ร ะ บำ
รำ
ฟ้อ น
ฺBy ครูน้ำ สุพัชรินทร์
ร ะ บำ ฺBy ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ฟ้อน ร ะ บำ รำ ฟ้ อ น
ระบำ รำ ฟ้อน เป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นชุดเป็นตอน
ไม่ดำเนินเรื่องราว เริ่มมีการจัดแสดงมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย
ซึ่งพั ฒนามาจากกิริยาการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ การกระโดด
โลดเต้นจนกลายเป็นนาฏศิลป์ในราชสำนัก ลักษณะนาฏศิลป์ไทยจึง
มี 2 รูปแบบ คือ ศิลปะการฟ้อนรำแบบพื้ นบ้าน และศิลปะการฟ้อน
รำมาตรฐาน ซึ่งหมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำที่ได้รับการปรับปรุง
พั ฒนา จนกลายเป็นรูปแบบที่วิจิตรงดงามเป็นมาตรฐาน นาฏศิลป์
ทั้งสองรูปแบบนี้จะมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
เรียกว่า "ระบำ รำ ฟ้อน"
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ร ะ บำฟ้อน
ความหมายและความเป็นมาของระบำ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมาย "ระบำ"
ว่าหมายถึง การแสดงที่มุ่งความสวย หรือความบันเทิงใช้ผู้แสดงเป็น
หมู่ เช่น ระบำสี่บท ระบำนพรัตน์ ระบำเทพบันเทิง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า
"ระบำ" คือ การรำเล่นเป็นคู่ เข้ากับเสียงปี่ พาทย์ เป็นของสำหรับให้ดู
กระบวนการรำที่งาม กับฟังลำนำขับร้อง และดนตรีที่ไพเราะ หาได้เล่น
เป็นเรื่องเหมือนอย่างโขนหรือละครไม่
ระบำเป็นรากฐานของการแสดงโขน ละคร มูลเหตุเกิดขึ้นจากการ
เลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยดัดแปลงปรับปรุงกิริยาให้
งดงาม มีแบบแผน มีธรรมเนียมในการปฏิบัติเพื่ อแสดงในพิ ธีกรรม และ
เป็นการพั กผ่อนหย่อนใจของชาวบ้าน
จากหลักฐานศิลาจารึกสมัยสุโขทัย พบว่าระบำมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
และเป็นต้นกำเนิดของละครใน ดังในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ต่อมาในสมัยอยุธยา ได้นำพวกนางในที่เคยระบำฟ้อนถวายพระเจ้าแผ่น
ดินมาฝึกหัดการแสดงเป็นเรื่องราว เรื่องที่ใช้แสดง คือ รามเกียรติ์
อุณรุท และอิเหนา
จากตำรานาฏยศาสตร์ของอินเดีย ที่กล่าวถึงท่ารำ 108 ท่าของพระ
อิศวร อาจกล่าวได้ว่า "ระบำ" ส่วนหนึ่งคนไทยได้รับอิทธิพลจาก
วัฒนธรรมการฟ้อนรำของอินเดียเข้ามาผสมผสานกับการร่ายรำของ
ไทย โดยพั ฒนารูปแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับท่วงทำนองของเพลง
และดนตรีไทย จนมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ร ะ บำฟ้อน
ประเภทของระบำ
เป็นชุดการแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ อประกอบการแสดงละครหรือเพื่ อ
แสดงในโอกาสต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ระบำมาตรฐาน และ
ระบำเบ็ดเตล็ด
ระบำมาตรฐาน
เป็นการแสดงประเภทระบำที่มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ มีการแต่งกาย
ยืนเครื่องพระ-นาง เช่นเดียวกับการแต่งกายของละครหลวง และเป็น
ชุดระบำที่ปรมาจารย์ด้านนาฏศิลป์ไทยประดิษฐ์ขึ้นเป็นแบบแผน มีการ
ถ่ายทอดและสืบสานเป็นรูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ มีการอนุรักษ์
