย

กลุ่มที่ 2 Line คือ การนิเทศเเบบออนไลน์ โดยมีการตั้ง Line Group
เเบบสมุ่ จำนวนท้งั หมด 8 กลมุ่ คละกลุ่มสาระการเรยี นรู้ มีสมาชิกกลุ่มละ 6-7 คน
ซึ่งกำหนดให้ครูผู้สอนดำเนินการส่งวิดีโอการเรียนการสอนเวลา 1 ชั่วโมงลง Line
Group เเละให้ครูในกลุ่มร่วมกันสะท้อนการเรียนการสอนได้อย่างอิสระ ผ่านทาง
Google Forms ที่ https://forms.gle/DxHonuMC8LUu6ufU9

กลุ่มที่ 3 การนิเทศเเบบ Random คือ การนิเทศเเบบสุ่ม โดยกำหนดให้
ผู้บริหารเเละหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ดำเนินการนิเทศเเบบสุ่ม กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ละ 3 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 48.21 ของครผู สู้ อนทั้งหมด

Action Plan Quality คือ การพัฒนาเเผนการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่เเผนการ
จดั การเรยี นรู้เเบบ Active Learning เเบบมีคณุ ภาพ

1. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำเเผนการเรียนรู้ Active Learning
“การอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning และ
บูรณาการเพื่อพฒั นาสมรรถนะผู้เรยี นยุคใหม”่

2. ครูร่วมกันจัดทำเเผนการเรียนรู้เเบบ Active Learning โดยนำผล
การสอบ O-NET เเต่ละรายวิชามาวิเคราะห์ร่วมกับการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
เพื่อออกเเบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด เเละศึกษา
รายละเอียดจาก Test Blueprint ของ O-NET มาทำเเผนการจัดการเรียนรู้ ใช้่
เทคนิคการสอนท่ีเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม
มเี เผนการจดั การเรียนรทู้ ่มี อี งค์ประกอบ ครบถ้วน สมบรู ณ์

3. จัดกจิ กรรมวิพากยเ์ เผนการจดั การเรียนรู้
4. ครูปรับปรงุ เเผนการจดั การเรียนรู้ Active Learning ตามคำเเนะนำจาก
กจิ กรรมวิพากยเ์ เผนการจดั การเรียนรู้
5. ดำเนินการนิเทศตามกำหนดการนิเทศ โดยครูจัดการเรียนการสอนตาม
เเผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning ที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ เเละมีการใช้
สารสนเทศเพื่อติดตามผลการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นปัจจุบันด้วยระบบตรวจสอบ
การส่งงานของนักเรียนในการบรหิ ารจดั การช้ันเรียน (Google Sheet)
6. ผนู้ เิ ทศประเมินเเผนการจดั การเรียนรู้

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเห่งการเรียนรเู้ เละพัฒนา DALI หนา้ : 24

กรอบเเนวคิด การดำเนนิ การของสถานศึกษา

Learning Quality คอื การพฒั นาการเรยี นรู้ร่วมกนั ของครู (PLC) ผ่านชุมชน
เเห่งการเรียนรู้วิชาชีพด้วย Lesson Study เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
ของครูเเละยกระดบั ผลสมั ฤทธ์ิของนักเรยี นใหส้ ูงขน้ึ รวมถึงเพม่ิ จำนวนนักเรียนให้มี
ผลการเรยี นผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ของจำนวนนกั เรยี นท้งั หมด โดยดำเนินการดังนี้

1. ครรู ว่ มกันจดั ทำเเผนการเรียนรูเ้ เบบ Active Learning
2. ดำเนินการพัฒนาเเผนจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่ Action Plan Quality
โดยจัดทำเเบบประเมินเเผนการจัดการเรียนรู้เเบบ Active Learning เเละ
เปิดโอกาสใหม้ กี ารวิพากยเ์ เผนการจัดการเรยี นรตู้ ามกลมุ่ สาระการเรยี นรู้
3. ดำเนินการปฏิบัติการนิเทศ โดยครูจัดการเรียนการสอนตาม
เเผนจัดการเรียนรู้เเบบ Active Learning มุ่งสู่ Classroom Quality ด้วยการ
นิเทศรูปเเบบ Open Class
4. ครูสะทอ้ นผลช้ันเรยี นในกิจกรรมชุมชนเเห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชีพด้วย
Lesson Study ตามรปู เเบบการนเิ ทศเเบบ Open Class
5. วิเคราะห์ข้อมูลเเยกเป็นกลุ่ม ๆ ตามรูปเเบบการนิเทศเเบบ Open
Class
6. สรุปผลการพัฒนานวัตกรรมเเละนำข้อมูลเสนอต่อนักเรียนเเละ
ผูป้ กครองเพือ่ รายงานผลการพัฒนานวัตกรรม
7. ปรับเเผนการจัดการเรียนรู้ ตามการสะท้อนผลชั้นเรียน เพื่อใช้ในปี
การศกึ ษาถัดไป

3.3 รปู เเบบเเละวธิ ีการนำนวัตกรรมไปใช้งาน
1. จัดทำคำสั่งโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ที่ 12/2564 เรื่อง การนิเทศโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศกึ ษา 2564
2. จัดทำคู่มือ เเนวทางการนิเทศ ติดตามเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเห่งการเรยี นรูเ้ เละพฒั นา DALI
3. ออกแบบแบบบันทึกการนิเทศการสอน โดยกำหนดให้มีการรายงานแบบบันทกึ การนิเทศ 2 แบบ คือ

แบบ Online และแบบ On Hand โดยแบบ Online ใช้ในการนิเทศแบบ Online และแบบ On Hand ใชก้ บั การ
นิเทศแบบกำหนดตารางและการนิเทศแบบสมุ่ (On-Site)

