Computer Graphics
สื่อการเรียนรู้ Adobe Photoshop
วิชา โปรแกรมกราฟิก รหัสวิชา ว30282
ครูผู้สอน : นางสาวอภิญญา ไวรโชติธนัน
โรงเรียนภัทรบพิตร
คำ นำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็น
สื่อประกอบการเรียนการสอน ในรายวิชาโปรแกรมกราฟิก
รหัสวิชา ว30282 หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เล่มนี้ คงจะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน
อภิญญา ไวรโชติธนัน
ส า ร บั ญ
เรื่ อง ห น้ า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก 1
หลักการทำงาน และการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์ 2
ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สี 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เครื่องมือต่าง ๆ 6
หน้าจอแรกของโปรแกรมPhotoshop
เครื่องมือ
หมวด A : Selection Tools 8
หมวด B : Crop and Slice Tools 9
หมวด C : Measuring Tools 9
หมวด D : Retouching Tools 10
หมวด E : Painting Tool 11
หมวด F : Drawing and Type Tool 12
หมวด G : Navigation Tool 13
การสร้างและกำหนดขนาดไฟล์งานใหม่ 14
การเปิดไฟล์ภาพ 15
การย่อ - ขยายภาพ 16
การบันทึกงานบันทึกไฟล์ Photoshop(.PSD) 17
Adobe Photoshop
สาระสำคัญ
คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) คือการใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ
โดยการวาดภาพกราฟิกหรือการใช้ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการวาดภาพต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการ
ตกแต่งแก้ไขหรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพโดยใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ในการจัดการประกอบด้วย
เส้น สี แสง และเงาต่างๆ กราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ มี 2 ชนิด คือ Vector และ Bitmap
ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน รูปแบบของสีด้านกราฟิกมี 4 รูปแบบคือ RGB, CMYK, HSB
และ Lab การออกแบบกราฟิกตามหลักองค์ประกอบศิลป์เพื่อให้ได้ภาพกราฟิกที่สมบูรณ์และสวยงาม
ประกอบด้วยองค์ประกอบ ด้านการออกแบบ การจัดวาง และองค์ประกอบในการผลิตสื่อกราฟิก
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
2. หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
3. ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สี
4. การออกแบบกราฟิกตามหลักองค์ประกอบศิลป์
5. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก (K)
2. เพื่อให้ประยุกต์ใช้งานประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิกในงานต่าง ๆ ได้ (K)
3. เพื่อให้เกิดทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง (P)
4. เพื่อให้เกิดทักษะการออกแบบกราฟิกตามหลักองค์ประกอบศิลป์ได้ถูกต้อง (P)
5. เพื่อให้มีเจคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีความรับผิดชอบ (A)
6. เพื่อให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ (A)
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
Adobe Photoshop
ผังสาระการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เบื้องต้น 1.ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
เกี่ยวกับ
2.หลักการทำงานและการแสดงผล
คอมพิวเตอร์ ของภาพคอมพิวเตอร์
กราฟิก
3.ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สี
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
1
Adobe Photoshop
