The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สะเต็มศึกษาพัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by yuysupansa1, 2021-04-09 14:10:22

สะเต็มศึกษาพัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

สะเต็มศึกษาพัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

สะเตม็ ศึกษาพัฒนาเด็กปฐมวัย
ในศตวรรษที่ 21

~ก~

คำนำ

ในปัจจุบันการเรียนการสอนระดับปฐมวัยนั้น ก็ได้แทรกสาระของสะเต็มเข้าไปใน
กิจกรรมประจำวันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการแบ่งสัดส่วนของการสอนเป็นรายวิชาที่ชัดเจน
ความรู้และทักษะใน 4 สาระของสะเต็ม ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์
และคณิตศาสตร์ สามารถแทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น
หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย ซึ่งจะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้มากขึ้น
เพราะเป็นการจัดประสบการณ์ที่กระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ สืบค้น ลงมือปฏิบัติจริง ทดลอง และ
ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายได้ช่วยได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ และเกิดความ
สนกุ สนานผ่านการทำกิจกรรม

หนังสือการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวยั ในศตวรรษที่ 21 เป็นหนังสือ
ที่จัดทำขึน้ เพื่อให้ผู้ทีส่ นใจ หรอื ผทู้ ี่มสี ่วนเกีย่ วข้องกับเดก็ ปฐมวัยได้นำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการ
พัฒนาทักษะความรู้ในด้านต่างๆแก่เดก็ ปฐมวัย ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในสาระ
วิชาทั้ง 4 ของสะเต็มศึกษา ภายในเล่มประกอบไปด้วยแนวทางการจัดกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสม
สำหรับเด็กปฐมวัยจำนวน 9 กิจกรรม โดยมีการบูรณาการกิจกรรมออกเป็น 3 รูปแบบ โดยจะ
ประกอบไปด้วยกิจกรรมสะเต็มแบบอย่างง่าย สะเต็มกลางแจ้ง และสะเต็มแบบโครงการ ซึ่งทุก
กิจกรรมได้บูรณาการสาระวิชาทั้ง 4 ของสะเต็มศึกษาเริ่มจากการกำหนดปัญหาโดยตั้งคำถาม
และกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน หรือคาดเดาคำตอบ จากนั้นค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาคำตอบ และ
นำเสนอผ่านการประดิษฐ์ชิ้นงาน ครูและผู้ปกครองเป็นผู้อำนวยความสะดวก ดูแลให้เด็กได้ลงมือ
ปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ฝึกฝนศักยภาพการเชื่อมโยงความคิด การคิดสร้างสรรค์ การคิด
แก้ปัญหา และการคิดแบบมีวิจารณญาณ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการใช้
เทคโนโลยีเพื่อชว่ ยแก้ปัญหา อันเป็นพืน้ ฐานในการพฒั นาความรใู้ นระดบั ทีส่ ูงขึน้

นอกจากนี้ในแต่ละกิจกรรมยังมีการบูรณาการศิลปะที่ช่วยเสริมสร้างจินตนาการและ
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นพื้นฐานสำคัญให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาวิชา หรือความรู้ต่างๆได้จะต้องมี
ความรู้ในการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น หรือเรียนรู้ทำให้ทีมพัฒนาสู่การทำงานเป็นทีม
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กปฐมวัย สำหรับการดำรงชีวิตใน
ศตวรรษที่ 21 และเป็นการตอ่ ยอดโอกาสในการเรียนรู้และทำงานของเดก็ ในอนาคตตอ่ ไป

คณะผจู้ ดั ทำ

~ข~

สารบญั

เร่อื ง หน้า

บทที่ 1 ความรเู้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับแนวคดิ สะเตม็ ศกึ ษา ………………………………….
ความหมายของสะเตม็ ………………………………………………………….…………………….…..…2
ความสำคัญของสะเต็ม……………………………..……………………………………………….…....3
หลกั การและแนวการจัดกิจกรรมของสะเต็มศกึ ษา……………………………….……..….4
องคป์ ระกอบของสะเต็ม………………………………………………………………………….…..……5
หลกั การออกแบบหลกั สตู รการศกึ ษาแบบสะเต็ม………………………………………...…6
การจดั การเรียนรู้แบบสะเต็ม…………………………………………………………………..……….8
สรุปท้ายบท…………………………………………………………………………………………..………….11

บทท่ี 2 การเรียนร้ใู นศตวรรษท่ี 21 ……………………………………………………...

องคป์ ระกอบทักษะการเรียนรใู้ นศตวรรษที่ 21……………………………………………..…13

การเรียนรู้ของเดก็ ปฐมวัยในศตวรรษที่ 21………………………………………………..…….15

ทักษะที่สำคัญในการใชช้ ีวติ และทำงานในศตวรรษที่ 21………………………………...16

ทกั ษะการสอนในศตวรรษที่ 21………………………………………………………………....……19

การประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรใู้ นศตวรรษที่ 21 ในบริบทหอ้ งเรียน……..….……21

สรปุ ท้ายบท……………………………………………………………………………………………….…….22

~ค~

สารบัญ

เร่อื ง หน้า

บทท่ี 3 กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มอยา่ งงา่ ย ………………………………………....
กิจกรรมที่ 1 เร่อื ง เจ้าดุ๊กดิก๊ ………………………………………………………………………..……24
กิจกรรมที่ 2 เรอ่ื ง กลอ่ งเจา้ ระเบียบ…………………………………………………………..……33
กิจกรรมที่ 3 เร่อื ง โคมไฟสีรงุ้ ……………………………………………………………..……………42
สรุปท้ายบท………………………………………………………………………………………………………..51