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรยี นรเู้ เละพฒั นา DALI หนา้ : 25

ภาพที่ 6 แบบบนั ทึกการนเิ ทศการสอน รูปแบบ On Hand สำหรับการนิเทศแบบกำหนดตารางและแบบสุ่ม (On-Site)
ภาพที่ 7 แบบบนั ทึกการนิเทศการสอน รูปแบบ Online สำหรับการนิเทศแบบ Online

4. จดั การประชุมเพ่ือสรา้ งความเข้าใจในขั้นตอน/กระบวนการนิเทศ ให้ผนู้ เิ ทศเเละผรู้ ับการนเิ ทศ

ภาพที่ ๘ ภาพประชมุ กระบวนการนเิ ทศ ภาคเรยี นที่ ๒ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรียนรเู้ เละพัฒนา DALI หนา้ : 26

๕. ประสานงานกับคณะทำงานงานกิจกรรมชุนชนการพัฒนาวิชาชีพ (PLC) จัดทำคำสั่งกิจกรรมชุมชน
เเห่งการเรียนร้ทู างวิชาชีพ (PLC) ดว้ ย Lesson Study

ภาพท่ี ๙ กจิ กรรมชมุ ชนการพฒั นาวชิ าชีพ (PLC) ภาคเรียนท่ี ๒ ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔

๖. จัดการอบรมเชงิ ปฏิบตั กิ าร การเขียนเเผนการจดั การเรียนร้เู ชงิ รกุ Active Learning

ภาพที่ 10 จดั การอบรมเชิงปฏิบตั ิการการเขียนเเผนการจดั การเรยี นรู้เชิงรกุ Active Learning

๗. ครูร่วมกันจัดทำเเผนการเรียนรู้เเบบ Active Learning โดยนำผลการสอบ O-NET เเต่ละรายวิชา
มาวิเคราะห์ร่วมกับการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อออกเเบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด
เเละศึกษารายละเอียดจาก Test Blueprint ของ O-NET มาทำเเผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรมและจัดทำเเผนการจัดการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบ
ครบถว้ น สมบรู ณ์

ภาพที่ 11 การจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ มีการใช้สอ่ื เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ เเละมกี ารใช้สารสนเทศ ระบบตดิ ตาม
เเละตรวจสอบการส่งงานของนักเรียน (Google Sheets) ในการบรหิ ารจดั การชนั้ เรยี น

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเห่งการเรยี นรู้เเละพัฒนา DALI หน้า : 27

๘. จัดกจิ กรรมวิพากยเ์ เผนการจัดการเรยี นรู้

ภาพที่ 12 กจิ กรรมวิพากยแ์ ผนการจดั การเรยี นรู้ ภาคเรยี นท่ี ๒ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔

๙. ครูปรับปรุงเเผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning ตามคำเเนะนำจากกิจกรรมวิพากย์เเผนการ
จดั การเรียนรู้

๑๐. ดำเนินการตามกำหนดการนิเทศเเบบ Open Class โดยครูจัดการเรียนการสอนตามเเผนการจัด
การเรียนรู้ Active Learning โดยเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการใช้สื่อ เทคโนโลยี
ในการจัดการเรียนรู้ เเละมีการใช้สารสนเทศ ระบบติดตามเเละตรวจสอบการส่งงานของนักเรียน (Google
Sheets) ในการบรหิ ารจัดการชนั้ เรยี น

ทั้งนี้สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น เป็นสื่อการสอนที่ผ่านกระบวนการออกเเบบเเละพัฒนาสื่อ
หรือนวัตกรรมเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ สะดวกต่อการใช้ สามารถใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมถึงยังมีการประเมินสื่อโดยการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เเละนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนา
ปรบั ปรุงสื่อดว้ ย

ภาพท่ี 13 วิชา เทคโนโลยี 2 (วทิ ยาการคำนวณ) รหสั วิชา ว21104
ด้วยการจดั การเรียนการสอนรหัสจำลองร่วมกับการใชโ้ ปรแกรม Liveworksheet

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเหง่ การเรียนร้เู เละพัฒนา DALI หน้า : 28

๑๑. ผนู้ เิ ทศประเมินผลการนิเทศ ผา่ นแบบบันทกึ การนิเทศ โดยมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินท่ีชัดเจน
ซึ่งแบบบันทึกการนิเทศที่โรงเรียนโพธินมิ ิตวิทยาคมได้ออกแบบน้ัน มีทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านแผนการ
จัดการเรียนรู้ (5 คะแนน) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (10 คะแนน) และด้านบรรยากาศในชั้นเรียน
(5 คะแนน)

ภาพท่ี 14 นิเทศประเมินผลการนเิ ทศ ผ่านแบบบนั ทึกการนเิ ทศ โดยมกี ารกำหนดเกณฑ์การประเมนิ ที่ชดั เจน

1๒. ผู้รับการนิเทศ เเละผู้นิเทศ ทำเเบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรม CAL Quality Model
@P.N. ด้วย วงล้อเเหง่ การเรียนรู้เเละพัฒนา DALI ผ่าน Google Forms ท่ี https://forms.gle/JSZjxfuGxHPaDJLT9
โดยจากการประเมนิ ดังกล่าว

ภาพที่ 15 แบบประเมนิ ความพงึ พอใจที่มตี ่อการใชน้ วตั กรรมดา้ นการนิเทศ CAL Quality Model
บน Google Form และบนกระดาษ

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเหง่ การเรยี นรเู้ เละพัฒนา DALI หน้า : 29

11. นกั เรยี น ทำเเบบประเมินความพึงพอใจต่อการกจิ กรรมการเรยี นรเู้ เบบ Active Learning

