คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส านักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ก ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... ค าน า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นอกจากจะเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนแล้ว อีกภารกิจหลักของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ส าคัญ คือ การบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ประชาชนทั่วไป ในทุก ๆ สายอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพภาคการเกษตร ซึ่งมาหวิทยาลัยแม่โจ้มีโครงการพื้นที่ เกษตรอินทรีย์ต้นแบบ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ประสานงานหน่วยรับรองจากส านักงานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) เพื่อขอรับรองพื้นที่เกษตรอินทรีย์ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ ซึ่งมีทั้งแปลงผลิตผักอินทรีย์แปลงเมล็ด พันธุ์ผักอินทรีย์ แปลงล าไยอินทรีย์แปลงมะม่วงอินทรีย์แปลงสมุนไพรอินทรีย์และแปลงกัญชาอินทรีย์เป็น ต้น รวมถึงมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร ได้ประสานงานหน่วยรับรอง จากส านักงานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และกรมวิชาการเกษตรเข้ารับรองพื้นที่แปลงด้วยเช่นเดียวกัน ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดท าคู่มือการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้นี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสื่อสารกระบวนการการรับรองเกษตรอินทรีย์ให้ เกษตรกรรายย่อย หน่วยงาน องค์กร และผู้สนใจท าเกษตรอินทรีย์ ได้มีแรงผลักดันในการท าเกษตรอินทรีย์ แบบได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยกลุ่มเกษตรกรที่มีแนวความคิดเดียวกันหมุนเวียนผลัดเปลี่ยน กันตรวจแปลง ซึ่งจะมีผู้บริโภคและนักวิชาการร่วมในกระบวนการตรวจนี้ด้วย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้แก่ผู้บริโภค ทั้งยังเป็นทางออกอีกทางหนึ่งให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ยังไม่มีทุนมากนักแต่ต้องการขอการ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และยังเป็นแนวทางให้เกษตรกรอินทรีย์เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผลผลิต และผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพื่อการขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในมาตรฐานที่สูงขึ้นได้ในอนาคต ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอขอบคุณ มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย (มกอท.) สวนสามพราน โมเดล และสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน ที่ให้ค าปรึกษาในการจัดท าคู่มือการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วน ร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้เรียบเรียงและคณะผู้จัดท า กันยายน 2565
ข ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... สารบัญ หน้า ค าน า ก สารบัญ ข สารบัญภาพ ง สารบัญตาราง จ โครงสร้างองค์กรแม่โจ้ พี จี เอส ฉ หน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรองค์กรแม่โจ้ พี จี เอส ช บทที่ 1 การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 1 ความเป็นมาของการรับรองเกษตรอินทีย์แบบมีส่วนร่วม 1 นิยามความหมาย 1 หลักการพื้นฐานของการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 1 ลักษณะรูปแบบส าคัญของระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 2 บทที่ 2 การรวมกลุ่มขับเคลื่อน พี จี เอส 4 การรวมกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ 4 การยอมรับและการประยุกต์ใช้ 4 การลงทะเบียนกับศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 5 คุณสมบัติของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส 5 บทที่ 3 การควบคุมภายในกลุ่มและเอกสารที่จ าเป็น 7 ผู้บริโภคจะเชื่อมั่นในกระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกได้อย่างไร ? 7 การจัดเอกสารที่จ าเป็นในการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 7 บทที่ 4 การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน 11 ลักษณะเฉพาะของการตรวจเยี่ยมฟาร์มแบบมีส่วนร่วม 11 ภาพรวมความแตกต่างระหว่างการรับรองแบบมีส่วนร่วม กับการรับรองแบบกลุ่มโครงการ 12 บทที่ 5 การจัดองค์กรในการรับรอง และขั้นตอนการให้การรับรอง 13 บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละระดับในกระบวนการรับรอง 13 ขั้นตอนการปฏิบัติการให้การรับรองในระดับต่าง ๆ 15 บทที่ 6 การประทับตราสัญลักษณ์ (LOGO seal) และทะเบียนผู้ได้รับการรับรอง 20 การประทับตราและการติดฉลาก 20 ชนิดของตราสัญลักษณ์ 20 เงื่อนไขในการใช้ตราสัญลักษณ์ 20 การก าหนดรหัสได้รับการรับรอง 21
ค ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... สารบัญ (ต่อ) บรรณานุกรม 22 ภาคผนวก 23 ภาคผนวก ก แบบบันทึกสัญญาข้อตกลง 24 ภาคผนวก ข คณะที่ปรึกษาและคณะท างาน 48
ง ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 1 หลักการพื้นฐานของการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 2 ภาพที่ 2 การรวมกลุ่มเกษตรกร พี จี เอส 4 ภาพที่ 3 กระบวนการของระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมโดยทั่วไป 5 ภาพที่ 4 แสดงเอกสารและการควบคุมภายในของกลุ่ม 8 ภาพที่ 5 แผนภูมิบทบาทแต่ละกลุ่มในการให้การรับรอง 18 ภาพที่ 6 ขั้นตอนการให้การรับรองในการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 19 ภาพที่ 7 โลโก้ พี จี เอส มหาวิทลัยแม่โจ้ และรหัสการรับรอง 21 ภาพที่ 8 โลโก้ พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรหัสการรับรอง ในระยะปรับเปลี่ยน 21
จ ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 ความแตกต่างระหว่างการรับรองแบบมีส่วนร่วม กับการรับรองแบบกลุ่มโครงการ 12 ตารางที่ 2 พื้นที่ภายในโรงเรือน 34 ตารางที่ 3 พื้นที่ภายนอกโรงเรือน 35 ตารางที่ 4 เทคนิคและข้อห้ามการเลี้ยงสุกร 39
ฉ ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... โครงสร้างองค์กรแม่โจ้ พี จี เอส
ช ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... หน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรองค์กรแม่โจ้ พี จี เอส 1. ผู้อ านวยการส านักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร - มอบนโยบายและแผนในการด าเนินงาน 2. ประธาน - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกปฏิบัติตาม นโยบาย แนวทาง คู่มือ แผนปฏิบัติงาน มาตรฐาน และกฎระเบียบ - ประสานงานระหว่างองค์กรแม่โจ้ พี จี เอส กับหน่วยงานอื่น ๆ และประสานงานภายในองค์กรแม่โจ้ พี จี เอส - ควบคุมสมาชิกให้การผลิตเป็นไปตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่ก าหนด - ดูแลและจัดท าบัญชีรายรับ-รายจ่าย - ควบคุม จัดเก็บและรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงิน 3. ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ แม่โจ้ พี จี เอส - ประสานงานภายในองค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ฝึกอบรม ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง - ให้การฝึกอบรมแก่เกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ 4. คณะกรรมการรับรองเกษตรอินทรีย์ แม่โจ้ พี จี เอส - ตัดสินให้การรับรอง และตัดสินการรับรองเกษตรกรแต่ละรายจากผลการตรวจฟาร์ม - ตัดสินลงโทษเกษตรกรที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แม่โจ้ พี จี เอส - ด าเนินงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากประธาน 5. ผู้ตรวจฟาร์ม แม่โจ้ พี จี เอส - วางแผนการประเมินความเสี่ยงครั้งแรก เมื่อรับสมาชิกใหม่ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มี ผลกระทบต่อความเสี่ยง - ด าเนินการตรวจฟาร์มอย่างน้อยปีละครั้ง และด าเนินการตรวจเยี่ยมฟาร์มก่อนรับสมาชิกใหม่ - บันทึกการตรวจฟาร์ม และรายงานผลความไม่สอดคล้องจากการตรวจสอบการท างานของ เกษตรกรต่อประธาน - ติดต่อประสานกับเกษตรกรในการเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์ม 6. ผู้ประสานงาน ระบบแม่โจ้ พี จี เอส - ปฏิบัติงานเเทนประธานในกรณีที่ได้รับมอบหมาย หรือในกรณีที่ประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ - บริหารจัดการและให้การสนับสนุนกิจกรรม การตรวจฟาร์มภายใน และจัดเก็บเอกสารและบันทึก ที่เกี่ยวข้อง
ซ ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... - ให้ความช่วยเหลือในการบันทึกข้อมูลของเกษตรกรที่ไม่สามารถจดบันทึกการผลิตของตนได้ - ติดต่อประสานงานด้านระบบการควบคุมภายในของกลุ่ม และการตรวจสอบภายในกลุ่ม และ ประสานงานองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเกษตรอินทรีย์ และประสานงานแจ้งข่าวสารหรือ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ประชุมได้ลงมติไว้แล้วให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ - จัดท า คู่มือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม - คัดเลือกเกษตรกรเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม ก าหนดสถานะการปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ภายใน - จัดท าทะเบียนรายชื่อเกษตรกร จัดท าประวัติฟาร์ม - ประสานงานในการจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการผลิตในฟาร์ม การปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต และข้อมูลทางเทคนิคแก่เกษตรกรภายในกลุ่ม - จัดการประชุมและบันทึกรายงานการประชุม - ส่งเสริมจิตส านึกของสมาชิกในการปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบของกลุ่ม - รายงานผลการด าเนินงาน - สรุปความเสี่ยงหลักจากผลการประเมินความเสี่ยงที่เป็นจุดวิกฤติในการควบคุม และพิจารณาหา มาตรการป้องกันที่เหมาะสม - รวบรวมรายงานผลการด าเนินงานของกลุ่มให้กับประธานทราบ - จัดเก็บเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้อง - ด าเนินงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากประธาน 7. เกษตรกร - ด าเนินการผลิต และปฏิบัติตามตามวิธีการ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คู่มือและกฎระเบียบ - บันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่าง ๆ ในฟาร์มและจัดเก็บบันทึกไว้เพื่อการตรวจสอบ - รายงานความบกพร่องต่าง ๆ ที่มีผลต่อความไม่ปลอดภัยของผลผลิต และความไม่สอดคล้องกับ วิธีการ มาตรฐานและกฎระเบียบของระบบ แม่โจ้ พี จี เอส - ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบฟาร์ม - ด าเนินงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากประธาน
