การฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “กระบวนการดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว ณัชชาพัชร์ ศรีขัติย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กระทรวงศึกษาธิการ
บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมา การคิด เป็นความสามารถที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ซึ่งมีแตกต่างกันในแง่ของคุณภาพการคิด บางคนคิด แล้วมีประโยชน์ บางคนคิดแล้วมีโทษ บางคนคิดสับสน บางคนคิดอย่างเป็นระบบ มนุษย์ทุกคนสามารถ พัฒนาความคิดได้ถ้าได้รับการฝึกฝนอย่างเหมาะสม และถ้ามนุษย์ทุกคนคิดเป็น ก็จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีมี ประโยชน์ให้กับตนเองและสังคมได้อย่างมากมาย ปัจจุบันการคิด เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษาที่ต้องพัฒนาและฝึกฝน จนเกิดเป็นทักษะ การคิด และกระบวนการคิด ให้ติดตัวผู้เรียนไปตลอดชีวิต เพราะโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่าง มากและรวดเร็วทั้งด้านเทคโนโลยี วิทยาการ ข้อมูลต่างๆ ที่จะเข้ามาสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตมนุษย์จึงต้อง มีข้อมูล หรือสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นให้คิดมากขึ้น การคิดอย่างมีจุดหมาย มีทิศทาง ทักษะกระบวนการคิด ที่ดี รอบคอบจะทำให้คำตอบหรือบทสรุปมีคุณภาพ เชื่อมโยงไปสู่การกระทำ หรือการดำรงชีวิต ที่ เหมาะสม การพัฒนาการคิดมีการกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542แนวทางการจัด การศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และมีความสุขในการเรียน ครูจึงได้ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิด แต่การ เรียนการสอนที่แต่ละคนได้รับจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้จัดการเรียนการสอนและผู้เรียนที่ร่วมมือร่วมใจกันในการส่งและรับข้อมูลสื่อสารที่ถูกต้องให้มีความเข้าใจ ตรงกันสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง มีการประเมินผลเพื่อให้เป็นการวัดการเรียนการสอนครูและของผู้เรียน พร้อมทั้งหาวิธีการเพิ่มทักษะประสมผลสำเร็จในการเรียน การเพิ่มทักษะอาจจะเป็นการทำงาน/ การบ้าน ส่งทุกครั้ง เพื่อผู้จักการเรียนการสอนจะได้รับทราบข้อผิดพลาด / ความถูกต้องของงานที่ผู้เรียนทำส่งไป พร้อมทั้งนี้ผู้เรียนต้องหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ซึ่งแหล่งข้อมูลที่พร้อมจะให้ความร่วมมือ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ตถือว่าเป็นสิ่งที่บรรจุข้อมูลข่าวสารทั่วโลกไว้มาก การทำงานกลุ่มนั้นเป็นการสร้าง ความสามัคคีในหมู่คณะเพื่อให้งานนั้นสำเร็จไปด้วยดี เพราะทุกคนได้แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลที่ถูกต้อง ทุกคนยอมรับได้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นและชุมชน พัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า อีกทั้งยังสามารถกู้วิกฤติให้กับประเทศ นอกเหนือจากการพัฒนาตนเพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่ง เป็นผลดีแก่นักเรียนที่ขยันเรียนและชอบทำงาน และนักเรียนบางคนเมื่อไม่อยากเรียนก็จะไม่เอาอะไรเลย เท่ากับเป็นกาฝากเป็นภาระให้กับเพื่อนๆ ผู้สอนจึงได้มีการเก็บข้อมูลและทำวิจัยขึ้นมาเพื่อนำมาปรับปรุง และเป็นแนวการจักการเรียนการสอนในครั้งต่อๆ ไป 2
จากหลักการที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนจึงสนใจที่จะศึกษาการฝึกทักษะ กระบวนการคิดทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว ที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง พัฒนากิจกรรมการเรียน การสอนช่วยพัฒนาคุณภาพการคิด ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ และ ปฏิบัติด้วยตนเองได้ และส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ได้เป็นอย่าง ดี จุดมุ่งหมายในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดความมุ่งหมายไว้ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเรื่อง “กระบวนการ ดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง “การ ดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 โรงเรียนบ้านใหม่ หนองบัว ก่อนและหลังการทำแบบฝึกทักษะ ความสำคัญของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ทราบผลของการศึกษาการฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ สามารถเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียนรู้ จากการเรียนการสอนวิธีดังกล่าวได้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป นอกจากนี้ผลของการวิจัยยังทำให้นักเรียน สามารถคิดด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้องจากการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ความคิดสร้างสรรค์ และ ความชำนาญการ รวมทั้งสามารถนำไปใช้และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้ ขอบเขตของการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 84 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ( Purposive sampling ) จำนวนนักเรียน 44 คน
