ผลการดำเนินงาน
โครงการพฒั นาคลินกิ ให้คำปรึกษาด้านจิตสงั คม
แกผ่ ้ตู ้องหาคดียาเสพตดิ
ปีงบประมาณ 2565
ศาลแขวงบางบอน
คำนำ
คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบศาล เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้
ผู้กระทำผิดและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เข้ารับคำปรึกษาด้านจิตสังคมที่ประยุกต์แนวคิดและหลักการ
ของทฤษฎีทางจิตวิทยาที่สำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีที่เน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered
Theory) ทฤษฎีที่เน้นเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (Rational Emotion Behavior Therapy)
ร่วมด้วยกับเทคนิคลำดับขั้นตามโมเดลของการเปลี่ยนแปลง (The Stage of Change Model)
เทคนิคการสัมภาษณ์เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจ (Motivational Interviewing / MI) และเทคนิค
การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Enhancement Therapy / MET) ผู้ทำหน้าท่ี
ให้คำปรึกษาประกอบด้วยนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
ซึ่งผ่านการอบรมทางการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในการยุติหรือแก้ไขปัญหา ตลอดจนส่งเสริมให้
ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจปัญหา สามารถใช้ปัญญาและความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือก
วิธีแก้ไขปญั หาและพัฒนาตนเองด้วยวิธีการทถี่ กู ต้องเหมาะสม ผลของการจัดให้มคี ลนิ กิ ใหค้ ำปรึกษา
ด้านจิตสังคมในระบบศาลช่วยลดอัตราการหลบหนีระหว่างการประกัน ผู้ต้องคดีมีการเข้ารายงาน
ตัวตรงตามนัดไม่กลับไปกระทำความผิดซ้ำและสามารถปรับตัวกับภาวะวิกฤตดำเนินชีวิตอยู่กับ
ครอบครัว รวมถึงสามารถศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ตามปกติ ทำให้บุคคลเหล่านั้นกลับเข้าสู่
สังคมและดำเนนิ ชวี ิตไดอ้ ย่างปกตสิ ุขเป็นการลดงบประมาณการดำเนนิ งานราชทัณฑร์ วมถงึ ส่งผลต่อ
การแก้ปญั หานักโทษล้นคุกไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพยงิ่
คณะผู้จัดทำจึงได้รวบรวมวิธีการดำเนินโครงการพัฒนาคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม
ในศาล ต้ังแต่การจดั ตงั้ ศนู ย์ วธิ กี าร กระบวนการดำเนินงาน ตลอดไปถงึ ข้อมูลสถติ ิในการดำเนินงาน
ประจำปีงบประมาณ 2565 หวังว่ารายงานฉบับนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาระบบการ
ให้บริการในศาลยุติธรรมให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อศาลที่มีความสนใจจะ
เข้ารว่ มโครงการต่อไป
ศาลแขวงบางบอน
31 สงิ หาคม 2565
สารบัญ
หวั ขอ้ หนา้
บทสรุปผบู้ ริหาร 1-4
5-6
ความเปน็ มาของคลินิกให้คำปรกึ ษาดา้ นจิตสังคมในศาลแขวงบางบอน 7-8
9
กระบวนการให้คำปรกึ ษา 10
11
การเขา้ รบั คำปรกึ ษาในคลนิ ิกศาลแขวงบางบอน 12 - 15
16
ขน้ั ตอนการดำเนินงานคลนิ กิ ให้คำปรกึ ษา
ผลการดำเนนิ งาน
ผลการประเมนิ ความพึงพอใจ
ถอดบทเรยี นการใหค้ ำปรกึ ษาดา้ นจิตสังคม
-1-
บทสรุปผ้บู ริหาร
“คลนิ กิ เปลีย่ นความคิด สชู่ วี ิตทเี่ ปลี่ยนแปลง”
สโลแกนของคลินิกจิตสังคมในศาลแขวงบางบอนตอบโจทย์ของการแก้ปัญหาสังคมของ
ผูก้ ระทำความผิดในคดีอาญาไดอ้ ย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเปน็ ผกู้ ระทำผิดในคดีเกยี่ วกับยาเสพติด คดคี วาม
รุนแรงในครอบครัวหรือคดีอน่ื ๆเพราะการตัดสินคดีความโดยอาศยั หลักการลงโทษแตเ่ พียงอย่างเดียว