1 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... บทที่ 1 การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ความเป็นมาของการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม การรับรองเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่งที่เป็นการรับรองเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่มโดยองค์กร ผู้ผลิตเอง (first party certification) แต่ในบางกรณี ก็อาจเป็นการด าเนินการของผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกร (second party certification) แต่ไม่ใช่เป็นการตรวจรับรองโดยหน่วยงานอิสระ (third party) โดยระบบ ชุมชนรับรองนี้จะให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในระบบการตรวจรับรองมากกว่าระบบการ ตรวจรับรองแบบอื่น โดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติหรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า IFOAM – Organic International กับหน่วยงานระหว่างประเทศและองค์กรท้องถิ่นอีกหลายแห่ง ซึ่งเห็นว่าระบบการตรวจสอบ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ด าเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอกนั้นไม่ได้เหมาะกับเกษตรกรที่ท า เกษตรอินทรีย์เพื่อจ าหน่ายในท้องถิ่น เพราะระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยองค์กร อิสระมีระเบียบข้อก าหนดที่ค่อนข้างเข้มงวด สลับซับซ้อน และข้อบังคับมากเกินความจ าเป็น อีกทั้งยังมี ค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองที่สูง ทาง IFOAM ร่วมกับเครือข่ายในประเทศต่าง ๆ จึงได้สนับสนุนให้มีการ ประชุมเรื่องนี้ขึ้นเมื่อกลางเดือนเมษายน 2547 ที่ประเทศบราซิล โดยวิฑูรย์ ปัญญากุล จากกรีนเนท เป็น ตัวแทนคนเดียวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว หลังการ ประชุมในครั้งนั้น ทาง IFOAM ได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิต/ชุมชนมีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบกันเอง ซึ่งเรียกว่า Participatory Guarantee System (PGS) หรือถ้าจะเรียกแบบไทย ๆ ก็คือ “ชุมชนรับรอง” นิยามความหมาย ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems หรือ PGS) IFOAM ให้ค านิยามไว้ว่า PGS เป็นระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่นที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมี ส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบนพื้นฐานของความไว้วางใจ เครือข่ายทางสังคมและการแลกเปลี่ยนความรู้ หลักการพื้นฐานของการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐานของการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS มี 6 ประการ ดังนี้ 1. วิสัยทัศน์ร่วม (shared vision) ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคในหลักการพื้นฐานของระบบ ชุมชนรับรอง ซึ่งการมีส่วนร่วมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการก็ได้ 2. การมีส่วนร่วม (participatory) ของผู้ที่สนใจในการบริโภคและการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ จากระบบนี้ หลักการและมาตรฐานการผลิตเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ผู้ผลิต ที่ปรึกษา ผู้บริโภค) ซึ่งท าให้ระบบมีความน่าเชื่อถือเพราะการมีส่วนร่วมนี้
2 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 3. ความโปร่งใส (transparency) ที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงกลไกและ กระบวนการในการตรวจรับรองทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจ าเป็นต้องรู้รายละเอียดทุกอย่างเท่ากัน และในขณะเดียวกันก็ต้องมีการปกป้องข้อมูลที่อาจะเป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า 4. ความเชื่อมั่นต่อกัน (trust) ระบบชุมชนรับรองตั้งอยู่บนฐานความเชื่อว่า เราสามารถเชื่อถือ เกษตรกรได้ และการใช้กลไกควบคุมทางสังคม/วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ได้ 5. กระบวนการเรียนรู้ (learning process) ระบบชุมชนรับรองไม่ใช่มีเป้าหมายเพียงเพื่อให้การ รับรองผลผลิต และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาชุมชนและเกษตรอินทรีย์ 6. ความเชื่อมโยงในแนวราบ (horizontality) ที่เป็นการแบ่งปันอ านาจและความรับผิดชอบของผู้คน ที่เกี่ยวข้อง ภาพที่ 1 หลักการพื้นฐานของการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ลักษณะรูปแบบส าคัญของระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม มีดังนี้ 1. มาตรฐานและข้อก าหนดถูกพัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Norms conceived by the stakeholders) 2. มีฐานจากองค์กรรากหญ้า (Grassroots Organization) 3. เหมาะกับการเกษตรของเกษตรกรรายย่อย (Is appropriate to smallholder agriculture) หลักการ พื้นฐาน
3 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 4. มีหลักการและระบบคุณค่า (Principles and values) ที่มีเป้าหมายในการยกระดับความเป็นอยู่ ของครอบครัวเกษตรกรและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ 5. มีเอกสารที่อธิบายระบบการบริหารจัดการและขั้นตอนการท างาน (Documented management systems and procedures) ซึ่งควรก าหนดให้เกษตรกรต้องจัดท าเอกสารข้อมูลเท่าที่จ าเป็นจริง ๆ แต่ระบบ ชุมชนรับรองควรต้องมีระบบการบันทึกที่แสดงให้เห็นได้ว่า เกษตรกรได้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จริง 6. มีกลไกในการยืนยันการปฏิบัติตามมาตรฐานของเกษตรกร (Mechanisms to verify farmer’s compliance) 7. มีกลไกในการสนับสนุนเกษตรกร (Mechanisms for supporting farmers) เพื่อให้เกษตรกร สามารถท าเกษตรอินทรีย์ได้จริง 8. มีข้อตกลงหรือสัตยาบันของเกษตรกรในการปฏิบัติตามข้อก าหนดและมาตรฐาน (A bottom-line document) 9. มีตรารับรอง (Seals or labels) ที่เป็นหลักฐานแสดงสถานะความเป็นเกษตรอินทรีย์ 10. มีบทลงโทษที่ชัดเจนและแจ้งล่วงหน้า (Clear and previously defined consequences) ส าหรับเกษตรกรที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน และมีการบันทึกการลงโทษในระบบฐานข้อมูล หรือเปิดเผยให้ สาธารณะได้รับทราบ
4 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... บทที่ 2 การรวมกลุ่มขับเคลื่อน พี จี เอส การรวมกลุ่มขับเคลื่อน พี จี เอส เกิดขึ้นได้จากความต้องการของกลุ่มเกษตรกรเป็นหลัก โดยแสวงหา แนวร่วมการพัฒนาร่วมกับหน่วยงาน หรือองค์กร หรือผู้ประกอบการ หรืออาสาสมัคร เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดังนี้ 1. การรวมกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ เกิดจากผู้ผลิตที่มีรูปแบบการเกษตรใกล้เคียงกัน หรืออยู่บริเวณหมู่บ้านใกล้กัน 5 รายขึ้นไปรวมตัวกัน ต้องการมีใบรับประกันความเป็นอินทรีย์ แต่ไม่ต้องการใช้บริการหน่วยตรวจรับรองเพราะเสียค่าใช้จ่ายสูงและมี ระบบบันทึกข้อมูลเอกสารที่ซับซ้อน อีกทั้งผลผลิตที่ได้หลากหลายชนิดและปริมาณไม่มาก และต้องการเปิด ตลาดท้องถิ่น เช่น ตลาดนัดสีเขียว การขายตรงให้แก่สมาชิก หรือเหตุผลทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมี หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรสนับสนุน ต้องการส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม ความเสมอภาคของการกระจาย รายได้ และต้องการร่วมสร้างตลาดทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพ ภาพที่ 2 การรวมกลุ่มเกษตรกร พี จี เอส 2. การยอมรับและการประยุกต์ใช้ การรวบรวมแนวร่วมสนับสนุน หรือการเป็นพี่เลี้ยง ของหน่วยราชการ องค์กรอิสระ สถาบันในท้องถิ่น นักวิชาการ นักส่งเสริม และผู้บริโภค ฯ ในการเริ่มต้นพัฒนาระบบการจัดท าโครงการของกลุ่มจะต้องศึกษา ระบบการรรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมมาก าหนดเป็นข้อก าหนดการปฏิบัติของกลุ่ม และจัดท า องค์กรจัดระบบ พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หน่วยงาน หรือองค์กร สนับสนุนในพื้นที่ กลุ่มเกษตรกร/ ผู้ประกอบการ ผู้ท าเกษตรอินทรีย์ ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ผลิตได้มาตรฐาน เข้าสู่ตลาดที่สูงขึ้นได้ สร้างงาน สร้างอาชีพ
5 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... แนวทางปฏิบัติที่เป็นภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย และมีกฎเกณฑ์ในการควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตาม และก าหนด บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม เกษตรกรต้องร่วมกระบวนการกลุ่มตลอด สมัครใจร่วมโครงการ และต้องยอมรับ ข้อก าหนดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มและปฏิบัติตามกฎกติกาของกลุ่ม รวมถึงการเข้าร่วมประชุม ร่วมกิจกรรมที่ ส าคัญของกลุ่ม อีกด้วย 3. การลงทะเบียนกับศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้รับขึ้นทะเบียนแล้ว จะด าเนินการฝึกอบรมความรู้ที่จ าเป็นใน การจัดท าระบบเอกสาร และกระบวนการรับรองให้กับกลุ่ม รวมทั้งการฝึกอบรมให้เกษตรกรเป็นผู้ตรวจฟาร์ม ตามมาตรฐาน และติดตามให้ค าแนะน ากลุ่ม หากเป็นกลุ่มที่เคยอบรมระบบควบคุมภายในมาแล้วก็สามารถ ด าเนินการได้เลย ภาพที่ 3 กระบวนการของระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมโดยทั่วไป ที่มา: มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย (2559) คุณสมบัติของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ที่เข้าร่วมโครงการ 1. มีการรวมกลุ่มผู้ผลิตที่มีลักษณะการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่คล้ายกันหรืออยู่หมู่บ้านเดียวกัน 5 รายขึ้น ไป และพื้นที่การผลิตเหมาะสมกับระบบเกษตรอินทรีย์ 2. กลุ่มผู้ผลิตต้องมีแนวคิดมุ่งมั่นที่จะท าเกษตรอินทรีย์ ไม่เปลี่ยนกลับไปกลับมากับการผลิตปกติ เพื่อ พัฒนา คุณภาพชีวิตที่ดี มีความซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ต่อทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
6 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 3. กลุ่มผู้ผลิตมีความสมัครใจ และต้องการมีการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นให้ผู้บริโภค และขยายฐานการตลาด 4. กลุ่มมีความเข้มแข็งด้านศักยภาพของคนในชุมชน การบริหารจัดการกลุ่ม เช่น การรวมกลุ่มผลิต และจัดการด้านการตลาด ซึ่งเป็นหลักประกันในความส าเร็จของโครงการ 5. มีภาคีเครือข่ายจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรท้องถิ่น เอกชน เป็นพี่เลี้ยงหรือเป็นผู้สนับสนุน หรือส่งเสริมการเรียนรู้ หรือจัดหาช่องทางตลาด
