The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์-ชุดที่3พืชสมุนไพร1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by saitantee.089207, 2023-01-24 22:43:17

คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์-ชุดที่3พืชสมุนไพร1

คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์-ชุดที่3พืชสมุนไพร1

นายสายธาร สาระกูล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย คู่มือ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E-Book ) ชุด การปลูกพืชสมุนไพร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 ชุดที่3


คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุด การปลูกพืชสมุนไพร เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ฉบับนี้ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นคู่มือและเป็นแนวทางในการใช้งาน ซึ่งครูและนักเรียนควรศึกษาให้เข้าใจชัดเจนเพื่อสามารถเปิดใช้ การจัดการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุด การปลูกพืชสมุนไพร มีทั้งหมด 13 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของสมุนไพร ชุดที่ 2 ความสำคัญและประโยชน์ของการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 ชุดที่ 4 พืชสมุนไพร2 ชุดที่ 5 พืชสมุนไพร3 ชุดที่ 6 พืชสมุนไพร4 ชุดที่ 7 พืชสมุนไพร5 ชุดที่ 8 ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช ชุดที่ 9 การขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเมล็ด ชุดที่ 10 การขยายพันธุ์พืชโดยการปักชำ ชุดที่ 11 การขยายพันธุ์พืชโดยการตอนกิ่ง ชุดที่ 12การเตรียมดินปลูกและการปลูกพืช ชุดที่ 13การดูแลรักษาและกำจัดศัตรูพืช คู่มือเล่มนี้ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) เพื่อให้ครูผู้สอน และนักเรียนสามารถศึกษาเนื้อหาได้ด้วยตนเองตามความสามารถ โดยศึกษาคู่มือการใช้ควบคู่ไปกับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ของแต่ละชุด เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครู นักเรียนและผู้สนใจ ที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป นายสายธาร สาระกูล คำนำ ก


หน้า คำนำ.......................................................................................................................... ก สารบัญ....................................................................................................................... ข คำแนะนำการใช้งาน................................................................................................... 1 ข้อปฏิบัติสำหรับครูผู้สอน............................................................................. 1 ระบบโทรศัพท์ในการใช้งาน......................................................................... 1 ขั้นในการเปิดใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book )...................................... 2 องค์ประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ).................................... 12 ภาคผนวก................................................................................................................... 13 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 สารบัญ ข


1. ศึกษาคู่มือการใช้อย่างละเอียด และทดลองใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ก่อนนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 2. เตรียมโทรศัพท์สำหรับเปิดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ให้พร้อมใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง 3. แนะนำการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ให้นักเรียนเข้าใจก่อนการใช้งานจริง และให้ความช่วยเหลือเมื่อนักเรียนมีปัญหาหรือข้อสงสัย 4. ครูให้นักเรียนนำคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) และ คิวอาร์โค้ด ที่มีข้อมูล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ไปศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติม 1. เป็นโทรศัพท์แบบ Smart Phone 2. ระบบปฏิบัติการที่นิยม Android , iOS 3. มีหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU ) ความเร็วอย่างน้อย 1 GHz ขึ้นไป 4. มีหน่วยความจำแรมไม่ต่ำกว่า 1 GB คำแนะนำในการใช้งาน ข้อปฏิบัติสำหรับครู ระบบเครื่องโทรศัพท์ในการใช้งาน 1


1. เปิดเครื่องโทรศัพท์ให้พร้อมใช้งาน 2. เข้าไปที่ Application Line 3. เข้าไปที่ Line ของครูผู้สอน ขั้นตอนการเปิดใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) 2


4. บันทึกคิวอาร์โค้ดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1ที่ครูส่งมาให้ลงใน โทรศัพท์ 5. เข้าไปที่หน้าหลักและไปที่เพิ่มเพื่อน 6. เข้าไปที่คิวอาร์โค้ด ขั้นตอนการเปิดใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) (ต่อ) 3


7. เข้าไปเลือกคิวอาร์โค้ด 8. เลือกคิวอาร์โค้ดที่เราต้องการ 9. ลิงก์จะขึ้นอยู่ด้านบน ให้แตะไปที่ลิงค์เพื่อเปิดลิงก์ ขั้นตอนการเปิดใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) (ต่อ) 4


10. จะเข้าสู่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 ขั้นตอนการเปิดใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E–Book ) (ต่อ) 5


