The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ไตรมาส 3 ปี 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cfo.ryg, 2023-10-17 22:39:14

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ไตรมาส 3 ปี 2566

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ไตรมาส 3 ปี 2566

ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง E-Mail: [email protected] Rayong s Economiic Outllook 2023 And 2024


รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 (Rayong’s Economic Outlook 2023 And 2024) (ณ กันยายน 2566) หมายเหตุ: ผู้สนใจสามารถเปิดดูได้จาก www.cgd.go.th/cs/ryg/ryg/ภาวะเศรษฐกิจ.html


ค ำน ำ สำรบัญ ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ถ.สุขุมวิท ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทร. 0 3869 4060-3 โทร.(มท.) 34157 โทรสำร. 0 3869 4060-3 ต่อ 324 E-mail: [email protected] Website: http://www.cgd.go.th/cs/ryg/ryg/ภาวะเศรษฐกิจ.html Facebook Fan Page: กลุ่มงานนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สนง.คลังจังหวัดระยอง ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง ได้จัดท ารายงาน ประมาณการเศรษ ฐกิจจังห วัดระยอง เพื่อใช้เป็น เครื่องมือในการบริหารงาน ติดตามสถานการณ์ ทิศทาง และแนวโน้มเศรษ ฐกิจของจังห วัด โดยมีเนื้อห า ประกอบด้วย การวิเคราะห์เศรษฐกิจด้านอุปทาน อุปสงค์ ก ารใช้จ่ายงบป ระม าณ และเสถีย รภ าพ ท างเศ รษ ฐ กิ จ เพื่ อ ส นั บ ส นุ น ส นั บ ส นุ น ข้ อ มู ล ด้ า น เศ ร ษ ฐ กิจ จังห วั ด ให้ แ ก่ ผู้ บ ริ ห า ร จังห วั ด ใช้ประกอบการพิจารณาก าหนดนโยบาย แผนงาน แน วท างปฏิบั ติ ตล อดจน แน วท างแก้ไขปั ญ ห า ใน จังห วัด รวม ถึงให้ ผู้ป ระกอบ ก ารภ าคเอกชน หรือผู้สนใจทั่วไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน ในโอก าสนี้ ขอขอบคุณ หน่ วยงาน ราชก าร รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ ที่สนับสนุน ข้อมูลส าคัญเพื่อใช้ในการจัดท ารายงานฉบับนี้ซึ่งหวัง เป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ในทาง วิชาการ และสามารถน าข้อมูลไปปรับใช้ในเชิงบริหารได้ และหากท่านมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะประการใด อัน เป็ น ป ระโย ช น์ ขอค ว าม ก รุณ าส่งผ่ าน อี เม ล์ [email protected] หรือที่ส านักงานคลังจังหวัดระยอง ทุกค าติชม ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของท่านจะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง รายงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป ส านักงานคลังจังหวัดระยอง ประมำณกำรเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567……….........1-3 ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสนับสนุน..................4-5 ตำรำงสรุปสมมติฐำน…….................……....6-7 สมมติฐำนหลักในกำรประมำณกำร..........8-25 1. ด้ำนอุปทำน ...........................……8-15 - ภาคเกษตรกรรม.........................8-11 - ภาคอุตสาหกรรม......................12-13 - ภาคบริการ................................13-15 2. ด้ำนอุปสงค์ .........……...............16-18 - การบริโภคภาคเอกชน....................16 - การลงทุนภาคเอกชน......................17 - การใช้จ่ายภาครัฐ............................18 3. กำรใช้จ่ำยงบประมำณ...............19-20 4. รำยได้เกษตรกร.....……………..….21-23 5. ด้ำนเสถียรภำพทำงเศรษฐกิจ….......24 6. ค ำนิยำมและกำรค ำนวณ...........26-30 หน้ำ


1 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง อ ฉบับที่ 3/2566 วันที่ 30 กันยายน 2566 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 “เศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.7 ในปี 2567” 1. เศรษฐกิจจังหวัดระยอง ในปี 2566 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 1.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.0-1.6คงที่จากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ชะลอตัวจากปีก ่อนที ่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากด้านอุปสงค์และอุปทาน และภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ท าให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ มากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านอุปทาน (การผลิต) คาดว่าเศรษฐกิจจังหวัดระยอง จะขยายตัวร้อยละ 1.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 1.2-1.8 ต่อปี คงที่จากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) และชะลอตัวจากปีก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 2.9 โดยภาคเกษตรกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 จากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของพืชเศรษฐกิจ ที่ส าคัญ เช่น ยางพารา สับปะรด มันส าปะหลัง และทุเรียน ด้านปศุสัตว์คาดว่าขยายตัวจากผลผลิตไก่เนื้อและสุกร จากสถานการณ์โรคระบาดที่คลี่คลาย และความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 สะท้อนจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม ทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรม และจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 3 ล าดับแรกของจังหวัด ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี อุตสาหกรรมผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ฯ และอุตสาหกรรมการผลิตโลหะ และภาคบริการ คาดว่าขยายตัว ร้อยละ 5.4 ตามรายได้จากการท่องเที่ยว จ านวนนักท่องเที่ยว อัตราเข้าพักแรมเฉลี่ย รายได้จากการขายส่ง และขายปลีก (ยื่นเสียภาษี) และรายได้จากการขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ของภาครัฐ เช่น มาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นจ านวนนักท่องเที่ยวจีน รวมทั้งกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบกับการบูรณาการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ในการส่งเสริมและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งผลให้ ภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ส านักงานคลังจังหวัดระยอง ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ถ.สุขุมวิท ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทรศัพท์ 0-3869-4060-63 โทรสาร 0-3869-4061-62 ต่อ 323-4 www.cgd.go.th/cs/ryg/ryg/หน้าหลัก.html


2 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ด้านอุปสงค์(การใช้จ่าย) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.7-3.3 คงที่จากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) และชะลอตัวจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 16.2 โดยการบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 จากภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่มาจาก การน าเข้ากลุ่มเชื้อเพลิง (น้ ามันดิบ) การน าเข้าวัตถุดิบเพื่อมาผลิตสินค้า และการอุปโภคบริโภคภายในจังหวัด ตามความเชื่อมั่นของภาคประชาชนและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 4.5ตามปริมาณสินเชื่อเพื่อการลงทุน พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างรวม และปริมาณรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จดทะเบียนใหม่ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและประเทศคู่ค้า จะส่งผลให้ผู้ประกอบการ ตัดสินใจลงทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 จากมาตรการเร่งรัดการใช้จ่าย งบประมาณรายจ่ายประจ า และรายจ่ายลงทุน 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัด คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.7-3.3 คงที่จากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) จากการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ และราคาอาหารและน้ ามันเป็นส าคัญ ส าหรับการจ้างงานคาดว่าตลอดทั้งปี มีจ านวน 675,175 คน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 673,769 ถึง 676,580 คน ปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะมีการจ้างงานจ านวน 675,218 คน) เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จ านวน 5,929 คน ตามการจ้างงาน ของภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการที่ฟื้นตัว เศรษฐกิจจังหวัดระยอง ในปี 2567 2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2567 คาดว่าจะ ขยายตัวร้อยละ 2.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.2-3.2) ขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว อีกทั้งจะได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐในการด าเนินมาตรการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านอุปทาน (การผลิต) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.3-4.3 ต่อปี) โดยภาคเกษตรกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 จากปริมาณผลผลิตยางพารา มันส าปะหลัง และทุเรียน ด้านปศุสัตว์ขยายตัวจากไก่เนื้อและสุกร ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.9 จากปริมาณการใช้ไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม ทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรม และจ านวนโรงงาน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัว ท าให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น และภาคบริการ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ตามรายได้จากการท่องเที่ยว จ านวนนักท่องเที่ยว อัตราเข้าพักแรมเฉลี่ย รายได้จากการขายส่ง ขายปลีก (ยื่นเสียภาษี) และรายได้จากการขนส่ง ที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และภาคการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวจากจ านวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นและคาดว่าจะมีจ านวนวันเข้าพัก เพิ่มขึ้นด้วย