อย่างที่ผ่านๆมาคงไม่ตอบโจทย์ของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากการที่นับวันปัญหาคดี
เก่ียวกับยาเสพตดิ คดปี ัญหาความรุนแรงในครอบครัวหรือแม้กระท่ังคดปี ระเภทอื่นๆเพิ่มมากขึ้นทุกปี
มีไม่น้อยที่ผู้ต้องโทษจากคำตัดสินตามวิถีเก่ามักจะกลับมากระทำความผิดซ้ำๆ ทั้งนี้อันเน่ืองมาจาก
คำตัดสินของตุลาการเป็นเพียงบทลงโทษในทางทฤษฎีแบบการแก้แค้นเอาคืน เพียงเพื่อให้ผู้กระทำผิด
เกิดการเข็ดหลาบหรือหลาบจำซึ่งอาจจะใช้ได้กับแค่บุคคลบางคนเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว
ผู้กระทำความผิดเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีปัญหาทางด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านความคิดหรือ
แนวคิดที่ถูกต้อง อันเนื่องจากสาเหตุทางสังคม ครอบครัว ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาหรือ
การดำรงชีวิต ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเองเพียงลำพัง อันนำไปสู่การเดินทางผิด
หลงผดิ ใชช้ ีวิตทผี่ ิดพลาดและจบลงทีก่ ารกระทำความผิดทางอาญาซำ้ แลว้ ซำ้ อีก
-2-
-2-
การที่ใครสักคนพร้อมที่จะมานั่งรับฟังปัญหา พร้อมที่จะเข้าใจ พร้อมที่จะแนะนำ พร้อมท่ี
จะแก้ปัญหาและอยู่เคียงข้างพวกเขาเหล่านั้นอย่างเพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ที่อบอุ่น คงจะดีไม่น้อย
สำหรับผู้กระทำความผิดที่กำลังหลงทาง คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในศาลจึงเปรียบเสมือน
ตะเกยี งท่ภี ายในมแี สงไฟพร้อมท่จี ะนำทางผู้มดื มิดไปส่หู นทางหรือเปา้ หมายที่ดีถูกตอ้ งและปลอดภัย
แสงไฟในตะเกียงจึงเปรียบได้กับผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ซึ่งล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีความรู้
ความสามารถเต็มเปย่ี มไปดว้ ยความเมตตาและไมตรจี ิต ประสาทประสานความร้ทู ฤษฎที างจิตสังคม
ร่วมด้วยกับเทคนิคตามโมเดลความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้กระทำความผิดเข้าใจปญั หา
สามารถใช้ปัญญาและความสามารถของตนเองในการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนา
ตนเองด้วยวธิ กี ารท่ีถูกต้องเหมาะสม ผมนายวิริยะ แดงบรรจง ผ้พู พิ ากษาหัวหน้าศาลแขวงบางบอน
เห็นว่าบทบาทใหม่ของตลุ าการในการเลือกใชว้ ธิ กี ารในการลงโทษผู้กระทำความผิดให้เหมาะสมกบั
ประเภทและความรุนแรงของการกระทำความผิด สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกลับมาทบทวน
ทฤษฎีการลงโทษแบบบูรณาการคือการแก้ไขเยียวยา บำบัดดูแล และสร้างแนวคิด สร้างจิตสำนึก
ให้แก่ผกู้ ระทำความผิดได้มโี อกาสได้กลบั ตัวกลับใจ และไม่กลบั ไปมีความคิดท่จี ะกระทำความผิดซำ้ อีก
ศาลแขวงบางบอนได้ตระหนักดีว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมมีภาวะความเครียด
เพราะต้องเผชิญกับปัญหาด้านคดีความ ปัญหาด้านอาชีพ การงาน และค่าใช้จ่าย ปัญหา
ความสัมพันธ์และความเครียดของบุคคลในครอบครัวและปัญหาความกดดันจากสังคมรอบข้าง
จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำด้านจิตสังคม เพื่อผ่อนคลายภาวะความตึงเครียดด้านอารมณ์จิตใจ
แสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ ศาลแขวงบางบอนจึงได้จัดต้ังคลินิก
ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ซ่ึงได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสรมิ คุณภาพ(ส.ส.ส) และได้รบั การสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) โดยจัดให้มีผู้ให้คำปรึกษาทางด้านจิตสังคมที่ผ่าน
