The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving)

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving)

Keywords: การแก้ปัญหา,แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

1

ชื่อบทความวชิ าการ การแก้ปญั หาอย่างสรา้ งสรรค์ (Creative Problem Solving)
ช่ือผเู้ ขียน อาจารย์ ดร.สมเสมอ ทักษณิ
อาจารย์ ดร.ภิญโญ วงษท์ อง
เผยแพรเ่ มอื่ 3 พฤษภาคม 2563
จดั ทำโดย ศนู ย์วิจัยพฒั นา และสาธติ การศกึ ษา
สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธติ การศึกษา
มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ
63 หมู่ 7 ถนนรงั สติ - นครนายก ตำบลองครักษ์
อำเภอองครกั ษ์ จังหวดั นครนายก 26120
โทร. 02 649 5000 ตอ่ 27604 อีเมล์: [email protected]
เว็บไซต์: http://erdi.swu.ac.th Line ID: @eyw1624u

2

“ปญั หาทเี่ กิดขึน้ ”

ล้วนมแี นวทางหรอื วธิ ีการแก้ปัญหาทแ่ี ตกต่างและหลากหลายวธิ ี
แล้วคณุ จะทำอยา่ งไร ตดั สนิ ใจเลือกวธิ ไี หนในการแกป้ ัญหา ?
ที่สามารถเลือกวิธกี ารแกป้ ัญหาทดี่ ที ี่สดุ ประสบผลสำเรจ็ ตามเป้าหมาย
ทว่ี างไวไ้ ด้อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ ท้งั ในดา้ นของการจดั การกับตัวปัญหา
และจัดการกบั อารมณห์ รือความรสู้ กึ ของผ้แู กป้ ญั หาควบคู่กนั ไป

ในระหวา่ งการแกป้ ญั หา

3

การแก้ปญั หาอยา่ งสรา้ งสรรค์ (Creative Problem Solving)

อ.ดร.สมเสมอ ทักษณิ 1*
อ.ดร.ภญิ โญ วงษ์ทอง2

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นกระบวนการ วิธีการ หรือระบบในการแก้ปัญหาโดยอาศัยการ
จินตนาการ โดยที่ผลการคิดแก้ปัญหาพิสูจน์ได้จากการลงมือปฎิบัติ (Mitchell & Kowalik, 1999) ใน
ขณะเดียวกัน เทรฟฟิงเกอร์และคนอื่นๆ (Treffinger et al, 2006) ได้ให้คำนิยามว่า เป็นวิธีการเพื่อพัฒนา
ศักยภาพของผู้เรียนด้านความคิดสร้างสรรค์โดยใช้ทฤษฎีกรอบการพัฒนาและวิเคราะห์การแก้ปัญหา ส่วนอาร์
เบสแมนและพัคชโิ อ (Arbesman & Puccio, 2001) เนน้ ว่าเปน็ การผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับความคิด
วิจารณญาณ สอดคล้องกับเลวินและรีด (Lewin & Reed, 1998) และเกรียงศักด์ิ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2551: online)
ที่ระบวุ ่าการแกป้ ัญหาอย่างสร้างสรรค์ คือ การคิดสร้างสรรค์ท่ีประกอบด้วยการสร้างความคิดท่ีหลากหลาย เพื่อ
ช่วยขยายกรอบความคิด ส่วนการคดิ วิจารณญาณคือการเชอ่ื มโยงเหตผุ ลเพ่ือนำมาเปรียบเทียบหาผลกระทบ และ
ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา โดยเลวินและรีดได้ประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์และความคิด
วิจารณญาณเข้าในทุกขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็น 2 ระยะ คือ 1) ระยะสร้าง
(Generating Phase) ซึ่งเป็นการสร้างแนวความคิดหรือตอบคำถามให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งก็คือความคิด
สร้างสรรค์ และ 2) ระยะปรับ (Focusing Phase) ซึ่งเป็นระยะที่ประเมินทางเลือกหรือความคิดที่ได้จากระยะ
สร้างนั่นเอง โดยทั้งสองระยะใช้การคิดควบคู่กันไปในกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ การคิดอเนก
นัย (Divergent Thinking) ซึ่งเป็นการคิดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนได้แนวคิดที่หลากหลายและแปลกใหม่
โดยไมม่ ีการประเมินหรือตดั สินแนวคดิ เหล่านน้ั ว่าถูกหรือผดิ และการคิดแบบเอกนัย (Convergent Thinking) ซง่ึ
เป็นการคิดพิจารณาเชื่อมโยงหาเหตุและผล โดยความคิดทั้งสองเป็นรูปแบบและวิธีการที่ส่งเสริมกันอย่าง
เหมาะสม ซึ่งนิยามการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ว่าเป็นกระบวนการมุ่งหาคำตอบหรือวิธีการแปลกใหม่ ที่จะ
สนองตอบต่อความต้องการและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญของกระบวนการนี้คือ การได้ความคิดจำนวน
มากและแปลกใหม่ ทท่ี ำให้เกิดการแกป้ ัญหาท่ดี ีข้ึนกว่าเดิม ทำใหผ้ ูเ้ รยี นสามารถเลือกและวางแผนการแก้ปัญหาท่ี
ดีท่สี ดุ เชือ่ มน่ั ว่าตนเองสามารถแกป้ ัญหาและควบคมุ ตนเองได้ (ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา, 2538)