บทท่ี 4 กิจกรรมการเรยี นร้แู บบสะเต็มกลางแจ้ง ………………………………………
กิจกรรมที่ 4 เร่อื ง กังหันลม…………………………………………………………………………….53
กิจกรรมที่ 5 เรอ่ื ง สือ่ สารส่ือรัก………………………………………………………………..……63
กิจกรรมที่ 6 เร่อื ง จังหวะมหาสนุก……………………………………………………….………..72
สรปุ ท้ายบท………………………………………………………………………………………………………80

บทท่ี 5 กิจกรรมการเรียนรแู้ บบสะเต็มโครงการ……………………………………………………….
กิจกรรมที่ 7 ต้นกล้วยแปลงร่าง…………………………………………………………………....82
กิจกรรมที่ 8 ข้าวมหัศจรรย์…………………………………………………………………….…..….89
กิจกรรมที่ 9 ผกั กาดเปลีย่ นสี…………………………………………………………………………98
สรปุ ท้ายบท…………………………………………………………………………………………………….104

บรรณานกุ รม……………………………………………………………………………………………………………………105
ภาคผนวก………………………………………………………………………………………………………………………….106

บทที่ 1
ความรเู้ บื้องตน้ เกีย่ วกับ

แนวคดิ สะเต็มศึกษา

~2~

ความหมายของสะเตม็ ศกึ ษา (STEM Education)

คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษ
ของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี
(Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์
(Mathematics) หมายถึง องค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มี
ความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้
ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิต และการทำงาน
คำว่าสะเต็มถูกใช้ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศ
สหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้
เพื่ออ้างถึงโครงการ หรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม
สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่
ชัดเจนของคำว่าสะเต็มมีผลให้มีการใช้ และให้ความหมายของคำนี้
แตกต่างกันไป เช่น มีการใช้คำว่าสะเต็มในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพ
ที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์
และคณิตศาสตร์

~3~

ความสำคัญของสะเต็มศึกษา

ในทุกสาขาวิชามีความสำคัญเหมือนกัน และเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มี
การบูรณาการศาสตร์ทั้ง 4 ด้านเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนนําความรู้ทุกแขนงมาใช้ใน
การแก้ปัญหา การค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ การสร้าง หรือพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ในสถานการณ์
โลกปัจจุบัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน เพราะในการ
ทำงานจริงนั้นต้องอาศัยความรู้หลายด้านมาช่วยในการทำงานทั้งสิ้น ไม่ได้แยกใช้
ความรู้เป็นส่วนๆ และยังเป็นการส่งเสริม การพัฒนาทักษะสำคัญในโลกโลกาภิวัตน์
อีกด้วย ซึ่งในอดีต และปัจจุบันก็ยังคงจัดการเรียนการสอนที่แยกออกจากกันอย่าง
ชดั เจน

~4~

หลักการและแนวการจดั กจิ กรรมของสะเตม็ ศึกษา

หลักการวางแผนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีขั้นตอน
ดังตอ่ ไปนี้

1. การวางแผนการจัดกระบวนการเรยี นร้แู บบสะเต็มศึกษา
1.1 กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้โดยมีการวางแผนร่วมกันระหว่างครู และนักเรียนในการ

จัดการเรยี นรู้
1.2 วางแผนการจดั กิจกรรมโดยมีการบรู ณาการ ดงั น้ี
1. วิทยาศาสตร์ S (Science)
2. เทคโนโลยี T (Technology)
3. วิศวกรรมศาสตร์ E (Engineering)
4. คณิตศาสตร์ M (Mathematics)

ความรเู้ บอื้ งตน้ เกีย่ วกับแนวคิดสะเตม็ ศกึ ษาจัดได้ว่าเปน็ การจัดการเรยี นรู้ที่มีการบรู ณาการสาระ
เนื้อหาความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ผ่านกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์
โดยเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ในภาคทฤษฎีมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ในการจัดการเรียนรู้
แบบสะเต็ม จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะ และกระบวนการที่หลากหลายในการเรียนรู้ สามารถช่วย
พฒั นาทกั ษะในหลายๆด้านของผู้เรยี นได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษานั้นจะต้องมีการวางแผนมีการ
กำหนดเน้ือหาโดยมีการวางแผนรว่ มกันระหว่างครู และผเู้ รียน

~5~

องคป์ ระกอบของสะเต็ม

S วิทยาศาสตร์ (Science) เป็นพ้นื ฐานการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ผ่าน
กจิ กรรมการสอนแบบแก้ปัญหา กระบวนการสบื สอบ กล่าวคอื การทดลองจะช่วยให้
เด็กได้พัฒนาทกั ษะวิทยาศาสตร์พ้ืนฐาน ได้แก่ การสงั เกต และอธิบายสิ่งต่างๆ
ท่ีเกิดข้ึนรอบตัว การตัง้ คาถาม และการเสนอคาตอบเป็นทักษะท่ีต้องใ ช้ทุกวัน
ในหอ้ งเรยี น การเปรยี บเทยี บความเหมอื น ความต่างของวสั ดทุ เ่ี กดิ จากธรรมชาติ