3 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ด้านอุปสงค์(การใช้จ่าย) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี) จากการบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้จ านวนรถจักรยานยนต์ และรถยนต์จดทะเบียนใหม่ ตามเศรษฐกิจที่อยู่ในทิศทางฟื้นตัว และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ที่คาดว่าจะน ามาใช้เช่น นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นต้น ด้านการลงทุนภาคเอกชน คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 3.7 จากปริมาณสินเชื่อเพื่อการลงทุน พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างรวม และปริมาณรถยนต์ เพื่อการพาณิชย์จดทะเบียนใหม่ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและประเทศคู่ค้าซึ่งจะส่งผลให้ ผู้ประกอบการตัดสินใจลงทุนเพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 จากการใช้จ่าย งบประมาณรายจ่ายประจ า และรายจ่ายลงทุน และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกมาอย่างต่อเนื่อง 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัด คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.5-4.5 ต่อปี) จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้น จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ และต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นหากปรากฏการณ์เอลนีโญ รุนแรงกว่าคาดส าหรับการจ้างงานคาดว่าตลอดทั้งปี มีจ านวน 688,011คน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 685,648-690,374คน) ตามความต้องการก าลังแรงงานในภาคการเกษตร ภาคการผลิต และภาคบริการ เป็นส าคัญ


4 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจในปี 2566 และปี 2567 ของจังหวัดระยอง ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง 1. ผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบและราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ท าให้ ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดระยองต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น และประชาชน ต้องเผชิญกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น 2. ราคาน ามันดิบโลกมีแนวปรับตัวสูงขึ น เนื่องจากการปรับลดก าลังการผลิตจากองค์กรร่วมประเทศผู้ผลิต น้ ามันเพื่อการส่งออก (Organization of the Petroleum Exporting Countries: OPEC) และประเทศรัสเซีย ซึ่งจะท าให้ต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาน้ ามันที่สูงขึ้นยังมีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ในจังหวัด เนื่องจากราคาน้ ามันที่สูงจะท าให้มีการเดินทางท่องเที่ยวน้อยลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ ของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยว 3. สภาพอากาศที่แปรปรวน ปรากฏการณ์เอลนีโญท าให้ปริมาณฝนตกในประเทศไทยน้อยกว ่าปกติ ส่งผลกระทบต่อปริมาณพืชผล ราคาสินค้าเกษตร ต้นทุนราคาอาหาร รวมไปถึงการจ้างงานและรายได้ของเกษตรกร 4. ปัญหาหนี ครัวเรือนต่อรายได้ที่เพิ่มสูงขึ น ท าให้ประชาชนมีเงินเหลือไว้ใช้จ่าย เก็บออม และลงทุนน้อยลง เนื่องจากต้องจัดสรรรายได้เพื่อใช้ช าระหนี้มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและความเป็นอยู่ ของครัวเรือนในระยะยาว 5. ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและการเงิน จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายเงินทุน ออกจากประเทศเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังต่ ากว่าประเทศอื่น ต้นทุนการกู้ยืมของภาครัฐและเอกชน ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายท าให้เป็นอุปสรรคต่อการด าเนินนโยบายและการลงทุนใหม่ ๆ ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ความผันผวนในตลาดการเงินที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา และความชัดเจน ของนโยบายภาครัฐที่อาจมีนัยต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพด้านการคลังในอนาคต 6. การแพร่ระบาดของโรคติดเชื อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ความเสี่ยงของการเกิดการกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ ๆ ในอนาคต รวมทั้งประสิทธิภาพของวัคซีนในการตอบสนองต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่อาจ ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงการจ้างงานภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจในปี 2566 และปี 2567 ของจังหวัดระยอง ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง 1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลก จากการที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักมีการฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป ท าให้ภาคการผลิต (อุตสาหกรรม) และการส่งออกดีขึ้น 2. จังหวัดระยองอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีโครงการที่จะด าเนินการหลายโครงการ เช่น 1) การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม จ านวน 6 แห่ง และเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ พิเศษ จ านวน 1 แห่ง ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยจังหวัดระยองมีพื้นที่ให้จัดตั้งเขตส่งเสริม เศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม จ านวน 3 แห่ง ได้แก่ เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการอุตสาหกรรมรูปแบบนิคม อุตสาหกรรม 2 แห่ง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ และดิจิทัล


5 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ จ านวน 1 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยี ขั้นสูง 2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา) คาดเปิดในปี 2568 3) แผนพัฒนาสินค้าเกษตรโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor : EFC) เป็นต้น 3. การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว จากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น ท าให้ก าลังซื้อของนักท่องเที่ยว ต่างประเทศเพิ่มขึ้นและเดินทางมายังประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนก็จะยิ่งเป็นปัจจัย สนับสนุนในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว 4. ด้านการเกษตร จากการขับเคลื่อนงานตามนโยบายด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง เช่น นโยบายตลาดน าการผลิต การสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก การส่งเสริมสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ Start Up การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) มาตรการประกันรายได้เกษตรกร และแผนพัฒนาเกษตร ใน EEC โดยพัฒนา 5 คลัสเตอร์ (ผลไม้ ประมง พืชส าหรับ Bio-based Product สร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมชีวภาพ พืชสมุนไพรต่อยอดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง และ High Valued Crops ปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกสู่พืชมูลค่าสูง) เป็นต้น 5. นโยบายกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาครัฐ เป็นสิ่งที่จะช่วยพยุงระบบเศรษฐกิจในประเทศให้สามารถ ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เช่น นโยบายปรับลดค่าไฟ และนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ภายในต้นปี 2567 ท าให้ประชาชนมีก าลังจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีรายรับมากขึ้น ส่วนภาครัฐก็จะได้รับ ประโยชน์ด้านรายรับภาษีที่จะจัดเก็บได้มากขึ้น เป็นต้น