ภาพท่ี 16 ตัวอยา่ ง แบบประเมนิ ความพึงพอใจตอ่ การเรยี นรายวชิ า ภาษาจีนและวิทยาศาสตรพ์ ้ืนฐาน
ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2564

ภาพท่ี 17 ตวั อยา่ ง แบบประเมนิ ความพึงพอใจของนกั เรยี นทมี่ ีการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning
ภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2564

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรียนรู้เเละพัฒนา DALI หน้า : 30

1๔. รวบรวมข้อมูล ทั้งผลการประเมินจากแบบบันทึกการนิเทศการสอน การประเมินความพึงพอใจต่อ
นวัตกรรม CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI เเละเเบบประเมินความ
พงึ พอใจตอ่ การจัดกจิ กรรมการเรยี นรูเ้ เบบ Active Learning ของนักเรยี น

การรายงานผลแบบบันทกึ การนเิ ทศ แบบกำหนดตาราง การรายงานผลแบบบนั ทกึ การนิเทศ แบบกำหนดตาราง
ภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2564

ภาพที่ 18 การรายงานผลแบบบนั ทกึ การนเิ ทศ แบบกำหนดตาราง ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2564

ภาพที่ 19 การรายงานผลแบบบนั ทกึ การนิเทศ แบบสมุ่ ภาคเรียนที่ 2 ปกี ารศึกษา 2564

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเห่งการเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI หน้า : 31

การรายงานผลแบบบนั ทกึ การนิเทศ แบบออนไลน์ การรายงานผลแบบบนั ทึกการนิเทศ แบบออนไลน์
ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2564 ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2564

ภาพท่ี 20 การรายงานผลแบบบนั ทกึ การนิเทศ แบบ Online ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564

1๕. วเิ คราะหข์ อ้ มูลท่ไี ด้จากการรวบรวมข้อมลู
จากข้อมูลการรายงานผลแบบนิเทศแบบ Open Class สามารถสรุปได้ว่า การนิเทศแบบสุ่ม มีผล

การประเมนิ อยใู่ นเกณฑค์ ณุ ภาพระดบั ดี มากที่สุดคอื รอ้ ยละ 16.70
การนิเทศแบบกำหนดตารางมีผลการประเมินได้เกณฑ์คุณภาพระดับดี ร้อยละ 12.50 เกณฑ์

คณุ ภาพระดับคณุ ภาพปานกลาง ร้อยละ 87.50
การนิเทศแบบออนไลน์ มีผลการประเมินได้เกณฑ์คุณภาพระดับดี ร้อยละ 14.50 เกณฑ์คุณภาพ

ระดบั ปานกลาง รอ้ ยละ 85.50
การนิเทศแบบสุ่ม มีผลการประเมินได้เกณฑ์คุณภาพระดับดี ร้อยละ 16.70 เกณฑ์คุณภาพระดับ

ปานกลาง ร้อยละ 83.30

ตารางที่ 1 แผนภูมแิ สดงข้อมลู แบบรายงานการนเิ ทศแบบ Open Class ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2564

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเหง่ การเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI หน้า : 32

สรุปผลความพึงพอใจที่มีตอ่ การใช้นวตั กรรมการนิเทศ CAL Quality Model @P.N.

ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI

ประเด็นความพึงพอใจ 5 ระดับความพงึ พอใจ 1 ̅ ผลการ
432 ประเมนิ

ด้านการพัฒนานวัตกรรม ดี

1 ความสอดคล้องของนวัตกรรมกับ 51.32 35.53 13.16 0.00 0.00 4.38 ดี

จดุ ประสงคใ์ นการนำไปใช้งานจรงิ ดี
ดี
2 ความเข้ากันได้ของนวัต กร ร ม กั บ 30.26 53.95 9.21 6.58 0.00 4.08
ดี
ระบบงานทปี่ ฏบิ ัติ
ดี
3 ประสทิ ธผิ ลในการจดั ทำนวตั กรรม 22.37 76.32 1.32 0.00 0.00 4.21 ดี

คา่ เฉลยี่ ด้านการพฒั นานวตั กรรม 4.22 ดี

ด้านการใชง้ านนวัตกรรม ดี

1 ความเหมาะสมของนวัตกรรมกับผู้ใช้ 27.63 72.37 0.00 0.00 0.00 4.28 ดี
ดี
นวัตกรรม
ผลการ
2 ความเหมาะสมของนวตั กรรมในภาพรวม 13.16 64.47 18.42 3.95 0.00 3.87 ประเมิน

3 นวัตกรรมมีความสอดคล้องกับระบบการ 11.84 69.74 18.42 0.00 0.00 3.93 ดี

ทำงานเดมิ ที่มีอยู่ ดี
ดี
4 นวั ต กร ร ม ช่ วย ใ นก า ร ท ำ ง า น ข อ ง 35.53 52.63 9.21 2.63 0.00 4.21

หน่วยงานมรี ะบบชัดเจนมากขนึ้

ค่าเฉลยี่ ดา้ นการใชง้ านนวตั กรรม 4.07

ดา้ นการนำนวัตกรรมไปใช้งาน

1 ประโยชนท์ ไ่ี ดร้ ับจากนวตั กรรม 46.05 52.63 1.32 0.00 0.00 4.45

2 การได้รับความรู้ และประสบการณ์ใหม่ที่ 31.58 60.53 7.89 0.00 0.00 4.24

เปน็ ประโยชน์ต่อหนว่ ยงานมากขึ้น

ประเด็นความพงึ พอใจ 5 ระดับความพงึ พอใจ 1 ̅
432

3 การได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ท่ี 47.37 52.63 0.00 0.00 0.00 4.47