7 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... บทที่ 3 การควบคุมภายในกลุ่มและเอกสารที่จ าเป็น การควบคุมภายในกลุ่มมีความจ าเป็นอย่างยิ่ง โดยมีหลักเกณฑ์ในการควบคุมภายในสมาชิกในกลุ่ม จะต้องปฏิบัติตามทุกคน ทุกกลุ่ม ซึ่งจะใช้เอกสารที่จ าเป็น ดังต่อไปนี้ 1. ผู้บริโภคจะเชื่อมั่นในกระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกได้อย่างไร ? การสร้างความเชื่อมั่นได้นั้น กลุ่มผู้ผลิตจะต้องจัดท าระบบการควบคุมภายใน โดยใช้หลักการของ พี จี เอส ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นกระบวนการทางสังคมซึ่งมีหลากหลายวิธีปฏิบัติและไม่มีสูตรส าเร็จ ได้แก่ 1. กลุ่มมีความเข้มแข็ง สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม เช่น จัดให้มีการประชุมทุกเดือน พบปะ ตรวจเยี่ยมแปลงผลิตหมุนเวียนกัน ทุกฟาร์มมีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ 2. การมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ โครงสร้างกลุ่ม กฎกติกากลุ่ม มีค าปฏิญญา ขั้นตอนการ ตรวจเยี่ยมฟาร์มประจ าปี วิธีการรับรอง และบทลงโทษกรณีสมาชิกฝ่าฝืนข้อก าหนด 3. สร้างความเชื่อมั่นด้วยระบบการตรวจเยี่ยมฟาร์ม โดยกลุ่มแต่งตั้งคณะผู้ตรวจเยี่ยมเพื่อน มีหน้าที่ ตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน และเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเครือข่ายสังคมของท้องถิ่นร่วมตรวจเยี่ยมฟาร์ม ท าให้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนะน าเพื่อนในการพัฒนาการผลิตเข้าสู่มาตรฐาน 4. ให้ผู้บริโภค หรือผู้ประกอบการมีส่วนร่วม เช่น การจัดให้มีวันผู้บริโภคพบผู้ผลิตเยี่ยมฟาร์มของกลุ่ม หรือร่วมการตรวจเยี่ยมฟาร์ม หรือร่วมประชุมกลุ่ม 5. ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จากทะเบียนผู้ได้รับการรับรองในระบบสื่อสารสนเทศของ องค์กร จัดระบบเพื่อให้ผู้บริโภคทั่วไปสามารถตรวจสอบได้ถึงวิธีการผลิตและกระบวนรับรองฟาร์ม 2. การจัดเอกสารที่จ าเป็นในการรับรองแบบมีส่วนร่วม ในระบบนี้ต้องการให้มีเอกสารน้อยที่สุด ความส าคัญอยู่ที่การปฏิบัติในฟาร์ม และความมุ่งมั่นของ ผู้ผลิต โดยมีกฎกติกาบทลงโทษในการควบคุมผู้ผลิต รวมทั้งจิตวิญญาณในการด าเนินการร่วมกัน แต่เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นกลุ่ม จะต้องท าเอกสารแสดงเจตน์จ านงค์และวิธีการควบคุมสมาชิก ดังนี้ 2.1 กลุ่มเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ต้องจัดท า ได้แก่ 2.1.1 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และข้อก าหนดการได้รับการรับรองของกลุ่ม - กลุ่มจะต้องจัดท าข้อก าหนดการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเป็นภาษาที่ง่าย ๆ สั้น ๆ ต่อ ความเข้าใจของผู้ผลิต โดยรวมเอาข้อก าหนดของการผลิตเกษตรอินทรีย์ กฎระเบียบ/มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วมแนบท้ายนี้เป็นต้นแบบ ทั้งนี้ต้องพิจารณาตามลักษณะการผลิต ขนาด ฟาร์ม สภาพเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตวัฒนธรรม ทรัพยากรแต่ละพื้นที่ และต้องค านึงถึงความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพและสวัสดิภาพสัตว์ - ต้องเขียนหลักปรัชญาของกลุ่มที่ชัดเจน คุณค่าในการท าแจ้งไว้ชัดเจน และเผยแพร่ให้กับ สาธารณะรับรู้
8 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... - รูปแบบข้อก าหนดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มต้องเหมาะสมกับทุนทรัพยากร แรงงาน การลงทุน และความรู้ความสามารถของผู้ส่งเสริม และเกษตรกร - ข้อปฏิบัติต้องได้รับการสื่อสารให้ผู้ผลิตทุกคนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วยภาษาท้องถิ่น - หากสมาชิกไม่สามารถอ่านและเขียนได้ ผู้จัดการกลุ่มต้องมีการอธิบายรายละเอียดของ ข้อก าหนด หรือการตรวจการปฏิบัติจริง สิ่งไหนท าได้ สิ่งไหนเป็นข้อห้ามส าคัญ และมีการทบทวนการปฏิบัติ เป็นระยะ ภาพที่ 4 แสดงเอกสารและการควบคุมภายในของกลุ่ม 1. คู่มือการผลิตเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม กลุ่มต้องจัดท าเอกสารที่จ าเป็น ดังนี้ - โครงสร้างกลุ่ม ก าหนดบทบาทหน้าที่ของกรรมการ - ขั้นตอนการตรวจประเมินและกระบวนการรับรองฟาร์ม - รายการตรวจประเมินฟาร์ม (checklists) - การใช้ตราสัญลักษณ์ - บทลงโทษการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ - ฐานข้อมูลของสมาชิก (ตามแบบฟอร์ม M - 3) 2. สมาชิกแต่ละรายให้ ค าปฏิญญาการปฏิบัติตามข้อบังคับของกลุ่ม โดยจัดท าแบบฟอร์มสัญญา ให้สมาชิกเซ็นชื่อว่าจะปฏิบัติตามข้อก าหนดในมาตรฐานและกฎกติกาของกลุ่ม หรือการกล่าว ค าสัตย์ ปฏิญาณร่วมกัน 3. บันทึกการตรวจประเมินฟาร์ม และการตรวจติดตาม 4. บันทึกการประชุม และรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
9 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 5. ข้อมูลผู้ได้รับการรับรอง 6. บันทึกข้อแนะน าแก้ไขด้านเทคนิคของที่ปรึกษา ส าหรับเกษตรกรผู้ผลิต ต้องจัดท าแผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ของฟาร์ม (แบบฟอร์ม M - 2) ประกอบด้วย ข้อมูล ดังนี้ 1. แผนผังฟาร์ม แสดงแปลงผลิตทุกแปลงพร้อมมีหมายเลขก ากับ 2. ชนิดของพืช ชนิดสัตว์ที่เลี้ยง และปริมาณผลผลิตต่อปี 3. การจัดการดิน น้ า การควบคุมศัตรูพืช สัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์ 4. หลักฐานการน าเข้าปัจจัยการผลิต แสดงแหล่งที่มา เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ อาหารสัตว์ เป็นต้น หมายเหตุ : การควบคุมภายในที่ดีไม่ส าคัญที่บันทึก อยู่ที่สมาชิกมีความมุ่งมั่นในหลักการเกษตร อินทรีย์ เข้าใจในมาตรฐาน การผลิต และการควบคุมกันเองของสมาชิกที่ใกล้ชิดกัน รวมทั้งความ สามารถของผู้ตรวจฟาร์มที่จะประเมินความสามารถใน การจัดการฟาร์มของสมาชิก และค าแนะน า ของผู้ร่วมตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน
10 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... บทที่ 4 การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมนั้น หลักส าคัญอย่างหนึ่ง คือ ต้องมีการตรวจเยี่ยม ฟาร์มเพื่อนผู้ท าเกษตรอินทรีย์ทั้งภายในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม โดยจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ลักษณะเฉพาะของการตรวจเยี่ยมฟาร์มแบบมีส่วนร่วม 1. เป็นการตรวจประเมินการท าตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม โดยคณะผู้ตรวจเยี่ยมซึ่งเป็น เกษตรกรด้วยกัน และได้รับการแต่งตั้งจากกลุ่ม ซึ่งอาจมีที่ปรึกษากลุ่มหรือผู้บริโภคเข้าร่วมตรวจด้วย รูปแบบ การตรวจไม่ใช่การจับผิดหรือตรวจตามข้อก าหนดเท่านั้น แต่เป็นการตรวจสอบความเข้าใจในมาตรฐานและวิธี ปฏิบัติในฟาร์ม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันถึงแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐาน 2. การตรวจเยี่ยมฟาร์มเป็นแบบเพื่อนเยี่ยมเพื่อน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 2.1 ฟาร์มหรือสถานที่ผลิตต้องได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับลักษณะการผลิต และมีการตรวจติดตามโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 2.2 เทคนิคการตรวจฟาร์มต้องกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิก และกระบวนเรียนรู้ เน้น การมีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการตรวจเยี่ยมฟาร์มประจ ากลุ่มท าหน้าที่สรุปผลการตรวจ 2.3 การตรวจฟาร์ม โดยคณะกรรมการตรวจเยี่ยมฟาร์มอย่างน้อย 3 คน ในแต่ละครั้งเลือก กรรมการตรวจที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น ไม่ตรวจฟาร์มตนเอง ไม่ตรวจญาติพี่น้อง ควรตรวจข้ามหมู่บ้าน ควรเชิญที่ปรึกษา นักวิชาการร่วมตรวจ และเจ้าของฟาร์มจะต้องอยู่ร่วมในการตรวจตนเองด้วย 2.4 รูปแบบการตรวจฟาร์มอาจเป็นการให้ค าแนะน า หรือการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการพัฒนา 2.5 ในปีแรกผู้ตรวจฟาร์มอาจไม่มีทักษะพอ ที่ปรึกษาจะต้องร่วมตรวจและสอนไปด้วย โดยต้อง ระมัดระวังดังนี้ - คู่มือการตรวจประเมินต้องชัดเจน จัดท ารายการตรวจประเมิน (checklists) ที่ระมัดระวัง การตีความที่ชัดเจนด้วยภาษาที่ง่าย - รายการตรวจประเมิน ควรหลีกเลี่ยงการเขียนบรรยายความ ต้องเป็นค าถามที่ตอบ ใช่ หรือ ไม่ใช่ - รายการค าถามตรวจประเมินต้องมีทุกหัวข้อส าคัญในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม 2.6 ผู้ตรวจฟาร์มไม่มีอ านาจหน้าที่ตัดสินการให้การรับรอง ต้องน าผลการตรวจเข้าที่ประชุมกลุ่ม ให้คณะกรรมการให้การรับรองตัดสินใครควรผ่านหรือใครจะต้องปรับปรุง 3. เป็นการควบคุมโดยสังคม ซึ่งจะเชื่อถือได้ก็ต่อเมื่อ 3.1 เกษตรกรผู้ผลิตมีความเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน ร่วมรับผิดชอบในระบบร่วมกัน เช่น การ ป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์ หากมีองค์กรภายนอกตรวจพบสารเคมีตกค้างในผลผลิตอาจถูกถอน ใบอนุญาตทั้งกลุ่มหากกลุ่มไม่มีค าชี้แจงหรือเพิกเฉยไม่แก้ไข
11 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 3.2 กลุ่มผู้ผลิตมีการตกลง กฎ กติกา บทลงโทษกันก่อนหากไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน 3.3 การไม่ผ่านการตรวจประเมินไม่ได้หมายความว่าท าผิด แต่เป็นการให้ผู้ผลิตต้องเรียนรู้เพื่อ พัฒนาการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐาน 4. สมาชิกต้องแสดงเจตน์จ านงการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม มีวิธีปฏิบัติที่ หลากหลาย เช่น 4.1 การจัดท าแผนการผลิตเป็นเอกสาร (แบบฟอร์มที่ 2) หากผู้ผลิตท าได้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเนื่องจากตรวจสอบได้ง่ายโดยแสดงกิจกรรมในฟาร์ม การปฏิบัติ ตามข้อก าหนดในมาตรฐานประกาศให้ทราบทั่วกัน อาจท าโดยที่ปรึกษาช่วยเขียนตามค าบอกเล่าของผู้ผลิตใน แต่ละหัวข้อของมาตรฐาน ประโยชน์ที่ได้ ท าให้ผู้ผลิตคิดทบทวนการท าตามมาตรฐานแต่ละข้อใช่หรือไม่ และมี สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง ที่ปรึกษาอาจช่วยให้ค าแนะน าได้โดยมีการเซ็นรับรองโดยผู้ผลิต 4.2 การตอบแบบสอบถามตามข้อก าหนดในมาตรฐาน ในกรณีที่ผู้ผลิตไม่สามารถเขียนหนังสือได้โดยจัดท าแบบสอบถามเพื่อใช้ในการประเมินฟาร์ม เกษตรกร ให้มีค าถามทุกข้อตามข้อก าหนดในมาตรฐาน เป็นการทบทวนการท าตามมาตรฐานที่ดี 4.3 การท าสัญญาหรือปฏิญญาของผู้ผลิต อาจเป็นสัญญาเดี่ยวหรือของกลุ่มและมีการเซ็นชื่อต่อกัน ในการปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎกติกา ของกลุ่ม และต้องมีบันทึกการตรวจประเมินฟาร์มของกลุ่ม ระบุวันตรวจ และเซ็นชื่อทั้งผู้ตรวจและผู้รับการ ตรวจ วิธีนี้เหมาะกับกลุ่มที่เขียนหนังสือไม่ได้ 4.4 การเสริมสร้างความรู้ มีการประชุมทบทวนกันอย่างสม่ าเสมอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเทคนิคการผลิตต่าง ๆ และการ จัดการด้านการตลาด โดยมีการบันทึกการประชุมและผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเอกสารไว้ตรวจสอบ 4.5 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หลากหลาย ให้มีการร่วมตัดสินใจในแนวนอน โดยแต่งตั้งผู้น ากลุ่มและสลับเปลี่ยนหน้าที่กัน
12 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... ภาพรวมความแตกต่างระหว่างการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS (Participatory Guarantee System) กับการรับรองแบบกลุ่มโครงการ ICS (Internal Control System for group certification system) ตารางที่ 1 แสดงความแตกต่างระหว่างการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS (Participatory Guarantee System) กับการรับรองแบบกลุ่มโครงการ ICS (group certification system) การรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS การรับรองแบบกลุ่มโครงการ ICS 1. เป็นการรับรองโดยกลุ่มเกษตรกร ภายใต้ กฎเกณฑ์ที่ก าหนดจากเวทีของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1. เป็นการรับรองจากองค์กรภายนอก (หน่วยตรวจ รับรอง) เป็นผู้ก าหนด กฎระเบียบ การปฏิบัติ 2. เป้าหมายตลาดท้องถิ่น ภายในประเทศ ขายตรง รับรองผลผลิตทั้งฟาร์ม 2. เป้าหมายการตลาดเป็นสินค้าเฉพาะอย่าง ไม่รับรองทั้งฟาร์ม 3. กลุ่มเกษตรกรเป็นเจ้าของโครงการ 3. มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของโครงการ 4. ระบบการให้การรับรอง 4.1 ผู้ผลิตมีความรับผิดชอบในกระบวนการ มากกว่าการตรวจฟาร์ม โดยคณะกรรมการตรวจที่ แต่งตั้งโดยกลุ่มเน้นการมีส่วนร่วมและตรวจดูวิธี ปฏิบัติในฟาร์มร่วมกับให้ค าแนะน าจากที่ปรึกษา กลุ่ม และตรวจทุกฟาร์ม 100% 4.2 มีเอกสารให้บันทึกน้อยที่สุด 4.3 ให้การรับรองระบบการท าฟาร์ม และทุกชนิด ของสินค้าที่ผลิตได้ในฟาร์ม 4.4 ผู้ผลิตแต่ละรายเป็นเจ้าของใบรับรอง และ สามารถขายสินค้าได้อย่างอิสระ 4.5 ผู้บริโภคสามารถร่วมตรวจประเมินฟาร์ม 4.6 ค่าตรวจรับรองตกลงกันภายในกลุ่ม 4. ระบบการให้การรับรอง 4.1 ผู้ตรวจจากหน่วยตรวจรับรองภายนอกจะ ตรวจระบบควบคุมภายในกลุ่ม เน้นบันทึกการ จัดการฟาร์ม ปัจจัยการผลิต และสุ่มตรวจบางฟาร์ม จ านวนตามสภาพความเสี่ยง 4.2 ผู้ผลิตต้องบันทึกการปฏิบัติในฟาร์มอย่าง ละเอียด รวมทั้งปัจจัยการน าเข้า 4.3 ให้การรับรองเฉพาะสินค้าเป้าหมาย 4.4 ใบรับรองออกในนามของกลุ่ม และจะต้อง จัดการสินค้าในรูปกลุ่ม ผู้ผลิตไม่สามารถขายได้อย่าง อิสระ 4.5 ผู้บริโภคไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรอง 4.6 ค่าตรวจรับรองแพง 5. สิ่งที่เหมือนกัน 5.1 ต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เหมือนกัน แต่การรับรองแบบมีส่วนร่วม ประยุกต์มาตรฐานให้เข้ากับทรัพยากร วิถีชีวิต และประเพณีปฏิบัติของท้องถิ่น 5.2 มีระบบควบคุมภายใน (Internal control system) คล้ายกัน เช่น มีโครงสร้างกลุ่ม คู่มือปฏิบัติ กฎระเบียบ บทลงโทษ และทะเบียนสมาชิก และแผนผังฟาร์ม เหมือนกัน แต่การรับรองแบบกลุ่มเน้นการมี บันทึกการปฏิบัติเป็นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร แต่การรับรองแบบมีส่วนร่วมเน้นจิตวิญญาณของผู้ปฏิบัติ และตรวจการปฏิบัติในฟาร์มเทียบเคียงกับมาตรฐาน ให้สมาชิกแนะน าและควบคุมกันเองเป็นหลัก