T เทคโนโลยี (Technology) เก่ียวข้องกับกระบวนการแก้ปัญหา
การปรบั ปรุง การพฒั นาสง่ิ ต่างๆ จงึ ถอื เป็นการช่วยพฒั นาทกั ษะการเคล่ือนไหวของ
รา่ งกาย เพราะการใชเ้ คร่อื งมอื จะช่วยใหเ้ ดก็ ไดพ้ ฒั นาประสานสมั พนั ธร์ ะหว่างมอื กบั
ตา เช่น การเขยี น การประดษิ ฐ์ การพมิ พ์ การวาด ฯลฯ เป็นการสรา้ งความแขง็ แรง
ให้กับกล้ามเน้ือ และ น้ิวมอื เพ่ือให้เด็กสามารถทากิจกรรมอ่ืนต่อไ ปได้อย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ

E วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) เก่ยี วข้องกบั การลงมอื ปฏบิ ตั ิ
การแก้ปัญหา การใช้วสั ดุท่หี ลากหลายในการออกแบบสรา้ งสรรค์โดยครู ทกั ษะการ
แกป้ ัญหาทางวศิ วกรรมศาสตรเ์ ก่ยี วขอ้ งกบั ทุกสาขาวชิ าสามารถฝึกไดด้ ผี ่านการสอน
แบบสบื สอบ และการคน้ พบความรดู้ ว้ ยตนเอง ซง่ึ ทกั ษะทางวศิ วกรรมศาสตรถ์ ือเป็น
เครอ่ื งมอื สาคญั ทใ่ี ชใ้ นการคดิ แกป้ ัญหาอยา่ งเป็นระบบ

M คณิ ตศาสตร์ (Mathematics) เก่ียวข้องกับกระบวนการคิดทาง
คณิตศาสตร์ การวดั การนับจานวน การลาดบั แบบรปู การจบั ค่รู ปู ร่าง สามเหล่ยี ม
สเ่ี หลย่ี ม วงกลม การเปรยี บเทยี บ สาหรบั เดก็ ปฐมวยั การเรยี งลาดบั และการนับเป็นวธิ ี
ทด่ี ใี นการชว่ ยพฒั นาการคดิ เป็นเหตุเป็นผลการเรยี นรทู้ กั ษะพน้ื ฐานทางคณติ ศาสตร์

~6~

หลกั การออกแบบหลักสูตรการศกึ ษาแบบสะเตม็

หลักสูตรการศึกษาแบบlสะเต็ม ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสืบเสาะหาความรู้ เพราะการจัดการ
เรียนรู้แบบสะเต็ม จะกระตุ้นให้เด็ก ๆ ตั้งคำถามแล้วสำรวจ เช่นเดียวกับการทำงานของวิทยาศาสตร์
สนับสนุนการสืบเสาะหาความรู้ได้โดยจัดหาวัสดุน่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับหลักสูตรรวมทั้งกระตุ้นให้
เดก็ ๆ อยากสำรวจ และเรียนรู้ ซึง่ บทสนทนาทีค่ รูใช้กับเด็กขณะทำกิจกรรมขยายขอบเขตกระบวนการ
การสืบเสาะหาความรู้ของเด็กได้ นอกจากยังเพิ่มทักษะการคิด และกระตุ้นให้ตรวจสอบอย่างลึกซึ้ง
มากขึ้น เป็นองค์ประกอบส่วนหนึง่ ของการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดงั น้ี

การคาดคะเน สรา้ งความคดิ หรอื ความคาดหวงั โดยขน้ึ อยกู่ บั ประสบการณ์
เดมิ ซง่ึ จะชว่ ยนาทางการตรวจสอบทางวทิ ยาศาสตร์

การสังเกต ตรวจสอบลกั ษณะของวตั ถุทงั้ ในสงิ่ แวดลอ้ มทเ่ี ป็นธรรมชาติ
หรอื ในสภาพแวดลอ้ มทท่ี าการทดลอง

การทดลอง สรา้ งสถานการณ์ในการตรวจสอบหาความจรงิ จากสงิ่ ท่ี
คาดคะเนไว้ หรอื ปรบั เปลย่ี นวตั ถุเพ่อื ใหไ้ ดร้ บั ความรู้

~7~

การเปรียบเทยี บ สรา้ งความสมั พนั ธผ์ า่ นการสงั เกต และการทดลองกบั วตั ถุต่างๆ

การวัด กาหนด หรอื ใชว้ ธิ เี ปรยี บเทยี บ หรอื ระบุปรมิ าณทไ่ี ดม้ าจากการวดั
วตั ถุ เชน่ ความยาว น้าหนกั ระยะทาง และความเรว็

การลงขอ้ สรุป การสรา้ งขอ้ สรปุ ขน้ึ อยกู่ บั การสงั เกต หรอื การทดลองซา้ หลายครงั้

การสือ่ สาร การสบื เสาะหาความรโู้ ดยการพดู คุย การเขยี น การวาดภาพ
สามารถมสี ว่ นรว่ มในกระบวนการสบื เสาะหาความรผู้ ่านการสารวจวสั ดุ
ต่าง ๆ นอกจากน้ศี ูนยก์ ารเรยี นรแู้ บบสะเตม็ ยงั เป็นองคป์ ระกอบหลกั ของ
การทาโครงการในชนั้ เรยี น รวมถงึ กจิ กรรมกลางแจง้ และกจิ กรรมในชนั้
เรยี นอยา่ งงา่ ยๆ สามารถนาไปสผู่ ลสาเรจ็ ของการเรยี นรแู้ บบสะเตม็ ได้