1. เมื่อเปิดถึงหน้า แบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน จะมีลิ้งค์และคิวอาร์โค้ดอยู่ ด้านล่าง ให้นักเรียนแค็ปหน้าจอนั้นไว้ 2. แล้วกลับเข้าไปที่ Application Line 3. เข้าไปที่หน้าหลักและไปที่เพิ่มเพื่อน ขั้นตอนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 6


4. เข้าไปที่คิวอาร์โค้ด 5. เข้าไปเลือกคิวอาร์โค้ด 6. เลือกคิวอาร์โค้ดที่เราแค็ปหน้าจอไว้ ขั้นตอนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน (ต่อ) 7


9. ลิงก์จะขึ้นอยู่ด้านบน ให้แตะไปที่ลิงค์เพื่อเปิดลิงก์ 10. นักเรียนทำแบบทดสอบใน Google Forms ได้เลย ขั้นตอนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน (ต่อ) 8


1. เมื่อเปิดถึงหน้า กิจกรรมที่ 1.1 และกิจกรรมที่ 1.2 จะมีลิ้งค์และคิวอาร์โค้ดอยู่ด้านล่าง ให้นักเรียน แค็ปหน้าจอนั้นไว้ 2. แล้วกลับเข้าไปที่ Application Line 3. เข้าไปที่หน้าหลักและไปที่เพิ่มเพื่อน ขั้นตอนการทำกิจกรรม 9


4. เข้าไปที่คิวอาร์โค้ด 5. เข้าไปเลือกคิวอาร์โค้ด 6. เลือกคิวอาร์โค้ดที่เราแค็ปหน้าจอไว้ ขั้นตอนการทำกิจกรรม (ต่อ) 10


9. ลิงก์จะขึ้นอยู่ด้านบน ให้แตะไปที่ลิงค์เพื่อเปิดลิงก์ 10. นักเรียนทำแบบทดสอบใน Google Forms ได้เลย ขั้นตอนการทำกิจกรรม (ต่อ) 11


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. ปกหนังสือ 2. ปกในหนังสือ 3. คำนำ 4. สารบัญ 5. คำชี้แจง 6. วัตถุประสงค์ 7. คำชี้แจงสำหรับครู 8. คำชี้แจงสำหรับนักเรียน 9. แผนผังลำดับขั้นเรียนรู้ 10. แบบทดสอบก่อนเรียน / เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 11. มาตรฐานการเรียนรู้ 12. กิจกรรมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ / เฉลยกิจกรรมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ 13. ใบความรู้ 14. ใบกิจกรรม / เฉลยใบกิจกรรม 15. แบบทดสอบหลังเรียน / เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 16. บรรณานุกรม 17. ปกหลัง องค์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) 12


ภาคผนวก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 เรื่อง พืชสมุนไพร1


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุด การปลูกพืชสมุนไพร รายวิชา ง33202 การปลูกพืชสมุนไพร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ผู้สอนได้ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องมาตรฐานการเรียนรู้ และผลการ เรียนรู้ตามโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา โดยมีเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสม กับความรู้ความสามารถของนักเรียน กระตุ้นกระบวนการคิดให้นักเรียน ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบ กิจกรรมการเรียนรู้การปลูกพืชสมุนไพร เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีศักยภาพการเรียนรู้ และมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานสากลที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะชีวิตและการทำงานทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรม ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีทักษะการปลูกพืชสมุนไพรมากขึ้น ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุด การปลูกพืชสมุนไพรนี้ จะสามารถ พัฒนาทักษะและเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและเป็นประโยชน์สำหรับครูผู้สอน และผู้สนใจ เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นไป นายสายธาร สาระกูล คำนำ ก


หน้า คำนำ ก สารบัญ ข คำชี้แจง 1 วัตถุประสงค์ 2 คำชี้แจงสำหรับครู 3 คำชี้แจงสำหรับนักเรียน 4 แผนผังลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ 5 แบบทดสอบก่อนเรียน 6 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 8 ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 9 มาตรฐานการเรียนรู้ 9 ผลการเรียนรู้ 9 จุดประสงค์การเรียนรู้ 9 สาระการเรียนรู้ 9 ใบความรู้พืชสมุนไพร1 10 ใบกิจกรรมที่ 1.1 พืชสมุนไพร1 20 เฉลยใบกิจกรรมที่ 1.1 พืชสมุนไพร1 21 ใบกิจกรรมที่ 1.2 พืชสมุนไพร1 22 เฉลยใบกิจกรรมที่ 1.2 พืชสมุนไพร1 23 แบบทดสอบหลังเรียน 24 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 26 บรรณานุกรม 27 สารบัญ ข


