The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

e-book วัวธนูหลวงปู่คำแสน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by suchananthkhirmul, 2022-03-11 23:06:39

e-book วัวธนูหลวงปู่คำแสน

e-book วัวธนูหลวงปู่คำแสน

1

2

คาํ นาํ

หนงั สอื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ (E-Book) ฉบับนี้เป็นส่วนหน่ึงของวิชาประวัติศาสตร์ล้านนา
ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับเร่ือง “หลวงปู่ คําแสน คุณาลังกาโร” วัด
ดอนมูล อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่ อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งล้านนา ต้นตํารับการ
สร้างวัวธนู มีวัตถปุ ระสงคใ์ นการจัดทาํ ขนึ้ เพ่ือศึกษา รวบรวมเรอื่ งราวให้ได้เข้าใจบริบทใน
ด้านความเช่ือเก่าแก่ของคนในพื้นที่ สามารถนํามาวิเคราะห์และจัดทําข้ึนได้อย่างเป็น
รูปธรรม

คณะผู้จัดทําต้องขอขอบคุณ คุณครู ตระการ ทนานทอง ผู้ให้ความรู้และแนวทาง
การศึกษา หวังว่าหนังสอื อิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์
ต่อผู้อ่านทุกๆ ท่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด คณะผู้จัดทําขอรับไว้ด้วยความ
ขอบพระคณุ ย่งิ

คณะผูจ้ ัดทํา

3

สารบญั หนา้
1
เรอื่ ง 2
ที่ต้งั วัดดอนมลู ตาํ บลทรายมลู อําเภอสนั กาํ แพง จงั หวัดเชียงใหม่ 8
ประวตั ิหลวงปคู่ าํ แสน
ตํานานแหง่ สดุ ยอดวัวธนโู ลหะยอดนยิ ม ววั ธนคู รูบาคาํ แสน คุณาลังกาโล 15
วดั ดอนมูล จงั หวดั เชยี งใหม่ 17
วิธีปฏบิ ัติตอ่ ววั ธนู ของหลวงปคู่ ําแสน คณุ าลงั กาโล 18
ข้อมูลผูใ้ หส้ มั ภาษณ์
สิง่ ทไี่ ดร้ บั จากการศึกษาของคณะผูจ้ ัดทํา

1

ทต่ี งั้ วัดดอนมลู ตาํ บลทรายมลู อาํ เภอสนั กาํ แพง จงั หวัดเชยี งใหม่

85 หมู่ 1 ตําบลทรายมลู อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่

2

ประวตั หิ ลวงปคู่ าํ แสน

หลวงปู่คําแสน เกิดวันอังคาร 30 เมษายน พ.ศ.2436 ปีมะเมีย บิดา-มารดาชื่อ พ่อเป็ง แม่
จันทร์ตา เพ็งทัน มีพ่ีน้องทั้งหมด 8 คน หลวงปู่เป็นคนลําดับท่ี 7 ปัจจุบันพ่ีน้องของหลวงปู่เสียชีวิต
หมดแลว้ ภูมลิ ําเนาหลวงปเู่ ป็นคนบา้ นดอนมูล ตาํ บลทรายมลู อาํ เภอสันกาํ แพง จงั หวัดเชียงใหม่

อายุ 15 ปี บิดามารดาได้นํามาฝากเป็นลูกศิษย์วัดเพ่ือศึกษาเล่าเรียน ท่านมีความขยันอดทนมาก
พร้อมทั้งเจียมตนเสมอ เพราะบิดามารดาเป็นคนที่มีฐานะยากจน อยู่วัดได้ 2 ปี ท่านก็สามารถอ่าน
ออกเขยี นได้คล่องแคลว่ จนเป็นทร่ี กั ของครูบาอาจารย์ ประกอบด้วยนิสัยท่านเป็นคนอ่อนน้อม วาจา