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้เนื้อหาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืช” มัธยมศึกษาปีที่ 1 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ 1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่แบบฝึกทักษะ เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืช” 2. ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2 ทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบทดสอบความคิด เป็นข้อสอบที่ครูผู้สอนสร้างขึ้น 2. การคิดวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนกแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อค้นหาว่าทำมาจากอะไร มีองค์ประกอบอะไร ประกอบขึ้นมาได้อย่างไร มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน อย่างไร 3. การคิดสังเคราะห์ หมายถึง การรวบรวม / หลอมรวมองค์ประกอบ/ ส่วนประกอบย่อยๆ ของ วัตถุสิ่งของเรื่องราวหรือความคิดให้เป็นสิ่งใหม่แนวคิดใหม่ภายใต้โครงสร้างใหม่อย่างเหมาะสมตรงตาม วัตถุประสงค์ 4. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึงการคิดพิจารณาไตรตรองอย่างละเอียดรอบคอบมีข้อมูล เพียงพอน่าเชื่อถือ เพื่อแก้ปัญหา หรือตัดสินใจ เชื่อ / ทำ อย่างมีเหตุผล 5. การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดได้หลายแง่หลายมุม คิดแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม อาจดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือจินตนาการในการประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ หรือหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการใหม่ ที่มีการพิสูจน์และได้รับการยอมรับแล้ว สมมติฐานในการวิจัย การฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของเรื่องการศึกษาการฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 3 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อ ดังนี้ 1. ความหมายการคิด 2. แนวทางการพัฒนาความสามารถการคิด 3. การพัฒนาความสามารถการคิด 4. การคิดวิเคราะห์ 5. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 6. แนวคิดหลักการที่นำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์ 7. ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ 8. องค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์ 9. บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความหมายการคิด การคิด เป็นกระบวนการทำงานของสมอง ที่เกิดขึ้นภายใน ขึ้นอยู่กับความสามารถของสมองแต่ ละซีก ได้แก่ สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา - ภาษา ท่าทาง สัญลักษณ์ - ความคิดสร้างสรรค์ - การวิเคราะห์ - การสังเคราะห์ - การจัดระบบ - จินตนาการ - การเห็นรายละเอียด - ดนตรี ศิลปะ - การมีเหตุผล - การเคลื่อนไหว จังหวะ - การแสดงออก - จิตใต้สำนึก - การคำนวณ - การมองภาพรวม - ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ - การทำหลายอย่างพร้อมกัน
แนวทางการพัฒนาความสามารถการคิด การคิดเป็นกระบวนการไม่ใช่เนื้อหา การสอนหรือการพัฒนาการคิด จึงเป็นการสอนกระบวนการ หรือวิธีการ ซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้โดยง่าย การพัฒนาความสามารถ การคิดของผู้เรียน จำเป็นต้องใช้แนวทางและวิธีการที่หลากหลายส่งเสริมกัน ซึ่งมีแนวทางดังนี้ แนวทางที่ 1 การส่งเสริมปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสมอง สมองเป็นอวัยวะที่ใช้ในการคิด หาก สมองมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ก็ทำหน้าที่ได้ดี ปัจจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) อาหาร การขาดสารอาหาร มีผลกระทบต่อสมอง เพราะเซลล์ประสาทรับอาหารไม่เพียงพอ ทำให้การเจริญเติบโตของสมองหยุดชะงัก อาหารที่ควรรับประทานมากๆ ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าว ขนมปัง 2) น้ำ เซลล์สมองจะทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อร่างกายมีปริมาณน้ำเพียงพอ เด็กควรดื่ม น้ำวันละ 6-8 แก้ว 3) การหายใจ สมองต้องการออกซิเจน การหายใจช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนเพียงพอ ควร หายใจลึกพอควร มีจังหวะในอัตราพอเหมาะ ซึ่งจะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ลดการหลงลืม ป้องกันสมอง เสื่อม 4) การพักผ่อน การฟังดนตรี และการผ่อนคลายความเครียด 5) การบริหารสมอง เป็นการบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมอยู่ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ เชื่อมระหว่างสมองซีกซ้าย และซีกขวา การบริหารที่ทำโดยทั่วไปมี 4 ท่า คือ การเคลื่อนไหวสลับข้าง การ ยืดส่วนต่างๆของร่างกาย การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น และการบริหารอวัยวะต่างๆของร่างกายอย่างง่ายๆ แนวทางที่ 2 การเป็นแบบอย่างที่ดี การจัดสภาพแวดล้อม และสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการคิด เช่น เป็นแบบอย่างในการเป็นคนใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก ให้คำชมเชย กำลังใจ เสริมแรงเมื่อผู้เรียนคิดได้ด้วยตนเอง แนวทางที่ 3 