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อสำหรับประกอบการ เรียนการสอน รายวิชา ง33202 การปลูกพืชสมุนไพร ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีศักยภาพการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน มี จิตสาธารณะที่ดี และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 รายวิชา ง33202 การปลูกพืชสมุนไพร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 1 แผน เวลาเรียน 2 ชั่วโมง 1 คำชี้แจง


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 รายวิชา ง33202 การปลูกพืชสมุนไพร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาการปลูกพืชสมุนไพร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการปลูกพืชสมุนไพรอย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–Book) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง 4. เพื่อให้นักเรียนหรือผู้ที่สนใจสามารถนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–Book) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 ไปใช้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในยามว่างตามความเหมาะสม วัตถุประสงค์ 2


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 รายวิชา ง33202 การปลูกพืชสมุนไพร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โดยปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้ 1. ครูศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ และศึกษาคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 ให้เข้าใจ 2. ครูเตรียมคิวอาร์โค้ด และลิ้งค์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 3. ครูส่งคิวอาร์โค้ด และลิ้งค์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 ไปให้ นักเรียนทาง Line หรือทาง Face Book 4. ครูเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ให้คำแนะนำและคอยให้คำปรึกษาแก่ นักเรียนเมื่อมีปัญหา เน้นย้ำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจ ซื่อสัตย์มีวินัย มีความรับผิดชอบ 5. ครูประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนตามสภาพจริง บันทึกคะแนนตามเกณฑ์ประเมินและ แจ้งผลการประเมินให้นักเรียนรับทราบ 6. หากนักเรียนคนใดไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ให้กลับไปศึกษาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 ศึกษาทบทวนด้วยตนเองในเวลาว่าง ตามความเหมาะสม คำชี้แจงสำหรับครู 3


1. นักเรียนศึกษาและปฏิบัติตามแผนผังลำดับขั้นการเรียนรู้ให้เข้าใจ 2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยคลิ๊กลิ้งค์เข้าไปทำใน Google Forms แล้วกดส่ง 3. นักเรียนศึกษาใบความรู้ให้เข้าใจด้วยตนเอง หากมีข้อสงสัยการใช้ชุดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E–Book ) ให้ปรึกษาครูผู้สอนเพื่อให้คำแนะนำ 4. นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1.1 และกิจกรรมที่ 1.2 โดยคลิ๊กลิ้งค์เข้าไปทำใน Google Forms แล้วกดส่ง 5. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยคลิ๊กลิ้งค์เข้าไปทำใน Google Forms แล้วกดส่ง 6. ครูจะแจ้งคะแนน ของแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน กิจกรรมที่ 1.1 และกิจกรรม ที่ 1.2 7. หากนักเรียนคนใดทำแบบทดสอบหลังเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ให้นักเรียนทำการศึกษา ชุดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E–Book ) ตามลำดับขั้นการเรียนรู้อีกครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และมี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนักเรียนสามารถศึกษาชุดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E–Book ) ด้วยตนเองในเวลาว่าง ตามความเหมาะสม คำชี้แจงสำหรับนักเรียน 4


แผนผังลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ นักเรียน ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้/ จุดประสงค์การเรียนรู้/สาระการเรียนรู้ ศึกษาใบความรู้ ทำกิจกรรมที่1.1 และ 1.2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ผลการประเมิน ผ่านร้อยละ 80 ศึกษาชุดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E–Book ) ชุดต่อไป ไม่ผ่านเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ 5


คำชี้แจง ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนโดยเข้าไปทำใน Google Forms ( ใช้เวลา 10 นาที) 1. ข้อใดคือสรรพคุณทางยาของว่านหางจระเข้ ก. เป็นยาขับปัสสาวะ ข. แก้ไข้ตัวร้อน ค. นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ง. แก้พยาธิผิวหนัง 2. ข้อใดคือสรรพคุณทางยาของทองพันชั่ง ก. แก้โรคหนองใน ข. รักษาผิวที่ถูกแดดเผา ค. ดับพิษไข้ ง. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร 3. ข้อใดคือสรรพคุณของกะเพรา ก. โรคหัด ข. อีสุกอีใส ค. ใช้เป็นยากวาดคอ ง. บำรุงธาตุไฟ 4. ข้อใดคือสรรพคุณของย่านาง ก. แก้ลมตานซาง ข. แก้จุกเสียด ค. แก้คลื่นเหียนอาเจียน ง. ใช้ถอนพิษไข้ 5. ข้อใดคือสรรพคุณของพลู ก. แก้กลาก ข. รักษาผิวที่ถูกแดดเผา ค. นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ง. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร รหัสวิชา ง33202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 แบบทดสอบก่อนเรียน 6