การฝึกอบรมเป็นอย่างดีไว้บริการให้คำปรึกษาแนะนำแกผ่ ตู้ ้องหาหรือจำเลยโดยไมต่ ้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
-3-
คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำด้านจิตวิทยาและ
สิ่งแวดล้อมทางสังคมการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟ้ืนฟูผู้ต้องหาหรือจำเลยการสร้างระบบเครือข่ายและ
การส่งต่อผู้มีปัญหาทางสังคมและจิตเวชรวมท้ังส่งเสริมประสานงานด้านการสงเคราะหก์ ับหนว่ ยงานท่ี
เหมาะสมเพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสนับสนุนผู้ต้องหาหรือจำเลย ซ่ึงต้องหาว่ากระทำ
ความผดิ คดีเสพตดิ หรอื มยี าเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครองจำนวนเลก็ น้อย ผู้กระทำความผดิ ใน
คดีความรุนแรงในครอบครัว ผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศและคดีอื่นที่ศาลหรือผู้พิพากษาที่
ได้รับมอบหมายเห็นสมควร ต้ังแต่วันแรกที่คดีมีการผัดฟ้องฝากขังต่อศาลก่อนที่คดีจะเข้าสู่
กระบวนการพจิ ารณาพิพากษาคดขี องศาลแขวงบางบอน เพอื่ ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย(เน้นในระหว่าง
ท่ีได้รบั การปลอ่ ยชั่วคราว)ซึ่งสว่ นใหญ่เปน็ ผู้ด้อยโอกาสหรือมีความรนู้ ้อยให้สามารถอยู่กับครอบครัว
และชุมชนได้อย่างปกติสุข ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ ช่วยแก้ไขที่ต้นตอของปัญหายาเสพติดและ
ให้การฟ้ืนฟูเบ้ืองต้นแก่ผู้เสียหายในคดีความผิดทางเพศหรือคู่กรณีในคดีการกระทำความรุนแรงใน
ครอบครวั รวมถึงการดำเนินการอน่ื ใดตามที่ศาลกำหนดทั้งก่อนและหลงั จากทีศ่ าลพพิ ากษาคดีแลว้
คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลแขวงบางบอนได้ตระหนักและเล็งเห็นถึง
ความสำคัญในการจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่าง
สอบสวนหรือพิจารณาคดี เพ่อื เปดิ โอกาสให้ผ้ตู ้องหาหรอื จำเลยได้แสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม(Motivation
Interviewing) น่าจะเป็นบริการที่เหมาะสมและทันเวลาทีผ่ ู้ต้องหาหรือจำเลยกำลังเผชิญกับปัญหา
หลังจากเพิ่งถกู ดำเนนิ คดีมาใหม่ๆ
คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมศาลแขวงบางบอนอยู่ในความรับผิดชอบของงานบริการ
ประชาชนและประชาสัมพันธ์ศาลแขวงบางบอน มีคณะกรรมการบริหารงานคลินิกประกอบด้วย
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นที่ปรึกษา ผู้พิพากษาศาลแขวงบางบอน ผู้อำนวยการสำนักงานประจำ
ศาลแขวงบางบอน หัวหน้าสว่ นบริการประชาชนและประชาสัมพันธ์ ข้าราชการและนักจิตวิทยารวม 9 คน
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมรวม 11 คน และมีนักจิตวิทยาประจำ
คลนิ ิกใหค้ ำปรึกษาดา้ นจิตสังคมรวม 2 คน โดยมผี ู้เข้ารับคำปรึกษาเฉลีย่ วนั ละ 2 คน
การดำเนินงานคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมศาลแขวงบางบอนมีวัตถุประสงค์เพ่ือ
คุ้มครองสิทธิ ช่วยเหลือเยียวยาและเปิดโอกาสที่จะรับฟังปัญหาหรือความกดดันตา่ งๆของผู้ต้องหา
หรือจำเลย ทันทีที่เข้าสู่กระบวนการของศาลด้วยกระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่
ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา จำเลยที่ศาลพิพากษา
รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ และกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยเข้ารับคำปรึกษาที่คลินิกให้คำปรึกษา