~8~

การจดั การเรียนรแู้ บบสะเต็ม

กิจกรรมการเรียนรู้lสะเต็มอย่างง่าย

ครูปฐมวัยมีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และเนื้อหาของหลักสูตรที่ต้องบูรณาการใน
กิจกรรมของแต่ละวันจำนวนมาก แม้แต่ในชั้นอนุบาล ครูหลายคนที่ต้องนำความรู้ที่จะช่วยให้
เด็ก ๆ ได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มากมาย รวมทั้งการสืบเสาะหา
ความรู้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างง่าย เพื่อเป็นการสร้างโอกาส
การเรียนรผู้ ่านการทำกิจกรรมต่างๆของเด็กปฐมวยั ในรปู แบบสะเตม็ ศึกษาได้

~9~

การจัดการเรียนรู้
แบบสะเต็มกลางแจง้

พื้นที่กลางแจ้งทำให้เด็ก ๆ มีโอกาสในการสำรวจตามแบบสะเต็ม ซึ่งไม่ได้จัดขึ้น
ในหอ้ งเรียนเดก็ ๆสามารถตรวจสอบเงา และลม รวมท้ังสังเกตสิ่งตา่ งๆในบริเวณโรงเรียน
ได้ พื้นที่กลางแจ้งทำให้เด็กได้สำรวจเครื่องกลอย่างง่ายบนมาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้น เช่น
กังหันลม การหมุนของใบพัด แรงลม การทำกิจกรรมที่ได้ใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
กิจกรรมกลางแจ้งสามารถจัดได้บ่อยครั้ง และยาวนานกว่าในห้องเรียน และสามารถ
เชื่อมโยงกับแสงตามธรรมชาติ และวัฏจักรของลม ฟ้า อากาศ ซึ่งได้การออกแบบ
กิจกรรมการเรียนรู้สะเตม็ กลางแจง้ ใชเ้ ป็นเนือ้ หาในการทำกิจกรรม

~ 10 ~

การบูรณาการสะเตม็
สู่โครงการในชั้นเรยี น

ครูชั้นอนุบาลหลายคนเริ่มสนใจการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการทำโครงการ
ซึ่งโครงการอาจจะเกิดขึ้นโดยครูเป็นผู้ริเริ่ม หรืออาจจะเริ่มจากกลุ่มเด็กที่แบ่งปันความ
สนใจเรือ่ งใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ โครงการเน้นการสืบเสาะหาความรู้ และมีคำถามสำคัญ
ที่เด็ก ๆ ต้องการค้นหาคำตอบ โดยมีครูคอยสนับสนุน และชี้แนะด้วยการเป็นผู้อธิบาย
จัดหาวสั ดทุ ี่ตอ้ งการ และแนะนำประสบการณ์ใหม่ทีเ่ ชือ่ มโยงกัน โครงการมักจะรวมวิชา
วิทยาศาสตร์ และวิชาคณิตศาสตร์มาเพิ่มเติมขอบเขตสำคัญบางครั้งการทำโครงการ
อาจจะเกี่ยวกับ วิชาวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ดังนั้นครูสามารถใช้โครงการเพื่อบูรณาการ
การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ได้ตัวอย่างของโครงการในชั้นเรียนแบบ
ตา่ ง ๆ ทีเ่ กี่ยวข้องกบั การเรียนรแู้ บบสะเต็ม

~ 11 ~

สรปุ ท้ายบท ‘

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดสะเต็มศึกษาจัดได้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มี
การบูรณาการสาระเนื้อหาความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ผ่าน
กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ โดยเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ในภาคทฤษฎีมาใช้
แก้ปัญหาในชีวติ จรงิ ทีเ่ กิดข้ึน ทั้งนี้ในการจัดการเรียนรู้แบบสะเตม็ จะชว่ ยให้ผู้เรียนเกิด
ทักษะ และกระบวนการที่หลากหลายในการเรียนรู้ สามารถช่วยพัฒนาทักษะใน
หลายๆ ด้านของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งขั้นตอนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ให้เด็กได้เกิดทักษะต่างๆ เช่น การคาดคะเน การสังเกต การทดลอง การเปรียบเทียบ
การวดั การลงข้อสรปุ การสอ่ื สาร ทั้งนีก้ ารบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านช้ันเรียน
โดยจะประกอบไปด้วย การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มกลางแจ้ง กิจกรรมการเรียนรู้
สะเตม็ อยา่ งง่าย และการบรู ณาการสะเต็มสโู่ ครงการในช้ันเรียน

~ 12 ~

บทที่ 2
การเรียนร้ใู นศตวรรษที่ 21

~ 13 ~

องค์ประกอบทักษะ
การเรียนรูใ้ นศตวรรษที่ 21

1. ทกั ษะพื้นฐานในการร้หู นังสือ ได้แก่ สามารถคน้ คว้า ใฝ่ หาความรจู้ าก
ทรพั ยากรการเรยี นรู้ และแหล่งเรยี นรทู้ ห่ี ลากหลาย ผ่านการอ่านออกเขยี นได้ การ
คดิ คานวณ การใชเ้ หตุผลทางวทิ ยาศาสตร์ การเงนิ สงั คม และวฒั นธรรม เป็นตน้

2. ทกั ษะการคิด ได้แก่สามารถใช้เหตุผล และความคดิ ในการวเิ คราะหแ์ ละ
สงั เคราะห์ ประเมนิ คา่ คดิ สรา้ งสรรค์ ตดั สนิ ใจ และแกป้ ัญหาไดอ้ ยา่ งดี

3. ทกั ษะการทางาน ได้แก่ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ และทกั ษะในการ
ทางาน การตดิ ต่อส่อื สาร การทางานเป็นทมี แสดงภาวะผนู้ า และความรบั ผิดชอบ มี
ความยดื หยนุ่ และปรบั ตวั ไดด้ ี

