The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 6311116017, 2022-05-06 03:23:37

เรือนไทย-4-ภาค

เรือนไทย-4-ภาค

เรือนไทย 4 ภาค

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละภูมิภาคขึ้นอยู่กับ
ปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ รากฐานทาง
วัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มคนในภูมิภาค การรับวัฒนธรรมจาก
ภายนอก และลักษณะการผสมผสานทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผล
ทำให้ลักษณะการดำเนินชีวิต หรือวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของ
คนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งลักษณะบ้านที่
ไม่เหมือนกัน มักปลูกสร้างตามภูมิภาค คำนึงสภาพอากาศ และ
ความเป็นอยู่

เรือนไทยในทุกภาค ส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้ หรือวัสดุที่หา
ได้จากธรรมชาติในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง
ของเรือนไทยโบราณ ที่ทำให้แตกต่างจากชนชาติอื่น ตามชนบท
ทั่วไปจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่
ปลูกขึ้น ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้ดอก ที่ขาดไม่ได้ คือ ไม้ไผ่ทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็นไผ่ตง ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่ลำมะลอก

การเลือกทำเลที่อยู่ ปัจจัยที่สำคัญ คือ
ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะใช้ประโยชน์ทั้งอุปโภค
และบริโภค เป็นแหล่งอาหาร และเส้นทางคมนาคม
เพื่อติดต่อกับชุมชนอื่น หรือเพื่อการค้าขายการเลือกถิ่น
ที่อยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยมีความแตกต่างกันไป
ตามลักษณะภูมิประเทศ ดังนี้

1. ภาคกลาง บ้านเรือนมักสร้างอยู่ริมแม่น้ำ เป็นแนวยาว
ไปตลอดทั้งสองฝั่ งของลำน้ำ

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เป็นภาค
ที่แห้งแล้งกว่าภาคอื่น ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย
ที่ไม่ อุ้มน้ำ บางปีก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ ดังนั้นชาวอีสานจึง
เลือกสถานที่ตั้งบ้านเรือนแตกต่างกันไป คือ มีทั้งที่ราบลุ่ม
ใกล้แหล่งน้ำ ที่ดินมีน้ำซับ หรือชายป่า

3. ภาคเหนือ มีการตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ
ระหว่างหุบเขา มีการจัดระบบการชลประทานที่เรียกว่า "ฝาย"
เพื่อให้มีน้ำพอใช้ในการเกษตร

4. ภาคใต้ ส่วนใหญ่อาศัยน้ำบ่อในชีวิตประจำวัน
เนื่องจากแม่น้ำภาคใต้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากน้ำเค็ม
เมื่อน้ำทะเลหนุน จึงไม่นิยมใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลอง

ลักษณะของเรือนไทย หรือ บ้านทรงไทย แต่เดิมนิยมใช้วัสดุ
จำพวกไม้ ไปจนถึงเครื่องก่ออิฐถือปูน โดยมีลักษณะร่วมที่เหมือน
หรือแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ได้แก่ เรือนไทยภาคเหนือ
เรือนไทยภาคกลาง เรือนไทยภาคอีสาน และเรือนไทยภาคใต้
ซึ่งล้วนสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนและ
แสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย โดยทั่วไปจะมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1. หลักการ เป็นเรือนสำเร็จรูปชั้น

สลักเดือย เดียว สร้างเป็นส่วน ๆ โดยใช้

ระบบเข้าลิ่มเข้าเดือยเป็นตัวยึด
แทนการใช้ตะปู

2. โครงสร้าง แบ่งตามประเภทวัสดุที่ใช้

ก. เรือนเครื่องผูก ทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่น
ทั่วไทย เช่น ไม้ไผ่ หวาย ใบจาก มีการใช้ไม้ไผ่ หรือหวายมี
การผูกรัดส่วนต่าง ๆ เข้าเป็นตัวเรือน จึงเรียกว่า เรือน
เครื่องผูก เรือนชนิดนี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก เสาเรือนใช้
ไม้ไผ่โครงสร้างหลัก คือ ยกพื้นสูง ที่พบเห็นในปัจจุบัน
คือ กระต๊อบ เพิง เถียงนา