ดา้ นจติ สงั คมหรือผ้ทู ี่สมัครใจเข้ารับคำปรึกษา ผเู้ ขา้ รบั คำปรกึ ษาจะได้อยู่ในกระบวนการให้คำปรึกษา
อย่างต่อเนื่อง โดยการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในศาลแขวงบางบอนนั้นเป็นการให้คำปรึกษาแก่
ผเู้ ข้ารบั คำปรกึ ษาซ่งึ เปน็ ผูก้ ระทำความผดิ ในคดเี กยี่ วกบั ยาเสพติดให้โทษ คดเี ก่ยี วกับความรนุ แรง
-4-
ในครอบครวั คดีความผิดเก่ยี วกบั เพศ คดีอาญาทัว่ ไปท่ีไม่ร้ายแรงหรือคดีอื่นๆทีผ่ ู้พิพากษาหัวหน้าศาล
หรือผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นสมควรให้เข้ารับคำปรึกษาในคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม
เหตุผลที่ศาลยุติธรรมควรเปิดให้บริการคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมเพราะผู้ที่กำลังเผชิญวิกฤต
ของชีวิตอยู่ต่อหน้าเราและเราตระหนักว่ามนุษย์ไม่ได้สมบูรณ์พร้อม การให้โอกาสและส่งผ่าน
กำลังใจไปยงั บุคคลเหล่าน้ีทำให้เกดิ การเปลยี่ นแปลงไปในทางที่ถกู ต้องได้ เราจึงไมอ่ าจละเลย
ปรากฏว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ผ่านคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมศาลแขวงบางบอน
จำนวนมาก สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน การเปิดโอกาสที่จะรับฟัง
ผู้ต้องหาหรือจำเลยทำให้เข้าถึงปัญหาที่แท้จริงสามารถแก้ปัญหาจากภายในจติ ใจลดการกระทำผิด
ซ้ำซ้อนได้อย่างเห็นได้ชัด ลดการหนีประกัน ซึ่งต่อไปอาจส่งผลให้มีการทบทวนเรื่องการลดเรียก
หลักประกนั เพราะปัจจัยเสยี่ งทผ่ี ้ตู ้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีลดลง
ศาลแขวงบางบอนมีเป้าหมายพัฒนาการดำเนินงานของคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม
ให้ได้มาตรฐานสูงและรองรับผู้เข้ารับคำปรึกษาให้ได้มากขึ้น โดยพัฒนาสมรรถนะผู้ให้คำปรึกษา
สง่ เสรมิ และสนับสนุนทักษะของผู้ให้คำปรึกษาสรา้ งเครือขา่ ยในการสนับสนุนส่งเสริมโอกาสสำหรับ
ผู้ใหค้ ำปรึกษาสร้างเครอื ข่ายในการส่งต่อผูร้ ับคำปรึกษาเพื่อการเยยี วยาที่เหมาะสมเพ่ือให้คำปรึกษา
แกผ่ ู้ต้องหาหรือจำเลยในช่วงวิกฤตของชีวิตอันจะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำได้อย่าง
มีประสทิ ธภิ าพ
-5-
ความเปน็ มาของคลนิ ิกใหค้ ำปรกึ ษาด้านจติ สงั คม
ปัจจุบันการให้บริการคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมมีการขยายไปหลายศาล มาตรฐาน
การดำเนินงานและบริหารจัดการมีความแตกต่างหลากหลายทั้งในด้านโครงสร้าง สถานที่และ
การบริหารงาน ศาลแขวงบางบอนตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้วางระเบียบ
ศาลแขวงบางบอนว่าด้วยการให้บริการคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในศาลแขวงบางบอนขึ้น
เพื่อให้เห็นถึงที่มาและความสำคัญของการให้บริการคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม กำหนด
เป้าหมายวิธีการตามกฎหมายอย่างมีระบบ มีมาตรฐาน และมีคุณภาพตามหลักจิตวิทยา ซึ่งตามท่ี
ศาลในเขตอำนาจสำนักงานอธบิ ดผี ู้พิพากษาภาค 1 ขออนุญาตเปิดคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม
พร้อมกับจัดทำคำของบประมาณโครงการ “เพอ่ื พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมแก่ผ้ตู ้องหา
คดียาเสพติดและคดีความรุนแรงในครอบครัวในระบบศาล” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ระยะที่ 2 ซึ่งสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 ได้จัดทำคำของบประมาณเพื่อรบั การสนับสนุนการ
ดำเนินงานสำหรับศาลในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 1 จำนวน 28 ศาล ไปยัง
สำนักงานศาลยตุ ิธรรมแลว้ นั้น
ในเดือนเมษายน 2565 ศาลแขวงบางบอนได้ปรับปรุงสถานที่ทำการของคลินิกให้คำปรึกษา
ดา้ นจติ สังคม โดยจดั แบง่ หอ้ งสำหรับให้คำปรึกษาให้เปน็ สัดส่วนเหมาะสมและเพยี งพอ มบี รรยากาศ
ที่อบอุ่นและเป็นมิตร เพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม
ศาลแขวงบางบอนอยู่ในความรับผิดชอบของงานบริการประชาชนและประชาสัมพันธ์ศาลแขวงบางบอน
มีคณะกรรมการบริหารงานคลินิกประกอบด้วย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นที่ปรึกษา ผู้พิพากษา
ศาลแขวงบางบอน ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลแขวงบางบอน หัวหน้าส่วนบริการประชาชนและ
ประชาสมั พันธ์ข้าราชการและนักจิตวิทยารวม 9 คน เป็นคณะกรรมการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
การดำเนินงานคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมศาลแขวงบางบอน มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ค้มุ ครองสิทธิ ชว่ ยเหลอื เยียวยา และเปดิ โอกาสท่ีจะรบั ฟงั ปัญหาหรือความกดดันตา่ งๆของผ้ตู ้องหา
-6-
หรือจำเลย ทันทีที่เข้าสู่กระบวนการของศาลด้วยกระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ
แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา จำเลยที่ศาล
พิพากษารอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษและกำหนดเง่ือนไขให้จำเลยเข้ารับคำปรึกษาที่คลินิก
ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมหรือผู้ที่สมัครใจเข้ารับคำปรึกษา ผู้เข้ารับคำปรึกษาจะได้อยู่ใน
กระบวนการให้คำปรึกษาอย่างต่อเน่ือง โดยการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในศาลแขวงบางบอนนนั้
เป็นการให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้ารับคำปรึกษาซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
คดีเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ คดีอาญาทั่วไปที่ไม่ร้ายแรงหรือ
คดีอื่นๆที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นสมควรให้เข้ารับคำปรึกษาใน
คลนิ กิ ใหค้ ำปรกึ ษาดา้ นจิตสังคม
ศาลแขวงบางบอนเข้าร่วมโครงการโดยเปิดใหบ้ ริการคลนิ ิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมข้ึนใน
เดือนเมษายน 2565 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติดกระทรวงยุติธรรมมีการบริหารจัดการโดยอยู่ภายใต้ขอบเขตข้อตกลง
ศาลแขวงบางบอนมีการออกระเบียบศาลแขวงบางบอนว่าด้วยการให้บริการคลินิกให้คำปรึกษา
ด้านจิตสังคมในศาลแขวงบางบอนเพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ ช่วยเหลือ
เยยี วยาผูต้ ้องหาและจำเลย
-7-
กระบวนการใหค้ ำปรึกษา
ขั้นตอนการให้คำปรึกษาหรือกระบวนการให้คำปรึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับ
ผู้ใหค้ ำปรึกษา ข้นั ตอนการให้คำปรึกษาเปรยี บเสมือนเป็นทิศทางท่ีผใู้ ห้คำปรึกษาให้ความช่วยเหลือ
แกผ่ ู้รับคำปรึกษาสามารถไปให้ถึงเปา้ หมายได้อย่างประสิทธภิ าพ โดยมีข้ันตอนการใหค้ ำปรกึ ษาดงั นี้
1. การสร้างสัมพันธภาพ: เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง จุดประสงค์สำคัญของขั้นตอนนี้คือเพ่ือ
สร้างความคุ้นเคย ความอุ่นใจ สบายใจ และสร้างความไว้วางใจระหว่างผู้รับการปรึกษากับ
ผู้ให้คำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับการปรึกษาโดยใช้เทคนิคและ
