คู่มือการผลิตสื่อ นับเลขกับหอยทาก จัดทำโดย นางสาวรัชนิดา ตั้งวีระพงษ์ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
๑. ชื่อผลงาน นับเลขกับหอยทาก ๒. ประเภทสื่อ สงเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ ด้านการนับเลข ๓. หน่วยการสอน บูรณาการได้ทุกหน่วยการเรียนรู้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ๔. ระดับการศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย อายุ ๓-๕ ปี ๕. ชื่อผู้ผลิตสื่อ นางสาวรัชนิดา ตั้งวีระพงษ์ ตำแหน่ง ครู ๖. วันที่ผลิต 30 มกราคม ๒๕๖4 ๗. หลักการเหตุผล การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์เป้าหมายของการจัด การศึกษานั้น จึงจำเป็นยิ่งที่ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในการที่จะออกแบบการสอน ใช้สื่อเทคโนโลยี เครื่องมือหรือสื่อนวัตกรรมต่าง ๆ มาประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนเพื่อให้บทเรียน หรือกิจกรรมมีความน่าสนใจและตื่นเต้นอยากที่จะเรียนรู้ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความสุข สนุกกับการเรียนจากการ ได้ค้นคว้าหาคำตอบได้ด้วยตนเอง ผ่านประสบการตรงจากการฝึกและลงมือปฏิบัติจริงได้เป็นอย่างดียิ่ง ๘. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้เด็กสามารถรู้ค่าของตัวเลขและอ่านตัวเลขได้ถูกต้อง ๒. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างได้ถูกต้อง ๓. เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกับครูและเพื่อน ๆ ได้อย่างมีความสุข ๙. ประโยชน์ที่ได้รับ ๑. เด็กสามารถนับเลขรู้ค่าของตัวเลขได้ถูกต้อง ๒. เด็กมีทักษะด้านการนับเลข ๓. เด็กมีความสุข สนุกสนานในการทำกิจกรรมร่วมกับครูและเพื่อน ๆ ๔. ครูมีสื่อนวัตกรรมที่เหมาะสมและสามารถใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ๑๐.วัสดุ/อุปกรณ์ในการผลิตสื่อ ๑. กระดาษสีแบบหนา ๒. กรรไกร ๓. ปากกาใช้สำหรับแต่งหน้าหอยทาก ๔. กระดาษปริ้นรูปตัวเลข ๕. กาว ๑๑.ระยะเวลาในการผลิต ๔ วัน ๑๒.ลักษณะของงาน (สื่อชุด นับเลขกับหอยทาก) สื่อนวัตกรรมชุด นับเลขกับหอยทาก มีลักษณะเป็นรูปทรงวงกลมทำจากกระดาษแข็งหลายสี นำมาตัดเป็นรูปหอยทาก ติดด้วยภาพ ตัวเลข ๑-๑๐ เวลาเล่นหรือปฏิบัติจริงผู้เล่นหยิบหอยทากมาคนละ ๑ ตัว จากนั้น ครูถามเด็กว่า ทายซิตัวเลขอะไรเอ่ย จากนั้นให้เด็กอ่านออกเสียงแล้วให้เพื่อน ๆ อ่านออกเสียงตาม
๑๓.วิธีการผลิตสื่อ ๑. ตัดกระดาษวงกลม แผ่นที่ ๑ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๙ นิ้วและพับครึ่ง ๒. ตัดกระดาษวงกลมแผ่นที่ ๒ ขนาด ๗ นิ้ว นำมาติดกับแผ่นที่ ๑ ๓. ตัดกระดาษวงกลมแผ่นที่ ๓ ขนาด ๕ นิ้ว นำมาติดกับแผ่นที่ ๒ ๔. ตัดกระดาษเป็นรูปหน้าหอยทาก ติดหนวด แต่งหน้าให้สวยงาม ๕. นำตัวเลขมาติดลงบนตัวหอยทากตกแต่งให้สวยงาม ๑๔.วิธีการใช้สื่อ ๑. ครูแนะนำสื่อและวิธีการใช้สื่อพร้อมสาธิตวิธีการใช้สื่อให้เด็กดูและฟังอย่างเข้าใจ ๒. ครูและเด็กสร้างข้อตกลงในการใช้สื่อร่วมกัน ๓. แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม ๔. เตรียมความพร้อมด้วยกิจกรรมบริหารสมอง ๕. ครูสังเกตและบันทึกพฤติกรรม ชี้แนะหากเด็กทำผิดหรือไม่เข้าใจ ๑๕.