เปน็ ประโยชน์ต่อการปฏิบตั งิ านมากขึน้

คา่ เฉล่ยี ด้านการนำนวตั กรรมไปใช้ประโยชน์ 4.39

ค่าเฉล่ยี รวม 4.21

ตารางท่ี 2 สรุปผลความพึงพอใจที่มตี อ่ การใช้นวัตกรรมการนเิ ทศ CAL Quality Model @P.N.
ด้วยวงล้อเเห่งการเรยี นรู้เเละพฒั นา DALI

เกณฑ์คะแนนการแปลผลความพงึ พอใจทีม่ ตี ่อการใช้นวตั กรรมการนิเทศ CAL Quality Model @P.N.
ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรยี นรเู้ เละพัฒนา DALI

คะแนนเฉล่ีย 4.51 - 5.00 หมายถงึ ระดับความพงึ พอใจอยู่ในระดบั ดีมาก
คะแนนเฉลี่ย 3.51 - 4.50 หมายถงึ ระดับความพึงพอใจอยใู่ นระดบั ดี
คะแนนเฉล่ยี 2.51 - 3.50 หมายถงึ ระดับความพงึ พอใจอยใู่ นระดบั ปานกลาง
คะแนนเฉล่ยี 1.51 - 2.50 หมายถงึ ระดับความพงึ พอใจอย่ใู นระดับน้อย
คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.50 หมายถงึ ระดับความพงึ พอใจอยใู่ นระดับน้อยท่ีสุด

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพฒั นา DALI หนา้ : 33

แบบประเมินความพึงพอใจของนกั รียนท่ีมตี ่อการจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอน

แบบ Active Learning ภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2564

ประเดน็ ความคดิ เหน็ 5 ระดบั ความพึงพอใจ 1 ผลการ
432 ประเมิน
มากทสี่ ดุ
1. ครจู ัดกจิ กรรมการเรียนรสู้ นกุ และ 66.99 31.55 1.46 0.00 0.00 4.66
นา่ สนใจ มาก

2. ครูใช้สอื่ ประกอบการเรียนการสอนท่ี 46.53 36.66 16.81 0.00 0.00 4.30 มาก
เหมาะสมและหลากหลาย
มาก
3. ครูส่งเสรมิ นกั เรยี นได้ฝกึ ปฏบิ ตั ิจรงิ 34.71 50.30 13.15 1.83 0.00 4.18
มกี ารจดั การและการแก้ปัญหา มากทส่ี ุด

4. ครใู ห้นกั เรยี นฝกึ กระบวนการคิด 38.00 46.77 15.23 0.00 0.00 4.23 มาก
คดิ วเิ คราะห์ คิดสร้างสรรค์
มาก
5. ครสู ่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันทง้ั 57.49 41.66 0.85 0.00 0.00 4.57
เปน็ กลุ่มและรายบุคคล มาก

6. นักเรยี นมสี ว่ นร่วมในการวัดและ 44.58 42.27 13.15 0.00 0.00 4.31 มากทีส่ ดุ
ประเมนิ ผลการเรียน ผลการ
ประเมนิ
7. ครปู ระยกุ ตส์ าระที่สอนเข้ากบั 34.59 44.95 18.64 1.83 0.00 4.12
เหตุการณ์ปัจจบุ ัน/สภาพแวดลอ้ ม มาก

8. ครสู ่งเสรมิ ให้นักเรียนมคี วามคดิ รเิ รม่ิ 39.59 43.85 14.74 1.83 0.00 4.21 มาก
และรูจ้ ักวิพากษว์ จิ ารณ์

9. ครูสง่ เสรมิ ใหท้ ดลอง/ทำงานใน 57.49 40.80 1.71 0.00 0.00 4.56
ห้องปฏิบัตกิ ารหรือนอกชัน้ เรียนบอ่ ย

ประเดน็ ความคดิ เหน็ 5 ระดับความพึงพอใจ 1
432

10. ครมู ีการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอน

สง่ เสริมการคน้ ควา้ และแสวงหาความรู้ 43.61 41.78 14.62 0.00 0.00 4.29

อยา่ งต่อเน่ือง

คา่ เฉล่ยี รวม 4.34

ตารางที่ 3 แบบประเมนิ ความพงึ พอใจของนักรียนท่มี ีตอ่ การจดั กิจกรรมการเรยี นการสอน
แบบ Active Learning ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564

ค่าคะแนนเฉลีย่ ความพึงพอใจ
คะแนน 4.51 - 5.00 ความพึงพอใจอย่ใู นระดบั มากที่สุด
คะแนน 3.51 - 4.50 ความพงึ พอใจอยใู่ นระดบั มาก
คะแนน 2.51 – 3.50 ความพงึ พอใจอยู่ในระดบั ปานกลาง
คะแนน 1.51 – 2.50 ความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย
คะแนน 1.00 – 1.50 ความพงึ พอใจอยู่ในระดับ น้อยท่ีสดุ

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเห่งการเรยี นร้เู เละพฒั นา DALI หน้า : 34

1๖. สรุปผลการพัฒนานวตั กรรมเเละนำข้อมลู เสนอต่อนักเรียนเเละผ้ปู กครองเพ่ือให้ทราบการพัฒนาของ
นวตั กรรม

1๗. นำผลการพฒั นานวัตกรรม ไปปรับปรุง พฒั นาใหด้ ขี นึ้ เพ่อื ใชใ้ นปีการศกึ ษาถัดไป

3.4 ผลลัพธท์ เ่ี กิดจากการพัฒนาเเละนำนวัตกรรมไปใช้งาน
3.4.1 ผลทเี่ กดิ กับสถานศกึ ษา
1. โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนจาก Passive

Learnig เปน็ เเบบ Active Learning โดยคิดเป็นรอ้ ยละ 92.85 ของครทู ้งั หมด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม มีสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น โดยใน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพิ่มขึ้น 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพิ่มขึ้น 3 กลุ่ม
สาระการเรยี นรู้