กระบวนการแกป้ ญั หาอยา่ งสร้างสรรค์
( Creative Problem Solving Process)

กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นกระบวนการที่เน้นความคิดระดับสูง 3 ประเภท คือ การ
แกป้ ญั หา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ ท่ีสามารถทำงานร่วมกันอย่างลงตวั สามารถสรุป
และแยกแยะแนวคิดพฤติกรรมการแก้ปญั หาอย่างสร้างสรรค์ได้ 2 แบบ คือ 1) เน้นการจัดการที่ตัวปัญหา คือ
เน้นวิธีการแก้ไขตัวปัญหาให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย และ 2) เน้นการจัดการกับอารมณ์ที่มีต่อปัญหา
และวิธีการแก้ปญั หา คือการแก้ไขปัญหาจะเน้นอารมณ์ของผู้แกป้ ัญหาที่มตี ่อสถานการณท์ เ่ี ปน็ ปัญหานัน้ ดงั นี้

1,2 อาจารย์ สงั กดั สถาบนั วจิ ัย พฒั นา และสาธิตการศึกษา มหาวทิ ยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ Email address: [email protected]

4

1. เน้นวิธีการจัดการที่ตัวปัญหา คือในการแก้ปัญหานั้นจะเน้นการแก้ไขตัวปัญหาให้ประสบผลสำเร็จ
ตามเป้าหมาย แนวคิดกลุ่มนี้ส่วนใหญ่พัฒนามาจากแนวคิดของออสบอร์น ได้แก่ แนวคิดของเทรฟฟิงเกอร์
แนวคิดของปาร์น แนวคิดของวอลเลสและแนวคิดของกิลฟอร์ด แม้แนวคิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ใน
กลุ่มที่พัฒนามาจากแนวคิดของออสบอร์นจะมีความชัดเจนและเข้าใจง่ายในการนำไปใช้และให้ผลได้ดี เน้น
การแก้ไขที่ตัวปัญหาให้ประสบความสำเร็จ แต่อุปสรรคในการแก้ปัญหาประการหนึ่งคือ การเกิดความเครียด
และความไมม่ ั่นใจในการแกป้ ัญหา ความวติ กกงั วลในการแกป้ ญั หา (ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา, 2538)