13 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... บทที่ 5 การจัดองค์กรในการรับรอง และขั้นตอนการให้การรับรอง การจัดองค์กรในการรับรองและขั้นตอนการให้การรับรองมีระเบียบมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละระดับในกระบวนการรับรอง 1. เกษตรกรผู้ผลิต 1.1 เข้าใจหลักการ มาตรฐาน และข้อก าหนดเกษตรอินทรีย์ และปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐาน 1.2 จัดท าแผนการผลิตและได้รับการตรวจประเมินวิธีปฏิบัติตามข้อก าหนด 1.3 ท าสัญญาการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกลุ่ม 1.4 เข้าร่วมการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม โดยกลุ่มจังหวัดหรือภาค 1.5 เข้าร่วมกิจกรรมตรวจประเมินฟาร์ม 1.6 เข้าร่วมประชุมกลุ่ม และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน 1.7 อนุญาตให้ตรวจเยี่ยมฟาร์มได้ 2. กลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จีเอส การรวมกลุ่มผู้ผลิต ต้องมีรูปแบบการผลิตที่ใกล้เคียงกัน หรืออยู่บริเวณหมู่บ้านใกล้กัน 5 รายขึ้นไป ที่ต้องการมีใบรับประกันความเป็นอินทรีย์เพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ได้ ในเบื้องต้นต้องมีพี่เลี้ยง อาจเป็นนัก ส่งเสริม นักพัฒนา สังคม ที่มาจากองค์กรภาครัฐ หรือองค์กรเอกชนที่เข้าใจระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม เป็นพี่เลี้ยงในการจัดท าระบบเอกสาร กฎเกณฑ์ ระบบการตรวจประเมิน แบบฟอร์มต่าง ๆ ค าสัญญา กลุ่มจะต้องแต่งตั้งผู้ตรวจประเมินฟาร์ม ซึ่งจะต้องได้รับการฝึกอบรมเข้มข้นเรื่องมาตรฐานและการตรวจฟาร์ม โดยกลุ่มมีบทบาทความรับผิดชอบดังนี้ 2.1 เป็นจุดรับเรื่อง รวบรวมเอกสารการขอการรับรองของผู้ผลิต 2.2 จัดท าสัญญาของเกษตรกร และรวบรวม ตรวจสอบ 2.3 จัดระบบการตรวจฟาร์ม ก าหนดการตรวจฟาร์ม 2.4 เป็นที่ปรึกษาให้กับเกษตรกร รวมทั้งสนับสนุนจัดหาปัจจัยการผลิตของกลุ่ม 2.5 เป็นผู้รวบรวมผลการตรวจฟาร์ม เอกสารสัญญา และแผนการผลิตของแต่ละฟาร์มส่งให้กับ ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2.6 เป็นผู้ก าหนดบทลงโทษสมาชิกที่ท าผิดกฎกติกา 2.7 จัดท ารายงานผลผลิตของกลุ่มแต่ละปีส่งให้กับศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3. ผู้ประสานงานเกษตรอินทรีย์พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3.1 เป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย เกษตรกรผู้แทนกลุ่ม และผู้ไม่ใช่เกษตรกร เช่น นักวิชาการ นักส่งเสริม ผู้บริโภค องค์กรสนับสนุน โดยมีผู้ท าหน้าที่เป็นผู้จัดการด าเนินการด้านธุรการและเอกสาร ซึ่งจะต้องมีงบประมาณสนับสนุน
14 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการด าเนินการ ประกอบด้วยเกษตรกร และผู้ไม่ใช่เกษตรกร คณะกรรมการ นี้ มีขอบเขตหน้าที่ ดังนี้ 1. เป็นผู้จัดฝึกอบรมให้กับส่วนกลาง เช่น การเรียนรู้เรื่องมาตรฐาน การศึกษาดูงานให้กับ เกษตรกร ปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐาน 2. จัดท าระบบเอกสาร คู่มือ มาตรฐานเป็นภาษาที่ง่ายต่อเกษตรกร 3. ตรวจสอบเอกสารการขอการรับรองความครบถ้วนของสมาชิกกลุ่ม 4. เป็นผู้รวบรวมการรับรองฟาร์มของสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ และส่งเรื่องขึ้นทะเบียนให้กับ ส่วนกลาง เพื่อออกเลขทะเบียน 5. รับเลขทะเบียนผู้ได้รับการรับรองจากส่วนกลางแล้วออกใบรับรองประจ าปีให้กับเกษตรกร และส่งใบประกาศผลการรับรองกลับให้ผู้ได้รับการรับรอง 6. ร่วมสุ่มตรวจฟาร์มกับคณะกรรมการตรวจประเมินของกลุ่ม หรือเก็บตัวอย่างตรวจสาร ตกค้าง กรณีได้รับการร้องเรียนหรือมีความเสี่ยง 7. สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการรับรองโดย - จัดท ารายชื่อผู้ได้รับการรับรองทุกฟาร์มให้เข้าถึงได้ เช่น เป็นเอกสารสื่อดิจิตอล - สร้างการยอมรับร่วมระหว่างกลุ่มแต่ละภาค โดยจัดให้มีการตรวจประเมินข้ามภูมิภาค - จัดวันเยี่ยมชมฟาร์มให้กับผู้สนใจและผู้บริโภค 4. ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีหน้าที่ดังนี้ 4.1 จัดท าหลักสูตรที่จ าเป็น และประสานงานการจัดฝึกอบรมให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร 4.2 ร่วมดูแลการจัดการระบบประกันคุณภาพของกลุ่มเกษตรกร เช่น จัดท าและปรับปรุงเอกสาร ให้เหมาะสม เช่น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ชุมชน และ แบบฟอร์ม รายการตรวจประเมิน เป็นต้น - จัดท าระบบฐานข้อมูลผู้ได้รับการรับรอง และออกหมายเลขสมาชิกที่ได้รับการรับรองให้กลุ่ม เกษตรกร - ให้ใช้ตราสัญลักษณ์และถอดถอนในกรณีได้รับการร้องเรียนและพบความผิดจริงโดยกลุ่มไม่ ด าเนินการใด ๆ - สุ่มตรวจสารตกค้างในผลผลิตของผู้ได้รับการรับรอง น าผลตรวจขึ้นเว็บไซต์ 4.3 จัดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมของศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง 4.4 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ผู้บริโภคจัดหาตลาดในระดับประเทศในสื่อต่าง ๆ 4.5 จัดระบบการตรวจสอบย้อนกลับในสื่อที่เหมาะสม เช่น การจัดท าฐานข้อมูลสมาชิกที่ได้รับการ รับรอง ในระบบสารสนเทศ พร้อมน าวิธีการปฏิบัติในฟาร์มและการตรวจประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐาน ขึ้น ในเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าถึงได้
15 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... ขั้นตอนการปฏิบัติการให้การรับรองในระดับต่าง ๆ ขั้นตอนระดับฟาร์ม/ผู้ผลิต ขั้นที่ 1 1. ผู้ผลิตสมัครใจเข้าร่วมกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่ม 2. ผู้ผลิตเข้าใจและยอมรับการปฏิบัติตามระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 3. หยุดการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด และจัดการฟาร์มตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม 4. ในกรณีฟาร์มไม่ได้ท าเกษตรอินทรีย์ทุกแปลงพร้อมกันหมด ผู้ผลิตต้องแสดงระยะเวลาการปรับทุก แปลงเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ภายในเวลาที่ก าหนดโดยกลุ่ม 5. ลงนามในปฏิญญาการเข้าร่วมโครงการ (แบบฟอร์มที่ 1) 6. ควรตรวจความเสี่ยงการปนเปื้อน และตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน โดยมีผลวิเคราะห์สารเคมี โลหะหนักตกค้างในดินและน้ า ขั้นที่ 2 7. มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม การประชุมและการฝึกอบรมที่ส าคัญ 8. จัดท าแผนผังฟาร์มทุกแปลงที่ครอบครอง ประวัติฟาร์ม ชนิดพืชและสัตว์ที่เลี้ยง และปริมาณในปี ก่อนและแผนในปีปัจจุบัน การปฏิบัติในฟาร์ม ซึ่งอาจให้ลูกหลานหรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมจัดท าให้ (แบบฟอร์มที่ 2) 9. ผู้ผลิตต้องมีส่วนร่วมในการตรวจประเมินฟาร์มของตนเอง ขั้นที่ 3 10. ฟาร์มจะต้องได้รับการตรวจอย่างน้อยทุกฤดูกาลเพาะปลูก หรือรอบการเลี้ยงดูสัตว์ โดยคณะ ผู้ตรวจของกลุ่มอย่างน้อย 3 คน ที่ผ่านการฝึกอบรม 11. ต้องจัดท ารายการตรวจประเมินครบทุกหัวข้อของข้อก าหนดในมาตรฐาน และเขียนค าถามที่ให้ ผู้ผลิตเข้าใจในทุกค าถาม หลีกเลี่ยงการตอบแบบบรรยายความ ให้ใช้ค าตอบ ใช่ หรือ ไม่ใช่ ขั้นตอนระดับกลุ่ม ขั้นที่ 1 การจัดการเตรียมเอกสาร ข้อมูลสมาชิกและขึ้นทะเบียนกลุ่ม 1. รวบรวมสมาชิก 5 รายขึ้นไป เป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 2. รวบรวมท าทะเบียนสมาชิก และประวัติฟาร์ม จัดท าเป็นฐานข้อมูล (แบบฟอร์มที่ 3) 3. อธิบายระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมให้กับสมาชิกทุกคน และร่วมกันก าหนด มาตรฐานเป็นภาษาที่ง่าย ๆ แจกจ่ายให้สมาชิกทุกคน 4. จัดท าคู่มือโครงการของกลุ่ม ก าหนดวิธีการตรวจประเมิน การรับรอง กฎ กติกา บทลงโทษกรณี สมาชิกไม่ปฏิบัติตามสัญญา
16 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 5. ตรวจสอบการปฏิบัติของสมาชิก สมาชิกจะต้องปรับเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ทุกแปลง หากยังมีการผลิต แบบปกติบางแปลงสมาชิกต้องแจ้งแผนการปรับทุกแปลงเข้าสู่ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ภายในก าหนดเวลาที่ตกลงร่วมกัน 6. เพื่อความโปร่งใส ควรเชิญกลุ่มอื่นที่ร่วมโครงการรับรองนี้ หรือองค์กร หน่วยงาน เข้าร่วมการตรวจ ฟาร์มหรือให้ค าแนะน ากระบวนการของกลุ่ม ขั้นที่ 2 การประชุม ฝึกอบรมกลุ่ม 7. จัดประชุมสมาชิกตามแผนคู่มือ และมีการฝึกอบรมที่ส าคัญ 8. เชิญผู้มีประสบการณ์ ผู้มีการปฏิบัติที่ดีมาช่วยวิเคราะห์แก้ปัญหาการผลิตของกลุ่ม เช่น กรณีเกิด โรคระบาด การจัดการหมุนเวียนธาตุอาหาร การจัดการอาหารสัตว์ เป็นต้น 9. เก็บรักษาบันทึกการประชุมกลุ่ม รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม และการเข้าร่วมฝึกอบรมที่ส าคัญ 10. พิจารณาการใช้ปัจจัยการผลิตจากนอกฟาร์ม กรณีที่สมาชิกใช้ปัจจัยการผลิตจากนอกฟาร์ม หรือ นอกกลุ่ม จะต้องให้ที่ประชุมกลุ่มพิจารณาสถานะความเป็นอินทรีย์ก่อนจึงสามารถน าไปใช้ได้ หากพบว่า สมาชิกใช้โดยไม่มีการร้องขอถือว่าไม่ผ่านมาตรฐาน ขั้นที่ 3 การตรวจประเมินและการรับรอง 11. จัดท าแผนการตรวจฟาร์ม โดยแต่งตั้งผู้ตรวจอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ในหนึ่งคนจะต้องอ่านออก เขียนได้อย่างดี เพื่อกรอกแบบฟอร์มรายการตรวจประเมินและเขียนสรุปผล 12. ห้ามตรวจไขว้กันระหว่างฟาร์ม เช่น นาย ก.ตรวจนาย ข.และนาย ข.ตรวจนาย ก. 13. เชิญกลุ่มอื่น ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ นักวิชาการ หรือตัวแทนสถาบัน ร่วมตรวจฟาร์มเพื่อสร้าง ความน่าเชื่อถือและถือโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 14. น าผลการตรวจฟาร์มทุกฟาร์มเข้าที่ประชุม วิเคราะห์วิจารณ์ทุกฟาร์มในที่ประชุมแล้วจึงตัดสินให้ การรับรอง (แบบฟอร์มที่ 4) 15. แจ้งผลฟาร์มที่ไม่ผ่าน และผลการวิเคราะห์วิจารณ์ทุกฟาร์ม รวมทั้งให้ก าหนดระยะเวลาให้แก้ไข 16. คณะกรรมการตัดสินให้การรับรองฟาร์มที่ผ่านการตรวจประเมิน ลงนามในแบบฟอร์มรายงานการ ตรวจประเมินทุกฟาร์ม (แบบฟอร์มที่ 4) ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อความโปร่งใสอาจน าผลการตรวจขึ้นเว็บไซต์ที่ สามารถเข้าถึงได้ 17. กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มขอขึ้นทะเบียนฟาร์มที่ได้รับการรับรอง น าเสนอขอขึ้นทะเบียน และขอใบรับรองต่อศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (แบบฟอร์มที่ 6) ขั้นที่ 4 การขอขึ้นทะเบียนผู้ได้รับการรับรองและการออกใบรับรอง 18. กลุ่มตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบฟอร์มขอขึ้นทะเบียนผู้ได้รับการรับรอง และตรวจเอกสาร 19. ส่งแบบฟอร์มการขอขึ้นทะเบียนโดยตรงให้กับศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้หรือสามารถ ส่งทางอินเตอร์เน็ต แล้วส่งเอกสารฉบับจริงให้กับศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในภายหลังต่อไป
