The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Hasnah Chewo, 2023-06-01 00:11:46

หน่วยที่ 7

หน่วยที่ 7

283 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี


284 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี รายการปรับปรุงบัญชี สาระการเรียนรู้หน่วยที่ 7 1. ความหมาย ลักษณะ และประเภทของรายการปรับปรุงบัญชี 2. การบันทึกรายการปรับปรุงรายได้ค้างรับ 3. การบันทึกรายการปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า 4. การบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 5. การบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 6. การบันทึกรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคา 7. การบันทึกรายการปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลือง 8. การบันทึกรายการปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญ 9. งบทดลองหลังรายการปรับปรุง สมรรถนะประจำหน่วย หน่วยที่ 7 1. แสดงความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรายการปรับปรุงบัญชี 2. ปฏิบัติการบัญชีเกี่ยวกับรายการปรับปรุงและงบทดลองหลังรายการปรับปรุง ตามหลักการ บัญชี 3. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับรายการปรับปรุงบัญชีได้ 4. มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่กำหนด จุดประสงค์การเรียนรู้หน่วยที่ 7 1. จุดประสงค์ทั่วไป 1.1 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรายการปรับปรุงบัญชี 1.2 เพื่อให้มีทักษะในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรายการปรับปรุงบัญชี หน่วยที่ 7


285 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี 1.3 เพื่อให้มีกิจนิสัย มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลามีเจตคติ ที่ดีต่อวิชาชีพบัญชีและปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ด้านพุทธิพิสัย 2.1 บอกความหมาย ลักษณะ และประเภทของรายการปรับปรุงบัญชีได้ ด้านทักษะพิสัย 2.2 บันทึกรายการปรับปรุงรายได้ค้างรับได้ 2.3 บันทึกรายการปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้าได้ 2.4 บันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่ายได้ 2.5 บันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าได้ 2.6 บันทึกรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาได้ 2.7 บันทึกรายการปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลืองได้ 2.8 บันทึกรายการปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญได้ 2.9 จัดทำงบทดลองหลังรายการปรับปรุงได้ 2.10 นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรายการปรับปรุงบัญชีได้ ด้านจิตพิสัย 2.11 เป็นผู้มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ 2.12 เป็นผู้ที่แต่งกายถูกต้องตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด 2.13 เป็นผู้ตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเวลาที่กำหนด 2.14 เป็นผู้ที่ไม่คัดลอกหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้าง เป็นของตนเอง 2.15 เป็นผู้รู้จักประหยัด และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี


286 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ผังสาระการเรียนรู้ หน่วยที่ 7 7. รายการปรับปรุงบัญชี 7.1 ความหมาย ลักษณะ และประเภท ของรายการปรับปรุงบัญชี 7.2 การบันทึกรายการปรับปรุงรายได้ค้างรับ 7.3 การบันทึกรายการปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า 7.4 การบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 7.5 การบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 7.6 การบันทึกรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคา 7.7 การบันทึกรายการปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลือง 7.8 การบันทึกรายการปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญ 7.9 งบทดลองหลังรายการปรับปรุง


287 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 7 คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว 1. ข้อใดคือสูตรการคำนวณวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ก. วัสดุสิ้นเปลืองปลายงวด – ซื้อระหว่างปี + วัสดุสิ้นเปลืองต้นงวด = วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ข. วัสดุสิ้นเปลืองต้นงวด + ซื้อระหว่างปี – วัสดุสิ้นเปลืองปลายงวด = วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ค. ซื้อระหว่างปี + วัสดุสิ้นเปลืองต้นงวด – วัสดุสิ้นเปลืองปลายงวด = วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ง. วัสดุสิ้นเปลืองปลายงวด – ซื้อระหว่างปี– วัสดุสิ้นเปลืองต้นงวด = วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 2. ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการยังไม่ได้จ่ายค่าไฟฟ้า 3,800 บาท ต้องปรับปรุงบัญชีตามข้อใด ก. เดบิต ค่าไฟฟ้า 3,800 เครดิต ค่าไฟฟ้าค้างจ่าย 3,800 ข. เดบิต ค่าไฟฟ้าค้างจ่าย 3,800 เครดิต เงินสด 3,800 ค. เดบิต ค่าไฟฟ้า 3,800 เครดิต เงินสด 3,800 ง. เดบิต ค่าไฟฟ้าจ่ายล่วงหน้า 3,800 เครดิต เงินสด 3,800 3. วันที่1 กันยายน 25X5 กิจการจ่ายค่าเช่าอาคารสำหรับระยะเวลา6 เดือน เป็นเงิน 12,000 บาท โดยบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ในวันสิ้นงวดจะต้องปรับปรุงบัญชีตามข้อใด ก. เดบิต ค่าเช่าอาคาร 4,000 เครดิต ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า 4,000 ข. เดบิต ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า 12,000 เครดิต ค่าเช่าอาคาร 12,000 ค. เดบิต ค่าเช่าอาคาร 12,000 เครดิต ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า 12,000 ง. เดบิต ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า 4,000 เครดิต ค่าเช่าอาคาร 4,000 4. รายได้ค่าเช่าค้างรับปรับปรุงตามหลักการในข้อใด ก. เดบิต รายได้ค่าเช่า เครดิต รายได้ค่าเช่าค้างรับ ข. เดบิต รายได้ค่าเช่าค้างรับ เครดิต รายได้ค่าเช่า ค. เดบิต รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า เครดิต รายได้ค่าเช่าค้างรับ ง. เดบิต รายได้ค่าเช่าค้างจ่าย เครดิต รายได้ค่าเช่าค้างรับ 5. เมื่อวันที่1 มกราคม 25X5 กิจการซื้อรถบรรทุกราคา 500,000 บาท คาดว่าจะมีอายุการใช้- ประโยชน์15 ปีหลังจากนั้นจะมีมูลค่าคงเหลือ 50,000 บาท ต้องปรับปรุงบัญชีตามข้อใด ก. เดบิต ค่าเสื่อมราคาสะสม–รถบรรทุก 50,000 เครดิต ค่าเสื่อมราคา–รถบรรทุก 50,000 ข. เดบิต ค่าเสื่อมราคา–รถบรรทุก 50,000 เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม–รถบรรทุก 50,000 ค. เดบิต ค่าเสื่อมราคาสะสม–รถบรรทุก 30,000 เครดิต ค่าเสื่อมราคา–รถบรรทุก 30,000 ง. เดบิต ค่าเสื่อมราคา–รถบรรทุก 30,000 เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม–รถบรรทุก 30,000


288 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี 6. ณ วันที่31 ธันวาคม 25X5 กิจการมียอดขายบริการเป็นเงินเชื่อ 80,000 บาท และมีนโยบาย ให้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 4% ของยอดขายเชื่อ ต้องปรับปรุงบัญชีตามข้อใด ก. เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ 3,200 เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 3,200 ข. เดบิต ค่าเผื่อหนี้จะสูญ 3,200 เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ 3,200 ค. เดบิต หนี้สูญ 3,200 เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 3,200 ง. เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 3,200 เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ 3,200 7. รับเงินค่านายหน้า 5,000 บาท เป็นค่านายหน้ารับล่วงหน้า สำหรับระยะเวลา 6 เดือน เป็นรายการปรับปรุงข้อใด ก. รายได้ค้างรับ ข. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค. รายได้รับล่วงหน้า ง. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 8. เมื่อวันที่ 1 มกราคม 25X5 กิจการมีวัสดุสำนักงานยกมา 2,000 บาท ระหว่างปีซื้อ วัสดุสำนักงานเพิ่มเป็นเงิน 6,000 บาท ปลายปีมีวัสดุสำนักงานคงเหลือ 1,000 บาท ต้องปรับปรุงบัญชีตามข้อใด ก. เดบิต วัสดุสำนักงานใช้ไป 1,000 เครดิต วัสดุสำนักงาน 1,000 ข. เดบิต วัสดุสำนักงานใช้ไป 7,000 เครดิต วัสดุสำนักงาน 7,000 ค. เดบิต วัสดุสำนักงาน 1,000 เครดิต วัสดุสำนักงานใช้ไป 1,000 ง. เดบิต วัสดุสำนักงาน 7,000 เครดิต วัสดุสำนักงานใช้ไป 7,000 9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเกี่ยวกับงบทดลองหลังปรับปรุง ก. จัดทำ ณ วันสิ้นงวด ข. จัดทำหลังรายการปรับปรุง ค. แสดงยอดคงเหลือเฉพาะสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ง. แสดงยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภททุกบัญชี 10. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงบัญชี ก. เพื่อการปรับปรุงบัญชีต่าง ๆ ก่อนจัดทำงบทดลอง ข. เพื่อหายอดคงเหลือของสินทรัพย์และหนี้สินของแต่ละงวดบัญชี ค. เพื่อหายอดรายได้และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของแต่ละงวดบัญชี ง. เพื่อแก้ไขรายการบัญชีให้ถูกต้องตามความเป็นจริงของแต่ละงวดบัญชี แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 7


289 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี หน่วยที่7 รายการปรับปรุงบัญชี สาระสำคัญ รายการปรับปรุงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำบัญชีและเป็นขั้นตอนหนึ่งที่นักบัญชีควร ปฏิบัติ การบันทึกรายการปรับปรุง จะทำให้ยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทแสดงยอดที่ถูกต้องตรง กับความเป็นจริงในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ๆ มีผลทำให้การจัดทำงบการเงินถูกต้อง เมื่อเจ้าของ กิจการ ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ จะช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 7.1 ความหมาย ลักษณะ และประเภทของรายการปรับปรุงบัญชี 7.1.1 ความหมายของรายการปรับปรุงบัญชี รายการปรับปรุงบัญชี (Adjusting Entries) หมายถึง การบันทึกเพื่อแก้ไขรายการทาง บัญชีบางรายการในวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อทำให้ยอดรายได้และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แสดงยอดเงินที่แท้จริง ของงวดบัญชีนั้น ๆ ก่อนที่จะนำไปจัดทำงบกำไรขาดทุน และยังส่งผลทำให้สินทรัพย์ หนี้สินที่จะนำไป ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงินมียอดเงินที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงของงวดบัญชีนั้น จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น การปรับปรุงบัญชีจะทำให้เกิดผล 2 ด้าน ดังนี้ 1. มีผลต่องบกำไรขาดทุน เนื่องจากการปรับปรุงบัญชีจะทำให้ได้ยอดเงินของบัญชีหมวด รายได้และค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของงวดบัญชีนั้น ๆ เมื่อนำไปจัดทำงบกำไรขาดทุนก็จะได้ยอดกำไรหรือ ขาดทุนที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่แท้จริง 2. มีผลต่องบแสดงฐานะการเงิน เนื่องจากการปรับปรุงบัญชีทำให้ได้ยอดเงินของบัญชี หมวดสินทรัพย์และหนี้สินที่แท้จริงของงวดบัญชีนั้น ๆ เมื่อนำไปจัดทำงบแสดงฐานะการเงินจะทำให้ ทราบฐานะการเงินที่แท้จริง 7.1.2 ลักษณะของรายการที่ต้องปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวดบัญชี ลักษณะของรายการที่ต้องปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี มีดังนี้ 1. รายการค้าที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดแต่กิจการยังไม่ได้บันทึกบัญชีซึ่งมีผลทำให้รายได้ หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้นแสดงยอดที่ต่ำกว่าความเป็นจริง จึงต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้อง เช่น กิจการยังไม่ได้รับค่าบริการจากลูกค้าประจำเดือนธันวาคม จำนวนเงิน 450 บาท ยังไม่บันทึกบัญชี