2.1 ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้ นักเรียนมผี ลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพ่ิมขึ้น 4 กลุม่ สาระการ
เรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการงาน
อาชพี ตามลำดับ

รอ้ ยละของนักเรยี นที่มีระดบั ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนระดบั ดี (เกรด 3) ข้ึนไป

ช้นั ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาตา่ งประเทศ คณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ฯ

ม.1 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564
ม.2
ม.3 53.76 63.08 92.96 76.41 19.09 45.64 66.33 45.64 31.15 28.21
เฉล่ียรวม
76.54 76.6 59.29 48.4 43.36 29.26 48.67 32.45 39.82 38.3
ชน้ั
67.08 75.76 52.91 68.4 54.58 41.56 49.16 51.08 41.25 60.17
ม.1
ม.2 65.79 71.81 68.39 64.4 39.01 38.82 54.72 43.06 37.41 42.23
ม.3
เฉลยี่ รวม ร้อยละของนกั เรียนทีม่ ีระดับผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนระดบั ดี (เกรด 3) ข้นึ ไป

สขุ ศึกษาฯ ศิลปะ การงานอาชพี เฉลยี่ รวม 8 กลมุ่ สาระการเรียนรู้

2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564

75.87 91.28 44.72 34.36 98.49 64.10 68.02 56.09

85.39 88.30 96.01 80.32 65.92 96.28 64.38 61.24

93.75 99.57 67.08 58.87 56.66 66.23 60.31 65.21

85.00 93.05 69.27 57.85 73.69 75.54 64.24 60.85

ตารางท่ี 4 การเปรยี บเทยี บผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นระดบั ดี (เกรด 3) ข้นึ ไป
ตามระดบั กลุ่มสาระการเรยี นรู้ของนักเรียน ระดบั ชนั้ มัธยมศกึ ษาตอนตน้ ปกี ารศึกษา 2563 – 2564

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรยี นรู้เเละพัฒนา DALI หนา้ : 35

180 ภาษาไทย สงั คม ภาษาตา่ งประเทศ คณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศกึ ษา ศิลปะ การงานฯ
160 53.42 78.49 61.24 30.08 48.54 90.46 77.64 79.8
140 62.3 78.53 62.91 45.88 41.44 80.1 90.23 74.58
120
100
80
60
40
20

0

ปี 2564
ปี 2563

ตารางท่ี 5 แผนภมู แิ สดงผลการเปรยี บเทยี บผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนระดบั ดี (เกรด 3) ขน้ึ ไป
ตามระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนกั เรยี น ระดบั ชั้นมัธยมศึกษาตอนตน้ ปกี ารศกึ ษา 2563 – 2564

2.2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น 3 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการงานอาชีพ

ตามลำดับ

รอ้ ยละของนักเรยี นท่ีมีระดับผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนระดบั ดี (เกรด 3) ขึ้นไป

ชัน้ ภาษาไทย สังคมศกึ ษา ภาษาตา่ งประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ฯ

2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564
ม.1 61.31 22.62 51.82 59.52 42.25 47.62 32.11 28.57 19.70 23.81
ม.2 69.07 92.37 91.75 80.15 71.13 60.31 38.14 51.15 35.05 70.23
ม.3 56.52 45.26 92.02 95.79 75.36 75.79 67.39 10.53 69.56 51.58

เฉลย่ี รวม 62.30 53.42 78.53 78.49 62.91 61.24 45.88 30.08 41.44 48.54

ร้อยละของนกั เรยี นทมี่ ีระดบั ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นระดับดี (เกรด 3) ขน้ึ ไป

ช้นั สขุ ศกึ ษาฯ ศลิ ปะ การงานอาชพี เฉล่ยี รวม 8 กล่มุ สาระ
2563 2564
2563 2564 2563 2564 2563 2564

ม.1 62.04 85.71 85.40 37.50 81.81 72.22 50.08 54.56

ม.2 100.00 87.79 96.90 95.42 72.16 67.18 64.55 71.78

ม.3 78.26 97.89 88.40 100.00 69.76 100.00 59.41 74.66

เฉล่ยี รวม 80.10 90.46 90.23 77.64 74.58 79.8 58.01 67.00

ตารางที่ 6 การเปรียบเทยี บผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นระดบั ดี (เกรด 3) ขน้ึ ไป

ตามระดับกลุ่มสาระการเรยี นรู้ของนักเรยี น ระดับชน้ั มธั ยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2563 – 2564

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรยี นรเู้ เละพฒั นา DALI หนา้ : 36

180

160

140

120

100

80

60

40

20

0 ภาษาไทย สงั คม ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ สุขศึกษา ศลิ ปะ การงานฯ
79.8
ปี 2564 53.42 78.49 61.24 30.08 48.54 90.46 77.64 74.58

ปี 2563 62.3 78.53 62.91 45.88 41.44 80.1 90.23

ตารางท่ี 7 แผนภูมิแสดงผลการเปรยี บเทียบผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนระดบั ดี (เกรด 3) ขึ้นไป

ตามระดบั กล่มุ สาระการเรียนรู้ของนักเรียน ระดับชนั้ มัธยมศกึ ษาตอนตน้ ปกี ารศกึ ษา 2563 – 2564

3. โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดี ขึ้นไป

รอ้ ยละ 100 ทั้งระดับชั้นมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ และระดบั ชนั้ มัธยมศึกษาตอนปลาย

3.1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ

ดขี น้ึ ไป รอ้ ยละ 100

จำนวนของนักเรียนตามระดบั คุณภาพ ร้อยละของนักเรียน

ชั้น ดเี ย่ียม ดี ผ่าน ไมผ่ า่ น ระดบั ดีขึ้นไป

2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564

ม.1 23 35 173 162 0 0 0 0 100.00 100.00
ม.2 12 20 216 169 0 0 0 0 100.00 100.00
ม.3 31 0 208 231 0 0 0 0 100.00 100.00

