The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จัดทำเพื้อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับดอกดอกไม้มงคล และความหมาย ลักษณะ ของดอกไม้มงคลทั้ง 20 ขนิด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 621799033, 2022-10-08 03:04:02

ดอกไม้มงคล 20 ขนิด

จัดทำเพื้อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับดอกดอกไม้มงคล และความหมาย ลักษณะ ของดอกไม้มงคลทั้ง 20 ขนิด

สีฟ้ า สื่อความหมายถึง ความโดดเดี่ยวที่ยังคงยืนหยัดในรัก
หรือผู้ที่ยังคงมั่นคงในรัก

สีม่วง มักใช้เพื่อ สื่อความหมายถึง แทนความรักแรกพบ ดังผู้ที่ได้รับ
กุหลาบมีแรงดึงดูดมหาศาลที่ต้องตกหลุมรักในทันที

จำนวนกุหลาบสื่ อความหมาย
1 ดอก รักแรกพบ
2 ดอก แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
3 ดอก ฉันรักเธอ
7 ดอก คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
9 ดอก เราสองคนจะรักกันตลอดไป
10 ดอก คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
11 ดอก คุณเป็นสมบัติที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
12 ดอก ขอให้เธอเป็นคู่ของฉันเพียงคนเดียว
13 ดอก เพื่อนแท้เสมอ
15 ดอก ฉันรู้สึกเสียใจจริง ๆ
20 ดอก ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
21 ดอก ชีวิตนี้ฉันมอบเพื่อเธอ
36 ดอก ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
40 ดอก ความรักของฉันเป็นรักแท้
99 ดอก ฉันรักเธอจนวันตาย
100 ดอก ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
101 ดอก ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
108 ดอก คุณจะแต่งงานกับฉันไหม
999 ดอก ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย

ความหมายดอกกุหลาบอื่น ๆ

กุหลาบแดงเข้ม (สีเหมือนไวน์แดง) "เธอช่างมีเสน่ห์งามเหลือเกิน"
กุหลาบตูมสีแดง "ฉันเริ่มรักเธอแล้วจ้ะ"
กุหลาบบานสีแดง "ฉันรักเธอเข้าแล้ว"
กุหลาบสีแดงที่โรยแล้ว "ความรักของเรานั้นจบลงแล้ว"
กุหลาบตูมสีขาว "เธอช่างไร้เดียงสาน่าทะนุถนอมเหลือเกิน ฉันรัก
เธอ"
กุหลาบสีขาวที่โรยแล้ว "เสน่ห์ของเธอมันเริ่มลดน้ อยถอยลงแล้วนะ
จ๊ะ"
กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย

ดอกบัว

บัว ได้รับการขนานนามให้เป็น "ราชินีแห่งไม้น้ำ" เป็นพืชน้ำล้มลุกที่มี
ทั้งลักษณะลำต้นที่เป็นหัว เหง้า หรือไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจาก
ลำต้นโดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำ หรือเหนือน้ำ รูปร่างของ
ใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว

ดอกบัวถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี ความเชื่อมีมาตั้งแต่ สมัย
พุทธกาล ซึ่งมีตำนานกล่าวว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ปรุงยาจากดอกบัว
ถวายแด่ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า แก้อาการอ่อนเพลีย ถือว่าดอกบัวเป็น
ดอกไม้ประจำศาสนาพุทธตามพุทธประวัติพบว่า บัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่
เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเมื่อ
ได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความ
ละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรง
พิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บาง
พวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่า

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บัวหลวงจำนวนมาก กลีบด้านนอกสุด 2 - 4 กลีบ มักมีขนาดเล็กกว่า

ปรกติ ลักษณะคล้ายเป็นกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณู
สั้น อับเรณูรูปยาว สีเหลือง ที่ยอดอับเรณูมีรยางค์สีขาวยื่นออกมาเป็นติ่ง
เกสรเพศเมียจำนวนมากเรียงตัวอยู่บนฐานรองดอกที่ขยายขนาดออกมา
คล้ายฝักบัว เรียก ฐานดอกนูน (torus) โผล่เฉพาะส่วนยอดเกสรเพศเมีย
ให้เห็นก้านชูยอดเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรเพศเมียคล้ายรูปจานสี
เขียว รังไข่เหนือวงกลีบ ออวุล 1 อันติดอยู่ด้านบนของรังไข่

