The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พลังงานชีวมวล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nongoom30, 2021-10-30 11:38:19

ชีวมวล

พลังงานชีวมวล

BUSINESS PLAN

พลังงานชีวมวล

Biomass Energy

ชีวมวล Biomass

สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจาก
ธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ สาร
อินทรีย์เหล่านี้ได้มาจากพืชและสัตว์ต่าง ๆ เช่น เศษไม้
ขยะ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การใช้งานชีวมวลเพื่อ
ทำให้ได้พลังงานอาจจะทำโดยนำมาเผาไหม้เพื่อนำ
พลังงานความร้อนที่ได้ไปใช้ ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า
ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล (เช่น น้ำมัน) ซึ่งมีอยู่
อย่างจำกัดและอาจหมดลงได้ ชีวมวลเล่านี้มีแหล่งที่มา
ต่าง ๆ กัน อาทิ พืชผลทางการเกษตร เศษวัสดุเหลือ
ทิ้งการเกษตร ไม้และเศษไม้หรือของเหลือจากจาก
อุตสาหกรรมและชุมชน

พลังงานชีวมวล
Biomass Energy




พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ โดยกระบวน
การแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่าง ๆ

กระบวนการแปรรูปชีวมวลไป
เป็นพลังงานรูปแบบต่าง ๆ

1. การเผาไหม้โดยตรง (combustion) เมื่อนำชีวมวลมาเผา จะได้ความร้อนออกมาตามค่า
ความร้อนของชนิดชีวมวล ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิ
และความดันสูง ไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ตัวอย่าง ชีวมวลประเภทนี้
คือ เศษวัสดุทางการเกษตร และเศษไม้
2. การผลิตก๊าซ (gasification)เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊ส
เชื้อเพลิง เรียกว่า แก๊สชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน ไฮโดรเจน และ
คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถนำไปใช้กับกังหันแก๊ส (gas turbine)
3. การหมัก (fermentation) เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีว
มวลจะถูกย่อยสลายและแตกตัว เกิดแก๊สชีวภาพ (biogas) ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและ
คาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า

กระบวนการแปรรูปชีวมวลไป
เป็นพลังงานรูปแบบต่าง ๆ

4.การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช มีกระบวนการที่ใช้ผลิตดังนี้
4.1 กระบวนการทางชีวภาพ ทำการย่อยสลายแป้ง น้ำตาล และเซลลูโลสจากพืชทางการเกษตร
เช่น อ้อย มันสำปะหลังให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน
4.2 กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี โดยสกัดน้ำมันออกจากพืชน้ำมัน จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปผ่าน
กระบวนการ transesterification เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล
4.3 กระบวนการใช้ความร้อนสูง เช่น กระบวนการไพโรไลซิส เมื่อวัสดุทางการเกษตรได้ความร้อน
สูงในสภาพไร้ออกซิเจน จะเกิดการสลายตัว เกิดเป็นเชื้อเพลิงในรูปของเหลวและแก๊สผสมกัน

ข้อดี - ข้อเสียของพลังงานชีวมวล

ข้อดีของพลังงานชีวมวล ข้อเสียของพลังงานชีวมวล

ผลิตได้จากวัตถุดิบที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้งานได้หลาก เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้การผลิตที่มีคุณภาพสูงยังมีต้นทุนค่อน
หลายรูปแบบ ข้างสูง โดยเฉพาะพลังงานชีวภาพที่ต้องการความถนัดทางด้านการ
เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตได้อย่างไม่จำกัดและไม่หมด บริหารจัดการวัตถุดิบ และการดูแลกระบวนการผลิต
ไปเหมือนพลังงานฟอสซิล รวมถึงไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่ง พลังงานชีวมวลบางส่วนยังก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ
แวดล้อมเหมือนพลังงานฟอสซิล ควันในการผลิต
ช่วยลดปริมาณขยะและขยะชีวภาพที่เกิดขึ้นในครัวเรือนและ วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตรบางชนิดมีอายุการเก็บรักษาสั้น
อุตสาหกรรม พร้อมช่วยลดการฝังกลบขยะ และบางส่วนก็มีวงจรการผลิตตามฤดูกาล จึงอาจมีปริมาณไม่
มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับการใช้งานพลังงานฟอสซิล สม่ำเสมอในบางช่วง
เหมาะสำหรับประเทศเกษตรกรรม เนื่องจากเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ จำเป็นต้องใช้พื้นที่ปริมาณมากในการผลิตพลังงาน รวมถึงจัดเก็บ
กับของเหลือใช้ทางการเกษตรและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตร
เป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
ผลผลิตที่เหลือจากกระบวนการผลิตสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยและ
น้ำหมักอินทรีย์ เพื่อนำกลับไปใช้ในเชิงเกษตรกรรมได้

