ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 227 หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่อง และงบการเงิน
ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 228 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน สาระการเรียนรู้หน่วยที่ 6 1. ความหมายของกระดาษทำการ 2. ชนิดและรูปแบบของกระดาษทำการ 3. การจัดทำกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง 4. ประโยชน์ของกระดาษทำการ 5. ความหมายของงบการเงิน 6. ผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูลของผู้ใช้ 7. การจัดทำงบกำไรขาดทุน 8. การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน สมรรถนะประจำหน่วย หน่วยที่ 6 1. แสดงความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 2. ปฏิบัติงานบัญชีเกี่ยวกับกระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว ประเภทธุรกิจบริการ ตามหลักการบัญชี 3. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงินได้ 4. มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่กำหนด จุดประสงค์การเรียนรู้หน่วยที่6 1. จุดประสงค์ทั่วไป 1.1 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 1.2 เพื่อให้มีทักษะในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 1.3 เพื่อให้มีกิจนิสัย มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา มีเจตคติ ที่ดีต่อวิชาชีพบัญชีและปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยที่6
ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 229 2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ด้านพุทธิพิสัย 2.1 บอกความหมายของกระดาษทำการได้ 2.2 บอกชนิดและรูปแบบของกระดาษทำการได้ 2.3 บอกประโยชน์ของกระดาษทำการได้ 2.4 บอกความหมายของงบการเงินได้ 2.5 บอกผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูลของผู้ใช้ได้ ด้านทักษะพิสัย 2.6 จัดทำกระดาษทำการชนิด 6 ช่องได้ 2.7 จัดทำงบกำไรขาดทุนตามข้อมูลที่กำหนดได้ 2.8 จัดทำงบแสดงฐานะการเงินตามข้อมูลที่กำหนดได้ 2.9 นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษทำการ 6 ช่อง และงบการเงินได้ ด้านจิตพิสัย 2.10 เป็นผู้มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ 2.11 เป็นผู้ที่แต่งกายถูกต้องตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด 2.12 เป็นผู้ตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเวลาที่กำหนด 2.13 เป็นผู้ที่ไม่คัดลอกหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็น ของตนเอง 2.14 เป็นผู้รู้จักประหยัด และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 230 ผังสาระการเรียนรู้ หน่วยที่ 6 6.1 ความหมายของกระดาษทำการ 6.2 ชนิดและรูปแบบของกระดาษทำการ 6.3 การจัดทำกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง 6.4 ประโยชน์ของกระดาษทำการ 6.6 ผู้ใช้งบการเงินและความต้องการของข้อมูล ของผู้ใช้ 6.5 ความหมายของงบการเงิน 6.7 การจัดทำงบกำไรขาดทุน 6.8 การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน 6. กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน
231 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่6 คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว 1. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของงบการเงิน ก. งบที่นำเสนอแสดงฐานะการเงินของกิจการ ข. งบที่นำเสนอแสดงผลการดำเนินงานของกิจการ ค. งบที่นำเสนอแสดงผลการดำเนินงานและแสดงฐานะการเงินของกิจการ ง. งบที่นำเสนอแสดงยอดคงเหลือของบัญชีทุกหมวด 2. งบที่แสดงฐานะการเงินประกอบด้วยหมวดบัญชีอะไรบ้าง ก. สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ข. รายได้ และค่าใช้จ่าย ค. สินทรัพย์ หนี้สิน และถอนใช้ส่วนตัว ง. สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย 3. กระดาษทำการทำขึ้นเพื่อข้อใด ก. ตรวจสอบผลกำไรขาดทุน ข. เตรียมทำงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน ค. ประหยัดเวลาในการบันทึกบัญชีขั้นต่อไป ง. รวบรวมบัญชีที่มียอดคงเหลือให้อยู่ที่เดียวกัน 4. บัญชีหมวดสินทรัพย์จะนำไปใส่ในช่องใดของกระดาษทำการ 6 ช่อง ก. งบกำไรขาดทุน ด้านเครดิต ข. งบแสดงฐานะการเงิน ด้านเครดิต ค. งบกำไรขาดทุน ด้านเดบิต ง. งบแสดงฐานะการเงิน ด้านเดบิต 5. ความสัมพันธ์ระหว่างกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินหมายถึงข้อใด ก. สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ + รายได้ – ค่าใช้จ่าย ข. สินทรัพย์ = หนี้สิน – ส่วนของเจ้าของ – รายได้ – ค่าใช้จ่าย ค. สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ + รายได้ + ค่าใช้จ่าย ง. สินทรัพย์ = หนี้สิน – ส่วนของเจ้าของ + รายได้ – ค่าใช้จ่าย
232 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 6. กระดาษทำการ 6 ช่อง ประกอบด้วยงบอะไรบ้าง ก. งบทดลอง รายการปรับปรุง และงบแสดงฐานะการเงิน ข. งบทดลอง รายการปรับปรุง และงบกำไรขาดทุน ค. งบทดลอง งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน ง. งบทดลอง รายการปรับปรุง และงบทดลองหลังรายการปรับปรุง 7. ถ้ากิจการขาดทุนสุทธิจะนำขาดทุนสุทธิไปแสดงในช่องใด งบใด ของกระดาษทำการ ก. งบกำไรขาดทุน ด้านเดบิต และงบแสดงฐานะการเงิน ด้านเดบิต ข. งบกำไรขาดทุน ด้านเครดิต และงบแสดงฐานะการเงิน ด้านเครดิต ค. งบกำไรขาดทุน ด้านเดบิต และงบแสดงฐานะการเงิน ด้านเครดิต ง. งบกำไรขาดทุน ด้านเครดิต และงบแสดงฐานะการเงิน ด้านเดบิต 8. หน่วยงานหน่วยงานรัฐบาล หรือหน่วยงานกำกับดูแลกิจการต้องการใช้งบการเงินและต้องการ ข้อมูลเพื่ออะไร ก. เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการกำกับดูแลกิจการ การเสียภาษี ข. เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ค. เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ง. ถูกทุกข้อ 9. ทุน ณ วันปลายปีคือข้อใด ก. ทุนต้นงวด บวก กำไรสุทธิ บวก ถอนใช้ส่วนตัว ข. ทุนต้นงวด บวก กำไรสุทธิ หัก ถอนใช้ส่วนตัว ค. ทุนต้นงวด หัก ขาดทุนสุทธิบวก ถอนใช้ส่วนตัว ง. ทุนต้นงวด บวก กำไรสุทธิ บวก เงินปันผล 10. Net Profit หมายถึงข้อใด ก. กำไรสุทธิ ข. ขาดทุนสุทธิ ค. กำไรหรือขาดทุนสุทธิ ง. ค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 6
233 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน สาระสำคัญ กระดาษทำการไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำบัญชี แต่เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ที่จะช่วยให้การจัดทำงบการเงินมีความถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อได้จัดทำกระดาษทำการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการจัดทำบัญชี คือ การนำตัวเลขในช่องงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน จากกระดาษทำการมาจัดทำ งบการเงิน ซึ่งประกอบด้วย งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงฐานะการเงินจะแสดง ให้เห็นความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของที่กิจการมีทั้งหมด ณ วันที่ได้จัดทำงบ นั้น ในขณะที่งบกำไรขาดทุนจะแสดงการเปรียบเทียบรายได้ และค่าใช้จ่าย ทำให้กิจการทราบ ผลกำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินงาน ดังนั้น งบกำไรขาดทุนจะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของ การดำเนินงานแต่ละงวดที่ทำ (อดิศร เลาหวณิช และชนงกรณ์ กุณฑลบุตร, 2556) 6.1 ความหมายของกระดาษทำการ กระดาษทำการ (Working Paper or Work Sheet) หมายถึง กระดาษที่ใช้สำหรับร่าง งบการเงิน เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขข้อมูลทางบัญชีให้ถูกต้องหากมีความผิดพลาดก่อนที่จะนำไป จัดทำงบการเงินในขั้นตอนต่อไป กระดาษทำการมีประโยชน์ประการหนึ่ง คือ เป็นแหล่งรวมข้อมูลในการทำงบการเงินเพื่อ แสดงให้ทราบถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการในแต่ละงวดบัญชี โดยการร่าง งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินลงในแบบฟอร์มของกระดาษทำการ แต่เนื่องจากกระดาษ ทำการไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบันทึกรายการทางบัญชี ดังนั้น การจัดทำกระดาษทำการจึงมีข้อควร พิจารณา ดังนี้ กรณีที่ 1 ถ้าเป็นกิจการขนาดเล็กที่มีรายการค้าไม่มากนัก อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง จัดทำกระดาษทำการ ดังนั้น หลังจากทำงบทดลองถูกต้องเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำข้อมูลใน งบทดลองนั้นไปจัดทำงบการเงิน คือ งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินได้ทันที
