โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ คำนำ รายงานการดำเนินงานโครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการกับการดำเนินงาน ของโครงการ รูปแบบการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ความรู้กับประชาชนที่สนใจในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น มีทักษะในการป้องกันอัคคีภัย ให้กับตัวเองและคนรอบข้างให้มีความปลอดภัย และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จ ของโครงการ การสรุปผลความสำเร็จและความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ประมวลภาพ การจัดกิจกรรม และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำข้อมูลสำหรับการวางแผน การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สุไหงปาดีเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจต่างๆ ของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในพื้นที่ให้มีคุณภาพ สามารถพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหาร บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และสร้างความเชื่อมั่นต่อชุมชนต่อไป นางยูไนดะห์ มะเก งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กศน.อำเภอสุไหงปาดี ๒๓ กุมภาพันธ์256๖
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ สารบัญ หน้า คำนำ สารบัญ บทนำ 1 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1 กลุ่มเป้าหมาย ๑ วิธีการดำเนินการ ๒ งบประมาณที่ได้รับ ๔ ผลการดำเนินโครงการ ๔ ตารางสรุปการวิเคราะห์ ๕-๗ สรุปการวิเคราะห์ จุดเด่น จุดที่ควรไปพัฒนาและข้อเสนอแนะของโครงการ ๗-๘ ภาคผนวก ภาพถ่ายกิจกรรม ขออนุมัติโครงการ ขออนุญาตโครงการ โครงการ กำหนดการโครงการ คำสั่งแต่งตั้งโครงการ แบบประเมินความพึงพอใจ ผู้จัดทำ บรรณานุกรม
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ สรุปผลการดำเนินงาน โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ บทนำ สอดคล้องกับจุดเน้นการดำเนินงานของ สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 256๖ หลักการ กศน.เพื่อประชาชน “ก้าวใหม่ : ก้าวแห่งคุณภาพ” จุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 256๖ ๑.การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.๓ เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน และ วางแผนเตรียมความพร้อมในการป้องกัน รับมือ และเยียวยา เหตุการณ์ภัยพิบัติจากธรรมชาติ รวมทั้งการ ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2562) มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง 1.1 ผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องมีความรู้ ความสามารถ และหรือทักษะ และหรือคุณธรรม เป็นไปตามเกณฑ์การจบหลักสูตร 1.2 ผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ หรือประยุกต์ใช้ บนฐาน ค่านิยมร่วมของสังคม 1.3 ผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องที่นำความรู้ไปใช้จนเห็นเป็นประจักษ์หรือตัวอย่างที่ดี มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการเรียนต่อเนื่อง 2.1 หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องมีคุณภาพ 2.2 วิทยากรการศึกษาต่อเนื่องมีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ตรงตามหลักสูตร การศึกษาต่อเนื่อง 2.4 การวัดและประเมินผลผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง หลักการและเหตุผล ด้วยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการ กระทำ ของมนุษย์หรือแม้แต่การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้จาก สื่อต่าง ๆ อาทิไฟไหม้อาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน ล้วนสร้างความสูญเสียอย่างมากมาย ซึ่ง เราอาจมองภัยพิบัติที่ห่างตัวเราแต่เราไม่มองภัยที่ใกล้ตัวเรา เมื่อเกิดภัยพิบัติกับตัวเราและเพื่อร่วมงาน จึงเป็น ตัวอย่างที่เราต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเองและคนอื่น ให้ได้รับความปลอดภัยไปพร้อมกัน ในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดีมีอาคารร้านค้า รวมทั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชนที่อยู่ในชุมชนต่างๆ ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเหล่านี้ตลอดจนสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับหลักประกันความปลอดภัยด้าน อัคคีภัย ภายใต้การจัดการที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกชุมชน โดยประชาชนและชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ เสี่ยงภัย จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสา ธารณภัยในเบื้องต้น และฝึกซ้อมเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่การปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน ขณะเกิดภัย รวมถึงการอพยพประชาชนไปสู่พื้นที่ปลอดภัย อันเป็นการเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพ
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ของชุมชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งนี้ เพื่อลดภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ของตัวเองและคนรอบข้างให้มีความปลอดภัยไปพร้อมกัน ในการนี้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงปาดีเห็นความสำคัญของ กิจกรรมดังกล่าว จึงได้จัดทำหลักสูตรโครงการฝึกอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการป้องกันอัคคีภัยให้กับตัวเองและ คนรอบข้างให้มีความปลอดภัย และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการป้องกันอัคคีภัยให้กับตัวเองและคนรอบข้างให้มีความปลอดภัย 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป้าหมาย เชิงปริมาณ - ประชาชนทั่วไป จำนวน ๘๑ คน เชิงคุณภาพ - กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น สามารถนำ ทักษะในการป้องกันอัคคีภัยให้กับตัวเองและคนรอบข้างให้มีความปลอดภัย และสามารถ นำหลักการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ วิธีการดำเนินการ กิจกรรมหลัก วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เป้าหมาย (คน) พื้นที่ ดำเนินการ ระยะเวลา งบประมาณ 1. สำรวจ กลุ่มเป้าหมาย เพื่อทราบจำนวนกลุ่มเป้าหมาย -เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ -กลุ่มเป้าหมาย ๑ ๘๑ ทุกตำบล ๕ มกราคม 256๖ - 2. ประชุม/ วางแผนการ ดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อมการ ดำเนินงาน เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ แลคณะทำงาน ที่เกี่ยวข้อง 2๒ กศน.อำเภอ สุไหงปาดี 1๐ มกราคม 256๖ - 3. เขียน โครงการเพื่อ ขออนุมัติ เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการ ดำเนินโครงการ ผู้รับผิดชอบ โครงการ 1 กศน.อำเภอ สุไหงปาดี 1๗ มกราคม 256๖ - 4. แต่งตั้ง คณะทำงาน ดำเนินงาน ฝ่ายต่างๆ เพื่อแต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินงานฝ่ายต่างๆ และ มอบหมายหน้าที่ความ รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ แลคณะทำงาน ที่เกี่ยวข้อง 2๓ กศน.อำเภอ สุไหงปาดี ๑๗ มกราคม 256๖ -
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ กิจกรรมหลัก วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เป้าหมาย (คน) พื้นที่ ดำเนินการ ระยะเวลา งบประมาณ 5. ดำเนินงาน ตามโครงการ อบรม คุณภาพชีวิต การป้องกัน และการระงับ อัคคีภัย ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๖ วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและ ระงับอัคคีภัยเบื้องต้น 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะ ในการป้องกันอัคคีภัยให้กับ ตัวเองและคนรอบข้างให้มีความ ปลอดภัย 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ กลุ่มเป้าหมาย ของโครงการ 8๑ ห้องประชุม ฉัตรวาริน อำเภอ สุไหงปาดี ๑๖ กุมภาพันธ์ 256๖ ๙,๓๑๕.- 6. นิเทศ/ ติดตามผล การดำเนินโครงการตาม วัตถุประสงค์ เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ 3 กศน.อำเภอ สุไหงปาดี ๑๖ กุมภาพันธ์ 256๖ - 7. สรุป ประเมินผล โครงการ เพื่อสรุปและประเมินผลการ ดำเนินโครงการ เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ 1 กศน.อำเภอ สุไหงปาดี ๒๓ กุมภาพันธ์ 256๖ - 8. รายงานผล กาดำเนินงาน โครงการ เพื่อรายงานผลการดำเนิน โครงการต่อผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ 1 กศน.