6 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ตารางสรุปสมมติฐานผลการประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 (ณ เดือนกันยายน 2566) หมายเหตุ: e = Estimate : การประมาณการ f =Forecast : การพยากรณ์ 2566f 2567f 2564 2565e (ณ กนัยายน 2566) (ณ กนัยายน 2566) เฉลยี่ช่วง เฉลยี่ช่วง สมมตฐิานภายนอก 1. ผลผลิตยางพารา (ร้อยละตอ่ ปี) 1.1 -20.3 2.8 (2.5 ถึง 3.1) 4.9 (4.4 ถึง 5.4) 2. ผลผลิตสับปะรด (ร้อยละตอ่ ปี) -21.9 -28.4 5.6 (5.3 ถึง 5.9) -4.8 (-5.3 ถึง -4.3) 3. ผลผลิตมนัส าปะหลัง (ร้อยละตอ่ ปี) -1.4 -36.4 15.3 (1 5.0 ถึง 1 5.6) 9.1 (8.6 ถึง 9.6) 4. ผลผลิตทุเรียน (ร้อยละตอ่ ปี) 5.0 23.2 2.5 (2.2 ถึง 2.8) 3.0 (2.5 ถึง 3.5) 5. ผลผลิตไก่เนื้อ (ร้อยละตอ่ ปี) 31.2 -3.5 4.5 (4.2 ถึง 4.8) 2.3 (1.8 ถึง 2.8) 6. ผลผลิตสุกร (ร้อยละตอ่ ปี) 9.3 32.2 4.4 (4.1 ถึง 4.7) 7.2 (6.7 ถึง 7.7) 7. ราคาที่เกษตรกรขายได้: ยางพารา (บาท/ตนั) 53,390 50,448 50,000 (4 9,849 ถึง 5 0,151) 51,250 (5 1,000 ถึง 5 1,500) 8. ราคาที่เกษตรกรขายได้: สับปะรด (บาท/ตนั) 6,459 6,848 7,000 (6,979 ถึง 7,021) 7,667 (7,632 ถึง 7,702) 9. ราคาที่เกษตรกรขายได้: มนัส าปะหลัง (บาท/ตนั) 2,444 2,760 3,000 (2,992 ถึง 3,008) 3,259 (3,244 ถึง 3,274) 1 0. ราคาที่เกษตรกรขายได้: ทุเรียน (บาท/ตนั) 109,850 129,568 130,864 (130,475 ถึง 131,252) 132,172 (131,518 ถึง 132,827) 1 1. ราคาที่เกษตรกรขายได้: ไก่เนื้อ (บาท/กก.) 35.4 41.7 42.0 (4 1.9 ถึง 4 2.1) 42.3 (4 2.1 ถึง 4 2.5) 1 2. ราคาที่เกษตรกรขายได้: สุกร (บาท/กก.) 78.6 100.5 98.0 (9 7.7 ถึง 9 8.3) 95.5 (9 5.0 ถึง 9 6.0) 1 3. ปริมาณการใช้ไฟฟา้ภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละตอ่ ปี) 10.6 -0.1 2.0 (1.7 ถึง 2.3) 6.0 (5.5 ถึง 6.5) 14. จา นวนทุนจดทะเบียนภาคอุตสาหกรรม (รอ้ยละต่อปี) 5.5 3.8 3.0 (2.7 ถึง 3.3) 6.0 (5.5 ถึง 6.5) 1 5. จ านวนโรงงานอุตสาหกรรม (โรง) 3,001 3,078 3,155 (3,146 ถึง 3,164) 3,344 (3,328 ถึง 3,360) 1 6. สาขาการท าเหมอืงแร่และเหมอืงหิน (ร้อยละตอ่ ปี) -6.4 1.0 3.8 (3.5 ถึง 4.1) 4.8 (4.3 ถึง 5.3) 1 7. รายไดจ้ากการท่องเที่ยว (ล้านบาท) 3,924 9,600 28,801 (2 8,773 ถึง 2 8,830) 31,681 (3 1,537 ถึง 3 1,825) 1 8. จ านวนนักท่องเที่ยว (คน) 1,360,078 2,712,245 5,424,490 (5,416,353 ถึง 5,432,627) 5,966,939 (5,939,817 ถึง 5,994,061) 1 9. อัตราการเข้าพกัโรงแรม (ร้อยละตอ่ ปี) 20.2 54.3 73.4 (7 3.2 ถึง 7 3.5) 80.7 (8 0.3 ถึง 8 1.1) 2 0. รายไดจ้ากการขายส่ง และขายปลีก (ร้อยละตอ่ ปี) 28.7 17.3 5.0 (4.7 ถึง 5.3) 5.0 (4.5 ถึง 5.5) 2 1. รายไดจ้ากการขนส่ง (ร้อยละตอ่ ปี) 5.7 5.7 4.0 (3.7 ถึง 4.3) 4.0 (3.5 ถึง 4.5) 2 2. ภาษีมลูคา่เพมิ่ (ร้อยละตอ่ ปี) 49.8 59.3 5.0 (4.7 ถึง 5.3) 7.0 (6.5 ถึง 7.5) 2 3. จ านวนรถยนตจ์ดทะเบียนใหม่ (ร้อยละตอ่ ปี) -5.6 15.4 10.5 (1 0.2 ถึง 1 0.8) 8.0 (7.5 ถึง 8.5) 24. จา นวนรถจกัรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (รอ้ยละต่อปี) 13.3 22.1 9.5 (9.2 ถึง 9.8) 9.0 (8.5 ถึง 9.5) 2 5. สินเชื่อเพอื่การลงทุน (ล้านบาท) 73,402 75,845 77,362 (7 7,135 ถึง 7 7,590) 79,683 (7 9,296 ถึง 8 0,070) 26 พนื้ที่อนุญาตก่อสร้างรวม (ร้อยละตอ่ ปี) 30.9 -15.1 11.0 (1 0.7 ถึง 1 1.3) 5.0 (4.5 ถึง 5.5) 27. จา นวนรถยนต์เพื่อการพาณชิยจ์ดทะเบียนใหม่ (รอ้ยละต่อป)ี -11.6 2.4 5.5 (5.2 ถึง 5.8) 5.5 (5.0 ถึง 6.0) สมมตฐิานดา้นนโยบาย 1. รายจ่ายประจ า (ล้านบาท) 8,597 8,280 8,653 (8,628 ถึง 8,678) 9,129 (9,085 ถึง 9,172) (ร้อยละตอ่ ปี) 6.6 -3.7 4.5 (4.2 ถึง 4.8) 5.5 (5.0 ถึง 6.0) 2. รายจ่ายลงทุน (ล้านบาท) 5,146 5,320 5,506 (5,490 ถึง 5,522) 5,754 (5,726 ถึง 5,781) (ร้อยละตอ่ ปี) -8.4 3.4 3.5 (3.2 ถึง 3.8) 4.5 (4.0 ถึง 5.0) รายการ