ท่ารำสืบทอดมาจนถึงกรมมหรสพ และมีการจัดหลักสูตรและจัดการ
เรียนการสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ในปัจจุบัน ระบำมาตรฐาน เช่น
ระบำสี่บท ระบำเทพบันเทิง ระบำกฤดาภินิหาร ระบำพรหมาสตร์ เป็นต้น
ระบำพรหมาสตร์
ระบำกฤดาภินิหาร
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ร ะ บำฟ้อน
ระบำเบ็ดเตล็ด
เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่ อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์หรือโอกาสใน
การแสดง หรือเพื่ อให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องโขนและละคร
ระบำที่นำไปประกอบการแสดง มีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน ดังนี้
1. ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านใน
ท้องถิ่นต่างๆ เช่น ระบำชาวนา ระบำเก็บใบชา เป็นต้น
ระบำเก็บใบชา
ระบำชาวนา
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ร ะ บำฟ้อน
ระบำเบ็ดเตล็ด
2. ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากระบำมาตรฐานโดยอาศัยรูปแบบการ
แสดงลีลาท่ารำ ทำนองดนตรี การแต่งกาย แต่ปรับปรุงให้มี
ลีลาท่ารำที่กระชับขึ้น แต่ยังคงความเป็นมาตรฐานไว้ เช่น ระบำ
กินรีร่อน ระบำกริชหมู่ เป็นต้น
ระบำกริชหมู่
ระบำกินรีร่อน
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ร ะ บำฟ้อน
ระบำเบ็ดเตล็ด
3. ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากการเลียนแบบท่าทางของสัตว์ เช่น
ระบำกวาง ระบำม้า ระบำครุฑ ระบำมยุราภิรมย์ เป็นต้น
ระบำมยุราภิรมย์ ระบำครุฑ
ระบำม้า ระบำไก่
ระบำกวาง ระบำนกเขามะราปี
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ร ะ บำฟ้อน
ระบำเบ็ดเตล็ด
4. ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ อใช้ในโอกาสพิ เศษ ทั้งพิ ธีหลวง
และพิ ธีราษฎร์ เช่น ระบำอาเซียน ระบำพม่าไทยอธิษฐาน
ระบำไทยลาวปณิธาน ระบำไทยจีนไมตรี เป็นต้น
ระบำพม่าไทยอธิษฐาน
ระบำจีนไทยไมตรี
ร ะ บำ ฺBy ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ร ะ บำฟ้อน
ระบำเบ็ดเตล็ด
5. ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ อประกอบในการแสดงโขน ละคร
เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำดอกบัว ระบำนางไม้ เป็นต้น
ระบำดอกบัว
ระบำนพรัตน์
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ร ะ บำฟ้อน
ระบำมาตรฐาน
6. ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจำหลักที่ปรากฎอยู่บนโบราณ
สถาน หรือโบราณวัตถุ เช่น ระบำโบราณคดี ชุดทวารวดี
ศรีวิชัย เชียงแสน ลพบุรี สุโขทัย เป็นต้น
ระบำศรีวิชัย
ระบำทวารวดี ระบำเชียงแสน
ระบำสุโขทัย ระบำลพบุรี
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
รำ
ฟ้อ น
รำ
เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วนอย่างมีระเบียบแบบแผน ได้มาตรฐาน
ตามนาฏยศัพท์
ลั ก ษ ณ ะ ก า ร รำ
1 . รำ ห น้ า พ า ท ย์ เ ป็ น ก า ร รำ ใ ห้ เ ข้ า กั บ จั ง ห ว ะ เ พ ล ง ห น้ า พ า ท ย์
ท่ า รำ ไ ม่ เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ตี บ ท
2 . รำ บ ท ห รื อ ตี บ ท เ ป็ น ก า ร ใ ช้ ท่ า รำ แ ท น คำ พู ด แ ล ะ อ า ร ม ณ์