อำเภอ สุไหงปาดี ๒๔ กุมภาพันธ์ 256๖ - งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน แผนงาน : พื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิตที่ 4 ผู้รับบริการ การศึกษานอกระบบ กิจกรรมการจัดการศึกษานอกระบบงบดำเนินงาน รหัสงบประมาณ 20002350004002000000 ก า ร ศ ึ ก ษ า เ พ ื ่ อ พ ั ฒ น า ท ั ก ษ ะ ช ี ว ิ ต เ ป ็ น เ ง ิ น ๙ ,๓๑๕. - บ า ท (เก้าพันสามร้อยสิบห้าบาทถ้วน) คือ ๑. ค่าใช้สอย ๑.๑ กลุ่มเป้าหมาย - ค่าอาหารกลางวัน 8๑ คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน ๔,๐๕0.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 81 คน x 20บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน ๓,2๔0.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน X 200 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200.- บาท ๒. ค่าวัสดุ - ค่าวัสดุดำเนินงาน เป็นเงิน ๓๒๕.- บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ เป็นเงิน ๕๐๐.- บาท รวมเป็นเงิน ๙,๓๑๕.- บาท ตัวอักษร เก้าพันสามร้อยสิบห้าบาทถ้วน หมายเหตุ ทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายตามที่จ่ายจริง
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูไนดะห์ มะเก ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โทรศัพท์ 08๙-๒๙๘๔๘๔๐ ผลการดำเนินงาน 1. สภาพการดำเนินงานโครงการ สภาพการดำเนินการจัดโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น สามารถนำทักษะในการป้องกันอัคคีภัยให้กับตัวเองและ คนรอบข้างให้มีความปลอดภัย สามารถนำหลักการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และ นำความรู้ไปเผยแพร่ต่อในชุมชนและสังคม 2. ผลการดำเนินโครงการ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมโครงการ จากผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งสิ้น ๘๑ คน ตารางที่ 1 ผู้เข้าร่วมโครงการ จำแนกตามเพศ เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ ชาย ๒๔ ๓๐ หญิง ๕๗ ๗๐ รวม ๘๑ ๑๐๐ จากตารางที่ 1 พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุดเป็นเพศหญิง ๕๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐ รองลงมา เป็นเพศชาย ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐ ตารางที่ 2 ผู้เข้าร่วมโครงการ จำแนกตามอายุ อายุ จำนวน ร้อยละ ต่ำกว่า 15 ปี - - 15-39 ปี ๒๘ ๓๕ 40-59 ปี ๕๓ ๖๕ 60 ปีขึ้นไป - - รวม ๘๑ 100 จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีอายุระหว่าง15-39 ปีทั้งหมดจำนวน ๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕ อายุระหว่าง 40-59 ปีทั้งหมดจำนวน ๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๕
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ตารางที่ 3 ผู้เข้าร่วมโครงการ จำแนกตามระดับการศึกษา อายุ จำนวน ร้อยละ ต่ำกว่าประถมศึกษา - - ประถมศึกษา ๓ ๔ มัธยมศึกษาตอนต้น ๓๒ 4๐ มัธยมศึกษาตอนปลาย ๔๖ ๕๖ ปริญญาตรี - - อื่นๆ......................... - - รวม ๘๑ 100 จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ที่อยู่ในช่วงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 54 ตามลำดับ ตารางที่ 4 ผู้เข้าร่วมโครงการ จำแนกตามอาชีพ อาชีพ จำนวน ร้อยละ รับราชการ - - พนักงานราชการ - - รับจ้าง ๗๘ 9๖ ธุรกิจส่วนตัว - - อื่นๆ......................... 3 ๔ รวม ๘๑ 100 จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน 7๘ คน คิดเป็นร้อย ละ 9๖ ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ.......จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ ๔
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ตอนที่ 2 การประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการ ผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๘๑ คน ตารางที่ 5 สรุปผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ประเมินความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ 5 มากที่สุด 4 มาก 3 ปานกลาง 2 พอใช้ 1 ควรปรับปรุง ด้านวิทยากร 1. วิทยากรมาให้ความรู้ตรงตามเวลา ๖๘ (๘๔%) 1๓ (๑๖%) - - 2.วิทยากรมาให้ความรู้ครบตามหลักสูตร กำหนด ๖๕ (๘0%) ๑๖ (20%) - - - 3.ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของ วิทยากร ๖๘ (๘๔%) 1๓ (๑๖%) - - - 4.