The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

มาตรการการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by khotchapong29, 2022-12-28 02:10:45

การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย

มาตรการการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

10

มาตรการการบริหารจัดการ

สภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย

ในสถานศึกษาระดับปฐมวัย

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

1. บริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความ
ปลอดภัยอย่่างเป็นระบบ

2. จัดให้มีช่องทางการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

3. จัดให้มีแผนเผชิญเหตุและภัยอันตรายต่างๆ
ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

4. ค้นหาจุดเสี่ยง เพื่อหาแนวทางป้องกัน

5. ประเมินผลสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 3 เดือน

6. ปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

7. เฝ้าระวังอันตราย และการช่วยเหลือเบื้องต้น

8. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้อง
9. เฝ้าระวังติดตามพัฒนาการเด็ก
รายบุคคลเป็นระยะ
10. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว
และชุมชน

แบบติดตามการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย
ในสถานศึกษาระดับปฐมวัย

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.1 บริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ
1.จัดทำนโยบายและแผนที่ครอบคลุมโครงสร้างอาคารบริเวณที่ตั้ง ภายใน
ภายนอกอาคาร วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิด รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (มี / ไมีมี)

2.ปฏิบัติตามแผนอย่างเป็นระบบและมีการสำรวจ ค้นหาจุดเสี่ยง
เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง (มี / ไมีมี)

3.ประเมินผลการดำเนินงานตามแผน (มี / ไมีมี)

4.นำผลจากการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการ
ด้านสภาพแวดล้อม เพื่อความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ (มี / ไมีมี)

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.2 โครงสร้างและตัวอาคารมั่นคง ตั้งอยู่ในบริเวณและสภาพแวดล้อม
ที่ปลอดภัย

1.โครงสร้างและตัวอาคารมีความมั่นคง มีขอบเขตและทางเข้า-ออกที่ชัดเจน
(มี / ไมีมี)
2.บริเวณที่ตั้งปลอดภัยสะอาดไม่อยู่ใกล้แหล่งมลพิษทางอากาศ น้ำ ดิน
เว้นแต่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
(มี / ไมีมี)
3.ติดตามประเมินผลการสำรวจสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 3 เดือน และแก้ไข
ในส่วนที่มีโอกาสเกิดอันตรายได้มากอย่างเร่งด่วน (มี / ไมีมี)

4.นำผลจากการประเมิน ปรับปรุง/พัฒนาระยะยาว (มี / ไมีมี)

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.3 จัดการความปลอดภัยของพื้นที่เล่น/สนามเด็กเล่นและ
สภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร

1.สภาพแวดล้อมภายนอกอาคารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีความปลอดภัย
เครื่องเล่นมีความเหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กตามวัย (มี / ไมีมี)

2.พื้นที่เล่น/สนามเด็กเล่น เป็นที่ปลอดภัยในการเล่นของเด็ก
มีการสำรวจความเสี่ยงของพื้นที่เล่น/สนามเด็กเล่นอย่างต่อเนื่อง(มี / ไมีมี)

3.ติดตามประเมินการดำเนินงานขอ้ 1 และ2 สม่ำเสมออย่างน้อย
ทุก 3 เดือน และแก้ไขในส่วนที่มีโอกาสเกิดอันตราย
ได้มากอย่างเร่งด่วน (มี / ไมีมี)

4.นำผลการประเมินวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง/พัฒนา (มี / ไมีมี)

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.4 จัดการสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ครุภัณฑ์ อุปกรณ์-
เครื่องใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสมกับการใช้งานและเพียงพอ

1.สภาพแวดล้อมภายในอาคารมีความปลอดภัย (มี / ไมีมี)

2.ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องใช้ปลอดภัย มีทะเบียนควบคุมตรวจสอบ-
สม่ำเสมอ ให้ใช้งานได้ครบถ้วนไม่ชำรุด และเป็นปัจจุบัน (มี / ไมีมี)

3.ติดตามประเมินการดำเนินงานขอ้ 1 และ2 สม่ำเสมออย่างน้อย
ทุก 3 เดือน และแก้ไขในส่วนที่มีโอกาสเกิดอันตราย
ได้มากอย่างเร่งด่วน (มี / ไมีมี)

4.นำผลการประเมินวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง/พัฒนา (มี / ไมีมี)

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.5 จัดให้มีของเล่นที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน มีจำนวนเพียงพอ
สะอาด เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก

1.ของเล่นปลอดภัยตามมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) และเหมาะสม-
ตามพัฒนาการของเด็กตามวัย (มี / ไมีมี)