2. เน้นวิธีการจดั การกับอารมณ์ทีม่ ีตอ่ ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา ได้แก่ แนวคิดการแก้ปัญหาทาง
สังคม (Social Problem Solving) ของเดอซูริลลา (D, Zurille.T.J. & Goldfriend,M.R., 1971) ได้พัฒนาจาก
การบำบัดโดยการแก้ปัญหา (Problem Solving Therapy) ซึ่งเป็นแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา
(Cognitive Behavioral Modification) ที่ช่วยปรับเปลี่ยนแนวคิดต่อการแก้ปัญหาของบุคคลไปสู่ความคิดเชิงบวก
ได้ โดยการสรา้ งความเช่ือมนั่ ในตนเองและการควบคุมตนเองรว่ มกับการเสริมแรง เพอื่ ให้สามารถแก้ปัญหาได้
อย่างสมบูรณท์ ั้งกระบวนการแกป้ ัญหาและอารมณ์ของผ้ทู ีแ่ ก้ปัญหา

หลักการของการแกป้ ญั หาอย่างสรา้ งสรรค์

หลกั การของการแก้ปญั หาอย่างสรา้ งสรรค์มี 4 ประการ คอื 1) เนน้ การใชป้ ญั หาหรอื สถานการณ์ท่ีไม่
พึงประสงค์เป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ 2) ใช้ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณในการแก้ปัญหา 3)
ใช้เทคนิคระดมสมอง โดยใช้กระบวนการคิดที่หลากหลายของผู้เรียนแต่ละคน และ 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ต้องมีความสมดลุ ทั้ง 2 ส่วน คืออารมณ์และประสิทธิผลของการแกป้ ัญหา ซึง่ รายละเอยี ดของหลักการแตล่ ะข้อ มี
ดังน้ี

1. เน้นการใช้ปัญหาหรือสถานการณ์ทไี่ มพ่ ึงประสงคเ์ ปน็ ตัวกระตนุ้ การเรียนรู้ จดั สถานการณ์ที่เป็น
ปัญหาเพื่อกระตุ้นความคิดของผู้เรียน โดยสถานการณ์นั้นต้องมีความยากและซับซ้อนไม่ซ้ำกับที่อื่น หรือ
เก่ียวขอ้ งกบั วถิ ชี ีวติ หรอื การดำเนนิ ชีวิตประจำวนั ของผู้เรียน ตงั้ คำถามให้คิด ชวนสงสยั จงู ใจใหค้ น้ หาคำตอบ
ใชป้ ญั หาเปน็ จุดเร่ิมตน้ ในการแสวงหาคำตอบ เกดิ ความพยายามในการทำความเข้าใจปัญหาและกระตือรือร้น
ในการแสวงหาคำตอบของปัญหา

2. ใชค้ วามคดิ สร้างสรรคแ์ ละความคดิ วิจารณญาณในการแก้ปัญหา โดยการทำงานรว่ มกันระหว่าง
ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ทำได้โดยให้คิดพิจารณาตามรายละเอียด
ประกอบกับข้อมูลพื้นฐาน เพิ่มความแปลกใหม่และหลากหลายที่สุด ปราศจากการตัดสินความคิดต่างๆว่าดี
หรือไม่ ขยายความคิดด้วยตนเอง การใช้เวลาเพื่อตกผลึกความคิด และการผสานความคิดไปเรื่อยๆ จนถึง
ระยะหนึ่งจึงพิจารณาความคิดเหล่านั้นด้วยการคิดวิจารณญาณ การพิจารณาหรือคิดอย่างรอบคอบ
ละเอียดลออและชัดเจน สรา้ งเกณฑ์ในการตัดสินความคดิ พจิ ารณาและตัดสนิ ใจเลือกประเมนิ วิธีการแก้ปัญหา
จนไดว้ ิธีทีด่ ีทสี่ ุดในการแก้ปญั หา วางแผนการแก้ปัญหาและนำไปแกป้ ญั หา (Lewin & Reed, 1998)

