The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเตรียมพร้อมรับการประเมินภายนอก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Jiran Kc, 2021-03-23 06:26:53

การเตรียมพร้อมรับการประเมินภายนอก

การเตรียมพร้อมรับการประเมินภายนอก

การเตรยี มความพรอ้ ม
ของสถานศกึ ษา

เพอ่ื รบั การประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

สาำ นักทดสอบทางการศกึ ษา
สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน
กระทรวงศกึ ษาธิการ

การเตรียมความพรอ้ มของ
สถานศกึ ษาเพ่ือรับการประเมนิ

คุณภาพภายนอก

ส�ำนกั ทดสอบทางการศึกษา
สำ� นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน

การเตรยี มความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่ือรบั การประเมนิ คุณภาพภายนอก

ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๕๖๔-๐๗๓-๒
ปีทพ่ี มิ พ ์ : พ.ศ.๒๕๖๓
จำ� นวนพิมพ ์ : ๑,๐๐๐ เลม่
จดั พมิ พโ์ ดย : สำ� นักทดสอบทางการศึกษา
สำ� นักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ลขิ สทิ ธิ์เปน็ ของ : ส�ำนกั ทดสอบทางการศึกษา
สำ� นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน
กระทรวงศกึ ษาธิการ
โทรศพั ท์ : ๐-๒๒๘๘-๕๗๕๗-๘
โทรสาร : ๐-๒๖๒๘-๕๘๖๒
เว็ปไซต์ : http://bet.obec.go.th
พมิ พท์ ี ่ : หา้ งหนุ้ ส่วนจำ� กดั   เอ็น.เอ.รตั นะเทรดดิ้ง 
ท่ีอยู่ ๑๓/๑๔ ม.๕ แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กทม. ๑๐๑๖๐
โทร.๐๘๑-๗๓๒-๔๒๔๖

ค�ำน�ำ

กระทรวงศึกษาธิการ มีการปฏิรูประบบการประเมินและการประกัน
คุณภาพการศึกษา โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานและประเด็นพิจารณา
ให้สะท้อนถึงคุณภาพอย่างแท้จริง ก�ำหนดเกณฑ์และรายการประเมิน
แบบองค์รวม (Holistic Assessment) ซึง่ เปน็ การประเมนิ โดยใช้ขอ้ มลู เชงิ ประจกั ษ์
(Evidence Based) ลดภาระการจัดท�ำเอกสารท่ีใช้ในการประเมิน ยึดหลัก
การตัดสินระดับคุณภาพตามหลักการตัดสินโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ
(Expert Judgment) ของผู้ประเมิน และใช้การตรวจทานผลการประเมิน
โดยคณะกรรมการประเมินในระดับเดียวกัน (Peer Review) ปรับกระบวนทัศน์
ในการประเมินที่มีเป้าหมายเพ่ือการพัฒนาบนพื้นฐานบริบทของสถานศึกษา
มีการประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
ในการปรบั ปรงุ ระบบ หลกั เกณฑ์ และวธิ ีการประกนั คุณภาพการศึกษาเพอื่ ให้มี
กลไกการปฏิบัติที่เอ้ือต่อการด�ำเนินการตามมาตรฐานการศึกษา ของแต่ละระดับ
และเกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และประกาศใช้
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และระดับ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ประกาศ ณ วันท่ี ๖ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อเป็นหลักในการเทียบเคียงส�ำหรับสถานศึกษา หน่วยงาน
ต้นสังกัด และส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ก�ำกับดูแล และติดตามตรวจสอบคุณภาพ
การศกึ ษา



การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่อื รบั การประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

ดังน้ัน เพ่ือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการประกัน
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งตามกฎกระทรวง
การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑ สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษา
ข้ันพื้นฐาน จึงได้จัดท�ำคู่มือชุดนี้ขึ้น เพ่ือให้ส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา
สามารถใชเ้ ป็นแนวทางในการส่งเสรมิ สนับสนนุ นเิ ทศ ตดิ ตาม และช่วยเหลอื
สถานศึกษาในการด�ำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และสถานศึกษา
สามารถใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศกึ ษา และเตรียมความพรอ้ มส�ำหรบั การประเมินคณุ ภาพภายนอกต่อไป
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ขอขอบคุณผู้บริหาร
ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านท่ีมีส่วนร่วมในการจัดท�ำ
คมู่ ือชดุ น้ีใหส้ มบูรณ์ และหวงั ว่าสถานศึกษาทกุ สังกดั ทจี่ ัดการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน
จะได้รับประโยชน์จากคู่มือชุดนี้ ใช้คู่มือชุดน้ีเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบ
การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ บรรลุตามเป้าหมาย
ท่กี ำ� หนดไว้ได้อยา่ งยัง่ ยนื

(นายอำ� นาจ วชิ ยานวุ ัต)ิ
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน



การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศึกษาเพือ่ รับการประเมนิ คุณภาพภายนอก

คำ� ชแ้ี จง

หลังจากกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ
การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ นโยบายปฏิรูประบบการประเมินและการประกัน
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และประกาศมาตรฐานการศึกษา
ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศูนยก์ ารศึกษาพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๑ ส�ำหรบั ให้สถานศกึ ษาใชเ้ ปน็ แนวทางด�ำเนนิ งาน
เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และเตรียมการส�ำหรับ
การประเมินคุณภาพภายนอก ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานจึงได้
จัดท�ำคู่มือ ส�ำหรับให้ส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาและสถานศึกษาใช้เป็น
แนวทางในการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศึกษาให้เขม้ แขง็
โดยคู่มือน้ี มีจ�ำนวน ๕ เล่ม มีเนื้อหาสาระครอบคลุมรายละเอียด
ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ซ่ึงน�ำเสนอ
หลักการ เหตุผล แนวคิด และกรณีตัวอย่างเก่ียวกับการพัฒนาตามระบบ
การประกนั คณุ ภาพภายในของสถานศกึ ษา ดงั นี้

เลม่ ท่ี ช่อื เอกสาร สาระสำ� คญั

๑ แนวทางการพัฒนาระบบ แนวคิดและหลักการเก่ียวกับการประกันคุณภาพ
การประกนั คุณภาพ การศึกษา แนวทางการพัฒนาระบบการประกัน
การศกึ ษาตามกฎ คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และกรณี
กระทรวงการประกัน ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการพัฒนา
คณุ ภาพการศกึ ษา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
พ.ศ. ๒๕๖๑ สถานศึกษาใหเ้ ขม้ แข็ง



การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่อื รบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก

เล่มท่ี ชื่อเอกสาร สาระส�ำคัญ

๒ การกำ� หนดมาตรฐาน แนวคิด หลักการ แนวทางการก�ำหนดมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศกึ ษา การศึกษาของสถานศึกษา และตัวอย่าง
การก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

๓ การจัดท�ำแผนพฒั นา แนวคิด หลักการ ความส�ำคญั กระบวนการจัดทำ�
การจดั การศึกษา และตัวอย่างของแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
ของสถานศกึ ษา ของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจ�ำปี
(Action Plan)

๔ การจัดท�ำรายงาน หลักการเขียนรายงานผลการประเมินตนเอง
ผลการประเมนิ ตนเอง ข้ันตอน โครงสรา้ ง และตวั อย่าง การจดั ทำ� รายงาน
ของสถานศกึ ษา ประเมนิ ตนเองของสถานศกึ ษา

๕ การเตรียมความพร้อม ความหมาย หลักการ แนวคิด และวัตุประสงค์
ของสถานศกึ ษาเพือ่ รับ ของการประเมินคุณภาพภายนอก การเตรียม
การประเมินคณุ ภาพ ความพร้อมของสถานศึกษาเพ่ือรับการประเมินคุณภาพ
ภายนอก ภายนอก และตัวอย่างแนวทางการเตรียมข้อมูล/
รอ่ งรอยหลกั ฐานเชงิ ประจกั ษ์



การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพอื่ รับการประเมินคณุ ภาพภายนอก

สารบัญ

ค�ำนำ� ก
ค�ำชีแ้ จง ค
สารบัญ จ
ตอนท่ี ๑ บทนำ� ๓

ตอนท่ี ๒ ความหมาย หลักการ แนวคิดและวัตถปุ ระสงค์ ๗
ของการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก ๗
l ความหมายของการประเมินคุณภาพภายนอก ๘
l หลักการ ๘
l แนวคดิ ส�ำคัญ ๙
l วัตถปุ ระสงค์ของการประเมนิ คุณภาพภายนอก ๑๐
l กรอบแนวทางการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

ตอนท่ี ๓ การเตรยี มความพร้อมของสถานศกึ ษา ๒๑
เพอื่ รับการประเมินคุณภาพภายนอก
l บทบาทของผู้มีส่วนเกีย่ วขอ้ งกับการพฒั นาคุณภาพ ๒๑
การศกึ ษาและการเตรยี มความพร้อมของสถานศึกษา ๒๕
เพ่ือรบั การประเมินคุณภาพภายนอก
l แนวทางการเตรียมความพรอ้ มของสถานศึกษา
เพ่อื เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก



การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพือ่ รับการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

ตอนที่ ๔ ตวั อย่างแนวทางการเตรียมข้อมูล/ ๓๑
รอ่ งรอยหลักฐานเชิงประจกั ษ ์
บรรณานกุ รม ๔๕
ภาคผนวก ๔๗
คณะท�ำงาน ๖๗



