ระบบประสาท
(nervous system)
Science by noey
คำนำ
E-Book เรื่อง "ระบบประสาท"ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบ
การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหา
ตรงตามหลักสูตรแกนกลาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุ ทธศักราช 2551
(ฉบับบปรับปรุง พ.ศ.2560)มาตรฐานการเรียนรู้การเรียนรู้ ว 1.2
เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสาร
เข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบ
ต่าง ๆของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของ
โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน
รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด ว1.2 ม.2/10 ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบ
ประสาทส่วนกลางในการควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกาย ว1.2
ม.2/11 ตระหนักถึงความสำคัญของระบบประสาทโดยการบอกแนวทาง
ในการดูแลรักษารวมถึงการป้องกันการกระทบกระเทือนและอันตรายต่อ
สมองและไขสันหลัง
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-Book ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์
ต่อผู้อ่านทุกคนที่กำลังศึกษา เรื่อง"ระบบประสาท"
นิรัชพร พรมวงศ์
27 กุมภาพันธุ์ 2565
Science
by
noey
สารบัญ หน้ า
เรื่อง 1-11
2-7
ระบบเซลล์ประสาท (nervous system) 8-9
-ระบบประสาทส่วนกลาง 10-12
-ระบบประสาทนอกรอบ 13
14-15
เซลล์ประสาท(Neuron)
การทำงานของระบบประสาท 16-17
แบบฝึ กหัด
เฉลย
บรรณานุกรม
1
ระบบประสาท
(NERVOUS SYSTEM)
เป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการแสดงปฏิกิริยาตอบ
สนองต่อสิ่งเร้า โดยทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะสัมผัสกับอวัยวะ
มอเตอร์ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของต่อมและระบบต่าง ๆ
ในร่างกาย อีกทั้งเป็นศูนย์ของความรู้สึกนึกคิดสติปัญญา การเรียนรู้ ความจำ
ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบประสาทของมนุษย์มี 3 ส่วน ได้แก่
สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท
ระบบประสาท (nervous system)เป็นระบบแรกที่พัฒนาขึ้นมา
หลังกระบวนการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ
อวัยวะต่างๆภายในร่างกายรวมถึงการรับรู้และการตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าภายนอก แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง และ
ระบบประสาทรอบนอก
2
ระบบประสาทส่วนกลาง
(Central Nervous System)
คือระบบศูนย์กลางการควบคุมการทำงานของร่างกาย ทั้งด้านกลไกการ
เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูก รวมถึงการตอบสนองทางปฏิกิริยาเคมี
ภายใต้อำนาจของจิตใจ
ประกอบด้วยเส้นประสาทจำนวนหลายล้านเส้น ทำหน้าที่จัดส่งข้อมูลในรูปของ
กระแสประสาทจากศูนย์กลางการควบคุมประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ 2 ส่วน คือ
สมอง และไขสันหลังที่ทำงานร่วมกันผ่านเซลล์ประสาท มีหน้าที่ประสานงานการ
รับและส่งข้อมูล หรือกระแสประสาท จากทุกส่วนของร่างกาย
3
สมอง (Brain)
เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีรูปร่างเป็นก้อนรูปไข่ประกอบด้วยเซลล์
ประสาทมากมายจำนวนประมาณพันล้านเซลล์อยู่ในกะโหลกศีรษะ เซลล์ประสาทใน
สมองแผ่กระจายกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
สมองมีน้ำหนักเพียง 2% ของร่างกาต้องการออกซิเจนไปเลี้ยง 20% ของ
ออกซิเจนที่สูดเข้าไปใช้ในร่างกาย สมองของเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 300
– 400 กรัม แล้วเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆจนถึงอายุ 15 ปี มนุษย์ถือได้ว่าเป็น
สัตว์โลกที่มีสมองใหญ่และมีคุณภาพมากที่สุด มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,300–
1,400 กรัม มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีความหนาและแข็งแกร่ง ทำหน้าที่ ป้องกันไม่
ให้สมองได้รับความกระทบกระเทือน สมองแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
-สมองส่วนหน้า ได้แก่ ซีรีบรัม(Cerebrum) ไฮโพทาลามัส
(hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
-สมองส่วนกลาง
-สมองส่วนท้าย ได้แก่ เซรีเบลลัม (Cerebellum) พอนส์ (pons)
เมดุลลาออบลองกาตา (medulla oblongata)
4
สมองส่วนหน้า(forebrain)
1.ซีรีบรัม (Cerebrum)
เป็นส่วนมีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดม
กลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก ซ้ายและขวา แต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้
สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง
ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์ การรับรู้ ความ
เข้าใจ การมีเหตุผล การแก้ปัญหา การพูด และความจำในระยะยาว และที่สำคัญ
ที่สุด ส่วนด้านหลังของกลีบนี้ (Posterior frontal lobe) เป็นตำแหน่งของ
สมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกายทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
ระบบประสาทอัตโนมัติ (เช่น การเคลื่อนไหวของ แขน ขา ใบหน้า) เรียกว่า
Motor cortex
สมองกลีบขมับ (Temporal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
การมองเห็น การพูด และความจำในเรื่องใหม่ๆ
สมองกลีบหลัง (Occipital lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น และการเห็น
ภาพต่างๆ
สมองกลีบด้านข้างหรือกลีบข้าง (Parietal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึก
ด้านการสัมผัส การพูด การรับรส ประสานงานในการรับรู้ความรู้สึกต่างๆรวมทั้ง
ทางกาย การมอง เห็น และการได้ยิน การคำนวณ รูปร่าง ระยะทาง สถานที่
5
2.ออลเฟกทอรีบัลบ์(Olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ ดมกลิ่น
3.ทาลามัส (Thalamus) อยู่เหนือสมองไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานี
ถ่ายทอดกระแสประสาท เพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึก
เจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
4.ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบ
ประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้
สมองซึ่งจะทำการควบคุมความสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายเกลือแร่ใน
เลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก วงจรการ
ตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
สมองส่วนกลาง(mid brain)
สมองส่วนนี้พัฒนาลดรูปเหลือเฉพาะออพติกโลบ (optic lobe)
มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกตากลอกไปมา ควบคุม
การปิดเปิดของ รูม่านตา ให้เหมาะสมกับปริมาณแสงสว่างที่เข้ามากระทบ โดย
ถ้าแสงมาก รูม่านตาจะเล็กแสงสว่างน้อยรูม่านตาจะขยาย
สมองส่วนหลัง (hind brain) 6
1 ซีรีเบลลัม(cerebellum) ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ราบรื่น
เที่ยงตรง สามารถทำงานที่ละเอียดอ่อน และควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
2 เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata ) เป็นสมองส่วนสุดท้าย ซึ่งตอน
ปลายอยู่ติดต่อกับไขสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ความดัน
เลือด การกลืน การจาม การสะอึกและการอาเจียน
3 พอนส์ (pons) ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า การ
หายใจ
สมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดัลลาออบลองกาตา รวมเรียกว่า ก้านสมอง
(brain stem) ซึ่งภายในก้านสมองจะมีกลุ่มเซลล์ประสาทและใยประสาท เชื่อมโยงระ
หว่างเมดัลลาออบลองกาตากับทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ความ
รู้สึกตื่นตัว หรือความมีสติสัมปชัญญะ เรียกว่า เร็ตติคิวรา แอกติเวติ้ง ซีสเต็ม
(reticular activating system)
7
ไขสันหลัง (Spinal cord)
เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่ทอดยาวจากก้านสมองเข้าไปยังโพรงกระดูกสันหลังมี
ลักษณะเป็นรูปแท่งทรงกระบอกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มไขสันหลัง รูปร่างคล้ายผีเสื้อ
(Butterfly Shape)เนื้อเยื่อไขสันหลังแบ่งออกเป็น2ส่วน คือ เนื้อสีขาวด้าน
นอก(White Matter) ซึ่งเป็นที่อยู่ของใยประสาท และเนื้อเยื่อสีเทาด้านใน
(Grey Matter)ซึ่งประกอบขึ้นจากเซลล์ประสาทจำนวนมากหน้าที่หลักของ
ไขสันหลัง คือ การถ่ายทอดกระแสประสาท (Neural Signal) ระหว่างสมองกับ
ส่วนต่างๆของร่างกายกระแสประสาทถูกส่งผ่านไขสันหลังทั้งกระแสประสาทเข้า
และออกจากสมองรวมถึงกระแสประสาทที่ส่งเข้ามายังไขสันหลังโดยตรงเป็น
ศูนย์กลางการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ตอบสนองการสัมผัสทางผิวหนังนอกจาก
นี้ ไขสันหลังยังควบคุมการเกิดปฏิกิริยาการตอบสนองหรือ“รีเฟล็กซ์” (Reflex)
อีกด้วย
ระบบประสาทรอบนอก 8
(Peripheral Nervous System)
แตกแขนงออกมาจากระบบประสาทส่วนกลางทำ
หน้าที่นำสัญญาณเข้า-ออก CNS และควบคุมการ
เปลี่ยน-
แปลงสภาพแวดล้อมภายในร่างกาย
ประกอบด้วย
1.เส้นประสาทสมอง (cranial nerve) : รับ
กระแสความรู้สึกเข้าสู่สมอง นำคำสั่งจากสมองไป
ยังส่วนต่างๆของร่างกาย
2.เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) :
รับกระแสความรู้สึกเข้าสู่ไขสันหลัง นำคำสั่งจาก
สมองไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
เส้นประสาท (Nerve Fiber) 9
เป็นกลุ่มของเส้นใยบาง ๆ จำนวนมากซึ่งเกิดจากเซลล์ประสาทหลายตัว รวมกัน
เข้าเป็นมัด เส้นประสาทอาจเป็นมัดของแอกซอน หรือมัดของเดนไดรท์ หรือทั้งสองชนิด
รวมกันก็ได้ เส้นประสาทในร่างกายสามารถจำแนก ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1.เส้นประสาทที่ออกจากสมอง เส้นประสาทประเภทนี้ มีทั้งสิ้น 12 คู่มี
ศูนย์กลางอยู่ที่สมอง บางคู่จะเป็นเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการสัมผัส บางคู่จะเป็นเส้น
ประสาทที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวแยกเป็นทางซีกซ้ายและซีกขวา เพื่อรับส่งความรู้สึก
และคำสั่งตั้งแต่ลำคอขึ้นไป
2.เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่แยกออกมาจาก
บริเวณไขสันหลัง จากกึ่งกลางลำตัวแยกกระจายออกไปทางซีกซ้ายขวาของร่างกาย
เรียกว่าเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง (spinal nerve) ทำหน้าที่รับส่งความรู้สึกและ
คำสั่งตั้งแต่บริเวณลำคอลงไปตลอดทั้งร่างกายจนถึงปลายเท้า มีหน้าที่รับความรู้สึกและ
ควบคุมการเคลื่อนไหวมีทั้งสิ้น 31 คู่ โดยจะแยกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นเส้นประสาท
ส่วนของการรับความรู้สึก เข้าสู่ไขสันหลังทางด้านหลัง ส่วนอีกชุดหนึ่งทำหน้าที่ควบคุม
การเคลื่อนไหว เข้าสู่ไขสันหลังบริเวณช่วงท้อง
เส้นประสาทแต่ละเส้นจะมีเซลล์ประสาท (Neuron) หลาย ๆ เซลล์เรียงต่อกัน
เซลล์ประสาทกระจายไปเลี้ยงทั้งร่างกาย มีประมาณ 12,000 ล้านเซลล์ ในไขสันหลัง
และสมองมีเซลล์ประสาทมากที่สุด
10
เซลล์ประสาท(Neuron)
เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วย
1.ตัวเซลล์ (Cell Body) มีนิวเคลียส
2.ใยประสาท (Nerve Fiber)
-เดนไดรต์ (dendrite) นำกระแสประสาทเข้าตัวเซลล์
-แอกซอน (Axon) นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์
เซลล์ชวาน (Schwan Cell) : สร้างเยื่อไมอีลิน(เป็นฉนวน
ไฟฟ้า)
โนดออฟแรนเวียร์ (Node of Ranvier )
แบ่งตามการทำงานได้ 3 แบบ คือ 11
1.เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory Neuron)
2.เซลล์ประสาทนำคำสั่ง (Motor Neuron)
3.เซลล์ประสาทประสานงาน (Association Neuron)
12
13
การทำงานของระบบประสาท
(NERVOUS SYSTEM)
เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ประกอบด้วยการ
ทำงานร่วมกัน 2 ระบบ คือ
1.ระบบประสาท (Nervous System) ทำงานได้อย่างรวดเร็ว
สิ่งเร้า
เส้นประสาท อวัยวะตอบสนอง
2.ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ทำงานอย่างช้าๆ
สิ่งเร้า
เส้นเลือด อวัยวะตอบ
สนอง
ต่อมไร้ท่อ
(Nervous System) (Endocrine System)
14
ไปลองทำแบบฝึกหัดกัน
LET'S
PRACTICE
15
16
เฉลย
17
เป็ นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า
โดยทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะสัมผัสกับอวัยวะมอเตอร์ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของต่อมและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
บรรณานุกรม
ระบบประสาท(Nervous System) กีรติยา บุญลือชา (2557) สืบค้นเมื่อ 27กุมภาพันธุ์ 2565
จาก http://cms574.bps.in.th/group7/nervous
Thai Health (2561)สืบค้นเมื่อ 27 กุมภภาพันธุ์ 2565 จากhttps://s3.amazonaws.com
thaihealth/%https://s3.amazonaws.com/thaihealth/%E0%B8%AA%E0
%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A7%
E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%
E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA
%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A7
%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E
0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0
%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%
B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-central-nervous-system
ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ : นางสาวนิรชพร พรมวงศ์
ชื่อเล่น : เนย
ชั้น : ปีที่2
คณะ : ครุศาสตร์
สาขา : วิทยาศาสตร์ทั่วไปและชีววิทยา
สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อีเมลล์ : [email protected]
THE FUTURE OF THE
WORLD IS IN MY
CLASSROOM TO DAY
Science by noey