5

3. ใช้เทคนคิ ระดมสมอง โดยใช้กระบวนการคดิ ที่หลากหลายของผู้เรียนแต่ละคน เน้นปริมาณของ
แนวคิดให้ได้มากที่สุด การยอมรับในความคิดของแต่ละคน โดยที่ยังไม่ตัดสินหรือประเมินแนวคิดนั้น ใช้การ
วิพากษ์แนวคิดสร้างการยอมรบั ผสมผสานแนวคิดใหม่จากแนวคิดทีม่ ีอยู่เดิม ใช้วิธีกระตุน้ ความคิดโดยการใช้
ขอ้ มูลจริง โดยมเี ทคนคิ หลายประการ การใช้แนวคิดรว่ มกัน การปรับปรงุ การประยกุ ต์ การย่อและการขยาย
การใช้อย่างอื่น การขจัดออกและการใช้สิ่งตรงกันข้าม มีการทำงานเป็นทีม ความร่วมมืออย่างหลากหลาย
แลกเปล่ยี นเรียนรแู้ ละประเมนิ ผลการเรียนร้รู ่วมกนั (Osborn, 1963)

4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องมีความสมดุลทั้ง 2 ส่วน คืออารมณ์และประสิทธิผลของการ
แก้ปัญหา ส่วนที่หนึ่งเน้นการจัดการที่ตัวปัญหา คือ เน้นวิธีการแก้ไขตัวปัญหาให้ประสบความสำเร็จตาม
เป้าหมาย และส่วนที่สองเน้นการจัดการกับอารมณ์ที่มีต่อปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา คือ การมองปัญหาว่าเป็น
เรอื่ งทัว่ ไป สามารถแก้ไขได้ ซง่ึ ตอ้ งใช้ความพยายาม ความอดทนและระยะเวลาในการแก้ไข ลดความวิตกกังวลใน
การแก้ปัญหา ผู้เรียนต้องมีความเชื่อมั่นว่าสามารถแก้ปัญหาและกำกับหรือควบคุมตนเองขณะทำการ
แก้ปัญหาได้ (สิทธชิ ยั ชมพพู าทย์, 2554)

การประเมินการแก้ปัญหาอยา่ งสรา้ งสรรค์

ในการประเมินพฤติกรรมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เบกเกอร์และชิมาตะ (Becker & Shimada,
2010) ได้ให้ความสำคัญกับการประเมินพฤติกรรมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เกี่ยวกับ 1) ความคิด
คล่องแคล่ว พิจารณาจากจำนวนคำตอบที่ผู้เรียนแต่ละคนหรือกลุ่มสร้างหรือหาได้ ซึ่งอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง
2) ความคิดยืดหยุ่น พิจารณาจากจำนวนความแตกต่างและความหลากหลายในแนวคิดเชิงคณิตศาสตร์ที่
ผู้เรียนค้นพบและนำมาใช้แก้ปัญหา 3) ความคิดริเริ่ม พิจารณาจากการเป็นต้นแบบของการคิด การมีแนวคิด
เป็นของตนเองและการพัฒนาแนวคิดที่ได้เรียนรู้มา ที่แสดงถึงความเป็นผู้ริเริ่มหรือเป็นต้นแบบการคิด 4)
ความสง่างามในการคิดหรือการสื่อความคิดในการแก้ปัญหา พิจารณาจากการแสดงแนวคิดหรือวิธีทำในการ
แก้ปัญหาของผู้เรียนที่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจถึงแนวคิดที่นำมาใช้แก้ปัญหา การกำหนดเกณฑ์การ
ประเมนิ พฤตกิ รรมทำไดโ้ ดยกำหนดเป็นระดบั ขัน้ เชน่ ดมี าก ดี พอใชแ้ ละต้องแก้ไข

สมศักดิ์ สินธุระเวชณ์ (2534) สร้างเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ไว้ 3 ข้อ โดยยึดหลักการให้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
ดงั นี้

1. การให้คะแนนความคล่องในการคิด โดยพิจารณาจากคำตอบที่เป็นไปได้หรือสอดคล้องตาม
เงือ่ นไขของคำถาม โดยให้คะแนนคำตอบละ 1 คะแนน ตามปริมาณของจำนวนคำตอบท่ไี มซ่ ำ้ กนั

2. การให้คะแนนความยืดหยุ่นในการคิด โดยพิจารณาจากคำตอบที่เป็นไปได้หรือสอดคล้องตาม
เงื่อนไขของคำถาม ซึ่งจะนำมาจัดกลุ่มหรือประเภทของคำตอบของผู้เรียนแต่ละคน ตามวิธีการที่แตกต่างกัน
ตามเง่อื นไขหรอื สง่ิ เรา้ ที่กำหนด โดยให้คะแนนคำตอบเป็นประเภท หรือกลุ่มละ 1 คะแนน