ประเทศไทยกับพลังงานชีวมวล




ปัจจุบัน ประเทศไทยเรายังต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ
หรือน้ำมันดิบ ดังนั้น การผลิตพลังงานทางเลือกจะช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศได้
ส่วนหนึ่ง ซึ่งพลังงานชีวภาพและพลังงานชีวมวลถือเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ สามารถช่วยกำจัดของเหลือจากภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมได้
ดี โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ซึ่งประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรมอยู่แต่เดิม ดังนั้นจึงมีวัสดุ
หรือผลิตผลเหลือใช้ทางการเกษตรมากมาย ซึ่งแต่เดิมมักมีการเผาทิ้งหรือปล่อยทิ้งไว้อย่างไม่มีมูลค่า แต่
การผลิตพลังงานทางเลือกเหล่านี้จะช่วยสร้างมูลค่าจากของเสีย และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
และชุมชน อีกทั้งในกระบวนการผลิตพลังงานชีวภาพยังสามารถช่วยกำจัดขยะชีวภาพ เช่น มูลสัตว์และ
น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อันเป็นปัญหาที่สำคัญในหลายพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ประเทศไทยกับพลังงานชีวมวล




สำหรับในประเทศไทยนั้น แผนพัฒนาพลังงานฉบับใหม่ได้วางเป้าหมายให้มีการผลิตพลังงานจาก
พืชพลังงานให้ได้มีกำลังการผลิต 650 เมกะวัตต์ต่อปี ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์กันว่าประเทศไทยเรายัง
มีโอกาสที่จะมีโรงไฟฟ้าชีวภาพและโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลเกิดขึ้นอีกมาก ซึ่งการเกิดขึ้นของโรงงาน
เหล่านี้จะช่วยรองรับและแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนกลไก
การลงทุนด้านพลังงานทดแทน ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และช่วยสร้างงาน
สร้างรายได้ ลดรายจ่ายให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้ใช้พลังงานทดแทนอย่างครอบคลุม

โรงไฟฟ้าชีวมวล

โรงไฟฟ้าชีวมวล คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุต่างๆที่
เป็นชีวมวล เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า หรือ ผลิตไอน้ำ
ซึ่งอาจเป็นวัสดุชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน เช่น
โรงน้ำตาลใช้กากอ้อยที่ได้จากการหีบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงใน
การผลิตไฟฟ้าโรงสีขนาดใหญ่ที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงหลัก
ในการผลิตไฟฟ้าการใช้ก๊าซชีวภาพ(Biogas) จากการ
หมักน้ำเสีย(ที่ได้มาจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม
หรือมูลสัตว์(จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์) มาผลิตกระแสไฟฟ้า ฯลฯ

ส่วนประกอบหลักของโรงไฟฟ้าชีวมวล

งานฐานราก (CIVIL WORK)
หม้อไอน้ำ (Boiler)
ระบบลำเลียงเชื้อเพลิง (Fuel handing System)
ระบบลำเลียงขี้เถ้า (Ash handing System)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Steam Turbine and Generator)
ระบบน้ำ (Water Treatment System)
ระบบควบคุม (Control and Instrument)
ระบบเชื่อมต่อการไฟฟ้า (Transmission Line)



กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล

1.น้ำดิบจากคลองชลประทานหรือแหล่งน้ำที่เตรียมไว้ นำไปผ่านกระบวนการกรองเพื่อเป็นน้ำประปาใช้ภายในโรงงาน, ในระบบหล่อเย็น
และนำไปขจัดแร่ธาตุเพื่อส่งผ่านไปใช้ยังเครื่องผลิตไอน้ำ

2.เชื้อเพลิงชีวมวลจะถูกลำเลียงจากลานกองด้วยสายพานต่อเนื่องเข้าสู่ห้องเผาไหม้เพื่อให้ความร้อนกับหม้อไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอ
น้ำ

3.ไอน้ำแรงดันสูงที่ได้จะส่งต่อไปหมุนกังหันไอน้ำ (Turbines) ซึ่งต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
4.ไอน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันไอน้ำแล้วยังคงมีความร้อนเหลืออยู่จะถูกนำไปผ่านเครื่อง ควบแน่น (Condenser) เพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำแล้วนำ

กลับเติมหม้อไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำไปใช้ในระบบอีกครั้ง ส่วนน้ำหล่อเย็นที่รับความร้อนมาจากเครื่องควบแน่น
(Condenser) จะถูกส่งไปยังหอหล่อเย็น (Cooling Tower) เพื่อระบายความร้อนและนำกลับมาหมุนเวียนเพื่อเป็นน้ำหล่อเย็นใน
ระบบอีกครั้ง
5.ไอร้อนและขี้เถ้าลอยจะถูกนำไปผ่าน เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตแรงสูง (ESP) เพื่อดักจับฝุ่นก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก
6.ขี้เถ้าที่ถูกเก็บกักไว้ในเครื่องดักจะถูกลำเลียงบรรจุลงรถขนส่งขี้เถ้าหรือ บรรจุถุงที่คุณภาพแข็งแรงและปิดมิดชิดเพื่อนำส่งลูกค้า เช่น
อุตสาหกรรมเกษตรใช้เป็นวัสดุปรับคุณภาพดินอุตสาหกรรมซีเมนต์ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น