290 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ส่งผลทำให้ยอดบัญชีรายได้ค่าบริการของงวดบัญชีนั้นต่ำกว่าความเป็นจริงจำนวน 450 บาท จึงต้อง ปรับปรุงเพื่อเพิ่มยอดบัญชีรายได้ค่าบริการในวันสิ้นงวดบัญชีนั้นให้ถูกต้อง เป็นต้น 2. รายการค้าที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดและกิจการได้บันทึกบัญชีไว้แล้ว แต่จำนวนเงินที่ บันทึกไว้ได้รวมจำนวนเงินบางส่วนของงวดบัญชีถัดไปเอาไว้ด้วย ในการจัดทำงบกำไรขาดทุน ตามเกณฑ์คงค้างจะต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายเฉพาะของงวดบัญชีปัจจุบันเท่านั้น จึงต้องทำการ ปรับปรุงให้ถูกต้อง เช่น เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 25X5 กิจการจ่ายค่าเช่าร้านสำหรับ 3 เดือน เดือนละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท จะเห็นได้ว่าจำนวนเงินค่าเช่าร้าน 6,000 บาท เป็นของงวดบัญชีปัจจุบัน คือ ปี25X5 เท่ากับ 2 เดือน จำนวนเงิน 4,000 บาท และเป็นของ งวดบัญชีถัดไป 1 เดือน จำนวนเงิน 2,000 บาท แต่ในวันที่จ่ายเงินค่าเช่าร้านในปี 25X5 ได้บันทึก บัญชีโดยเดบิตค่าเช่าร้าน 6,000 บาท และเครดิตเงินสด 6,000 บาท ทำให้ค่าเช่าร้านของปี 25X5 สูงกว่าความเป็นจริงจำนวน 2,000 บาท จึงต้องทำการปรับปรุงเพื่อลดยอดบัญชีค่าเช่าร้านให้ถูกต้อง เป็นต้น 3. รายการค้าที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดและกิจการได้บันทึกบัญชีไว้ผิด จึงต้องปรับปรุงให้ ถูกต้อง เช่น กิจการจ่ายเงินค่ารับรองลูกค้า จำนวน 230 บาท แต่บันทึกเป็น 320 บาท ส่งผลทำให้ ยอดในบัญชีค่ารับรองลูกค้าของงวดบัญชีนั้นสูงกว่าความเป็นจริงจำนวน 90 บาท จึงต้องปรับปรุงเพื่อ ลดยอดค่ารับรองลูกค้าในวันสิ้นงวดบัญชีนั้นให้ถูกต้อง เป็นต้น 7.1.3 ขั้นตอนการปรับปรุงบัญชี การปรับปรุงบัญชีให้กระทำในวันสิ้นงวดบัญชีตามขั้นตอน ดังนี้ 1. บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป 2. ผ่านรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป ไปบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง 3. จัดทำงบทดลองหลังการปรับปรุง ซึ่งจะได้งบทดลองที่ถูกต้องพร้อมที่จะนำไปจัดทำ งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินต่อไป 7.1.4 ประเภทของรายการปรับปรุงบัญชี รายการปรับปรุงบัญชีประกอบด้วย 1. รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) หมวด 1 สินทรัพย์หมุนเวียน 2. รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Revenue) หมวด 2 หนี้สินหมุนเวียน 3. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมวด 2 หนี้สินหมุนเวียน 4. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมวด 1 สินทรัพย์หมุนเวียน 5. ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) หมวด 5 ค่าใช้จ่าย 6. วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป (Supplies Used) หมวด 5 ค่าใช้จ่าย 7. หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts) หมวด 5 ค่าใช้จ่าย


291 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี 7.2 การบันทึกรายการปรับปรุงรายได้ค้างรับ 7.2.1 ความหมายของรายได้ค้างรับ รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่กิจการยังไม่ได้รับเงิน โดยจะได้รับเงินในงวดบัญชีถัดไป ดังนั้น รายได้ค้างรับจึงเป็นบัญชีหนึ่ง ในหมวดสินทรัพย์ 7.2.2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงรายได้ค้างรับ รายได้ค้างรับเกิดจากกิจการได้ให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงิน ซึ่งตามเกณฑ์คงค้าง ถือว่ามีรายได้เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่เมื่อกิจการยังไม่ได้รับเงินจึงไม่ได้บันทึกบัญชีประเภท รายได้และสินทรัพย์ มีผลทำให้รายได้และสินทรัพย์ของกิจการในงวดบัญชีนั้น ต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้นในวันสิ้นงวดบัญชีจึงต้องปรับปรุงให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง 7.2.3 วิธีการปรับปรุงรายได้ค้างรับ การปรับปรุงรายได้ค้างรับ มีหลักการพิจารณาดังนี้ 1. ต้องเป็นรายการที่ก่อให้เกิดรายได้ในงวดบัญชีปัจจุบันตามเกณฑ์คงค้าง 2. รายได้ที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการยังไม่ได้รับเงิน 3. ถ้าหากพิจารณาแล้วเห็นว่ารายการค้านั้นก่อให้เกิดรายได้ขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชี กิจการยังไม่ได้รับเงินจากลูกค้าก็ให้ปรับปรุงเป็นรายได้ค้างรับ 4. บันทึกรายการปรับปรุงรายได้ค้างรับในวันสิ้นงวดบัญชี ดังนี้ เดบิต รายได้ค้างรับ (หมวดสินทรัพย์) XX เครดิต รายได้ (หมวดรายได้) XX 5. บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีด้วยจำนวนเงินที่ค้างรับทั้งสิ้น ตัวอย่างที่ 7.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ซึ่งเป็นวันสิ้นงวดบัญชี ร้านมีฟ้ายังไม่ได้ รับค่านายหน้า จำนวน 8,000 บาท (ในระหว่างงวดได้รับเงินค่านายหน้ามาแล้วจำนวน 10,000 บาท) กำหนดให้งวดบัญชีมีระยะเวลา 12 เดือน โดยนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันต้นงวดบัญชี และวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นงวดบัญชี


292 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 3 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ธ.ค. 31 รายได้ค่านายหน้าค้างรับ 105 8,000 - รายได้ค่านายหน้า 401 8,000 - ปรับปรุงรายได้ค่านายหน้า ค้างรับ ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ รายได้ค่านายหน้าค้างรับ เลขที่ 105 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือนวันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 รายได้ค่านายหน้า ร.ว.3 8,000 - รายได้ค่านายหน้า เลขที่ 401 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ระหว่างงวด เงินสด ร.ว.1 10,000 - ธ.ค. 31 รายได้ค่านายหน้าค้างรับ ร.ว.3 8,000 - 18,000 - แสดงรายได้ค่านายหน้าในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านมีฟ้า งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 25X5 รายได้ : รายได้ค่านายหน้า 18,000.-


293 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แสดงรายได้ค่านายหน้าค้างรับในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านมีฟ้า งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์หมุนเวียน : รายได้ค่านายหน้าค้างรับ 8,000.- 7.3 การบันทึกรายการปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า 7.3.1 ความหมายของรายได้รับล่วงหน้า รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Revenue) หมายถึง รายได้ส่วนที่เป็นของงวดบัญชีถัดไป แต่กิจการได้รับเงินมาแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน จึงมีผลทำให้กิจการมีภาระที่จะต้องให้บริการแก่ลูกค้า ในงวดบัญชีถัดไป ดังนั้น บัญชีรายได้รับล่วงหน้าจึงถือเป็นบัญชีหนึ่งในหมวดหนี้สิน 7.3.2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า เนื่องจากในงวดบัญชีปัจจุบันกิจการได้รับรายได้ค่าบริการจากลูกค้ามาจำนวนหนึ่ง ซึ่งรายได้ค่าบริการจำนวนนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนที่เป็นของงวดบัญชีปัจจุบัน ซึ่งกิจการให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว จึงถือเป็นรายได้ ของงวดบัญชีปัจจุบัน ยอดเงินส่วนนี้ถือเป็นบัญชีหนึ่งในหมวดรายได้ 2. ส่วนที่เป็นของงวดบัญชีถัดไป ซึ่งกิจการมีภาระต้องให้บริการแก่ลูกค้าในงวดบัญชี ถัดไปเรียกว่า รายได้รับล่วงหน้า ยอดเงินส่วนนี้ถือเป็นบัญชีหนึ่งในหมวดหนี้สิน 7.3.3 หลักการปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า จะเห็นได้ว่ายอดเงินค่าบริการที่กิจการรับมาทั้งจำนวนนั้นประกอบด้วย 2 หมวด ยอดเงินเดียวกัน คือ หมวดรายได้และหมวดหนี้สิน ดังนั้น ในวันที่กิจการรับเงินค่าบริการอาจบันทึกไว้ เป็นรายได้เช่น (รายได้ค่าบริการ) ทั้งจำนวนหรือหนี้สิน (รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า) ทั้งจำนวน จึงมีหลักพิจารณา ในการปรับปรุง ดังนี้ 1. ถ้าวันที่รับเงินกิจการบันทึกไว้เป็นรายได้ (เครดิต รายได้) ของงวดบัญชีปัจจุบัน ทั้งจำนวน จะทำให้รายได้ของงวดบัญชีปัจจุบันสูงกว่าความเป็นจริง เพราะยอดเงินนั้นได้รวม รายได้ของปีถัดไปเอาไว้ด้วย จึงต้องทำการปรับปรุงลดยอดรายได้(เดบิต รายได้) และยังส่งผลทำให้ หนี้สิน (รายได้รับล่วงหน้า) แสดงยอดที่ถูกต้องตามความเป็นจริง