6

3. การให้คะแนนความคิดริเริ่ม พิจารณาจากคำตอบที่ซ้ำกันหรือความถี่ของคำตอบของผู้เรียน
ทั้งหมดที่เป็นความคิดแปลกใหม่และแตกต่างจากการตอบของกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดให้คำตอบที่มีความถี่
หรือคำตอบท่ีซ้ำกันจากกลุ่มต้ังแต่ 2-4.99 เปอรเ์ ซ็นต์ จะได้ 1 คะแนน ถา้ เปน็ คำตอบที่ไม่ซำ้ กับกลุ่มเลยจะได้
2 คะแนน และถ้าความถี่มากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ถือว่าเป็นความคิดริเริ่ม หรืออาจให้คะแนนตามสัดส่วน
ของความถี่หรือคำตอบที่ซ้ำกันตามวิธีการของ ครอพพลี (Cropley, 1996 อ้างอิงจาก สรวงสุดา ปานกุล,
2545) คำตอบใดที่กลุ่มตัวอย่างตอบซ้ำกันมากๆ หรือมีความถี่สูง ก็ให้คะแนนน้อยหรือไม่ให้เลย ถ้าคำตอบ
ไม่ซ้ำกับคนอื่นเลย ก็จะได้คะแนนมากขึ้น ส่วนการให้คะแนนของชาร์ลส์และคนอื่นๆ (Charles et al, 1987)
ได้เสนอแนะการประเมินผลงานแก้ปัญหาของผู้เรียน 3 ลักษณะ คือ 1) การให้คะแนนโดยการวิเคราะห์ เป็น
การกำหนดระดับคะแนน แยกแยะลงไปในขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหา 2) การให้คะแนนแบบองค์รวม
เป็นการกำหนดคะแนนโดยพิจารณาที่ภาพรวมของคำตอบของปัญหา ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนเกณฑ์ที่สัมพันธ์กับ
กระบวนการคิดที่เฉพาะเจาะจง 3) การให้คะแนนจากความประทับใจท่ัวๆไป ซึ่งมีเกณฑ์ที่แน่นอนชัดเจนจาก
ผปู้ ระเมินท่ีมีประสทิ ธภิ าพสงู จากความสำเรจ็ ของการประเมนิ แตล่ ะวิธีขึ้นอยูก่ บั ขอ้ มลู ท่ีไดจ้ ากผู้เรยี น