เนื้อหาวิชาที่จัดการเรียนรู้ตรงตามความ ต้องการของท่านเพียงใด ๖๕ (๘0%) ๑๖ (20%) - - - รวม ๒๖๖ (๘๒%) 5๘ (๑๘%) - - ด้านสถานที่/สื่ออุปกรณ์/ระยะเวลา 5.สถานที่เรียนเหมาะสมเพียงใด ๖๘ (๘๔%) 1๓ (๑๖%) - - - 6.จำนวนสื่อ/อุปกรณ์การฝึกประกอบการ เรียนเพียงพอเพียงใด ๖๕ (๘0%) ๑๖ (20%) - - - 7.ระยะเวลาในการเรียน/ กิจกรรม เหมาะสมเพียงใด ๖๘ (๘๔%) 1๓ (๑๖%) - - - รวม ๒๐๑ (๘3%) 4๒ (๑๗%) - - - ด้านความรู้ที่ได้รับ/การนำความรู้ไปใช้ 8.ท่านได้รับความรู้/ทักษะ จากการเข้าร่วม โครงการ/กิจกรรมมากเพียงใด ๖๘ (๘๔%) 1๓ (๑๖%) - - - 9.ท่านสามารถนำความรู้/ทักษะที่ได้ไป ใช้ได้มากเพียงใด ๖๕ (๘0%) ๑๖ (20%) - - - 10.ท่านได้รับโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียม กันเพียงใด ๖๘ (๘๔%) 1๓ (๑๖%) - - - 11.ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ากับเวลา และความ ตั้งใจเพียงใด ๖๕ (๘0%) ๑๖ (20%) - - -
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประเมินความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ 5 มากที่สุด 4 มาก 3 ปานกลาง 2 พอใช้ 1 ควรปรับปรุง 12.ท่านพึงพอใจต่อหลักสูตรนี้เพียงใด ๖๘ (๘๔%) 1๓ (๑๖%) - - - รวม ๓๓๔ (๘๒%) ๗๑ (๑๘%) - - - เฉลี่ยในภาพรวม ๘๐๑ (๘๒%) 1๗๑ (๑๘%) - - - จากตารางที่ 5 พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อย ละ (๘๔%) อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 2๐ ตอนที่ 3 ความคิดเห็นเพิ่มเติม ความคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้เข้าร่วมโครงการ สรุปได้ดังนี้ 1. สิ่งดีๆ / ความประทับใจดีๆ ที่ได้รับจากการได้เข้าร่วมกิจกรรม กศน. ได้แก่ - มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น - เป็นความรู้ที่ดีมาก สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ - วิทยากรให้ความรู้ดีมาก - มีการสาธิตและได้ให้กลุ่มเป้าหมายได้ระงับอัคคีภัยเบื้องต้น ทำให้มีทักษะในการป้องกันอัคคีภัย ให้กับตัวเองและคนรอบข้างให้มีความปลอดภัย 2. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงการจัดกิจกรรม กศน. ได้แก่ - ด้วยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการ กระทำ ของมนุษย์หรือแม้แต่การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้จาก สื่อต่าง ๆ อาทิไฟไหม้อาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน ล้วนสร้างความสูญเสียอย่างมากมาย ซึ่ง เราอาจมองภัยพิบัติที่ห่างตัวเราแต่เราไม่มองภัยที่ใกล้ตัวเรา เมื่อเกิดภัยพิบัติกับตัวเราและเพื่อร่วมงาน จึงเป็น ตัวอย่างที่เราต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเองและคนอื่น ให้ได้รับความปลอดภัยไปพร้อมกัน สรุปการวิเคราะห์ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อเสนอแนะของโครงการ มีดังนี้ 1. จุดเด่นของโครงการ/กิจกรรมในครั้งนี้ โครงการฝึกอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการป้องกันอัคคีภัยให้กับตัวเองและ คนรอบข้างให้มีความปลอดภัย และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. จุดที่ควรพัฒนาของแผนงาน /โครงการ ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ต่อเนื่อง จัดกลุ่มเป้าหมายให้มีความหลากหลายในช่วงอายุต่างๆ ให้มากขึ้น และมีระยะเวลาในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม ตรงความต้องการของผู้ร่วมกิจกรรม
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ 3.ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาแผนงาน / โครงการ พัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ตรงกับ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตามสถานการณ์ต่างๆ และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา) ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ลงชื่อ............................... ............................................. (นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์) ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุไหงปาดี วันที่.............เดือน...........................................พ.ศ..................