7 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ตารางสรุปสมมติฐานผลการประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 (ณ เดือนกันยายน 2566) ที่มา: ส านักงานคลังจังหวัดระยอง ปรับปรุง: 30 กันยายน 2566 ________________________________________ หมายเหตุ: e = Estimate : การประมาณการ f = Forecast : การพยากรณ์ 2566f 2567f 2564 2565e (ณ กนัยายน 2566) (ณ กนัยายน 2566) เฉลยี่ช่วง เฉลยี่ช่วง ผลการประมาณการ 1. อัตราการขยายตวัทางเศรษฐกิจ (ร้อยละตอ่ ปี) 1.3 8.1 1.3 (1.0 ถึง 1.6) 2.7 (2.2 ถึง 3.2) 2. อัตราการขยายตวัของภาคเกษตรกรรม (ร้อยละตอ่ ปี) 3.4 -0.2 3.2 (2.9 ถึง 3.5) 3.7 (3.2 ถึง 4.2) 3. อัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม (รอ้ยละต่อปี) 3.8 2.2 2.6 (2.3 ถึง 2.9) 5.9 (5.4 ถึง 6.4) 4. อัตราการขยายตวัของภาคบริการ (ร้อยละตอ่ ปี) 20.6 14.8 5.4 (5.1 ถึง 5.7) 4.8 (4.3 ถึง 5.3) 5. อตัราการขยายตวัของการบริโภคภาคเอกชน (ร้อยละตอ่ ป)ี 49.1 58.9 5.0 (4.7 ถึง 5.3) 7.0 (6.5 ถึง 7.5) 6. อตัราการขยายตวัของการลงทุนภาคเอกชน (ร้อยละตอ่ ป)ี 10.1 -2.9 4.5 (4.2 ถึง 4.8) 3.7 (3.2 ถึง 4.2) 7. อัตราการขยายตวัของรายไดเ้กษตรกร (ร้อยละตอ่ ปี) 22.1 -28.4 3.8 (3.2 ถึง 4.4) 6.3 (5.3 ถึง 7.3) 8. อัตราเงนิเฟอ้ (ร้อยละตอ่ ปี) 2.9 5.8 3.0 (2.7 ถึง 3.3) 4.0 (3.5 ถึง 4.5) 9. จ านวนผู้มงีานท า (คน) 572,438 669,246 675,175 (673,769 ถึง 676,580) 688,011 (685,648 ถึง 690,374) เปลี่ยนแปลง (คน) -9,631 96,807 5,929 (4,524 ถึง 7,335) 12,836 (1 0,473 ถึง 1 5,200) รายการ


8 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง 1. ด้านอุปทาน ในปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ขยายตัวร้อยละ 1.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.2-1.8 ต่อปี เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) และชะลอตัวจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 2.6 และ 5.4 ตามล าดับ ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.3-4.3 ต่อปี) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ปริมาณผลผลิตยางพารา ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.1 ปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 เนื่องจาก คาดว่าช่วงปลายปีผลผลิตจะน้อยลงเนื่องจากเป็นช่วงฝนตก) ฟื้นตัวมาเป็นบวกจากปีก่อนที่หดตัวร้อยละ -20.3 ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.4-5.4) ตามทิศทาง เศรษฐกิจที่ก าลังฟื้นตัวจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และราคาน้ ามันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น


9 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 1.2 ปริมาณผลผลิตสับปะรดโรงงาน ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 5.3-5.9 ปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.0) ฟื้นตัวมาเป็นบวกจากปีก่อนที่หดตัวร้อยละ -28.4 จากความต้องการของตลาดต่างประเทศและในประเทศ ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -4.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ -5.3 ถึง -4.3) เนื่องจากพื้นที่ เพาะปลูกมีแนวโน้มลดลง และปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น ท าให้เกษตรกรเริ่มเปลี่ยนจากการปลูกสับปะรด ไปปลูกมันส าปะหลัง


10 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 1.3 ปริมาณผลผลิตทุเรียน ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.2- 2.8 ปรับเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5) ชะลอตัวลง จากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 23.2 เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม มีลมพายุท าให้ดอกและลูกร่วงเสียหาย แต่อย่างไรก็ตามทุเรียนยังเป็นสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ส่งผลให้ทุเรียนราคาดี จึงจูงใจให้เกษตรกรบ ารุงรักษาให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.5) ตามความต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ 1.4 ปริมาณผลผลิตมันส าปะหลัง ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 15.0-15.6 ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 21.0) ฟื้นตัวมาเป็นบวกจากปีก่อนที่หดตัวร้อยละ -36.4 เนื่องจากราคามันส าปะหลังปรับเพิ่มขึ้นตามความต้องการ ของตลาด จึงจูงใจให้เกษตรกรปลูกและดูแลเอาใจใส่ บ ารุงรักษามันส าปะหลังเพิ่มมากขึ้น ส าหรับปี 2567 คาดว่า จะขยายตัวที่ร้อยละ 9.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 8.6-9.6) จากความต้องการของตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ และเกษตรกรจึงหันมาปลูกมันส าปะหลังแทนสับปะรด


11 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 1.5 ปริมาณผลผลิตสุกร ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.1-4.7 ปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5) ชะลอตัว จากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.2 ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ (6.7-7.7) จากการบริโภคที่ขยายตัว สถานการณ์ราคาสุกรที่กลับมาเป็นปกติและไม่มีโรคระบาดในจังหวัดระยอง 1.6 ปริมาณผลผลิตไก่เนื อ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.2-4.8 ปรับเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3) ฟื้นตัวมา เป็นบวกจากปีก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.5 เนื่องจากปริมาณความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศและต่างประเทศ ที่มากขึ้น ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ1.8-2.8) จากผลผลิต และการบริโภคที่คาดว่าจะทรงตัว


12 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 1.7 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 (โดยมีช่วง คาดการณ์ร้อยละ 1.7-2.3 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ขยายตัวจากปีก่อนที่หดตัว ร้อยละ -0.1 ตามเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.5.-6.5) ตามความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่สูงขึ้นจากภาคอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้า หลังจากเศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัว 1.8 จ านวนทุนจดทะเบียนภาคอุตสาหกรรม ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วง คาดการณ์ร้อยละ 2.7-3.3 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ชะลอตัวจากปีก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 3.8 ตามเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส าหรับปี 2567คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.0(โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.5-6.5)จากเศรษฐกิจโลกที่จะกลับมา ขยายตัว มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ


13 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 1.9 จ านวนโรงงานอุตสาหกรรม ในปี 2566คาดว่าจะมีจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งสิ้น 3,155โรงงาน (โดยมีช่วงคาดการณ์3,146-3,164 โรงงาน ปรับเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่า จะมีจ านวนทั้งสิ้น 3,108โรงงาน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่มีจ านวนทั้งสิ้น 3,078โรงงาน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 77โรงงาน ส าหรับปี 2567คาดว่าจะมีจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งสิ้น 3,344โรงงาน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 3,328-3,360โรงงาน) 1.10 ด้านการท่องเที่ยว ในปี 2566 คาดว่าจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 28,801 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์ 28,773-28,830ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่า จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 28,741 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้รวมทั้งสิ้น 9,600 ล้านบาท หรือเพิ ่มขึ้นร้อยละ 200.0 จ านวนนักท ่องเที ่ยว คาดว ่าจะมีจ านวนทั้งสิ้น 5,424,490 คน (โดยมีช ่วง คาดการณ์ 5,416,353- 5,432,627 คน ปรับเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่า จะมีจ านวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 5,405,852 คน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจ านวนทั้งสิ้น 2,712,245 คน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 100.0และอัตราการเข้าพักแรมเฉลี่ยคาดว่าจะมีจ านวนนักท่องเที่ยวเข้าพักแรมเฉลี่ยร้อยละ73.4(โดยมีช่วง คาดการณ์ร้อยละ 73.2-73.5 ต่อปี) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตราร้อยละ 54.3 เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย รวมถึงคนไทยมีการเดินทางในประเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับ เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในช่วงปลายปีซึ่งเป็นช่วง High Season จึงคาดว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา มากขึ้น ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 31,681 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์ 31,537-31,825 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 จ านวนนักท่องเที่ยว คาดว่าจะมีจ านวนทั้งสิ้น 5,966,939คน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 5,939,817-5,994,061 คน) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และอัตราการเข้าพักโรงแรม คาดว่า จะมีจ านวนนักท่องเที่ยวเข้าพักแรมร้อยละ 80.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 80.3-81.1 ต่อปี) หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.0 จากเศรษฐกิจในและนอกประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ท าให้นักท่องเที่ยวออกเดินทางมากขึ้น


14 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง


15 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 1.11 รายได้จากการขายส่ง และขายปลีก (ยื่นเสียภาษี) ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.7-5.3 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ชะลอตัวจากปีก่อนที่ ขยายตัวร้อยละ 17.3 ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-5.5) ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หมายเหตุ : เพิ่มเครื่องชี้ภาคบริการ เป็นรายได้ผู้ประกอบการที่มีรายได้ 1.8 ล้านบาทขึ้นไปที่ยื่นเสียภาษีกับกรมสรรพากร 1.12 รายได้จากการขนส่ง (ยื่นเสียภาษี) ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 (โดยมีช ่วง คาดการณ์ร้อยละ 3.7-4.3 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ชะลอตัวจากปีก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 5.7 ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.5-4.5) ตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ หมายเหตุ : เพิ่มเครื่องชี้ภาคบริการ เป็นรายได้ผู้ประกอบการที่มีรายได้ 1.8 ล้านบาทขึ้นไปที่ยื่นเสียภาษีกับกรมสรรพากร


16 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 2. ด้านอุปสงค์ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.7-3.3 เท่ากับที่ คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ชะลอตัวจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 16.2 เป็นผลมาจากการบริโภค ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0และการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5ขณะที่การใช้จ่าย ภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.7-5.3 เท ่ากับที ่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ชะลอตัวจากปีก ่อนที ่ขยายตัวร้อยละ 59.3 ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 6.5-7.5) ตามความต้องการสินค้า อุปโภคบริโภค ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมกลับมาด าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เป็นปกติ 2.2 ปริมาณรถยนต์จดทะเบียนใหม่ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.5 (โดยมีช่วง คาดการณ์ร้อยละ (10.2-10.8) เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ชะลอตัวจากปีก่อนที่ ขยายตัวร้อยละ 15.4 ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 7.5-8.5) โดยตลาดรถยนต์นั่งจะเติบโตดีตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ


17 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 2.3 สินเชื่อเพื่อการลงทุน ของสถาบันการเงินในจังหวัดระยอง ในปี 2566 คาดว่าสถาบันการเงิน จะมีวงเงินสินเชื่อเพื่อการลงทุนจ านวนทั้งสิ้น 77,362 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์ 77,135-77,590 ล้านบาท เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน ที่มีจ านวนทั้งสิ้น 75,845 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0ส าหรับปี 2567คาดว่าสถาบันการเงินมีการขยายวงเงินสินเชื่อเพื่อการลงทุนจ านวนทั้งสิ้น 79,683 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์ 79,296- 80,070 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ตามแนวโน้ม เศรษฐกิจที่มีการขยายตัว 2.4 พื นที่อนุญาตก่อสร้างรวม ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 10.7-11.3 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ฟื้นตัวมาเป็นบวกจากปีก่อนที่หดตัว ร้อยละ -15.1 ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-5.5) จากพื้นที่ อนุญาตก่อสร้างอาคารอุตสาหกรรม พื้นที่อนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ และพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย


18 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 2.5 การใช้จ่ายภาครัฐ ในปี 2566 คาดว่าจังหวัดระยองมีการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวร้อยละ 4.2 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.9-4.5 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ มิถุนายน 2566) ฟื้นตัวมาเป็นบวกจากปีก่อนที่ หดตัวร้อยละ -2.5 จากรายจ่ายประจ าภาครัฐและรายจ่ายลงทุนภาครัฐซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 และ 3.5 ตามล าดับ ส าหรับปี 2567 คาดว่าจังหวัดระยองจะมีการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวร้อยละ 5.2 (โดยมีช่วง คาดการณ์ร้อยละ 4.7-5.7)จากการเบิกจ่ายของส่วนราชการในงบรายจ่ายประจ าและรายจ่ายลงทุนภาครัฐเป็นส าคัญ


19 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ก าหนดแนวทางในการเร ่งรัดการเบิกจ ่ายงบประมาณและ การใช้จ ่ายภาครัฐ เพื ่อช ่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังสถานการณ์การแพร ่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้ หน่วย : ร้อยละ ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เบิกจ่าย ใช้จ่าย เบิกจ่าย ใช้จ่าย เบิกจ่าย ใช้จ่าย เบิกจ่าย ใช้จ่าย รายจ่ายประจ า 35.00 35.33 55.00 55.78 80.00 81.76 98.00 100.00 รายจ่ายลงทุน 19.00 28.96 39.00 58.15 57.00 81.65 75.00 100.00 ภาพรวม 32.00 34.08 52.00 56.24 75.00 81.74 93.00 100.00 ส าหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รายจ่ายรัฐบาล คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวม ได้ทั้งสิ้น 15,017.0 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 86.0 ของวงเงินงบประมาณในภาพรวม ซึ่งต่ ากว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ก าหนดไว้ที่ร้อยละ 93.0 ของวงเงินงบประมาณในภาพรวม โดยรายจ่ายประจ า คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 9,525.1 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 90.0 ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายประจ า ซึ่งต่ ากว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ก าหนดไว้ที่ร้อยละ 100.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ า ส าหรับรายจ่ายลงทุนคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 5,491.9 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 78.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนซึ่งสูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ก าหนดไว้ที่ร้อยละ 75.0 ของวงเงิน งบประมาณรายจ่ายลงทุน เนื่องจากจากปัญหาเรื่องความพร้อมของโครงการในการด าเนินการ ส่งผลให้ การด าเนินการตามสัญญาล่าช้า และไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามแผนงานที่วางไว้ ตารางผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566) รายจ่ายประจ า 7,584.1 7,425.1 97.9 9,525.1 90.0 100.0 ตา่ กวา่เป้าหมาย รายจ่ายลงทุน 5,587.4 3,691.9 66.1 5,491.9 78.0 75.0 ตา่ กวา่เป้าหมาย รายจ่ายภาพรวม 13,171.5 11,117.0 84.4 15,017.0 86.0 93.0 ต่่ากว่าเปา้หมาย ปี2566 2,460.8 2,374.5 96.5 - - - - รวมงบเหลอืมปี 2,460.8 2,374.5 96.5 - - - - 2.งบประมาณเหลอื่มปี 1.งบประมาณประจ่าปงีบประมาณ พ.ศ.2566 รายการ งบประมาณจัดสรร จนถงึเดือน ก.ย. 2566 (ลา้นบาท) ผลการเบิกจ่ายสะสม ตั้งแต่ตันปีงปม.จนถงึ เดือน ก.ย. 2566 (ลา้นบาท) ร้อยละ การเบกิจ่าย ผลคาดการณเ์บิกจ่าย ปีงปม. 2566 (ลา้นบาท) คาดการณ์ รอ้ยละการเบิกจ่าย เปา้หมาย การเบกิจ่าย สงูกว่า/ต่่ากว่า เปา้หมาย