234 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน กรณีที่ 2 ถ้าเป็นกิจการขนาดใหญ่ที่มีรายการค้าเป็นจำนวนมาก นิยมจัดทำกระดาษทำการ ขึ้นก่อนที่จะทำงบการเงิน คือ งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน เพื่อความสะดวกรวดเร็วและ เป็นการป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น 6.2 ชนิดและรูปแบบของกระดาษทำการ 6.2.1 ชนิดของกระดาษทำการ กระดาษทำการที่นิยมใช้ในวงการธุรกิจมีหลายชนิด เช่น กระดาษทำการชนิด 6 ช่อง กระดาษทำการชนิด 8 ช่อง กระดาษทำการชนิด 10 ช่อง กระดาษทำการชนิด 12 ช่อง เป็นต้น ทั้งนี้ กิจการจะเลือกใช้กระดาษทำการชนิดใดย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการและความจำเป็นตามลักษณะ การดำเนินงานของธุรกิจ เช่น กิจการขนาดเล็กที่ทำธุรกิจให้บริการและซื้อสินค้ามาจำหน่ายจะ เลือกใช้กระดาษทำการชนิด 6 ช่อง และ 8 ช่อง ส่วนกิจการอุตสาหกรรมจะเลือกใช้กระดาษทำการ ชนิด 10 ช่อง และ 12 ช่อง เป็นต้น หมายเหตุในวิชาการบัญชีเบื้องต้น จะกล่าวถึงเฉพาะกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง 6.2.2 รูปแบบของกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง กระดาษทำการชนิด 6 ช่อง (Six-Column Work Sheet) ใช้ในกรณีที่กิจการไม่มี รายการต้องปรับปรุง ดังนั้น จึงใช้สำหรับจำแนกประเภทบัญชีที่ปรากฏอยู่ในงบทดลอง เพื่อช่วยให้ การจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น กระดาษทำการชนิด 6 ช่อง ประกอบด้วย ช่องจำนวนเงินทั้งทางด้านเดบิตและเครดิตของงบทดลอง งบกำไรขาดทุน และ งบแสดงฐานะการเงินดังตัวอย่าง (1) หัวกระดาษทำการ ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี งบทดลอง (2) งบกำไรขาดทุน (3) งบแสดงฐานะการเงิน (4) เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 4.1 4.2
235 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ส่วนประกอบของกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) ส่วนของหัวกระดาษทำการ ประกอบด้วย 1.1 ชื่อกิจการ 1.2 เขียนคำว่า "กระดาษทำการ" 1.3 "สำหรับระยะเวลา.....เดือน...ปี สิ้นสุดวันที่.....เดือน......พ.ศ.......... (2) ส่วนของงบทดลอง ประกอบด้วย 2.1 ช่องชื่อบัญชี 2.2 ช่องเลขที่บัญชี 2.3 ช่องเดบิต 2.4 ช่องเครดิต (3) ส่วนของงบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย 3.1 ช่องเดบิต 3.2 ช่องเครดิต (4) ส่วนของงบแสดงฐานะการเงิน ประกอบด้วย 4.1 ช่องเดบิต 4.2 ช่องเครดิต 6.3 การจัดทำกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง ปกติกิจการจะจัดทำกระดาษทำการในวันสิ้นงวดบัญชีหลังจากได้จัดทำงบทดลองแล้ว ดังนั้น งบทดลองจึงเป็นงบแรกที่แสดงไว้ในกระดาษทำการ การจัดทำกระดาษทำการแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ และกรณีมีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ
236 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 6.3.1 การจัดทำกระดาษทำการกรณีมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ ตัวอย่างที่ 6.1 ต่อไปนี้เป็นงบทดลอง ณ วันที่ 31 มกราคม 25X5 ของร้านมนัสการไฟฟ้า ร้านมนัสการไฟฟ้า งบทดลอง วันที่ 31 มกราคม 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต บาท สต. บาท สต. เงินสด 101 116,320 - เงินฝากธนาคาร 102 26,000 - อุปกรณ์การซ่อม 103 60,000 - เจ้าหนี้-ร้านสากล 201 24,000 - เจ้าหนี้-องค์การโทรศัพท์ 202 2,000 - เงินกู้ 203 20,000 - ทุน-นายมนัส 301 150,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 2,000 - รายได้ค่าซ่อม 401 17,000 - ค่าเช่า 501 3,000 - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 502 180 - ค่าเบี้ยประกัน 503 1,000 - ค่าโทรศัพท์ 504 2,000 - เงินเดือน 505 2,500 - 213,000 - 213,000 - ขั้นตอนการจัดทำกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง กรณีมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ ขั้นที่ 1 เขียนหัวกระดาษทำการ 3 บรรทัด ประกอบด้วย 1.1 เขียนชื่อกิจการ 1.2 เขียนคำว่า "กระดาษทำการ" 1.3 เขียนว่า "สำหรับระยะเวลา.....เดือนปี สิ้นสุดวันที่.....เดือน…..พ.ศ............
237 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ขั้นที่ 2 สร้างรูปแบบกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง และนำข้อมูลจากงบทดลองซึ่งจัดทำ ไว้แล้วมาแสดงอีกครั้งหนึ่งในช่องงบทดลองที่ปรากฏอยู่ในกระดาษทำการ ขั้นที่ 3 นำจำนวนเงินของบัญชีหมวดรายได้และค่าใช้จ่ายซึ่งปรากฏอยู่ในช่องงบทดลอง ไปแสดงอีกครั้งหนึ่งในช่องงบกำไรขาดทุนตามหลักการ ดังนี้ 3.1 จำนวนเงินของบัญชีหมวดรายได้ซึ่งปรากฏอยู่ในงบทดลองทางด้านเครดิต ให้นำไปแสดงในงบกำไรขาดทุนทางด้านเครดิต 3.2 จำนวนเงินของบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย ซึ่งปรากฏอยู่ในงบทดลองทางด้านเดบิต ให้นำไปแสดงในงบกำไรขาดทุนทางด้านเดบิต ขั้นที่ 4 นำจำนวนเงินของบัญชีหมวดสินทรัพย์หมวดหนี้สิน และหมวดส่วนของเจ้าของซึ่ง ปรากฏอยู่ในงบทดลองไปแสดงอีกครั้งหนึ่งในช่องงบแสดงฐานะการเงินตามหลักการ ดังนี้ 4.1 จำนวนเงินของบัญชีหมวดสินทรัพย์ ซึ่งปรากฏอยู่ในงบทดลองทางด้านเดบิตให้ นำไปแสดงในงบแสดงฐานะการเงินทางด้านเดบิต 4.2 จำนวนเงินของบัญชีหมวดหนี้สิน ซึ่งปรากฏอยู่ในงบทดลองทางด้านเครดิต ให้นำไปแสดงในงบแสดงฐานะการเงินทางด้านเครดิต 4.3 จำนวนเงินของบัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ ประกอบด้วยบัญชีทุน และ ถอนใช้ส่วนตัวให้นำไปแสดงในงบแสดงฐานะการเงินตามหลักการ ดังนี้ (1) จำนวนเงินของบัญชีทุน ซึ่งปรากฏอยู่ในงบทดลองทางด้านเครดิต ให้นำไปแสดงในงบแสดงฐานะการเงินทางด้านเครดิต (2) จำนวนเงินของบัญชีถอนใช้ส่วนตัว ซึ่งปรากฏอยู่ในงบทดลองทางด้าน เดบิตให้นำไปแสดงในงบแสดงฐานะการเงินทางด้านเดบิต ขั้นที่5 รวมยอดเงินในช่องงบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงินทางด้านเดบิตและเครดิต ครั้งที่ 1 ซึ่งในขั้นตอนนี้ยอดรวมทางด้านเดบิตและเครดิตของแต่ละงบจะไม่เท่ากัน ขั้นที่ 6 หาผลต่างระหว่างยอดรวมเงินของช่องงบกำไรขาดทุนทางด้านเดบิตและเครดิต ตามหลักการ ดังนี้ 6.1 ถ้ายอดรวมทางด้านเครดิตมากกว่าเดบิต หมายถึง กิจการมีรายได้มากกว่า ค่าใช้จ่าย ผลต่าง คือ กำไรสุทธิ (Net Profit) ให้นำไปแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินทางด้านที่ยอดรวมน้อยกว่า เพื่อทำให้ยอดรวมทางด้านเดบิตและเครดิตของแต่ละงบเท่ากัน 6.2 ถ้ายอดรวมทางด้านเครดิตน้อยกว่าเดบิต หมายถึง กิจการมีรายได้น้อยกว่า ค่าใช้จ่าย ผลต่าง คือ ขาดทุนสุทธิ (Net Loss) ให้นำไปแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงินทางด้านที่ยอดรวมน้อยกว่า เพื่อทำให้ยอดรวมทางด้านเดบิตและเครดิตของแต่ละงบ เท่ากัน
238 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ขั้นที่ 7 รวมยอดเงินในช่องงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินทางด้านเดบิตและ เครดิตครั้งที่ 2 ซึ่งในขั้นตอนนี้ยอดรวมทางด้านเดบิตและเครดิตของแต่ละงบจะต้องเท่ากัน ดังตัวอย่าง ร้านมนัสการไฟฟ้า กระดาษทำการ สำหรับระยะเวลา 1 เดือน สิ้นสุดวันที่31 มกราคม 25X5 ชื่อบัญชี เลข ที่ บัญชี งบทดลอง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เงินสด 101 116,320 - 116,320 - เงินฝากธนาคาร 102 26,000 - 26,000 - อุปกรณ์การซ่อม 103 60,000 - 60,000 - เจ้าหนี้-ร้านสากล 201 24,000 - 24,000 - เจ้าหนี้- องค์การโทรศัพท์ 202 2,000 - 2,000 - เงินกู้ 203 20.000 - 20.000 - ทุน-นายมนัส 301 150,000 - 150,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 2,000 - 2,000 - รายได้ค่าซ่อม 401 17,000 - 17,000 - ค่าเช่า 501 3,000 - 3,000 - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 502 180 - 180 - ค่าเบี้ยประกัน 503 1,000 - 1,000 - ค่าโทรศัพท์ 504 2,000 - 2,000 - เงินเดือน 505 2,500 - 2,500 - 213,000 - 213,000 - 8,680 - 17,000 - 204,320 - 196,000 - กำไรสุทธิ 8,320 - 8,320 - 17,000 - 17,000 - 204,320 - 204,320 - งบกำไรขาดทุน ยอดรวมด้านเครดิต คือรายได้ = 17,000 มากกว่ายอดรวมด้านเดบิต คือ ค่าใช้จ่าย = 8,680 ผลปรากฏว่า กำไรสุทธิ 8,320 ให้นำยอดกำไรสุทธิ8,320 ไปใส่ช่องเดบิต เพื่อให้ยอดรวมทั้งสองด้านเท่ากัน
239 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน ยอดรวมด้านเดบิต = 204,320 และยอดรวมด้านเครดิต = 196,000 ให้นำยอดกำไรสุทธิ 8,320 ไปใส่ช่องด้านตรงกันข้าม คือ เครดิต จะทำให้ยอดรวมงบแสดงฐานะการเงินเท่ากันพอดี 6.3.2 การจัดทำกระดาษทำการกรณีมีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ การจัดทำกระดาษทำการกรณีมีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิมีขั้นตอนการจัดทำ เหมือนกับกรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิทุกประการ ยกเว้นขั้นตอนที่ 6 ให้ใช้หลักการ ตามข้อ 6.2 ดังตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 6.2 ต่อไปนี้เป็นงบทดลอง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 25X5 ของร้านสะอาดซักรีด ร้านสะอาดซักรีด งบทดลอง วันที่30 มิถุนายน 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต บาท สต. บาท สต. เงินสด 101 15,000 - ลูกหนี้การค้า 102 3,800 - วัสดุสิ้นเปลือง 103 2,500 - อุปกรณ์ซักรีด 104 91,840 - เจ้าหนี้-ร้านมารวยการไฟฟ้า 201 31,800 - ทุน-นางสะอาด 301 85,500 - รายได้ค่าซักรีด 401 23,000 - รายได้เบ็ดเตล็ด 402 150 - ค่าเช่าร้าน 501 13,500 - ค่าสาธารณูปโภค 502 4,850 - ค่าโฆษณา 503 3,700 - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 504 260 - เงินเดือน 505 5,000 - 140,450 - 140,450 -