3

เพราะซอื่ ตรงดี อายุ 17 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร มีพระอธิการโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่ีวัดสัน
โค้ง และได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็น เวลา 4 ปี สมัยเป็นสามเณร นับว่ามีภูมิธรรมมากทีเดียว อายุได้
21 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดอนมูล เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2458 โดยมี ท่านพระ
อธกิ ารโพธิ์ วดั สนั โคง้ เป็นพระอุปชั ฌาย์ แต่เดิมไม่ได้มีวัดดอนมูล ณ ตรงนี้ เดิมทีวัดแรกของชุมชนนี้
คือวดั สนั โค้งเกา่ แต่เดิมไมไ่ ด้มชี อื่ ว่าสนั โคง้ เก่า แตช่ ่อื ว่าวดั หลวง ต่อมาเม่ือประชากรเพ่ิมขึ้น เร่ิมขยับ
ขยาย ทางวัดสันโค้งเก่า จึงส่งพระมาสร้างอาราม แต่ก่อนจะมีลักษณะเป็นดอน และมีต้นไม้ต้นหนึ่ง
ไม่แน่ใจว่าเป็นต้นอะไร แต่มีคนเช่ือว่าเป็น ต้นผ้ึง ท่ีมาของต้นผึ้งคือ เน่ืองจากมีผึ้งหลวงมาทํารัง
เม่ือก่อนจะช่ือว่าวัดต้นผ้ึงแต่เด๋ียวน้ีเปลี่ยนมาเป็นวัดดอนมูล เพราะว่าจะมีลักษณะเป็นดอนเป็นเนิน
ณ ขณะนัน้ หลวงป่คู าํ แสนเกิดแลว้ แต่ยังเป็นเด็กอยู่ หลวงปู่คนแรกท่ีหลวงปู่คําแสนติดตามคือ ครูบา
คํามูล ธรรมเสนา จากน้ันหลวงปู่คําแสนก็บวชเป็นเณร ได้เริ่มบุกเบิกกับอาจารย์หลายๆ ท่าน จน
ได้มาเป็นเจ้าอาวาส พอหลวงปู่เจริญวัยขึ้น อายุได้ประมาณ 21 ปี ซึ่งจะตรงกับปีพ.ศ. 2458 หลวงปู่
ได้อุปสมบทเป็นพระ ยกเป็นพระภิกษุ ณ วัดดอนมูลแห่งน้ี ตั้งแต่อายุ 21 ปี เป็นต้นมา หลวงปู่คํา
แสนค่อนขา้ งจะมีความใฝ่รู้ไปทางเร่อื งกาํ มะถันและการเรียนเลขอักขระเลขยันต์

4
วดั ดอนมลู ตาํ บลทรายมลู อาํ เภอสนั กาํ แพง จงั หวดั เชียงใหม่

5

เม่ือบวช 3 พรรษา ไปศึกษาต่อกับพระอธิการแก้ว ชยเสโน (ครูบาแก้ว) ท่ีวัดนํ้าจํา ตําบล
รอ้ งวัวแดง อาํ เภอสนั กาํ แพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยไดศ้ กึ ษาพระธรรมวนิ ัยและเรยี นกัมมัฏฐาน ก่อน
หน้านั้น ทราบข่าวจากชาวบ้านว่าทางราชการได้จับครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มากักขังไว้ท่ี
วัดศรดี อนไชย จ.เชยี งใหม่ ครบู าคําแสนมีความเคารพ และเลื่อมใสในครูบาศรีวิชัยเป็นอย่างย่ิง ได้
ชักชวนพระสงฆ์และชาวบ้านให้พากันไปเยี่ยม แต่คนทั้งหลายกลัวจะถูกตําหนิหรือถูกกล่ันแกล้ง
จากทางราชการ ในที่สุดก็เดินทางไปกับเณรและลูกศิษย์เพียง 2-3 คนเท่าน้ัน เดินทางประมาณ
15-16 กิโลเมตรกว่าจะถึงวัดศรีดอนไชย เมื่อเข้าไปภายในวิหารนั้นมีพระสงฆ์สูงอายุรูปหนึ่งนั่งอยู่
ด้วยอาการสงบ ในลักษณะขัดสมาธิ ห่มผ้าสีกรัก ในขณะท่ีกราบลงไปน้ันก็เกิดความอ่อนไหว จน
รอ้ งไหด้ ว้ ยความสงสารในครบู าศรีวชิ ยั ที่ต้องมาถูกจองจาํ และจะถกู จบั สกึ ท่ี กรงุ เทพฯ