ข. เรือนเครื่องสับ เรียกอีก ชื่อหนึ่งว่า เรือนฝากระดาน
หรือฝาประกน เป็นเรือนที่พัฒนามาจากเรือนเครื่องผูก แต่
ใช้ไม้จริง หรือไม้เนื้อแข็งที่มีความมั่นคงในการสร้างเสา
เรือน พื้นใช้ไม้กระดาน หลังคาใช้กระเบื้องดินเผา หรือไม้
ฝาเรือน เป็นฝาไม้ประดิษฐ์เป็นแผง เรียกว่า ฝาปะกน ส่วน
ใหญ่ที่ครอบครองมักจะมีฐานะดี เช่น ขุนนาง เจ้านาย

เรือนไทยภาคเหนือ



เรือนไทยภาคเหนือ บริเวณภาคเหนือของไทยมีอากาศ
หนาวเย็น เรือนที่อาศัยมักมีชายคาที่ลาดคลุมลงมาต่ำถึงตัว
เรือน การวางตัวเรือน หันข้างเรือนไปทางทิศตะวันออก-ตะวัน
ตก เพื่อให้ห้องนอนได้รับแสงแดด ลักษณะเด่น คือ ที่ยอด
ปั้ นลมนิยมประดับไม้กาแลที่แกะสลักอย่างงดงาม มีชานกว้าง
โล่ง หลังคามุงด้วยแผ่นไม้ หรือกระเบื้องดินเผา

ที่มา: http://kruwarut.com/?web=les02.5

1. เรือนไทยดั้งเดิม
เป็นเรือนไทยยกใต้ถุน สูง หลังคาทรงจั่ว นิยมทำหลังคาแฝด

ติดกัน มีรางน้ำตรงกลาง ข้างบนสุดของหลังคา ทำไม้ไขว้แกะสลัก
เรียกว่า "กาแล" เพื่อตกแต่งให้เกิดความงาม และเป็นคติความเชื่อถือ
เกี่ยวกับโชคลาง และการบูชา ลักษณะรูปทรงเป็นแบบฝาล้ม ผายออก
เป็นศิลปะ และวัฒนธรรมแบบล้านนาไทยดั้งเดิม

2. เรือนพื้นบ้าน
เรือนชั่วคราว หรือเรือนเครื่องผูก ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า

"ตูบ" หมายถึง เรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ ใช้เสา
ไม้ไผ่ พื้นทำด้วยไม้สาน หรือฟากสับ ฝาทำด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ
หรือแผงไม้ซางสานเป็นลายต่างๆ เช่น ลายอำ โครงหลังคาก็
ทำด้วยไม้ไผ่เช่นกัน การยึดโครงสร้างต่างๆ คล้ายเรือนพื้นบ้าน
ภาคกลาง เรียกว่า เรือนเครื่องผูก ใช้วิธีเจาะรู และฝังเดือย
ผูกด้วยตอกหรือหวาย หลังคามุงด้วยหญ้าคา หรือใบตองตึง
มีห้องนอน 1 ห้อง ไม่แยกเรือนครัวออกจากเรือนนอน ใช้เป็น
สิ่งปลูกสร้างชั่วคราว เช่น กระต๊อบเฝ้าทุ่ง

เรือนถาวร หรือเรือนไม้จริง เป็นเรือนที่พัฒนาขึ้นมาจาก
เรือนแบบชั่วคราว รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากเรือนจั่วกาแลที่มี
แบบแผน ฉะนั้น ลักษณะทั่วไปจึงดูเหมือนเรือนลูกผสม โดยยก
ใต้ถุนสูงประมาณ 1.5 - 2 เมตร เสาและพื้นส่วนใหญ่ใช้ ไม้
เบญจพรรณชนิดถาก แต่งรูปไม่ค่อยเรียบร้อย หลังคาทรงจั่ว
ด้านหน้ามีกันสาด คล้ายหลังคาเรือนชาวเขา ยื่นส่วนหนึ่งของ
กันสาดออกมาคลุมบันได โดยใช้เสา 2 ต้นรับ โครงสร้าง
หลังคามีทั้งไม้จริงมุงด้วยกระเบื้องดินเผา และโครงไม้ไผ่มุง
ด้วยใบตองตึง หลังคามุงด้วยใบตองตึง มีเป็นจำนวนมาก
ฝาผนังใช้ไม้สานเป็นแบบลำแพน ลายอำ ลายตาล ไม้ไผ่ขัดแตะ
ไม้ซางทุบเรียบ หรือใช้ไม้จริงตีนอน เป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
ใกล้เคียง และราคาถูก