การสอนและฝึกทักษะการคิดโดยตรง โดยใช้โปรแกรม สื่อ หลักสูตร กิจกรรมที่ พัฒนาขึ้นอย่างสำเร็จรูป เช่น โปรแกรมฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ฝึกทักษะการแก้ปัญหา หลักสูตร รายวิชาคิดเป็น หลักสูตรรายวิชาการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งหลักสูตร โปรแกรมดังกล่าวผ่านการทดลองว่ามี ประสิทธิภาพแล้ว ผู้สอนสามารถดำเนินการสอนได้โดยมีการเตรียมไว้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน แต่เสีย ค่าใช้จ่ายแพง แนวทางที่ 4 การสอนและฝึกการคิด โดยผ่านทางกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามทฤษฎี หลักการ แนวคิด ที่ส่งเสริมการคิด ซึ่งปัจจุบันนี้มีจำนวนไม่น้อย ที่เน้นการพัฒนาความสามารถการ 7 คิด เช่น ทฤษฎีกระบวนการประมวลข้อมูล ทฤษฎีพหุปัญญา ทฤษฎีการสร้างความรู้ หลักโยนิโส มนสิการ หลักพหูสูตร
ทฤษฎีกระบวนการประมวลข้อมูล เมื่อมนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะถูกบันทึก ไว้ในความทรงจำระยะสั้น หากจะเก็บไว้นานต้องเข้ารหัส และถ้าจะนำออกมาใช้ต้องถอดรหัส ครูจึงควร จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน นำสิ่งที่จะให้เด็กเรียนรู้มาจัดหมวดหมู่ ง่าย แก่การจำ ถ้าจะให้จำนานต้องนำมาเข้ารหัสได้แก่ การท่องจำ การย้ำทวน การเชื่อมโยง ความรู้เก่ากับ ความรู้ใหม่ ครูควรฝึกการควบคุมกระบวนการคิดของตนเนื่องจากเป็นกระบวนการที่จะทำให้เกิดการ เรียนรู้ได้ดี ทฤษฎีพหุปัญญา การ์ดเนอร์ เชื่อว่า บุคคลแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญา 8 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ มิติสัมพันธ์ ดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ การสัมพันธ์กับผู้อื่น การเข้าใจ ตนเอง การเข้าใจธรรมชาติ เชาว์นปัญญาดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดจากรรมพันธุ์ และจากบริบททาง สังคม ได้แก่ วัฒนธรรม การศึกษา ซึ่งความสามารถแต่ละด้านอาจไม่เท่ากัน ความสามารถดังกล่าวจะ ผสมผสานออกมาทำให้แต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน หากได้รับการส่งเสริมความสามารถอย่างเหมาะสม จะสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ ทฤษฎีการสร้างความรู้ เชื่อว่าบุคคลสามารถแปลความหมาย สร้างความรู้ความเข้าใจจาก ประสบการณ์ สมองเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปลความหมาย ซึ่งขึ้นกับการรับรู้ ประสบการณ์ความ สนใจ ความต้องการ และภูมิหลังของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ครูจึงควรส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัว มิใช่เป็นเพียงรับรู้ข้อมูลเท่านั้น แต่ ต้องจัดกระทำกับข้อมูล หรือประสบการณ์ต่างๆ และสร้างความหมายของสิ่งนั้นด้วยตนเอง แนวทางที่ 5 การสอนและฝึกทักษะการคิด โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการ ต่างๆที่เน้นการพัฒนาการคิด เช่น - รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้จัดกระทำกับ ข้อมูล จนสามารถหาคุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญของเรื่องนั้น และให้คำนิยามของมโนทัศน์นั้นด้วยตนเอง - รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ - รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักถาม ใช้กับสาระที่เป็นปัญหาขัดแย้งต่างๆ ซึ่งยากแก่การ ตัดสินใจ ช่วยให้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด รวมทั้งทำความกระจ่างในความคิดของตน แนวทางที่ 6 การบูรณาการการสอน และฝึกทักษะการคิดในการเรียนการสอนเนื้อหาสารต่างๆ การคิด เป็นกระบวนการทางสมองในการจัดกระทำกับข้อมูล สิ่งเร้าที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่ง ต้องอาศัย ทักษะการคิด ลักษณะการคิด กระบวนการต่างๆ ครูสามารถนำไปบูรณาการในการสอนตาม ความเหมาะสม เช่น สอนเรื่องพืช ครูสอนโดยให้นักเรียนฝึกทักษะการสังเกตพืช การสำรวจพืชใน ท้องถิ่น การจำแนกประเภทของพืช การตั้งคำถามเกี่ยวกับพืช การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การ 8 สรุปลงความเห็น การบูรณาการการสอนและฝึกการคิดต่างๆ ในการเรียนเนื้อหาสาระต่างๆ เป็นวิธีการที่ ครูใช้ได้มากที่สุด และดีที่สุด เพราะเป็นการพัฒนากระบวนการควบคู่กับเนื้อหาสาระ
แนวทางที่ 7 การใช้เทคนิคต่างๆที่ส่งเสริมและพัฒนาการคิด ปัจจุบันมีเทคนิคมากมายที่สำคัญมี ดังนี้ ผังกราฟฟิก เป็นแผนผังทางความคิด ประกอบด้วยความคิดหรือข้อมูลสำคัญๆที่เชื่อมโยงกันอยู่ใน รูปแบบต่างๆ ทำให้เห็นโครงสร้างของความรู้ หรือเนื้อหานั้นๆช่วยในการจัดกระทำข้อมูลให้เป็นระบบ เข้าใจและจำได้ง่าย ผังกราฟิกที่นิยมใช้มีผังมโนทัศน์ ผังก้างปลา ผังลำดับขั้นตอน ผังวัฏจักร ผังวงกลม ซ้อน เทคนิคการใช้คำถาม เป็นเทคนิดที่ใช้ได้มากที่สุด สะดวกที่สุด ประหยัดเวลาที่สุด ถ้าใช้ดีเกิด ผลประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ครูต้องมีความรู้พื้นฐานวิธีการ ทักษะ กระบวนการ ของการคิดที่ต้องการฝึก นักเรียน จึงจะสามารถตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนไปสู่จุดที่ต้องการ หรือเป้าหมายได้ คำถามที่ดีต้องช่วย กระตุ้นหรือท้าทายผู้เรียนใช้ความคิด