~ 14 ~

4. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ สามารถรับรู้ เข้าใจการใช้
และการจัดการสื่อสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้น
มาใช้อยา่ งถูกต้องเหมาะสม และเปน็ ประโยชนท์ ้ังตอ่ ตนเอง และผอู้ ืน่

5. ทักษะการใช้ชีวิต ได้แก่ สามารถแสวงหาความรู้ มีความมั่นใจในตัวเอง
กระตือรือร้นในความรู้ สามารถดำรงชีวิตด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้อื่น
เป็นพลเมืองที่ดี รู้และเคารพกติกา มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม เข้าใจความหลายหลาย
ทางวัฒนธรรม และแบ่งปันประสบการณ์

~ 15 ~

การเรียนรขู้ องเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

เดก็ ควรมีทกั ษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดงั นี้

3 R ได้แก่

การอ่าน Reading
การเขียน Writing
คณิตศาสตร์ Arithmetic

4 C ไดแ้ ก่

การคิดวิเคราะห์ Critical Thinking
การสือ่ สาร Communication
การรว่ มมือ Collaboration
ความคดิ สร้างสรรค์ Creativity
รวมถึงทักษะชีวติ และอาชีพ และทกั ษะด้าน
สารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี และการบริหาร
จัดการด้านการศกึ ษาแบบใหม่

~ 16 ~

ทกั ษะที่สำคัญในการใชช้ ีวติ และทำงานในศตวรรษที่ 21

1. ทักษะการเรียนร้แู ละนวัตกรรม

~ 17 ~
2. ทักษะสารสนเทศ สือ่ เทคโนโลยี

~ 18 ~
3. ทักษะชวี ิตและอาชพี

~ 19 ~

ทกั ษะการสอนในศตวรรษที่ 21

1. มุ่งเน้นไปที่การเปิด 2. ช่วยให้เด็กมีวิธีการ
โอกาสให้เด็กทำกิจกรรมตาม เรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการ
ความสามารถในการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีโดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน

3. การเรียนการสอนที่ 4. การพัฒนา ค ว า ม
มุ่งเนน้ การทำโครงการ สามารถในการระบุตัวตน
ของเด็ก โดยครูมีรูปแบบ
การเรียนโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง
รู้จุดเด่น และจุดด้อยของเด็ก

~ 20 ~

4. ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถ 5. ชว่ ยใหเ้ ดก็ ได้เรยี นรู้งาน
แ ล ะ ก า ร ส ร ้ า ง ส ภ า พ แ ว ด ล ้ อ ม ท ี่ ที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21
สนับสนุนความแตกต่างระหว่างบุคคล ตามสภาพแวดล้อมจริง (เช่น
ของเด็ก ปฏิบตั ิจริง หรอื ผ่านการทำงาน
ที่ใชต้ ามโครงการหรืออืน่ ๆ

6. เรียนรู้การใช้เครื่องมือ
เทคโนโลยี และทรัพยากรอย่างมี
คุณภาพ รู้จักการทำงานสำหรับการ
เรียนรู้เป็นกลมุ่ ทีม และรายบคุ คล

~ 21 ~

การประยุกตใ์ ชท้ กั ษะ
การเรียนรใู้ นศตวรรษที่ 21

ในบริบทห้องเรียน

บรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องสร้างการ
เรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
อาทิการเรียนรู้ด้วยโครงการเป็นฐาน หรือการประยุกต์ใช้ในการทำงาน เป็นต้น และการ
สร้างชุมชนการเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อน ครูเพื่อบูรณาการ
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในบริบทห้องเรียน นำเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์การเรียนรู้
เข้ามาช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน การออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้มีความ
หลากหลาย

~ 22 ~

สรปุ ทา้ ยบท

การเรียนรใู้ นศตวรรษที่ 21 ผเู้ รียนจำเป็นจะต้องเรียนรู้ให้เกิดทักษะพื้นฐาน
3R4C โดยเด็กจะต้องมีพื้นฐานในการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และมีทักษะใน
เรื่องของการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การทำงานเปน็ ทีม การใช้ภาษา
การใชเ้ ทคโนโลยี และทักษะทีส่ ำคญั ในการใช้ชีวิต ซึ่งเปน็ สิ่งทีม่ สี ำคัญอย่างมากใน
ศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาให้สอดคล้องกับทักษะดังกล่าว
เพือ่ ให้เดก็ เติบโตได้อย่างเหมาะสมในสงั คมยุคใหม่ ทั้งนีก้ ารได้รับการพัฒนาทักษะ
ชีวติ อย่างเป็นองคร์ วมจะชว่ ยให้เดก็ อย่ใู นสังคมได้อย่างมีความสุข มีการเรียนรู้ที่จะ
อยู่ร่วมกันในการเรียนรู้พึ่งพาซึ่งกันและกัน การเรียนรู้ด้วยตัวเองสามารถ
ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่นอย่าง
สอดคล้องเหมาะสมตอ่ ไป