17 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 20. ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตรวจรายละเอียดในเอกสารของกลุ่ม หากไม่มีข้อสงสัย อนุมัติหากมีข้อสงสัยต้องพิจารณาว่าต้องตรวจติดตามหรือเก็บตัวอย่างวิเคราะห์แต่ศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ไม่อ านาจในการเพิกถอนในรายใดรายหนึ่งได้ หากไม่อนุมัติต้องไม่อนุมัติทั้งกลุ่ม 21. ส่งมอบใบรับรองที่ได้จากศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้กับสมาชิกที่ได้รับการรับรอง ขั้นตอนของศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขั้นที่ 1 1. รับแบบฟอร์มการขึ้นทะเบียนจากกลุ่มทั้งทางเอกสารและออนไลน์ ตรวจสอบรายละเอียดของแต่ละ ฟาร์ม และการรับรองของกลุ่ม อาจเป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พี่เลี้ยงเซ็นรับรองด้วย 2. หากมีข้อตกลงค่าใช้จ่าย (เพื่อเป็นค่าบริหารจัดการ) ให้กลุ่มจ่ายเงินตามข้อตกลง 3. ตรวจสอบความเข้มแข็งของกลุ่มในการควบคุมดูแลสมาชิกทุกรายให้ปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐาน และข้อตกลงของกลุ่ม 4. หากรายละเอียดเพียงพอ การขึ้นทะเบียนกลุ่มทางออนไลน์ ส่งหมายเลขสมาชิกและรหัสผ่านเข้า เว็บไซต์ส่วนกลางทางออนไลน์ให้กับกลุ่ม 5. หากลงทะเบียนเป็นเอกสาร เครือข่ายต้องตรวจสอบและน าขึ้นเว็บไซต์ส่วนกลาง เพื่อขอหมายเลข สมาชิกและรหัสผ่าน 6. มอบคู่มือระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยแม่โจ้และคู่มือการปฏิบัติ ตามระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขั้นที่ 2 การประชุม และฝึกอบรม 7. จัดประชุมหรือฝึกอบรมให้กับกลุ่ม หรือเข้าร่วมประชุมกับกลุ่ม หรือการฝึกอบรมที่ส าคัญของกลุ่ม เช่น การฝึกอบรมผู้ตรวจฟาร์ม หรือผู้ประสานงานกลุ่ม 8. ส่งเสริมพัฒนากลุ่มให้สามารถลงทะเบียนทางออนไลน์ได้ 9. สุ่มตรวจประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐาน และความเข้มแข็งของกลุ่ม 10. รับค าร้องหรือปรับปรุงการท างานของกลุ่ม ขั้นที่ 3 การอนุมัติให้การรับรอง 11. ในกรณีที่ตรวจสอบความสมบูรณ์ของกลุ่มที่ขอขึ้นทะเบียน พบว่า กลุ่มปฏิบัติสอดคล้องกับ มาตรฐานและหลักการมีส่วนร่วมให้อนุมัติและแจ้งให้กลุ่มพิมพ์แจกสมาชิก โดยศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้องเซ็นชื่อก ากับการตัดสินให้การรับรองนั้นด้วย 12. ในกรณีที่ไม่อนุมัติต้องท าหนังสือแจ้งกลุ่มเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมชี้แจงเหตุผลประกอบ 13. ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้องด าเนินการภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่ได้รับ เอกสาร หมายเหตุ: 1. ผู้ประสานงานกลุ่มไม่มีอ านาจตัดสินว่าสมาชิกรายใดรายหนึ่งไม่ผ่าน แต่มีหน้าที่ตรวจสอบทั้งหมดหากเห็นว่าผ่านให้อนุมัติทั้งกลุ่ม หากพบมีหลักฐานว่าสมาชิกรายใดรายหนึ่งไม่น่าจะผ่านก็ไม่อนุมัติทั้งกลุ่ม ให้กลุ่มกับไปตรวจสอบอีกครั้ง 2. ยกตัวอย่าง หากตรวจผลผลิตของฟาร์ม ก พบว่า มีสารเคมีตกค้างและกลุ่มไม่มีบทลงโทษใด ๆ ศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัย แม่โจ้ มีสิทธิถอนใบอนุญาตทั้งกลุ่ม
18 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... ภาพที่ 5 แผนภูมิบทบาทแต่ละกลุ่มในการให้การรับรอง เกษตรกร (ผู้ผลิต) - สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ - เข้าร่วมฝึกอบรมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ - ท าสัญญาการปฏิบัติตามกฎ กติกากลุ่ม - เข้าร่วมกิจกรรมส าคัญของกลุ่ม คณะกรรมการตรวจเยี่ยมฟาร์ม (3 คน) - ใช้รายการตรวจประเมิน checklistsตรวจฟาร์ม - ประเมินวิธีปฏิบัติ ตามแผนการ ผลิตของฟาร์ม - ตรวจประเมินความเข้าใจของ เกษตรกรต่อมาตรฐานเกษตร อินทรีย์แบบมีส่วนร่วม คณะกรรมการศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ออกใบรับรองภายใต้มาตรฐานและกระบวนการกลุ่ม - จัดท าทะเบียนผู้ได้รับการรับรอง ในระบบออนไลน์ - คงไว้หรือปรับปรุงระบบเอกสารกลาง - ร่วมตรวจเยี่ยม สุ่มตรวจฟาร์ม สุ่มตรวจสารตกค้าง - การจัดการใช้เครื่องหมายรับรอง - เชื่อมโยงเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ - ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเอกสารสรุปผล - ตรวจติดตามความไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน - ประสานงานการฝึกอบรม การพัฒนาของกลุ่ม กลุ่มเกษตรกร รวบรวมฐานข้อมูลของเกษตรกร - ตรวจสอบความสมบูรณ์ของ รายงานการตรวจประเมิน หรือ ตรวจฟาร์มกรณีจ าเป็น - พิจารณาผู้ที่ควรได้รับการรับรอง - ส่งสรุปผลให้กับคณะกรรมการ ศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
19 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... ภาพที่ 6 ขั้นตอนการให้การรับรองในการรับรองแบบมีส่วนร่วม ขั้นที่ 1 กลุ่มแต่งตั้ง - ผู้ตรวจเยี่ยมเพื่อน - คณะกรรมการตัดสินให้การรับรอง ขั้นที่ 2 ตรวจฟาร์ม โดยผู้ตรวจของกลุ่ม 3 คน โดยใช้แบบประเมินฟาร์ม checklists ขั้นที่ 3 น าผลการตรวจฟาร์มเข้าที่ประชุมสมาชิกกลุ่ม - วิเคราะห์วิจารณ์ทุกฟาร์ม - ตัดสินให้การรับรองโดยคณะกรรมการเซ็นทุกคน ผ่าน ไม่ผ่าน - ก าหนดระยะเวลาให้แก้ใข ขั้นที่ 4 กลุ่มจัดท า - ท าทะเบียนผู้ผ่านการรับรอง ผู้ประสานงาน เซ็นก ากับ - แนบรายงานผลการตรวจที่มีลายเซ็นกรรมการ ตัดสิน - จัดท าประวัติฟาร์มเพื่อน าขึ้นเว็บไซต์ ไม่อนุมัติทั้งกลุ่ม - แจ้งกลุ่มพร้อมเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร - ร่วมตรวจสอบ ขั้นที่ 6 ศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ขึ้นทะเบียนผู้ได้รับการรับรอง - ออกหมายเลขสมาชิกรายฟาร์ม - ท าฐานข้อมูลฟาร์มขึ้นเว็บไซต์ เกษตรกรผู้ผลิต จัดท า - ประวัติฟาร์ม - แผนผังแปลงทุกแปลง - ชนิดพืช-สัตว์ที่เลี้ยง - ปริมาณผลผลิต - วิธีปฏิบัติในฟาร์ม ขั้นที่ 5 ศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ตรวจสอบความถูกต้องและ - ตรวจสอบความเข้มแข็ง ของกลุ่ม ข้อร้องเรียนหาก มี ขอขึ้นทะเบียน แจ้งหมายเลขสมาชิกรายฟาร์ม อนุญาตให้ใช้ตราสัญญาลักษณ์ มอบใบรับรอง ขอขึ้นทะเบียน แจ้งแก้ไข อนุมัติ
20 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... บทที่ 6 การประทับตราสัญลักษณ์ (LOGO seal) และทะเบียนผู้ได้รับการรับรอง ตราสัญลักษณ์เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ส าคัญที่ท าให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคจดจ าสินค้าและผลิตภัณฑ์ เมื่อ เกษตรกรได้รับการอนุมัติแล้วและศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขึ้นทะเบียนผู้ที่ได้รับการรับรองแล้ว ก็จะอนุญาตให้เกษตรกรใช้ตราสัญลักษณ์ พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อน าไปติดกับผลิตภัณฑ์ของตนได้ โดยการใช้ตราสัญลักษณ์และตราสัญลักษณ์จะมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. การประทับตราและการติดฉลาก 1.1. ใบรับรองแต่ละใบจะมีหมายเลขสมาชิก หมายเลขกลุ่ม และพื้นที่การผลิต ชนิดผลผลิต และ ปริมาณ 1.2 อายุใบรับรอง 12 เดือน นับจากวันที่ได้รับการรับรองจากกลุ่ม การต่ออายุใบรับรองใหม่นับจาก วันที่ตัดสินจากกลุ่ม หรือการยอมรับจากเครือข่าย 1.3 การติดตราสัญลักษณ์จะต้องมี หมายเลขสมาชิก/กลุ่ม/พื้นที่ก ากับ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถ ตรวจสอบสถานะได้ทางเว็บไซต์ 2. ชนิดของตราสัญลักษณ์ ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดท าตราสัญลักษณ์ 2 ประเภท 2.1 ตราสัญลักษณ์การเป็นเครือข่ายการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS ให้สมาชิกใช้ส าหรับท าเป็นสัญลักษณ์ติดเสื้อ หมวก กระเป๋า ป้ายในการประชาสัมพันธ์ การเป็น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2.2 ตราสัญลักษณ์ผู้ได้รับการรับรอง organic seal เป็นสติ๊กเกอร์ หรือ ตราสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ ใช้ได้เฉพาะผู้ได้รับการรับรอง (สามารถตรวจสอบได้จากฐานข้อมูลผู้ได้รับการรับรองระบบการรับรองเกษตร อินทรีย์แบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากหน้าเวปส านักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัย แม่โจ้ ในศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้) “PGS Maejo Organic” “พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้” ผู้มีสิทธิใช้ตราสัญลักษณ์นี้ติดที่ผลผลิต/ ผลิตภัณฑ์ เฉพาะผู้ได้รับการรับรองที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น 3. เงื่อนไขการใช้ตราสัญลักษณ์ 3.1 การติดตราสัญลักษณ์บนผลิตผล/ผลิตภัณฑ์ต้องมีหมายเลขสมาชิก/กลุ่ม/พื้นที่ ที่มีการจัดการ ผลผลิต การแปรรูป การบรรจุหีบห่อภายในกลุ่มเท่านั้น ในกรณีที่ขายผลผลิตให้กับผู้ประกอบการนอกพื้นที่ กลุ่มต้องสามารถควบคุม ตรวจประเมินการปนเปื้อน และการปะปนกับผลผลิตปกติได้ 3.2 ตราสัญลักษณ์ติดได้เฉพาะ ชนิด และปริมาณผลผลิต ที่ได้รับการรับรองเท่านั้น
21 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... 4. การก าหนดรหัสได้รับการรับรอง ภาพที่7 โลโก้ พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรหัสการรับรอง ภาพที่8 โลโก้ พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรหัสการรับรอง ในระยะปรับเปลี่ยน PGS Maejo Organic xxxx – xxx - xxx รหัสจังหวัดตามกรมการปกครอง หมายเลขสมาชิก หมายเลขกลุ่ม