2.มีทะเบียนควบคุมตรวจสอบสม่ำเสมอให้มีจำนวนเพียงพอ เหมาะสม-
กับวัยและพัฒนาการของเด็กและมีความสะอาดใช้งานได้ครบถ้วน
ไม่ชำรุด และเป็นปัจจุบัน (มี / ไมีมี)

3.ติดตามประเมินการดำเนินงานขอ้ 1 และ2 สม่ำเสมออย่างน้อย
ทุก 3 เดือน และแก้ไขในส่วนที่มีโอกาสเกิดอันตราย
ได้มากอย่างเร่งด่วน (มี / ไมีมี)

4.นำผลการประเมินวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง/พัฒนา
(มี / ไมีมี)

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.6 ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเดินทางอย่างปลอดภัย

1.สำรวจการเดินทางของเด็กและวางแผนการดำเนินงานเพื่อให้เกิด-
ความปลอดภัยในการเดินทางของเด็ก (มี / ไมีมี)

2.ให้ความรู้ สร้างวินัยและฝึกทักษะในการเดินทางไป-กลับ
อย่างปลอดภัย (มี / ไมีมี)

3.ปรับปรุงโครงสร้างและการปฎิบัติเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย
และป้องกันการบาดเจ็บในการเดินทางของเด็ก (มี / ไมีมี)

4.มีการประเมินผลการดำเนินงานและพัฒนาปรับปรุง (มี / ไมีมี)

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.7 จัดให้มีระบบป้องกันภัยจากบุคคลทั้งภายในและ-
และภายนอกสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

1.มีระบบป้องกันภัยจากบุคคล ตรวจสอบการเข้า-ออก การรับและส่งเด็ก
(มี / ไมีมี)

2.สร้างความตระหนักให้บุคลากรทุกฝ่ายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
เฝ้าระวังความปลอดภัยของเด็กจากบุคคลทั้งภายในและภายนอก
เมื่อพบสิ่งที่น่าสงสัยต้องรายงานให้ครูเวรประจำวันทราบ
เพื่อป้องกันและแก้ไข (มี / ไมีมี)

3.มีการบันทึกและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน (มี / ไมีมี)

4.มีการประเมินผลการดำเนินงานและพัฒนาปรับปรุง
(มี / ไมีมี)

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.8 จัดให้มีระบบรับเหตุฉุกเฉิน ป้องกันอัคคีภัย/
ภัยพิบัติตามความเสี่ยงของพื้นที่

1.แผนฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ (มี / ไมีมี)

2.ฝึกซ้อมแผนอพยพให้กับบุคลากรและเด็กทุกคนเสมือนเกิดเหตุจริง
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (มี / ไมีมี)

3.มีการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินการ (มี / ไมีมี)

4.นำผลประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา (มี / ไมีมี)

ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 2.2.2 จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้อง
เหมาะสมในการดูแลสุขภาพความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

1.มีการส่งเสริมสุขนิสัยที่ดีให้กับเด็กในชีวิตประจำวันด้านการกิน
การล้างมือ การแปรงฟัน การเล่น การนอน การักษาความสะอาด
และการป้องกันการติดเชื้อ (มี / ไมีมี)

2.มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขนิสัยที่ดีให้กับเด็กด้านการกิน
การล้างมือ การแปรงฟัน เคลื่อนไหวร่างกาย เล่น ออกกำลังกาย
การนอน การรักษาความสะอาดโดยให้เด็กลงมือปฏิบัติ
กิจกรรมด้วนตนเอง (มี / ไมีมี)

3.มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้การระมัดระวังตัวเองให้ปลอดภัย
และไม่เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น จากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต-
ประจำวัน จากการเล่นและการทำกิจกรรม(มี / ไมีมี)

4.การสร้างข้อตกลงและดูแลให้เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อความ-
ปลอดภัยอย่างเคร่งครัดด้วยการให้เหตุผล เพื่อให้เด็กมีความ-
เต็มใจที่จะปฏิบัติและให้ความร่วมมือ (มี / ไมีมี)

5.การจัดกิจกรรม การสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อให้เด็กรู้จักขอความ-
ช่วยเหลือ และปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เมื่อเผชิญกับภัยและอันตราย
จากคนแปลกหน้า การพลัดหลง ไฟไหม้ รวมทั้งภัยพิบัติจากธรรมชาติ
(มี / ไมีมี)

*หมายเหตุ โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป

ภาคผนวก

















กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

จาริญญา คชพงษ์
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ


Click to View FlipBook Version