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
1.ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก (Graphics) มักเขียนผิดเป็น กราฟิกส์ กราฟฟิกส์ กราฟฟิก คำว่า “กราฟิก” มาจากภาษากรีก
ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน (Graphein) การสื่อความหมายโดยการใช้เส้น ดังนั้น
จึงสรุปได้ว่า
1.1 กราฟิก (Graphics) หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย
กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมาย ข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
1.2 คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข
หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ประกอบไปด้วย เส้น สี แสง และเงาต่าง ๆ
ภาพกราฟิก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ และภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ
1.2.1 ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพ ลายเส้น สัญลักษณ์
กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่าง ๆ ในโทรทัศน์ ยกตัวอย่าง เช่น การ์ตูนเรื่องพิภพยมราช ชินจัง และโดเรมอน เป็นต้น
ซึ่งการ์ตูนจะเป็นภาพกราฟิก เคลื่อนไหว (Animation) โดยจะมีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนกว่าภาพวาดปกติ
1.2.2 ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติเป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ โดยเฉพาะ
เช่น โปรแกรม 3 Ds max โปรแกรม Maya เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ภาพมีสี และแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงาน
ด้านสถาปัตย์และการออกแบบต่าง ๆ รวมถึงการสร้าง เป็นภาพยนตร์การ์ตูนหรือโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น การ์ตูน
เรื่อง Nemo The Bug และ ปังปอนด์แอนิเมชัน เป็นต้น
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
2
Adobe Photoshop
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
2.หลักการทำงาน และการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย
สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี
มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element
โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกัน จะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท
คือ แบบ Raster และ แบบ Vector
2.1 หลักการของกราฟิกแบบ Raster
หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยม
เล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่า พิกเซล (Pixel) ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือสามารถ
แก้ไข ปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม ภาพที่ได้จากการประมวลผลภาพแบบ Raster ได้แก่ ภาพที่มีนามสกุล
เป็น .BMP , .TIF, .JPG , .MSP , .PNG และ PCT ซึ่งโปรแกรม ที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ
Adobe Photoshop, Adobe Photoshop CS, Paint เป็นต้น
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
3
Adobe Photoshop
2.หลักการทำงาน และการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์
2.2 หลักการของกราฟิกแบบ Vector
หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่ง
ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความ
ละเอียดของภาพไม่ลดลง
3.ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สี
สำหรับรูปแบบการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green)
และสีนำ้เงิน (Blue) การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึง
ควรทราบระบบสีของคอมพิวเตอร์ก่อน ระบบสีของคอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์
โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพ จะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน
จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Addivtive และสีที่ใช้ในงานด้าน
กราฟิก ทั่วไป มี 4 ระบบคือ
3.1 ระบบสีแบบ RGB เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red) เขียว (Green) และ นำ้เงิน (Blue)
ถ้านำเอา Red Green Blue มาผสม ครั้งละ 2 สี ก็จะทำให้เกิดสีใหม่
เช่น Blue + Green = Cyan
Red + Blue = Magenta
Red + Green = Yellow
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
Adobe Photoshop 4
3.ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สี
3.2 ระบบสีแบบ CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยสีพื้นฐาน คือ
สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) และเมื่อนำสีทั้ง 3 สีมาผสมกันจะเกิดสีเป็น สีดำ
(Black) ที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลัก ของระบบ RGB การเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB
เช่น Cyan + Magenta = Blue
Cyan + Yellow = Green
Yellow + Magenta = Red
3.3 ระบบสีแบบ HSB เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
3.1.1 Hue คือสีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีแดง
สีเหลือง เป็นต้น
3.1.2 Saturation คือความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturationที่ 0
สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
3.1.3 Brightness คือระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0
ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมี ความสว่างมากที่สุด
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
5
Adobe Photoshop
3.ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สี
3.4 ระบบสีแบบ LAB เป็นรูปแบบมาตรฐานของ CIE
(Commission Internationale De L’Eclairage Lab Color) เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ
(Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
3.4.1 L หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่า ตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0
จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว
3.4.2 A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
3.4.3 B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
Adobe Photoshop
ผังสาระการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เครื่องมือต่าง ๆ
เครื่องมือ 1. หน้าจอแรกของโปรแกรมPhotoshop
ต่าง ๆ 2. เครื่องมือ หมวด A - หมวด G
3.ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สี
4.การสร้างและกำหนดขนาดไฟล์งานใหม่
5.การเปิดไฟล์ภาพ
6.การย่อ - ขยายภาพ
7.การบันทึกงานบันทึกไฟล์ Photoshop(.PSD)
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
6
Adobe Photoshop
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เครื่องมือต่าง ๆ
หน้าจอแรกของโปรแกรมPhotoshop
แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) แถบตัวเลือก (Options Bar)
พาเนล
เครื่องมือ