ความเชื่อ

พิธีฝังเสามงคลหรือเสานาง ให้คนที่มีชื่อ "แก้ว คำ เงิน
ทอง มั่น แก่น" มาเป็นผู้ช่วยหามเสาและยกเสาลงหลุม เพื่อจะ
ได้ เป็นมงคลแก่เจ้าของบ้าน ก่อนที่จะฝังหาใบเต๊า ใบหนุน ใบ
ดอกแก้ว ใบตัน มารองหลุมทุกหลุมเพื่อเป็นคติว่าจะได้ช่วย
ค้ำจุนให้บ้านเรือนหลังนั้น มีความเจริญรุ่งเรือง เสามงคลและ
เสานางนี้ คนโบราณถือมากในเรื่องการปรนนิบัติรักษา และเชื่อ
ว่าจะต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอผู้ใดจะปัสสาวะรดหรือทำ
สกปรกไม่ได้ บางแห่งจะมีหิ้งติดไว้ทางหัวนอนและมีดอกไม้ธูป
เทียนบูชาด้วย

พิธีเสี่ยงทายในการตั้งบ้านใหม่ เพื่อหาบริเวณปลูกเรือน
ที่เป็นมงคล โดยวิธีเสี่ยงทายใช้ใบฝาแป้ง 8 ใบ ห่อของ 8
อย่าง จัดพานข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน นำไปยังสถานที่สร้าง
บ้าน แล้วเสี่ยงทายจับห่อสิ่งของ 1 ห่อ เมื่อทำพิธีในบริเวณนั้น
ได้ห่อที่ไม่ดีก็จะย้ายไปเสี่ยงทาย ในที่อื่น สิ่งของเสี่ยงทายนั้น
เป็นของที่มีสัญลักษณ์ทั้งสิ้น และมีความหมายถึงการดำเนิน
ชีวิตภายหลังจากเข้าไปอยู่ในเรือนที่ปลูกสร้างเสร็จแล้ว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



การสร้างบ้านของชุมชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่
สมัยโบราณมักเลือกทำเล ที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มที่มีแม่สำคัญ ๆ
ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ฯลฯ
รวมทั้งอาศัยอยู่ตามริมหนองบึง ถ้าตอนใดน้ำท่วมถึงก็จะขยับ
ไปตั้งอยู่บนโคกหรือเนินสูง ดังนั้นชื่อหมู่บ้านในภาคอีสานจึง
มักข้นต้นด้วยคำว่า "โคก โนน หนอง" เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะ
หมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนั้นมักจะอยู่
รวมกัน เป็นกระจุก ส่วนที่ตั้งบ้านเรือนตามทางยาวของลำน้ำ
นั้นมีน้อย

ที่มา: http://kruwarut.com/?web=les02.5

เรือนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเฮือนอีสาน มีลักษณะดังนี้
1. เรือนกึ่งถาวร เป็นเรื่องเครื่องผูกผสมเรือนเครื่องสับ เป็น

เรือนของเขยที่เพิ่งแยกตัวออกจากเรือนของพ่อแม่
2. เรือนตั้งต่อดิน เป็นเรือนที่มีสัดส่วนและแข็งแรงกว่าตูบต่อ

เล้า นิยมปลูกเป็นเรือนแฝดใต้ถุนสูง มีเรือนที่ต่อชานที่มีหลังคา
คลุมต่อออกไปจากเรือนใหญ่

3. เรือนถาวร หรือเรือนเครื่องสับไม้จริง รูปทรงเรียบง่าย
หลังคาจั่วมีหน้าต่างบานเล็ก ๆ

ความเชื่อ

คติความเชื่อในเรื่องทิศและชัยภูมิที่ดินเพิ่มเติมคือ หากเป็น
แผ่นดินที่สูงทางใต้ ต่ำทางเหนือเป็นที่ไชยะ แผ่นดินที่สูงทาง
ตะวันตก ต่ำทางตะวันออกเป็นที่ยะสะศรี แผ่นดินที่สูงทางพายัพ
ต่ำทางทักษิณ เป็นที่สะศรี ถือว่าเป็นทำเลที่ดี