294 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี 2. ถ้าวันที่รับเงินกิจการบันทึกไว้เป็นหนี้สิน (เครดิต รายได้รับล่วงหน้า) ของงวดบัญชี ปัจจุบันทั้งจำนวน จะทำให้หนี้สินของกิจการสูงกว่าความเป็นจริง เพราะในวันสิ้นงวดบัญชีปัจจุบัน ยอดเงินจำนวนนี้จะถูกโอนไปเป็นรายได้ส่วนหนึ่งตามบริการที่กิจการได้ให้แก่ลูกค้าแล้ว จึงต้อง ทำการปรับปรุงลดยอดหนี้สิน (เดบิต รายได้รับล่วงหน้า) และยังส่งผลทำให้บัญชีรายได้แสดงยอด ที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง 7.3.4 วิธีปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า การปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้าจะบันทึกการปรับปรุงอย่างไรขึ้นอยู่กับการบันทึกบัญชีในวันที่ รับเงินค่าบริการเป็นหลัก ซึ่งมีวิธีการบันทึกบัญชี2 วิธี ดังนี้ 1. วันที่รับเงินค่าบริการบันทึกไว้เป็นรายได้ของงวดบัญชีปัจจุบันทั้งจำนวน 2. วันที่รับเงินค่าบริการบันทึกไว้เป็นหนี้สินของงวดบัญชีปัจจุบันทั้งจำนวน วิธีที่ 1 วันที่กิจการได้รับเงินค่าบริการจากลูกค้า ได้บันทึกไว้เป็นรายได้ของงวดบัญชี ปัจจุบันทั้งจำนวน มีหลักในการพิจารณาปรับปรุง ดังนี้ (1) ต้องเป็นรายการที่กิจการได้รับเงินค่าบริการจากลูกค้ามาก่อนทั้ง ๆ ที่กิจการยังไม่ได้ ให้บริการหรือให้บริการแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ครบตามข้อตกลง (2) วันที่รับเงินค่าบริการกิจการบันทึกไว้เป็นรายได้ (เครดิต รายได้) ทั้งจำนวน ในงวดบัญชีปัจจุบัน (3) จำนวนเงินค่าบริการที่กิจการได้รับมาจากลูกค้านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นของงวดบัญชีปัจจุบันซึ่งถือเป็นรายได้ (รายได้) อีกส่วนหนึ่งเป็นของงวดบัญชีถัดไป ถือเป็นหนี้สิน (รายได้รับล่วงหน้า) (4) เมื่อสิ้นงวดบัญชีกิจการต้องปรับปรุงลดยอดรายได้(เดบิต รายได้) ด้วยจำนวนเงิน ส่วนที่เป็นของงวดบัญชีถัดไป (ส่วนที่เป็นรายได้รับล่วงหน้า) เพื่อทำให้จำนวนเงินของบัญชีรายได้ ที่เหลือเป็นของงวดบัญชีปัจจุบันที่แท้จริง และยังส่งผลทำให้หนี้สิน (รายได้รับล่วงหน้า) แสดงยอด ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง (5) บันทึกรายการปรับปรุง ดังนี้ บันทึกบัญชีในวันที่รับเงิน เป็นรายได้ทั้งจำนวน บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี เดบิต เงินสด XX เครดิต รายได้ (หมวดรายได้) XX เดบิต รายได้ (หมวดรายได้) XX เครดิต รายได้รับล่วงหน้า (หมวดหนี้สิน) XX (6) บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีด้วยจำนวนเงินเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้ ให้บริการเป็นรายได้ของงวดบัญชีถัดไป (รายได้รับล่วงหน้า)


295 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ตัวอย่างที่ 7.2 ร้านมานะแบ่งชั้นบนของสำนักงานให้ลูกค้าเช่าในราคาห้องละ 600 บาท ต่อเดือน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 25X5 ลูกค้ารายหนึ่งนำเงินมาชำระให้จำนวนเงิน 2,400 บาท สำหรับ ระยะเวลา 4 เดือน กิจการบันทึกการรับเงินค่าเช่าไว้เป็นรายได้ทั้งจำนวน และกำหนดให้งวดบัญชี มีระยะเวลา 12 เดือน โดยนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันต้นงวดบัญชีและวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นงวดบัญชีวิเคราะห์โจทย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ได้ดังนี้ วิธีการคำนวณ รายได้ค่าเช่า 4 เดือน 2,400 (1 เดือน = 2,400/4 = 600 บาท) งวดบัญชีปัจจุบัน (25X5) 3 เดือน 600x3 =1,800 งวดบัญชีถัดไป (25X6) 1 เดือน 600x1= 600 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. เป็นรายได้ของงวดบัญชีปัจจุบัน = 1,800 บาท เป็นรายได้ของปีถัดไป = 600 บาท (รายได้ค่าเช่า) (รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า) การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป บันทึกรายการในวันที่รับเงิน ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ต.ค. 1 เงินสด 101 2,400 - รายได้ค่าเช่า 401 2,400 - รายได้ค่าเช่าสำหรับเวลา 4 เดือน บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 5 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ธ.ค. 31 รายได้ค่าเช่า 401 600 - รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า 203 600 - ปรับปรุงรายได้ค่าเช่าโอนเป็น รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า 1 เดือน


296 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า เลขที่ 203 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 รายได้ค่าเช่า ร.ว.5 600 - รายได้ค่าเช่า เลขที่401 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า ร.ว.5 600 - ต.ค. 1 เงินสด ร.ว.1 2,400 - 1,800.- แสดงรายได้ค่าเช่าในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านมานะ งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 รายได้ : รายได้ค่าเช่า 1,800.- แสดงรายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้าในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านมานะ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่31 ธันวาคม 25X5 หนี้สินหมุนเวียน : รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า 600.- วิธีที่ 2 วันที่รับเงินค่าบริการบันทึกไว้เป็นหนี้สินของงวดบัญชีปัจจุบันทั้งจำนวน มีหลัก ในการพิจารณาปรับปรุง ดังนี้ (1) ต้องเป็นรายการที่กิจการได้รับเงินค่าบริการจากลูกค้ามาก่อนทั้ง ๆ ที่กิจการยังไม่ได้ ให้บริการหรือให้บริการแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ครบตามข้อตกลง (2) วันที่รับเงินค่าบริการกิจการบันทึกไว้เป็นหนี้สิน (เครดิต รายได้รับล่วงหน้า) ทั้งจำนวนในงวดบัญชีปัจจุบัน


297 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี (3) จำนวนเงินค่าบริการที่กิจการได้รับมาจากลูกค้านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นของงวดบัญชีปัจจุบันซึ่งถือเป็นรายได้(รายได้) อีกส่วนหนึ่งเป็นของงวดบัญชีถัดไป ถือเป็นหนี้สิน (รายได้รับล่วงหน้า) (4) เมื่อสิ้นงวดบัญชีกิจการต้องปรับปรุงลดยอดหนี้สิน (เดบิต รายได้รับล่วงหน้า) ด้วยจำนวนเงินส่วนที่เป็นรายได้ของงวดบัญชีปัจจุบัน อันจะส่งผลทำให้บัญชีรายได้แสดงยอด ที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง (5) บันทึกรายการปรับปรุง ดังนี้ บันทึกบัญชีในวันที่รับเงิน เป็นรายได้รับล่วงหน้าทั้งจำนวน บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี เดบิต เงินสด XX เครดิต รายได้รับล่วงหน้า (หมวดหนี้สิน) XX เดบิต รายได้รับล่วงหน้า (หมวดหนี้สิน) XX เครดิต รายได้ (หมวดรายได้) XX (6) บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีด้วยจำนวนเงินที่เป็นรายได้ของงวด บัญชีปัจจุบัน ตัวอย่างที่ 7.3 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 25X5 ร้านบัดดี้ไอที รับเงินค่าโฆษณาสำหรับ ระยะเวลา 5 เดือน จำนวน 3,000 บาท กิจการบันทึกการรับเงินค่าโฆษณาเป็นค่าโฆษณารับล่วงหน้า ทั้งจำนวน และกำหนดให้งวดบัญชีมีระยะเวลา 12 เดือน โดยนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันต้นงวดบัญชี และวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ้นงวดบัญชีวิเคราะห์โจทย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ได้ดังนี้ วิธีการคำนวณ รายได้ค่าโฆษณา 5 เดือน 3,000 บาท (1 เดือน = 3,000/5 = 600 บาท) งวดบัญชีปัจจุบัน (25X5) 3 เดือน 600x3 =1,800 งวดบัญชีถัดไป (25X6) 2 เดือน 600x2= 1,200 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. เป็นรายได้ของงวดบัญชีปัจจุบัน = 1,800 บาท เป็นรายได้ของปีถัดไป = 1,200 บาท (รายได้ค่าโฆษณา) (รายได้ค่าโฆษณารับล่วงหน้า)


298 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป บันทึกรายการในวันที่รับเงิน ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ต.ค. 1 เงินสด 101 3,000 - รายได้ค่าโฆษณารับล่วงหน้า 203 3,000 - รายได้ค่าโฆษณารับล่วงหน้า สำหรับเวลา 5 เดือน บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 4 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ธ.ค. 31 รายได้ค่าโฆษณารับล่วงหน้า 203 1,800 - รายได้ค่าโฆษณา 402 1,800 - ปรับปรุงรายได้ค่าโฆษณา รับล่วงหน้าโอนเป็นรายได้ ค่าโฆษณา 3 เดือน ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ รายได้ค่าโฆษณารับล่วงหน้า เลขที่ 203 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 รายได้ค่าโฆษณา ร.ว.4 1,800 - ต.ค. 1 เงินสด ร.ว.1 3,000 - 1,200.- รายได้ค่าโฆษณา เลขที่402 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 รายได้ค่าโฆษณารับล่วงหน้า ร.ว.4 1,800 -


299 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แสดงรายได้ค่าเช่าในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านบัดดี้ไอที งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปีสิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 25X5 รายได้ : รายได้ค่าโฆษณา 1,800.- แสดงรายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้าในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านบัดดี้ไอที งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 หนี้สินหมุนเวียน : รายได้ค่าโฆษณารับล่วงหน้า 1,200.- 7.4 การบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 7.4.1 ความหมายของค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชี ปัจจุบัน แต่กิจการยังไม่ได้จ่าย โดยจะจ่ายเงินให้ในงวดบัญชีถัดไป ดังนั้น ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจึงเป็น บัญชีหนึ่งในหมวดหนี้สิน 7.4.2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเกิดจากกิจการได้รับบริการจากลูกค้าแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน ซึ่งตาม เกณฑ์คงค้างถือว่ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันนั้นแล้ว แต่เมื่อกิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงไม่ได้ บันทึกบัญชีหมวดหนี้สินและหมวดค่าใช้จ่าย อันมีผลทำให้บัญชีหมวดหนี้สินและค่าใช้จ่ายในงวดบัญชี นั้น ต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้น ในวันสิ้นงวดบัญชีจึงต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตรงตาม ความเป็นจริง 7.4.3 วิธีปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย การปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย มีหลักการพิจารณาดังนี้ 1. ต้องเป็นรายการค้าที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันตามเกณฑ์คงค้าง 2. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบันนั้นกิจการยังไม่ได้จ่ายเงิน ณ วันสิ้นงวดบัญชี 3. ถ้าหากกิจการพิจารณาแล้วเห็นว่ารายการนั้นก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายของวดบัญชีปัจจุบัน


300 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แต่เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีกิจการยังไม่ได้จ่ายเงินก็ให้ปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 4. บันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในวันสิ้นงวดบัญชี ดังนี้ เดบิต ค่าใช้จ่าย (ระบุชื่อ) XX เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (หมวดหนี้สิน) XX 5. บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีด้วยจำนวนเงินที่ค้างจ่ายทั้งสิ้น ตัวอย่างที่ 7.4 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ซึ่งเป็นวันสิ้นงวดบัญชี ร้านรุ่งเรืองยังไม่ได้จ่าย ค่าโทรศัพท์ของเดือนธันวาคม 25X5 จำนวนเงิน 1,250 บาท (ในระหว่างงวดได้จ่ายค่าโทรศัพท์ จำนวนเงิน 10,000 บาท) กำหนดให้งวดบัญชีมีระยะเวลา 12 เดือน โดยนับวันที่ 1 มกราคม เป็น วันต้นงวดบัญชี และวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นงวดบัญชี บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 7 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ธ.ค. 31 ค่าโทรศัพท์ 505 1,250 - ค่าโทรศัพท์ค้างจ่าย 204 1,250 - ปรับปรุงค่าโทรศัพท์ค้างจ่าย ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ ค่าโทรศัพท์ค้างจ่าย เลขที่ 204 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 ค่าโทรศัพท์ ร.ว.7 1,250 - ค่าโทรศัพท์ เลขที่ 505 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือน วันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ระหว่างงวด เงินสด ร.ว.2 10,000 - ธ.ค. 31 ค่าโทรศัพท์ค้างจ่าย ร.ว.7 1,250 - 11,250 -


301 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แสดงค่าโทรศัพท์ในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านรุ่งเรือง งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ค่าใช้จ่าย : ค่าโทรศัพท์ 11,250.- แสดงค่าโทรศัพท์ค้างจ่ายในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านรุ่งเรือง งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่31 ธันวาคม 25X5 หนี้สินหมุนเวียน : ค่าโทรศัพท์ค้างจ่าย 1,250.- 7.5 การบันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 7.5.1 ความหมายของค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็นของงวดบัญชี ถัดไป แต่กิจการได้จ่ายเงินให้ไปแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน จึงมีผลทำให้กิจการจะได้รับบริการหรือ ผลตอบแทนจากจำนวนเงินที่จ่ายไปนั้นในงวดบัญชีถัดไป ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าจึงเป็นบัญชี หนึ่งในหมวดสินทรัพย์ 7.5.2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เนื่องจากในงวดบัญชีปัจจุบันกิจการได้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายแก่ผู้ให้บริการไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งค่าใช้จ่ายจำนวนนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนที่เป็นของงวดบัญชีปัจจุบัน ซึ่งกิจการได้รับบริการเรียบร้อยแล้ว จึงถือเป็น ค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบัน ยอดเงินส่วนนี้ถือเป็นบัญชีหนึ่งในหมวดค่าใช้จ่าย 2. ส่วนที่เป็นของวดบัญชีถัดไป ซึ่งกิจการจะได้รับบริการหรือผลตอบแทนจากผู้ให้บริการ ในงวดบัญชีถัดไป เรียกว่า ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ยอดเงินส่วนนี้ถือเป็นบัญชีหนึ่งใน หมวดสินทรัพย์ 7.5.3 หลักการปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า จะเห็นได้ว่ายอดเงินค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายไปทั้งจำนวนนั้นประกอบด้วย 2 หมวดบัญชีอยู่ ในยอดเงินเดียวกัน คือ หมวดค่าใช้จ่ายและหมวดสินทรัพย์ ดังนั้น ในวันที่กิจการจ่ายค่าบริการบันทึก


302 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ไว้เป็นค่าใช้จ่าย เช่น (ค่าโฆษณา) ทั้งจำนวนหรือสินทรัพย์(ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า) ทั้งจำนวน จึงมีหลักพิจารณาในการปรับปรุง ดังนี้ 1. ถ้าวันที่จ่ายเงินกิจการบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย (เดบิต ค่าใช้จ่าย) ของงวดบัญชีปัจจุบันทั้ง จำนวน จะทำให้ค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันสูงกว่าความเป็นจริง เพราะยอดเงินนั้นได้รวม ค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีถัดไปเอาไว้ด้วย จึงต้องทำการปรับปรุงลดยอดค่าใช้จ่าย (เครดิต ค่าใช้จ่าย) และยังส่งผลทำให้สินทรัพย์ (ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) แสดงยอดที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง 2. ถ้าวันที่จ่ายเงินกิจการบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์(เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) ของ งวดบัญชีปัจจุบันทั้งจำนวน จะทำให้สินทรัพย์ของกิจการสูงกว่าความเป็นจริง เพราะในวันสิ้นงวด บัญชีปัจจุบันยอดเงินจำนวนนี้จะถูกโอนไปเป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันตามส่วนที่กิจการ ได้รับบริการแล้ว จึงต้องทำการปรับปรุงลดยอดสินทรัพย์(เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) ส่งผล ทำให้บัญชีค่าใช้จ่ายแสดงยอดที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง 7.5.4 วิธีปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า การปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าจะบันทึกการปรับปรุงอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับการบันทึก บัญชีในวันที่จ่ายค่าใช้จ่ายเป็นหลัก ซึ่งมีวิธีการบันทึกบัญชี 2 วิธี ดังนี้ 1. วันที่จ่ายเงินค่าบริการบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันทั้งจำนวน 2. วันที่จ่ายเงินค่าบริการบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ของงวดบัญชีปัจจุบันทั้งจำนวน วิธีที่ 1 วันที่กิจการจ่ายเงินค่าบริการ ได้บันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบัน ทั้งจำนวน มีหลักในการพิจารณาปรับปรุง ดังนี้ (1) ต้องเป็นรายการที่กิจการได้จ่ายเงินค่าบริการหรือค่าตอบแทนแก่ผู้ให้บริการ ไปก่อนแล้วทั้ง ๆ ที่กิจการยังไม่ได้รับบริการหรือผลตอบแทน หรือได้รับเพียงบางส่วน (2) วันที่จ่ายเงินกิจการบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย (เดบิต ค่าใช้จ่าย) ทั้งจำนวนในงวดบัญชี (3) จำนวนเงินค่าบริการที่กิจการจ่ายไปนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นของงวดบัญชีปัจจุบัน ถือเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าใช้จ่าย) อีกส่วนหนึ่งเป็นของงวดบัญชีถัดไป ถือเป็นสินทรัพย์(ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) (4) เมื่อวันสิ้นงวดบัญชี กิจการจึงต้องปรับปรุงลดยอดค่าใช้จ่าย (เครดิต ค่าใช้จ่าย) ด้วยจำนวนเงินส่วนที่เป็นของงวดบัญชีถัดไป (ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) เพื่อทำให้ จำนวนเงินบัญชีค่าใช้จ่ายที่เหลือเป็นของงวดบัญชีปัจจุบันที่แท้จริง อันจะส่งผลทำให้บัญชี หมวดสินทรัพย์ (ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) แสดงยอดที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง


303 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี (5) บันทึกรายการปรับปรุง ดังนี้ บันทึกบัญชีในวันที่จ่ายเงิน เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย(ระบุชื่อ) XX เครดิต เงินสด XX เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า(หมวดสินทรัพย์) XX เครดิต ค่าใช้จ่าย XX (6) บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีด้วยจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชี ถัดไปเสมอ (ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) ตัวอย่างที่7.5 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 25X5 ร้านสมภพได้จ่ายค่าเช่าร้าน สำหรับระยะเวลา 5 เดือน เป็นเงิน 4,000 บาท กิจการบันทึกบัญชีไว้ในบัญชีค่าเช่าร้านซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน (เดบิต ค่าเช่าร้าน) และกำหนดให้งวดบัญชีมีระยะเวลา 12 เดือน โดยนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวัน ต้นงวดบัญชี และวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นงวดบัญชี วิเคราะห์โจทย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ได้ดังนี้ วิธีการคำนวณ ค่าใช้จ่าย 5 เดือน 4,000 บาท (1 เดือน = 4,000/5 = 800 บาท) งวดบัญชีปัจจุบัน (25X5) 3 เดือน 800x3 = 2,400 งวดบัญชีถัดไป (25X6) 2 เดือน 800x2= 1,600 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. เป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบัน = 2,400 บาท เป็นค่าใช้จ่ายของปีถัดไป = 1,600 บาท (ค่าเช่าร้าน) (ค่าเช่าร้านจ่ายล่วงหน้า) การบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป บันทึกรายการในวันที่จ่ายเงิน ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 4 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ต.ค. 1 ค่าเช่าร้าน 503 4,000 - เงินสด 101 4,000 - จ่ายค่าเช่าร้านสำหรับระยะเวลา 5 เดือน


304 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 5 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ธ.ค. 31 ค่าเช่าร้านจ่ายล่วงหน้า 104 1,600 - ค่าเช่าร้าน 503 1,600 - ปรับปรุงค่าเช่าร้านโดยโอนเป็น ค่าเช่าร้านจ่ายล่วงหน้า 2 เดือน ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ ค่าเช่าร้านจ่ายล่วงหน้า เลขที่ 104 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 ค่าเช่าร้าน ร.ว.5 1,600 - ค่าเช่าร้าน เลขที่503 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ต.ค. 1 เงินสด ร.ว.4 4,000 - ธ.ค. 31 ค่าเช่าร้านจ่ายล่วงหน้า ร.ว.5 1,600 - 2,400.- แสดงค่าเช่าร้านในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านสมภพ งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 25X5 ค่าใช้จ่าย : ค่าเช่าร้าน 2,400.-


305 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แสดงค่าเช่าร้านจ่ายล่วงหน้าในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านสมภพ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์หมุนเวียน : ค่าเช่าร้านจ่ายล่วงหน้า 1,600. วิธีที่ 2 วันที่จ่ายเงินค่าบริการบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ของงวดบัญชีปัจจุบันทั้งจำนวนมีหลัก ในการพิจารณาปรับปรุง ดังนี้ (1) ต้องเป็นรายการที่กิจการได้จ่ายเงินค่าบริการหรือค่าตอบแทนแก่ผู้ให้บริการ ไปก่อนแล้วทั้ง ๆ ที่กิจการยังไม่ได้รับบริการหรือผลตอบแทน หรือได้รับเพียงบางส่วน (2) วันที่จ่ายเงินกิจการบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ (เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) ทั้งจำนวนในงวดบัญชี (3) จำนวนเงินค่าบริการที่กิจการจ่ายไปนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นของงวดบัญชีปัจจุบัน ถือเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าใช้จ่าย) อีกส่วนหนึ่งเป็นของงวดบัญชีถัดไป ถือเป็นสินทรัพย์(ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) (4) เมื่อวันสิ้นงวดบัญชี กิจการจึงต้องปรับปรุงลดยอดสินทรัพย์(เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) ด้วยจำนวนเงินส่วนที่เป็นของงวดบัญชีปัจจุบัน (ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่าย) อันจะส่งผลทำให้ บัญชีหมวดค่าใช้จ่าย แสดงยอดที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง (5) บันทึกรายการปรับปรุง ดังนี้ บันทึกบัญชีในวันที่จ่ายเงิน เป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าทั้งจำนวน บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XX เครดิต เงินสด XX เดบิต ค่าใช้จ่าย XX เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XX (6) บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีด้วยจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายของงวด บัญชีปัจจุบันเสมอ