ที่ เ รี ย ก ว่ า ภ า ษ า ท่ า รำ ห รื อ ภ า ษ า น า ฏ ศิ ล ป์
ท่ า อ า ย
ท่ า รั ก
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
รำ
ฟ้อ น
ประเภทของการรำ
จะจำแนกไปตามจำนวนของผู้รำ แบ่งออกเป็น รำเดี่ยว รำคู่ และรำหมู่
รำเดี่ยว
คือ การแสดงที่มีผู้แสดงเพี ยงคนเดียว เน้นผู้รำที่มีลีลาท่ารำที่อ่อนช้อย
งดงาม มีท่วงท่าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวถูกต้องตามแบบแผน ชุดรำ
เดี่ยว ได้แก่ รำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายพราหมณ์ ฉุยฉายเบญกาย
ฉุยฉายวันทอง รำมโนห์ราบูชายัญ ฉุยฉายไกรทอง เป็นต้น
ฉุยฉายพราหมณ์ รำมโนห์ราบูชายัญ ฉุยฉายไกรทอง ฉุยฉายเบญกาย
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
รำ
ฟ้อ น
รำคู่
คือ การแสดงที่มีผู้แสดง 2 คน เน้นผู้รำที่มีท่วงทีลีลาอ่อนช้อยงดงาม
อวดฝีไม้ลายมือในการรำที่สอดประสานกันอย่างกลมกลืนถูกต้องตาม
แบบแผนและการแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่สอดคล้องตามบทร้องหรือ
ลักษณะการแสดง เช่น หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา รจนาเสี่ยงพวง
มาลัย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ เมขลารามสูร เป็นต้น
เมขลารามสูร
หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
รำ
ฟ้อ น
รำหมู่
คือ ชุดการแสดงที่มีผู้แสดงมากกว่า 2 คนขึ้นไป ความงามอยู่ที่ความ
พร้อมเพรียงและอวดฝีมือของผู้ประดิษฐ์ท่ารำ การแปรแถวจัดซุ้มเหมือน
ระบำ เช่น รำโคม รำพั ด รำซัดชาตรี รำวงมาตรฐาน รำสีนวล เป็นต้น
รำสีนวล
รำวงมาตรฐาน
รำซัดชาตรี
ร ะ บำ ฺBy ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ฟ้ อ นฟ้อน
ฟ้อน
เป็นการแสดงพื้ นเมืองของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้
ผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เน้นตรงที่ความอ่อนช้อยงดงามของลีลาท่า
รำ จังหวะช้า เน้นความพร้อมเพรียงการแปรแถวที่หลากหลายแปลกตา
เพลงร้องและทำนองดนตรีมีความไพเราะ ฟ้อนเป็นการแสดงพื้ นเมือง
ที่มีลักษณะท่าฟ้อน การแต่งกาย ดนตรี และเพลงร้องตามภาษาท้องถิ่น
หรือตามเชื้อชาติ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนแพน ฟ้อนรัก ฟ้อนเงี้ยว เป็นต้น
ฟ้อนแพน
ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ
ร ะ บำ Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์
รำ
ฟ้อน เ ซิ้ ง
เซิ้ง
เป็นการแสดงพื้ นเมืองและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลีลาและจังหวะ
การร่ายรำรวดเร็วกระฉับกระเฉง การแต่งกาย แต่งตามแบบพื้ นเมือง
ของชาวอีสาน ลักษณะของการเซิ้งจะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมท้อง
ถิ่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพของชาว
อีสาน จุดประสงค์ในการแสดงเพื่ อความสนุกสนาน เช่น เซิ้งสวิง เซิ้ง
โปงลาง เซิ้งกะโป๋ เซิ้งกระหยัง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เซิ้งกระติบ เป็นต้น
เซิ้งกระติบ
เซิ้งกะโป๋
เซิ้งโปงลาง เซิ้งสวิง
เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เซิ้งตังหวาย
ร ะ บำ
รำ
ฟ้อ น
Bฺ y ครูน้ำ สุพัชรินทร์