การเตรียมความพรอ้ มของสถานศกึ ษาเพ่อื รบั การประเมินคุณภาพภายนอก

๑ตอนที่
บทนำ�



๑ตอนที่
บทนำ�

ส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน มบี ทบาทหน้าท่ีและภารกิจ
เก่ียวกับการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
ตามระดับและประเภทการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวง
การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ให้ใช้มาตรฐานการศกึ ษา ทงั้ ระดบั ปฐมวัย ระดับการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน และระดับ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อสถานศึกษาน�ำไปใช้พัฒนา
การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน บนพ้ืนฐานและบริบทของตนเอง
ที่สามารถสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ของผู้เรียนและเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
แต่ละแห่ง การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเข้าสู่คุณภาพและมาตรฐานดังกล่าว
พระราชบญั ญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ไดก้ �ำหนดให้สถานศกึ ษาทกุ แห่ง
ต้องรับการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อย ๑ ครั้ง ในทุก ๕ ปี โดยที่
สถานศึกษาจัดท�ำรายงานการประเมินตนเองเสนอหน่วยงานต้นสังกัดสังเคราะห์
เพ่ือส่งให้ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ
มหาชน) ด�ำเนินการประเมนิ ตามระยะเวลา และเงื่อนไขทีก่ ำ� หนด
การประเมินคุณภาพภายนอก เป็นกระบวนการที่มีความส�ำคัญ
ในการยืนยันความส�ำเร็จของการด�ำเนินงานพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
ตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพ
และอัตลักษณ์ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา ที่มีความเช่ือมโยง
กับระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ไม่สร้างภาระงาน
ให้กับสถานศึกษาโดยเฉพาะภาระงานด้านเอกสารเน้นข้อมูลประจักษ์

3

การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศกึ ษาเพอ่ื รับการประเมนิ คุณภาพภายนอก

(Empirical Data) โดยอาศัยหลักฐาน (Evidence Based) จากการท�ำงาน
ท่ีสะท้อนผลลัพธ์การด�ำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ตลอดจนเผยแพร่ผลการด�ำเนินงาน
ข้อมูลสารสนเทศสู่สาธารณะอย่างถูกต้องและโปร่งใส ซึ่งการประเมินคุณภาพ
ภายนอกไมม่ ีการตัดสนิ ผลการประเมินว่า “รบั รอง-ไมร่ ับรอง” แต่เปน็ การยืนยัน
การประเมินคุณภาพเพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
ของสถานศกึ ษา
ดว้ ยเหตุน้ี ส�ำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน จึงจดั ทำ� เอกสาร
เพื่อสื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมความพร้อมสถานศึกษาเข้ารับ
การประเมินคุณภาพภายนอกให้กับสถานศึกษา และส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ี
การศึกษาหรอื หน่วยงานตน้ สังกดั เพื่อใหผ้ ู้มีส่วนเก่ยี วข้องทกุ ฝ่ายเกดิ ความม่นั ใจ
นอกจากน้ีการเตรียมความพร้อมที่ดี ยังช่วยให้สามารถสะท้อนข้อมูลสภาพจริง
ของสถานศึกษาส�ำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก อันจะก่อให้เกิดประโยชน์
ต่อการพฒั นาคณุ ภาพการจัดการศึกษาของสถานศกึ ษา
วัตถปุ ระสงค์
๑. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแกบ่ คุ ลากรระดับเขตพื้นทกี่ ารศกึ ษา และ
สถานศกึ ษาในการเตรยี มความพรอ้ มรับการประเมินคณุ ภาพภายนอก
๒. เพ่ือใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพ
ภายนอก ตามกรอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

4

การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศึกษาเพ่อื รับการประเมินคุณภาพภายนอก

๒ตอนที่

ความหมาย หลักการ แนวคดิ
และวตั ถปุ ระสงค์

ของการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก



๒ตอนที่

ความหมาย หลกั การ แนวคดิ และวตั ถปุ ระสงค์
ของการประเมินคณุ ภาพภายนอก

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๙ ก�ำหนดให้
สถานศึกษาทุกแห่งต้องรับ การประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อย ๑ ครั้ง
ในทุก ๕ ปี นับต้ังแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผล การประเมินต่อ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ซ่ึงส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน น�ำเสนอแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นหลักการส�ำคัญ
ท่ีส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ได้ก�ำหนดความหมาย หลักการ แนวคิดส�ำคัญและแนวทางการประเมินคุณภาพ
ภายนอก ในการประเมนิ คณุ ภาพภายนอกรอบส่ี ไว้ดงั นี้
ความหมายของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัด
การศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ
สถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกท่ีได้รับการรับรองจากส�ำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคณุ ภาพการศกึ ษา (องค์การมหาชน) เพ่ือเปน็ การประกนั
คุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้มี
คุณภาพดีย่ิงขึ้น ผู้ประเมินภายนอกมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง
ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะน�ำไปสู่การเข้าถึง
คุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพ่ือสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาอยา่ งแทจ้ รงิ