โดยเฉพาะความคิดระดับสูง และซับซ้อนขึ้น เทคนิดการอภิปรายโดยใช้หมวก 6 ใบ เดอโบโน ได้พัฒนาเทคนิคนี้เพื่อใช้พัฒนาความคิดโดยใช้ หมวกเป็นตัวแทนของการคิด หรือแสดงความคิด และสีของหมวกแสดงแง่มุมการคิด ซึ่งฝึกให้คิดหลาย แง่มุม สีของหมวกมี 6 สี ดังนี้ สีขาว แทนความคิดที่เป็นกลางๆ ไม่มีอคติ เป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เป็นที่ยอมรับทั่วไปหรือ มีหลักฐานแสดงว่าข้อมูลเป็นความจริง สีแดง แทนความรู้สึก และอารมณ์ต่างๆทั้งทางบวกและทางลบ สีดำ แทนความคิดด้านลบ หมายถึงจุดไม่ดี จุดด้อย ความผิดพลาด ผลเสีย โทษ ความ ล้มเหลว และการมองสิ่งต่างๆในทางลบ สีเหลือง แทนความคิดด้านบวก หมายถึง ความดี ความถูกต้อง จุดเด่น คุณค่า ประโยชน์ ความสำเร็จ การมองสิ่งต่างๆในทางสร้างสรรค์ ด้านบวก สีเขียว แทนความคิดที่แสดงถึงความเจริญเติบโต เป็นธรรมชาติ สดชื่น ความรื่นรมย์ ความ อุดมสมบูรณ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ ความคิดที่จะเป็นไปได้ ความคิดที่จะก่อให้เกิด ประโยชน์ สีน้ำเงิน แทนการควบคุม การดูแล กำกับ การจัดการให้กลุ่มดำเนินการอภิปรายให้ประสบ ผลสำเร็จตามเป้าหมาย เทคนิคการบริหารสมอง สมองคนเรามี 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวา แต่ละซีกทำงานแตกต่างกัน ไม่สามารถทำงานแทนกันได้ แต่สามารถส่งเสริมสนับสนุน กระตุ้นให้อีกฝ่ายหนึ่งทำงานของตนให้ดีขึ้นได้ การบริหารสมองมีดังนี้ ท่าที่ 1 การยืดส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถผ่อนคลายความตึงเครียดของสมอง ท่าที่ 2 การเคลื่อนไหวและสลับข้าง ซ้าย ขวา จะทำให้สมอง 2 ซีก ส่งข้อมูลถ่ายโอนกันได้ดี ท่าที่ 3 การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระแสประสาท เกิดแรงจูงใจใน การเรียนรู้
ท่าที่ 4 การบริหารร่างกายง่ายๆ เป็นการบริหารอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น แขน ขา ตา ศีรษะ การพัฒนาความสามารถการคิด ความสามารถการคิด มีทั้งความสามารถด้าน ทักษะการคิด ได้แก่ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดกลุ่ม การสรุป เป็นต้น ด้านลักษณะการคิด ได้แก่ ลักษณะการคิดคล่อง การคิด ยืดหยุ่น การคิดหลากหลาย การคิดละเอียดลออ การคิดลึกซึ้ง การคิดไกล เป็นต้น และด้าน กระบวนการคิด เช่น กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ กระบวนการคิด แก้ปัญหา เป็นต้น ในที่นี้ขอนำเสนอ 4 อย่าง ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์(Analysis ) การคิดวิเคราะห์ หมายถึงการจำแนกแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆเพื่อ ค้นหาว่าทำมาจากอะไร มีองค์ประกอบอะไร ประกอบขึ้นมาได้อย่างไร มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน อย่างไร คำถามที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ จะเกี่ยวข้องกับการจำแนกแยกแยะ องค์ประกอบ การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องที่คิดกับเรื่องอื่นๆ จะถามด้วย ใคร อะไร ที่ ไหน เมื่อไร ทำไม อย่างไร ( 5 W 1 H Who What Where When Why How ) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ มีข้อมูล เพียงพอน่าเชื่อถือ เพื่อแก้ปัญหาหรือตัดสินใจเชื่อ/ทำอย่างมีเหตุผล แนวคิดหลักการที่นำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์ กิลฟอร์ด (Guilford. 1967:61) ให้ความหมายว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือ ความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล ลักษณะความคิดเช่นนี้ จะนำไปสู่ความคิดการประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมทั้งการคิดหาวิธีแก้ปัญหาได้สำเร็จด้วย ความคิดอเนก นัย ประกอบด้วยความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องตัว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) และความคิดละเอียดลออ (Elaboration) อารีพันธ์มณี (2537:9) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็น กระบวนการทางสมองที่คิดในลักษณะอเนกนัย อันนำไปสู่การค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ด้วยการคิดดัดแปลง ปรุงแต่งความคิดเติมผสมผสานกันให้เกิดสิ่งใหม่ ซึ่งรวมทั้งการประดิษฐ์ค้นพบสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการ คิด ทฤษฎีหลักการได้สำเร็จ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้มิใช่เพียงความคิดในสิ่งที่เป็นไปได้หรือสิ่งที่
