The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความรู้พื้นฐานนาฏศิลป์ไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kingloveann, 2022-05-16 23:10:26

ความรู้พื้นฐานนาฏศิลป์ไทย

ความรู้พื้นฐานนาฏศิลป์ไทย

ความรพู้ ื้นฐานนาฏศิลป์ไทย

ความหมายและทมี่ าของนาฏศลิ ป์

นาฏศิลป์ เปน็ คำสมาส แยกเป็น 2 คำ คอื “นาฏ” กับคำวา่ “ศลิ ปะ”
“นาฏ” หมายถึง การฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำนับแต่การฟ้อนรำพื้นเมืองของชาวบ้าน

เชน่ รำโทน รำวง ตลอดจนขนึ้ ไปถงึ การฟอ้ นที่เรยี กวา่ ระบำของนางรำ ระบำเดย่ี ว ระบำคู่ ระบำชมุ
“ศิลปะ” ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สร้างอย่างประณีต ดีงามและสำเร็จสมบูรณ์ ศิลปะเกิดขึ้นด้วยทักษะ

คือ ความชำนาญในการปฏิบตั ิ

ความเป็นมาของนาฏศลิ ป์

นาฏศิลป์กม็ ีวิวฒั นาการมาจาการเอาชนะธรรมชาติเช่นเดียวกบั ศลิ ปะอนื่ ๆ ซึ่งก็มีวิวัฒนาการเป็นขั้นตอน
ดังนี้
ขนั้ ท่ี 1 เมอ่ื มนษุ ยเ์ กิดอารมณอ์ ย่างใดกแ็ สดงอารมณ์น้ันออกมา เช่น ดใี จก็ตบมอื หวั เราะ เสยี ใจ ก็รอ้ งไห้
ขัน้ ท่ี 2 เมอื่ มนุษยเ์ จรญิ ขนึ้ รู้จักใชก้ ริ ยิ าแทนคำพูดอย่างท่เี รียกว่า“ภาษาใบ”้ เชน่ กวักมือเขา้ หมายถึง ใหเ้ ข้ามาหา
โบกมือออก หมายถงึ ใหอ้ อกไป
ขั้นที่ 3 ต่อมาพวกนักปราชญ์ได้ดัดแปลงกิริยาเหล่านี้ ประดิษฐ์ท่าทางใช้แทนคำพูดให้สวยงามแสดงความรื่นเริง
สนุกสนาน โดยมีกฎเกณฑ์ส่วนสัดงดงามตรึงตาตรึงใจเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นตามยุคตามสมัยและความ
นยิ ม

ดังนั้นคำว่า “นาฏศิลป”์ นอกจากจะหมายถึง การฟ้อนรำหรือระบำแล้วยังต้องถือเอาความหมายของการ
ร้องและการบรรเลงเข้ารว่ มดว้ ย หรอื อาจกล่าวได้ว่า

“นาฏศิลป์” หมายถึง ศิลปะการละครและฟ้อนรำ นาฏศิลป์ประจำชาติไทย ได้แก่ โขน ละคร และระบำ
ทั้ง 3 ประเภทนี้เป็นของที่มีมาแต่โบราณรักษาแบบแผนถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีและได้ปรับปรุงให้
ประณีตงดงามขึ้นตามลำดับ แม้ว่าแต่เดิมเราจะได้มาจากชาติอื่นก็ตามแต่ก็ได้รับการปรับปรุงจนเป็นรูปลักษณะ
ของไทย และเข้ากับรสนิยมของคนไทยก็ถือวา่ เป็นของไทย

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฎศิลป์ของไทย แบง่ ออกตามลกั ษณะของรปู แบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ
1. โขน เปน็ การแสดงนาฎศิลปช์ ้นั สูงของไทยทม่ี ีเอกลกั ษณ์ คอื ผู้แสดงจะต้องสวมหวั ทเ่ี รียกวา่ หวั โขน และใชล้ ีลา
ท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วย
วงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของ
พระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน
นิยมจดั แสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีตา่ ง ๆ

2. ละครเป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดง
และการดำเนนิ เรอ่ื งด้วยกระบวนลลี าท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทยท์ ีบ่ รรเลงด้วยวงปีพ่ าทย์ มี
แบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยม
นำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การ
แตง่ กายของละครจะเลยี นแบบเคร่ืองทรงของพระมหากษัตริย์ เรยี กวา่ การแตง่ การแบบยนื เครื่อง นิยมเล่นในงาน
พิธีสำคญั และงานพระราชพธิ ีของพระมหากษัตริย์

3. รำ และ ระบำ

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำท่ี
มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซงึ่ มคี วามหมายทีจ่ ะอธบิ ายไดพ้ อสังเขป ดังนี้

3.1 รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ
เป็นตน้ มลี กั ษณะการแต่งการตามรปู แบบของการแสดง ไมเ่ ล่นเปน็ เรอ่ื งราวอาจมีบทขบั ร้องประกอบการรำเข้ากับ
ทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยง
สอดคลอ้ งตอ่ เน่อื งกนั และเปน็ บทเฉพาะสำหรับผู้แสดงน้ัน ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแมบ่ ท รำเมขลา –รามสรู
เปน็ ตน้

3.2 ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน
กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำ
แบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราช
สำนกั เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภนิ ิหาร ระบำฉิง่ เป็นตน้

4. การแสดงพื้นเมอื ง
เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวฒั นธรรมในแต่