20 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)


21 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 3. ด้านรายได้เกษตรกร ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.2-4.4 ปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.1) ฟื้นตัวมาเป็นบวก จากปีก่อนที่หดตัวร้อยละ -28.4 โดยมีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา สับปะรด มันส าปะหลัง ทุเรียน ไก่เนื้อ และสุกรส่วนราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สับปะรด มันส าปะหลัง ทุเรียน และไก่เนื้อ ส าหรับในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.3-7.3) จากเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัวและ ปรากฏการณ์เอลนีโญสิ้นสุดลง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 3.1 ราคายางพาราจังหวัดระยอง ในปี 2566 คาดว่าราคายางพาราของจังหวัดระยองเฉลี่ยอยู่ที่ 50,000 บาท/ตัน (ช่วงคาดการณ์ 49,849 ถึง 50,151 บาท/ตัน ปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าราคายางพาราเฉลี่ยอยู่ที่ 51,710 บาท/ตัน) ลดลงจากปีก่อนที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 50,448 บาท/ตัน หรือลดลงร้อยละ -0.9 จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังไม่สูงมากนัก ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะมี ราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 51,250 บาท/ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5(โดยมีช่วงคาดการณ์ 51,000 ถึง 51,500 บาท/ตัน) ตามแนวโน้มราคาน้ ามันที่ปรับสูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่กลับมาขยายตัว


22 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 3.2 ราคาสับปะรด (โรงงาน) จังหวัดระยอง ในปี 2566 คาดว่าสับปะรดจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 7,000 บาท/ตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 6,979 ถึง 7,021 บาท/ตัน ปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าราคาสับปะรดเฉลี่ยอยู่ที่ 7,500 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ราคาอยู่ที่ 6,848 บาท/ตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.2ส าหรับปี 2567คาดว่าจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 7,667 บาท/ตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 7,632 ถึง 7,702 บาท/ตัน) เนื่องจากเกษตรกรเริ่มเปลี่ยนจากการปลูกสับปะรดไปปลูกมันส าปะหลังเพราะปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น จึงอาจกดดันราคาสับปะรดให้สูงขึ้น 3.3 ราคามันส าปะหลังจังหวัดระยอง ในปี 2566คาดว่ามันส าปะหลังจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 3,000 บาท/ตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 2,992 ถึง 3,008 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่า จะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2,998 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่ราคาอยู่ที่ 2,760 บาท/ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ตามความต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศ ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 3,259 บาท/ตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 3,244 ถึง 3,274 บาท/ตัน)


23 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 3.4 ราคาทุเรียนจังหวัดระยอง ในปี 2566 คาดว่าทุเรียนจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 130,864 บาท/ตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 130,475 ถึง 131,252 บาท/ตัน เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ที่ราคาอยู่ที่ 129,568 บาท/ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ส่งผลให้ราคาทุเรียนยังคงอยู่ในระดับสูง ส าหรับปี 2567 คาดว่าจะมี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 132,172 บาท/ตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 131,518 ถึง 132,827 บาท/ตัน) 3.5 ราคาสุกรจังหวัดระยอง ในปี 2566 คาดว่าสุกรจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 98.0 บาท/กก.(โดยมีช่วง คาดการณ์ 97.7 ถึง 98.3 บาท/กก. เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) ลดลงจากปีก่อนที่ราคาอยู่ที่ 100.5 บาท/กก. ส าหรับปี 2567คาดว่าจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 95.5 บาท/กก. (โดยมีช่วงคาดการณ์ 95.0ถึง 96.0 บาท/กก.) ปรับตัวลงเล็กน้อยหากไม่มีสถานการณ์โรคระบาดเกิดขึ้นซึ่งจะท าให้ปริมาณผลผลิตสุกรเพิ่มขึ้น


24 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง 4. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในจังหวัดระยอง ในปี 2566 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ ร้อยละ 3.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.7-3.3 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566) เนื่องมาจากราคา กลุ่มอาหารสด อาหารเพื่อการบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน กลุ่มพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารเพิ่มขึ้น ส าหรับปี 2567 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.5-4.5) ซึ่งเป็นผลกระทบจาก แรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายภาครัฐ และต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นหากราคาน้ ามัน เพิ่มขึ้นและปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด การจ้างงาน ในปี 2566 คาดว่าจังหวัดระยอง จะมีการจ้างงานจ านวน 675,175 คน (โดยมีช่วง คาดการณ์ 673,769 ถึง 676,580 คน ปรับลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2566 ที่คาดว่าจะมีการจ้างงานจ านวน 675,209 คน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จ านวน 5,929 คน ตามการจ้างงานของ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ส าหรับปี 2567 คาดว่าจังหวัดระยอง จะมีการจ้างงาน จ านวน 688,011 คน (โดยมีช่วงคาดการณ์ 685,648 ถึง 690,374 คน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจ านวน 12,836 คน เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ


25 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ตารางสรุปภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มของจังหวัดระยอง ที่มา: ส านักงานคลังจังหวัดระยอง ปรับปรุง: 30 กันยายน 2566 2566f (ณ เดอืนกนัยายน 2566) 2566f (ณ เดอืนกนัยายน 2566) Min Consensus Max Min Consensus Max Economic Growth GPP current prices (V) Million Baht 955,119 1,114,393 1,148,468 1,155,154 1,161,840 1,207,190 1,218,742 1,230,293 % yoy 5.3 16.7 3.1 3.7 4.3 4.5 5.5 6.5 GPPNESDB Referencce price 2002 (Q) Million Baht 496,956 537,380 542,569 544,181 545,794 556,240 558,961 561,682 % yoy 1.3 8.1 1.0 1.3 1.6 2.2 2.7 3.2 Population person 1,048,748 1,066,452 1,083,515 1,086,715 1,089,914 1,101,929 1,107,362 1,112,796 % yoy 1.8 1.7 1.6 1.9 2.2 1.4 1.9 2.4 GPP per Capita Baht/Person/Year 904,857 1,044,954 1,059,946 1,062,978 1,065,993 1,095,524 1,100,581 1,105,587 Agriculture : API (Q) % yoy 3.4 -0.2 2.9 3.2 3.5 3.2 3.7 4.2 Industry : IPI (Q) % yoy 3.8 2.2 2.3 2.6 2.9 5.4 5.9 6.4 Service : SI (Q) % yoy 20.6 14.8 5.1 5.4 5.7 4.3 4.8 5.3 Private Consumption : Cp Index % yoy 49.1 58.9 4.7 5.0 5.3 6.5 7.0 7.5 Private Invesment : Ip Index % yoy 10.1 -2.9 4.2 4.5 4.8 3.2 3.7 4.2 Government Expenditure : G Index % yoy 1.5 -2.5 3.9 4.2 4.5 4.7 5.2 5.7 XM % yoy Farm income % yoy 22.1 -28.4 3.2 3.8 4.4 5.3 6.3 7.3 Economic Stabilities Inflation % pa 2.9 5.8 2.7 3.0 3.3 3.5 4.0 4.5 GPP Deflator (P) % yoy 4.0 8.5 2.1 2.4 2.7 2.3 2.8 3.3 Employment Person 572,438 669,246 673,769 675,175 676,580 685,648 688,011 690,374 yoy -9,631 96,807 4,524 5,929 7,335 10,473 12,836 15,200 %yoy -1.7 16.9 0.7 0.9 1.1 1.6 1.9 2.3 เครื่องชี้วัดเศรษฐกจิหน่วย 2564 2565e