6. ข้อใดคือสรรพคุณของโหระพา ก. ตำรวมกับแมงดาตัวผู้ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย ข. แก้ฮ่องกงฟุต ค. แก้ลมพิษ ง. แก้คัน 7. ข้อใดไม่ใช่สรรพคุณของชะพลู ก. เป็นยาบำรุงหัวใจ ข. ต้นขับเสมหะในทรวงอก ค. ดอกทำให้เสมหะแห้ง ง. ช่วยขับลมในลำไส้ 8. ข้อใดไม่ใช่สรรพคุณของมะกรูด ก. ขับลมในลำไส้ ข. ใช้ถอนพิษไข้ ค. แก้อาการผมร่วง ง. เป็นยาบำรุงหัวใจ 9. ข้อใดไม่ใช่สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร ก. เป็นยาขมเจริญอาหาร ข. ไข้หวัดใหญ่ ค. นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ง. ไข้หวัด 10. ข้อใดไม่ใช่สรรพคุณของหูเสือ ก. นำมาคั้นเอาน้ำหยอดแก้ฝีในหู ข. ขยี้ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด ค. ขยี้ทาปิดห้ามเลือด ง. ไข้หวัดใหญ่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfFV6xmMJxNXluYxV7V9xVs9_i6MEmzOD9uwYuzErnEkMo5Q/viewform?usp=sf_link 7


รายวิชาการปลูกพืชสมุนไพร รหัสวิชา ง33202 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เฉลยคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง พืชสมุนไพร1 ข้อที่ คำตอบ 1 ค 2 ค 3 ง 4 ง 5 ก 6 ก 7 ก 8 ข 9 ค 10 ง เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 8


มาตรฐานการเรียนรู้ ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน ง1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการ จัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และ ลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและ ครอบครัว 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพร 2. นำความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 1. อธิบายลักษณะทางพฤกษศาสตร์และสรรพคุณทางยาของพืชสมุนไพรได้ ( K ) 2. สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสมุนไพรในชีวิตประจำวันได้ ( P ) 3. เห็นความสำคัญของสมุนไพร ( A ) 1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชสมุนไพร 2. สรรพคุณทางยาของพืชสมุนไพร 9 มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้


ชื่อ ว่านหางจระเข้ ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุกใบใหญ่หนาที่ทุกคนรู้จักกันดี แม้ถิ่นกำเนิดจะอยู่ไกลถึงฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน และ แอฟริกา แต่ในประเทศไทยก็มีการปลูกว่านหางจระเข้อย่างแพร่หลาย ซึ่งในตำรับยาไทยก็ใช้ ว่านหางจระเข้บำบัดอาการต่าง ๆ ได้มากมาย จนเป็นที่รู้จักว่า เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณ สารพัดประโยชน์ สรรพคุณ โดย "วุ้นในใบสด" สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคน น่าจะรู้จักก็คือ นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิว ที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณ ช่วยสมานแผล แต่มีข้อแนะนำว่า ก่อนใช้ควรทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทา บริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้ นอกจากส่วนวุ้นในใบสดแล้ว ส่วน "ยาง ในใบ" ก็สามารถนำมาทำเป็นยาระบายได้ และส่วน "เหง้า" ก็นำไปต้มน้ำรับประทาน แก้ โรคหนองใน ใบความรู้ ความหมายของการขยายพันธุ์พืช 10 พืชสมุนไพร1


ชื่อ ทองพันชั่ง ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร กิ่งอ่อนและลำต้น มักเป็นสันสี่เหลี่ยม ส่วนที่ยังอ่อน มักมีขนปกคลุม โคนลำต้นเนื้อเป็นแกนแข็ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี โคนใบ และปลายใบแหลม กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว โคนกลีบ ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นผลแห้งแตกได้ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร มักมีขน สรรพคุณ ตำรายาไทยใช้ใบ และราก รักษากลาก เกลื้อน ผื่นคัน โดยใช้ใบสด และรากโขลกให้ ละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง ใบ รสเบื่อ เย็น ดับพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พยาธิผิวหนัง นำใบสดหรือคั่วแห้ง มาชงในน้ำดื่ม เป็นยาขับ ปัสสาวะ ยาระบาย ราก รสเบื่อเมา แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน และโรคผิวหนังที่เป็นน้ำเหลือง บางชนิด พืชสมุนไพร1 (ต่อ) 11