(Tool Panel)
พื้นที่ใช้งาน (Stage) พื้นที่ใช้งาน
(Panel Menu)
เมื่อเราเข้าโปรแกรมมาแล้ว จะเจอหน้าต่างการทำงานของโปรแกรม Photoshop
ซึ่งจะประกอบไปด้วย Menu bar option bar Toolbar Palette ต่างๆ
ในการใช้งานแต่องค์ประกอบก็จะแตกต่างกันไป
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
7
Adobe Photoshop
แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar)
เมนูคำสั่ง รูปแบบการทำงาน
File
Edit สำหรับจัดการกับไฟล์ภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น สร้างไฟล์งานใหม่ เปิดไฟล์
Image ภาพ บันทึกไฟล์งาน นำเข้าหรือส่งออกไฟล์เพื่ อทำงานในลักษณะอื่ น ๆ
สำหรับแก้ไขภาพ เช่น ตัด คัดลอก วาง รวมถึงปรับแต่งค่าเบื้องต้นของ
Layer โปรแกรม
สำหรับจัดการภาพ เช่น แก้ไขความสว่างหรือสีของภาพให้สมดุลยิ่งขึ้น รวม
Type ถึงใช้สำหรับย่อขยายขนาดภาพ และกำหนดขนาดพื้นที่การทำงานของภาพ
Select สำหรับจัดการเกี่ยวกับเลเยอร์ เช่น การสร้างเลเยอร์ใหม่ การรวม
Filter เลเยอร์ การแปลง เลเยอร์ การจัดการกับเลเยอร์ของไฟล์ลักษณะ
View ต่าง ๆ รวมถึงการจัดการรายละเอียดของภาพในเลเยอร์นั้น ๆ
Window สำหรับจัดการและปรับแต่งเกี่ยวกับข้อความ เช่น ปรับแต่งสีข้อความ
Help ปรับแต่งขอบข้อความ หรือการเปลี่ยนข้อความให้เป็นภาพ
สำหรับปรับแต่งการเลือกพื้นที่ บันทึกและเรียกพื้นที่ที่เลือกมาใช้งาน
รวมถึงคำสั่งสำหรับการเลือกพื้นที่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
สำหรับปรับแต่งภาพให้มีรูปแบบที่น่าสนใจยิ่งขึ้น บิด ดัดปรับรูปทรงรูป
แบบต่าง ๆ ให้กับภาพ
สำหรับเลือกรูปแบบการแสดงผล เช่น ย่อขยายภาพ แสดงไม้บรรทัด
เส้นกริด หรือเส้นไกด์
สำหรับเลือกเปิดปิดพาเนล รวมถึงกำหนดรูปแบบการแสดงหน้าต่างใน
แบบต่าง ๆ
ใช้สำหรับแสดงความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรือคำสั่งในรูป
แบบต่าง ๆ
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
8
Adobe Photoshop
หมวด A : Selection Tools
1
2
1. Move Tool :: เป็นเครื่องมือใช้สำหรับย้ายภาพ
2. Artboard Tool :: สร้างชิ้นงานขึ้นมาอีกชิ้นตามขนาดที่ต้องการ
3
4
5
6
3. Rectangular Marquee Tool :: เลือกพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม
4. Elliptical Marquee Tool :: เลือกพื้นที่เป็นรูปวงกลม
5. Single Row Marquee Tool :: เลือกพื้นที่เป็นแถวขนาด 1 พิกเซล
6. Single Column Marquee Tool :: เลือกพื้นที่เป็นคอลัมน์ขนาด 1 พิกเซล
7
8
9
7. Lasso Tool :: เลือกพื้นที่แบบอิสระ
8. Polygonal Lasso Tool :: เลือกพื้นที่แบบมุมเหลี่ยม
9. Magnetic Lasso Tool :: เลือกพื้นที่แบบชิดเส้นขอบภาพ
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
9
Adobe Photoshop
10
11
10. Quick Selection Tool :: เลือกพื้นที่ตามพื้นที่ที่ลากเมาส์ผ่าน
11. Magic Wand Tool :: เลือกพื้นที่โดยยึดตามสีที่มีค่าใกล้เคียงกัน
หมวด B : Crop and Slice Tools
1
2
3
4
1. Crop Tool :: ใช้ตัดภาพโดยเลือกเฉพาะบริเวณที่ต้องการใช้งาน
2. Perspective Crop Tool :: ใช้ตัดภาพที่มีมุมบิดเบี้ยวให้กลายเป็นมุมที่ถูกต้อง
3. Slice Tool :: ใช้ตัดภาพออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อนำไป ใช้ออกแบบบนเว็บเพจ
4. Slice Select Tool :: ใช้ปรับแต่งขนาดของภาพที่ตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆจากเครื่องมือ Slice Tool
หมวด C : Measuring Tools
1
2
3
4
5
1. Eyedropper Tool :: ใช้เลือกสีจากภาพไปใช้งาน