รายงานผลการใช้สื่อนวัตกรรมชุด นับเลขกับหอยทาก สื่อนวัตกรรมชุด นับเลขกับหอยทาก ชุดนี้ข้าพเจ้าได้มีการนำไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยชั้น อนุบาลปีที่ ๒/๒ ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดภูเขาดิน) เพื่อใช้ประกอบในการพัฒนาทักษะการสังเกต โดย บูรณาการใช้กับทุกหน่วยประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ข้าพเจ้าเป็นครูประจำชั้นรับผิดชอบ ดูแล พบว่าสื่อนวัตกรรมชุด นับเลขกับหอยทาก ชุดนี้สามารถช่วย พัฒนาทักษะด้านสติปัญญาได้เป็นอย่างดี ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ มีความสุขสนุกกับการเรียน ตื่นเต้นกับสิ่งประดิษฐ์ที่ครูนำมาใช้ประกอบการสอนทำให้ผู้เรียน เกิดความเข้าใจอยากที่จะเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นตั้งใจเรียนมากขึ้น เพราะเด็กได้ลงมือปฏิบัติและทดลอง ทำด้วยตนเองจึงนับได้ว่าสื่อนวัตกรรมชุดนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง นางสาวรัชนิดา ตั้งวีระพงษ์ ตำแหน่ง ครู
สื่อนวัตกรรมช่วยสอนชุด นับเลขกับหอยทาก พัฒนาทักษะทางสติปัญญา ด้านการนับเลขของเด็กปฐมวัย
แบบบันทึกข้อเสนอแนะสื่อการสอน ชุด นับเลขกับหอยทาก ........................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................... ลงชื่อ............................................ผู้ผลิตสื่อ (นางสาวรัชนิดา ตั้งวีระพงษ์) ตำแหน่ง ครู ลงชื่อ...................................ผู้รับรองผลงาน ลงชื่อ.........................................ผู้รับรองผลงาน (นางสาววิลาวรรณ์ ฤทธิ) (นางมณัฐนันท์ สิงห์เส) หัวหน้าสายชั้นอนุบาลปีที่ ๒ หัวหน้างานวิชาการ ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ลงชื่อ.......................................ผู้รับรองรายงาน (นางไพเราะ ใจชื่น) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดภูเขาดิน) ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ลงชื่อ.......................................ผู้รับรองรายงาน (นายเดชาพัชร การกิ่งไพร) ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดภูเขาดิน)
ถอดบทเรียนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบการจัดทำสื่อการสอน ชุด นับเลขกับหอยทาก ๓ ห่วง พอประมาณ - พอเหมาะ พอดี พอควรกับ วัสดุที่มีใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์ มีเหตุผล - รู้สาเหตุว่าทำไม เพราะ อะไร เพราะเหตุใดจึงผลิต สื่อชิ้นนี้ขึ้นมา ภูมิคุ้มกัน - พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ๒ เงื่อนไข ความรู้ - รอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก นำแนวและวิธีการไปปรับใช้ให้เหมาะสม คุณธรรม - ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน สติปัญญา แบ่งปัน ๔ มิติ เศรษฐกิจ - ประหยัดเงิน คุ้มค่า ลด รายจ่าย เพิ่มรายได้ รี ไซเคิลใหม่ สร้างรายได้ สังคม - เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ เบียดเบียน มีน้ำใจแบ่งปัน สิ่งแวดล้อม - ลดปริมาณขยะ รักษา สิ่งแวดล้อม ไม่ทำร้าย ธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน วัฒนธรรม - มีจิตสำนึกในการคัดแยก และจัดการขยะ เห็นคุณค่า ภูมิปัญญา รักความเป็นไทย