เสียงร้องไห้ของครูบาคําแสนในขณะนั้น ทําให้ครูบาศรีวิชัยเอื้อมมือมาตบที่ไหล่ พร้อม
กล่าวว่า “ท่านเป็นพระจะร้องไห้ไม่ได้ พระเป็นผู้ตัดแล้วซึ่งกิเลส เม่ือเป็นเช่นน้ันต้องระงับอารมณ์
ไม่ให้มีการร้องไห้เด็ดขาด” ขณะเดียวกันก็เริ่มสอนให้นั่งขัดสมาธิ เอามือประสานกันวางไว้บนตัก
หลับตาพร้อมกับท่องคําว่า “นะโม” ในใจหลายสิบหลายร้อยจบให้ท่องไปเร่ือย ครูบาคําแสนปฏิบัติ
ตามคําสง่ั ท่องไปทอ่ งมาไม่นานอาการสะอึกสะอน้ื และนํา้ ตากห็ ายไป ครูบาศรีวิชัยจึงสั่งให้ลืมตาข้ึน
ครูบาศรีวิชัยเทศน์อบรมเก่ียวกับขันติให้ครูบาคําแสนฟัง พร้อมกับแนะนําสั่งสอนให้ศึกษาวิปัสสนา
แล้วครูบาคําแสนก็นมัสการลา จึงนับว่าเป็นบทเรียนแรกในชีวิตเก่ียวกับการศึกษาวิปัสสนา และ
ท่านก็หาทางจะศึกษาในเร่ืองนี้ ต่อมาเมื่อท่านเรียนกัมมัฏฐานจากครูบาแก้ว ชัยยะเสโน ท่านก็ขอ
ลาครบู าแก้วออกเดินธุดงค์จารกิ ไปในที่ต่างๆ เม่อื คราวเข้าพรรษาท่านจงึ จะกลับมาอยทู่ ่วี ดั ดอนมลู

พออายุ 34 ปี พระอธิการธรรมเสนา เจ้าอาวาสวัดดอนมูลมรณภาพ คณะศรัทธาจึงได้
นิมนต์ครูบาคําแสนเป็นเจ้าอาวาสสืบมา จนท่านมีอายุ 39 ปี มีพระธุดงค์ชื่อพระอาจารย์แหวน
สุจิณโณ เดินธุดงค์มาพักอาศัยอยู่ที่วัดอู่ทรายคํา ในเมืองเชียงใหม่ เม่ือทราบดังน้ันท่านได้ให้โยม
คนหน่ึง ไปนิมนต์พระอาจารย์แหวน ให้มาเผยแผ่พระธรรมและอบรมที่วัดดอนมูล ต่อมาพระ
อาจารยม์ นั่ ภูริทัตโต มาพํานกั อยู่ท่ีวดั เจดียห์ ลวง พระอาจารย์แหวนและครูบาคาํ แสนไดไ้ ปนมัสการ
และได้ถวายเป็นศิษย์พระอาจารย์ม่ันตั้งแต่บัดน้ันมา ต่อมาพระอาจารย์แหวนท่านได้จาริกไปมาใน
เมอื งเชียงใหม่ และไปจาํ พรรษาท่ีวดั ป่าห้วยนํา้ รนิ อ.แมแ่ ตง ส่วนครูบาคําแสน หลังจากได้เรียนพระ

6

กัมมัฏฐานจากพระอาจารย์มั่น แล้วท่านก็ได้เดินธุดงค์ไปยังประเทศพม่า ย่างกุ้ง หงสาวดี แล้วเดิน
ย้อนกลับไปสู่ภาคอีสาน ไปอยู่กับท่านอาจารย์สิงห์ท่ีจังหวัดนครราชสีมา จากน้ันจึงได้เดินทางกลับ
ข้ึนไปทางเหนือ ไปอยู่ถ้ําเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ถ้ําพระ จังหวัดเชียงราย ถํ้าดอกคําพร้าว พระบาทส่ี
รอย อําเภอแมร่ มิ จงั หวัดเชยี งใหม่ ที่ใดเป็นท่ีวิเวก เป็นป่าเปล่ียวท่านก็ได้พักภาวนาเรื่อยไปไม่หยุด
ไม่หยอ่ น ตามโอวาทของพระอาจารย์มน่ั ท่ไี ด้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ทําจริงกค็ งจะได้ของจริงเท่าน้ัน” ท่าน
เปน็ ลกู ศษิ ย์ที่อย่ใู นมหานิกาย ไม่ต้องญตั ตใิ หมเ่ ป็นธรรมยตุ