การฝังของมงคล ในบริเวณบ้านเรือนสมัยโบราณ มีการฝัง
ของมงคลไว้ตามทิศต่าง ๆ เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญ
รุ่งเรือง ของที่ควรฝัง คือ

ทองคำ - ทิศบูรพา
เงิน – ทิศอาคเนย์
เหล็ก - ทิศทักษิณ
ตะกั่ว - ทิศหรดี
ทอง - ทิศปัจฉิม
แก้ว - ทิศพายัพ
เขา - ทิศอุดร
งา - ทิศอีสาน

ปลูกต้นไม้มงคล ในภาคอีสานถือว่าต้นไม้เป็นมงคลอย่างหนึ่ง
หากปลูกให้ถูกทิศทางจะเกิดความสุขความเจริญ คตินี้ปรากฏใน
ภาคกลางเช่นเดียวกัน ต้นไม้มงคลตามทิศของภาคอีสาน มีดังนี้

ทิศบูรพา - ปลูกกุ่ม ก่าม กระถิน มะพร้าว หมาก พลู
ทิศอาคเนย์ - ปลูกต้นยอ
ทิศทักษิณ – ปลูกมะม่วง มะเฟือง มะไฟ
ทิศหรดี - ปลูกต้นคูณ สะเดา ขนุน
ทิศปัจฉิม - ปลูกมะขาม มะยม
ทิศพายัพ – ปลูกมะกรูด มะนาว
ทิศอุดร - ปลูกต้นหมากตัน(พุทรา)
ทิศอีสาน - ปลูกดอกรัก ต้นแพง

บ้านเรือนไทยภาคกลาง



บ้านทรงไทยภาคกลาง เป็นบ้านทรงไทยประเภทที่นิยมที่สุด
มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศีรษะ
คนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคา ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกัน
ฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทาง
ลมตามความเหมาะสม เนื่องจากภาคกลางมีอากาศร้อนอบอ้าว
จึงปลูกสร้างบ้านเรือนเพื่อให้อยู่อาศัยอย่างสบายในภูมิประเทศมี
แม่น้ำลำคลองมากก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ

ที่มา: http://student.nu.ac.th/wat

1. เรือนครอบครัวเดี่ยว
เป็นเรือนสำหรับครอบครัวเดี่ยว สร้างขึ้นโดยมีประโยชน์

ใช้สอยที่เพียงพอกับครอบครัวเล็ก ๆอาจ เป็นเรือนเครื่องผูก
เรือนเครื่องสับ หรือผสมผสานกันก็เป็นได้แล้วแต่ฐานะ
ประกอบด้วย เรือนนอน 1 หลัง เรือนครัว 1 หลัง ระเบียง
ยาว ตลอดเป็นตัวเชื่อมระหว่างห้องนอนกับชาน
2. เรือนครอบครัวขยาย

เรือนหมู่ คือ เรือนหลายหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่เดียวกัน
สมัยก่อนลูกชายแต่งงานส่วนใหญ่จะไปอยู่บ้านผู้หญิง ส่วน
ลูกผู้หญิงจะนำเขยเข้าบ้าน จะอยู่เรือนหลังย่อมกว่า เรือน
หลังเดิมเรียกว่า “หอกลาง” ส่วนเรือนนอกเรียกว่า “หอรี”
เพราะปลูกไปตามยาว ถ้ามีเรือนปลูกอีกหลังหนึ่งเป็นด้าน
สกัดก็เรียกว่า “หอขวาง” อาจมี “หอนั่ง” ไว้สำหรับนั่งเล่น
บางแห่งมี“หอนก” ไว้สำหรับเลี้ยงนก
เรือนหมู่
3. เรือนหมู่คหบดี

เรือนหมู่คหบดีโบราณ เป็นเรือนสำหรับผู้มีอันจะกิน
ลักษณะการจัดเรือนหมู่คหบดีของโบราณเป็นเรือนขนาดใหญ่
มีเรือนคู่และเรือนหลังเล็กหลังน้อยรวมเข้าด้วยกัน แต่ละหลัง
ใช้ประโยชน์ต่างหน้าที่กันออกไป ประกอบด้วย เรือนนอน
เรือนลูก เรือนขวาง เรือนครัว หอนก และชาน
4. เรือนแพ