ชื่อ กะเพรา ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มเตี้ยความสูงประมาณ 1-3 ฟุต ต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก ก้านเป็นขน ก้านใบยาว รูปใบเรียว โคนใบรูดในลักษณะเรียวปลายมนรอบขอบใบเป็นหยัก พื้นใบ ด้านหน้าสีเขียว หรือแดงแก่กว่าด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกใบนูนเห็นได้ชัด ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้น คล้ายฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอก มีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว เมล็ดอยู่ภายในกลีบ กลีบเลี้ยงสีม่วง ผลแห้งแล้วแตก ออก เมื่อเมล็ดแก่สีดำ เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก สรรพคุณ ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียน อาเจียน แก้โรคบิด และขับลม เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกอก พืชสมุนไพร1 (ต่อ) 12


ชื่อ โหระพา ลักษณะทั่วไป พืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.3–0.9 เมตร ลำต้นกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม สีม่วงหรือแดงเข้ม ใบคู่ เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกสีขาว ออกที่ปลายยอดลำต้น ผลแห้ง มี 4 ผลย่อย เมล็ดเล็กเท่าเมล็ดงา สีน้ำตาลเข้ม โหระพาเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย สรรพคุณ ใบสด มีน้ำมันหอมระเหย เช่น methyl chavicol และ linalool ฯลฯ ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสำอางบางชนิด เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองเป็นเมือก เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร (bulk laxative) ใช้เป็นยาได้หลายชนิด เช่น ปรุงร่วมกับน้ำนมราชสีห์เพื่อกินเพิ่มน้ำนม ตำรวมกับแมงดาตัว ผู้ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย พืชสมุนไพร1 (ต่อ) 13


ชื่อ ย่านาง ลักษณะทั่วไป ไม้เถาเลื้อย เถากลมขนาดเล็ก มีเนื้อไม้ เลื้อยพันตามต้นไม้ หรือกิ่งไม้ เถาอ่อนสีเขียว เมื่อ เถาแก่จะมีสีคล้ำยาว 10-15 เมตร มีเหง้าใต้ดิน กิ่งก้านมีรอยแผลเป็นรูปจานที่ก้านใบหลุดไป มีขนประปราย หรือเกลี้ยง ใบเดี่ยว หนา สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงแบบสลับ รูปไข่ ยาว ประมาณ 6-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐาน ใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย สรรพคุณ ต้นรสจืดขม ถอนพิษผิดสำแดง รักษาพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้กลับ และรักษาโรคปวดข้อ รากรสจืดขม ใช้แก้ไข้ทุกชนิด ขับพิษต่างๆ แก้ท้องผูก บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจ บวม แก้กำเดาไหล และแก้ลม ใบรสจืดขม ใช้ถอนพิษไข้ แก้ไข้ แก้เลือดตก แก้กำเดา แก้ผดผื่นคัน แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ลม แก้ปวดหัวตัวร้อน อีสุกอีใส หัด และใช้เป็นยากวาดคอ เถาแก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ต้านโรคมาลาเรีย และยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ พืชสมุนไพร1 (ต่อ) 14


ชื่อ พลู ลักษณะทั่วไป พลูเป็นไม้เลื้อย ที่ข้อมีรากสั้น ๆ ออกรอบข้อใช้เกาะติดไม้ใหญ่ มีเนื้อไม้ขนาดเล็กจึงไม่ จัดเป็นไม้ยืนต้น มีข้อและปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้น ใบเรียงตัวแบบสลับ ลักษณะ ของใบแหลมคล้ายใบโพ ผิวใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น ปลูกโดยใช้ลำต้นปักชำ ขึ้น ง่าย เป็นพืชพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรรพคุณ ใช้เป็นสมุนไพรแก้ลมพิษ รักษาอาการคัน ในใบพลูมีสารยูจีนอลและชาวิคอล มีฤทธิ์เป็นยา ชาและช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด จึงมีประโยชน์ในการระงับอาการคันและเจ็บปวดเนื่องจากแมลงกัดต่อย ช่วยฆ่าและยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง และมีฤทธิ์ต้านเชื้อ ราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลาก และพบว่าน้ำมันพลูสามารถฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ สารเบตาสเตอรอล มีฤทธิ์แก้แพ้ แก้อักเสบ นอกจากนี้ พลูยังมีสรรพคุณใช้แก้การอักเสบของ เยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้ฮ่องกงฟุต แก้คัน แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็ก แก้ปวดท้อง และแก้ลูกอัณฑะยาน เป็นต้น พืชสมุนไพร1 (ต่อ) 15