240 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ร้านสะอาดซักรีด กระดาษทำการ สำหรับระยะเวลา 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 25X5 ชื่อบัญชี เลขที บัญชี งบทดลอง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เงินสด 101 15,000 - 15,000 - ลูกหนี้การค้า 102 3,800 - 3,800 - วัสดุสิ้นเปลือง 103 2,500 - 2,500 - อุปกรณ์ซักรีด 104 91,840 - 91,840 - เจ้าหนี้-ร้านมรวย การไฟฟ้า 201 31,800 - 31,800 - ทุน-นางสะอาด 301 85,500 - 85,500 - รายได้ค่าซักรีด 401 23,000 - 23,000 - รายได้เบ็ดเตล็ด 150 - 150 - ค่าเช่าร้าน 501 13,500 - 13,500 - ค่าสาธารณูปโภค 502 4,850 - 4,850 - ค่าโฆษณา 503 3,700 - 3,700 - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 504 260 - 260 - เงินเดือน 505 5,000 - 5,000 - 140,450 - 140,450 - 27,310 - 23,150 - 113,140 - 117,300 - ขาดทุนสุทธิ 4,160 - 4,160 - 27,310 - 27,310 - 117,300 - 117,300 - งบกำไรขาดทุน ยอดรวมด้านเครดิต คือรายได้ = 23,150 น้อยกว่ายอดรวมด้านเดบิต คือ ค่าใช้จ่าย = 27,310 (23,150-27,310 = 4,160 ) ผลปรากฏว่า ขาดทุนสุทธิ4,160 ให้นำยอด ขาดทุนสุทธิ 4,160 ไปใส่ช่องเครดิต เพื่อให้ยอดรวมทั้งสองด้านเท่ากัน งบแสดงฐานะการเงิน ยอดรวมด้านเดบิต = 113,140 และยอดรวมด้านเครดิต = 117,300 ให้นำยอดขาดทุนสุทธิ4,160 ไปใส่ช่องด้านตรงกันข้าม คือ เดบิต จะทำให้ยอดรวม งบแสดงฐานะการเงินเท่ากันพอดี
241 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 6.4 ประโยชน์ของกระดาษทำการ กิจการนิยมจัดทำกระดาษทำการด้วยเหตุผลดังนี้ 6.4.1 เพื่อช่วยให้การจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะเป็นการนำข้อมูลจากช่องงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินจากกระดาษทำการไปแสดง อีกครั้งหนึ่งตามรูปแบบของงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินที่กำหนดเท่านั้น 6.4.2 เพื่อช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับงวดบัญชีหนึ่งว่ามีกำไรสุทธิหรือ ขาดทุนสุทธิเป็นจำนวนเงินเท่าใด 6.4.3. เพื่อช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) เป็นจำนวนเงินเท่าใด 6.4.4. เพื่อสะดวกในการปรับปรุงและแก้ไขรายการทางบัญชีเมื่อพบข้อผิดพลาดก่อนที่จะนำ ข้อมูลไปจัดทำบัญชีในขั้นตอนต่อไป 6.5 ความหมายของงบการเงิน คำนิยาม งบการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปหรืองบการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 พ.ศ 2562 งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง งบการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการ ของผู้ใช้งบการเงินซึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกร้องให้กิจการจัดทำรายงานที่มีการดัดแปลงตาม ความต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง จุดมุ่งหมายของงบการเงิน งบการเงินเป็นการนำเสนอฐานะการเงินและผลการดำเนินงานการเงินของกิจการอย่างมี แบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด ของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินกลุ่มต่าง ๆ นอกจากนี้ งบการเงิน ยังแสดงถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลทรัพยากร ของกิจการ เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว งบการเงินให้ข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้เกี่ยวกับกิจการ 1. สินทรัพย์ 2. หนี้สิน 3. ส่วนของเจ้าของ 4. รายได้และค่าใช้จ่าย รวมถึงผลกำไรและขาดทุน
242 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 5. เงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็น เจ้าของ 6. กระแสเงินสด ข้อมูลเหล่านี้และข้อมูลอื่นที่เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินช่วยผู้ใช้งบการเงิน ในการคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะเวลาและความแน่นอนที่กิจการจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดในอนาคต ของกิจการ งบการเงินฉบับสมบูรณ์ งบการเงินฉบับสมบูรณ์ประกอบด้วย 1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด 2. งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับงวด 3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสำหรับงวด 4. งบกระแสเงินสดสำหรับงวด 5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยนโยบายการบัญชีที่สำคัญและข้อมูลที่ให้ คำอธิบายอื่น 6. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันต้นงวดของงวดก่อน เมื่อกิจการได้นำนโยบายการบัญชีใหม่ มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการปรับย้อนหลังรายการในงบการเงิน หรือเมื่อกิจการมีการจัดประเภท รายการใหม่ในงบการเงิน หมายเหตุในวิชาการบัญชีเบื้องต้น จะกล่าวถึงการจัดทำงบการเงินของกิจการเจ้าของคนเดียว แบ่งออกเป็นงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน 6.6 ผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูลของผู้ใช้ ผู้ใช้งบการเงินประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูล ที่แตกต่างกัน ถ้าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะของสภาวิชาชีพ บัญชี กำหนดแนวปฏิบัติในการนำเสนองบการเงินที่มีวัตถุประสงค์หลักในการสนองความต้องการของ เจ้าของกิจการ ได้แก่ 6.6.1 เพื่อประเมินฐานะการเงิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการ 6.6.2 เพื่อให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนจากเจ้าของกิจการ
243 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 6.6.3 เพื่อประเมินโอกาสในการลงทุนต่อและเป็นปัจจัยในการพิจารณาเกี่ยวกับ การบริหารการเงิน ข้อมูลในงบการเงินยังมีประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ งบการเงินอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ให้กู้ ผู้ขายสินค้าและเจ้าหนี้อื่น (1) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการตัดสินใจให้กู้หรือให้สินเชื่อ (2) เพื่อให้ข้อมูลทางการเงินที่ใช้ในกระบวนการติดตามสินเชื่อ 2. หน่วยงานรัฐบาล หรือหน่วยงานกำกับดูแลกิจการ (1) เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการกำกับดูแลกิจการการ การเสียภาษี (2) เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน (3) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 6.7 การจัดทำงบกำไรขาดทุน 6.7.1 ความหมายของงบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss statement or Income statement) หมายถึง งบแสดงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับงวดเวลาหนึ่ง เพื่อสรุปให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบรายได้ กับค่าใช้จ่ายของงวดเวลานั้นแล้วจะมีผลกำไรหรือขาดทุนสุทธิเท่าใด งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี (Accounting Period) ของธุรกิจนั้น อาจจะเป็น งวด 1 เดือน งวด 3 เดือน งวด 6 เดือน หรือ งวด 1 ปีก็ได้ แต่โดยปกติธุรกิจจะต้องรายงานฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยที่ปีปฏิทินอาจจะตรงกันกับปฏิทิน เช่น รอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564 หรือปีปฏิทินอาจไม่ตรงกับปีปฏิทิน เช่น 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565 6.7.2 องค์ประกอบของงบกำไรขาดทุน องค์ประกอบของงบกำไรขาดทุนประกอบด้วย รายได้ (Income) และค่าใช้จ่าย (Expense) ที่เกิดขึ้น และรับรู้รายการในระหว่างงวดบัญชี โดยผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้ และค่าใช้จ่าย คือ ผลการดำเนินงานของงวดบัญชีนั้น ซึ่งคำนวณได้จากสมการทางบัญชีดังนี้ - ถ้ายอดรวมรายได้มากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ - ถ้ายอดรวมรายได้น้อยกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ กำไร (ขาดทุน) = รายได้ - ค่าใช้จ่าย
244 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน รายได้ (Revenue) หมายถึง การเพิ่มของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สินที่เป็นผลให้ ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นที่ไม่ใช่รายการที่เกี่ยวข้องกับการสมทบโดยผู้ถือสิทธิเรียกร้องส่วนของเจ้าของ เช่น กิจการขายสินค้าเป็นเงินสด 100 บาท ส่งผลให้กิจการมีสินทรัพย์ (เงินสด) เพิ่มขึ้น 100 บาท เป็นต้น รายได้จากการประกอบธุรกิจ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. รายได้หลัก (Direct Revenue) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการดำเนินงานปกติของกิจการ เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน หรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่าคิดเป็นเงินได้ทั้งนี้ให้แยก แสดงรายการเป็นรายได้หลักแต่ละประเภท เช่น รายได้จากการให้บริการ รายได้จาการขายสินค้า เป็นต้น 2. รายได้อื่น (Other Revenue) หมายถึง รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานปกติของ กิจการ แต่เป็นรายได้ที่ได้รับมาเนื่องจากการประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผลพลอยได้จาการดำเนินงาน เช่น รายได้จากการขายสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ย เงินฝากธนาคาร เงินปันผล ที่ได้รับเนื่องจากไปลงทุนในบริษัทอื่น ค่าใช้จ่าย (Expense) หมายถึง การลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินที่เป็นผล ให้ส่วนของเจ้าของลดลงที่ไม่ใช่รายการที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรให้ผู้ถือสิทธิเรียกร้องส่วนของเจ้าของ เช่น กิจการจ่ายค่าเช่าอาคารสำนักงานเป็นเงินสด 1,000 บาท ส่งผลให้สินทรัพย์ (เงินสด) ของกิจการ ลดลงจำนวน 1,000 บาท เป็นต้น สามารถแบ่งค่าใช้จ่ายของกิจการได้ดังนี้ 1. ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ (Cost of sale or Cost of rendering services) หมายถึง ต้นทุนของสินค้าหรือบริการที่กิจการจ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้ เช่น ราคาทุนของสินค้า ที่ขาย ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมขาย โดยแยก แสดงเป็นต้นทุนตามประเภทของธุรกิจหลักของกิจการ เช่น ต้นทุนสินค้าที่ขาย ต้นทุนของธุรกิจ บริการ 2. ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expense) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการขาย ได้แก่ ค่าโฆษณา ค่านายหน้า ค่าขนส่งสินค้า เป็นต้น 3. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrative Expense) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั่วไป ที่เกิดขึ้นจากการบริหารกิจการอันเป็นส่วนรวม ได้แก่ เงินเดือนผู้บริหาร ค่าเช่าสำนักงาน เป็นต้น 4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Other Expense) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายข้างต้น เช่น ค่าเสียหายจากไฟฟ้าลัดวงจร ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์เป็นต้น 5. ต้นทุนทางการเงิน (Finance Costs) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการที่กิจการ ต้องจัดหาเงินทุนมาดำเนินงาน เช่น ดอกเบี้ยจ่ายและต้นทุนทางการเงินอื่นๆ
