สงครามครูเสด
(Crusade)
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 1 จาก 11
สงครามครูเสด เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติใน
ครั้งอดีต เป็นสงครามระหว่างศาสนา โดยส่วนใหญ่หมายความ
ถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ในช่วง
ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ดินแดนที่ทำการสู้รบและแย่งชิงพื้นที่กัน
เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่อิสลามยูไดและคริสต์ซึ่ง
ในปัจจุบันก็คือบริเวณประเทศอิสราเอลปาเลสไตน์แลเลบานอน
ความหมายของสงครามครูเสด
สงครามครูเสด มีความหมายว่าเป็นการต่อสู้เพื่อความถูกต้อง
ชอบธรรมเป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทาง
ศาสนาเป็นสงครามที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้องตามพระประสงค์
ของพระผู้เป็นเจ้า
สงครามครูเสดในมุมมองศาสนาคริสต์
คือสงครามไม้กางเขนเดิมมาจากคำว่า(Cross) และชาวคริสต์
อ้างว่าเดิมทีดินแดนศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเล็ม(Jerusalem)นั้นเป็น
ของชาวคริสต์แต่ถูกชาวมุสลิมรุกรานแย่งชิงไปฝ่ายคริสต์จึงมี
การประกาศความชอบธรรมในการทำสงครามรวมทั้งการยกหนี้
สินให้กับคนที่เข้าร่วมสงคราม ผู้นำศาสนายังประกาศอีกว่า ผู้ใด
ที่ร่วมรบจะได้ขึ้นสวรรค์
สงครามครูเสดในมุมมองศาสนาอิสลาม
คือการรุกรานของชาวคริสต์ที่กระทำต่อมุสลิม
สาเหตุสงครามเกิดจากการที่ชาวคริสต์ไม่พอใจ
ชาวมุสลิมที่ไม่ต้อนรับพวกตนในการเข้าไปแสวง
บุญที่เยรูซาเล็ม
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 2 จาก 11
สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดสงครามครูเสด
1.ต่างฝ่ายต่างก็พยายามที่จะมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายโดยเสนอ
ความเป็นผู้นำในการรบเพื่อทวงคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และหยุด
ยั้งการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามที่รวดเร็วจนก่อให้เกิดความ
หวาดกลัวขึ้นไปในหมู่ชาวคริสเตียน ในศตวรรษที่ 11 ชาว
คริสเตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม 2. เยรูซาเล็มตก
อยู่ภายใต้กาปกครองของมุสลิม ผู้แสวงบุญชาวคริสเตียนจึงมี
ความต้องการดินแดนเยรูซาเล็มเป็นของตนเอง เพื่อความ
สะดวกในการแสวงบุญ 3. พวกเจ้าเมืองต่าง ๆ ต่างก็ต่อสู้ทำ
สงครามซึ่งกันพระสันตะปาปามีความเห็นว่า ถ้าอยู่ในสภาพนี้
จะทำให้ชาวคริสเตียนต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยงปลุกระดมให้
ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิมแทนโดยอ้างว่าจะได้รับกุศล
ผลบุญ 4. การค้าพาณิชย์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจึงตกอยู่ใน
ความควบคุมของมุสลิมอย่างเต็มที่ ดังนั้น ชาวคริสเตียนใน
ยุโรปจึงต้องการทำสงครามกับมุสลิม เพื่อหยุดยั้งความเจริญ
ของมุสลิม 5. สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2ประสงค์จะรวมคริสต
จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่าน จึงได้เรียกประชุมชาว
คริสเตียนที่เมืองเลอมองส์ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26
พฤศจิกายน ค.ศ. 1095 และรบเร้าให้ชาวคริสเตียนทำ
สงครามกับชาวมุสลิม ท่านได้สัญญาว่าผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู้
จะได้รับการยกเว้นจากบาปที่เคยทำมา และผู้ที่ตายในสงคราม
ก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง
150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์และนอร์แมน
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 3 จาก 11
จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
หลังจากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซู
คริสต์เคยมีชีวิตอยู่ คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และ
เมืองเยรูซาเล็ม ถูกเรียกว่าเป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาว
คริสเตียนจะต้องเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้
เมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของ
ชาวมุสลิมด้วยเช่นกัน เมื่อพวกซัลจู๊ค (มุสลิม)แห่งเติร์กเข้า
มามีอำนาจได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซน
ไทน์ ” ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.