ชื่อ ชะพลู ลักษณะทั่วไป ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบ เดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อน ๆ ดอกออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอก ขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่าชะพลูพบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน สรรพคุณ ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรส เผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้ง ต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้ พืชสมุนไพร1 (ต่อ) 16


ชื่อ มะกรูด ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบ ชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอด กิ่วที่กลางใบเป็นตอน ๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้าง หนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ โดยใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็น กระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้าย มะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ที่ผิว (hesperidium) ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ๆ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้องจุกเสียด กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะ เป็นพิษ ช่วยบำรุงผมให้เงางามแก้อาการผมร่วง พืชสมุนไพร1 (ต่อ) 17


ชื่อ ฟ้าทะลายโจร ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็น มัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสี น้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก สรรพคุณ แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝีแก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ เป็นยาขมเจริญอาหารและการที่ฟ้าทะลายโจรมี สรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ พืชสมุนไพร1 (ต่อ) 18


ชื่อ หูเสือ ลักษณะทั่วไป หูเสือจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 2-3 ปี สูงประมาณ 0.3-1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ หักได้ง่าย ลำต้น และกิ่งค่อนข้างกลม ต้นอ่อนมีขนหนาแน่น เมื่อแก่ขนจะค่อยๆหลุดร่วงไป ใบ เป็นใบเดี่ยว สี เขียวอ่อน ออกตรงข้าม ใบรูปไข่กว้างค่อนข้างกลม หรือรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ใบกว้าง 2.5- 5 เซนติเมตร ยาว 3-8 เซนติเมตร ใบขยี้ดมมีกลิ่นหอมฉุน ปลายใบกลมมน โคนใบกลมหรือ ตัด ขอบใบจักเป็นคลื่นมนรอบๆใบ ใบหนา อวบน้ำ ผิวใบมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมทั่วทั้งใบ แผ่น ใบนูน เส้นใบลึก ก้านใบยาว 2-4.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร อยู่ตามปลายกิ่งหรือยอด ดอกย่อยติดหนาแน่นเป็นวงรอบแกนกลาง สรรพคุณ ใบ ต้น มีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน นำมาคั้นเอาน้ำหยอดแก้ฝีในหู แก้ปวดหูหูน้ำหนวก ขยี้ ทาปิดห้ามเลือด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม ขยี้ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้หวัดในเด็ก แก้ไอ หืด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ อาการสะอึก ใบ บำรุงร่างกาย แก้ไอเรื้อรัง หืดหอบ แก้ลมชักบางประเภท ต้มน้ำกินแก้ทางเดินปัสสาวะ อักเสบ กินหลังคลอดขับน้ำคาวปลา ยางจากใบ ผสมกับน้ำตาลรับประทานขับลม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ใช้ภายนอกเป็นยา พอกศีรษะแก้ปวด ลดไข้ แก้พิษแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด แก้หิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำ ร้อนลวก รักษาอาการบวม ตำพอกแก้ปวดข้อ ขยี้ทาห้ามเลือด คั้นน้ำทาแผลเรื้อรัง หรือ นำไปทำยานัตถุ์เพราะมีกลิ่นหอม ใส่ยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง และอมดับกลิ่นคาวอาหาร 19 พืชสมุนไพร1 (ต่อ)


พืชสมุนไพร1 คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1. สรรพคุณทางยาของว่านหางจระเข้คือ .............................................................................................................................................................................. .......................................................................................................................... .................................................... .............................................................................................................................................................................. 2. สรรพคุณทางยาของทองพันชั่ง คือ ................................................................................................................................................................. ............. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 3. สรรพคุณทางยาของกะเพรา คือ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 4. สรรพคุณทางยาของโหระพา คือ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 5. สรรพคุณทางยาของย่านาง คือ .............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................... ................................................................... .............................................................................................................................................................................. https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSetQoYuh8DV34qcy8o_h4tcQ0410a2riTHvgFLZpS TIFsfHpg/viewform?usp=sf_link กิจกรรมที่ 1.1 20