~ 23 ~

บทที่ 3
กิจกรรมการเรียนรู้
แบบสะเตม็ อยา่ งง่าย

~ 24 ~

การจดั กิจกรรมสะเต็มศึกษา (กิจกรรมอย่างงา่ ย )
กิจกรรมที่ 1 เรื่อง เจ้าดกุ๊ ดิ๊ก

~ 25 ~

ความรู้และทกั ษะใน 4 สาระของสะเต็ม

Science Technology Engineering Mathematics

(วิทยาศาสตร์) (เทคโนโลยี) (วิศวกรรมศาสตร์) (คณิตศาสตร์)
1. การออกแบบ และ 1. การเรียนรเู้ รือ่ งรปู
1. การส่อื ความหมาย 1. การใชก้ รรไกรตดั ประดิษฐท์ ีค่ ่นั หนังสอื ให้ เรขาคณติ ผ่านการ
เปน็ รูปตา่ งๆจากวัสดทุ ี่ วาดภาพสตั ว์ทีส่ นใจ
และการลงความคิดเหน็ กระดาษ กำหนดให้ 2. การวัดความกว้าง
2. ทดสอบความ และความยาวของ
โดยการวาดภาพเจ้าดุ๊กดิก๊ 2. การใชก้ ระดาษพับ แขง็ แรงของสปริง กระดาษ
กระดาษ และปรบั ปรงุ 3. การเรียนรรู้ ปู แบบ
ตา่ งๆ และนำไปประดิษฐ์ เปน็ สปริง แก้ไขใหส้ ามารถรบั และความสมั พันธจ์ าก
น้ำหนกั หวั เจา้ ดุ๊กดิ๊ก การพับกระดาษ
เปน็ ที่ค่ันหนังสือ 3. การใชไ้ ม้ไอศกรีม

2. การสังเกต เป็นโครงสำหรบั

เปรียบเทียบ และทดสอบ ประดิษฐท์ ี่ค่นั หนงั สอื

การเคลือ่ นไหวของหวั

เจ้าดกุ๊ ดิ๊กที่ตดิ บนสปริง

กระดาษ

~ 26 ~

ส่อื และอุปกรณ์

กระดาษแข็ง ดินสอ
สีไม้ ไม้ไอศกรีม

กรรไกร กาว
เทปกาว

~ 27 ~

ข้ันตอนและวธิ ีการทำ

เด็กทุกคนทดลองประดษิ ฐ์ทีค่ น่ั หนงั สอื เจา้ ดกุ๊ ดิก๊ ดังน้ี
1. ทดสอบเลือกวสั ดุ โดยตัดกระดาษสีขาว 70 แกรม ตามขนาดทีก่ ำหนด แล้วพบั เป็นสปริง
กระดาษ จากนั้นตัดกระดาษแข็งสีขาว 180 แกรม เป็นรูปวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม.
ติดทีป่ ลายสงั เกต และเปรียบเทียบความแข็งแรงของสปริงกระดาษ

แบบที่ 1 ตัดกระดาษขนาด 0.5 x 30 ซม. พับเป็นสปริงกระดาษ
แบบที่ 2 ตดั กระดาษขนาด 1 x 30 ซม. พบั เป็นสปริงกระดาษ
แบบที่ 3 ตัดกระดาษขนาด 2 x 30 ซม. พบั เปน็ สปริงกระดาษ
2. กำหนดให้ใชก้ ระดาษสีขาว 70 แกรม ขนาด 2 x 30 ซม. พบั สปริงกระดาษ เพือ่ ใช้เป็นสว่ น
คอของสตั ว์
3. ให้เดก็ ๆ วาดภาพระบายสีออกแบบทีค่ นั่ หนงั สอื รปู สัตว์ โดยใช้รปู เรขาคณิตเปน็
องคป์ ระกอบของภาพแล้วตัดกระดาษสว่ นหวั ของสัตว์
4. ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปครึ่งวงกลมขนาดเท่ากันจำนวน 2 ชิ้น ติดประกบที่ปลายไม้ไอศกรีม
ให้เปน็ ตัวสตั ว์

5. พบั สปริงกระดาษติดเชือ่ มระหว่างตัวกับหวั (ใหส้ ปริงกระดาษเปน็ ส่วนคอ)
6. ทดสอบการใช้งานโดยนำไปคั่นหนังสือ และทดสอบความยืดหยุ่นของสปริงกระดาษ
โดยการเขย่า หรือกดให้สปริงยุบตัวลงแล้วปล่อย จากนั้นสังเกตดูว่าหัวสัตว์สั่นดุ๊กดิ๊ก และยังคงรูป
เหมอื นเดิมหรือไม่

~ 28 ~

7. ปรบั ปรุงแก้ไขขนาดหัวสตั ว์ให้ได้ทีค่ ั่นหนงั สอื ตามแบบทีต่ อ้ งการ (ถ้าหวั มีขนาดใหญเ่ กินไป
สปริงกระดาษอาจรบั น้ำหนกั ไมไ่ หวตามที่ทดสอบความแขง็ แรงของสปริงกระดาษส่วนหวั ของสตั ว์)

~ 29 ~

รูปภาพการทำกิจกรรม

แนะนำอุปกรณก์ ิจกรรมเจ้าดุ๊กดิ๊ก
เดก็ ๆวาดรปู ตวั และหวั สตั ว์ตามจินตนาการ

~ 30 ~
แนะนำการพับสปริง

~ 31 ~

ผลงานนกั เรียนชั้นอนบุ าลปีที่ 2/2
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลยั ราชภัฏมหาสารคาม

~ 32 ~

สรุปกิจกรรมเจาดุ๊กดิ๊ก

เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์
ผลงาน เป็นทีค่ ัน่ หนงั สอื และได้ปรับประยกุ ตใ์ ช้กบั กิจกรรมอืน่ ๆ เชน่ การนำเจ้าดุ๊กดิ๊ก
ไปเป็นตัวละครประกอบการเลา่ นทิ านได้ ทั้งนใี้ นระหวา่ งการประดิษฐ์ผลงาน เดก็ ยังได้
ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา รวมไปถึงพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก
การใช้กล้ามเนื้อเล็กในการหยิบจับ ตัดกระดาษ และการพับกระดาษเป็นสปริง
นอกจากเด็กจะได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม
แล้วยังได้ฝึกทักษะในการใช้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการฟัง การพูด และการใช้
คำถามระหว่างการทำกิจกรรม