22 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... บรรณานุกรม กองควบคุมมาตรฐาน. 2564. คู่มือผู้ประกอบการสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ. กองส่งเสริมมาตรฐาน ส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. คณะท างานด้านการตรวจรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS Surin Model). 2564. คู่มือ แนวทางการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS Surin). ส านักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัด สุรินทร์ จิตนา อิทรมงคล. 2559. คู่มือการรรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส. มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย. กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน. ชฤทธิพร เม็งเกร็ด. 2563. เกณ์อ้างอิงระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม สามพรานโมเดลพีจีเอส เกษตรอินทรีย์. ฉบับที่ 1 ปรับปรุง ตุลาคม 2563. ดนุวัต เพ็งอ้น. 2560. คู่มือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ยงยุทธ ข้ามสี่. 2562. การผลิตพืชอินทรีย์แม่โจ้. ห้างหุ้นส่วนจ ากัด ณัฐพลการพิมพ์. ส านักวิจัยและส่งเสริม วิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ. 2565. ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.thairicedb.com/standard-detail.php?id=29 (3 มิถุนายน 2565) สุรพล ขุมทรัพย์ และพรพยุง คงสุวรรณ. 2563. การรับรองฟาร์มมาตรฐาน (GAP) แบบกลุ่ม. ส านักงาน มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ส านักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. 2019. มาตรฐาน Certification Alliance Organic Standard Version 1. 0 (06 Nov 2019). [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://actorganiccert.or.th/th/%e0%b8%a1% e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%90%e0%b8%b2%e0%b8%99- citification-alliance-organic-standard-2019/ (3 มิถุนายน 2565) อานัฐ ตันโช. 2562. การผลิตพืชอินทรีย์แม่โจ้. ห้างหุ้นส่วนจ ากัด ณัฐพลการพิมพ์. ส านักวิจัยและส่งเสริม วิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. อนุรักษ์ เรืองรอบ. 2561. คู่มือพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม. กรมการค้าภายใน กระทรวง พาณิชย์. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefind mkaj/http://www.clinictech.ops.go.th/online/OrganicNET/fileuser/22/files/SDGsPGS%20 manual.pdf (3 มิถุนายน 2565) Chris May. 2019. PGS Guidelines: How to Develop and Manage Participatory Guarantee Systems for Organic Agriculture, Germany. IFOAM – Organics International.
23 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... ภาคผนวก
24 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... ภาคผนวก ก แบบบันทึกสัญญาข้อตกลง
25 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แบบบันทึกสัญญาข้อตกลงการสมัครเข้า ร่วมโครงการการรับรองเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม แม่โจ้-1 (MJ-1) …../……./…… ข้าพเจ้านาย/นาง/นางสาว....................................................................................................... .............................. หมายเลขบัตรประชาชน ฟาร์มตั้งอยู่เลขที่ ...........หมู่ที่ ........ต าบล ............................. อ าเภอ .........................จังหวัด............................. รหัสไปรษณีย์ ......................... โทรศัพท์ .............................................อีเมล์.......................... ............................... ขอสมัครเข้าร่วมโครงการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม สังกัดกลุ่ม………………………..................…..………. ข้าพเจ้ายินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อก าหนดดังต่อไปนี้ 1. ข้าพเจ้ายินยอมปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมที่กลุ่ม ก าหนดอย่างเคร่งครัด 2. ข้าพเจ้ายินยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กติกา ของกลุ่มและ ระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม 3. ข้าพเจ้ายินดีเข้าร่วมกิจกรรม การประชุม และการฝึกอบรมของกลุ่ม และระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม 4. ข้าพเจ้ายินยอมให้คณะกรรมตรวจเยี่ยมเพื่อนจากกลุ่ม และจากโครงการฯหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับระบบการรับรองของโครงการ เข้าร่วมตรวจเยี่ยมในพื้นที่การเกษตรทุกแปลง ตลอดจน สถานที่เก็บผลิตผล และที่พัก โดยไม่จ าเป็นต้องแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบล่วงหน้า 5. ข้าพเจ้าจะจัดท าเอกสารประกอบการผลิต เช่น รายงานการผลิต บัญชีขาย บัญชีซื้อปัจจัยการผลิต บัญชีฟาร์ม และ/หรือ บัญชีการผลิต รวมทั้งยินยอมให้ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการ ประกอบการเหล่านี้ 6. ข้าพเจ้าจะแจ้งให้โครงการฯ ทราบโดยทันที ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงการผลิต เช่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ การผลิตที่ขอรับรอง รวมทั้งการละเมิดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของข้าพเจ้า 7. ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้ตราสัญลักษณ์รับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมและขายผลิตผลเป็นอินทรีย์ เฉพาะทีผลิตได้จากพื้นที่ได้รับการรับรองแบบมีส่วนร่วมเท่านั้น 8. ข้าพเจ้ายอมรับการตัดสินสถานะการได้รับการรับรองจากโครงการทุกกรณี ข้าพเจ้าได้อ่านรายละเอียดเงื่อนไขข้างต้นแล้ว และยอมรับข้อก าหนดต่างๆ จึงได้ลงลายมือชื่อไว้ ลงชื่อ .............................................................. ประธานหรือตัวแทน กลุ่ม................................... วันที่ ......... เดือน ................. พ.ศ .............. ลงชื่อ................................................................ (............................................................) ผู้ผลิต วันที่ ......... เดือน ................. พ.ศ .............
26 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต แม่โจ้-2 (MJ-2) …../……./…… หมายเลขบัตรประชาชน สังกัดกลุ่ม.......................................................................................................................................................... .. ชื่อเจ้าของ.......................................................................โทรศัพท์..............................โทรสาร.......................... ที่อยู่เลขที่..............หมู่ที่...............ต าบล.............................อ าเภอ............................จังหวัด... .......................... ชื่อแปลงหรือฟาร์มที่ผลิต........................................................................ขนาดพื้นที่................ไร่............งาน. ที่ตั้ง...................................................................................................................... ............................................. จ านวนแปลงทั้งหมด..................แปลง...........เป็นอินทรีย์.......................แปลง แปลงปกติ.....................แปลง วันหรือปีที่เลิกสารเคมีครั้งสุดท้าย..วันที่..........เดือน..................พ.ศ. .............................................................. หากแปลงผลิตไม่ได้เป็นอินทรีย์ทั้งหมด มีแผนการปรับเปลี่ยนเข้าสู่อินทรีย์ทั้งหมดภายในปี........................... แผนผังฟาร์ม แสดงแปลงผลิตทุกแปลง ให้หมายเลขแปลงหรือชื่อแปลง ระบุความเป็นอินทรีย์หรือปกติ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้าง
27 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต แม่โจ้-2 (MJ-2) …../……./…… 1. ประวัติแปลงทุกแปลง ในรอบปีที่ผ่านมา (ทั้งอินทรีย์และไม่อินทรีย์ ตามที่ระบุไว้ในแผนที่) แปลงที่และ ชื่อแปลง เนื้อที่ (ไร่) ชนิดพืชที่ปลูก หรือสัตว์ที่เลี้ยง ในแต่ละแปลง วันสุดท้ายเลิก ใช้สารที่ห้ามใช้ สถานะปัจจุบัน ของแปลง 1 อินทรีย์ ปกติ รับรองโดย.................. 2 อินทรีย์ ปกติ รับรองโดย.................. 3 อินทรีย์ ปกติ รับรองโดย.................. 4 อินทรีย์ ปกติ รับรองโดย.................. 5 อินทรีย์ ปกติ รับรองโดย.................. 2. การจัดการดิน 2.1 วิธีการเตรียมแปลง เครื่องจักรระบุ............................ แรงงานสัตว์ อื่นๆ.................... 2.2 การปรับปรุง-บ ารุงดิน มีการใส่ปุ๋ยหรือธาตุอาหารบ ารุงดินในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา แปลงที่ ชนิดปุ๋ย ปริมาณ กก/ไร่ วันเดือนปี ปริมาณรวม แหล่งที่มา 1 ระหว่างเตรียมดิน ระหว่างผลิต 2 ระหว่างเตรียมดิน ระหว่างผลิต 3 ระหว่างเตรียมดิน ระหว่างผลิต 4 ระหว่างเตรียมดิน ระหว่างผลิต 5 ระหว่างเตรียมดิน ระหว่างผลิต
28 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต แม่โจ้-2 (MJ-2) …../……./…… 3. แผนการป้องกันก าจัดโรคและแมลงศัตรูพืชและวัชพืช (ในกรณีที่ใช้ปัจจัยการผลิตทางการค้า กรุณา ระบุชื่อ บริษัทผู้ผลิต ยี่ห้อ และขอรายละเอียดส่วนประกอบของปัจจัยการผลิตจากผู้ผลิต) วิธีการควบคุม หรือ ชนิดสารที่ใช้ แหล่งที่มา (ผลิตเองในฟาร์ม หรือซื้อมา โปรดระบุชื่อผู้ผลิต/บริษัท และยี่ห้อ) ส่วนประกอบ ปริมาณที่ใช้ ต่อร่นุหรือ ต่อปี(กก./ไร่) ชนิดโรค แมลง วัชพืช และพืชที่เป็ น ปัญหา 1 2 3 4 5 4. การวิเคราะห์ดิน (หากมี) วัน เดือน ปี ที่วิเคราะห์...........................................หน่วยงานที่วิเคราะห์................................................ รายละเอียดผลการวิเคราะห์.................................................................................................................... ……………………………………………..................................................................……………………………………… 5. แผนการผลิตพืชอินทรีย์(ในปีเริ่มสมัคร หากมีการเพิ่มเติมปีต่อไปให้แนบมาใหม่) 5.1 ชนิดและจ านวนพืชที่ปลูกแต่ละแปลง แปลงที่ พื้นที่ ไร่ ชนิดพืช ผลผลิตหลัก หน่วยวัด (ต้น กก.) ปริมาณ จ านวน/ปี 1 2 3 4 5 6
29 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต แม่โจ้-2 (MJ-2) …../……./…… 5.2 แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ หรือพันธุ์พืช (โปรดระบุ ผลิตเอง หรือน ามาจากแหล่งอื่น ระบุแหล่งที่มา) ชนิดเมล็ดพันธุ์/ ต้นกล้า/ท่อนพันธุ์ แหล่งที่มา (ผลิตเองในฟาร์ม หรือซื้อมา/รับมา จากที่อื่น - กรุณาระบุชื่อยี่ห้อ) คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ อินทรีย์ หรือทั่วไป คลุกยา/ฮอร์โมน/ หรือไม่คลุกยา/ฮอร์โมน GMO หรือ ไม่ใช่ GMO 6. การจัดการน้ า 6.1 แหล่งน้ าที่ใช้มาจาก...................................... 6.2 มีแผนการป้องกันการปนเปื้อนอย่างไร........................................................................................ . 6.2 จ านวนบ่อน้ า/สระน้ า........................บ่อ การใช้ประโยชน์........................................................... 6.3 การวิเคราะห์น้ า - วัน เดือน ปี ที่วิเคราะห์.............................................ชื่อหน่วยงาน........................................... ........ - รายละเอียดผลการวิเคราะห์..................................................................................................... ........... 7. การจัดการหลังเก็บเกี่ยวและการตลาด (อธิบายขั้นตอนจากฟาร์มถึงการรวบรวมในกลุ่ม หรือการน าไป จ าหน่ายเอง) เช่น การรวบรวมข้าว การสีข้าว การรวบรวมผัก การแปรรูป เป็นต้น …………………………………………………………………………………………………..............…………………… …………………………………................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................. ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความจริง ลงชื่อ..................................................................... วันที่บันทึก...................................................................... (.............................................................................) ลงชื่อพยาน............................................................. (.............................................................................)