พืชสมุนไพร1 คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1. สรรพคุณทางยาของว่านหางจระเข้คือ ตอบ วุ้นในใบสด สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็คือ นำมา พอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิวที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยสมานแผล 2. สรรพคุณทางยาของทองพันชั่ง คือ ตอบ ตำรายาไทยใช้ใบ และราก รักษากลาก เกลื้อน ผื่นคัน โดยใช้ใบสด และรากโขลกให้ละเอียด แช่เหล้า โรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง ใบ รสเบื่อเย็น ดับพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ พยาธิผิวหนัง นำใบสดหรือคั่วแห้ง มาชงในน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย 3. สรรพคุณทางยาของกะเพรา คือ ตอบ ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้โรค บิด และขับลม ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบ ตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกอก 4. สรรพคุณทางยาของโหระพา คือ ตอบ ใบสด ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสำอางบางชนิด เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะ พองเป็นเมือก เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร ใช้เป็นยาได้หลายชนิด เช่น ปรุงร่วมกับ น้ำนมราชสีห์เพื่อกินเพิ่มน้ำนม ตำรวมกับแมงดาตัวผู้ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย 5. สรรพคุณทางยาของย่านาง คือ ตอบ ต้นรสจืดขม ถอนพิษผิดสำแดง รักษาพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้กลับ และรักษาโรคปวดข้อ รากรสจืดขม ใช้แก้ไข้ทุกชนิด ขับพิษต่างๆ แก้ท้องผูก บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม แก้กำเดาไหล และแก้ลมใบรส จืดขม ใช้ถอนพิษไข้ แก้ไข้ แก้เลือดตก แก้กำเดา แก้ผดผื่นคัน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลม แก้ปวดหัวตัว ร้อน อีสุกอีใส หัด และใช้เป็นยากวาดคอ เถาแก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ต้านโรคมาลาเรีย และยับยั้งการ หดเกร็งของลำไส้ เฉลยกิจกรรมที่ 1.1 ระดับคุณภาพ 8 – 10 คะแนน อยู่ในระดับ ดีมาก 6 – 7 คะแนน อยู่ในระดับ ดี 4 – 5 คะแนน อยู่ในระดับ พอใช้ 0 – 3 คะแนน อยู่ในระดับ ปรับปรุง 21 เกณฑ์การพิจารณา (ข้อละ 2 คะแนน) ตอบได้ถูกมากกว่า 80 % ขึ้นไป 2 คะแนน ตอบได้ถูกน้อยกว่า 80 % 1 คะแนน ตอบได้ไม่ถูกต้อง 0 คะแนน


พืชสมุนไพร1 คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1. สรรพคุณทางยาของพลูคือ .............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................ ...................................................................... .............................................................................................................................................................................. 2. สรรพคุณทางยาของชะพลูคือ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 3. สรรพคุณทางยาของมะกรูด คือ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 4. สรรพคุณทางยาของฟ้าทะลายโจร คือ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 5. สรรพคุณทางยาของหูเสือ คือ .............................................................................................................................................................................. .................................................................................................................... .......................................................... .............................................................................................................................................................................. https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdSSq3UlhvE_OU7JRzJuHfdyXuBLjCmTiTHuFbp8 eQ0PzmMPQ/viewform?usp=sf_link กิจกรรมที่ 1.2 22


พืชสมุนไพร1 1. สรรพคุณทางยาของพลูคือ ตอบ ใช้เป็นสมุนไพรแก้ลมพิษ รักษาอาการคัน มีฤทธิ์เป็นยาชาและช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด จึงมีประโยชน์ในการระงับอาการคันและเจ็บปวดเนื่องจากแมลง กัดต่อย ช่วยฆ่าและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง และมีฤทธิ์ ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลาก 2. สรรพคุณทางยาของชะพลูคือ ตอบ ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทาง ระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับ เสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็น เบาหวานได้ 3. สรรพคุณทางยาของมะกรูด คือ ตอบ เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้องจุกเสียด กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ ช่วย บำรุงผมให้เงางามแก้อาการผมร่วง 4. สรรพคุณทางยาของฟ้าทะลายโจร คือ ตอบ แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝีแก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ เป็นยาขมเจริญอาหาร 5. สรรพคุณทางยาของหูเสือ คือ ตอบ ใบ ต้น มีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน นำมาคั้นเอาน้ำหยอดแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก ขยี้ทาปิดห้าม เลือด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม ขยี้ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้หวัดในเด็ก แก้ไอ หืด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ อาการสะอึก เฉลยกิจกรรมที่ 1.2 ระดับคุณภาพ 8 – 10 คะแนน อยู่ในระดับ ดีมาก 6 – 7 คะแนน อยู่ในระดับ ดี 4 – 5 คะแนน อยู่ในระดับ พอใช้ 0 – 3 คะแนน อยู่ในระดับ ปรับปรุง 23 เกณฑ์การพิจารณา (ข้อละ 2 คะแนน) ตอบได้ถูกมากกว่า 80 % ขึ้นไป 2 คะแนน ตอบได้ถูกน้อยกว่า 80 % 1 คะแนน ตอบได้ไม่ถูกต้อง 0 คะแนน