เป็นเหตุผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ความคิดจินตนาการก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดความแปลก ใหม่ แต่ต้องควบคู่ไปกับความพยายามที่จะสร้างความคิดฝันหรือจินตนาการให้เป็นไปได้หรือที่เรียกว่า จินตนาการประยุกต์นั่นเอง จึงจะทำให้เกิดผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ขึ้น ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์นี้มีผู้กล่าวถึงความสำคัญไว้หลายท่าน ดังนี้ อารีสัณหฉวี (2511: 424) กล่าวว่า การศึกษาเพื่อความสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคม ปัจจุบัน เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เด็กจะต้องฝึกฝนให้รู้จักคิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องพบในชีวิตประจำวัน ชาญชัย อินทรประวัติ (2518 : 19) ได้ให้ความเห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์มีความจำเป็นต่อชีวิต เพราะในการให้การศึกษาแก่เด็กไม่สามารถจะสอนทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การสอนเด็กให้มี ความคิดสร้างสรรค์ จึงมีโอกาสนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาได้ดี อารีรังสินันท์ (2532 : 498) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อตนเองและสังคม ดังนี้ ต่อตนเอง 1.ลดความเครียดทางอารมณ์บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องการแสดง ออกอย่างอิสระทั้ง ความคิดและการปฏิบัติมีความมุ่งมั่นจริงจังในสิ่งที่คิดหากได้ทำตามที่คิดจะทำให้ลดความเครียดและความ กังวล เพราะได้ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนเอง 2.มีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและเป็นสุข บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เมื่อได้ทำสิ่งที่ตนได้ คิด ได้เล่น ได้ทดลองกับความคิดจะรู้สึกพอใจตื่นเต้นกับผลงานที่เกิดขึ้น จะทำงานอย่างเพลิดเพลินทุ่งเท อย่างจริงจังและเต็มกำลังความสามารถและทำอย่างเป็นสุข แม้จะเป็นงานหนักแต่จะเป็นเรื่องที่ง่ายและเบา จะเห็นได้ว่าการทำงานของศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และนักสร้างสรรค์สาขา ต่าง ๆ ชั่วโมง และทำอย่าง ต่อเนื่องนานหลายปีจนค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่สามารถผลผลิตผลงานสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ 3.มีความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง การได้ทำในสิ่งที่ตนคิด ได้ทดลอง ได้ปฏิบัติจริง เมื่องาน นั้นประสบความสำเร็จจะทำให้บุคคล เกิดความภาคภูมิใจและชื่อมั่นในตนเอง หากงานนั้นไม่สำเร็จบุคคลที่ มีความคิดสร้างสรรค์จะเข้าใจและยอมรับผลที่เกิดขึ้น ได้เรียนรู้และค้นพบบางสิ่งบางอย่าง ความไม่สำเร็จ ช่วงนี้จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความมุมานะพยายามและมีความกล้าที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อความสำเร็จต่อไป
ต่อสังคม 1.ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะผลงานสร้างสรรค์นำมาซึ่งความแปลกใหม่ ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้า ถ้าสังคมหยุดนิ่งจะทำให้สังคมนั้นล้าหลัง 2.เครื่องจัก รถยนต์ รถแทรกเตอร์เครื่องวิดน้ำ เครื่องนวดข้าว เครื่องเก็บผลไม้ เครื่องบด สิ่ง แหล่านี้ช่วยในการผ่อนแรงของมนุษย์ได้มาก ช่วยลดความเหนื่อยยาก ลำบากและทนทรมานได้มาก ไม่ต้อง ทำงานหนัก ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น 3.ช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย รวดเร็ว การค้นพบรถจักรยาน รถยนต์ เรือที่ใช้เครื่องจักร รถไฟ เครื่องบิน ยานอวกาศ ทำให้การคมนาคม ติดต่อกัน การเดินทางขนส่งสะดวกสบาย ก่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้ความคิด ความเข้าใจกันมายิ่งขึ้น 4.ความปลอดภัยในชีวิตและการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น การค้นพบทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีทำให้ชีวิตมนุษย์ไม่ต้องเสี่ยงอันตราย การค้นพบยารักษาโรค วัณโรค เป็นต้น การค้นพบความรู้ ใหม่ๆ ในเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพอนามัยต่าง ๆ ทำให้ประชาชนรู้จักปฏิบัติตน ในด้านการป้องกัน ดูแลสุขภาพอนามัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้น 5.ช่วยประหยัดเวลาแรงงานและเศรษฐกิจ ผลการค้นพบในด้านต่าง ๆ ทวิทยา ศาสตร์ เทคโนโลยีการแพทย์ การศึกษา การเกษตร ช่วยให้มนุษย์มีเวลามากขึ้นสามารถนำพลังงานไป ใช้ทำอย่างอื่น ก่อให้เกิดรายได้และเพิ่มพูนเศรษฐกิจได้มากขึ้น มีเวลาหาความรู้ ชื่นชมกับความ งาม สุนทรียภาพและศิลปะได้มากขึ้น 6.ช่วยในการแก้ปัญหาสังคม เนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องคิดหรือ หาวิธีใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นให้หมดไป 7.ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าและดำรงไว้ซึ่งมนุษยชาติความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ศิลปะ เทคโนโลยีเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น ช่วยยกมาตรฐานการดำรงชีวิต ทำให้มนุษย์เป็นสุขและสร้างสรรค์สังคมให้เจริญขึ้นตามลำดับ องค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์ ประสาท อินศรปรีดา (2532 : 8 – 10) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ ว่า ไม่ว่าความคิดสร้างสรรค์จะอยู่ในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม หรือระดับสังคม จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ส่วนเสมอ คือ