ทกั ษะต่างๆเพื่อใหม้ ีความเข้าใจทตี่ รงกนั เชน่ การทกั ทายสั้นๆ การพดู เรอ่ื งทวั่ ไป
2. การสำรวจปัญหา: ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องใช้ทักษะต่างๆเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับคำปรึกษาได้
บอกเล่าถึงปัญหาหรือสำรวจปัญหาและความต้องการของตนเอง ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลามากน้อย
ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน สติปัญญา ความสามารถ ลักษณะนิสัยของผู้รับคำปรึกษา และความชำนาญใน
การใช้ทักษะของผ้ใู ห้คำปรกึ ษา
3. เขา้ ใจปัญหา: สาเหตุของปัญหาและความต้องการ: ขั้นตอนนเี้ ป็นหวั ใจของกระบวนการ
ให้คำปรึกษา ซึ่งผู้ให้คำปรึกษาใช้ทักษะต่างๆเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความเข้าใจอย่างกระจ่างใน
ปญั หาของตนเองอยา่ งแท้จรงิ ตัง้ แตส่ าเหตขุ องปญั หาและความต้องการของตนเอง
-8-
โดยผู้ให้คำปรึกษาจะต้องช่วยและกระตุ้นให้ผู้รับการปรึกษาได้คิด สำรวจความรู้สึกและ
ความตอ้ งการของตนเองให้มองเหน็ แนวทางทีจ่ ะแก้ไขปัญหานน้ั
4. การวางแผนการแก้ปัญหา: ผู้ให้การปรึกษาจะต้องช่วยกระตุ้นให้ผู้รับการปรึกษาได้ใช้
ศักยภาพที่มีอยู่ค้นหาวิธีในการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย วางแผนแก้ไขปัญหาอย่างเป็น
ขนั้ ตอนและตัดสินใจเลือกทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของผ้รู ับการปรึกษา
มากท่ีสุด ทั้งนี้ผู้ให้คำปรึกษาไม่ควรเร่งรีบและด่วนตัดสินใจจัดการปัญหาของผู้รับคำปรึกษาแต่จะ
คอยให้กำลังใจในการวางแผนปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเองก่อน(สามารถให้กำลังใจด้วยข้อ
พระคัมภีร์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์นั้นได้) หากผู้รับคำปรึกษาหมดหนทางและคิดไม่ออกผู้ให้
คำปรึกษาจึงจะเสนอแนะแนวทางเพื่อให้ได้พิจารณาความเหมาะสมและเลือกทางแก้ไขปัญหาที่ดี
ที่สุดด้วยตนเอง ซึ่งผู้รับคำปรึกษาเห็นว่าสามารถทำได้จริง มีโอกาสประสบความสำเร็จและมีความ
ตั้งใจทจ่ี ะปฏิบตั ิดว้ ยตนเองไมใ่ ชเ่ ปน็ การบังคบั ให้ปฏบิ ัติ
5. ยุติกระบวนการ: ผู้ให้คำปรึกษาควรให้สัญญาณแก่ผู้รับคำปรึกษาได้รู้ตัวก่อนสิ้นสุดการ
ให้คำปรึกษาและเปิดโอกาสให้ผู้รับคำปรึกษาได้สรุปในสิ่งต่างๆที่ได้จากการสนทนา จากนั้นผู้ให้
คำปรึกษาจึงเพิ่มเติมในประเด็นที่ขาดหายไป ในบางครั้งผู้ให้การปรึกษาอาจมอบหมายการบ้านให้
ผู้รับการปรึกษากลับไปปฏิบัติ(การให้คดั ข้อพระคัมภีร์ เพื่อให้กำลังใจและสร้างความคิดในเชิงบวก)
เปิดโอกาสให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถพบไดใ้ นครั้งต่อไปถ้าเขาตอ้ งการและนัดหมายเวลาที่เหมาะสม
พร้อมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้รับคำปรึกษาในการปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจในระหว่างการให้คำปรึกษา
ก่อนส้นิ สุดการใหค้ ำปรกึ ษา ควรสนทนาเล็กนอ้ ยด้วยเร่อื งท่ัวๆ ไปแลว้ จงึ กลา่ วอำลา
จากขน้ั ตอนท่ีได้กล่าวมาจะเหน็ ว่าในทุกขั้นตอนของการให้คำปรึกษามีจุดประสงค์ท่ีชัดเจน
และความสำคัญ ซง่ึ ผู้ใหค้ ำปรกึ ษาจะต้องมีความรู้และทักษะตา่ งๆเพ่ือชว่ ยใหผ้ ู้รับคำปรึกษาได้รู้และ
เขา้ ใจในปัญหาทแี่ ทต้ ลอดจนสามารถตัดสนิ ใจเลือกวิธกี ารแกไขป้ ัญหาทเ่ี หมาะสมได้
-9-
การเขา้ รบั คำปรึกษาในคลนิ ิกใหค้ ำปรกึ ษาด้านจิตสงั คมในศาลแขวงบางบอน
1. ผู้ต้องหาท่อี ย่รู ะหว่างการสอบสวนหรือจำเลยท่ีอยู่ระหว่างการพจิ ารณาคดีท่ีศาลมีคำส่ัง
อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยอาจกำหนดเงื่อนไขให้เข้ารับคำปรึกษาจากคลินิกให้คำปรึกษา
ด้านจิตสังคมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 วรรคท้ายและ
พระราชบัญญัติมาตรการกำกบั และติดตามจับกมุ ผู้หลบหนกี ารปลอ่ ยช่วั คราวโดยศาล มาตรา 4
2. จำเลยที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกและรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้
โดยเงื่อนไขให้เข้ารับคำปรึกษาจากคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ตามประมาลกฎหมายอาญา
มาตรา 56
3. ผูท้ ส่ี มัครใจขอเขา้ รับคำปรึกษา
คลินกิ ให้คำปรึกษาดา้ นจิตสังคม มุ่งใหเ้ กิดผลสัมฤทธ์ใิ นการดำเนินการต่อบคุ คล 5 กล่มุ
1. กลุ่มผู้ต้องหาหรือจำเลยในความผดิ เกีย่ วกับยาเสพติด ซึ่งได้กระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด
เสพยาเสพติดและขับขี่ยานพาหนะ ครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพ ครอบครองยาเสพติดเพ่ือ
จำหน่าย และผู้กระทำผิดกฎหมายอาญาฐานอื่นที่มีสาเหตุของการกระทำหรือมูลเหตุจูงใจที่
เกีย่ วเนื่องกบั ยาเสพตดิ
2. กลุ่มผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย
อาญาและความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
พ.ศ. 2550 รวมทั้งผูเ้ สียหาย
3. กลุ่มผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ที่เป็นความผดิ ตามประมวลกฎหมาย
อาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
พระราชบญั ญตั ิปอ้ งกันและปราบปรามการค้ามนษุ ย์รวมทัง้ ผเู้ สยี หาย
4. กลุ่มผู้ต้องหาหรือจำเลยในความผิดอาญาฐานอื่น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ
ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และศาลมีคำสั่งให้เข้าสู่กระบวนการของคลินิกให้คำปรึกษา
ด้านจิตสังคม
5. กลุ่มผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีอื่นๆที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน
เหน็ สมควรให้เขา้ รับคำปรกึ ษาในคลินกิ จิตสงั คม
-10-
ขัน้ ตอนการดำเนินงานคลนิ ิกใหค้ ำปรกึ ษาด้านจิตสังคม ศาลแขวงบางบอน
ศาลมีคำสั่งให้ผตู้ ้องหา/จำเลยเขา้ รบั คำปรึกษา
นักจติ วทิ ยา/นักสงั คมสงเคราะห์ คัดกรอง กอ่ นวันนดั ไม่นอ้ ยกวา่ 1 วนั
แจ้งเตอื นผู้เข้ารบั คำปรึกษา
ขอ้ มูล
ออกใบนดั /สมดุ นัดแกผ่ เู้ ขา้ รับคำปรึกษา
จัดทำสำนวนคลินกิ ให้คำปรกึ ษา ตดิ ต่อได้ ตดิ ตอ่ ไม่ได้ ทำ
และออกเลขสารบบคดี (คปจ.) รายงานเจ้าหนา้ ที่
เสนอผู้พพิ ากษาหวั หนา้ ศาล เสนอศาล
จา่ ยสำนวนแก่ผใู้ ห้คำปรึกษา เพอ่ื พจิ ารณาสง่ั ยุต/ิ
หมายเรียกมา
สอบถาม
พบผู้ใหค้ ำปรึกษาที่คลนิ ิกฯ
ตามจำนวนท่ีศาลกำหนด/ตาม
ผู้ให้คำปรึกษาเหน็ สมควร
-11-
ผลการดำเนนิ งาน
สถติ ปิ รมิ าณคดแี ต่ละประเภททเ่ี ข้ารับคาปรึกษา
ในคลินิกจติ สังคมศาลแขวงบางบอน
4% คดียาเสพตดิ
43% 53% คดอี ่นื ๆ
คดยี าเสพตดิ + คดอี ่นื
คดยี าเสพติด คดีอื่นๆ คดียาเสพตดิ +
47 คดีอ่นื ๆ
3
รวม 88 38
-12-
ผลการประเมินความพึงพอใจ
แบบประเมนิ ความพึงพอใจของผู้รบั บริการในคลนิ กิ ให้คำปรกึ ษาดา้ นจติ สังคม
ประจำศาลแขวงบางบอน (เดือนเมษายน - กนั ยายน)
-13-
-14-
-15-
ขอ้ เสนอแนะแบบประเมนิ ความพงึ พอใจของผู้รบั บริการในคลนิ ิกให้คำปรึกษาดา้ นจิตสังคม
ประจำศาลแขวงบางบอน (เดือนเมษายน - กนั ยายน)
มีคำตอบ 5 ข้อ
รวมดีคะ่ ฟังเข้าใจงา่ ยเป็นกันเองชอบค่ะ
รู้สึกพอใจอยา่ งมาก
ให้คำปรกึ ษาได้ดีมากครับ