245 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน กำไรสุทธิ (Net Income) หมายถึง รายได้ของงวดบัญชีหนึ่งที่คงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขาดทุนสุทธิ (Net Loss) หมายถึง ค่าใช้จ่ายส่วนเกินกว่ารายได้ในงวดบัญชีหนึ่ง 6.7.3 รูปแบบ และขั้นตอนการจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงานเป็นแบบที่ไม่ต้องสร้างแบบฟอร์ม แต่ให้แสดงรายการ โดยแบ่งออกเป็นขั้นเรียงตามลำดับกันลงมาและมีการรวมยอดในแต่ละขั้น โดยแสดงรายการต่อไปนี้ ในงบกำไรขาดทุน โดยแยกรายการแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน ได้แก่ 1. รายได้ 2. ค่าใช้จ่าย 3. ต้นทุนทางการเงิน 4. ภาษีเงินได้ 5. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ ผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้กับ ยอดรวมค่าใช้จ่ายจะเป็นผลการดำเนินงาน คือ กำไรหรือขาดทุนของงวดบัญชีนั้น ดังตัวอย่าง 1. รูปแบบงบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ ชื่อกิจการ งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา……….เดือน/ปี สิ้นสุดวันที่……….เดือน…………….พ.ศ. ………….. รายได้: รายได้จากการให้บริการ XXX รายได้อื่น XXX รวมรายได้ XXX ค่าใช้จ่าย : ค่าใช้จ่ายพนักงาน XXX ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย XXX ค่าใช้จ่ายอื่น XXX รวมค่าใช้จ่าย XXX กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ XXX ต้นทุนทางการเงิน XXX กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ XXX ภาษีเงินได้ XXX กำไร (ขาดทุน) สุทธิ XXX
246 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 2. รูปแบบงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน จำแนกตามหน้าที่แบบขั้นเดียว ชื่อกิจการ งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา……….เดือน/ปี สิ้นสุดวันที่……….เดือน…………….พ.ศ. ………….. รายได้: รายได้จากการขายหรือการให้บริการ XXX รายได้อื่น XXX รวมรายได้ XXX ค่าใช้จ่าย : ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ XXX ค่าใช้จ่ายในการขาย XXX ค่าใช้จ่ายในการบริหาร XXX ค่าใช้จ่ายอื่น XXX รวมค่าใช้จ่าย XXX กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ XXX ต้นทุนทางการเงิน XXX กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ XXX ภาษีเงินได้ XXX กำไร (ขาดทุน) สุทธิ XXX
247 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 3. รูปแบบงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน จำแนกตามหน้าที่แบบหลายขั้น ชื่อกิจการ งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา……….เดือน/ปี สิ้นสุดวันที่……….เดือน…………….พ.ศ. ………….. รายได้จากการขายหรือการให้บริการ XXX ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ XXX กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้น XXX รายได้อื่น XXX กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่าย XXX ค่าใช้จ่ายในการขาย XXX ค่าใช้จ่ายในการบริหาร XXX ค่าใช้จ่ายอื่น XXX รวมค่าใช้จ่าย XXX กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ XXX ต้นทุนทางการเงิน XXX กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ XXX ภาษีเงินได้ XXX กำไร (ขาดทุน) สุทธิ XXX
248 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 4. ขั้นตอนการจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน ประโยชน์ประการหนึ่งของกระดาษทำการ คือ ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการทำ งบกำไรขาดทุน ดังนั้น หลังจากกิจการได้จัดทำกระดาษทำการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลจาก กระดาษทำการช่องงบกำไรขาดทุนมาแสดงอีกครั้งหนึ่งตามรูปแบบรายงาน ดังตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 6.3 ต่อไปนี้เป็นข้อมูลในกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง ของร้านยอดทอง ใช้สำหรับการจัดทำงบกำไรขาดทุน กรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ ร้านยอดทอง กระดาษทำการ สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี งบทดลอง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เงินสด 101 94,500 - 94,500 - ลูกหนี้การค้า 102 74,000 - 74,000 - วัสดุสิ้นเปลือง 103 12,000 - 12,000 - เครื่องมือ 104 120,000 - 120,000 - รถยนต์ 105 540,000 - 540,000 - เจ้าหนี้การค้า 201 60,500 - 60,500 - ทุน-นายยอดทอง 301 730,000 - 730,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 3,000 - 3,000 - รายได้ค่าบริการ 401 82,000 - 82,000 - ค่าเช่า 501 10,000 - 10,000 - ค่าเบี้ยประกัน 502 3,000 - 3,000 - ค่าโฆษณา 503 1,500 - 1,500 - ค่าแรงงาน 504 12,000 - 12,000 - ดอกเบี้ยจ่าย 505 2,500 2,500 872,500 - 872,500 - 29,000 - 82,000 - 843,500 - 790,500 - กำไรสุทธิ 53,000 - - 53,000 - 82,000 - 82,000 - 843,500 - 843,500 - จากข้อมูลในกระดาษทำการช่องงบกำไรขาดทุนดังกล่าวข้างต้น กิจการสามารถนำมาจัดทำ งบกำไรขาดทุนอีกครั้งหนึ่งในรูปแบบรายงานตามขั้นตอน ดังนี้
249 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ขั้นที่1 เขียนหัวงบกำไรขาดทุน 3 บรรทัด ประกอบด้วย 1.1 เขียนชื่อกิจการ 1.2 เขียนคำว่า "งบกำไรขาดทุน" 1.3 เขียนว่า "สำหรับระยะเวลา.. เดือนปี สิ้นสุดวันที่......เดือน......พ.ศ....” ขั้นที่ 2 เขียนคำว่า "รายได้" และนำชื่อบัญชีหมวดรายได้พร้อมกับจำนวนเงินจาก กระดาษทำการช่องงบกำไรขาดทุนมาแสดงอีกครั้งหนึ่งตามรูปแบบของงบกำไรขาดทุนและรวมยอด รายได้ ขั้นที่ 3เขียนคำว่า "ค่าใช้จ่าย" ให้ตรงกับคำว่า "รายได้" และนำชื่อบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายพร้อม จำนวนเงินจากกระดาษทำการมาแสดงอีกครั้งหนึ่งตามรูปแบบของงบกำไรขาดทุนและรวมยอดค่าใช้จ่าย ขั้นที่ 4 หาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้และยอดรวมค่าใช้จ่าย ซึ่งในกรณีนี้ยอดรวม รายได้จะมากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลต่างเรียกว่า "กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน" ให้นำไปเขียนตรง กับคำว่า "รายได้" และ"ค่าใช้จ่าย" หลังจากนั้นหักต้นทุนทางการเงินอีกครั้ง ผลต่างเรียกว่า “กำไรสุทธิ” ดังตัวอย่าง (1) งบกำไรขาดทุน (จำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ) ร้านยอดทอง งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 25X5 รายได้: รายได้ค่าบริการ 82,000.- รวมรายได้ 82,000.- ค่าใช้จ่าย : ค่าแรงงาน 12,000.- ค่าโฆษณา 1,500.- ค่าเช่า 10,000.- ค่าเบี้ยประกัน 3,000.- รวมค่าใช้จ่าย 26,500.- กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน 55,500.- ดอกเบี้ยจ่าย 2,500.- กำไรสุทธิ 53,000.-
250 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน (2) งบกำไรขาดทุน (จำแนกตามหน้าที่ แบบขั้นเดียว) ร้านยอดทอง งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 25X5 รายได้ค่าบริการ 82,000.- รวมรายได้ 82,000.- ค่าใช้จ่าย : ค่าแรงงาน 12,000.- ค่าโฆษณา 1,500.- ค่าเช่า 10,000.- ค่าเบี้ยประกัน 3,000.- รวมค่าใช้จ่าย 26,500.- กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน 55,500.- ดอกเบี้ยจ่าย 2,500.- กำไรสุทธิ 53,000.- (3) งบกำไรขาดทุน (จำแนกค่าตามหน้าที่ แบบหลายขั้น) มีหมายเหตุประกอบงบ ร้านยอดทอง งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 25X5 รายได้ค่าบริการ 82,000.- หัก ต้นทุนการให้บริการ (1) 12,000.- กำไรขั้นต้น 70,000.- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (2) 14,500.- กำไร ก่อนต้นทุนทางการเงิน 55,500.- หัก ต้นทุนทางการเงิน (3) 2,500.- กำไรสุทธิ 53,000.- หมายเหตุประกอบงบ หมายเหตุฯ (1) ต้นทุนการให้บริการ ค่าแรงงาน 12,000 บาท