1. องค์ประกอบที่เป็นส่วนของความสามารถ (Abilities) หรือทักษะทางการคิด ซึ่งเป็น ศักยภาพในตัวบุคคล 2. องค์ประกอบทางแรงจูงใจ (Motivation) องค์ประกอบดังกล่าวจะอยู่ในลักษณะที่เอื้อซึ่งกัน และกันเสมอ คือจะต้องมีทั้งศักยภาพทางการคิด มีความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น กล้าเสี่ยง ซึ่งเป็น คุณลักษณะทางอารมณ์หรือสภาพแรงจูงใจที่เอื้ออำนวยต่อการคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปด้วยเสมอ ดังนั้นหาก บุคคลที่มีศักยภาพทางการคิดได้รับการฝึกให้คิด และได้รับแรงกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจที่จะคิด หรือริเริ่มสิ่ง ใหม่ ๆ ความก้าวหน้าในการคิดก็จะเกิดขึ้นได้ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2535 : 7) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ว่ามีดังนี้ คือ 1. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดที่แปลกแตกต่างจากบุคคลอื่น 2. ความว่องไวหรือความพรั่งพรู ปริมาณการคิดพรั่งพรูออกมามากกว่าบุคคลอื่น 3. ความคล่องตัว เป็นชนิดของความคิดที่ปรากฏออกมาจะแตกต่างกันไปโดยไม่ซ้ำกัน 4. ความละเอียดลออประณีต ความคิดที่แสดงออกมานั้นละเอียดลออ สามารถที่จะนำมาให้ สมบูรณ์และประณีตต่อไป 5. การสังเคราะห์คือการรวบรวมสิ่งที่คิดได้มาทำให้มีความหมายและนำมาพัฒนาต่อไปให้ สมบูรณ์เป็นจริงได้ สรุปได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิด ริเริ่ม ความคิดละเอียดลออ โดยความคิดความคิดคล่องแคล่ว และความคิดยืดหยุ่น เป็นฐานของความคิด สร้างสรรค์ส่วนความคิดริเริ่มนั้นทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา และความคิดละเอียดลออทำให้ความคิดนั้นมี รายละเอียดในการคิดมากขึ้น บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มีรายละเอียด ดังนี้ แมคคินสัน (Mackinson. 1959 :154) ได้ศึกษาบุคลิกของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พบว่า ผู้ที่มี ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นผู้ที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีสมาธิมีความพยายามสามารถพินิจพิเคราะห์ความคิด อย่างถี่ถ้วนในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังมีลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นผู้เปิดรับประสบการณ์ ต่าง ๆ ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด ทอแรนซ์(Torrance. 1962 : 81-82) ได้ศึกษาบุคลิกลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง พบว่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงเป็นคนที่มีความคิดแปลกไปจากบุคคลอื่น มีผลงานไม่ซ้ำแบบใคร
เรนวอเทอร์(Rainwater. 1965 : 6753-A) ได้ศึกษาเปรียบเทียบบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง ว่าจะมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง สามารถแกปัญหาได้ดีกว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำ ฮอลล์แมน (Hallman. 1971 : 220 – 224) ให้ข้อเสนอแนะสำหรับครู สรุป ดังนี้ 1. ให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยความคิดริเริ่มของตนเอง จะเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนอยาก ค้นพบและอยากทดลอง 2. จัดบรรยากาศการเรียนรู้แบบเสรีให้นักเรียนมีอิสระในการคิดและแสดงออกตามความสนใจและ ความสามารถของเขา ครูไม่ต้องทำตัวเป็นเผด็จการทางความคิด 3. สนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้น 4. ยั่วยุให้นักเรียนคิดหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบที่แปลกใหม่จากเดิม ส่งเสริม ความคิดจินตนาการ ส่งเสริมให้คิดหาวิธีแก้ปัญหาแบบแปลก ๆ ใหม่ ๆ 5. ไม่เข้มงวดกับคำตอบหรือผลงานที่ได้จากการค้นพบของนักเรียน ครูต้องยอมรับว่า ความ ผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ 6. ยั่วยุให้นักเรียนคิดหาวิธีการหาคำตอบแก้ปัญหาหลาย ๆ วิธี 7. สนับสนุนให้นักเรียนรู้จักประเมินผลสัมฤทธิ์และความก้าวหน้าของตนด้วยตนเอง มีความ รับผิดชอบและรู้จักประเมินตนเอง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เกณฑ์มาตรฐาน 8. ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ไวต่อการรับรู้ในสิ่งเร้า 9. ส่งเสริมให้นักเรียนตอบคำถามประเภทปลายเปิดที่มีความหมายและมีคำตอบที่เป็นความจริง แน่นอนตายตัว 10. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เตรียมความคิดและเครื่องมือในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ผู้ทำการวิจัยจึงได้นำแนวคิดของกิลฟอร์ด ที่เน้นให้คิดหลายทิศทางและรศ.ดร.อารีย์พันมณีให้ แนวคิดว่า ความคิดแปลกใหม่จะต้องควบคู่กับความพยายามที่จะสร้างความคิดผัน จึงจะทำให้เกิดผลงาน จากความคิดสร้างสรรค์นั้น ดร. วิชัย วงษ์ใหญ่ ให้แนวคิดถึงองค์ประกอบของความสร้างสรรค์โดยเริ่มที่ ความคิดสร้างสรรค์ ความว่องไว ความคล่องตัว มาเป็นพื้นฐานในการคิด และที่สำคัญ ถ้าเด็กได้รับการฝึก ให้รู้จักคิดสิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้เด็กแก้ปัญหาได้ดีขึ้น อีกทั้งลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเป็น