การสร้างบ้านบริเวณชายฝั่ งต้องยกพื้นชั้นบนสูงมาก
ไม่สะดวกในหน้าแล้งทำให้เกิดการสร้างเรือนในลักษณะ
" เรือนแพ " ที่สามารถปรับระดับของตนเองขึ้นลงได้ตาม
ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง

ความเชื่อ

คติความเชื่อเรื่องพระภูมิเจ้าที่มีการสร้างศาลพระภูมิใน
ลานบ้านไม่ไกลตัวเรือนมากนัก หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ ความเชื่อนี้
ก็มีส่วนทำให้บริเวณบ้านเรือนสะอาดร่มรื่น น่าอยู่อาศัย สำหรับ
บนเรือนมีความเชื่อว่าไม่ควรนอนใต้ขื่อ ใต้คานจะหลับไม่สนิท
มีสิ่งรบกวน การวางที่นอนก็ต้องหันหัวนอนให้ถูกทิศทาง และ
ทิศทางของบันไดก็ดี ควรเป็นไปในทิศที่เชื่อว่าเป็นมงคล มีความ
เชื่อในเรื่องเลขคู่ เลขคี่ ของจำนวนขั้นบันได จำนวนห้อง เสา
ฤกษ์ยามวันเดือนปีที่จะปลูกเรือนทั้งยังเชื่อว่าไม้บางประเภทมี
ภูติผีสิงสถิตอยู่ เป็นต้น

ความเชื่ออื่น ๆ
- บันไดห้ามใช้จำนวนขั้นคู่ (ต้องเป็นขั้นคี่
นับเฉพาะขั้น ไม่นับพื้นหรือชานพัก)
- บันไดไม่ลงไปทางทิศตะวันตก
- ไม่หันหัวนอนในทิศตะวันตก
- ไม่ทำน้ำพุน้ำตกไหลเข้าตัวเรือน
- ไม่ปลูกต้นหางนกยูง ลั่นทม โศก ตรุษจีน ฯลฯ
- ไม่ทำทางเข้าลอดใต้ห้องน้ำหรือห้องส้อม
- ไม่ทำอาคารรูปตัว “ที” มีปีกเท่ากันส้องข้างเรียก
“แร้งกระพือปีก” ถือเป็นอัปมงคล 8

- ไม่ทำเรือนทะลุหน้าตลอดหลัง ถือว่าเป็น “เรือนอกแตก”
เป็นอัปมงคล
- ไม่ทำภูเขาจำลองไว้ในบ้าน
- ห้ามใช้ไม้ตะเคียน ไม้มะค่าในการปลูกเรือน
- ห้ามใช้เสาตกมัน
- ห้ามทำทางเข้าออกคู่ไว้ตอนมุมของพื้นดินที่ทางสามแพร่ง
หรือสี่แยก
- ห้ามนำภาพยักษ์ไว้ในบ้าน
- ห้ามนำหนังใหญ่หรือหนังตะลุงไว้ในบ้าน
- ห้ามใช้ช่อฟ้า ใบระกา เครื่องวัด เครื่องหลวง หรือมีแต่เครื่อง
ประดับชั้นสูงในบ้าน 1
- ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ
- ห้ามตั้งศาลพระภูมิใต้เงาเรือน
- ไม่ปลูกต้นมะละกอใกล้ตัวบ้าน
- ห้ามทำบันไดเวียนซ้ายขาขึ้น
- ไม่ปลูกบ้านใต้ต้นไม้ใหญ่
- ห้ามมิให้มีสัตว์ตกตายในหลุมตอม่อ
- ห้ามใช้เสาไม้มีตาในระยะ “เป็ดไซ้ ไก่ตอด สลักรอด หมูสี”
- ห้ามวางรูปพื้นเรือนในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงรูโลงศพ
- ห้ามทำเตียงนอนขาสิงห์ เครื่องใช้ขาสิงห์
- ห้ามนำศพออประตูเรือน หรือลงบันไดบ้าน (ให้ออกทางด้านฝา
หุ้มกลอง เพราะสะดวกในการเคลื่อนศพ ฝาหุ้มกลองถอดออก
และประกอบใหม่ได้ )
- ห้ามนำของวัดเข้าบ้าน หรือมาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน
- ห้ามทำทางเข้าเวียนซ้ายของอาคาร