251 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน หมายเหตุฯ (2) ค่าใช้จ่ายในการให้ขายและบริหาร ค่าเช่า 10,000 บาท ค่าเบี้ยประกัน 3,000 บาท ค่าโฆษณา 1,500 บาท รวม 14,500 บาท หมายเหตุฯ (3) ต้นทุนทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่าย 2,500 บาท ตัวอย่างที่ 6.4 ต่อไปนี้เป็นข้อมูลในกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง ของร้านสะอาดซักรีด ใช้สำหรับการจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน กรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ ร้านสะอาดซักรีด กระดาษทำการ สำหรับระยะเวลา 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี งบทดลอง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เงินสด 101 15,000 - 15,000 - ลูกหนี้การค้า 102 3,800 - 3,800 - วัสดุสิ้นเปลือง 103 2,500 - 2,500 - อุปกรณ์ซักรีด 104 91,840 - 91,840 - เจ้าหนี้-ร้านกนก 201 31,800 - 31,800 - ทุน-นางสะอาด 301 85,500 - 85,500 - รายได้ค่าซักรีด 401 23,000 - 23,000 - รายได้เบ็ดเตล็ด 402 150 - 150 - ค่าเช่าร้าน 501 13,500 - 13,500 - ค่าสาธารณูปโภค 502 4,850 - 4,850 - ค่าโฆษณา 503 3,700 - 3,700 - ค่าใช้จ่าย เบ็ดเตล็ด 504 260 - 260 - เงินเดือน 505 5,000 - 5,000 - 140,450 - 140,450 - 27,310 - 23,150 - 113,140 - 117,300 - ขาดทุนสุทธิ 4,160 - 4,160 - 27,310 - 27,310 - 117,300 - 117,300 -
252 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน จากข้อมูลในกระดาษทำการช่องงบกำไรขาดทุนข้างต้น สามารถนำมาจัดทำงบกำไรขาดทุน อีกครั้งหนึ่งในรูปแบบรายงานได้ดังนี้ ร้านสะอาดซักรีด งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 25X5 รายได้: รายได้ค่าซักรีด 23,000.- รายได้เบ็ดเตล็ด 150.- รวมรายได้ 23,150.- ค่าใช้จ่าย : เงินเดือน 5,000.- ค่าโฆษณา 3,700.- ค่าเช่าร้าน 13,500.- ค่าสาธารณูปโภค 4,850.- ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 260.- รวมค่าใช้จ่าย 27,310.- ขาดทุนสุทธิ (4,160.-) 6.7.4 รูปแบบและขั้นตอนการจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี 1. รูปแบบของงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชีเป็นแบบที่ต้องสร้างรูปแบบซึ่งมีลักษณะเหมือนกับแบบ ตัวทีในภาษาอังกฤษ จึงทำให้แบ่งการแสดงรายการออกเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านซ้าย คือ ด้านเดบิต และด้านขวา คือด้านเครดิต ดังตัวอย่าง
253 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน รูปแบบของงบกำไรขาดทุนกรณีมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ ชื่อกิจการ งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา…….. เดือน/ปี สิ้นสุดวันที่……เดือน………..พ.ศ. …………. ค่าใช้จ่าย : บาท สต. รายได้: บาท สต. …………………………………. XXX - …………………………………. XXX - …………………………………. XXX - …………………………………. XXX - กำไรสุทธิ XXX - XXX - XXX - - รูปแบบของงบกำไรขาดทุนกรณีมีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ ชื่อกิจการ งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา…….. เดือน/ปี สิ้นสุดวันที่……เดือน………..พ.ศ. ………… ค่าใช้จ่าย : บาท สต. รายได้: บาท สต. …………………………………. XXX - …………………………………. XXX - …………………………………. XXX - …………………………………. XXX - …………………………………. XXX - ขาดทุนสุทธิ XXX - …………………………………. XXX - XXX - XXX - 2. ขั้นตอนการจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี เมื่อกิจการได้จัดทำกระดาษทำการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลจากกระดาษทำการ ช่องงบกำไรขาดทุนมาแสดงอีกครั้งหนึ่งตามรูปแบบบัญชี ดังตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 6.5 จากข้อมูลในกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง ของร้านยอดทองตามตัวอย่างที่ 6.3 ได้นำมาใช้สำหรับอธิบายขั้นตอนการจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชีกรณีกิจการมีผลการ ดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิตามขั้นตอน ดังนี้
254 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบกำไรขาดทุน 3 บรรทัด ประกอบด้วย 1.1 เขียนชื่อกิจการ 1.2 เขียนคำว่า "บัญชีกำไรขาดทุน" 1.3 เขียนว่า "สำหรับระยะเวลา เดือนปี สิ้นสุดวันที่.........เดือน……..พ.ศ........." ขั้นที่ 2 สร้างรูปแบบบัญชีกำไรขาดทุน ขั้นที่3 เขียนคำว่า "ค่าใช้จ่าย" ในช่องรายการทางด้านเดบิต และ "รายได้" ในช่องรายการ ทางด้านเครดิตของแบบฟอร์ม ขั้นที่ 4 นำชื่อบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายพร้อมกับจำนวนเงินจากช่องงบกำไรขาดทุนของ กระดาษทำการมาแสดงอีกครั้งหนึ่งทางด้านเดบิตภายใต้หัวข้อค่าใช้จ่าย ขั้นที่ 5 นำชื่อบัญชีหมวดรายได้พร้อมจำนวนเงินจากช่องงบกำไรขาดทุนของกระดาษทำการ มาแสดงอีกครั้งหนึ่งทางด้านเครดิตภายใต้หัวข้อรายได้ ขั้นที่ 6 หาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้กับยอดรวมค่าใช้จ่าย ซึ่งในกรณีนี้ยอดรวมรายได้ จะมากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลต่างเรียกว่า "กำไรสุทธิ" ให้นำไปเขียนทางด้านเดบิตซึ่งเป็นด้านที่ ยอดรวมน้อยกว่า ขั้นที่7 รวมเงินทางด้านเดบิตและเครดิตซึ่งจะต้องเท่ากัน และนำไปเขียนลงในช่องของ ทั้งสองด้านให้อยู่ในระดับเดียวกัน พร้อมทั้งขีดเส้นคู่ใต้ยอดรวมนั้น ดังตัวอย่าง ร้านยอดทอง งบกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา 1 ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ค่าใช้จ่าย : บาท สต. รายได้: บาท สต. ค่าแรงงาน 12,000 - รายได้ค่าบริการ 82,000 - ค่าเบี้ยประกัน 3,000 - ค่าโฆษณา 1,500 - ค่าเช่าร้าน 10,000 - ดอกเบี้ยจ่าย 2,500 กำไรสุทธิ 53,000 - 82,000 - 82,000 -
255 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี กรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ มีขั้นตอนการจัดทำเหมือนกับงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน กรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็น กำไรสุทธิทุกประการยกเว้นขั้นที่ 6 ยอดรวมของรายได้จะน้อยกว่ายอดรวมของค่าใช้จ่าย ผลต่าง เรียกว่า "ขาดทุนสุทธิ" ให้นำไปเขียนทางด้านเครดิตซึ่งเป็นด้านที่มียอดรวมน้อยกว่า ดังตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 6.6 จากข้อมูลในกระดาษทำการช่องงบกำไรขาดทุนของร้านสะอาดซักรีด สามารถนำมาจัดทำงบกำไรขาดทุนในรูปแบบบัญชีตามขั้นตอนของตัวอย่างที่ 6.4 ได้ดังนี้ ร้านสะอาดซักรีด บัญชีกำไรขาดทุน สำหรับระยะเวลา 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 25X5 ค่าใช้จ่าย : บาท สต. รายได้: บาท สต. เงินเดือน 5,000 - รายได้ค่าซักรีด 23,000 - ค่าโฆษณา 3,700 - รายได้เบ็ดเตล็ด 150 - ค่าเช่าร้าน 13,500 - ขาดทุนสุทธิ 4,160 - ค่าสาธารณูปโภค 4,850 - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 260 - 27,310 - 27,310 - 6.7.5 ประโยชน์ของงบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุนที่กิจการทำขึ้นในแต่ละงวดบัญชีก็เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ดังนี้ 1. เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ 2. เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ 3. เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินความสามารถการทำกำไรของกิจการ 4. เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ 5. เพื่อเก็บรวบรวมสถิติของผลการดำเนินงานของกิจการและใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง
256 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 6.8 การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน 6.8.1 ความหมายของงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน (Statement Of Financial Position) หมายถึง งบที่ต้องมี รายการแสดงจำนวนเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง บัญชีที่แสดงจำนวนเงินในงบแสดงฐานะการเงิน สินทรัพย์หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ 6.8.2 องค์ประกอบของงบแสดงฐานะการเงิน จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่างบแสดงฐานะการเงิน ประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ซึ่งสอดคล้องกับสมการบัญชีที่ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ดังนั้น การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน จึงต้องใช้สมการบัญชีเป็นหลัก 1. สินทรัพย์ (Asset) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสด เงินฝากธนาคาร เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้และตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ วัสดุสิ้นเปลือง สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ และสินทรัพย์หมุนเวียน อื่นนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สัมปทาน เป็นต้น 2. หนี้สิน (Liability) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชี เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