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ วันที่ 1๖ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 256๖ พิธีเปิดโครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ 2566 “โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖” ********************************** วันที่ 16 กุมภาพันธ์2566 นางหทัยกาญจน์วัฒนสิทธิ์ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดีมอบหมายนางยูไนดะห์ มะเก ตำแหน่ง ครูพร้อมด้วยบุคลากร กศน.อำเภอสุไหงปาดี จัดทำโครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับ อัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ 2566 ให้แก่ประชาชนทั่วไปในอำเภอสุไหงปาดีเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสร้างองค์ ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการป้องกันอัคคีภัยให้กับตัวเองคนรอบข้างให้มีความปลอดภัย และสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีนายพงศ์เพชร มากเกื้อ นายอำเภอสุไหงปาดีเป็นประธานพิธีเปิด และมีรองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปะลุรูพร้อมด้วย ผู้บริหาร เทศบาลตำบลปะลุรู ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการ และมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ คือนายนริศ ยูโซ๊ะ พนักงานป้องกันและสาธารณภัย ณ เทศบาลตำบลปะลุรูอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต มอบของที่ระลึก โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ วันที่ 1๖ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 256๖ “มอบของที่ระลึก โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ 2566” ********************************** วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดี มอบของที่ระลึกแด่ นายพงศ์เพชร มากเกื้อ นายอำเภอสุไหงปาดีแทนคำขอบคุณในโอกาสที่ให้เกีรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดและพบปะให้โอวาท แก่ผู้เข้าร่วมร่วมโครงการ และนายเชิดชัย นีรนาถภูวดล รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปะลุรูแทนคำขอบคุณที่อนุเคราะห์ วิทยากร สถานที่ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างดียิ่ง ในโครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ 2566 ณ เทศบาลตำบลปะลุรูอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต บรรยายให้ความรู้ ความเข้าใจ โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ วันที่ 1๖ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 256๖ บรรยายให้ความรู้ความเข้าใจ โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ 2566 ************* วันที่ 16 กุมภาพันธ์2566 นางหทัยกาญจน์วัฒนสิทธิ์ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดีมอบหมายให้ นางยูไนดะห์ มะเก ตำแหน่ง ครู พร้อมด้วยบุคลากร กศน.อำเภอสุไหงปาดี จัดทำโครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกัน และการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ 2566 ให้แก่ประชาชนทั่วไปในอำเภอสุไหงปาดีเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ เข้าร่วมโครงการสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการป้องกันอัคคีภัยให้กับตัวเองคนรอบข้างให้มีความปลอดภัย และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้คือนายนริศ ยูโซ๊ะ พนักงานป้องกันและสาธารณภัย ณ เทศบาลตำบลปะลุรูอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ฝึกปฏิบัติ การป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ วันที่ 1๖ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 256๖ “โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖” ฝึกปฏิบัติ การป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น ********************************** วันที่ 16 กุมภาพันธ์2566 นางหทัยกาญจน์วัฒนสิทธิ์ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดีมอบหมายให้ นางยูไนดะห์มะเก ตำแหน่ง ครูพร้อมด้วยบุคลากรกศน.อำเภอสุไหงปาดี จัดทำโครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการ ระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ 2566 ให้แก่ประชาชนทั่วไปในอำเภอสุไหงปาดีเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการป้องกันอัคคีภัยให้กับตัวเองคนรอบข้างให้มีความปลอดภัย และสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้คือนายนริศ ยูโซ๊ะ พนักงานป้องกันและสาธารณภัย ณ เทศบาลตำบลปะลุรูอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส
โครงการอบรมคุณภาพชีวิตการป้องกันและการระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา ๑. นางหทัยกาญจน์ วัฒนสิทธิ์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสุไหงปาดี ๒. นางยูไนดะห์ มะเก ครู คณะทำงาน ๑. นางยูไนดะห์ มะเก ครู ๒. นางแวนูรไอนี ตาเยะ ครู ๓. นายนุรอัสวาน สิงหะ ครู ๔. นายสมบูรณ์ มามะ ครู ๕. นางมัทมา แวนาแว ครู ๖. นายอัลนากิฟท์ ดารอเดร์ ครู ๗. นายมูฮัมหมัดอัสรี ยูโซะ ครู ๘. นางรจนา นิลวัตน์ ครู ๙. นางสาววาทีณี ศรีจรัส ครู ๑๐.นางสาวโนร์มีร์ร่า ดะแซ ครูผู้ช่วย ๑๑.นายสัญญา สุวรรณราช ครูผู้ช่วย ๑๒.นางสาวชนัญญา ศรีสุข ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล ๑๓.นายนิไยลานี บินนิเด็ง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล 12.นายอาหามะ ตาเยะ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำศูนย์การเรียนชุมชน 13.นางยามีละห์ สิงหะ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำศูนย์การเรียนชุมชน 14.นางสาวจันทิรา สือแม ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำศูนย์การเรียนชุมชน 15.นางสุทธิดา อุดมเพ็ชร์ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำศูนย์การเรียนชุมชน 16.นางสาวรุสนีดา ยูนุ๊ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำศูนย์การเรียนชุมชน 17ว่าที่ร้อยตรีสหัฐ มะดาแฮ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ ๑8.นายอดุลย์ ซะลอ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ เรียบเรียง / จัดพิมพ์/ นางยูไนดะห์ มะเก ครู บรรณาธิการ นางยูไนดะห์ มะเก ครู