บ้านเรือนไทยภาคใต้



ภาคใต้ของประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์
ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย กล่าวคือ
มีลักษณะเป็นแหลม หรือคาบสมุทรยื่นออกไปจนจรด
ประเทศมาเลเซีย ประกอบกับล้อมรอบด้วยฝั่ งทะเล
โดยมีอ่าวไทยอยู่ทางฝั่ งทะเลตะวันออก และทะเลอันดามัน
อยู่ทางฝั่ งทะเลตะวันตก ด้านสภาพภูมิอากาศของภาคใต้เป็น
อาณาบริเวณที่มีอากาศร้อนฝนตกชุก ความชื้นสูงมี 2 ฤดู คือ
ฤดูร้อน และฤดูฝน ในฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่น
เนื่องจากได้รับการถ่ายเทความร้อนจากลมทะเลที่พัดผ่านอยู่
ตลอดเวลา ในฤดูฝนฝนจะตกชุกมากกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะได้
รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศดังกล่าวนี้ มีอิทธิพลสำคัญ
ต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้

ที่มา: https://kyl.psu.th/PTMjqqD6

1. เรือนไทยพุทธ เรือนมีขนาดไม่ใหญ่โตนัก หลังคาจั่ว
และไม่ยกพื้นสูงขนาดให้คนเดินลอดได้สะดวก นิยมมุงหลังคา
ด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในบ้านมีการกั้นห้องแบ่งเป็นสัดส่วน
ชายคายื่นยาว หรือชานเชื่อมแต่ละเรือนเข้าด้วยกัน
การก่อสร้างไม่ซับซ้อน

2. เรือนไทยมุสลิม เป็นเรือนที่สะท้อนให้เห็นถึง
สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน และวัฒนธรรมอิสลาม เน้นใต้ถุนสูง
หลังคานิยมสร้างเป็นทรงจั่ว ทรงปั้ นหยา หรือทรงมนิลา
ภายในสบาย มักจะเปิดโล่ง มีเฉพาะห้องที่สำคัญเป็นส่วนตัว
เท่านั้น

ความเชื่อ

ห้ามปลูกเรือนบนจอมปลวก ห้ามปลูกบ้านคร่อมตอไม้
ห้ามสร้างบ้านบนทางสัญจร ห้ามปลูกบ้านตรงพื้นที่เฉอะแฉะ
สกปรก ดินเลนสีดำ ดินมีหลากสี มีกลิ่นไม่บริสุทธิ์ ห้ามปลูกบ้าน
เดือน ๔ ให้ปลูกบ้านเดือน ๑๐ การทำบันไดบ้านต้องหันไปทางทิศ
เหนือหรือทิศตะวันออกจำนวนบันไดต้องเป็นเลขคี่ ห้ามปลูกเรือน
คร่อมคู คลองหรือแอ่งน้ำ เป็นต้น รวมถึงการเลือกที่ดินที่เป็น
มงคล เช่น ให้ดูสีพื้นดินที่เป็นสีอ่อน หรือดินสีแดง สีเหลือง
กลิ่นหอมรสฝาด พื้นเทลาดจากทิศใต้ลงสู่ทิศเหนือจะทำให้ผู้อยู่
อาศัยเจริญด้วยลาภยศบริวาร หรือพื้นที่สูงทางทิศตะวันตกแล้ว
ค่อยลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก ดินสะอาดหรือมีสีขาว สี
เหลือง สีแดง ไม่มีรสไม่มีกลิ่น ซึ่งจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข
ปราศจากโรคภัย
การคัดเลือกเสาเรือน ภาคใต้ให้ความสำคัญกับเสาเรือนซึ่งเป็น
โครงสร้างรากฐานสำคัญ เช่นเดียวกับภาคกลางและภาคเหนือ
กล่าวคือเสาเอก ต้องไม่มีตำหนิ มีตา ไม่ตกน้ำมัน นำมาตกแต่ง
ด้วยผ้าแดง หรือด้ายดิบสามสี (แดง เหลือง ขาว) คาดติดไว้
กึ่งกลางเสาพร้อมด้วยกล้ามะพร้าวและต้นอ้อย บางท้องถิ่นใช้
รวงข้าว ขวดน้ำ กล้ามะพร้าว หน่อกล้วยผูกติดกับเสา