26 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง นิยามตัวแปรและการค านวณในแบบจ าลองเศรษฐกิจจังหวัดระยอง GPP constant price หมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน GPP current price หมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีปัจจุบัน GPPS หมายถึง ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน ด้านอุปทาน GPPD หมายถึง ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน ด้านอุปสงค์ API (Q) หมายถึง ดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมจังหวัด API (P) หมายถึง ดัชนีราคาผลผลิตภาคเกษตรกรรมจังหวัด IPI หมายถึง ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจังหวัด SI หมายถึง ดัชนีผลผลิตภาคบริการจังหวัด Cp Index หมายถึง ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนจังหวัด Ip Index หมายถึง ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนจังหวัด G Index หมายถึง ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐจังหวัด GPP Deflator หมายถึง ระดับราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด CPI หมายถึง ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัด PPI หมายถึง ดัชนีราคาผู้ผลิตระดับประเทศ Inflation rate หมายถึง อัตราเงินเฟ้อจังหวัด Farm Income Index หมายถึง ดัชนีรายได้เกษตรกรจังหวัด Population หมายถึง จ านวนประชากรของจังหวัด Employment หมายถึง จ านวนผู้มีงานท าของจังหวัด %yoy หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน Base year หมายถึง ปีฐาน (2548=100) Min หมายถึง สถานการณ์ที่คาดว่าเลวร้ายที่สุด Consensus หมายถึง สถานการณ์ที่คาดว่าจะเป็นไปได้มากที่สุด Max หมายถึง สถานการณ์ที่คาดว่าดีที่สุด


27 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง การค านวณดัชนี ดัชนีชี วัดเศรษฐกิจด้านอุปทาน (Supply Side หรือ Production Side : GPPS) ประกอบด้วย 3 ดัชนี ได้แก่ (1) ดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมจังหวัด โดยให้น้ าหนัก 0.0271 (2) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจังหวัด โดยให้น้ าหนัก 0.7915 (3) ดัชนีผลผลิตภาคบริการจังหวัด โดยให้น้ าหนัก 0.1814 การก าหนดน้ าหนักของแต่ละองค์ประกอบของดัชนี โดยหาสัดส่วนจากมูลค่าเพิ่มราคาปีปัจจุบันของ เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม (สาขาเกษตรและสาขาประมง) เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม (สาขา เหมืองแร่ สาขาการผลิต ไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ า และระบบปรับอากาศ และการจัดหาน้ า การจัดการ และการบ าบัด น้ าเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล) และเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคบริการ (14 สาขา ตั้งแต่ สาขาก่อสร้างถึงสาขาบริการ ด้านอื่น ๆ) จากข้อมูล GPP ของ สศช. เทียบกับ GPP รวมราคาปีปัจจุบัน ของ สศช. จัดท าขึ้นเพื่อติดตามภาวะการผลิตภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของจังหวัด ระยองเป็นรายเดือน ซึ่งจะล่าช้าประมาณ 1 เดือนครึ่ง (45 วัน) โดยการค านวณ API (Q), IPI (Q), SI (Q) ได้ ก าหนดปีฐาน 2548 ซึ่งค านวณจากเครื่องชี้ผลผลิตภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของ จังหวัดระยองรายเดือน อนุกรมเวลาย้อนหลังไปตั้งแต่ พ.ศ.2548 เป็นต้นมา ดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมจังหวัด (Agriculture Production Index : API) ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 6 ตัว คือ (1) ปริมาณผลผลิตยางพารา โดยให้น้ าหนัก 0.4564 (2) ปริมาณผลผลิตสับปะรด โดยให้น้ าหนัก 0.0989 (3) ปริมาณผลผลิตมันส าปะหลัง โดยให้น้ าหนัก 0.0331 (4) ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อ โดยให้น้ าหนัก 0.0635 (5) ปริมาณผลผลิตสุกร โดยให้น้ าหนัก 0.0464 (6) ปริมาณผลผลิตทุเรียน โดยให้น้ าหนัก 0.3016 โดยตัวชี้วัด (ยางพาราและทุเรียน) ได้ปรับฤดูกาล (Seasonal Adjusted : SA) แล้ว การก าหนดน้ าหนักขององค์ประกอบในการจัดท า API (Q) ให้น้ าหนักของเครื่องชี้ข้างต้นได้จากสัดส่วน มูลค่าเพิ่มของเครื่องชี้ ณ ราคาปีปัจจุบัน กับ GPP แบบ Bottom up ณ ราคาปีปัจจุบันภาคเกษตรกรรม (สาขาเกษตรและสาขาประมง)