257 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน หนี้สินหมุนเวียนอื่น หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้ ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) มีแหล่งที่มา 2 แหล่ง คือ จากการลงทุนของผู้เป็นเจ้าของ ผลจากการดำเนินงานของธุรกิจ หมายเหตุในวิชาการบัญชีเบื้องต้น จะกล่าวถึงส่วนของเจ้าของกิจการเจ้าของคนเดียว 6.8.3 รูปแบบและขั้นตอนการจัดทำงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน 1. รูปแบบของงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน การจัดทำงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงานเป็นแบบที่ไม่ต้องสร้างแบบฟอร์มให้แสดง รายการโดยแบ่งออกเป็นขั้นเรียงตามลำดับกันลงมา และมีการรวมยอดในแต่ละขั้น รูปแบบของ งบแสดงฐานะการเงินแบบรายงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) ส่วนที่เป็นสินทรัพย์ประกอบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (2) ส่วนที่เป็นหนี้สิน ประกอบด้วย หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน (3) ส่วนที่เป็นส่วนของเจ้าของ ประกอบด้วย ทุน ถอนใช้ส่วนตัว/เงินถอน และ กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ดังตัวอย่าง ชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่…..เดือน………………พ.ศ. ……………… สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน : ………………………………….. XXX ………………………………….. XXX รวมสินทรัพย์หมุนเวียน XXX สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : ………………………………….. XXX ………………………………….. XXX รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน XXX รวมสินทรัพย์ XXX
258 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ หนี้สินหมุนเวียน : ………………………………….. XXX ………………………………….. XXX ………………………………….. XXX รวมหนี้สินหมุนเวียน XXX หนี้สินไม่หมุนเวียน : ………………………………….. XXX ………………………………….. XXX รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน XXX รวมหนี้สิน XXX ส่วนของเจ้าของ : ทุน-ชื่อ (ต้นงวด) XXX บวก กำไรสุทธิหรือหักขาดทุนสุทธิ XXX ทุนทั้งสิ้น XXX หัก ถอนใช้ส่วนตัว XXX ทุน-ชื่อ (ปลายงวด) XXX รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ XXX 2. ขั้นตอนการจัดทำงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน ประโยชน์ประการหนึ่งของกระดาษทำการ คือ ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการจัดทำ งบแสดงฐานะการเงิน ดังนั้น หลังจากกิจการได้ทำกระดาษทำการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลจาก กระดาษทำการช่องงบแสดงฐานะการเงินมาแสดงอีกครั้งหนึ่งตามรูปแบบรายงาน ดังตัวอย่าง
259 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ตัวอย่างที่ 6.7 จากข้อมูลในกระดาษทำการช่องงบแสดงฐานะการเงินของร้านยอดทอง ร้านยอดทอง กระดาษทำการ สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี งบทดลอง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เงินสด 101 94,500 - 94,500 - ลูกหนี้การค้า 102 74,000 - 74,000 - วัสดุสิ้นเปลือง 103 12,000 - 12,000 - เครื่องมือ 104 120,000 - 120,000 - รถยนต์ 105 540,000 - 540,000 - เจ้าหนี้การค้า 201 60,500 - 60,500 - ทุน-นายยอดทอง 301 730,000 - 730,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 3,000 - 3,000 - รายได้ค่าบริการ 401 82,000 - 82,000 - ค่าเช่า 501 10,000 - 10,000 - ค่าเบี้ยประกัน 502 3,000 - 3,000 - ค่าโฆษณา 503 1,500 - 1,500 - ค่าแรงงาน 504 12,000 - 12,000 - ดอกเบี้ยจ่าย 505 2,500 2,500 872,500 - 872,500 - 29,000 - 82,000 - 843,500 - 790,500 - กำไรสุทธิ 53,000 - - 53,000 - 82,000 - 82,000 - 843,500 - 843,500 - สามารถนำมาจัดทำงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน กรณีมีผลการดำเนินงานเป็น กำไรสุทธิได้ตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่1 เขียนหัวงบแสดงฐานะการเงิน 3 บรรทัด ประกอบด้วย 1.1 เขียนชื่อกิจการ 1.2 เขียนคำว่า "งบแสดงฐานะการเงิน" 1.3 เขียนว่า "ณ วันที่....... เดือน..................พ.ศ................ ขั้นที่2 เขียนคำว่า "สินทรัพย์" ตรงกึ่งกลางกระดาษ และขีดเส้นใต้ 1 เส้น
260 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ขั้นที่3 เขียนคำว่า "สินทรัพย์หมุนเวียน" และชื่อบัญชีประเภทสินทรัพย์หมุนเวียนพร้อม กับจำนวนเงิน และรวมยอดเงินทั้งสิ้นของสินทรัพย์หมุนเวียน ขั้นที่ 4 เขียนคำว่า "สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน" ให้ตรงกับคำว่า "สินทรัพย์หมุนเวียน" และ เขียนชื่อบัญชีประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนพร้อมกับจำนวนเงินและรวมยอดเงินทั้งสิ้นของสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน ขั้นที่ 5 คำนวณหาจำนวนเงินของสินทรัพย์ทั้งสิ้น โดยการนำยอดรวมของสินทรัพย์ หมุนเวียนบวกกับยอดรวมของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ขั้นที่ 6 เขียนคำว่า "หนี้สินและส่วนของเจ้าของ" ตรงกึ่งกลางกระดาษให้สมดุลกับคำว่า "สินทรัพย์" และขีดเส้นใต้ 1 เส้น ขั้นที่ 7 เขียนคำว่า "หนี้สินหมุนเวียน" ให้ตรงกับคำว่า "สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน" และเขียน ชื่อบัญชีประเภทหนี้สินหมุนเวียนทุกบัญชีพร้อมกับจำนวนเงิน หลังจากนั้นให้รวมยอดเงินทั้งสิ้นของ หนี้สินหมุนเวียน ขั้นที่8 เขียนคำว่า "หนี้สินไม่หมุนเวียน" ให้ตรงกับคำว่า "หนี้สินหมุนเวียน" และเขียนชื่อ บัญชีประเภทหนี้สินไม่หมุนเวียนพร้อมกับจำนวนเงิน หลังจากนั้นให้รวมยอดเงินทั้งสิ้นของหนี้สินไม่ หมุนเวียน ขั้นที่ 9 คำนวณหาจำนวนเงินของหนี้สินทั้งสิ้น โดยการนำยอดรวมของหนี้สินหมุนเวียน บวกกับยอดรวมของหนี้สินไม่หมุนเวียน ขั้นที่ 10 เขียนคำว่า "ส่วนของเจ้าของ" ให้ตรงกับคำว่าหนี้สินไม่หมุนเวียน ขั้นที่ 11 รายการที่แสดงภายใต้หัวข้อส่วนของเจ้าของ ประกอบด้วย 11.1 เขียนคำว่า "ทุน-ชื่อ " (ต้นงวด) ให้ตรงกับชื่อบัญชีประเภทหนี้สินพร้อมกับ จำนวนเงินซึ่งเป็นยอดยกมาจากงวดบัญชีของปีที่ผ่านมา 11.2 เขียนว่า "บวก กำไรสุทธิ" พร้อมกับจำนวนเงินของกำไรสุทธิซึ่งนำมาจาก งบกำไรขาดทุน 11.3 เขียนว่า"ทุนทั้งสิ้น" พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเป็นยอดรวมของข้อ 11.1 กับ 11.2 11.4 เขียนว่า "หัก ถอนใช้ส่วนตัว/เงินถอน (ถ้ามี)" พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเจ้าของ กิจการถอนไปใช้ส่วนตัวในระหว่างงวดบัญชีนั้น 11.5 ผลลัพธ์จากการคำนวณของข้อ 11.1 - 11.4 ให้เขียนว่า "ทุน-ชื่อ" (ปลายงวด) และเขียนให้ตรงกับยอดรวมของหนี้สินทั้งสิ้น ขั้นที่ 12 คำนวณหายอดรวมของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ โดยการนำยอดรวมของ หนี้สินทั้งสิ้นบวกกับส่วนของเจ้าของ คือ ทุนปลายงวด ดังตัวอย่าง
261 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ร้านยอดทอง งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด 94,500.- ลูกหนี้การค้า 74,000.- วัสดุสิ้นเปลือง 12,000.- รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 180,500.- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : เครื่องมือ 120,000.- รถยนต์ 540,000.- รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 660,000.- รวมสินทรัพย์ 840,500.- หนี้สินและส่วนของเจ้าของ หนี้สินไม่หมุนเวียน : เจ้าหนี้การค้า 60,500.- รวมหนี้สิน 60,500.- ส่วนของเจ้าของ : ทุน – นายยอดทอง(ต้นงวด) 730,000.- บวก กำไรสุทธิ 53,000.- ทุนทั้งสิ้น 783,000.- หัก ถอนใช้ส่วนตัว 3,000.- ทุน – นายยอดทอง(ปลายงวด) 780,000.- รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ 840,500.- การทำงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน กรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ มีขั้นตอนการทำเหมือนกับงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน กรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็น กำไรสุทธิทุกประการ ยกเว้นขั้นที่ 11 รายการที่แสดงภายใต้หัวข้อส่วนของเจ้าของจะประกอบด้วย
262 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 1. เขียนคำว่า "ทุน -ชื่อ" (ต้นงวด) พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเป็นยอดยกมาจากงวดบัญชีของปีที่ ผ่านมา 2. เขียนว่า "หัก ขาดทุนสุทธิ" พร้อมกับจำนวนเงินของขาดทุนสุทธิซึ่งนำมาจาก งบกำไรขาดทุน 3. เขียนว่า "ทุนทั้งสิ้น" พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเป็นผลต่างของข้อ 1 กับ 2 4. เขียนว่า "หัก ถอนใช้ส่วนตัว/เงินถอน (ถ้ามี)" พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเจ้าของกิจการ ถอนไปใช้ส่วนตัวในระหว่างงวดบัญชีนั้น 5. ผลลัพธ์จากการคำนวณของข้อ 1 - 4 ให้เขียนว่า "ทุน - ชื่อ" (ปลายงวด) ดังตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 6.8 จากข้อมูลในกระดาษทำการช่องงบแสดงฐานะการเงินของร้านสะอาดซักรีด ร้านสะอาดซักรีด กระดาษทำการ สำหรับระยะเวลา 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี งบทดลอง งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เงินสด 101 15,000 - 15,000 - ลูกหนี้-นางนภา 102 3,800 - 3,800 - วัสดุสินเปลือง 103 2,500 - 2,500 - อุปกรณ์ซักรีด 104 91,840 - 91,840 - เจ้าหนี้-ร้านกนก 201 31,800 - 31,800 - ทุน-นางสะอาด 301 85,500 - 85,500 - รายได้ค่าซักรีด 401 23,000 - 23,000 - รายได้เบ็ดเตล็ด 402 150 - 150 - ค่าเช่าร้าน 501 13,500 - 13,500 - ค่าสาธารณูปโภค 502 4,850 - 4,850 - ค่าโฆษณา 503 3,700 - 3,700 - ค่าใช้จ่าย เบ็ดเตล็ด 504 260 - 260 - เงินเดือน 505 5,000 - 5,000 - 140,450 - 140,450 - 27,310 - 23,150 - 113,140 - 117,300 - ขาดทุนสุทธิ 4,160 - 4,160 - 27,310 - 27,310 - 117,300 - 117,300 -