รวม 66 55 597 562 0 0 0 0

เฉล่ยี 9.95 8.91 90.05 91.09 0.00 0.00 0.00 0.00 100.00 100.00
รอ้ ยละ

ตารางท่ี 8 การเปรียบเทียบผลการประเมินคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ ระดบั ชัน้ มัธยมศึกษาตอนตน้ ปีการศึกษา 2563 – 2564

3.2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ

ดีขนึ้ ไป รอ้ ยละ 100

ชั้น ดีเยยี่ ม จำนวนของนักเรยี นตามระดบั คณุ ภาพ รอ้ ยละของนกั เรียนระดบั ดี
ดี ผา่ น ไมผ่ ่าน ขนึ้ ไป

2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564 2563 2564

ม.4 59 5 76 164 0 0 0 0 100.00 100.00

ม.5 32 56 63 76 2 0 0 0 100.00 100.00

ม.6 1 17 137 78 0 0 0 0 100.00 100.00
รวม 92 78 276 318 2 0 0 0

เฉลีย่ ร้อยละ 24.86 19.70 75.14 80.30 0.54 0 0.00 0 100.00 100.00

ตารางที่ 9 การเปรยี บเทยี บผลการประเมินคณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์ ระดบั ชั้นมธั ยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2563 – 2564

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรยี นรู้เเละพฒั นา DALI หน้า : 37

3.4.2 ผลท่ีเกิดกบั ครผู ้สู อน
1. ครูมีการจัดการเรยี นรูเ้ เบบ Active Learning เเบบคุณภาพในระดับดขี ึ้นไป ร้อยละ 92.86
2. ครูร้อยละ 100 มกี ารจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
3. ความพึงพอใจของครู ตอ่ นวัตกรรม โดยรวม 4.21 อยใู่ นเกณฑป์ ระสทิ ธิภาพดี แบ่งเป็น

ประเดน็ วัดความพงึ พอใจ คา่ เฉลย่ี ระดับความพงึ พอใจ ผลการประเมิน

ดา้ นการพฒั นานวัตกรรม 4.22 ดี

ด้านการใชง้ านนวัตกรรม 4.07 ดี

ด้านการนำนวัตกรรมไปใชป้ ระโยชน์ 4.39 ดี

รวม 4.21 ดี

ตารางที่ 10 ตารางค่าเฉลย่ี ระดบั ความพงึ พอใจของผ้นู เิ ทศและผรู้ ับการนิเทศ

มตี ่อการใชน้ วัตกรรมการนเิ ทศ CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรียนรเู้ เละพฒั นา DALI

จากตารางดังกลา่ วสรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านการนำนวัตกรรมไปใชป้ ระโยชน์ โดยมคี ่าเฉล่ียที่ 4.39
อยู่ในเกณฑ์ประสิทธิภาพดี และค่าเฉลี่ยต่ำสุดในด้านการใช้งานนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยที่ 4.07 อยู่ในเกณฑ์
ประสทิ ธภิ าพดี

3.4.3 ผลทเี่ กิดกบั ผู้เรียน
1. ผู้เรียนร้อยละ 81.56 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ โดยใน

ปีการศึกษา 2564 นักเรียนมีผลการเรียนติดค้าง/ไม่ผ่านเกณฑ์ลดลง ซึ่งปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีผล
การเรียนติดค้าง จำนวน 577 คน คิดเป็นร้อยละ 56.29 เเละในปีการศึกษา 2564 นักเรียนมีผลการเรียนติด
คา้ ง จำนวน 184 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 18.44 ซ่ึงลดลงถงึ ร้อยละ 37.85

ชั้น ปีการศกึ ษา 2563 ร้อยละ ปกี ารศกึ ษา 2564 ร้อยละ การเปรยี บเทียบ

(คน) (คน)

ม.1 116 59.49 34 17.71 ลดลงร้อยละ 41.78

ม.2 144 64.29 46 24.86 ลดลงรอ้ ยละ 39.43

ม.3 109 45.61 11 4.76 ลดลงรอ้ ยละ 40.85

ม.4 78 58.21 64 38.55 ลดลงรอ้ ยละ 19.66

ม.5 59 62.11 24 18.60 ลดลงร้อยละ 43.51

ม.6 71 51.45 5 5.26 ลดลงรอ้ ยละ 46.19

รวม 577 56.29 184 18.44 ลดลงร้อยละ 37.85

ตารางที่ 11 การเปรยี บเทียบจำนวนนกั เรยี นทม่ี ผี ลการเรยี นติดคา้ ง ปีการศึกษา 2563 - 2564

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรยี นรูเ้ เละพัฒนา DALI หนา้ : 38

ปกี ารศึกษา 2563 ปีการศกึ ษา 2564

59.49 64.29 58.21 62.11 56.29
18.44
45.61 38.55 51.45
5.26
17.71 24.86 18.6

4.76

ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 รวม

ตารางที่ 12 แผนภมู แิ สดงผลการเปรยี บเทยี บจำนวนนกั เรียนทมี่ ผี ลการเรยี นตดิ คา้ ง ปีการศกึ ษา 2563 - 2564

2. นักเรียนโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครู
ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนเเบบ Active Learning ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.34
ถือว่าประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในเรื่อง “ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้สนุกและน่าสนใจ”
ค่าเฉลย่ี ต่ำสดุ ในเร่ือง “ครปู ระยกุ ตส์ าระท่ีสอนเข้ากับเหตกุ ารณป์ ัจจุบัน/สภาพแวดล้อม”