7

การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพอื่ รับการประเมนิ คุณภาพภายนอก

หลักการ
ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ
มหาชน) กำ� หนดหลักการสำ� คัญของการประเมนิ คุณภาพภายนอกไว้ ๒ ประการ
ได้แก่
๑. การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความเชื่อมโยงกับระบบประกัน
คุณภาพภายในของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด ท่ีจะต้องรับผิดชอบให้
บรรลุถึงเป้าหมายในการจัดการศึกษา และร่วมรับผิดชอบ (Accountability)
ตอ่ ผลการจดั การศกึ ษาท่เี กิดขนึ้
๒. การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความท้าทายและช่วยส่งเสริมให้
เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาสู่สากลให้เป็นไปตาม
นโยบายปฏริ ูปการศกึ ษาของประเทศ บรรลเุ ป้าหมายทัง้ ในระดับชาติ และระดบั
นานาชาติ
แนวคิดสำ� คญั
การประเมนิ คณุ ภาพภายนอก มแี นวคิดสำ� คัญ ๔ ประการ คือ
๑. ใช้กลไกการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้เกิด
การพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา ท่ีสอดคล้องกับความต้องการจ�ำเป็น
และยุทธศาสตร์ของประเทศ
๒. เน้นการประเมินเพื่อยืนยันคุณภาพของระบบประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด รับผิดชอบ
ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ตามจุดมุ่งหมาย
ของหลกั สูตร และมีความพร้อมในการแขง่ ขันในระดับสากล

8

การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศึกษาเพือ่ รับการประเมินคุณภาพภายนอก

๓. ให้ความสำ� คญั กบั การประเมนิ ท่ีม่งุ ส่กู ารพฒั นาแบบยั่งยืน เพื่อสง่ เสริม
ให้ผูเ้ รยี นมสี มรรถนะท่ีจำ� เปน็ สำ� หรบั การดำ� เนนิ ชีวติ ในอนาคต และสถานศึกษามี
ขีดสมรรถนะสงู สามารถพฒั นาตนเองไดอ้ ย่างต่อเนื่องในอนาคต
๔. เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสร้างความโดดเด่น หรือเป็นต้นแบบ
ในการพัฒนาในระดับภูมิภาค ระดบั ชาติ และระดบั นานาชาติ
วตั ถปุ ระสงคข์ องการประเมนิ คุณภาพภายนอก
๑. เพ่ือตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการด�ำเนินงานของสถานศึกษา และ
ประเมินคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามกรอบแนวทางและวิธีการท่ีส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา (องค์การมหาชน) ก�ำหนด และสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพ
ภายใน
๒. เพื่อให้ได้ข้อมูลซ่ึงช่วยสะท้อนให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษา
เง่อื นไขของความสำ� เร็จ และสาเหตุของปัญหา
๓. เพ่ือช่วยเสนอแนะแนวทางปรบั ปรงุ และพฒั นาคณุ ภาพการศึกษา
๔. เพ่ือส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายใน
อยา่ งต่อเนื่อง
๕. เพ่ือรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาน
ศึกษาต่อหน่วยงานทเี่ กี่ยวขอ้ งและสาธารณชน

9

การเตรียมความพรอ้ มของสถานศึกษาเพ่ือรับการประเมนิ คุณภาพภายนอก

กรอบแนวทางการประเมนิ คุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้ก�ำหนดกรอบแนวทางการประเมิน
คณุ ภาพภายนอกไว้ ๒ ส่วน ไดแ้ ก่ การประเมินคณุ ภาพมาตรฐาน และการประเมิน
ความโดดเดน่ โดยมรี ายละเอียดการพิจารณาดงั น้ี
ส่วนที่ ๑ การประเมินคุณภาพมาตรฐาน เป็นการประเมินตามพันธกิจ
และบริบทของสถานศึกษา โดยเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน และ
ประเด็นทีไ่ ด้รับแจ้งจากหนว่ ยงานต้นสังกดั หรอื หน่วยงานท่กี ำ� กบั ดแู ล ดังน้ี

ตารางแสดงกรอบแนวทางการประเมนิ คุณภาพภายนอก

ระดับการจดั การศกึ ษา แนวทางพจิ ารณาคุณภาพ

ปฐมวัย ข้นั พ้ืนฐาน

๑. คุณภาพของเดก็ หรอื ดา้ นอน่ื ๑. คุณภาพของผู้เรียน หรือ Ø ความเหมาะสม เปน็ ไปได้
ตามช่อื ที่สถานศกึ ษาก�ำหนด ด้านอื่นตามชื่อที่สถานศึกษา Ø ความเชอ่ื ถอื ได้
กำ� หนด Ø ประสทิ ธิผล