หลวงปคู่ ําแสนสรา้ งเคร่ืองรางของขลังหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตะกรุดโทน ผ้ายันต์มหาสิทธิ
มงคล มหาสิทธิโชค และเครือ่ งราง ทถี่ อื ว่าทา่ นไดส้ รา้ งตามหลักโบราณ คอื วัวธนู

หลวงปคู่ าํ แสนนง่ั บนเสลย่ี ง แหร่ อบอโุ บสถวดั ทา่ ซงุ หลวงปู่คาํ แสนออกเดินธดุ งคจ์ าริกไปในท่ีตา่ งๆ

หลวงพอ่ ฯ หลวงปคู่ าํ แสน (นงั่ ตรงกลาง) และ หลวงปกู่ ลอ่ ม วดั บุปผาราม

7
ณ วดั ดอนมลู มสี ถานทก่ี ราบไหว้รปู ปนั้ หลวงปคู่ าํ แสน

8

ตํานานแห่งสุดยอดวัวธนูโลหะยอดนิยม วัวธนูครูบาคําแสน คุณาลังกาโล วัดดอนมูล จังหวัด
เชยี งใหม่

วัวธนูของล้านนาน้ัน สมัยก่อนเป็นเครื่องรางที่พวกพ่อค้า หรือนักเดินทาง นิยมพกพากัน
มาก เพอ่ื ปอ้ งกนั พวกโจรขโมย เสือสมงิ ส่งิ ชั่วรา้ ย และ กนั พวกภูตผีปีศาจตา่ งๆ มิให้มาหลอกหลอน
การสร้างวัวมีหลายประเภท ทั้งประเภท ดิน ผง ว่าน ไม้ไผ่ หญ้าคาสาน ข้ีผึ้ง และ ประเภทหล่อ
โลหะและถา้ กลา่ วถึง วัวธนลู ้านนาประเภทเนอ้ื โลหะน้นั ววั ธนขู องครูบาคาํ แสน วดั ป่าดอนมูล อ.สัน
กําแพง จ.เชียงใหม่ ถือได้ว่า เป็นวัวธนูโลหะยอดนิยมอันดับ 1 ของประเทศไทย ที่ได้รับความนิยม
สูง และ มีผู้แสวงหากันมากท่ีสุดจนถึงปัจจุบัน นับวันจะกลายเป็นตํานาน ไปเสียแล้วกับ วัวธนู ครู
บาคําแสน หายากมากๆ นานๆ จะเจอสกั ตัว วัวธนูหลวงปู่คําแสนทุกรุ่น เริ่มหายากขึ้นเร่ือยๆ ราคา
ขยบั สงู ข้นึ ตามความตอ้ งการที่มีเพิ่มมากข้นึ

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้และชาวบ้านในพื้นท่ีมีปฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นจริง คือลูกศิษย์เอาไปใช้
สมัยก่อนบ้านแต่ละบ้าน หลวงปู่ก็ได้ให้วัวธนูไป บางคนก็ไปฝังท่ีเสาบ้าน บางบ้านก็ไปลงท่ีเสาเอก
บางบ้านกไ็ วเ้ ฝา้ บา้ น ก็เลยเปน็ จุดเร่มิ ตน้ จดุ เรมิ่ ตน้ ของปาฏิหารยิ ์ คือเม่อื ถงึ กลางคืนจะมีเรื่องเล่าว่า
มีวัวเดินรอบๆ บ้านทั้งคืนแม้กระทั่งวันท่ีฝนตก แดดออก มันก็จะมีเสียงวัวตลอด ท้ังๆ ที่บางบ้านก็
ไม่ได้เล้ียงวัว หรือบางบ้านก็จะเล้ียงวัว พอหลวงปู่คําแสนให้วัวธนูไปก็เก็บไว้ที่บ้าน วัวท่ีเขาเล้ียงไว้
จากท่ีมนั เงียบๆ สงบ กลายเป็นแตกกระเจงิ