ความเชื่ อและความหมาย
ความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคน
เรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือน
กับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วย
ธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมีความเป็นมงคลยิ่งนัก

กระดังงา

กระดังงา
กระดังงา หรือกระดังงาไทย ชื่ออื่น สะบันงา สะบันงาต้น สะบานงา

(ภาคเหนือ) กระดังงาใบใหญ่(กลาง) กระดังงาใหญ่ กระดังงอ (ยะลา)
กระดังงา เป็นไม้ยืนต้นในตระกูลเดียวกับน้ อยหน่าและการเวก
กระดังงามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียเขตร้อนในแถบของประเทศฟิ ลิปปิ นส์และ
ประเทศอินโดนีเซีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น ความสูง 8-15 เมตร เป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดปี
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม.
ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ
กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผล
เป็นกลุ่มผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตอนเช้าและเย็น โดยเริ่มออกดอกเมื่อ
ปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 – 8 เมตร จึงจะออกดอก กระดังงาเป็นไม้
เลื้อยที่เปลือกจะหนาขึ้นตามอายุ

โดยสามารถตอนกิ่งได้แบบเดียวกับไม้ยืนต้น แต่มีโอกาสที่จะติดเชื้อ
โรค รา ทำให้กิ่งที่ชำได้มีความเปราะ กิ่งหักง่าย ส่วนใหญ่จึงนิยมจะขยาย
พันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เปลือกใช้ทำเชือกดอกนำไปกลั่นน้ำหอม น้ำมัน
หอมระเหย ใช้นำไปเป็นส่วนปนะกอบของยาหอม มีฤทธิ์แก้วิงเวียน โดย
จัดอยู่ในส่วนประกอบของ เกสรทั้งเจ็ดตำรายาไทย ใช้ใบและเนื้อไม้ต้ม
กินเป็นยาขับปัสสาวะ ผลแก่ใช้ผลสีเหลืองอมเขียวเกือบดำ นำมาบดใช้
เป็นยา-คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม หรือ นำ
ดอกนำมาลนไฟใช้อบขนมให้มีกลิ่นหอม กระดังงาที่สกัดด้วยเอทานอลมี
ประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของStaphylococcus epidermidis

ความเชื่ อและความหมาย

โดยมีความเชื่อว่า กระดัง คือการทำให้เกิดเสียงดังไปไกล โดยนำ
ความเชื่อมาจาก บันทึกโบราณจาก นกการะเวกในสมัยพุทธกาล มีเสียง
ดังไพเราะก้องไกลทั่วสวรรค์

จำปี

จำปี มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า จุมปี, จุ๋มปี๋ (ภาคเหนือ) มีถิ่นกำเนิดทาง
ตอนใต้ของจีน มาเลเซียและอินโดนีเซีย แบ่งเป็นสปีชีส์ได้ประมาณ 50
ชนิด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้น

สีน้ำตาลแตกเป็นร่องถี่ กิ่งเปราะ หักง่าย เรือนยอดรูปกรวยทึบ ใบเดี่ยว
เรียงสลับ ใบมีรูปรี ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ยาว 20 เซนติเมตร กว้าง 8
เซนติเมตร ออกดอกเดี่ยวที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว แคบเรียบ มี 8-12
กรีบ ยาว 4-6 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม
และเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง กิ่งมีขนสีเทา ใบเดี่ยวเรียงเวียน หู
ใบยาวถึง 2.5 เซนติเมตร มีขน ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร ใบรูปใบ
หอกแกมรูปไข่ถึงแกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 5.5-16 เซนติเมตร ยาว
15.35 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ยาว 3 เซนติเมตร โคนใบสอบ
เรียว ก้านดอกย่อย ยาว 0-2 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก สีขาว มีกลิ่น
หอม กลีบรวม มี 12 กลีบ (อาจพบมี 8 กลีบ) รูปขอบขนาน ปลายแหลม
ขนาดใกล้เคียงกัน ยาว 3-3.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก 20-
32 อัน เกสรเพศเมีย ก้านชูเกสร ยาว 0.5 เซนติเมตร รังไข่มี 10-13 อัน
(อาจมี 4 อัน) แยกกัน ผิวเกลี้ยงหรือมีขนสีน้ำตาล ไม่ติดผล