263 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน สามารถนำมาจัดทำงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงานกรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็น ขาดทุนสุทธิได้ดังนี้ ร้านสะอาดซักรีด งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 25X5 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด 15,000.- ลูกหนี้-นางนภา 3,800.- วัสดุสิ้นเปลือง 2,500.- รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 21,300.- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : อุปกรณ์ซักรีด 91,840.- รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 91,840.- รวมสินทรัพย์ 113,140.- หนี้สินและส่วนของเจ้าของ หนี้สินหมุนเวียน : เจ้าหนี้-ร้านกนก 31,800.- รวมหนี้สิน 31,800.- ส่วนของเจ้าของ : ทุน – นางสะอาด (ต้นงวด) 85,500.- หัก ขาดทุนสุทธิ 4,160.- ทุน – นางสะอาด (ปลายงวด) 81,340.- รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ 113,140.- 6.8.4 รูปแบบและขั้นตอนการจัดทำงบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชี 1. รูปแบบของงบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชี มีลักษณะเหมือนกับรูปแบบของ งบกำไรขาดทุนแบบบัญชีทุกประการ เพียงแต่ทางด้านเดบิตใช้แสดงรายการเกี่ยวกับสินทรัพย์และ ด้านเครดิตใช้แสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สินและส่วนของเจ้าของเท่านั้น ดังตัวอย่าง
264 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน รูปแบบของงบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชีกรณีผลการดำเนินงานเป็นกำไรสุทธิ ชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่……….เดือน…………….พ.ศ…………. สินทรัพย์ บาท สต. หนี้สินและส่วนของเจ้าของ บาท สต. สินทรัพย์หมุนเวียน : หนี้สินหมุนเวียน : ………………… XXX ……………… XXX ………………… XXX XXX - ……………… XXX XXX - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : หนี้สินไม่หมุนเวียน : ……………… XXX ส่วนของเจ้าของ : ……………… XXX XXX - ทุน - ชื่อ XXX บวก กำไรสุทธิ XXX ทุนทั้งสิ้น XXX หัก ถอนใช้ส่วนตัว XXX XXX - XXX - XXX - รูปแบบของงบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชีกรณีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ ชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่……….เดือน…………….พ.ศ…………. สินทรัพย์ บาท สต. หนี้สินและส่วนของเจ้าของ บาท สต. สินทรัพย์หมุนเวียน : หนี้สินหมุนเวียน : ………………… XXX ……………… XXX ………………… XXX XXX - ……………… XXX XXX - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : หนี้สินไม่หมุนเวียน : ……………… XXX ส่วนของเจ้าของ : ……………… XXX XXX - ทุน - ชื่อ XXX หัก ขาดสุทธิ XXX ทุนทั้งสิ้น XXX หัก ถอนใช้ส่วนตัว XXX XXX - XXX - XXX -
265 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 2. ขั้นตอนการจัดทำงบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชี ประโยชน์ประการหนึ่งของกระดาษทำการ คือ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการจัดทำ งบแสดงฐานะการเงิน ดังนั้น หลังจากกิจการได้จัดทำกระดาษทำการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูล จากกระดาษทำการช่องงบแสดงฐานะการเงินมาแสดงอีกครั้งหนึ่งตามรูปแบบบัญชี ดังตัวอย่าง ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบแสดงฐานะการเงิน 3 บรรทัด ประกอบด้วย 1.1 เขียนชื่อกิจการ 1.2 เขียนคำว่า “งบแสดงฐานะการเงิน” 1.3 เขียนว่า “ณ วันที่...เดือน....พ.ศ....” ขั้นที่ 2 สร้างรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งมีรูปแบบเหมือนกับงบกำไรขาดทุนแบบ บัญชีทุกประการ ขั้นที่ 3 เขียนคำว่า “สินทรัพย์” ทางด้านเดบิต และ "หนี้สินและส่วนของเจ้าของ" ทางด้านเครดิต ขั้นที่ 4 เขียนคำว่า “สินทรัพย์หมุนเวียน” ภายใต้หัวข้อสินทรัพย์พร้อมทั้งเขียนชื่อบัญชี ประเภทสินทรัพย์หมุนเวียนและจำนวนเงิน ขั้นที่ 5 เขียนคำว่า “สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน” ให้ตรงกับ "สินทรัพย์หมุนเวียน" พร้อมทั้ง เขียนชื่อบัญชีประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนและจำนวนเงิน ขั้นที่ 6 เขียนคำว่า “หนี้สินหมุนเวียน” ภายใต้หัวข้อหนี้สิน พร้อมทั้งเขียนชื่อบัญชี ประเภทหนี้สินหมุนเวียนและจำนวนเงิน ขั้นที่7 เขียนคำว่า “หนี้สินไม่หมุนเวียน” ให้ตรงกับ "หนี้สินหมุนเวียน" พร้อมทั้งเขียนชื่อ บัญชีประเภทหนี้สินไม่หมุนเวียนและจำนวนเงิน ขั้นที่8 เขียนคำว่า “ส่วนของเจ้าของ” ให้ตรงกับคำว่าหนี้สินไม่หมุนเวียน ขั้นที่9 รายการที่แสดงภายใต้หัวข้อส่วนของเจ้าของ ประกอบด้วย 9.1 เขียนคำว่า “ทุน - ชื่อ” (ต้นงวด) ให้ตรงกับชื่อบัญชีประเภทหนี้สิน พร้อมด้วย จำนวนเงินซึ่งเป็นยอดยกมาจากงวดบัญชีของปีที่ผ่านมา 9.2 เขียนว่า “บวก กำไรสุทธิ” พร้อมกับจำนวนเงินของกำไรสุทธิซึ่งนำมาจาก งบกำไรขาดทุน 9.3 เขียนว่า “ทุนทั้งสิ้น” พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเป็นยอดรวมของข้อ 9.1 กับ 9.2 9.4 เขียนว่า “หัก ถอนใช้ส่วนตัว/เงินถอน (ถ้ามี)” พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเจ้าของ กิจการถอนไปใช้ส่วนตัวในระหว่างงวดบัญชีนั้น 9.5 ผลลัพธ์จากการคำนวณของข้อ 9.1 - 9.4 คือ ทุนปลายงวด ให้นำไปเขียนไว้ใน ช่องจำนวนเงิน
266 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ขั้นที่ 10 รวมยอดเงินทางด้านสินทรัพย์ และรวมยอดเงินทางด้านหนี้สินและ ส่วนของเจ้าของ ซึ่งจะต้องเท่ากันตามหลักของสมการบัญชีที่ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ดังตัวอย่างที่6.7 กรณีกำไรสุทธิ ร้านยอดทอง งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์ บาท สต. หนี้สินและส่วนของเจ้าของ บาท สต. สินทรัพย์หมุนเวียน : หนี้สินหมุนเวียน : เงินสด 94,500 เจ้าหนี้การค้า 60,500 - ลูกหนี้การค้า 74,000 ส่วนของเจ้าของ วัสดุสิ้นเปลือง 12,000 180,500 - ทุน-นายยอดทอง730,000 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : บวก กำไรสุทธิ 53,000 เครื่องมือ 120,000 ทุนทั้งสิ้น 783,000 รถยนต์ 540,000 660,000 - หัก ถอนใช้ส่วนตัว 3,000 780,000 - 840,500 - 840,500 - การจัดทำงบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชี กรณีกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสุทธิ มีขั้นตอนการทำเหมือนกับการทำงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงานกรณีกิจการมีผลการดำเนินงาน เป็นกำไรสุทธิทุกประการ ยกเว้นขั้นที่ 9 รายการที่แสดงภายใต้หัวข้อส่วนของเจ้าของ ประกอบด้วย 1. เขียนคำว่า“ทุน -ชื่อ” (ต้นงวด) พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเป็นยอดยกมาจากงวดบัญชีของ ปีที่ผ่านมา 2. เขียนว่า “หัก ขาดทุนสุทธิ” พร้อมกับจำนวนเงินของขาดทุนสุทธิซึ่งนำมาจากงบกำไรขาดทุน 3. เขียนว่า “ทุนทั้งสิ้น” พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเป็นผลต่างของข้อ 1 กับ 2 4. เขียนว่า “หัก ถอนใช้ส่วนตัว/เงินถอน (ถ้ามี)” พร้อมกับจำนวนเงินซึ่งเจ้าของกิจการ ได้ถอนไปใช้ส่วนตัวในระหว่างงวดบัญชีนั้น 5. ผลลัพธ์จากการคำนวณของข้อ 1- 4 คือ ทุนปลายงวด ให้นำไปเขียนไว้ในช่อง จำนวนเงิน ดังตัวอย่างที่ 6.8 กรณีขาดทุนสุทธิ
267 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ร้านสะอาดซักรีด งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 25X5 สินทรัพย์ บาท สต. หนี้สินและส่วนของเจ้าของ บาท สต. สินทรัพย์หมุนเวียน : หนี้สินหมุนเวียน : เงินสด 15,000 เจ้าหนี้-ร้านมารวยการไฟฟ้า 31,800 - ลูกหนี้การค้า 3,800 ส่วนของเจ้าของ วัสดุสิ้นเปลือง 2,500 21,300 - ทุน-นางสะอาด 85,500 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : หัก ขาดทุนสุทธิ 4,160 81,340 - อุปกรณ์ซักรีด 91,840 - 113,140 - 113,140 - 6.8.5 ประโยชน์ของงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงฐานะการเงินที่กิจการจัดทำขึ้นในแต่ละงวดบัญชีก็เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ใช้ ดังนี้ 1. เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน 2. เพื่อให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ 3. เพื่อเก็บรวบรวมสถิติและใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง 4. เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินสภาพคล่อง และความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ 5. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน และควบคุมการดำเนินงานของกิจการ
268 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน สรุปสาระสำคัญ กระดาษทำการชนิด 6 ช่อง ใช้ในกรณีที่กิจการไม่มีรายการต้องปรับปรุง จึงจัดทำขึ้นเพื่อ จำแนกประเภทบัญชีที่ปรากฏอยู่ในงบทดลอง สำหรับช่วยให้การจัดทำงบกำไรขาดทุนและ งบแสดงฐานะการเงินได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการ ดังนี้ หมวดบัญชี แสดงใน งบทดลอง (หมวด 1-5) แสดงใน งบกำไรขาดทุน (หมวด 4-5) แสดงในงบ แสดงฐานะการเงิน (หมวด 1-3) 1. สินทรัพย์ ด้านเดบิต - ด้านเดบิต 2. หนี้สิน ด้านเครดิต - ด้านเครดิต 3. ส่วนของเจ้าของ ทุน ถอนใช้ส่วนตัว ด้านเครดิต ด้านเดบิต - - ด้านเครดิต ด้านเดบิต 4. รายได้ ด้านเครดิต ด้านเครดิต - 5. ค่าใช้จ่าย ด้านเดบิต ด้านเดบิต - งบกำไรขาดทุน เป็นงบแสดงผลการดำเนินงาน กล่าวคือ รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย เรียกว่า “กำไรสุทธิ” แต่ถ้าค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ เรียกว่า “ขาดทุนสุทธิ” งบแสดงฐานะการเงิน เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการตามหลักสมการบัญชี กล่าวคือ สินทรัพย์= หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