~ 33 ~

กิจกรรมท่ี 2 เรื่อง กลอ่ งเจา้ ระเบียบ

~ 34 ~

ความร้แู ละทกั ษะใน 4 สาระของสะเตม็

Science Technology Engineering Mathematics

(วิทยาศาสตร)์ (เทคโนโลยี) (วิศวกรรมศาสตร์) (คณิตศาสตร)์

1. การสังเกตลกั ษณะ 1. การใชก้ รรไกรตัด 1. การใชก้ รรไกรตดั 1. การวัด และ

ขนาดและรปู ทรงของ กล่องนมใหเ้ ปน็ ช่อง กลอ่ งนมใหเ้ ปน็ ชอ่ ง เปรียบเทียบขนาดของ

กลอ่ งนม ตามทีต่ ้องการ ตามที่ต้องการ กลอ่ งนม

2. การคาดคะเนและ 2. การประดษิ ฐก์ ล่อง 2. การใชก้ าวยึด 2. การนบั จำนวน

ความสูงของช่องเก็บของ เกบ็ เครื่องเขยี นจาก ชิน้ ส่วนต่าง ๆ ของกล่อง กลอ่ งนมที่ใชใ้ นการ

3. การหาความ กล่องนม นมให้ตดิ กัน ประดิษฐ์

สัมพนั ธร์ ะหว่างความสูง 3. การประดษิ ฐก์ ลอ่ ง 3. การเรียนรเู้ รื่อง

และตำแหนง่ การจัดวาง เกบ็ เครื่องเขยี นจาก มิติสมั พันธ์ และ

กล่องนม เพื่อให้มี กลอ่ งนม ตำแหนง่ ในการจดั เรียง

ลักษณะคล้ายข้ันบันได กล่องให้เปน็ ข้ันบันได

3 ขั้น

~ 35 ~

ส่อื และอปุ กรณ์

กลอ่ งนม กระดาษสี
เชอื กไหมพรม กระดุม
กาว
กรรไกร
เทปกาว

~ 36 ~

ขน้ั ตอนและวิธีการทำ

เดก็ ทกุ คนทดลองประดิษฐ์กลอ่ งเก็บเครือ่ งเขยี นจากกล่องนม ดังน้ี
1. ทดสอบเลือกวสั ดุ โดยเตรียมกล่องนม 3 ขนาด วางรวมกนั ไว้ให้เดก็ ๆ ทดลองตอ่ ซ้อนกลอ่ ง

ขนาดต่าง ๆ แล้วเลือกแบง่ วัสดกุ นั เอง
แบบที่ 1 ใช้กล่องนม 3 ขนาดตอ่ ซ้อนกนั ให้มลี ักษณะคล้ายขั้นบันได 3 ข้ัน
แบบที่ 2 ใช้กลอ่ งนม 2 ขนาดตอ่ ซ้อนกนั ให้มลี ักษณะคล้ายขั้นบนั ได 3 ขั้น
แบบที่ 3 ใช้กลอ่ งนมที่มขี นาดเท่ากัน ตอ่ ซ้อนกนั ให้มลี กั ษณะคล้ายข้ันบันได 3 ขนั้

2. ใช้กล่องนมที่มีขนาดเท่ากันแต่ละกลุ่มจะได้วัสดุเป็นกล่องนมที่มีขนาดเท่ากันจำนวน 6
กลอ่ ง

3. เดก็ ๆ วาดภาพออกแบบกล่องเกบ็ เครื่องเขียนที่มีลักษณะคล้ายขั้นบนั ได 3 ขน้ั

4. ประดิษฐ์กล่องเก็บเครื่องเขียนตามแบบ โดยวางแผนรูปแบบ และขั้นตอนว่าต้องเจาะช่องที่
กล่องเปน็ รปู แบบไหนจำนวนกี่กล่อง ตัวอยา่ งตามแบบเจาะกลอ่ งตามแนวความสงู ของกล่องให้ทะลุท้ัง
2 ดา้ น จำนวน 3 กล่อง และเจาะด้านเดียวจำนวน 3 กล่อง

5. ติดกาวประกอบชิน้ สว่ นห่อกระดาษ และตกแตง่ ให้สวยงาม

~ 37 ~
6. ทดลองใช้งาน โดยจัดเก็บเครือ่ งเขยี นในหอ้ งเรียนแยกประเภทตามช่องให้เรยี บร้อย

~ 38 ~

รปู ภาพการทำกจิ กรรม

แนะนำอุปกรณใ์ นการทำกิจกรรมกลอ่ งเจ้าระเบียบ

เริ่มทำกิจกรรมกล่องเจา้ ระเบียบตามจนิ ตนาการ

~ 39 ~
เด็กๆตกแต่งกล่องเจ้าระเบียบของตนเองตามจินตนาการ

~ 40 ~

ผลงานนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

~ 41 ~

สรุปกิจกรรมกลอ่ งเจ้าระเบียบ

เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมให้เด็กได้เห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆรอบตัว
เช่น กลอ่ งนม ที่เดก็ ได้รับประทานในทกุ วนั หรอื การนำวัสดุเหลือใช้อ่นื ๆมาสร้างสรรค์
เป็นผลงาน และนำไปต่อยอดเป็นของใช้ที่มีประโยชน์ได้ นอกจากเด็กจะได้ทำผลงาน
แล้ว ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก การใช้กล้ามเนื้อเล็กในการหยิบจับ
ตัด ติดกระดาษในการตกแต่งกล่องนม ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของ
ตนเอง เด็กได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม เด็กได้คิดวางแผน ออกแบบในการ
สร้างสรรค์ผลงาน และมีการคิดแก้ไขปญั หาระหว่างทำกิจกรรม