ละภมู ิภาค ซง่ึ สามารถแบง่ ออกเป็นภมู ิภาคได้ 4 ภาค ดงั น้ี
4.1 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อน
เป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของ
การฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการ
แสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลง
และขับร้องดว้ ยวงดนตรพี ื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสท่ีแสดงมักเล่นกันในงาน
ประเพณหี รือต้นรบั แขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟอ้ นเล็บ ฟอ้ นเทียน ฟอ้ นครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟอ้ นเจิง

4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มี
อาชพี เกยี่ วกับเกษตรกรรม ศลิ ปะการแสดงจึงมคี วามสอดคล้องกบั วิถีชีวิตและเพอื่ ความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการ
พักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำ
เคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่อง
ดนตรพี นื้ บา้ น เชน่ กลองยาว กลองโทน ฉ่ิง ฉาบ กรบั และโหมง่

4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออก
เฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียก
การละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรี
พื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวด
เข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร
หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตดั หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลาง
วงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเคร่อื งดนตรี คอื ซอดว้ ง ซอด้วง ซอครวั เอก กลองกนั ตรมึ พณิ ระนาด

เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของ
พน้ื บ้าน ลกั ษณะทา่ รำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชบั รวดเรว็ และสนกุ สนาน

4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรม
ได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม
ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่
สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์
เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็น
ต้น

องคป์ ระกอบชองการแสดง

1. เพลงที่ใชป้ ระกอบการแสดง

เพลงที่ใชป้ ระกอบการแสดงละครรำ ได้แก่ การบรรเลงและการขับร้อง ซึง่ การบรรเลงและการขับรอ้ ง
ประกอบการแสดงแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันออกไป

2. เครอ่ื งแตง่ กาย

เคร่อื งแตง่ กายทีต่ วั ละครสวมใสเ่ ป็นการแสดงใหเ้ ห็นถงึ บคุ ลิกลักษณะของตัวละคร เช่น ตัวละครทีเ่ ปน็ ตวั
เอกในละครโนรา หรอื ละครชาตรี ละครนอกจะแต่งกายยืนเคร่อื ง แตถ่ ้าเปน็ ละครร้อง หรือละครพดู จะแต่งกาย
ใหเ้ ห็นถงึ สถานภาพของตัวละคร

การแตง่ กายและการแตง่ หนา้ สื่อใหเ้ หน็ ถึงรสนิยมและฐานะของตัวละคร ถา้ เป็นการแต่งกายทีเ่ รียกวา่ ยืน
เครอื่ ง ผแู้ ต่งจะต้องมีความรู้ ความสามารพิเศษ ต้องแตง่ กายด้วยความประณีต พถิ ีพิถนั และส่ิงทคี่ วรคำนึงถึงเป็น
หลกั คือต้องแต่งกายตัวละครให้หนาแนน่ ไม่หลุดลุ่ยในขณะแสดง

3. แสง สี เสียง ฉาก และอุปกรณ์ประกอบการแสดง

1) แสง สี เสยี ง เปน็ การใช้อปุ กรณ์ และความรู้ทางดา้ นเทคนิคมาช่วยสร้างบรรยากาศในการแสดง

1.1) แสง เปน็ เทคนิคช่วยให้ความสว่าง บอกเวลา และสร้างอารมณ์

1.2) สี จะมบี ทบาทมากบนเวทลี ะคร สสี ามาสารถสรา้ งบรรยากาศ และบอกอารมณ์ ของการแสดง
ละครในช่วงนัน้ ๆ ได้

1.3) เสยี ง จะช่วยให้การแสดงมีความสมจรงิ มากย่ิงข้นึ และผู้ชมอาจมอี ารมณ์ร่วมไปกบั การแสดงมาก
ยิ่งขน้ึ

2) ฉาก ตอ้ งมีรปู แบบทีส่ ัมพนั ธก์ บั การแสดง สำหรบั ละครรำนน้ั ฉากท่ีใช้อยู่เปน็ ประจำคือ ฉากท้องพระโรง
ห้องบรรทม ป่า สนามรบ อาศรม สวรรค์ วมิ านของเทพ ฯลฯ

2.1) สถานที่ ถา้ เป็นละครท่ีเกย่ี วขอ้ งกบั ต่างชาติ ตา่ งภาษา ตอ้ งศกึ ษาข้อมูลใหล้ ะเอยี ด เก่ียวกบั ลกั ษณะ
รูปแบบ สญั ลักษณ์ของชาตินน้ั ๆ

2.2) ยคุ สมัยและฐานะของตัวละคร การจัดฉากต้องศึกษาเก่ยี วกบั ยคุ สมยั ในเร่ืองสถาปตั ยกรรมและ
ประติมากรรมในยุคนั้น ๆ ใหเ้ ขา้ ใจลกึ ซ้ึงวา่ ตวั ละครมฐี านะอยใู่ นระดับใด

2.3) การจดั ฉาก เปน็ การสง่ เสริมกิจกรรมของตวั ละคร ชว่ ยสรา้ งบรรยากาศให้ดสู มจรงิ
3) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ไดแ้ ก่อปุ กรณ์ที่เป็นเครือ่ งตกแต่งตวั ละคร อาวธุ ประจำกายของตัวละคร
อปุ กรณ์ท่ใี ชใ้ นการประกอบฉาก เปน็ ต้น


Click to View FlipBook Version