ความเชื่ อและความหมาย
ดอกจำปี เป็นดอกไม้มงคลของชาวราศีสิงห์ มีความเชื่อว่าหากนำดอก

จำปีถวายพระ ทำบุญ จะส่งผลให้เจริญในหน้ าที่การงานให้เจริญยิ่งขึ้นไป
อีกทั้งในสมัยก่อนยังใช้ดอกจำปีเสียบร่องอก ซึ่งถ้าหากดอกจำปีไม่ร่วง
หล่นลงมาที่พื้น สาวไทยผู้นั้นจะได้รับการยกย่องว่ามีทรวงอกที่งดงาม
ตามสมัยนิยมที่สุด เนื่องจากสมัยนั้นผู้ที่มีอกที่ชิดกันนั้น เป็นอกที่งดงาม
อย่างมากที่สุด

ดอกเบญจมาศ

เบญจมาศ หรือ สกุลเบญจมาศ เป็นสกุลไม้ตัดดอกในวงศ์ทานตะวัน ที่
นิยมปลูกประดับ ตัดขาย และใช้กิน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2
ของโลก รองจากกุหลาบ (2537)เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม
สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก มีถิ่นกำเนิดในประเทศ
ญี่ปุ่นและจีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ดอกเบญจมาศโดยทั่วไปมักหมายถึง ชนิดที่เป็นที่รู้จักดีคือ เบญจมาศ ซึ่ง

เรียกรวมกันว่า "ดอกเก๊กฮวย" นิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้ม
กับน้ำตาลทำน้ำเก๊กฮวย มีอยู่หลายสายพันธุ์
พันธุ์เบญจมาศอยู่กว่า 1,000 พันธุ์ปลูก ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็น
ประเภท Standard Type สีเหลืองและสีขาว พันธุ์ที่นิยมปลูกในขณะนี้คือ
พันธุ์ขาวการะเกด พันธุ์ขาวเมืองตาก และพันธุ์ TW12 (Pui Tsin-Shin)
ซึ่งให้ดอกสีขาว พันธุ์เหลืองตาก พันธุ์เหลืองทอง พันธุ์เหลืองอินทนนท์
พันธุ์เหลืองเกษตร และพันธุ์ TW17 (Shin-Fan-Tsu-Ri) ซึ่งมีดอกสีเหลือง

ถ้าต้องการให้ดอกเบญจมาศมีขนาดใหญ่จะต้องปลิดดอกที่ล้อมรอบดอก
ยอดและดอกที่แตกตามซอกใบทั้งหมดให้แต่ละกิ่งเหลือดอกยอดเพียงดอก
เดียวควรปลิดดอกข้างเมื่อมีขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ มิฉะนั้นดอกยอดจะมี
ขนาดเล็กและก้านดอกจะเหนียวขึ้นถ้าปลิดเร็วเกินไปจะปลิดลำบากเพราะ
ดอกยังมีขนาดเล็กเกินไปและจะเสียเวลาหลายครั้ง เนื่องจากดอกข้างจะ
ทยอยออกมาการแยกหน่อ หลังจากให้ดอกแล้ว จะแตกหน่อจำนวนมาก
สามารถแยกเอาหน่อซึ่งมีรากติดอยู่ไปปลูกได้

ความเชื่ อและความหมาย
โดยสีของเบญจมาศจะมีอยู่มากมายหลายสีแต่ละสีของดอกก็จะมีความ
หมายตามสีของดอกนั้น ความหมายของทั้ง3สีมีดังต่อไปนี้

สีขาว มีความหมายถึง ความซื่อสัตย์ , ความจริงใจ



สีเหลือง มีความหมายถึง ความโชคดี นิยมมอบให้ญาติ
ผู้ใหญ่ที่นานๆเจอกันที่




สีแดง มีความหมายถึง ความรัก “การรักใคร่ชอบพอ
กัน”


Click to View FlipBook Version