ตัวอย่างโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล

ข้อดี - ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล

ข้อดี ข้อเสีย

• เชื้อเพลิงมีราคาถูกเพราะเป็นเศษ • อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เพราะมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง

• ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างค่อนข้าง • เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเหมาะ
ต่ำเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าอื่น สำหรับการจ่ายพลังงานไฟฟ้า
ให้กับชุมชน
• ช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของ
ประเทศให้ดีขึ้นเพราะสามารถใช้ • ถ้าใช้ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีกำลัง
ผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร การผลิตต่ำกว่า400เมกกะวัตต์จะ
มาผลิตพลังงาน มีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

มลพิษทางอากาศ
- ฝุ่น ขี้เถ้าหรือฝุ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ โรงไฟฟ้าได้ติดตั้งระบบดักจับฝุ่นที่เรียกว่า wet
scrubber ที่จะใช้ละอองน้ำดักจับฝุ่นที่ลอยขึ้นมาจากเตาเผาไหม้ หรือระบบดักฝุ่นแบบ
ไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator (ESP) ที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นได้
สูง สำหรับฝุ่นละอองจากชานอ้อย โรงไฟฟ้าจะทำการปลูกแนวต้นสนสูง 20 เมตร ติดตั้ง
แนวตาข่าย ติดตั้งระบบฉีดพรมน้ำบนกองเชื้อเพลิงติดตั้งผ้าใบคลุมกองเชื้อเพลิง เพื่อ
บรรเทาการฟุ้งกระจายของชานอ้อย ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล โดยวิธี
การดังกล่าวจะช่วยป้องกันฝุ่นจากกองชานอ้อยไม่ให้กระจายไปสู่ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง
- ก๊าซออกไซต์ของไนโตรเจน (NOx)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ (SO2)
ก๊าซคาร์บอนมอนอคไซต์ (CO)
ก๊าซโอโซน (O3)

มลภาวะทางเสียง
อาจจะทำให้เกิดเสียงดังตอนกำลังผลิดกระแสไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

สิ่งคุกคามสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าชีวมวล มีดังนี้
อุบัติเหตุและการจราจร
การสัญจรของรถบรรทุกโรงไฟฟ้าจะหลีกเลี่ยงการสัญจรของรถบรรทุกในชั่วโมงเร่ง

ด่วนควบคุมความเร็ว และน้ำหนักของรถบรรทุกไม่ให้เกินที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันไม่
ให้ถนนชำรุด และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

ความเครียดและความรำคาญ
มลพิษทางน้ำและการขาดแคลนน้ำใช้
น้ำที่ใช้แล้ว น้ำที่ใช้แล้วภายในโรงไฟฟ้า จะถูกนำมาปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นในระดับที่
สัตว์น้ำสามารถเจริญเติบโตได้ และนำมาหมุนเวียนใช้ภายในกิจการของโรงไฟฟ้า โดยบ่อ
พักน้ำจะนำพลาสติกมาปูพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมไปยังแหล่งน้ำของชุมชนการใช้น้ำ
ภายในโรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าจะใช้น้ำจากแหล่งน้ำของซุมชนเฉพาะในฤดูน้ำหลาก และจะ
ทำการเก็บไว้ใช้นอกฤดูน้ำหลาก บ่อน้ำของโรงไฟฟ้าจะไม่ขุดลึกจนเกินไป แต่จะยกคันบ่อ
เพื่อกักเก็บน้ำให้มากขึ้น

ประเด็นแสดงความคิด

END

ความคิดเห็นจากบุคคลอื่น

ความคิดเห็นจากบุคคลอื่น

สรุป

จากข้อมูลการแสดงความคิดเห็นเร่ื

อ้างอิง

มลพิษจากโรงไฟฟ้าชีวมวลและกระบวนการทำ EIA.(2561).[ออนไลน์].
ได้จาก:http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/%E0%B8%9B%E0
%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8AE0%B8%B8%E0%B8%A1/
สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564.

BIOGAS ENERGY/BIOMASS ENERGY.(2021).[ออนไลน์].
ได้จาก:https://www.uac.co.th/en/knowledge-
sharing/340/biomass-energy สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564.

พลังงานชีวมวล.(2021).[ออนไลน์].ได้
จาก:http://reca.or.th/biomass/
สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564.

BUSINESS PLAN

จัดทำโดย

32 ณัฐชา วัฒนภิญโญ

END


Click to View FlipBook Version