2. 3D Material Eyedropper Tool :: ใช้เทพื้นผิวให้กับวัตถุ 3 มิติ
2. Color Sampler Tool :: ใช้ดูดสีไว้สำหรับเปรียบเทียบค่า
3. Ruler Tool :: ใช้วัดระยะห่าง และกำหนดตำแหน่ง
4. Note Tool :: ใช้เพิ่มคำอธิบายให้กับภาพ
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
10
Adobe Photoshop
หมวด D : Retouching Tools 6
7
1
2
3
4
5
1. Spot Healing Brush Tool :: ใช้แก้ไขจุดบกพร่องขนาดเล็กบนภาพ
2. Healing Brush Tool :: ใช้แก้ไขจุดบกพร่องขนาดใหญ่บนภาพ
3. Patch Tool :: ใช้แก้ไขพื้นผิวของภาพขนาดใหญ่ โดยการนำพื้นผิวอื่นมาแปะทับ
4. Content-Aware Move Tool :: ใช้ย้ายวัตถุในภาพไปยังตำแหน่งใหม่ โดยเครื่องมือจะเติมสีพื้น
หลังให้ด้วย
5. Red Eye tool :: ใช้แก้ไขภาพถ่ายตาแดง
6. Clone Stamp Tool :: ใช้คัดลอกวัตถุจากจุดหนึ่งไปแปะทับอีกจุดหนึ่ง
7. Pattern Stamp Tool :: ใช้ตกแต่งภาพพื้นผิวที่คลิกแทนที่ลงไปบนภาพ
8 11 14
9 12 15
10 13 16
8. Eraser Tool :: ใช้ลบพื้นที่ที่ไม่ต้องการและแทนที่ด้วยสีพื้นหลัง
9. Background Eraser Tool :: ใช้ลบภาพพื้นหลังออกด้วยการคลิกเลือกสีที่จะลบและจะได้พื้นหลัง
แบบโปร่งใส
10. Magic Eraser Tool :: ใช้ลบสีพื้นหลังภาพอย่างรวดเร็วและ จะได้พื้นหลังแบบโปร่งใส
11. Blur Tool :: ใช้ระบายภาพให้เบลอในจุดที่ลากเมาส์
12. Sharpen Tool :: ใช้ปรับเพิ่มความคมชัดให้ภาพ
13. Smudge Tool :: ใช้เกลี่ยสีให้กลมกลืนในจุดที่ลากเมาส์
14. Dodge Tool :: ใช้เพิ่มความสว่างให้จุดที่ลากเมาส์ผ่าน
15. Burn Tool :: ใช้เพิ่มความมืดให้จุดที่ลากเมาส์ผ่าน
16. Sponge Tool :: ใช้ลดและเพิ่มความอิ่มตัวของสี โดยการลากเมาส์ผ่าน
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
11
Adobe Photoshop
หมวด E : Painting Tool
1
2
3
4
1. Brush Tool :: ใช้สร้างเส้นหรือลวดลายให้กับเส้น
2. Pencil Tool :: ใช้สร้างเส้นหรือลวดลาย แต่จะได้เส้นที่หยาบกว่า
3. Color Replacement Tool :: ใช้เปลี่ยนสีภาพเป็นสีใหม่
4. Mixer Brush To :: ใช้เกลี่ยสีของภาพให้กลายเป็นภาพวาด
5
6
5. History Brush Tool :: ใช้ย้อนกลับการทำงานคำสั่งที่ผิดพลาดเมื่อลากเมาส์ไปบนภาพ
6. Art History Brush Tool :: ใช้เปลี่ยนเป็นภาพวาดแบบง่าย ๆ เมื่อลากเมาส์ไปบนภาพ
7
8
7. Gradient Tool :: ใช้ลากเมาส์ไปบนภาพเพื่อไล่เฉดสี
8. Paint Bucket Tool :: ใช้เพื่อเติมสี หรือลวดลายลงไปบนภาพ
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
Adobe Photoshop 12
หมวด F : Drawing and Type Tool
8
16 9
2 37
4
5
1. Pen Tool :: ใช้สร้างเส้นพาธรอบภาพโดยการลากเมาส์กำหนดทิศทาง
2. Freeform Pen Tool :: ใช้สร้างเส้นพาธแบบอิสระเพื่อปรับแต่งในภายหลัง
3. Add Anchor Point Tool :: ใช้เพิ่มจุดแองเคอร์เพื่อปรับแต่งรูปทรงเส้นพาธ
4. Delete Anchor Point Tool :: ใช้ลบจุดแองเคอร์ที่มากเกินไป
5. Convert Point Tool :: ใช้ปรับแต่งมุมของเส้นพาธ
6. Horizontal Type Tool :: ใช้สร้างข้อความแบบเวคเตอร์ในแนวนอน
7. Vertical Type Tool :: ใช้สร้างข้อความแบบเวคเตอร์ในแนวตั้ง
8. Horizontal Type Mask Tool :: ใช้สร้างข้อความแบบราสเตอร์ในแนวนอน
9. Vertical Type Mask Tool :: ใช้สร้างข้อความแบบราสเตอร์ในแนวตั้ง
12
10 13 14
11 15
16
17
10. Path Selection Tool :: ใช้ย้ายตำแหน่ง หรือปรับขนาดเส้นพาธ
11. Direct Selection Tool :: ใช้คลิกไปบนจุดแองเคอร์เพื่อปรับแต่งรูปทรงเส้นพาธ
12. Rectangle Tool :: ใช้สร้างรูปทรงสี่เหลี่ยม