คำชี้แจง ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนโดยเข้าไปทำใน Google Forms ( ใช้เวลา 10 นาที) 1. ข้อใดคือสรรพคุณของโหระพา ก. ตำรวมกับแมงดาตัวผู้ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย ข. แก้ฮ่องกงฟุต ค. แก้ลมพิษ ง. แก้คัน 2. ข้อใดไม่ใช่สรรพคุณของชะพลู ก. เป็นยาบำรุงหัวใจ ข. ต้นขับเสมหะในทรวงอก ค. ดอกทำให้เสมหะแห้ง ง. ช่วยขับลมในลำไส้ 3. ข้อใดไม่ใช่สรรพคุณของมะกรูด ก. ขับลมในลำไส้ ข. ใช้ถอนพิษไข้ ค. แก้อาการผมร่วง ง. เป็นยาบำรุงหัวใจ 4. ข้อใดไม่ใช่สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร ก. เป็นยาขมเจริญอาหาร ข. ไข้หวัดใหญ่ ค. นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ง. ไข้หวัด 5. ข้อใดไม่ใช่สรรพคุณของหูเสือ ก. นำมาคั้นเอาน้ำหยอดแก้ฝีในหู ข. ขยี้ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด ค. ขยี้ทาปิดห้ามเลือด ง. ไข้หวัดใหญ่ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร รหัสวิชา ง33202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชุดที่ 3 พืชสมุนไพร1 แบบทดสอบหลังเรียน 24


6. ข้อใดคือสรรพคุณทางยาของว่านหางจระเข้ ก. เป็นยาขับปัสสาวะ ข. แก้ไข้ตัวร้อน ค. นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ง. แก้พยาธิผิวหนัง 7. ข้อใดคือสรรพคุณทางยาของทองพันชั่ง ก. แก้โรคหนองใน ข. รักษาผิวที่ถูกแดดเผา ค. ดับพิษไข้ ง. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร 8. ข้อใดคือสรรพคุณของกะเพรา ก. โรคหัด ข. อีสุกอีใส ค. ใช้เป็นยากวาดคอ ง. บำรุงธาตุไฟ 9. ข้อใดคือสรรพคุณของย่านาง ก. แก้ลมตานซาง ข. แก้จุกเสียด ค. แก้คลื่นเหียนอาเจียน ง. ใช้ถอนพิษไข้ 10. ข้อใดคือสรรพคุณของพลู ก. แก้กลาก ข. รักษาผิวที่ถูกแดดเผา ค. นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ง. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdIKg9hJf1dn9H_srT-G0JcIwOOil1osOIpFmBge5Q2wkzdA/viewform?usp=sf_link 25


รายวิชาการปลูกพืชสมุนไพร รหัสวิชา ง33202 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เฉลยคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง พืชสมุนไพร1 ข้อที่ คำตอบ 1 ก 2 ก 3 ข 4 ค 5 ง 6 ค 7 ค 8 ง 9 ง 10 ก เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 26


https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=69 https://www.google.com/search?q=%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0 %B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87&sxsrf=ALiCzsbxoL AW4Wu46DEWxV9Gm6EAotqqLg:1668861240182&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUK EwjnxpnLoLr7AhWCELcAHSsfB0AQ_AUoAXoECAEQAw&biw=1536&bih=754&dpr=1.25#imgrc=_ iyqpaQGBsb3SM https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A 3%E0%B8%B2 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9 E%E0%B8%B2 https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=189 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9_(%E0%B8%9E%E0%B8% B7%E0%B8%8A) https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B 9 https://www.disthai.com/17105209/%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0 %B8%B7%E0%B8%AD https://www.nci.go.th/en/research/researhdivision/research_informationfarthalai.html https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9 4 บรรณานุกรม 27


Click to View FlipBook Version