306 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ตัวอย่างที่ 7.6 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 25X5 ร้านทักษิณ ได้จ่ายค่าเบี้ยประกัน สำหรับ ระยะเวลา 4 เดือน เป็นเงิน 2,000 บาท กิจการบันทึกบัญชีไว้ในบัญชีค่าเบี้ยประกันซึ่งเป็นสินทรัพย์ ทั้งจำนวน (เดบิต ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า) และกำหนดให้งวดบัญชีมีระยะเวลา 12 เดือน โดยนับ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันต้นงวดบัญชีและวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ้นงวดบัญชี วิเคราะห์โจทย์ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ได้ดังนี้ วิธีการคำนวณ ค่าใช้จ่าย 4 เดือน 2,000 บาท (1 เดือน = 2,000/4 = 500 บาท) งวดบัญชีปัจจุบัน (25X5) 3 เดือน 500x3 = 1,500 งวดบัญชีถัดไป (25X6) 1 เดือน 500x1= 500 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. เป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบัน = 1,500 บาท เป็นค่าใช้จ่ายของปีถัดไป = 500 บาท (ค่าเบี้ยประกัน) (ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า) การบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป บันทึกรายการในวันที่จ่ายเงิน ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 4 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ต.ค. 1 ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า 105 2,000 - เงินสด 101 2,000 - จ่ายค่าเบี้ยประกันล่วงหน้า สำหรับระยะเวลา4เดือน บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 5 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ธ.ค. 31 ค่าเบี้ยประกัน 506 1,500 - ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า 105 1,500 - ปรับปรุงค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า โดยโอนเป็นค่าเบี้ยประกัน 3 เดือน


307 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า เลขที่105 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ต.ค. 1 เงินสด ร.ว.4 2,000 - ธ.ค. 31 ค่าเบี้ยประกัน ร.ว.5 1,500 - 500.- ค่าเบี้ยประกัน เลขที่506 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า ร.ว.5 1,500 - แสดงค่าเช่าร้านในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านทักษิณ งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ค่าใช้จ่าย : ค่าเบี้ยประกัน 1,500.- แสดงค่าเช่าร้านจ่ายล่วงหน้าในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านทักษิณ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์หมุนเวียน : ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า 500.- 7.6 การบันทึกรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคา 7.6.1 ความหมายของค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) หมายถึง มูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์ประเภท ไม่หมุนเวียนที่เกิดจากการใช้งานหรือความล้าสมัย ซึ่งได้ปันส่วนอย่างมีหลักเกณฑ์มาจากต้นทุนของ


308 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี สินทรัพย์ประเภทไม่หมุนเวียนสำหรับจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละงวดบัญชี ค่าเสื่อมราคาถือเป็น บัญชีหนึ่งในหมวดค่าใช้จ่าย 7.6.2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ประเภทไม่หมุนเวียน สินทรัพย์ประเภทไม่หมุนเวียนต่าง ๆ ยกเว้นที่ดิน เช่น เครื่องจักร รถยนต์อาคาร เครื่องมือ อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น จะมีอายุการใช้ประโยชน์จำกัด เนื่องจากการเสื่อมสภาพและล้าสมัย ตามอายุการใช้ประโยชน์ ดังนั้น กิจการจึงต้องปันส่วนต้นทุนของสินทรัพย์เหล่านั้นออกไปเป็น ค่าใช้จ่าย ที่เรียกว่า "ค่าเสื่อมราคา" ตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น 7.6.3 วิธีปรับปรุงค่าเสื่อมราคา การปรับปรุงค่าเสื่อมราคา มีหลักการพิจารณา ดังนี้ 1. ต้องเป็นสินทรัพย์ประเภทไม่หมุนเวียนยกเว้นที่ดิน 2. ต้นทุนของสินทรัพย์จะต้องประกอบด้วย จำนวนเงินที่กิจการจ่ายออกไปเพื่อซื้อ สินทรัพย์ประเภทไม่หมุนเวียน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ทำให้สินทรัพย์พร้อมใช้งาน เช่น ค่าขนส่ง ค่าระวาง ค่าติดตั้ง ค่าภาษี ค่าทดลองเครื่อง เป็นต้น 3. ต้นทุนของสินทรัพย์จะถูกปันส่วนออกมาเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละงวดบัญชีตามจำนวน ที่คิดค่าเสื่อมราคาตลอดอายุการใช้ประโยซน์จึงมีผลทำให้ต้นทุนของสินทรัพย์ลดลงทุกปี ตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปไม่นิยมเครดิตบัญชีสินทรัพย์นั้น ๆ ออกโดยตรง แต่จะเครดิต บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์นั้นแทน 4. บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม (Accumulated Depreciation) เป็นบัญชีปรับมูลค่า สินทรัพย์ประเภทไม่หมุนเวียนจะปรากฏอยู่ในงบแสดงฐานะการเงิน แสดงเป็นรายการหักออกจาก สินทรัพย์ประเภทไม่หมุนเวียนแต่ละชนิด เพื่อให้ทราบถึงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันที่จัดทำ งบแสดงฐานะการเงินบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมจะแสดงจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกงวดบัญชี และเมื่อ สินทรัพย์นั้นถูกใช้งานจนครบอายุการใช้ประโยชน์ที่ประมาณไว้แล้ว ยอดของบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม จะเท่ากับต้นทุนของสินทรัพย์ที่ซื้อมา 5.อายุการใช้ประโยชน์หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ 1) ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะมีสินทรัพย์ไว้ใช้ 2) จำนวนผลผลิตหรือจำนวนหน่วยในลักษณะอื่น ที่คล้ายคลึงกันซึ่งกิจการคาดว่า จะได้รับจากสินทรัพย์ 6. มูลค่าคงเหลือหรือเดิมเรียกว่า ราคาซาก ซึ่งตามประกาศของสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 36/2562 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ได้ให้ความหมายไว้ว่า "จำนวนเงินโดยประมาณที่กิจการคาดว่าจะได้รับในปัจจุบันจากการจำหน่ายสินทรัพย์หลังจากหักต้นทุน


309 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินทรัพย์นั้น หากสินทรัพย์นั้นมีอายุและสภาพที่คาดว่าจะเป็น ณ วันสิ้นสุดอายุการใช้ประโยชน์" 7. บันทึกรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาในวันสิ้นงวดบัญชี ดังนี้ เดบิต ค่าเสื่อมราคา-ชื่อสินทรัพย์ (หมวดค่าใช้จ่าย) XX เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม-ชื่อสินทรัพย์(หมวดสินทรัพย์) XX 8. บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชีด้วยจำนวนเงินของต้นทุนสินทรัพย์ที่ถูก ปันส่วนออกมาเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้นๆ 9. วิธีการคิดค่าเสื่อมราคามีหลายวิธี เช่น วิธีเส้นตรง วิธียอดคงเหลือลดลง วิธีจำนวน ผลผลิตเป็นต้น หมายเหตุสำหรับในรายวิชาการบัญชีเบื้องต้น จะกล่าวถึงเฉพาะวิธีเส้นตรงเท่านั้น การคำนวณค่าเสื่อมราคาต้องใช้จำนวนเงินของสินทรัพย์หลังจากหักมูลค่าคงเหลือแล้ว ดังนั้น กิจการจึงต้องประมาณอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์และมูลค่าคงเหลือ ซึ่งสามารถสรุปได้ ตามสูตร ดังนี้ กรณีกำหนดอายุการใช้ประโยชน์ ค่าเสื่อมราคาต่อปี = ต้นทุนของสินทรัพย์ – มูลค่าคงเหลือ อายุการใช้ประโยชน์ กรณีกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ ค่าเสื่อมราคา = (ต้นทุนของสินทรัพย์ - ราคาซาก) x อัตราเปอร์เซ็นต์x ระยะเวลา ตัวอย่างที่ 7.7 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 25X5 ร้านนงรามซื้ออุปกรณ์สำนักงานราคา 69,000 บาท เสียค่าขนส่งเป็นเงิน 1,000 บาท คาดว่าจะมีอายุการใช้ประโยชน์ 8 ปี มูลค่าคงเหลือ จำนวน 6,000 บาท กิจการกำหนดให้วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ้นงวดบัญชี ค่าเสื่อมราคาต่อปี = ต้นทุนของสินทรัพย์ – มูลค่าคงเหลือ อายุการใช้ประโยชน์ = (69,000+1,000) - 6,000 8 ค่าเสื่อมราคาต่อปี = 8,000 บาท ค่าเสื่อมราคา 6 เดือน = 8,000 x = 4,000 บาท


310 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 8 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ธ.ค. 31 ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงาน 507 4,000 - ค่าเสื่อมราคาสะสม- อุปกรณ์สำนักงาน 106 4,000 - ปรับปรุงค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์- สำนักงาน จำนวน 6 เดือน ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์สำนักงาน เลขที่ 106 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงาน ร.ว.8 4,000 - ค่าเสื่อมราคา -อุปกรณ์สำนักงาน เลขที่ 507 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 ค่าเสื่อมราคาสะสมอุปกรณ์สำนักงาน ร.ว.8 4,000 - แสดงค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงานในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านนงราม งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ค่าใช้จ่าย : ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงาน 4,000.-


311 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แสดงค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์สำนักงานในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านนงราม งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน: อุปกรณ์สำนักงาน 71,000.- หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์สำนักงาน 4,000.- 67,000.- 7.7 การบันทึกรายการปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลือง 7.7.1 ความหมายของวัสดุสิ้นเปลือง วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) หมายถึง วัสดุที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปในระหว่างงวดบัญชี เช่น กาว ดินสอ กระดาษ คลิปหนีบกระดาษ เป็นต้น วัสดุสิ้นเปลืองมีชื่อเรียกตามแหล่งที่นำไปใช้ เช่น วัสดุสำนักงาน วัสดุโรงงาน วัสดุในการตกแต่ง เป็นต้น วัสดุสิ้นเปลืองถือเป็นบัญชีหนึ่ง ในหมวด สินทรัพย์ 7.7.2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลือง เนื่องจากตอนซื้อวัสดุสิ้นเปลืองนิยมบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ของกิจการ แต่ในระหว่างงวด วัสดุสิ้นเปลืองบางส่วนได้ถูกใช้ไป ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวดจะต้องตรวจนับจำนวนวัสดุสิ้นเปลือง คงเหลือ เพื่อคำนวณหาจำนวนวัสดุสิ้นเปลืองส่วนที่ใช้ไปในระหว่างงวดแล้วทำการปรับปรุงโอนส่วน ที่ใช้ไปแล้วออกจากบัญชีวัสดุสิ้นเปลืองไปตั้งเป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีนั้นโดยใช้ชื่อบัญชีว่า "วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป (Supplies Used)" และถือเป็นบัญชีหนึ่งในหมวดค่าใช้จ่าย ซึ่งเมื่อทำการ ปรับปรุงแล้วจะทำให้บัญชีวัสดุสิ้นเปลืองแสดงยอดที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง 7.7.3 วิธีคำนวณวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป การคำนวณวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไปจะคำนวณหาในวันสิ้นงวด โดยการตรวจนับวัสดุสิ้นเปลือง คงเหลือในวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อนำไปหักออกจากวัสดุสิ้นเปลืองที่มีอยู่ทั้งหมดตามบัญชี ซึ่งมีวิธีคำนวณดังนี้ วัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ (ต้นงวด) XX บวก ซื้อเพิ่มระหว่างงวด XX วัสดุสิ้นเปลืองที่มีอยู่ทั้งหมด XX หัก วัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ (ปลายงวด) XX วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป XX