เควลมาลซ์ (Quellmalz, 1985 อ้างอิงใน ทิพยวรรณ มูลทองชุน, 2534) กล่าวว่า แบบทดสอบแบบ
เลอื กตอบหรือแบบปรนัยเป็นการวดั ทักษะเฉพาะด้าน ไมส่ ามารถนำมาวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ได้ และได้เสนอแนะเครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะ
การคิดระดับสูงไว้ คือ 1) ปัญหาที่ถามเป็นปัญหาที่สำคัญและสามารถเกิดได้บ่อย 2) วัดทักษะรวมๆไม่แยก
วัดทักษะเป็นส่วนๆ 3) กำหนดปัญหาที่มีหลายทางเลือกหรือวิธีการแก้ปัญหาหลายๆทาง 4) กำหนดรูปแบบ
หรือลักษณะคำถามที่ใหผ้ ู้เรียน สามารถอธิบายเหตุผลประกอบได้ 5) กำหนดรูปแบบคำถามให้มีการเชื่อมโยง
ทางความคิดและสามารถสรุปท่ัวๆไป 6) พฒั นางานทเ่ี กยี่ วกับการประเมินการคิดระดับสูงให้มีคุณภาพดียิ่งข้ึน
ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ของการให้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์คือ การใช้เครื่องมือท่ี
เป็นแบบสอบถามชนิดเขียนตอบหรือแบบอัตนัย ไม่เป็นแบบตัวเลือกหรือแบบอัตนัยวัดความสามารถในการ
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่มีความแปลก หลากหลาย อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์ในการให้คะแนนความคิด
สร้างสรรค์ที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ความแปลกใหม่และประโยชน์ ซึ่งลักษณะของข้อคำถามเป็นแบบ
มาตรประเมินค่า 5 ระดบั (Rating Scale) และใชแ้ บบบันทึกกจิ กรรมการแก้ปญั หาอย่างสร้างสรรคข์ องผู้เรียน
(สมปอง เพชรโรจน์, 2549) และ วาง ชาง และลี (Wang, Chang, & Li, 2008) ได้พัฒนาการประเมินการ
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การตรวจผลงานการเขียนด้วยคอมพิวเตอร์ (Automated Text Grading) ซ่ึง
การประเมินประกอบด้วย การกำหนดสถานการณ์ปัญหาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกที่ชื่อว่า Debris Flow Hazard
(DFH) ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของบาซาดอร์ และ
ออสบอร์น (Basadur,1995 ; Osborn, 1963) คือ ขั้นมองเห็นปัญหาและขั้นแก้ปัญหา ผู้เรียนจะต้องตอบคำถาม
2 สว่ นคอื ส่วนที่เปน็ แนวคดิ ในขั้นมองเห็นปญั หา (Provlem Finding Stage: PF) และเหตผุ ลประกอบแนวคิด
ในขั้นแก้ปัญหา (Provlem Solving Stage: PS) หลังจากนั้นผู้ให้คะแนนจะประเมินกำหนดรหัส 2 ชุด คือ
รหสั ความคิดรวบยอดและรหสั คู่ของผลงาน เพ่ือนำไปประมวลผลในระบบคอมพวิ เตอร์

7

บทสรุป

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นการใช้แนวคิดทฤษฎีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ คือ ความคิด
คลอ่ งแคล่ว ความคดิ ยดื หยุ่น และความคิดรเิ ริ่ม โดยใช้เทคนคิ การระดมสมองในการจดั การเรยี นการสอน และ
ควรมกี ารจดั การกบั ปัญหาและอารมณ์ในการแก้ปัญหาควบคู่กันไป ซ่ึงลกั ษณะแบบทดสอบการแกป้ ัญหาอย่าง
สร้างสรรค์นั้น ต้องเป็นแบบทดสอบแบบเขียนตอบหรืออัตนัย โดยการกำหนดเป็นสถานการณ์หรือเงื่อนไข
ต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนตอบคำถามให้ได้มากที่สุด จากนั้นจึงนำคำตอบที่ได้มาตรวจนับคะแนนตามแนวคิดของ
ประเภทความคิดสร้างสรรค์ โดยความสามารถในด้านต่างๆของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ประเมินจาก
คำตอบ 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง คะแนนความคิดสร้างสรรค์ซ่ึงตรวจให้คะแนนทกุ ตอนที่ประกอบด้วย ความคิด
คล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม ซึ่งประเมินเป็นรายคำตอบกับการนำเสนอสิ่งที่แปลกใหม่
ความเหมาะสม ตรงกับสภาพปัญหา และความคิดเชิงบวกที่ประเมินในภาพรวม ส่วนที่สอง การประเมิน
ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ซึ่งตรวจให้คะแนนในแบบทดสอบซง่ึ ประกอบไปด้วยเกณฑ์ การ
นำเสนอการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย การตัดสินใจเลือกปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่มีแนวโน้มว่า
แกป้ ัญหาไดจ้ รงิ การแกป้ ัญหาในระยะเวลาทีก่ ำหนด มขี ้ันตอนปฏบิ ัตแิ ละเหตุผลในการแก้ปัญหา

เอกสารอา้ งอิง

เกรยี งศักดิ์ เจรญิ วงศ์ศักด.์ิ (2551). ทกั ษะการแก้ปญั หาเรื่องจำเป็นสำหรบั เดก็ ไทย. สบื ค้นเม่อื 4
ธันวาคม 2556, จาก http://www.Kriengsak.com.