ผู้ตื่นตัวตลอดเวลา ชอบแสดงออก ในบทบาทของครูผู้สอนจึงได้ฟังข้อเสนอแนะของฮอลล์แมน มาใช้คือ จัดบรรยากาศในการเรียนแบบเสรีอิสระในการคิด ยั่วยุให้นักเรียนหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาในหลาย วิธีการ อีกทั้งกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามแบบปลายเปิด เพื่อให้นักเรียนได้คิดในเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ ในแนวกว้าง นำมาสู่บุคลิกภาพที่ดีความฉลาดทางอารมณ์และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1.การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. การกำหนดเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย 3. การกำหนดระยะเวลาในการวิจัย 4. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5. การกำหนดแบบแผนการวิจัย 6. การเก็บรวบรวมข้อมูล 7. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล 1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ใช้ประชากร เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 84 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 ภาค เรียนที่1ปีการศึกษา 2566 โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling )จำนวนนักเรียน 44 คน 2. การกำหนดเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้เนื้อหาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืช” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3. การกำหนดระยะเวลาในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 1.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช”
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1. แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” มีขั้นตอนการสร้างดังนี้ 1.1 ขั้นเตรียม 1.1.1 ศึกษาหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดประสงค์สาระการเรียนรู้และขอบข่าย เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับ ประถมศึกษาตอนต้น 1.1.2 ศึกษารายละเอียด หลักการและแนวคิด รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก ทักษะ 1.1.3 ศึกษารายละเอียดเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ( เรื่องการดำรงชีวิตของพืช ) 1.1.4 วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มโนมติ เนื้อหาวิชา และกิจกรรม การเรียนการสอน 1.2 ขั้นสร้าง สร้างแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว โดยจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนได้ลงมือ ปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ และความเชี่ยวชาญชำนาญการ มีความรู้ ความ เข้าใจอย่างลึกซึ้ง สามารถหาคำตอบได้อย่างถูกต้อง 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง “ การ ดำรงชีวิตของพืช” มีขั้นตอนดังนี้ 2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล และการสร้างข้อสอบ 2.2 ศึกษาจุดประสงค์ และเนื้อหากลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ 2.4 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริง
5. การกำหนดแบบแผนการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการ วิจัย One Group Pretest - Posstest Design ดังแสดงในตาราง 1 ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัย One Group Pretest - Posstest Design ก่อนเรียน ทดลอง หลังเรียน Pr X Po Pr แทน การทดสอบก่อนการทดลอง Po แทน การทดสอบหลังการสอบ X แทน แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืช” 6. การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้ 1. ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ดำเนินการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืช” 3. นำผลคะแนนจากการตรวจแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์ โดยใช้ วิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานต่อไป
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน การทำแบบทดสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 3 จำนวน 26 คน สัญลักษณ์ที่ใช้นำเสนอข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล จากสูตรที่ใช้ N = แทนจำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง X = แทนคะแนนเฉลี่ย ตารางที่ 1 ค่าสถิติพื้นฐานคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “ การ ดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 จำนวน 44 คน นักเรียนคนที่ คะแนนก่อน เรียน (20คะแนน) คะแนนหลัง เรียน (20คะแนน) นักเรียนคนที่ คะแนนก่อน เรียน (20คะแนน) คะแนนหลัง เรียน (20คะแนน) 1 10 13 24 17 19 2 14 17 25 18 19 3 16 19 26 18 20 4 15 18 27 18 20 5 6 16 28 11 16 6 7 12 29 15 18 7 19 18 30 13 16 8 6 11 31 8 17 9 13 18 32 17 19 10 16 17 33 19 19 11 9 14 34 18 18 12 10 16 35 18 18 13 12 16 36 11 10
14 11 12 37 13 15 นักเรียนคนที่ คะแนนก่อน เรียน (20คะแนน) คะแนนหลัง เรียน (20คะแนน) นักเรียนคนที่ คะแนนก่อน เรียน (20คะแนน) คะแนนหลัง เรียน (20คะแนน) 15 13 17 38 8 13 16 18 19 39 12 13 17 11 6 40 11 17 18 13 16 41 10 15 19 14 12 42 8 2 20 13 18 43 14 19 21 16 19 44 11 8 22 12 17 23 15 19 คะแนนรวม 576 696 คะแนนเฉลี่ย 13.09 15.81 ตารางที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 3 การทดสอบ N X X ก่อนเรียน 44 576 13.09 หลังเรียน 44 696 15.81 จากตารางที่ 2 ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ย เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 2.72