วัวธนยู ังสามารถป้องกันโจรขโมยได้ ถา้ มวี วั ธนูของหลวงปู่คําแสนไว้ในบ้าน ขโมยขึ้นบ้านจะ
ขโมยของ ไปไมไ่ ด้ อาจจะมอี ันเป็นไป หรืออาจจะไม่ได้ของเลย มีเรื่องเล่าว่า จะมีขโมยท่ีจะข้ึนบ้าน
ของชาวบ้าน พอตกเช้าก็จับได้เลยโดนคุมขัง ผู้คุมถามว่า ไปทําอะไรท่ีบ้านของชาวบ้านมา ขโมยก็
ตอบว่าจะไปขโมยของจากบ้านแถววัดดอนมูลมา แต่ไปเจอแต่วัวเป็นฝูงเต็มบ้าน เกียรติศักด์ิของ
หลวงปกู่ เ็ ลยดงั เรื่องววั ธนู

วัวธนูเป็นวัตถุมงคลชนิดหน่ึง ข้ึนชื่อของหลวงปู่คําแสน วัตถุมงคลแกจะเริ่มสร้างเม่ือตอน
อายุ 70-84 พรรษา กอ่ นหนา้ ที่จะเป็นววั ธนกู ็มีวัตถมุ งคล มาประมาณ 2-3 รนุ่ ก่อนจะมาเกิด วัวธนู

9

ร่นุ แรกจะเปน็ เหรียญ ปีพ.ศ.2510 และปีพ.ศ.2515 จะมีเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ และวัวธนู แต่ขึ้น
ชือ่ ทีส่ ดุ ก็ จะมีอยู่ 2 อย่าง วัวธนู แลว้ ก็เหรยี ญชาตรีทวลี าภ แตว่ วั ธนคู อ่ นข้างท่ีจะเป็นทีย่ อมรบั

10

11
รวมวตั ถมุ งคลขนึ้ ชอื่ ของหลวงปคู่ ําแสน

12

ววั ธนูรุ่นแรกของหลวงป่คู ําแสน
วัวธนูตัวนี้ถือเป็นวัวรุ่นแรกของท่าน จัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2518 จํานวน 1,000ตัว ตอกโค้ด
ชัดเจน หายากข้ึนเร่ือยๆ นับวันจะกลายเป็นตํานาน ใครมีก็ต่างหวงแหนกันทั้งน้ัน กล่าวกันว่า เมื่อ
คราวที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดําได้มรณภาพลง ในย่ามของหลวงพ่อจะมีเครื่องรางที่ท่าน
พกติดตัวไปตลอดด้วย น่ันก็คือ วัวธนูของหลวงปู่ครูบาคําแสน ซ่ึงจากเหตุการณ์นี้เป็นจึงเป็น
เรื่องราวทีส่ ําคญั อกี เรื่องหนึง่ ท่ียืนยันความศกั ดิ์สทิ ธข์ิ อง ววั ธนูหลวงปูค่ รบู าคําแสน ได้เปน็ อย่างดี

13
วัวธนูรุ่นที่ 2 ของหลวงป่คู ําแสน
วัวธนูรนุ่ ที่ 3 ของหลวงปคู่ าํ แสน

14
นอกจากนี้ ยังมีการฝังวัวธนูเอาไว้บริเวณมุมวิหารท้ัง 4 ด้าน ของวัดดอนมูล เชื่อว่าเพ่ือเป็นการปก
ปกั รกั ษาวดั แห่งน้ใี ห้พน้ จากภยั อันตรายต่างๆ อีกด้วย

บรเิ วณมมุ ท้ัง 4 ดา้ น ของวหิ ารวัดดอนมลู

15
วิธปี ฏิบตั ติ ่อววั ธนู ของหลวงปูค่ ําแสน คณุ าลังกาโล

ให้หาหญ้าและน้ําใส่ภาชนะเป็นอาหาร ครบ 7 วันให้เปลี่ยนท้ังหญ้าและน้ําเสียครั้งหนึ่ง
ห้ามเอาวัวธนูไว้ปะปนกับพระพุทธรูปและเครื่องรางของขลังต่างๆ และทั้งห้ามเอาไว้สูงกว่า
พระพทุ ธรูป ววั ธนูมีไวส้ าํ หรับปอ้ งกนั ภยั ภูตผปี ีศาจอนั จะมารบกวนเราทง้ั ทอ่ี ยูอ่ าศยั และยังป้องกัน
พวกมิจฉาชีพเหล่าโจรกรรมท้งั หลายได้อีกดว้ ย หรอื ว่าถ้าจะเอาใชไ้ ปในทางเมตตามหานิยมหรือทาง
โชคลาภ ในเวลากลางคืนให้หันหน้าวัวธนูออกนอกบ้าน เพ่ือป้องกันภูตผีปีศาจและพวกเหล่า
โจรกรรมไดอ้ ีกดว้ ย ในเวลากลางวนั ให้หนั หนา้ วัวธนูเข้าบ้านให้อธิษฐานเอาในทางโชคลาภ ให้จุดธูป
3 ดอก ทกุ เชา้ คาํ่