28 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจังหวัด (Industrial Production Index : IPI) ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 3 ตัว คือ (1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม โดยให้น้ าหนัก 0.3074 (2) ทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรม โดยให้น้ าหนัก 0.3102 (3) จ านวนโรงงานในจังหวัด โดยให้น้ าหนัก 0.2983 (4) การท าเหมืองแร่และเหมืองหิน โดยให้น้ าหนัก 0.0840 การก าหนดน้ าหนักขององค์ประกอบในการจัดท า IPI ให้น้ าหนักของเครื่องชี้หาความสัมพันธ์ Correlation ระหว่างเครื่องชี้เศรษฐกิจผลผลิตอุตสาหกรรมรายปี กับ GPP (สศช.) ณ ราคาคงที่ ภาคอุตสาหกรรม (สาขา เหมืองแร่ สาขาการผลิต ไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ า และระบบปรับอากาศ และการจัดหาน้ า การจัดการ และการบ าบัด น้ าเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล) ดัชนีผลผลิตภาคบริการจังหวัด (Service Index : SI) ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 5 ตัว คือ (1) รายได้จากการท่องเที่ยว โดยให้น้ าหนัก 0.0077 (2) จ านวนนักท่องเที่ยว โดยให้น้ าหนัก 0.0077 (3) อัตราการเข้าพักโรงแรม โดยให้น้ าหนัก 0.0077 (4) รายได้จากการขายส่ง และขายปลีก (ยื่นเสียภาษี) โดยให้น้ าหนัก 0.7112 (5) รายได้จากการขนส่ง (ยื่นเสียภาษี) โดยให้น้ าหนัก 0.1913 (6) GPP สาขาบริหารราชการ โดยให้น้ าหนัก 0.0745 การก าหนดน้ าหนักขององค์ประกอบในการจัดท า SI ให้น้ าหนักของเครื่องชี้ โดยใช้เครื่องชี้ภาคบริการ ณ ราคาปีปัจจุบัน 2563 (สศช.) หารด้วยเครื่องชี้แต่ละตัว ดัชนีชี วัดเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (Demand Side : GPPD) ประกอบด้วย 3 ดัชนี ได้แก่ (1) ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน โดยให้น้ าหนัก 0.4134 (2) ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน โดยให้น้ าหนัก 0.5183 (3) ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐ โดยให้น้ าหนัก 0.0683 การก าหนดน้ าหนักของแต่ละองค์ประกอบของดัชนี โดยหาค่าเฉลี่ยในแต่ละดัชนี เทียบกับ GPP constant price โดยเฉลี่ยเพื่อหาค่าสัดส่วน และค านวณหาน้ าหนักของแต่ละดัชนีเทียบกับผลรวมสัดส่วนดัชนี รวมทั้งหมด


29 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง จัดท าขึ้นเพื่อติดตามภาวะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่าย ภาครัฐของจังหวัดระยอง เป็นรายเดือน ซึ่งจะล่าช้าประมาณ 1 เดือนครึ่ง (45 วัน) โดยการค านวณ Cp Index, Ip Index, G Index ได้ก าหนดปีฐาน 2548 ซึ่งค านวณจากเครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐของจังหวัดระยองเป็นรายเดือน อนุกรมเวลาย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนจังหวัด (Private Consumption Index : Cp) ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 3 ตัว คือ (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้น้ าหนัก 0.9877 (2) ปริมาณรถยนต์จดทะเบียนใหม่ โดยให้น้ าหนัก 0.0099 (3) ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ โดยให้น้ าหนัก 0.0024 การก าหนดน้ าหนักขององค์ประกอบในการจัดท า Cp Index ให้น้ าหนักของเครื่องชี้ จากการหาค่าเฉลี่ย ของเครื่องชี้ในการจัดท าCp Indexและแปลงมูลค่าหน่วยเดียวกัน (บาท) แล้วหาน้ าหนักจากสัดส่วนมูลค่า เครื่องชี้ เทียบกับมูลค่ารวมของเครื่องชี้ทั้งหมด ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนของจังหวัด (Private Investment Index : Ip Index) ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 3 ตัว คือ (1) ปริมาณสินเชื่อเพื่อการลงทุน โดยให้น้ าหนัก 0.7363 (2) พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างรวม โดยให้น้ าหนัก 0.1999 (3) ปริมาณรถยนต์เพื่อการพาณิชย์จดทะเบียนใหม่ โดยให้น้ าหนัก 0.0638 การก าหนดน้ าหนักขององค์ประกอบในการจัดท า Ip Index ให้น้ าหนักของเครื่องชี้ จากการหาค่าเฉลี่ย ของเครื่องชี้ในการจัดท า Ip Index และแปลงเป็นมูลค่าหน่วยเดียวกัน (บาท) แล้วหาน้ าหนักจากสัดส่วนมูลค่า เครื่องชี้เทียบกับมูลค่ารวมของเครื่องชี้ทั้งหมด ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐของจังหวัด (Government Expenditure Index : G Index) ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 4 ตัว คือ (1) รายจ่ายประจ าภาครัฐ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยให้น้ าหนัก 0.5814 (2) รายจ่ายลงทุนภาครัฐ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยให้น้ าหนัก 0.1891 (3) รายจ่ายประจ าส่วนท้องถิ่น โดยให้น้ าหนัก 0.1407 (4) รายจ่ายลงทุนส่วนท้องถิ่น โดยให้น้ าหนัก 0.0888 การก าหนดน้ าหนักขององค์ประกอบในการจัดท า G Index ให้น้ าหนักของเครื่องชี้ จากการหาค่าเฉลี่ย ของเครื่องชี้ในการจัดท า G Index และแปลงเป็นมูลค่าหน่วยเดียวกัน (บาท) แล้วหาน้ าหนักจากสัดส่วนมูลค่า เครื่องชี้เทียบกับมูลค่ารวมของเครื่องชี้ทั้งหมด


30 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาคงที่ (GPP constant price) ประกอบด้วยดัชนี 2 ด้าน - ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปทาน (GPPS) โดยให้น้ าหนัก 0.6000 - ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (GPPD) โดยให้น้ าหนัก 0.4000 ดัชนีชี วัดเสถียรภาพเศรษฐกิจ GPP Deflator : ระดับราคาประกอบไปด้วย - ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยให้น้ าหนัก 0.6000 - ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดระยอง (CPI) โดยให้น้ าหนัก 0.4000 การเปลี่ยนแปลงของจ านวนผู้มีงานท า ค านวณจาก GPP constant price x 0.7000 (อัตราการพึ่งพาแรงงาน)


31 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดระยอง ปี 2566 และแนวโน้ม ปี 2567 ส ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง กรมบัญชีกลำง กระทรวงกำรคลัง ขอขอบคุณส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยธุรกิจในจังหวัดระยองที่สนับสนุนข้อมูล ส านักงานเกษตรจังหวัดระยอง สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง ส านักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดระยอง ส านักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขต 6 ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน ส านักงานปศุสัตว์จังหวัดระยอง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระยอง ส านักงานสรรพากรพื้นที่ระยอง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาบตาพุด ส านักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ าเภอแกลง ส านักงานจัดหางานจังหวัดระยอง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ าเภอปลวกแดง ส านักงานขนส่งจังหวัดระยอง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ าเภอบ้านฉาง ส านักงานสถิติจังหวัดระยอง ธนาคารกรุงไทย จ ากัด (มหาชน) สาขาระยอง ส านักงานพาณิชย์จังหวัดระยอง ธนาคาร SME สาขาระยอง ส านักงานแรงงานจังหวัดระยอง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาระยอง หอการค้าจังหวัดระยอง ชมรมธนาคารจังหวัดระยอง สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ส านักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดระยอง


“ผลไม้รสล ้ำ อุตสำหกรรมก้ำวหน้ำ น ้ำปลำรสเด็ด เกำะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก” จัดท้ำโดย : ส้ำนักงำนคลังจังหวัดระยอง ศูนย์รำชกำรจังหวัดระยอง ถ.สุขุมวิท ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทร.0-3869-4060-63 โทร.(มท.) 34157 โทรสำร.0-3869-4061-62 ต่อ 324 Website: https://www.cgd.go.th/cs/ryg/ryg/ภำวะเศรษฐกิจ.html E-mail: [email protected]


Click to View FlipBook Version