พูดดมี ากครบั ให้คำปรึกษาดีครับ
พอใจมาก
-16-
ถอดบทเรียนการใหค้ ำปรกึ ษาดา้ นจติ สังคม
“มกี รณหี น่ึงทีศ่ าลสั่งให้จำเลยเขา้ รบั คำปรกึ ษาทค่ี ลนิ ิกฯ ชว่ งแรกที่คยุ กนั เขาบอกเราว่า เขาอาศัยอยู่กับ
แม่และแฟนที่คอนโด ทำธุรกิจส่งออกปลากัดไปตามประเทศต่างๆมีรายได้ดี แต่ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ขึ้น
รายได้ก็ลดน้อยลง เขาเลยไปหางานเสริมทำแต่งานเสริมที่ทำค่อนข้างหนักและเหนื่อย จึงทำให้เกิดความเครียด
เลยหันไปเสพยา เพราะเข้าใจว่าเสพแล้วจะทำให้มีกำลังในการทำงานและเหนื่อยน้อยลง ประกอบกับได้รู้ข้อมลู
จากแฟนว่า เขาเป็นออทิสติกด้วย ทำให้เราต้องทำการบ้านท่ีจะตอ้ งให้คำปรกึ ษาเคสน้ีเป็นพิเศษ โดยเราเริม่ ที่ทำ
ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดให้เขาฟังและในด้านจิตใจและอารมณ์ เราใช้กลยุทธ์ในการใช้ตัวช่วยก็คือ
บคุ คลใกลช้ ดิ น่นั คอื การเรยี กแฟนเขาเขา้ มาร่วมในการให้คำปรกึ ษาด้วย และแนะนำวธิ ีการใหก้ ำลงั ใจและเติมเต็ม
แรงใจซึ่งกนั และกัน ซ่งึ ผลจากการให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาทเี่ ขา้ คลินิกฯได้รับทราบจากตวั ผู้รบั คำปรกึ ษาและ
แฟนของเขาวา่ เขาไม่ได้ยงุ่ เกย่ี วกบั ยาเสพตดิ อกี และตงั้ ใจขยนั ทำงานมากขนึ้ มคี วามเครียดลดน้อยลง ”
นางเกศรินทร์ คณุ าวชิ ยานนท์
“คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด (เมทแอมเฟทตามีน) ศาลสั่งให้เข้ารับคำปรกึ ษาที่คลินิกฯครั้งแรกที่คุย
กันก็รู้ว่า เขาอาศัยอยู่กับแฟนและลูก ประกอบอาชีพรับซื้อของเก่า ครอบครัวอบอุ่น รักใคร่กันดี แต่พอเกิด
สถานการณ์โควิด-19 ขนึ้ ทำใหไ้ ม่มีรายไดแ้ ละเกิดความเครยี ดเลยหนั ไปพึ่งยา รวมถึงเพื่อนมาชกั ชวนไปเสพดว้ ย แต่
หลงั จากทไ่ี ดค้ ุยแลว้ เราก็ไดช้ ว่ ยใหเ้ ขาลองคดิ หาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆที่เขาเจอ เชน่ เขาอยากเลกิ เสพยาแต่เป็นคน
ใจอ่อน ปฏิเสธเพื่อนไม่เป็น เราก็ลองให้เขาคิดวิธีแก้และลองไปทำดู ครั้งถัดมาที่เจอกัน เขาบอกเราว่าหลังจากที่
รบั คำปรกึ ษาไปแล้วเขาก็ไม่ได้เสพอีกเลย ไมไ่ ปพบเพอ่ื นท่ีเคยเสพด้วยกนั ถึงแมเ้ พ่อื นจะมาเรียกทห่ี น้าบ้านก็จะให้
แฟนบอกว่าตนเองไม่อยู่ และเขาก็ให้คำมั่นสัญญาว่าเวลาจะทำการใดๆกแ็ ล้วแต่จะคิดก่อนทำเสมอจะนึกถึงโทษ
และผลทีต่ ามมาเพราะไม่อยากจะกลับไปทำผดิ ซ้ำอกี ”
นางเกศสุนยี ์ วิวัฒนาภิรกั ษ์
“มจี ำเลยคนหน่ึงศาลสัง่ ใหม้ าเข้ารบั คำปรกึ ษา โดยจำเลยเลา่ ว่าสาเหตุทต่ี นถกู จบั มาท่นี ี่ เพราะโดนขอ้ หา
ขับรถในขณะเมาสุรา เขาเล่าว่าวันนั้นเขาได้งานรับเหมามาแล้วเพื่อนชวนไปฉลอง จากนั้นแยกย้ายกันกลับบ้าน
ระหวา่ งทางกลบั บ้านได้ถูกตำรวจเรียกเป่า ปรากฏว่าพบปริมาณแอลกอฮอลส์ งู เกินกว่ากฎหมายกำหนด พอได้คุย
กันในช่วงแรกเราก็พบว่าเขาเป็นคนที่เก็บกดอัดอั้น ไม่สามารถพูดกับใครได้ เราเลยให้เขาได้ระบายความอัดอั้น
ออกมา เพื่อเป็นการปลดปล่อยสิ่งทีอ่ ยใู่ นใจให้เขาได้รู้สึกโล่ง ผอ่ นคลาย รวมถงึ พดู คุยเกยี่ วกบั เร่อื งโทษของการด่ืม
สรุ าและไดใ้ ห้การบ้านกบั เขาเพือ่ ทใ่ี ห้เขาได้กลบั ไปคดิ ทบทวนในสงิ่ ท่ีเกดิ ข้นึ พอได้พบกันอีกครัง้ หน่ึงเขาไดบ้ อกกับ
เราวา่ มีอยูว่ ันหนึง่ เขาอยากกินเบียร์เลยซอื้ มา 1 ขวด แต่อยู่ๆก็รูส้ กึ ว่าไม่มอี ะไรดี เขาเลยแบ่งกนิ ทลี ะนดิ เพ่ือไมใ่ ห้
ตนเองเมา และไดส้ ่งการบ้านทีเ่ ราใหเ้ ขาไปทำด้วย หลังจากน้นั เขากค็ อ่ ยๆลดปรมิ าณการดื่มลงเรอื่ ยๆ ”
นายประวตั ิ ธเนศศรยี านนท์