312 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี 7.7.4 วิธีบันทึกบัญชีเกี่ยวกับวัสดุสิ้นเปลือง 1. บันทึกวันที่ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองไว้เป็นสินทรัพย์ ดังนี้ เดบิต วัสดุสิ้นเปลือง/วัสดุสำนักงาน (หมวดสินทรัพย์) XX เครดิต เงินสด/เจ้าหนี้ XX 2. บันทึกปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี เดบิต วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป (หมวดค่าใช้จ่าย) XX เครดิต วัสดุสิ้นเปลือง (หมวดสินทรัพย์) XX ตัวอย่างที่ 7.8 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 25X5 ร้านน้ำทิพย์มีวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือยกมา 2,000 บาท ในวันที่ 18 มิถุนายน 25X5 ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองเพิ่มเติมจำนวน 8,700 บาท และในวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ซึ่งเป็นวันสิ้นงวดบัญชีได้ตรวจนับวัสดุสิ้นเปลืองพบว่า มียอดคงเหลือจำนวนเงิน 3,600 บาท การคำนวณวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป วัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ (ต้นงวด) 2,000.- บวก ซื้อเพิ่มระหว่างงวด 8,700.- วัสดุสิ้นเปลืองที่มีอยู่ทั้งหมด 10,700.- หัก วัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ (ปลายงวด) 3,600.- วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 7,100.- การบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป บันทึกบัญชีวันที่ซื้อวัสดุสิ้นเปลือง ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 7 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. มิ.ย. 18 วัสดุสิ้นเปลือง 104 8,700 - เงินสด 101 8,700 - ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองเพิ่มเติม วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป = วัสดุสิ้นเปลือง (ต้นงวด) + ซื้อระหว่างงวด - วัสดุสิ้นเปลือง(ปลายงวด)


313 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี บันทึกรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี สมุดรายวันทั่วไป หน้า 9 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ธ.ค. 31 วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 505 7,100 - วัสดุสิ้นเปลือง 104 7,100 - ปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้ วัสดุสิ้นเปลือง เลขที่ 104 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ม.ค. 1 ยอดยกมา 2,000 - ธ.ค. 31 วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ร.ว.9 7,100 - มิ.ย. 18 เงินสด ร.ว.7 8,700 - 3,600.- 10,700 - วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป เลขที่ 505 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 วัสดุสิ้นเปลือง ร.ว.9 7,100 - แสดงวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไปในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านน้ำทิพย์ งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ค่าใช้จ่าย : วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 7,100.-


314 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แสดงวัสดุสิ้นเปลืองในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านน้ำทิพย์ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์หมุนเวียน : วัสดุสิ้นเปลือง 3,600.- 7.8 การบันทึกรายการปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญ ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจทุกประเภทมีการแข่งขันกันสูงมากไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจ ให้บริการดังนั้น การให้บริการเป็นเงินเชื่อจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการ ส่งผลทำให้ กิจการมีบัญชีลูกหนี้เกิดขึ้น และถึงแม้ว่าจะมีระบบการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าอย่างดีแล้วก็ตาม แต่กิจการส่วนใหญ่ก็มักจะประสบปัญหาในเรื่องการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ 7.8.1 ความหมายของ หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 101 เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ของสภาวิชาชีพบัญชี ให้คำนิยามเกี่ยวกับ หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ ไว้ดังนี้ หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts) หมายถึง บัญชีลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ และถือเป็นค่าใช้จ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for doubtful Accounts) หมายถึง จำนวนที่กันไว้ สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้และถือเป็นบัญชีปรับมูลค่าที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงเป็นรายการหัก จากบัญชีลูกหนี้ในงบการเงิน เพื่อให้คงเหลือเป็นมูลค่าสุทธิของลูกหนี้ที่คาดหมายว่าจะเก็บได้ หนี้สูญ (Bad Deb) หมายถึง ลูกหนี้ที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้ และได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี 7.8.2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เมื่อกิจการมีบัญชีลูกหนี้ย่อมประสบปัญหาจากการที่ลูกหนี้บางรายอาจจะไม่ชำระหนี้ให้ ซึ่งในทางปฏิบัติกิจการจะไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าเป็นลูกหนี้รายใดที่จะไม่ชำระหนี้จนกว่าจะ ครบกำหนดเวลาหรือทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว จึงส่งผลทำให้บัญชีลูกหนี้ที่จะนำไปปรากฏใน งบแสดงฐานะการเงินมีจำนวนสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้น ในแต่ละงวดบัญชีจึงได้มีการประมาณ ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ ซึ่งเรียกว่า "หนี้สงสัยจะสูญ" ถือเป็นบัญชีหนึ่งในหมวดค่าใช้จ่าย ที่ต้องนำไปแสดงในงบกำไรขาดทุน ควบคู่กับบัญชี "ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ" ซึ่งถือเป็นบัญชี ปรับมูลค่าลูกหนี้ใน งบแสดงฐานะการเงิน เพื่อให้ได้ยอดลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินได้จริง


315 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี 7.8.3 วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญประมาณการได้ 2 วิธี 1. วิธีคำนวณเป็นร้อยละของยอดขายเชื่อ คำนวณจำนวนหนี้สงสัยจะสูญเป็นร้อยละของ ยอดขายหรือรายได้ค่าบริการเป็นเงินเชื่อ เพราะถือว่ายอดขายเชื่อมีความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกหนี้ หนี้สงสัยจะสูญ = ยอดขายหรือรายได้ค่าบริการเป็นเงินเชื่อสุทธิ X อัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2. วิธีคำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้คงค้าง ณ วันสิ้นงวดบัญชีคำนวณจำนวน หนี้สงสัยจะสูญเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้รวม หรือ คิดเป็นร้อยละของกลุ่มลูกหนี้แยกตามอายุหนี้ ที่ค้างชำระ หรือพิจารณาเฉพาะลูกหนี้แต่ละรายที่คาดว่าจะเก็บหนี้ไม่ได้ หนี้สงสัยจะสูญ=(ยอดลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด X อัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมาต้นงวด 7.8.4 วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหนี้สงสัยจะสูญ วิธีการบันทึกบัญชีหนี้สงสัยจะสูญจะกระทำในวันสิ้นงวดบัญชี โดยจะมีการประมาณจำนวน หนี้สงสัยจะสูญขึ้นมา แล้วนำไปปรับปรุง ดังนี้ เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ (หมวดค่าใช้จ่าย) XX เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (หมวดสินทรัพย์) XX ตัวอย่างที่ 7.9 ร้านฟารีสบริการซ่อมรถยนต์ให้บริการเป็นเงินเชื่อในปี 25X5 จำนวน 20,000 บาท กิจการประมาณหนี้สงสัยจะสูญจากยอดรายได้ที่เก็บเงินไม่ได้ในอัตราร้อยละ 5 ร้านฟารีสบริการปิดบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี วิธีคำนวณหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ = ยอดขายหรือรายได้ค่าบริการเป็นเงินเชื่อสุทธิ X อัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ = 20,000 x 5% = 1,000 บาท


316 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี บันทึกรายการขายเชื่อและตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในสมุดรายวันทั่วไป ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 3 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ระหว่าง งวด ลูกหนี้ 102 20,000 - รายได้ค่าบริการ 401 20,000 - รับรายได้ค่าบริการซ่อมรถ เป็นเงินเชื่อ ธ.ค. 31 หนี้สงสัยจะสูญ 506 1,000 - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 103 1,000 - ประมาณหนี้สงสัยจะสูญ 5% จากยอดรายได้เป็นเงินเชื่อ ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทดังนี้ ลูกหนี้ เลขที่102 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือน วันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ระหว่างงวด รายได้ค่าบริการ ร.ว.3 20,000 - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เลขที่ 103 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือน วันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 หนี้สงสัยจะสูญ ร.ว.3 1,000 - หนี้สงสัยจะสูญ เลขที่ 506 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือน วันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ร.ว.3 1,000 -


317 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แสดงหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านฟารีสบริการ งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ค่าใช้จ่าย : หนี้สงสัยจะสูญ 1,000.- แสดงค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปรับมูลค่าบัญชีลูกหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านฟารีสบริการ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์หมุนเวียน : ลูกหนี้ 20,000.- หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1,000.- ลูกหนี้สุทธิ 19,000.- ตัวอย่างที่ 7.10 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ร้านฟาคิรบริการ มียอดลูกหนี้คงเหลือ ในวันสิ้นงวด 50,000 บาท และมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมาต้นงวด 500 บาท กิจการประมาณ หนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้ ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดลูกหนี้คงค้าง กิจการปิดบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี หนี้สงสัยจะสูญ =(ยอดลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด X อัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมาต้นงวด หนี้สงสัยจะสูญ = (50,000 x 2% ) = 1,000 – 500 = 500 บาท


318 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี บันทึกรายการยอดลูกหนี้คงเหลือและตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในสมุดรายวันทั่วไป ดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 3 พ.ศ. 25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ บาท สต. บาท สต. ระหว่าง งวด ลูกหนี้ 102 50,000 - รายได้ค่าบริการ 401 50,000 - รับรายได้ค่าบริการซ่อมรถ เป็นเงินเชื่อ ธ.ค. 31 หนี้สงสัยจะสูญ 506 500 - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 103 500 - ประมาณหนี้สงสัยจะสูญ 2% จากยอดลูกหนี้เป็นเงินเชื่อ ลูกหนี้ เลขที่ 102 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือน วันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ระหว่างงวด รายได้ค่าบริการ ร.ว.3 50,000 - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เลขที่ 103 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ม.ค. 1 ยอดยกมา 500 - ธ.ค. 31 หนี้สงสัยจะสูญ ร.ว.3 500 - 1,000.- หนี้สงสัยจะสูญ เลขที่ 506 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือน วันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 31 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ร.ว.3 500 -