ทพิ ยวรรณ มูลทองชนุ . (2534). การพฒั นาแบบสอนแบบเอม็ อี คิว เพือ่ วดั ความสามารถในการแก้ปญั หา
สำหรับนกั เรียนชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 6. วทิ ยานิพนธ์ ค.ม. (การวดั และประเมินผลการศึกษา).
กรงุ เทพฯ: บณั ฑิตวทิ ยาลยั จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. ถา่ ยเอกสาร.

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2538). อุปสรรคต่อการคดิ แกป้ ญั หาอย่างสร้างสรรค์. วารสารครศุ าสตร.์ 26:
31-40.

สทิ ธิชยั ชมพูพาทย.์ (2554). การพฒั นาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาอยา่ งสร้างสรรค์ของครูและ
นักเรยี นในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนท่ีมีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ใชก้ ารวิจยั ปฏบิ ตั ิการเชิง
วิพากษ์. ปริญญาวทิ ยาศาสตร์ดษุ ฎบี ัณฑติ (การวจิ ยั พฤตกิ รรมศาสตรป์ ระยุกต์) กรงุ เทพฯ: บณั ฑติ
วิทยาลัย มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

สมปอง เพชรโรจน.์ (2549). การนำเสนอรปู แบบการเรยี นการสอนบนเว็บโดยใชก้ ารจัดการเรยี นรแู้ บบ
สืบสอบเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสรา้ งสรรค์ เรอ่ื งภาวะมลพิษทางอากาศ สำหรบั นิสิตปรญิ ญาบัณฑติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานพิ นธ์ คม. (โสตทศั นศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑติ ศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลัย.

สมศักดิ์ สนิ ธรุ ะเวชญ์. (2534). ความคิดสร้างสรรค.์ กรุงเทพฯ: กรมวชิ าการ.

8

สรวงสดุ า ปานสกลุ . (2545). การนำเสนอรูปแบบการเรียนรกู้ ระบวนการแกป้ ญั หาเชิงสร้างสรรค์แบบ
รว่ มมือในองค์กรบนอนิ เทอร์เนต. วิทยานิพนธ์ ค.ด.(เทคโนโลยีและสือ่ สารการศึกษา). กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . ถา่ ยเอกสาร.

Arbesman, M., & Puccio, G. (2001). Enhanced quality through creative problem solving.
Journal of Nursing Administration, 31: 176-178.

Basadur,M.S. (1995). The power of innovation. London, England: Pitman Professional.
Becker, J.M., & Shimada. (2010). Peer Coaching for Improvement of teaching and learning.

Retrieved November 12, 2013, from http :// essentialeducator.org/?p=688.
Charles Kramer, et al. (1987). Creative Career Information and Development, Industrial and

Commercial Training, Retrieved May 22, 2014, from
http://www.emeraldinsight.com/doi/abs/10.1108/eb004068.
D, Zurille.T.J., & Goldfriend, M.R. (1971). Problem-solving and behavior modification. Journal
of Abnormal Psychology, 78:107-126.
Lewin,J.E., & Reed,C.A. (1998). Creative problem solving in cupational therapy. Philadelhia:
Lippincott-Raven Publishers.
Mitchell,E.William., & Kowalik,F.Thomas. (1999). Creative Problem Solving. Retrieved May 23,
2014, from http://www.geocities.ws/jdkilp/Creative_Problem_Solving.pdf.
Osborn, A.F. (1963). Applied Imagination: Principles and Procedures of Creative Problem-
Solving. New York: Scribner.
Quellmalz, E.S. (1985, October). Needs Better Method for Testing Higher Order Thinking
Skill.Educational Leadership. 43(2): 29-34.
Treffinger, D.J., et al. (2006). The CPS Kit. Waco, TX: Prufrock Press.
Wang, Hao-Chuan, Chang,Chun-Yen, & Li, Tsai-Yen. (2008). Assessing Creative Problem-Solving
with Automated Text Grading. Computers & Education. 51(4): 1450-1466.

9


Click to View FlipBook Version