แบบประเมินความพึงพอใจของนักรยี นทมี่ ตี ่อการจดั กิจกรรมการเรียนการสอน

แบบ Active Learning ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564

ประเดน็ ความคิดเห็น ระดับความพึงพอใจ ผลการ
5 4 3 2 1 ประเมนิ
มากทีส่ ุด
1.ครจู ดั กจิ กรรมการเรียนรสู้ นกุ และ 66.99 31.55 1.46 0.00 0.00 4.66
น่าสนใจ มาก
มาก
2.ครใู ชส้ ื่อประกอบการเรียนการสอนที่ 46.53 36.66 16.81 0.00 0.00 4.30 มาก
เหมาะสมและหลากหลาย มากท่ีสดุ
มาก
3.ครสู ง่ เสริมนักเรยี นได้ฝกึ ปฏบิ ตั ิจรงิ มกี าร 34.71 50.30 13.15 1.83 0.00 4.18 มาก
จัดการและการแกป้ ญั หา
มาก
4.ครูให้นกั เรียนฝกึ กระบวนการคิด คดิ 38.00 46.77 15.23 0.00 0.00 4.23
วเิ คราะห์ คิดสร้างสรรค์

5.ครสู ่งเสรมิ ใหน้ ักเรียนทำงานร่วมกันท้ัง 57.49 41.66 0.85 0.00 0.00 4.57
เป็นกลมุ่ และรายบคุ คล

6.นกั เรียนมสี ว่ นร่วมในการวดั และ 44.58 42.27 13.15 0.00 0.00 4.31
ประเมินผลการเรยี น

7.ครูประยุกตส์ าระท่ีสอนเขา้ กบั เหตุการณ์ 34.59 44.95 18.64 1.83 0.00 4.12
ปัจจุบนั /สภาพแวดลอ้ ม

8.ครูส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเรมิ่ และ

ร้จู กั วิพากษว์ จิ ารณ์ 39.59 43.85 14.74 1.83 0.00 4.21

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรยี นรู้เเละพัฒนา DALI หน้า : 39

ประเด็นความคิดเหน็ 5 ระดับความพึงพอใจ 1 ผลการ
4 32 ประเมนิ
มากทีส่ ดุ
9.ครสู ง่ เสรมิ ให้ทดลอง/ทำงานใน 57.49 40.80 1.71 0.00 0.00 4.56
ห้องปฏบิ ัตกิ ารหรือนอกช้นั เรียนบ่อย มาก

10.ครมู กี ารจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มาก

ส่งเสริมการคน้ คว้าและแสวงหาความรู้ 43.61 41.78 14.62 0.00 0.00 4.29

อย่างต่อเนอ่ื งๆ

คา่ เฉลี่ยรวม 4.34

ตารางท่ี 13 แบบประเมินความพึงพอใจของนักรยี นที่มตี ่อการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอน

แบบ Active Learning ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564

คา่ คะแนนเฉลีย่ ความพึงพอใจ

คะแนน 4.51 - 5.00 ความพึงพอใจอยใู่ นระดบั มากทส่ี ุด

คะแนน 3.51 - 4.50 ความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก

คะแนน 2.51 – 3.50 ความพงึ พอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง

คะแนน 1.51 – 2.50 ความพงึ พอใจอยใู่ นระดบั น้อย

คะแนน 1.00 – 1.50 ความพึงพอใจอยใู่ นระดับ น้อยที่สดุ

3.5 ปจั จยั ความสำเรจ็ ปัญหา อุปสรรคเเละข้อเสนอเเนะ
3.5.1 ปจั จัยความสำเรจ็
ในการสร้างนวัตกรรม การนิเทศ ติดตามเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา CAL Quality Model

@P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI สำเร็จขึ้นได้นั้นเกิดจากปัจจัยต่างๆหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
ปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถของผู้นำในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด สภาวะ
เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมถึงภาวะผู้นำของผู้บริหารในการบริหารองค์กรที่สามารถนำพา
องค์กรสู่ความสำเร็จ การให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม การรับรู้ร่วมกันระหว่างภายในและภายนอก
สถานศึกษา การไดร้ ับแรงเสริมจากฝ่ายบรหิ ารและหน่วยงานตน้ สังกดั

3.5.2 ปญั หาและอปุ สรรค
เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อป้องกันการแพร่

ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทางโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมจำเป็นต้องปิดโรงเรียน และหยุดการเรียน
การสอนภายในชั้นเรียน ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนสู่การเรียนผ่านช่องทางออนไลน์ (LINE) ทำให้การนิเทศ
ภายในห้องเรียนเกิดการขาดช่วง จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการนิเทศจากห้องเรียนสู่การนิเทศผ่านช่องทางออนไลน์
(LINE)

ครูที่เข้านิเทศผ่านช่องทางออนไลน์ (LINE) มีอุปสรรคเรื่องการใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยี ที่ใช้ในการ
จัดการเรยี นสอนออนไลน์ เชน่ ความไมเ่ สถียรของอนิ เทอร์เน็ต อุปกรณค์ อมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสอน ข้อจำกัดของ
บุคลากรในการใช้เทคโนโลยี รวมถึงแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์หรือแอปพลิเคชั่นต่าง ความพร้อมของ
เทคโนโลยขี องโรงเรียนในแตล่ ะพ้นื ที่ยังมชี ่องวา่ งสงู เปน็ ตน้

3.5.3 ขอ้ เสนอเเนะ
ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานใหเ้ ข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

CAL Quality Model @P.N. ดว้ ยวงลอ้ เเหง่ การเรยี นรูเ้ เละพฒั นา DALI หน้า : 40

3.6 การเผยเเพร่/การขยายผลต่อยอด
โรงเรยี นโพธนิ มิ ติ วทิ ยาคม มกี ารเผยแพรน่ วตั กรรมการนิเทศ ติดตามเพ่ือยกระดบั คณุ ภาพการศึกษา CAL