319 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี แสดงหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน ดังนี้ ร้านฟาคิรบริการ งบกำไรขาดทุน สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปีสิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 25X5 ค่าใช้จ่าย : หนี้สงสัยจะสูญ 500.- แสดงค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปรับมูลค่าบัญชีลูกหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ ร้านฟาคิรบริการ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 สินทรัพย์หมุนเวียน : ลูกหนี้ 50,000.- หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1,000.- ลูกหนี้สุทธิ 49,000.- 7.9 งบทดลองหลังรายการปรับปรุง 7.9.1 ความหมายของงบทดลองหลังรายการปรับปรุง งบทดลองหลังรายการปรับปรุง (Adjusted Trial Balance) หมายถึง งบทดลองที่จัดทำ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการผ่านรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป ไปบัญชี แยกประเภทว่าเป็นไปตามหลักบัญชีคู่หรือไม่ งบทดลองหลังรายการปรับปรุงและงบทดลองก่อนรายการปรับปรุงมีวิธีการจัดทำเหมือนกัน คือ จะแสดงยอดคงเหลือของบัญชีทั้ง 5 หมวด ซึ่งประกอบด้วย หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย โดยกิจการขนาดเล็กที่มีรายการค้าไม่มากนักจะใช้ข้อมูลในงบทดลอง หลังรายการปรับปรุงไปจัดทำงบการเงินโดยไม่ต้องใช้กระดาษทำการเหมือนกิจการขนาดใหญ่ที่มี รายการค้ามาก 7.9.2 วิธีการทำงบทดลองหลังรายการปรับปรุง การจัดทำงบทดลองหลังรายการปรับปรุงจะกระทำในวันสิ้นงวดบัญชีตามขั้นตอน ดังนี้ 1. บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป 2. ผ่านรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป ไปบัญชีแยกประเกทที่เกี่ยวข้อง


320 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี 3. หายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภททั่วไป 4. จัดทำงบทดลองหลังรายการปรับปรุง ตัวอย่างที่7.11 ต่อไปนี้เป็นบัญชีแยกประเภทของร้านมิตรภาพ เงินสด เลขที่101 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 1 ยอดยกมา ร.ว.1 40,000 - ธ.ค. 2 ค่าเช่า ร.ว.1 10,000 - 4 รายได้ค่าบริการ ร.ว.1 12,000 - 5 ค่าเบี้ยประกัน ร.ว.1 3,000 - 10 เงินฝากธนาคาร ร.ว.1 6,000 - 15 ค่าแรงงาน ร.ว.1 6,000 - 28 รายได้ค่าบริการ ร.ว.2 20,000 - 22 วัสดุสิ้นเปลือง ร.ว.2 2,000 - 44,500.- 78,000 - 25 ค่าโฆษณา ร.ว.2 1,500 - 29 ถอนใช้ส่วนตัว ร.ว.2 3,000 - 30 เจ้าหนี้-ช.การช่าง ร.ว.2 2,000 - 31 ค่าแรงงาน ร.ว.2 6,000 - 33,500 - ลูกหนี้ เลขที่ 102 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 1 ยอดยกมา ร.ว.1 30,000 - 6 รายได้ค่าบริการ ร.ว.1 40,000 - 8 รายได้ค่าบริการ ร.ว.1 4,000 - 74,000 - วัสดุสิ้นเปลือง เลขที่ 104 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 3 เจ้าหนี้-ช.การช่าง ร.ว.1 10,000 - 15 เงินสด ร.ว.2 2,000 - 12,000 -


321 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี เครื่องมือ เลขที่ 105 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 1 ยอดยกมา ร.ว.1 120,000 - รถยนต์ เลขที่ 107 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 1 ยอดยกมา ร.ว.1 540,000 - เจ้าหนี้-ร้าน ช.การช่าง เลขที่ 201 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 30 เงินสด ร.ว.2 2,000 - ธ.ค. 3 วัสดุสิ้นเปลือง ร.ว.1 10,000 - 8,000.- ทุน-นายมิตรภาพ เลขที่ 301 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 1 ยอดยกมา ร.ว.1 730,000 - ถอนใช้ส่วนตัว เลขที่ 302 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 29 เงินสด ร.ว.2 2,000 -


322 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี รายได้ค่าบริการ เลขที่ 401 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 4 เงินสด ร.ว.1 12,000 - 6 ลูกหนี้ ร.ว.1 40,000 - 8 เงินสด ร.ว.1 4,000 - 10 เงินสด ร.ว.1 6,000 - 28 เงินสด ร.ว.2 20,000 - 82,000 - ค่าเช่า เลขที่ 501 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 2 เงินสด ร.ว.1 10,000 - ค่าเบี้ยประกัน เลขที่502 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 5 เงินสด ร.ว.1 3,000 - ค่าโฆษณา เลขที่503 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 25 เงินสด ร.ว.2 1,500 - ค่าแรงงาน เลขที่504 พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เดบิต พ.ศ.25X5 รายการ หน้า บัญชี เครดิต เดือนวันที่ บาท ส.ต. เดือน วันที่ บาท ส.ต. ธ.ค. 15 เงินสด ร.ว.2 6,000 - 30 เงินสด ร.ว.2 6,000 - 12,000 -


323 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี เมื่อผ่านรายการเสร็จสิ้นแล้วให้คำนวณหายอดคงเหลือด้วยดินสอแล้วนำมาจัดทำงบทดลอง ก่อนปรับปรุงได้ ดังนี้ ร้านมิตรภาพ งบทดลอง วันที่31 ธันวาคม 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต บาท สต. บาท สต. เงินสด 101 44,500 - ลูกหนี้ 102 74,000 - วัสดุสิ้นเปลือง 104 12,000 - เครื่องมือ 105 120,000 - รถยนต์ 107 540,000 - เจ้าหนี้-ร้าน ช. การช่าง 201 8,000 - ทุน-นายยอดทอง 301 730,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 3,000 - รายได้ค่าบริการ 401 82,000 - ค่าเช่า 501 10,000 - ค่าเบี้ยประกัน 502 3,000 - ค่าโฆษณา 503 1,500 - ค่าแรงงาน 504 12,000 - 820,000 - 820,000 - หมายเหตุ การทำผังบัญชีจะต้องทำอย่างมีหลักเกณฑ์ และจะต้องทำไว้ล่วงหน้า ก่อนที่ กิจการจะมีการบันทึกบัญชีในทางปฏิบัติการจัดเรียงเลขที่บัญชีอาจจะเว้นช่วงไว้สำหรับบัญชีที่อาจ เกิดขึ้นภายหลัง เพราะหากกำหนดเลขที่บัญชีโดยเรียงลำดับไปเรื่อย ๆ เมื่อมีบัญชีภายหลังเกิดขึ้น จะไม่สามารถแทรกได้ การกำหนดเลขที่บัญชีก็ต้องแก้ปัญหาด้วยการใส่จุดแทน ซึ่งจะดูไม่สวยงาม และไม่เป็นหลักเกณฑ์เดียวกัน ดังตัวอย่าง งบทดลอง ร้านมิตรภาพ เช่น บัญชีลูกหนี้ เลขที่ 102 เว้นไว้สำหรับบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เลขที่ 103 เป็นต้น


324 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ตัวอย่างที่ 7.12 งบทดลองที่มีรายการปรับปรุง ร้านมิตรภาพ งบทดลองหลังรายการปรับปรุง วันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ชื่อบัญชี เลขที่ บัญชี เดบิต เครดิต บาท สต. บาท สต. เงินสด 101 45,500 - ลูกหนี้ 102 74,000 - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 103 880 - วัสดุสิ้นเปลือง 104 7,000 - เครื่องมือ 105 120,000 - ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องมือ 106 24,000 - รถยนต์ 107 540,000 - ค่าเสื่อมราคาสะสม-รถยนต์ 108 54,000 - ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า 109 2,500 - รายได้ค่าบริการค้างจ่าย 110 51,750 - เจ้าหนี้-ร้าน ช. การช่าง 201 8,000 - ค่าโฆษณาค้างจ่าย 202 2,000 - ทุน-นายยอดทอง 301 730,000 - ถอนใช้ส่วนตัว 302 3,000 - รายได้ค่าบริการ 401 133,750 - ค่าเช่า 501 7,500 - ค่าเบี้ยประกัน 502 3,000 - ค่าโฆษณา 503 3,500 - ค่าแรงงาน 504 21,000 - ค่าเสื่อมราคา-เครื่องมือ 505 24,000 - ค่าเสื่อมราคา-รถยนต์ 506 54,000 - หนี้สงสัยจะสูญ 507 880 - วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 508 5,000 - 952,630 - 952,630 -


325 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี สรุปสาระสำคัญ หลังจากจัดทำงบทดลองเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีในระหว่างงวดแล้ว ก่อนที่จะจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีกิจการต้องพิจารณาดูว่าจำนวนเงินของบัญชีต่าง ๆ ที่ปรากฏ ในงบทดลองนั้นถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้เพราะอาจมีรายการค้าบางรายการที่ต้องเพิ่มหรือลดจากที่บันทึก ไว้เดิม หรือบางรายการบันทึกไว้ผิด หรือลืมบันทึกในระหว่างงวด ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงรายการบัญชี ในวันสิ้นงวด โดยการนำรายการที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเหล่านั้นมาบันทึกเพิ่มเติมในสมุดรายวันทั่วไป และผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้องอันจะส่งผลให้จำนวนเงินของบัญชีในหมวดสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่ายแสดงมูลค่าที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของงวดบัญชีนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถทราบผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการได้อย่างแท้จริงสำหรับ นำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เหตุผลของการปรับปรุงรายการและวิธีการบันทึกบัญชี สรุปได้ดังนี้ รายการปรับปรุง เหตุผลของการปรับปรุงบัญชี วิธีบันทึกปรับปรุงบัญชี 1. รายได้ค้างรับ มีการให้บริการไปแล้วแต่ไม่ได้ รับเงิน จึงยังไม่ได้บันทึกบัญชี เดบิต รายได้ค้างรับ เครดิต รายได้ 2. รายได้รับล่วงหน้า กรณีวันที่ รับเงิน บันทึกไว้เป็นรายได้ จำนวนเงินของบัญชีรายได้ที่บันทึก ไว้ทางด้านเครดิตได้รวมของงวด บัญชีถัดไปไว้ด้วยส่วนหนึ่งจึงต้อง บันทึกรายได้ซึ่งเป็นของงวดบัญชี ถัดไปออกทางด้านเดบิต เพื่อจะได้ คงเหลือเฉพาะของงวดปัจจุบันเท่านั้น เดบิต รายได้ เครดิต รายได้รับล่วงหน้า 3. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย มีการใช้บริการไปแล้วแต่ไม่ได้ จ่ายเงิน จึงยังไม่ได้บันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 4. ค่าใช้จ่ายจ่าย ล่วงหน้ากรณีวันที่ จ่ายเงินบันทึกไว้เป็น ค่าใช้จ่าย จำนวนเงินของบัญ ชีค่าใช้จ่าย ที่บันทึกไว้ทางด้านเดบิตได้รวมของ งวดบัญชีถัดไปไว้ด้วย ส่วนหนึ่งจึง ต้องบันทึกค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นของงวด บัญชีถัดไปออกทางด้านเครดิต เพื่อ จะได้คงเหลือเฉพาะค่าใช้จ่ายของ งวดปัจจุบันเท่านั้น เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เครดิต ค่าใช้จ่าย