1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจาก
เอเชียไมเนอร์ ในปีค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบ
แซนไทน์ได้อีกทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนก
เพราะอิสลามกำลังรุกเข้าใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ ลเมื่อเห็น
ดังนั้น จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซน
ไทน์(โรมันตะวันออก) ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรก
อรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ขอให้ชาวคริสเตียนช่วยปราบพวกเติร์ก
ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการขอความช่วยเหลือ เพราะนั่น
เท่ากับว่าจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ซึ่งเป็นผู้นำของศาสนา
คริสต์นิกายออโธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่ง
เป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิงแล้ว พระ
สันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 4 จาก 11
ในความรู้สึกของชาวยุโรปนั้นกำลังถูกรุกรานจากพวกตะวัน
ออก คือ โลกมุสลิมมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ ค.ศ. 632
เป็นต้นมา อิสลามได้ขยายอำนาจเข้าไปในเขตแดนที่ตะวันตก
เคยมีอำนาจ เช่น ซีเรีย อียิปต์ แอฟริกาเหนือ ตลอดจนคาบ
สมุทรไอบีเรีย (สเปนและโปรตุเกส) ซ้ำยังคุกคาม
จักรวรรดินิยมที่ยิ่งใหญ่ในโลกตะวันตกคือไบแซนไทน์ และ
สร้างความสั่นสะเทือนให้แก่สถาบันที่เป็นหัวใจของวัฒนธรรม
ตะวันตกและคริสต์ศาสนา ซึ่งก็คือกรุงโรม ประกอบกับ
มุสลิมสามารถยึดครอบครองบางส่วนของอิตาลีได้ การค้ากับ
ตะวันออกก็ตกอยู่ในมือของมุสลิม สงครามครูเสดจึงเป็น
ความพยายามของชาวตะวันตกที่จะล้มอำนาจของตะวันออกที่
เป็นมุสลิมหลังจากที่พ่ายแพ้มาตลอดแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้
ชาวยุโรปเดินทางฝ่าอันตรายไปยังโลกอิสลาม คือ กษัตริย์
ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและ
ขุนนางก็ต้องการผจญภัยและแสดงความกล้าหาญตาม
อุดมคติของอัศวินที่ดี พวกทาสต้องการเป็นอิสระ เสรีชน
ต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนา รวมทั้ง
ความพยายามของพระสันตะปาปาในอันที่จะรวมคริสต์ศาสนา
นิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้การ
บังคับบัญชาของตนแต่เพียงผู้เดียว
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 5 จาก 11
สงครามครูเสดครั้งที่ 2
(ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสง
ครามครูเสดครั้งสำคัญครั้ง
ที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการ
เสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสส
เป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการ
ประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็น
สงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวม
ทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3
แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญ
ต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทาง
ข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดน
ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอา
นาโตเลียแล้ว กองทัพทั้ง
สองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูล
ของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil)
และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเน
นอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้
ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้ง
สองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการ
โจมตีของเซลจุคเติร์ก
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 6 จาก 11
กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอน
ราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี ค.ศ. 1148 ก็
เข้าโจมตีดามาสคัสตามคำแนะนำอันไม่สมควร สงครามครู
เสดครั้งที่ 2 จบลงด้วยความล้มเหลวและชัยชนะของฝ่ายมุ
สลิม และเป็นสงครามที่นำไปสู่การเสียกรุงเยรูซาเลม และ
สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่12
ความสำเร็จอย่างเดียวของสงครามครูเสดครั้งนี้เกิดขึ้นนอก
บริเวณเมดิเตอเรเนียนเมื่อชนกลุ่มต่างๆ ที่กำลังเดินทางทาง
เรือไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์เพื่อไปเข้าร่วมในสงครามที่รวมทั้ง
เฟล็มมิช, ฟริเชียน, นอร์มัน, อังกฤษ, สกอต และเยอรมันมี
โอกาสหยุดช่วยฝ่ายโปรตุเกสจ
ากการเสียเมืองลิสบอน
จากการล้อมโดยชาวมัวร์ในปี ค.ศ. 1147
ขณะเดียวกันในยุโรปตะวันออกสงครามครูเสดตอนเหนือครั้ง
แรกก็เริ่มขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการเปลี่ยนกลุ่มชนที่เป็นเพ
กันให้มารับนับถือคริสต์ศาสนาซึ่งเป็นสงครามที่ดำเนินต่อมา
เป็นเวลาอีกหลายร้อยปี
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 7 จาก 11
เอเดสซาในแผนที่นี้ (ค.ศ.1140) ถูกครอบครองโดยเซนกิด
ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดสงครามครูเสดครั้งที่ 2
วันที่
ค.ศ.1147–1150
สถานที่
คาบสมุทรไอบีเรีย, ตะวันออกใกล้(อานาโตเลีย, ลิแวนต์),
อียิปต์
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 8 จาก 11
ผล
อานาโตเลีย:
ฝ่ายมุสลิมชนะ
พวกครูเสดไม่สามารถรื้อฟื้ นเคาน์ตีอิเดสซา
สนธิสัญญาระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์กับ
รัฐสุลต่านรูม
พวกครูเสดเริ่มโจมตีอียิปต์
ลิแวนต์
Status quo ante bellum
คาบสมุทรไอบีเรีย:
ฝ่ายครูเสดชนะ
ดินแ
ดน
เปลี่ยนแปลง
ลิสบอนถูกยึดโดยชาวโปรตุเกส และทอร์โทซาถูก
ยึดโดยชาวคาตาลัน
Wagria และPolabiaถูกยึดโดยพวกครูเสดแห่ง
แซกซอน
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 9 จาก 11
บุคคลสำคัญในสงครามครูเสดครั้งที่2
มานูเอลที่ 1 โคมเนนอส
จักรพรรดิ แห่ง จักรวรรดิไบ
แซนไทน์
เมลิเซนเดอ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 10 จาก 11
ปฏิมา เทียนหลง 4\3 13
เพิ่มหัวเรื่อง หน้า 11 จาก 11