269 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน คำศัพท์หน่วยเรียนรู้ที่ 6 กระดาษทำการ กระดาษทำการชนิด 6 ช่อง งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี รายได้ ค่าใช้จ่าย ขาดทุนสุทธิ กำไรสุทธิ รายได้หลัก งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน Working Paper or Work Sheet Six-Column Work Sheet Accounting Period Revenue Expense Net Loss Net Income Direct Revenue Profit and Loss statementor Income statement Statement of Financial Position คำศัพท์ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6
270 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน กิจกรรมฝึกทักษะ หน่วยที่ 6 รหัสวิชา 20200-1002 วิชาการบัญชีเบื้องต้น สอนครั้งที่41- 48 หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน สัปดาห์ที่ 11-12 …………………………………………………………………………………………………………………… จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกความหมายของกระดาษทำการได้ 2. บอกชนิดและรูปแบบของกระดาษทำการได้ 3. จัดทำกระดาษทำการชนิด 6 ช่องได้ 4. บอกประโยชน์ของกระดาษทำการได้ 5. บอกความหมายของงบการเงินได้ 6. บอกผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูลของผู้ใช้ได้ 7. นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงินได้ 8. เป็นผู้มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ 9. เป็นผู้ที่แต่งกายถูกต้องตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด 10. เป็นผู้ตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเวลาที่กำหนด 11. เป็นผู้ที่ไม่คัดลอกหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของ ตนเอง 12. เป็นผู้รู้จักประหยัด และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี คำสั่ง 1. ให้แบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่ม เลขานุการ และสมาชิก ทุกคนร่วมกันปรึกษาหารือตอบคำถามที่ได้รับมอบหมายข้างล่างนี้ โดยศึกษาค้นคว้าความรู้ จากเอกสารประกอบการเรียน หน่วยที่ 6 และสื่อต่าง ๆ มาประกอบ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กลุ่มอื่น ๆ ได้รับทราบ 2. ให้ผู้เรียนร่วมกันศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระดาษทำการ 6 ช่องและ งบการเงินโดยจัดทำรายงานในหัวข้อ ดังนี้ 2.1 ความหมายของกระดาษทำการ และชนิดและรูปแบบของกระดาษทำการ 2.2 การจัดทำกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง 2.3 ประโยชน์ของกระดาษทำการ
271 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน 2.4 ความหมายของงบการเงิน และผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูลของผู้ใช้ วิธีการนำเสนอ 1. จัดนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2. จัดทำเป็นรูปเล่มรายงานส่งหลังนำเสนอ แบบประเมินผลกิจกรรมฝึกทักษะ หน่วยที่ 6 กลุ่มที่......................ชื่อสมาชิก. 1....................................2................................... 3....................................4..................................5.......................... รายการประเมิน ดี (5) พอใช้ (3) ปรับปรุง (1) 1. ความถูกต้องของผลงาน 1.1 ข้อมูลถูกต้องตามหัวข้อที่ กำหนด 1.2 เนื้อหาทันสมัย ปฏิบัติได้ ครบถ้วนทุกข้อ ปฏิบัติได้ 2 ข้อ ปฏิบัติได้ 1 ข้อ 2. วิธีการนำเสนอ 2.1 การนำเสนอน่าสนใจ 2.2 บุคลิกภาพเหมาะสม 2.3 น้ำเสียงดัง ฟังชัด ปฏิบัติได้ ครบถ้วนทุกข้อ ปฏิบัติได้ 2 ข้อ ปฏิบัติได้1 ข้อ 3. ความร่วมมือในการทำงาน 3.1 มีการแบ่งงานกันทำ 3.2 มีความรับผิดชอบ 3.3 ทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด ปฏิบัติได้ ครบถ้วนทุกข้อ ปฏิบัติได้ 2 ข้อ ปฏิบัติได้ 1 ข้อ คะแนน คะแนนรวม ลงชื่อ........................................................ผู้ประเมิน (..................................................) สรุปผลการประเมิน ดี พอใช้ ปรับปรุง
272 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ คะแนน 1 – 5 มีทักษะอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง คะแนน 6 – 10 มีทักษะอยู่ในระดับที่พอใช้ คะแนน 11 – 15 มีทักษะอยู่ในระดับที่ดี กิจกรรมเสริมทักษะ หน่วยที่ 6 รหัสวิชา 20200-1002 วิชาการบัญชีเบื้องต้น สอนครั้งที่41-48 หน่วยที่6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน สัปดาห์ที่ 11-12 ………………………………………………………………………………………………………………………… จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกความหมายของกระดาษทำการได้ 2. บอกชนิดและรูปแบบของกระดาษทำการได้ 3. จัดทำกระดาษทำการชนิด 6 ช่องได้ 4. บอกประโยชน์ของกระดาษทำการได้ 5. บอกความหมายของงบการเงินได้ 6. บอกผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูลของผู้ใช้ได้ 7. จัดทำงบกำไรขาดทุนตามข้อมูลที่กำหนดได้ 8. จัดทำงบแสดงฐานะการเงินตามข้อมูลที่กำหนดได้ 9. เป็นผู้มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ 10. เป็นผู้ที่แต่งกายถูกต้องตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด 11. เป็นผู้ตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเวลาที่กำหนด 12. เป็นผู้ที่ไม่คัดลอกหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็น ของตนเอง 13. เป็นผู้รู้จักประหยัด และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
273 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน กิจกรรมเสริกิจกรรมเสริ คำสั่ง จงทำเครื่องหมาย √ ในช่องเดบิตหรือเครดิตที่มีชื่อบัญชีต่อไปนี้จะปรากฏยอดคงเหลือ ในงบทดลอง งบกำไรขาดทุน หรืองบแสดงฐานะการเงิน ชื่อบัญชี งบทดลอง งบกำไรขาดทุน งบแสดง ฐานะการเงิน เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต เดบิต เครดิต 1. ค่าเช่าร้าน 2. เงินกู้ 3. วัสดุสิ้นเปลือง 4. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 5. ค่าโฆษณา 6. ทุน-นางสะอาด 7. เงินเดือน 8. รายได้เบ็ดเตล็ด 9. เงินสด 10. ค่าสาธารณูปโภค 11. ค่าเบี้ยประกัน 12. อุปกรณ์สำนักงาน 13. ถอนใช้ส่วนตัว 14. ลูกหนี้การค้า 15. รายได้ค่าบริการ 16. เงินฝากธนาคาร 17. ค่าเช่า 18. เจ้าหนี้การค้า 19. ค่าไปรษณีย์ 20. อาคาร กิจกรรมเสริมทักษะ 6.1
274 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ต่อไปนี้เป็นงบทดลองของร้านยินดีซักรีด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ร้านยินดีซักรีด งบทดลอง วันที่31 ธันวาคม 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต บาท สต. บาท สต. เงินสด 101 100,000 - เงินฝากธนาคาร 102 46,000 - ลูกหนี้การค้า 103 25,000 - วัสดุสำนักงาน 104 20,000 - อุปกรณ์สำนักงาน 105 40,000 - เจ้าหนี้การค้า 201 50,000 - ทุน–นางยินดี 301 150,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 2,000 - รายได้ค่าบริการ 401 60,500 - รายได้เบ็ดเตล็ด 402 10,500 - ค่าเบี้ยประกัน 501 10,000 - ค่าสาธารณูปโภค 502 3,500 - ค่าโฆษณา 503 5,000 - ค่าพาหนะ 504 4,500 - เงินเดือน 505 15,000 - 271,000 - 271,000 - ให้ทำ 1. กระดาษทำการชนิด 6 ช่อง สำหรับระยะเวลา 1 ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 กิจกรรมเสริมทักษะ 6.2
275 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ต่อไปนี้เป็นงบทดลองของร้านนภาบริการ รอบระยะเวลา 1 ปี ร้านนภาบริการ งบทดลอง วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต บาท สต. บาท สต. เงินสด 101 46,740 - เงินฝากธนาคาร 102 35,000 - วัสดุสิ้นเปลือง 103 16,760 - อุปกรณ์สำนักงาน 104 30,000 - รถยนต์ 105 500,000 - เงินกู้ธนาคาร 201 300,000 - เจ้าหนี้จำนอง 202 300,000 - ทุน–นางสาวนภา 301 70,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 8,000 - รายได้ค่าบริการ 401 23,000 - เงินเดือน 501 24,000 - ค่าโฆษณา 502 30,000 - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 503 2,500 - 693,000 - 693,000 - ให้ทำ 1. กระดาษทำการชนิด 6 ช่อง สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 กิจกรรมเสริมทักษะ 6.3
276 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 6 กระดาษทำการ 6 ช่องและงบการเงิน ต่อไปนี้เป็นงบทดลองของร้านแมงปอ รอบระยะเวลา 3 เดือน ร้านแมงปอบริการ งบทดลอง วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต บาท สต. บาท สต. เงินสด 101 5,000 - ลูกหนี้การค้า 102 1,000 - รถยนต์ 103 60,000 - อาคาร 104 80,000 - เจ้าหนี้การค้า 201 3,000 - ทุน–นางสาวแมงปอ 301 140,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 500 - รายได้ค่าบริการ 401 27,500 - รายได้เบ็ดเตล็ด 402 1,250 - ค่าเช่า 501 1,000 - ค่าน้ำ–ค่าไฟ 502 1,750 - เงินเดือน 503 22,500 - 171,750 - 171,750 - ให้ทำ 1. กระดาษทำการ 6 ช่อง 2. งบกำไรขาดทุนแบบบัญชีและแบบรายงาน (แบบขั้นเดียว) 3. งบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชีและแบบรายงาน กิจกรรมเสริมทักษะ 6.4