ข้อห้ามและคติอื่น ๆ การปลูกเรือนแต่ก่อนมีคติถือกันว่าถ้า
ปลูกเรือน " ขวางตะวัน " คือหันข้างเรือนไปทางทิศตะวัน
ออกหรือตกไม่ดี คนอยู่จะไม่มีสุข มักเป็นเหตุให้เสียตาเพราะ
ไปขวางหน้าตะวัน ถ้าจะปลูกเรือนให้ปลูก " ตามตะวัน" คือ
หันข้างเรือนไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ จึงจะเป็นมงคล ยู่เย็น
เป็นสุขสบายดี ถ้าเนื้อที่บ้านคับแคบ ปลูกเรือนให้หันข้าง
เรือนไปตามดวงตะวันไม่ได้ ก็ต้องหาทางปลูกให้เฉียงตะวัน
คืออย่าหันข้างเรือนตรงกับตะวันนักก็ใช้ได้เช่นกัน คตินี้ถือ
ปฏิบัติกันในภาคกลางและใต้ ส่วนภาคเหนือจะวางเรือน
ขวางตะวันแตกต่างจากภาคอื่น ๆ
จำนวนบันไดของเรือนในทุกภาค ไม่นิยมทำเป็นเลขคู่ มักทำ
ลูกขั้นบันไดเป็นเลขคี่ คือ ๑-๓-๕-๗-๙ เป็นต้

การปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านของไทย

จะมีการนิยมปลูกต้นไม้ ดังนี้

การปลูกต้นไม้ตามคติความเชื่อ นิยมปลูกต้นไม้ที่มีนาม
เป็นมงคลรอบบ้าน เช่น

ต้นขนุน จะทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยได้รับการสนับสนุน มีคน
คอยอุปการะอุดหนุน จุนเจือ คอยให้ความช่วยเหลือ มีคน
สรรเสริญ โดยผู้ที่ปลูกให้หัวหน้าครอบครัวเป็นคนลงมือ
ปลูกในวันจันทร์ หรือวันพฤหัสบดี และควรเลือกปลูกทาง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นกาลดี

ต้นมะม่วง หากปลูกไว้ทางทิศใต้ของบ้านแล้ว จะทำให้
ผู้อยู่ อาศัยในบ้านร่ำรวยยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น และยังช่วยป้องกัน
ไม่ให้คนอื่นมารังแก รังควานได้

ต้นมะขาม เชื่อกันว่าต้นมะขามจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเป็นที่
น่าเกรงขามต่อผู้อื่น และทำให้คนชื่นชอบ นอกจากนี้ ยังช่วย
ป้องกันคดีความ ภูตผีปีศาจ และผีซ้ำ พลอย ควรให้ปลูก
ต้นมะขามไว้ทางทิศตะวันตก

ต้นมะยม จะทำมีให้คนยกย่อง นิยมชมชอบ มีชื่อเสียง
รักใคร่ ไม่มีคนคิดร้าย หรือเป็นศัตรู หากปลูกต้นมะยมไว้
ทางทิศตะวันตกจะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้

ต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูน หากนำมาปลูกไว้ทางทิศ
ตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน จะช่วยให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านมี
ความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณยิ่งขึ้นไป นอกจากนี้ จะช่วย
ให้คนในบ้านมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี

ต้นไผ่ เป็นสัญลักษณ์ของความสง่าเหนือธรรมชาติ
หากปลูกไว้ในบ้านจะเสริมมงคลให้ผู้อยู่อาศัย ทำให้เป็นคน
มุ่งมั่น ตั้งใจจริง มีสติปัญญา เอื้ออารี และกตัญญูรู้คุณ
ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออก เพื่อให้ต้นไผ่ได้รับแสงแดดยามเช้า

ต้นแก้ว หากปลูกต้ไว้ประจำบ้าน จะทำให้สมาชิกในบ้านเป็น
คนที่มีจิตใจบริสุทธิ์เหมือนแก้ว มีความเบิกบานใจ และมีคนรัก
ดั่งแก้วตาดวงใจ แนะนำให้ปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก และ
ให้ปลูกในวันพุ ธ