13. Rounded Rectangle Tool :: ใช้สร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมโค้งมน
14. Ellipse Tool :: ใช้สร้างรูปทรงวงกลม วงรี
15. Polygon Tool :: ใช้สร้างรูปทรงหลายเหลี่ยม รูปดาว
16. Line Tool :: ใช้สร้างรูปทรงเส้นตรง
17. Custom Shape Tool :: ใช้สร้างรูปทรงสำเร็จรูป
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
13
Adobe Photoshop
หมวด G : Navigation Tool
3
14
2
5
1. Hand Tool :: ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ
2. Rotate View Tool :: ใช้หมุนภาพไปในทิศทางต่าง ๆ
3. Zoom Tool :: ใช้ขยายดูส่วนที่ต้องการของภาพ
4. Foreground/Background :: ใช้กำหนดสีพื้นหน้าและสีพื้นหลัง
5. Edit in Standard Mode/ Edit in Quick Mask Mode :: ใช้แสดงหรือแก้ไขภาพใน
โหมดปกติและแสดงการทำงานคล้ายการสร้างหน้ากาก เพื่อปิดบังพื้นที่ส่วนที่ไม่ต้องการเลือกเอาไว้
โดยสามารถคลิกเมาส์สลับโหมดไปมาได้
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
14
Adobe Photoshop
การสร้างและกำหนดขนาดไฟล์งานใหม่
การเปิดไฟล์ใหม่ขึ้นมาทำงาน
1. Click ที่เมนู File
2. เลือกคำสั่ง New หรือกด Ctrl + N
3. จะปรากฏหน้าต่าง New
Name ตั้งชื่อให้กับงาน
Preset
Width ช่องสำหรับเลือกพื้นที่ ที่โปรแกรมกำหนดมาให้
Height ความกว้าง ซึ่งมีหน่วยต่าง ๆ เช่น Pixel , เซนติเมตร , นิ้ว
ความสูง ซึ่งมีหน่วยต่าง ๆ เช่น Pixel , เซนติเมตร ,นิ้ว
Resolution ค่าความละเอียด ( ซึ่งความละเอียดบนหน้าจอ = 72)
color mode เลือกชนิดของระบบสี
ฺBackground Contents White (สีขาว), BackgroundColor(สีที่เรากำหนด),
Transparent (สีพื้นแบบ - โปร่งใส,ไม่แสดงสีพื้นโล่ง)
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
15
Adobe Photoshop
การเปิดไฟล์ภาพ
การเปิดไฟล์ใหม่ขึ้นมาทำงาน
1. Click ที่เมนู File
2. เลือกคำสั่ง Open หรือกด Ctrl + O
3. จะปรากฏหน้าต่างเพื่อหาไฟล์ขึ้น
4. เลือกรูปที่เราต้องการ Next Page
แล้วเลือกคำสั่ง open
จะได้ไฟล์ภาพที่เราต้องการ
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก
16
Adobe Photoshop
การย่อ - ขยายภาพ
1.ถ้าต้องการแก้ไขขนาดรูปภาพที่เราได้เปิดขึ้นมาให้ตรงกับความต้องการ
ให้คลิกที่เมนู Image -> Image Size จะปรากฏวินโดว์ Image Size จากนั้นให้กำหนดขนาดของ
รูปภาพ เปิดภาพที่เราต้องการจะย่อ หรือขยายขนาดด้วย โปรแกรม Photoshop
2. ไปที่เมนู Image => Image Size หรือกดปุ่ม Alt + Ctrl + i
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page
17
Adobe Photoshop
การบันทึกงานบันทึกไฟล์ Photoshop(.PSD)
การแก้ไขไฟล์ภาพ โดยการสร้างกราฟิกเพิ่มการตัดต่อ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะของไฟล์ภาพที่
มีผลกับโครงสร้างเดิมของภาพเมื่อเลือกคำสั่ง File > Save จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Save As
ขึ้นมาโดยจะเลือก รูปแบบของไฟล์เป็น Photoshop (*.PSD, *.PDD) เป็นค่าพื้นฐานดังนี้
คุณสมบัติของไฟล์ PSD จะเก็บรายละเอียดการทำงานต่าง ๆ เช่น เลเยอร์, ฟอนต์และเส้นพาธ
ไว้ได้อย่างครบถ้วนช่วยให้การนำไฟล์ภาพกลับมาแก้ไข ทำได้ง่ายในขณะที่ไฟล์ประเภทอื่นจะเก็บข้อมูล
เหล่านี้ไม่ได้ หรือได้เพียงบางส่วน
ช่อง File name คือ ให้เราตั้งชื่องาน
ช่อง Format คือ การบันทึกไฟล์งานประเภทต่างๆ
เช่น PSD , JPEG , PNG, TIFF และอื่นๆ
เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้ว กด Save ก็จะทำการบันทึกสำเร็จ
วิ ช า โ ป ร แ ก ร ม ก ร า ฟิ ก Next Page