๒. กระบวนการบรหิ ารและการ ๒. กระบวนการบริหารและ Ø ความเปน็ ระบบ
จัดการ หรือด้านอื่นตามช่ือ การจัดการ หรือด้านอ่ืน Ø ความเชื่อถอื ได้
ท่ีสถานศกึ ษากำ� หนด ตามชอ่ื ทสี่ ถานศกึ ษาก�ำหนด Ø ประสทิ ธิผล

๓. การจัดประสบการณ์ที่เน้น ๓. กระบวนการจัดการเรียน Ø ความเป็นระบบ
เด็กเป็นส�ำคัญหรือด้านอื่น การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น Ø ความเชื่อถอื ได้
ต า ม ช่ื อ ท่ี ส ถ า น ศึ ก ษ า ส�ำคญั หรือดา้ นอืน่ ตามชอื่ ที่ Ø ประสทิ ธิผล
กำ� หนด สถานศึกษากำ� หนด

10

การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศกึ ษาเพือ่ รบั การประเมินคุณภาพภายนอก

แนวทางพิจารณาคณุ ภาพ
ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ
มหาชน) ได้ก�ำหนดแนวทางพิจารณาคุณภาพในการประเมินคุณภาพภายนอกไว้
ดงั น้ี
๑. ความเหมาะสม เป็นไปได้ (Propriety/Feasibility) หมายถึง
การก�ำหนดเป้าหมาย/เกณฑ์ ความส�ำเร็จ ของผู้เรียนมีความเหมาะสมกับบริบท
ของสถานศึกษา และมคี วามเปน็ ไปไดใ้ นการปฏิบัตจิ รงิ ประหยัด และคุ้มคา่
๒. ความเป็นระบบ (Systematic) หมายถึง กระบวนการด�ำเนินงาน
ด้านการบริหารและการจัดการด้านการจัดการเรียนรู้ ที่เกิดจากการคิดอย่าง
เป็นกระบวนการ โดยพิจารณาจากตัวอย่าง เช่น กระบวนการ ๕W๑H
วา่ ใคร (Who) คอื ใครรบั ผิดชอบ ใครเกีย่ วข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรือ่ งนัน้
มีใครบ้าง ท�ำอะไร (What) คือ เราจะทำ� อะไร มีใครทำ� อะไรบ้าง ทไ่ี หน (Where)
คือ สถานที่ท่ีเราจะท�ำว่าจะท�ำท่ีไหน เหตุการณ์หรือส่ิงท่ีท�ำนั้นอยู่ท่ีไหน
เมอื่ ใด (When) คือ ระยะเวลาทจี่ ะทำ� จนถึงสิ้นสดุ เหตุการณ์น้นั ท�ำเมื่อวัน เดอื น
ปี ใด ทำ� ไม (Why) คือ สง่ิ ท่เี ราจะทำ� นั้น ทำ� ดว้ ยเหตผุ ลใด เหตุใดจึงไดท้ �ำส่งิ น้นั
และอย่างไร (How) คือ ส่ิงท่ีเราต้องรู้ว่า เราจะสามารถท�ำทุกอย่างให้บรรลุผล
ไดอ้ ย่างไร เหตุการณ์หรือส่ิงท่ที ำ� นนั้ ทำ� อยา่ งไรบา้ ง หรอื อาจจะเปน็ กระบวนการ
PDCA คือ การวางแผน (Plan) การปฏิบตั ิตามแผน (DO) การตรวจสอบ (Check)
และการปรับปรุงการดำ� เนนิ การอย่างเหมาะสม (Act) เปน็ ตน้
๓. ความเช่ือถือได้ (Validity/Credibility) หมายถึง กระบวนการ
ประเมินคุณภาพการศึกษา ท่ีเกิดจากผู้เก่ียวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้มาจากการใช้เคร่ืองมือเก็บรวบรวมข้อมูลท่ีหลากหลาย
ใชห้ ลักฐานหรือสารสนเทศเชงิ ประจักษ์ หรอื มขี อ้ มูลจากหลายแหลง่ ในการตัดสิน
ผลการด�ำเนินงาน ซ่ึงรวมทั้งข้อมูลสารสนเทศหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ ท่ีอยู่ใน