30 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต แม่โจ้-2 (MJ-2) …../……./…… 8. แผนการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ 8.1 ชนิดของปศุสัตว์อินทรีย์ที่ขอรับรอง โคเนื้อ ผลผลิตต่อปี.......ตัว โคนม แม่รีดนม.......ตัว/ปี น้ านม...........ตัน/ปี ไก่/เป็ดเนื้อ ........ ไก่ ..................ตัว/ปี เป็ด...............ตัว/ปี ไก่/เป็ดไข่ แม่.................ตัว/ปี ไข่...............ฟอง/ปี สุกร................... ผลผลิต...........ต่อปี 8.2 พันธุ์สัตว์อินทรีย์ ผลิตในฟาร์มทั้งหมด น าเข้าทั้งหมด น าเข้าบางส่วน -หากน าเข้า(ระบุ แหล่งที่มา และอายุเมื่อน าเข้า) ................................................................................................................................................................... 8.3 อาหารสัตว์ 8.3.1 การผลิตอาหารสัตว์ ผสมเอง ซื้อตลาด ซื้อจากกลุ่ม อื่นๆ 8.3.2 ชนิดและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่เป็นอาหารสัตว์ทุกชนิดในรอบปี -วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้เองในฟาร์มได้แก่ ................................................................................ ............... -วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่น าเข้าจากภายนอก ได้แก่............................................................................................... ชนิดวัตถุดิบน าเข้า แหล่งที่มา สถานะ อินทรีย์/ธรรมชาติ/ปกติ ขออนุญาตจากกลุ่ม หรือไม่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
31 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต แม่โจ้-2 (MJ-2) …../……./…… 8.3.3 มีการใช้สารเสริม ยาป้องกันโรค สารเร่งการเจริญเติบโต ในอาหารสัตว์ ใช้ ไม่ใช้(รวมทั้งสมุนไพรและน้ าหมักชีวภาพ) ชนิดวัตถุดิบน าเข้า แหล่งที่มา สถานะ อินทรีย์/ธรรมชาติ/ปกติ ขออนุญาตจากกลุ่ม หรือไม่ 1 2 3 4 ค าอธิบายเพิ่มเติม เช่น สูตรอาหาร และการผสมอาหารสัตว์ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………....................................…… 8.3.4 อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การจัดเก็บอาหารสัตว์ อาหารส ารอง วิธีการให้อาหาร และวัตถุดิบที่แตกต่างกันตามฤดูกาล รวมทั้งแผนการจัดหาอาหารอินทรีย์เพียงพอตลอดปี ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 8.3.5 แหล่งน้ าดื่ม - มีน้ าสะอาดให้สัตว์ดื่มเพียงพอหรือไม่ เพียงพอ ไม่เพียงพอใช้น้ าจากแหล่งอื่น - ระบุแหล่งน้ าดื่มส าหรับสัตว์ ............................................................................................................ 9. การจัดการผลิตผลสัตว์(อธิบายขั้นตอนจากฟาร์มถึงการรวบรวมในกลุ่ม หรือการน าไปจ าหน่ายเอง) เช่น การรวบรวมไข่ การรวบรวมผลผลิตสัตว์ และช าแหละสัตว์ เป็นต้น ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความจริง ลงชื่อ..................................................................... วันที่บันทึก...................................................................... (.............................................................................) ลงชื่อพยาน............................................................. (.............................................................................)
32 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต แม่โจ้-2 (MJ-2) …../……./…… 10. แผนการผลิตสัตว์น้ าอินทรีย์ 10.1 ชนิดของสัตว์น้ าอินทรีย์ที่ขอรับรอง ...................................................................................................................................................................................................................................... 10.2 พันธุ์สัตว์อินทรีย์ ผลิตในฟาร์มทั้งหมด น าเข้าทั้งหมด น าเข้าบางส่วน -หากน าเข้า(ระบุ แหล่งที่มา และอายุเมื่อน าเข้า) ................................................................................................................................................................... 10.3 อาหารสัตว์ 10.3.1 แหล่งน้ าดื่ม - มีน้ าสะอาดให้สัตว์ดื่มเพียงพอหรือไม่ เพียงพอ ไม่เพียงพอใช้น้ าจากแหล่งอื่น - ระบุแหล่งน้ าดื่มส าหรับสัตว์ ............................................................................................................ 10.3.2 ชนิดและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่เป็นอาหารสัตว์ทุกชนิดในรอบปี -วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้เองในฟาร์มได้แก่ ................................................................................ ............... -วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่น าเข้าจากภายนอก ได้แก่............................................................................................... ชนิดวัตถุดิบน าเข้า แหล่งที่มา สถานะ อินทรีย์/ธรรมชาติ/ปกติ ขออนุญาตจากกลุ่ม หรือไม่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
33 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต แม่โจ้-2 (MJ-2) …../……./…… 10.3.3 มีการใช้สารเสริม ยาป้องกันโรค สารเร่งการเจริญเติบโต ในอาหารสัตว์ ใช้ ไม่ใช้(รวมทั้งสมุนไพรและน้ าหมักชีวภาพ) ชนิดวัตถุดิบน าเข้า แหล่งที่มา สถานะ อินทรีย์/ธรรมชาติ/ปกติ ขออนุญาตจากกลุ่ม หรือไม่ 1 2 3 4 ค าอธิบายเพิ่มเติม เช่น สูตรอาหาร และการผสมอาหารสัตว์ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 10.3.4 อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การจัดเก็บอาหารสัตว์ อาหารส ารอง วิธีการให้อาหาร และวัตถุดิบที่แตกต่างกันตามฤดูกาล รวมทั้งแผนการจัดหาอาหารอินทรีย์เพียงพอตลอดปี ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 10.3.5 แหล่งน้ า - มีน้ าสะอาดให้สัตว์เพียงพอหรือไม่ เพียงพอ ไม่เพียงพอใช้น้ าจากแหล่งอื่น - ระบุแหล่งน้ าส าหรับสัตว์ ............................................................................................................ 11. การจัดการผลิตผลสัตว์(อธิบายขั้นตอนจากฟาร์มถึงการรวบรวมในกลุ่ม หรือการน าไปจ าหน่ายเอง) เช่น การรวบรวมผลผลิตสัตว์ และช าแหละสัตว์ เป็นต้น ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…… ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความจริง ลงชื่อ..................................................................... วันที่บันทึก...................................................................... (.............................................................................) ลงชื่อพยาน............................................................. (.............................................................................)
34 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต ส าหรับสมาชิกเก่า เพิ่มเติม ในปี ......................... แม่โจ้-2/1(MJ-2/1) …../……./…… เลขที่สมาชิก.............................................สังกัดกลุ่ม/องค์กร............................................................ ชื่อเจ้าของ.......................................................................โทรศัพท์..............................โทรสาร.......................... ที่อยู่เลขที่..............หมู่ที่...............ต าบล.............................อ าเภอ............................จังหวัด... .......................... ชื่อแปลงหรือฟาร์มที่ผลิต........................................................................ขนาดพื้นที่................ไร่............งาน. ที่ตั้ง.......................................................................................................... ......................................................... จ านวนแปลงทั้งหมด..................แปลง...........เป็นอินทรีย์.......................แปลง แปลงปกติ.....................แปลง วันหรือปีที่เลิกสารเคมีครั้งสุดท้าย..วันที่..........เดือน..................พ.ศ. .............................................................. หากแปลงผลิตไม่ได้เป็นอินทรีย์ทั้งหมด มีแผนการปรับเปลี่ยนเข้าสู่อินทรีย์ทั้งหมดภายในปี........................... แผนผังฟาร์ม แสดงแปลงผลิตทุกแปลง ให้หมายเลขแปลงหรือชื่อแปลง ระบุความเป็นอินทรีย์หรือปกติ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้าง
35 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต ส าหรับสมาชิกเก่า เพิ่มเติม ในปี ......................... แม่โจ้-2/1(MJ-2/1) …../……./…… 5. แผนการผลิตพืชอินทรีย์(ในปีเริ่มสมัคร หากมีการเพิ่มเติมปีต่อไปให้แนบมาใหม่) 5.1 ชนิดและจ านวนพืชที่ปลูกแต่ละแปลง แปลงที่ พื้นที่ ไร่ ชนิดพืช ผลผลิตหลัก หน่วยวัด (ต้น กก.) ปริมาณ จ านวน/ปี 1 2 3 4 5 6 5.2 แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ หรือพันธุ์พืช (โปรดระบุ ผลิตเอง หรือน ามาจากแหล่งอื่น ระบุแหล่งที่มา) ชนิดเมล็ดพันธุ์/ ต้นกล้า/ท่อนพันธุ์ แหล่งที่มา (ผลิตเองในฟาร์ม หรือซื้อมา/รับมา จากที่อื่น - กรุณาระบุชื่อยี่ห้อ) คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ อินทรีย์ หรือทั่วไป คลุกยา/ฮอร์โมน/ หรือไม่คลุกยา/ฮอร์โมน GMO หรือ ไม่ใช่ GMO 7. การจัดการหลังเก็บเกี่ยวและการตลาด (อธิบายขั้นตอนจากฟาร์มถึงการรวบรวมในกลุ่ม หรือการน าไป จ าหน่ายเอง) เช่น การรวบรวมข้าว การสีข้าว การรวบรวมผัก การแปรรูป เป็นต้น …………………………………………………………………………………………………..............…………………… …………………………………................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................. ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความจริง ลงชื่อ..................................................................... วันที่บันทึก...................................................................... (.............................................................................) ลงชื่อพยาน............................................................. (.............................................................................)