~ 42 ~

กิจกรรมที่ 3 เรือ่ ง โคมไฟสรี ุ้ง

~ 43 ~

ความรแู้ ละทกั ษะใน 4 สาระของ STEM

Science Technology Engineering Mathematics

(วิทยาศาสตร)์ (เทคโนโลยี) (วิศวกรรมศาสตร)์ (คณิตศาสตร์)
1. การสำรวจ 1. การใชไ้ ฟฉายโคม 1. การออกแบบ และ 1. การบอกลำดับ
ตรวจสอบ และสงั เกต ไฟ หรอื หลอดไฟเปน็ ประดิษฐโ์ ครงของโคมไฟ จำนวนตำแหน่ง และ
แหลง่ กำเนิดแสงจากสิง่ แหล่งกำเนิดแสง ให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต ทิศทางของแสงสที ีเ่ กิดขึน้
ต่างๆรอบตวั 2. การใชก้ รรไกรตดั จากวัสดทุ ี่กำหนดให้ 2. การเรียนรเู้ รื่อง
2. การทดลองครอบ กระดาษ 2. กำหนดวิธีการโดยให้ รปู ทรงเรขาคณิตผา่ นการ
หลอดไฟด้วยกระดาษ 3. การใชห้ ลอดกาแฟ ใช้กระดาษแก้วทั้ง 5 สี ออกแบบโครงของโคมไฟ
แบบตา่ งๆ และ และไม้ไอศกรีม ติดบนโครงของโคมไฟใน 3. การเรียนรเู้ รื่องแบบ
เปรียบเทียบความ ประกอบเปน็ โครง รูปแบบทีแ่ ตกตา่ งกนั รูป และความสัมพันธ์จาก
แตกตา่ งของแสง สำหรับประดิษฐ์โคมไฟ 3. ทดสอบแสง สีจาก การออกแบบโคมไฟให้
3. การจำแนกประเภท 4. การประดิษฐ์โคม โคมไฟสีรงุ้ ในกล่องมดื เกิดสีตามทีต่ ้องการ
และการลงความเหน็ ไฟสีรงุ้ จากกระดาษ และปรับปรงุ แก้ไขรปู ทรง
เกีย่ วกับวัตถทุ ึบแสง แก้ว ของโครง หรอื รูปแบบการ
และวัตถโุ ปรง่ แสง ตดิ กระดาษแก้ว เพือ่ ให้ได้
แสงไฟหลากหลายสีตามที่
ต้องการ

~ 44 ~

สอ่ื และอุปกรณ์

ไฟฉาย กระดาษแก้ว
หลอด ไม้ไอศกรีม
กรรไกร กาว
เทปกาว กลอ่ งกระดาษ

~ 45 ~

ข้นั ตอนและวิธีการทำ

เด็กทุกคนทดลองประดิษฐโ์ คมไฟสีรุ้ง ดังนี้
1. ทดสอบเลือกวัสดใุ นหอ้ งมดื โดยใช้กระดาษครอบหลอดไฟ สังเกตและเปรียบเทียบแสงที่

ปรากฏบนฉาก
แบบที่ 1 ใช้กลอ่ งกระดาษแข็งสแี ดงครอบหลอดไฟ
แบบที่ 2 ใช้กระดาษโปสเตอร์สีแดงตดิ บนโครงกระดาษแข็ง และครอบหลอดไฟ
แบบที่ 3 ใช้กระดาษแก้วสีแดงตดิ บนโครงกระดาษแขง็ และครอบหลอดไฟ

กลอ่ งกระดาษแข็ง กระดาษโปสเตอร์ กระดาษแก้ว

2. นำกระดาษแก้ว 5 สี ติดบนโครงรูปทรงเรขาคณิตให้มรี ูปแบบทีแ่ ตกตา่ งกนั

3. เด็ก ๆ วาดภาพระบายสีออกแบบโคมไฟใหเ้ ป็นรูปทรงเรขาคณิตตามทีต่ ้องการ

4. ใช้ไม้ไอศกรีม หลอดกาแฟ หรอื กระดาษแข็งประกอบกนั เป็นโครงรปู ทรงเรขาคณิตตามที่
ออกแบบไว้

~ 46 ~

5. ติดกระดาษแก้วทั้ง 5 สี โดยแบ่งสี หรอื ตกแต่งตามแบบ และเว้นช่องไว้ 1 ด้านสำหรับครอบ
หลอดไฟ

6. ทดสอบแสงสใี นกลอ่ งมดื โดยเปิดโคมไฟทีป่ ระดิษฐ์แล้วใชฉ้ ากสีขาวต้ังเพือ่ รบั แสงที่ส่อง
สวา่ งออกมา จากน้ันทดลองหมุนโคมไฟเลื่อนให้ใกล้ และไกลจากฉากสงั เกตการเปลีย่ นแปลงของแสง
สีที่เกิดข้ึน

7. ปรับปรุงแก้ไขรูปทรง หรอื รูปแบบการตดิ กระดาษแก้วเพือ่ ใหไ้ ด้โคมทีใ่ ห้แสงไฟหลากหลายสี
ตามทีต่ ้องการ


Click to View FlipBook Version