11

การเตรียมความพรอ้ มของสถานศกึ ษาเพื่อรับการประเมนิ คุณภาพภายนอก

ระบบฐานข้อมูลที่ง่ายแก่การตรวจสอบและข้อมูลท่ีอาจไม่ได้อยู่ในระบบฐาน
ข้อมลู แตเ่ กดิ ข้นึ ตามสภาพจริง โดยผลการประเมนิ คุณภาพการศึกษาในด้านนนั้ ๆ
เม่ือตรวจสอบจากหลักฐานเชิงประจักษ์มีความตรงตามสภาพจริง เหมาะสม
ชดั เจน เป็นท่ยี อมรับได้
๔. ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ผลท่ีเกิดขึ้นของการปฏิบัติ
ตามแผนการด�ำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายท่ีก�ำหนดไว้ อันเป็นผล
ที่เกิดต่อผู้เรียน ต่อโรงเรียน ต่อศูนย์พัฒนาเด็ก หรือต่อวงวิชาการ ซ่ึงผล
การดำ� เนนิ งานมพี ฒั นาการอย่างต่อเนือ่ ง มนี วัตกรรมและเปน็ แบบอย่างที่ดี
๕. นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง แนวคิดหรือวิธีการท่ีน�ำมาใช้
ในการปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อการพัฒนา ซ่ึงท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางความคิด กระบวนการ หรือองค์กร อย่างสิ้นเชิงหรือ อย่างเห็นได้ชัด
เปน็ การพัฒนาตอ่ ยอด เพิ่มมูลค่า มีเปา้ หมายในเชงิ บวก ซ่ึงมเี กณฑ์การพจิ ารณา
คอื มีความสร้างสรรค์ (C – Creative) มีความใหมใ่ นบริบทน้ัน ๆ (N – New)
มคี ุณคา่ มีประโยชน์ (V – Value Added) และปรบั ใช้ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
(A – Adaptive)
๖. เป็นแบบอยา่ งท่ีดี (Best Practice) หมายถึง รูปแบบวธิ ีปฏบิ ตั หิ รือ
ขั้นตอนการปฏิบัติท่ีท�ำให้สถานศึกษาประสบความส�ำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศ
ตามเป้าหมาย เปน็ ทย่ี อมรับในวงวิชาการหรอื วิชาชพี มีหลกั ฐานของความส�ำเร็จ
ปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปรูปแบบวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจน
ความรู้และประสบการณ์ มีร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ เผยแพร่ให้หน่วยงาน
ภายในหรือภายนอกสามารถน�ำไปใชป้ ระโยชน์


12

การเตรยี มความพร้อมของสถานศึกษาเพอื่ รบั การประเมนิ คุณภาพภายนอก

สว่ นท่ี ๒ การประเมินความโดดเดน่
ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ
มหาชน) ได้ก�ำหนดให้มีการประเมินความโดดเด่นของสถานศึกษา เพ่ือเป็น
การส่งเสรมิ ความเป็นเลศิ ของสถานศึกษา ให้เปน็ ตน้ แบบในการพฒั นาในดา้ นต่าง ๆ
และเร่งรัดคุณภาพสถานศึกษาสู่การเป็นสถานศึกษาขีดสมรรถนะสูง
พร้อมส�ำหรับการแข่งขันระดับสากลในอนาคต โดยสถานศึกษาทั้งระดับปฐมวัย
ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษา
พิเศษ สามารถเลือกความโดดเด่นได้ตามศักยภาพและความสมัครใจ
ในการประเมินความโดดเด่น ซ่ึงผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัด
หรือหากผู้ประเมินภายนอกพิจารณาเห็นว่าสถานศึกษามีความโดดเด่นด้านใด
ด้านหนึ่งก็สามารถประเมินความโดดเด่นให้กับสถานศึกษาได้โดยความเห็นชอบ
จากสถานศึกษา ท้ังน้ี สถานศึกษาจะขอรับการประเมินหรือไม่รับการประเมินก็ได้
โดยมกี รอบแนวทางการประเมิน ดังน้ี

ตารางแสดงกรอบแนวทางการประเมนิ ความโดดเด่นของสถานศกึ ษา

มติ คิ ณุ ภาพท่สี ถานศึกษา แนวทางการพิจารณา
สามารถขอรบั การประเมนิ ความโดดเดน่ การประเมินความโดดเดน่

ระดบั ปฐมวัย

๑. ด้านพ้นื ฐานส�ำคญั พฒั นาการด้านทักษะ ๑. ระดับคุณภาพ C๓ คือ สถานพัฒนาเด็ก
ภาษาและการสื่อสาร ปฐมวัยสามารถด�ำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ท่ี
๒. ด้านนวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย ต้องการและเป็นต้นแบบ มีความโดดเด่น
การสร้างสรรค์นวัตกรรม การศึกษาวิจัย มีความเปน็ นานาชาติ
การประยุกต์องค์ความรู้ด้านปฐมวัยและ ๒. ระดับคุณภาพ C๒ คือ สถานพัฒนาเด็ก
พัฒนา มาสู่กระบวนการจัดประสบการณ์ ปฐมวัยสามารถด�ำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ท่ี
ท่ีเน้นเด็กเป็นส�ำคัญ การดูแลและพัฒนา ตอ้ งการและเปน็ ตน้ แบบ มีความโดดเดน่ ไดร้ ับ
เด็กปฐมวยั อยา่ งต่อเนอ่ื งจนเกดิ ผลดีอย่างยงิ่ ต่อ การยอมรบั ระดับชาติ
คณุ ภาพเด็กปฐมวัย และสามารถถอดบทเรียน