ต้นวาสนา จะทำให้มีความสุข ความสมหวังในชีวิต และ
เป็นต้นไม้แห่งโชคลาภ และการเสี่ยงทายด้วย และเชื่อกันว่า
หากต้นวาสนาบ้านไหนออกดอกสวยงาม จะทำให้มีโชคลาภ
ปรารถนาสิ่งใดก็จะสมดังใจมุ่งหมาย ควรปลูกทางทิศตะวันออก
เฉียงเหนือ ควรปลูกในวันอังคาร โดยให้ผู้หญิงเป็นผู้ปลูกจะดี
ที่สุด เพราะชื่อวาสนาอธิษฐานเป็นชื่อที่เหมาะกับสุภาพสตรี

ต้นกล้วย มีควาเชื่อว่า หากปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของ
บ้านจะช่วยให้การทำงานราบรื่น คิดสิ่งใดทำสิ่งใดก็ง่ายเหมือน
ปอกกล้วยเข้าปาก

ต้นกระดังงา จะทำมีชื่อเสียงก้องกังวานไปไกล มีลาภยศ
สรรเสริญ มีเงินทอง ผู้คนทั่วไปนับ หน้าถือตา และยังเชื่อกันว่า
กระดังงาเป็นต้นไม้ที่ช่วยเสริมเสน่ห์ให้สมาชิกในบ้านให้เป็นที่รัก
ใคร่ของคนทั่วไป และมีชีวิตที่หอมหวลเหมือนกับกลิ่นหอมของ
ดอกกระดังงา ควรปลูกในวันพุธ ไว้ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน

ต้นเข็ม ให้เลือกปลูกทางทิศตะวันออก และปลูกในวันพุธ
จะช่วยเสริมสิริมงคลให้แก่คนในบ้าน จะทำให้สมาชิกในบ้านมีความ
ฉลาดหลักแหลมเหมือนกับดอกเข็ม และยังช่วยให้มีปฏิภาณไหวพริบ
เอาตัวรอดได้ด้วย หรือหากบ้านใดมีเด็กที่กำลังอยู่ในวัยศึกษา
ดอกเข็มก็กระตุ้นให้เด็ก ๆ สนใจใฝ่หาความรู้มาเติมเต็มให้ตัวเอง
อยู่เสมอ

ต้นโมก จะสามารถปกป้องคุ้มครองสิ่งชั่วร้ายให้สมาชิกในบ้าน
ได้ ควรให้ปลูกในวันเสาร์ จะช่วยให้ต้นโมกเจริญงอกงามได้ดี และ
ปกป้องคุ้มครองคนในบ้านได้ ซึ่งทิศที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกคือ
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ต้นโกสน ปลูกเพื่อหวังให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจาก
ความขัดแย้งใด ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ควรปลูกในวัน
อังคาร และปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน

ต้นบานไม่รู้โรย จะทำให้เกิดความยั่งยืน ความอดทน และ
ไม่ย่อท้อ หากเปรียบกับความรักก็เหมือนความรักที่ยั่งยืน ช่วยให้
คู่รักมีความผูกพัน มั่นคงต่อกันไปนาน ๆ ปราศจากความโรยรา หรือ
ผันแปรตลอดไป

ต้นโป๊ยเซียน ต้นไม้แห่งโชคลาภที่คนไทยนิยมปลูกกันมากอีก
ชนิด เพราะเชื่อว่าจะนำลาภผลมาให้ และจะทำให้ครอบครัวสงบสุข
ต้นโป๊ยเซียนยังเป็นต้นไม้เสี่ยงทาย หากบ้านไหนปลูกต้นโป๊ยเซียน
ออกดอกได้ 8 ดอก ก็จะมีโชคลาภ เงินทอง ได้เลื่อนยศ
เลื่อนตำแหน่ง

แ หล่งข้อมูลอ้างอิง

https://thainews.prd.go.th/banner/th/culture_th/life.php
https://www.jorakay.co.th/blog/owner/other
http://www.sookjai.com/index.php?topic=86163.0
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?
http://student.nu.ac.th/wat-th/WebIP/%E0%B8%9A%E0%
https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/5/b8568bb2
https://www.kruathaiminium.com/content


Click to View FlipBook Version