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 สรุป สาระสำคัญได้ดังนี้ จุดมุ่งหมายในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดความมุ่งหมายไว้ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านกระบวนการคิดวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การ ดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การ ดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัวก่อน และหลังการทำแบบฝึกทักษะ สมมติฐานในการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 84 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ( Purposive sampling ) จำนวนนักเรียน 44 คน เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง“ การดำรงชีวิต ของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับดังนี้ 1. ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ดำเนินการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง“การ ดำรงชีวิตของพืช” 3. เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้แล้ว ทำการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 4. นำผลคะแนนจากการตรวจแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์ โดยใช้ วิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป การจัดกระทำข้อทูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การ ดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 ก่อนและหลังการทำแบบฝึก ทักษะโดยการหาค่า t - test Dependent สรุปผลการวิจัย การฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง”การ ดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 สรุปผลได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดย ใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง “ การดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 13.09 ส่วนหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 15.81 ตามลำดับ 2. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง “ การ ดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 หลังการเรียนสูงกว่าก่อน การเรียนรู้
อภิปรายผลการวิจัย จากการศึกษาการฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง“ การดำรงชีวิตของพืช” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 2 และ ห้อง 3 พบว่านักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมุ่งเน้นให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษา และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการให้นักเรียนซักถามเพื่อให้เกิดความกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และมี ความเชื่อมั่นในตนเอง ข้อเสนอแนะ 1. ครูควรอธิบายแนะนำขั้นตอน ประโยชน์และความสำคัญของการทำแบบฝึกทักษะให้ผู้เรียน ได้รับทราบ พร้อมทั้งอธิบายถึงความสำคัญของทักษะหรือคุณสมบัติของผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาควบคู่ไปกับ การพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกัน 2. การเรียนการสอนจะสำเร็จได้ด้วยดี ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ดังนั้นการทำข้อตกลง กันอย่างชัดเจนถึงจุดประสงค์ที่ต้องการ เป็นเรื่องสำคัญเพราะจะไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด
บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ.(2545) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ องค์การรับส่ง สินค้าและ พัศดุภัณฑ์ . กมลรัตน์ เหล้าสุวรรณ . (2523). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีราชา. กาญจนา วัฒนายุ. การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. สถาบันพัฒนาผู้บริหาร การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กุศมา แสงเดช.(2545) การวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูประถมศึกษา. กรุงเทพฯ :แม็ค. คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพวิชาการ กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. (2546). แนวทางการ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เวิลดิ์มีเดีย พัชนี เชยจรรยา. (2541) แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง. ล้วน สายยศ และอัคณา สายยศ. (2531). หลักการวิจัยการศึกษา . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : บริษัทศึกษาจำกัด วรรณวิไล พันธุ์สีดา (2543) การวิจัยในชั้นเรียนขั้นพื้นฐานสำหรับครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542, มกราคม). “ยุทธศาสตร์การสอน,” วารสารวิชาการ.2(1) : 51-79. สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม. (2518). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พีระพัฒนา. สุนีย์ ธีรดากร. (2525). จิตวิทยาการศึกษา. นนทบุรี: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.
ภาคผนวก