13

การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

มติ ิคุณภาพทส่ี ถานศึกษา แนวทางการพิจารณา
สามารถขอรบั การประเมินความโดดเดน่ การประเมนิ ความโดดเด่น

ระดับปฐมวัย

กระบวนการพัฒนาเป็นต้นแบบ หรือเป็นแบบ ๓. ระดับคุณภาพ C๑ คือ สถานพัฒนาเด็ก
อย่างได้อย่างชัดเจน เช่น การจัดกิจกรรม ปฐมวัยสามารถด�ำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ที่
กิน-กอด-เล่น-เล่า การเรียนรู้ผ่านการเล่น ต้องการและเป็นต้นแบบหรือ มีความโดดเด่น
(Learning through Play) การพัฒนา ระดบั ทอ้ งถน่ิ /ภูมิภาค
๕ ธรรมะ (ธรรมะ วัฒนธรรม คุณธรรม
จรยิ ธรรม ธรรมชาต)ิ การเรียนร้เู ชิงรกุ (Active
Learning) การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative
Thinking) การส�ำรวจค้นหา (Exploring)
การพฒั นาทักษะการคิดด้าน การจดั การ (Brain
Executive Functions) การเสริมแรง
เชงิ บวก (Positive Reinforcement)
๓. ด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้(Learning
Communities) การที่ผู้บริหาร ครู บุคลากร
สนบั สนนุ พ่อแม่ ผปู้ กครอง ชุมชน นักวชิ าการ
และผู้แทน หน่วยงานที่เก่ียวข้องมีเวที และ
พื้นท่ีใน การแลกเปล่ียนองค์ความรู้ และ
ประสบการณ์ ทั้งการพัฒนาเด็กปฐมวัย และ
การสืบทอดทางวัฒนธรรมที่ดีงามจากชุมชน
และสังคมสู่การ สร้างและพัฒนาแนวทาง
การพัฒนาเดก็ ปฐมวัยร่วมกัน
๔. ด้านสภาพแวดล้อมที่เอ้ือต่อการพัฒนา
คุณภาพการเรียนรู้และการเล่น การสร้าง
หรือจัดการสภาพแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการพัฒนา
คุณภาพการเรียนรู้ของเด็ก ซ่ึงก่อให้เกิด
พฤติกรรมการเรียนรู้และการเล่นท่ีมีความหมาย
และ มีประสทิ ธิภาพต่อเดก็ ปฐมวัย

14

การเตรยี มความพร้อมของสถานศึกษาเพ่ือรบั การประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

มติ คิ ุณภาพทสี่ ถานศึกษา แนวทางการพจิ ารณา
สามารถขอรบั การประเมนิ ความโดดเด่น การประเมินความโดดเด่น

ระดับปฐมวยั
๕. ด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กรายบุคคล
ทั้งเด็กทั่วไปและเด็กพิเศษ การพัฒนาระบบ
และวิธีการส่งเสริมศักยภาพเด็กรายบุคคลท่ีมี
คุณภาพ ตั้งแต่ การคัดกรอง การส่งเสริม
ศกั ยภาพเด็กรายบคุ คล การประเมนิ พฒั นาการ
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มี ความต้องการ
พิเศษ เช่น กิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัส
โดยมีเป้าหมายและโปรแกรม การพัฒนาเด็ก
เป็นรายบุคคล และการท�ำงานร่วมกับ
ผู้ปกครอง ท่ีเช่ือมประสานกับ ผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะทาง
๖. ด้านอน่ื ๆ การพัฒนาตามเอกลักษณข์ อง
สถานศึกษา

ระดบั การศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน

๑. ความสามารถด้านวิชาการควบคคู่ ณุ ธรรม ๑. ระดับคุณภาพ C๓ คือ สถานศึกษา
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการให้ดีขึ้น สามารถด�ำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ท่ีต้องการ
มีพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียนใน ๓ ปี และเป็นต้นแบบ มีความโดดเด่น ได้รับ
เช่น โรงเรียนวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี ควบคู่ การยอมรบั ในระดบั นานาชาติ
ไปกับการพัฒนาคุณลักษณะที่ส�ำคัญ ๆ คือ ๒. ระดับคุณภาพ C๒ คือ สถานศึกษา
ความซื่อสตั ย์ ความมวี ินยั ค่านยิ มอยู่อยา่ งพอเพยี ง สามารถด�ำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ
รบั ผิดชอบ มีจิตสาธารณะ หรอื อ่ืน ๆ และเป็นต้นแบบ มีความโดดเด่น ได้รับ
๒. ความสามารถในการใช้ภาษา และ การยอมรบั ระดบั ชาติ
การสื่อสาร การพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียน ๓. ระดับคุณภาพ C๑ คือ สถานศึกษา
เช่น ภาษาไทย ภาษาองั กฤษ ภาษาจนี เป็นต้น สามารถด�ำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ท่ีต้องการ
และเป็นต้นแบบ หรือมีความโดดเด่นระดับ
ท้องถิ่น/ภมู ิภาค