วธิ ปี ฏบิ ตั ติ อ่ ววั ธนู
จากการสัมภาษณ์ ยายคําไหล่ สุรินทร์ และคุณยายที่อายุมากที่สุดในหมู่บ้าน ยายขอดแก้ว
นิโคทานนทร์ อายุ 100 ปี 3 เดอื น เกิดเม่ือ วันพฤหัสบดี 8 ค่ํา เดือน 3 พ.ศ.2464 เป็นชาวบ้านใน
หมู่บ้านที่ยังมีการเล้ียงและบูชาวัวธนูอยู่ในปัจจุบัน ให้ข้อมูลว่า วัวธนูท่ียังเก็บไว้มีเพียงไม่กี่ตัว
ส่วนมากจะให้ลูกหลานสืบต่อไปเพื่อให้เป็นวัตถุมงคลติดตามตัว บางบ้านก็ปล่อยต่อให้คนอื่น ด้วย
สาเหตุทีไ่ ม่มเี วลาเปล่ียนนํ้า เปลี่ยนอาหารทําพิธีให้วัวธนู เพราะภาระงานที่เยอะข้ึน ผู้ที่ศรัทธาและ

16
ยังบูชาอยู่จึงค่อยๆ ลดลง จะมีเพียงบางกลุ่มที่มีความสนใจในเร่ืองน้ีจริงๆ เท่าน้ัน ท่ียังมีการติดต่อ
ซือ้ ขายวันธนูอย่ใู นปัจจุบนั

รูปปนั้ ขผ้ี งึ้ หลวงปคู่ าํ แสนภายในวหิ ารวดั ดอนมูล

ยายขอดแกว้ นโิ คทานนทร์ อายุ 100 ปี 3 เดอื น

17

ขอ้ มลู ผใู้ หส้ มั ภาษณ์ : 1) พระอณพุ งศ์ ปัญญาวชโิ ร (วดั ดอนมูล)

2) ยายขอดแกว้ นโิ คทานนทร์

3) ยายคําไหล่ สุรนิ ทร์

18

สิง่ ทไ่ี ดร้ บั จากการศกึ ษาของคณะผจู้ ดั ทาํ
1. นางสาวกานตพ์ ิชชา ขตั ริ ัตน์ เลขที่ 23

: คดิ ว่าไดค้ วามรูเ้ ก่ยี งกบั วัวธนูมากๆ เพราะสว่ นตัวไม่คิดทจ่ี ะศึกษาแต่พอได้ความรู้ใหม่ๆทัน
กลับร้สู กึ สนุกไดเ้ จอกับเพอ่ื นที่เราอยากคยุ ดว้ ยแตไ่ ม่ร้จู ะคยุ ยงั ไงได้คุยปรกึ ษากันแกไ้ ขไปดว้ ยกัน

2. นางสาวอรวรรยา ประจวบสาย เลขท่ี 29

; จากท่ีได้ศึกษาเร่ืองราวเกี่ยวกับประวัติหลวงปู่คําแสน คุณาลังกาโรและวัวธนูน้ันมี
ความรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมท่ีดีที่ทําให้เราได้ฝึกการคิดการจําการวิเคราะห์ และกิจกรรมน้ีเหมือนเป็น
การฝกึ การเรยี นรู้ด้วยตนเองหาข้อมูลด้วยตนเองและเป็นเร่ืองที่น่าสนุกอีกด้วยเมื่อได้ไปฟังเรื่องราว