Quality Model @P.N. ดว้ ยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพฒั นา DALI ดังนี้
1. มีการเผยแพร่นวัตกรรมการนเิ ทศ CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา

DALI โดยการอัพโหลดเป็นสาธารณะ ผ่านทางเว็บไซต์โรงเรียน www.potinimit.ac.th, www.youtube.com
และเผยแพร่เป็น E-Book ผา่ นทาง Anyflip และ Slide Share

2. จัดกิจกรรมประชมุ ผู้ปกครองนกั เรยี น นำเสนอและเผยแพร่นวตั กรรมการนิเทศ CAL Quality Model
@P.N. ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI ผ่านทางผู้ปกครองนักเรียน เพื่อแสดงถึงการจัดการเรียนการ
สอนของครูท่ีมีการพัฒนาใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพอย่างสม่ำเสมอ

3. จัดกิจกรรมประชุมครูภายในโรงเรียน เพื่อนำเอานวัตกรรมการนิเทศ CAL Quality Model @P.N.
ด้วยวงล้อเเห่งการเรียนรู้เเละพัฒนา DALI ไปช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มี
ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนต่ำ ให้มีผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนทเ่ี พิ่มสงู ข้ึน

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรยี นรูเ้ เละพฒั นา DALI หน้า : 41

บรรณานุกรม

ไพผกา ผวิ ดำ. (๒๐๒๑).ชุมชนแห่งการเรียนรูท้ างวชิ าชพี สคู่ วามสำเรจ็ ของสถานศึกษา.มหาวทิ ยาลยั จุฬา
ลงกรณราชวทิ ยาลยั

น.พ.อนวุ ฒั น์ ศุภชตุ กิ ุล. (๒๐๑๖).วงลอ้ DALI. ๐๑/๐๖/๒๐๒๒, จาก
https://sites.google.com/site/imt10930/kar-cadkar-khwam-ru/khwam-ru-thi-chad-caeng-explicit-
knowledge/kar-phathna-khunphaph/wng-lx-dali

สรุ เดช ศรีองั กูร.(๒๐๑๘). DALI : คณุ ภาพและความปลอดภัย. ๐๓/๐๖/๒๐๒๒, จาก
https://www.facebook.com/Riskroom/posts/1892191174418291/

หนว่ ยศกึ ษานเิ ทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน.(๒๐๑๙).แนวทางการนิเทศเพ่ือพัฒนา
และสง่ เสริมการจดั การเรยี นรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรยี น เพมิ่ เวลารู้.คน้ เม่ือ ๐๓/๐๖/
๒๐๒๒, จากhttp://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf

วา่ ที่ร้อยตรี ดร.จิรายุทธิ์ อ่อนศร.ี (๒๐๑๘). ACTIVE LEARNING สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑. ค้นเมื่อ
๐๖/๐๖/๒๐๒๒, จากhttp://www.nwm.ac.th/nwm/wp-content/uploads/2018/03/ACTIVE-LEARNING

กลุ ธดิ า ทงุ่ คาใน. (๒๐๒๑). การเรียนร้แู บบผสมผสาน Blended Learning ในวถิ ี New Normal . ค้น
เม่ือ ๐๒/๐๖/๒๐๒๒, จาก https://edujournal.bsru.ac.th/storage/1762/03กลุ ธิดา.pdf

วศนิ ี รงุ่ เรอื ง.(๒๐๑๙).รปู แบบการพัฒนาโดยใช้การพฒั นาบทเรยี นร่วมกันผา่ นชมุ ชนแห่งการเรยี นร้เู ชิง
วิชาชีพที่สง่ เสริมศิลปะการสอนของครู. ค้นเมือ่ ๓๐/๐๕/๒๐๒๒, จาก
http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2020_09_12_14_59_32.pdf

วชริ า เครอื คำอ้าย. (๒๐๑๖).การพฒั นารปู แบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชีแ้ นะและระบบพเี่ ลยี้ ง เพอื่
ส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน จงั หวัด
เชียงใหม.่ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เชยี งใหม่

ญาณี ญาณะโส. (๒๐๑๙). การศึกษาบทบาทการนเิ ทศภายในของสถานศึกษาข้นั พ้นื ฐาน ในจังหวดั
จันทบรุ ีและตราด.สาขาการบริหารการศกึ ษา.มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏรำไพพรรณี

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเหง่ การเรยี นรู้เเละพฒั นา DALI หนา้ : 42

ภาคผนวก

เเผนพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษา แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔

รายงานการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2563 คำสัง่ ที่ ๒๐/๒๕๖๕ แต่งตงั้ คณะกรรมการชมุ ชน
แหง่ การเรียนรวู้ ชิ าชพี PLC

กิจกรรมชมุ ขนแหง่ การเรียนรู้ (PLC)

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงลอ้ เเหง่ การเรียนรู้เเละพฒั นา DALI หนา้ : 43

Blueprint O-NET ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔

การอบรมเชิงปฏบิ ตั ิการ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning

คำส่ัง ๑๒/๒๕๖๕ แต่งตั้งคณะกรรมการการนเิ ทศการ
จดั การเรยี นการสอนรูปแบบ Open Class คู่มอื การนเิ ทศภายใน ปกี ารศึกษา ๒๕๖๔
ภาคเรียนท่ี ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔

CAL Quality Model @P.N. ด้วยวงล้อเเหง่ การเรยี นรูเ้ เละพฒั นา DALI หนา้ : 44

การดำเนินการนเิ ทศแบบ Open Class

การนเิ ทศแบบกำหนดตาราง การนเิ ทศแบบส่มุ การนเิ ทศแบบออนไลน์
การสะท้อนการนเิ ทศการสอน
การใช้เทคโนโลยใี นการจัดการเรยี นการสอน

รายงาน PLC ภาคเรียนที่ ๒ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔


Click to View FlipBook Version