36 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต ส าหรับสมาชิกเก่า เพิ่มเติม ในปี ......................... แม่โจ้-2/1(MJ-2/1) …../……./…… 8. แผนการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ 8.1 ชนิดของปศุสัตว์อินทรีย์ที่ขอรับรอง โคเนื้อ ผลผลิตต่อปี.......ตัว โคนม แม่รีดนม.......ตัว/ปี น้ านม...........ตัน/ปี ไก่/เป็ดเนื้อ ........ ไก่ ..................ตัว/ปี เป็ด...............ตัว/ปี ไก่/เป็ดไข่ แม่.................ตัว/ปี ไข่...............ฟอง/ปี สุกร................... ผลผลิต...........ต่อปี 8.2 พันธุ์สัตว์อินทรีย์ ผลิตในฟาร์มทั้งหมด น าเข้าทั้งหมด น าเข้าบางส่วน -หากน าเข้า(ระบุ แหล่งที่มา และอายุเมื่อน าเข้า) ............................................................................................................................................................ 8.3 อาหารสัตว์ 8.3.1 การผลิตอาหารสัตว์ ผสมเอง ซื้อตลาด ซื้อจากกลุ่ม อื่นๆ 8.3.2 ชนิดและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่เป็นอาหารสัตว์ทุกชนิดในรอบปี -วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้เองในฟาร์มได้แก่ ................................................................................ ............... -วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่น าเข้าจากภายนอก ได้แก่............................................................................................... ชนิดวัตถุดิบน าเข้า แหล่งที่มา สถานะ อินทรีย์/ธรรมชาติ/ปกติ ขออนุญาตจากกลุ่ม หรือไม่ 1 2 3 4 8.4.5 อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การจัดเก็บอาหารสัตว์ อาหารส ารอง วิธีการให้อาหาร และวัตถุดิบที่ แตกต่างกันตามฤดูกาล รวมทั้งแผนการจัดหาอาหารอินทรีย์เพียงพอตลอดปี ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความจริง ลงชื่อ..................................................................... วันที่บันทึก...................................................................... (.............................................................................) ลงชื่อพยาน............................................................. (.............................................................................)
37 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... กลุ่ม แผนการผลิตเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ของผู้ผลิต ส าหรับสมาชิกเก่า เพิ่มเติม ในปี ......................... แม่โจ้-2/1(MJ-2/1) …../……./…… 8. แผนการผลิตสัตว์น้ าอินทรีย์ 8.1 ชนิดของสัตว์น้ าอินทรีย์ที่ขอรับรอง ……………………………………………………………………………………………………………………………………….. 8.2 พันธุ์สัตว์อินทรีย์ ผลิตในฟาร์มทั้งหมด น าเข้าทั้งหมด น าเข้าบางส่วน -หากน าเข้า(ระบุ แหล่งที่มา และอายุเมื่อน าเข้า) ............................................................................................................................................................ 8.3 อาหารสัตว์ 8.3.1 การผลิตอาหารสัตว์ ผสมเอง ซื้อตลาด ซื้อจากกลุ่ม อื่นๆ 8.3.2 ชนิดและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่เป็นอาหารสัตว์ทุกชนิดในรอบปี -วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้เองในฟาร์มได้แก่ ................................................................................ ............... -วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่น าเข้าจากภายนอก ได้แก่............................................................................................... ชนิดวัตถุดิบน าเข้า แหล่งที่มา สถานะ อินทรีย์/ธรรมชาติ/ปกติ ขออนุญาตจากกลุ่ม หรือไม่ 1 2 3 4 8.4.5 อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การจัดเก็บอาหารสัตว์ อาหารส ารอง วิธีการให้อาหาร และวัตถุดิบที่ แตกต่างกันตามฤดูกาล รวมทั้งแผนการจัดหาอาหารอินทรีย์เพียงพอตลอดปี ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความจริง ลงชื่อ..................................................................... วันที่บันทึก...................................................................... (.............................................................................) ลงชื่อพยาน............................................................. (.............................................................................)
..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิท แบบฟอร์มฐานข้อมูลสมาชิก ระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม ศู ชื่อกลุ่ม............................................................ที่ตั้ง......................................................... ชื่อประธานกลุ่ม.........................................................โทร...............................................ช หน่วยงานหรือองค์กรสนับสนุนหลัก.........................................................................ชื่อผู้ ชื่อเกษตรกร ที่อยู่
38 ทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... นย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แม่โจ้-3 (MJ-3) …../……./…… ........ ....................................................................................วันที่สมัคร.............................. . ชื่อผู้ประสานงานกลุ่ม... .......................................................โทร......................................... ผู้ประสานงานของหน่วยงานหลัก.............................................โทร...................................... เบอร์โทร หมายเลขบัตร ประชาชน พื้นที่ (ไร่) ชนิดผลผลิตหลัก (ข้อมูลจากแผนการผลิต)
39 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... โครงการรับรองแบบมีส่วนร่วม ศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แม่โจ้-4 (MJ-4) …../……./…… ข้อมูลพื้นฐาน 1 ชื่อเจ้าของ หมายเลขสมาชิก ตรวจครั้งที่.........ปี.................... 2 ชื่อผู้ให้ข้อมูล นาย/นาง/น.ส. 3 สังกัดกลุ่ม: หมายเลขสมาชิกกลุ่ม 4 ชื่อผู้ประสานงานกลุ่ม 5 ก) สถานะพื้นที่การผลิต เป็นเจ้าของ เช่า แบ่งปันผลผลิต ข) จ านวนแปลงที่ผลิตทั้งหมด เป็นเกษตรอินทรีย์..........แปลง แปลงปกติ..........แปลง 6 เก็บเกี่ยวผลผลิตมาเป็นเวลากี่ปี _____________ ปี ตั้งแต่ปี ตอนที่ 1 สภาพการใช้พื้นที่ทั่วไป 7 พื้นที่การผลิตใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และ ยาเคมีครั้งสุดท้าย เดือน/ปี.................. 8 ผู้ผลิตมีความเข้าใจมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งสมาชิกครอบครัว (ทดสอบสมาชิกใน ครอบครัว) ใช่ ไม่ใช่ 9 ผู้ผลิตใช้ปัจจัยการผลิตจากภายในฟาร์ม หรือฟาร์มใกล้เคียง หรือภายนอกกลุ่ม ที่มาตรฐาน อนุญาตให้ใช้หรือขออนุญาตจาก กลุ่มแล้วเท่านั้น เช่น ระบุ ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ อาหาร สัตว์ ใช่ ไม่ใช่ 10 จ านวนแปลงทั้งหมดของครอบครัว.........................แปลง พื้นที่..........................ไร่ ดังนี้ แปลงที่ ชื่อแปลง ตามที่ระบุไว้ในแผนการผลิต ระบุ วันเดือนปี ที่ใช้สารเคมีครั้ง สุดท้าย เนื้อที่ (ไร่) สถานะ แปลง 1 อินทรีย์ ปกติ แปลง 2 อินทรีย์ ปกติ แปลง 3 อินทรีย์ ปกติ แปลง 4 อินทรีย์ ปกติ แปลง 5 อินทรีย์ ปกติ 11 ผู้ผลิตมีแผนที่จะปรับเปลี่ยนสู่เกษตรอินทรีย์ทั้งหมดภายใน ปี............... ใช่ ไม่ใช่ 12 แปลงที่ขอการรับรองในครั้งนี้คือแปลงที่.......................................เนื้อที่รวมทั้งหมด.................ไร่. 13 ผู้ผลิตมีแผนที่แปลงผลิต แสดงให้เห็นชัดเจน หรือชี้ให้เห็นแปลงผลิตทุกแปลงอย่างแจ่มแจ้ง ใช่ ไม่ใช่ 14 จ าแนกชนิดของผลิตผลในฟาร์มทั้งที่จ าหน่ายและใช้บริโภคในครัวเรือน ชื่อชนิดพืช ผัก ผลไม้ (ระบุพันธุ์) เนื้อที่ ประมาณการผลผลิตทั้งหมด ต่อปี ผลิตผลที่จ าหน่าย กก. (อินทรีย์เท่านั้น) อินทรีย์ ..........กก ปกติ............กก อินทรีย์ ..........กก ปกติ............กก อินทรีย์ ..........กก ปกติ............กก
40 ..........คู่มือ การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส มหาวิทยาลัยแม่โจ้(Maejo PGS) โดย ศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.......... โครงการรับรองแบบมีส่วนร่วม ศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แม่โจ้-4 (MJ-4) …../……./…… เมล็ดพันธุ์และท่อนพันธุ์ 15 ก) ผู้ผลิตใช้เมล็ดพันธุ์ หรือท่อนพันธุ์อินทรีย์ และไม่ได้คลุกยาเคมี ใช่ ไม่ใช่ ข) หากหาไม่ได้ มีการล้างและก าจัดอย่างเหมาะสมใช่หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ การอนุรักษ์ดิน และน้ า 16 ไม่พบมีพื้นที่เกิดการสูญเสียหรือท าลายหน้าดิน เช่น เป็นร่องที่เกิดจากการชะล้าง หรือ เปลือยดิน ใช่ ไม่ใช่ 17 ผู้ผลิตมีการจัดการป้องกันการพังทลายของดิน เช่น ท าฝาย ท าคันกั้น ปลูกพืชขวางแนวระดับ ฯ ใช่ ไม่ใช่ 18 ผู้ผลิตมีการปลูกพืชหมุนเวียน พืชระหว่างแถว พืชคลุมดิน ใช่ ไม่ใช่ 19 สังเกตพืชในฟาร์มมีการเจริญเติบโตดี? ใช่ ไม่ใช่ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ 20 ผู้ตรวจเห็นตัวอย่างการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ท้องถิ่นหรือไม่ เช่น แนวพุ่มไม้ แนวรั้ว หนองน้ า ป่าธรรมชาติ ใช่ ไม่ใช่ 21 จากการสังเกตและพูดคุยกับผู้ผลิตมีแนวทางอย่างไรที่จะรักษา ส่งเสริมให้เกิดความหลากหลาย ทางชีวภาพในฟาร์ม เช่น การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิด การปลูกพืชหลากหลายชนิด รักษาพืชท้องถิ่น (อธิบาย) .................................................................................................................................................................. 22 ผู้ผลิตหลีกเลี่ยงการเผาอินทรีย์วัตถุภายในฟาร์ม เช่น พบมีการไถกลบตอซัง แทนการเผา หรือสอบถามวิธีการก าจัดเศษเหลืออินทรียวัตถุ ใบไม้ เป็นต้น ใช่ ไม่ใช่ ไม่ท า การจัดการธาตุอาหารในดินและการส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดิน 23 ท าเครื่องหมายถูกหน้าข้อความข้างล่างที่ผู้ผลิตจัดการหมุนเวียนธาตุอาหารและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปลูกปุ๋ยพืชสด พืชหมุนเวียน พืชคลุมดิน พืชแซมระหว่างแถว ปุ๋ยคอกในฟาร์ม ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกจากนอกฟาร์ม ฟื้นฟูดิน การคลุมดิน การเตรียมดิน ใช้วัสดุเหลือทิ้งจากพืชสัตว์ในฟาร์ม ท าปุ๋ย การใช้จุลินทรีย์จากการหมักธรรมชาติ 24 หากมีการใช้มูลสัตว์มาท าเป็นปุ๋ย ผู้ผลิตท าตามมาตรฐานหรือไม่ เช่น ไม่ใช้มูลสัตว์ที่หมักไม่ สมบูรณ์ กับพืชผัก และไม่ใช้มูลสัตว์จากการเลี้ยงสัตว์อุตสาหกรรมที่ใช้สารเคมีมาก และจาก การเลี้ยงสัตว์ขังกรงตลอดเวลา เช่นมูลไก่ไข่ ใช่ ไม่ใช่ 25 ผู้ผลิตใช้ปุ๋ยจากนอกฟาร์มมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ? หากมี ตรวจสอบส่วนผสม และกลุ่มอนุญาตให้ใช้ในที่ประชุมกลุ่ม แล้วหรือไม่ ชนิดปุ๋ยและรายละเอียดการใช้ ชนิดพืชที่ใช้ ปริมาณและ ระยะเวลาใช้ แหล่งที่มา ได้รับการรับรอง เป็นอินทรีย์