19
มหัศจรรยท์ ีไ่ ม่น่าเช่อื ว่าเคยเกดิ ข้ึนจากคาํ บอกเล่าของผ้รู ้แู ละผูเ้ คยเห็นเหตกุ ารณ์ และบางเหตุการณ์
ยิ่งทําให้เราอยากรู้และอยากเจาะลึกเข้าไป เช่น ในอินเทอร์เน็ตหรือประวัติต่างๆ มักจะกล่าวว่า
หลวงปู่คาํ แสนเป็นเป็นลกู ศิษยข์ องอาจารย์คนน้ีแต่ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้เป็นดั่งคํากล่าวนั้น น้ีก็เป็น
อีกสาเหตุหน่ึงท่ีได้จากการสืบค้นและเรียบเรียงข้อมูลท่ีได้เองก็เป็นเรื่องที่หน้าตื่นตาตื่นใจเช่นกัน
และยังฝึกการทํางานเป็นกลุ่มไม่ว่าจะแบ่งงานหน้าท่ีของแต่ละคนในกลุ่มการช่วยกันเรียบเรียง
ขอ้ มลู ท่ไี ด้และเรียบเรียงเหตกุ ารณก์ ารนําสไลดแ์ ละการนําเสนอเปน็ ขั้นเปน็ ตอนอกี ดว้ ย
3. นางสาวอาทิตยา ไชยเฟย เลขท่ี 30

; ได้ความรู้เกี่ยวกับวัวธนูท่ีไม่เคยได้ยินว่าท่ีมามันมาจากอะไร และทํามานานแค่ไหน ทําไม
ชาวบา้ นถึงศรทั ธาแลว้ นับถอื อกี ท้งั ยังไดร้ ู้วา่ หลวงปคู่ าํ แสนมเี รื่องราวเป็นมาอยา่ งไร
4. นางสาวภคพร ใจบญุ มา เลขท่ี 34

20
; รู้สึกว่าเราได้เรียนรู้เก่ียวกับประวัติความเป็นมาเรื่องราวต่างๆที่เรายังไม่เคยศึกษาหรือ
เรียนรู้มาก่อนและเราก็ได้ทําการศึกษาค้นคว้าไปใช้ในการศึกษาหาคําตอบโดยมีคุณครูคอยกระตุ้น
และเพ่ือนๆในกลุ่มคอยให้คําปรึกษาค้นคว้าดําเนินงาน และได้รู้ถึงหลวงปู่คําแสนเป็นพระท่ีน่ารัก
และเคารพมาก มคี วามรสู้ ึกวา่ ท่านเปน็ ท่นี า่ รักและควรแกก่ ารเคารพอยา่ งย่ิงดว้ ยความรู้สกึ
5. นางสาวอจั ฉรา หลง เลขท่ี 35

; จากที่ได้ศกึ ษาเรือ่ งราวของหลวงปู่คาํ แสนและววั ธนูก็รู้สึกวา่ เร่ืองราวที่ไม่นึกถึงว่าจะมีจริง
หลวงปคู่ าํ แสน คุณาลังกาโร ได้สอนความรมู้ ากมายหลายอย่าง เเละวิธีใชว้ ัวธนูเเละรกั ษาวัวธนู
6. นางสาวสชุ านนั ท์ ไคร้มูล เลขท่ี 39

21
; จากท่ีได้ศึกษาเร่ืองราวของหลวงปู่คําแสนและวัวธนูก็รู้สึกว่า ในประวัติศาสตร์นั้นมีอะไร
หลายๆอย่างที่เราไม่รู้ และไม่นึกว่ามันจะเกิดขึ้นจริง หนูได้รับความรู้ในหลายๆ เรื่อง อย่างเช่น
ประวัตคิ วามเป็นมาของหลวงปู่คําแสน วิธีการปฏิบัติต่อวัวธนู เป็นต้น และได้ฝึกการทํางานร่วมกัน
กบั เพอื่ นๆ
7. นางสาวปานประดับ ปักกาถัง เลขที่ 41

: ความรู้ท่ีได้ศึกษาจากเร่ืองหลวงปู่คําแสน คุณาลังกาโร วัดดอนมูล นากอําเภอสันกําแพง
จังหวัดเชียงใหม่ อดีตพระเกจิ ช่ือดังแห่งล้านนา ต้นตํารับการสร้างวัวธนูน้ันหนูมีความูร้เก่ียวกับ
ตํานานและความเช่ือของพระเกจิ ท่ีได้ศึกษาเร่ืองวัวธนูว่าสมัยก่อนนั้นมีความเชื่อที่ต่างจากปัจจุบัน
และเรายังสามารถนําเร่ืองราวเหล่านี้ไปเผยแพร่ให้กับคนรุ่นหลังได้เรียนรู้และได้เข้าใจ ยังเป็น
ความรู้และความเชื่อของใครอีกหลายๆคน


Click to View FlipBook Version