326 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี รายการปรับปรุง เหตุผลของการปรับปรุงบัญชี วิธีบันทึกปรับปรุงบัญชี 5. ค่าเสื่อมราคา ให้ปันส่วนต้นทุนของสินทรัพย์ ประเภทไม่หมุนเวียนออกมาเป็น ค่าใช้จ่ายของแต่ละงวด ตามส่วน ที่ได้ใช้ประโยชน์ เดบิต ค่าเสื่อมราคา เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม 6. วัสดุสิ้นเปลือง ให้โอนวัสดุสินเปลืองที่ได้ใช้ไป แล้วเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละงวด บัญชี เดบิต วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป เครดิต วัสดุสิ้นเปลือง 7. การประมาณค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญ ในแต่ละงวดบัญชีกิจการได้มีการ ประมาณลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บ เงินไม่ได้ จากยอดขายเชื่อ หรือ ยอดลูกหนี้ปลายปี เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญ เครดิต หนี้สงสันจะสูญ


327 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี คำศัพท์หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี รายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ค่าเสื่อมราคา หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป รอบระยะเวลาบัญชีหรือวงจรบัญชี วิธีเส้นตรง หนี้สูญ ข้อผิดพลาดทางการบัญชี ราคามูลค่าซาก รายการที่ไม่เกี่ยวกับเงิน งบทดลองหลังปรับปรุง Adjusting Entries Accrued Revenue Deferred Revenue Accrued Expenses Prepaid Expenses Depreciation Doubtful Account Allowance for Doubtful Debt Supplies Used Accounting Period Straight-line Method Bad Debt Accounting Errors Salvage Value Types of Adjusting Entries Adjusted Trial Balance คำศัพท์ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่7


328 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี กิจกรรมฝึกทักษะ หน่วยที่ 7 รหัสวิชา 20200-1002 วิชาการบัญชีเบื้องต้น สอนครั้งที่49-56 หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี สัปดาห์ที่13-14 ……………………………………………………………………………………………………………………… จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บันทึกรายการปรับปรุงรายได้ค้างรับได้ 2. บันทึกรายการปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้าได้ 3. บันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่ายได้ 4. บันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าได้ 5. บันทึกรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาได้ 6. บันทึกรายการปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลืองได้ 7. บันทึกรายการปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญได้ 8. จัดทำงบทดลองหลังรายการปรับปรุงได้ 9. นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรายการปรับปรุงบัญชีได้ 10. เป็นผู้มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ 11. เป็นผู้ที่แต่งกายถูกต้องตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด 12. เป็นผู้ตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเวลาที่กำหนด 13. เป็นผู้ที่ไม่คัดลอกหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของ ตนเอง 14. เป็นผู้รู้จักประหยัด และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี 1. ให้แบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่ม เลขานุการ และสมาชิก ทุกคนร่วมกันปรึกษาหารือตอบคำถามที่ได้รับมอบหมายข้างล่างนี้ โดยศึกษาค้นคว้าความรู้จาก เอกสารประกอบการเรียน หน่วยที่ 7 และสื่อต่าง ๆ มาประกอบ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียนเพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนความรู้ให้กลุ่มอื่น ๆ ได้รับทราบ 2. ให้ผู้เรียนร่วมกันศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรายการปรับปรุงบัญชีโดยจัดทำ รายงานในหัวข้อ ดังนี้ 2.1 แต่ละกลุ่มตั้งโจทย์กลุ่มละ 7 ข้อ ให้ครบรายการปรับปรุงทั้ง 7 รายการ คำสั่ง


329 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี รายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ค่าเสื่อมราคาหนี้สงสัยจะสูญ วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป พร้อมการบันทึกรายการปรับปรุง 2.2 ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในแต่ละข้อ วิธีการนำเสนอ 1. จัดนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2. จัดทำในกระดาษชาร์ทส่งหลังนำเสนอ แบบประเมินผลกิจกรรมฝึกทักษะ หน่วยที่ 7 กลุ่มที่......................ชื่อสมาชิก. 1................................................................................... 2.................................................................................. 3.................................................................................. รายการประเมิน ดี (5) พอใช้ (3) ปรับปรุง (1) 1. ความถูกต้องของผลงาน 1.1 ข้อมูลถูกต้องตามหัวข้อที่ กำหนด 1.2 เนื้อหาทันสมัย ปฏิบัติได้ ครบถ้วนทุกข้อ ปฏิบัติได้ 2 ข้อ ปฏิบัติได้ 1 ข้อ 2. วิธีการนำเสนอ 2.1 การนำเสนอน่าสนใจ 2.2 บุคลิกภาพเหมาะสม 2.3 น้ำเสียงดัง ฟังชัด ปฏิบัติได้ ครบถ้วนทุกข้อ ปฏิบัติได้ 2 ข้อ ปฏิบัติได้ 1 ข้อ 3. ความร่วมมือในการทำงาน 3.1 มีการแบ่งงานกันทำ 3.2 มีความรับผิดชอบ 3.3 ทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด ปฏิบัติได้ ครบถ้วนทุกข้อ ปฏิบัติได้ 2 ข้อ ปฏิบัติได้ 1 ข้อ คะแนน คะแนนรวม ลงชื่อ........................................................ผู้ประเมิน (.....................................................)


330 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี สรุปผลการประเมิน ดี พอใช้ ปรับปรุง เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ คะแนน 1 – 5 มีทักษะอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง คะแนน 6 – 10 มีทักษะอยู่ในระดับที่พอใช้ คะแนน 11 – 15 มีทักษะอยู่ในระดับที่ดี กิจกรรมเสริมทักษะ หน่วยที่ 7 รหัสวิชา 20200-1002 วิชาการบัญชีเบื้องต้น สอนครั้งที่49-56 หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี สัปดาห์ที่ 13-14 ……………………………………………………………………………………………………………………………………… จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกความหมาย ลักษณะ และประเภทของรายการปรับปรุงบัญชีได้ 2. บันทึกรายการปรับปรุงรายได้ค้างรับได้ 3. บันทึกรายการปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้าได้ 4. บันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่ายได้ 5. บันทึกรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าได้ 6. บันทึกรายการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาได้ 7. บันทึกรายการปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลืองได้ 8. บันทึกรายการปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญได้ 9. จัดทำงบทดลองหลังรายการปรับปรุงได้ 10. เป็นผู้มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ 11. เป็นผู้ที่แต่งกายถูกต้องตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด 12. เป็นผู้ตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเวลาที่กำหนด 13. เป็นผู้ที่ไม่คัดลอกหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของ ตนเอง 14. เป็นผู้รู้จักประหยัด และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี


331 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี คำสั่ง ให้จับคู่ให้สัมพันธ์กันให้ถูกต้อง 1. Adjusting Entries ก ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 2. Accrued Expenses ข ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 3. Accrued Revenue ค รายการปรับปรุง 4. Prepaid Expenses ง ค่าเสื่อมราคาสะสม 5. Deferred Revenues จ หนี้สงสัยจะสูญ 6. Depreciation ฉ งบทดลองหลังรายการปรับปรุง 7. Supplies Used ช ค่าเสื่อมราคา 8. Doubtful Accounts ซ วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 9. Allowance for Doubtful Debt ฌ รายได้รับล่วงหน้า 10. Adjusted Trial Balance ญ รายได้ค้างรับ ฎ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คำสั่ง ให้บันทึกรายการปรับปรุงในช่องที่กำหนด รายการ บันทึกรายการปรับปรุง ณ วันสิ้นงวดบัญชี 1. กิจการยังไม่ได้รับค่านายหน้า ณ วันปิดบัญชี 12,000 บาท 2. วันที่ 1 สิงหาคม 25X5 กิจการรับเงินค่าเช่า 6,000 บาท สำหรับระยะเวลา 6 เดือน บันทึก ไว้เป็นรายได้ 3. กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินเดือน 4,500 บาท ณ วันปิดบัญชี 4. วันที่ 1 กันยายน 25X5 จ่ายค่าเบี้ยประกัน สำหรับระยะเวลา 1 ปี จำนวน 24,000 บาท บันทึกไว้เป็น ค่าเบี้ยประกัน กิจกรรมเสริมทักษะ 7.1 กิจกรรมเสริมทักษะ 7.2


332 ผู้เรียบเรียง : นางสาวฮัสนะห์ เจะโวะ รายวิชา การบัญชีเบื้องต้น (20200-1002) หน่วยที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี คำสั่ง ให้บันทึกรายการต่อไปนี้ในสมุดรายวันทั่วไป 25X5 มิ.ย. 30 กิจการให้บริการแก่ ร้านทักษิณ ในการดูแลระบบเครือข่าย โดยคิดค่าบริการ เดือนละ 1,000 บาท กิจการขอรับค่าบริการล่วงหน้า 1 ปี โดยรับเป็นเช็คในวันนี้บันทึกรายการไว้ใน บัญชี รายได้ค่าบริการ ก.ย. 1 กิจการรับโฆษณาทางเว็บไซต์ จากร้านมาร์กี้ เป็นเงิน 12,000 บาท เป็นค่าโฆษณา สำหรับระยะเวลา 6 เดือน ในวันรับเงินบันทึกรายการไว้ในบัญชีรายได้ค่าโฆษณา ธ.ค. 31 กิจการยังไม่ได้รับค่าเช่าอาคาร ระยะเวลา 1 เดือน เป็นเงิน 3,500 บาท ธ.ค. 31 ปรับปรุงบัญชี คำสั่ง ให้บันทึกรายการต่อไปนี้ในสมุดรายวันทั่วไป 25X5 ม.ค. 1 จ่ายค่าแรงเป็นเงิน 75,000 บาท สำหรับระยะเวลา 5 เดือน ก.ย. 12 จ่ายค่าพาหนะเป็นเงิน 4,800 บาท สำหรับระยะเวลา 1 ปี ธ.ค. 31 กิจการยังไม่ได้จ่ายค่าเช่าร้าน จำนวน 3 เดือน เดือนละ 4,000 บาท ธ.ค. 31 ปรับปรุงบัญชี คำสั่ง ให้ปรับปรุงรายการต่อไปนี้ในสมุดรายวันทั่วไป ในวันที่ 31 ธันวาคม 25X5 ซึ่งเป็น วันสิ้นงวดบัญชี 1. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 25X5 จ่ายเงินเดือนสำหรับ 8 เดือน จำนวน 32,000 บา โดยกิจการ ได้ลงไว้ในบัญชีเงินเดือน 2. รับค่าเช่าเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 25X5 สำหรับ 12 เดือน จำนวน 36,000 บาท โดยเครดิต รายได้ค่าเช่าทั้งจำนวน 3. จ่ายค่าเบี้ยประกัน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 25X5 สำหรับ 1 ปี จำนวน 72,000 บาท โดย เดบิตค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้าทั้งจำนวน 4. รับค่านายหน้า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 25X5 จำนวน 4,800 บาท สำหรับ 6 เดือน โดย เครดิตรายได้ค่านายหน้ารับล่วงหน้าทั้งจำนวน กิจกรรมเสริมทักษะ 7.3 กิจกรรมเสริมทักษะ 7.4 กิจกรรมเสริมทักษะ 7.5


Click to View FlipBook Version