15

การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่ือรับการประเมนิ คุณภาพภายนอก

มติ คิ ณุ ภาพทสี่ ถานศกึ ษา แนวทางการพจิ ารณา
สามารถขอรับการประเมินความโดดเด่น การประเมินความโดดเดน่

ระดับการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน

๓. ความสามารถเฉพาะทางท่ีส�ำคัญ
ผลงานนักเรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์
ทักษะวิชาชีพ(การเกษตร การเป็นผู้ประกอบ
การ) ด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ทักษะด้าน
การพัฒนาสื่อเทคโนโลยี หรืออ่ืน ๆ เช่น
การเป็นผู้น�ำ สมรรถนะการดำ� เนินชวี ิต (Literacy /
Living / Life / Career Skills) เปน็ ต้น
๔. การบริหารจัดการศึกษา คุณภาพการ
จัดการศึกษาส�ำหรับเด็กท่ีมีความต้องการพิเศษ
(Special needs / Gifted / Vulnerable)
การมีนวัตกรรม การเรียนรู้ที่โดดเด่น การวิจัย
และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้การบริหาร
จดั การแบบมสี ่วนร่วม การมสี ว่ นร่วมของชมุ ชน
ที่โดดเด่น การได้รับการรับรองคุณภาพ
การจัดการศึกษา ในระดับมาตรฐานนานาชาติ
เป็นต้น
๕. อ่ืน ๆ ตามท่ีสถานศึกษาประกาศเป็น
เอกลักษณ์ รายการเอกลักษณ์อื่น ๆ ท่ีสถาน
ศึกษาก�ำหนดท่ีมีการวางแผนและด�ำเนินการ
พัฒนาอย่างเป็นระบบ จนประสบความส�ำเร็จ
ในระดับภมู ิภาค ระดับชาติ หรือนานาชาติ

16

การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศกึ ษาเพ่ือรับการประเมนิ คุณภาพภายนอก

วิธกี ารประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินเชิงคุณภาพ เน้นหลักฐาน
เชิงประจักษ์ (Evidence Based) ที่สะท้อนผลลัพธ์การด�ำเนินงาน โดยใช้
การตดั สินใจของผเู้ ช่ยี วชาญ (Expert Judgment) และการตรวจทาน ผลการประเมิน
โดยคณะกรรมการประเมินในระดับเดียวกัน (Peer Review) ให้ครอบคลุม
องคป์ ระกอบทงั้ ระบบแบบองคร์ วม (Holistic Approach)
ข้ันตอนการประเมินคุณภาพภายนอกของส�ำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศกึ ษา (องคก์ ารมหาชน)

สถานศึกษาประเมนิ ตนเอง (Self-Assessment)

๑. แล้วจดั สง่ รายงานการประเมินตนเองให้หน่วยงานตน้ สงั กัด
วิเคราะห์ SAR สง่ ให้ สมศ.

ข้ันตอน ๒. สมศ. วเิ คราะหข์ อ้ มูลพนื้ ฐานของสถานศกึ ษา
การประเมิน (Pre-Analysis) จากฐานขอ้ มลู ของหนว่ ยงานต้นสงั กัด
คุณภาพภายนอก
๓. คณะผปู้ ระเมินภายนอกประชุมพจิ ารณาผลการดำ� เนนิ งาน
ของสถานศกึ ษา ร่วมกบั วเิ คราะหข์ อ้ มูลพ้ืนฐาน
(Pre-Assessment) เพ่ือวางแผนการลงพน้ื ท่ตี รวจเยย่ี ม

๔. คณะผปู้ ระเมนิ ภายนอกลงพ้นื ทต่ี รวจเยย่ี ม (Site Visit)
เพอ่ื ประชุมเสวนาสรา้ งสรรค์กับผู้มสี ่วนไดส้ ่วนเสีย เกบ็ รวบรวมขอ้ มูล
เชิงคุณภาพกับบคุ ลากร หลักฐานเชงิ ประจกั ษ์ และหน่วยงาน บคุ คล
ทีม่ ีเกี่ยวข้องเพ่มิ เตมิ รวมท้ังท�ำรายงานผลประเมนิ ด้วยวาจา

๕. คณะผู้ประเมินภายนอกจัดท�ำรายงานผลการประเมินคณุ ภาพ
ภายนอก (EQA Report) พร้อมข้อเสนอแนะเพ่อื การปรับปรงุ
พฒั นาคณุ ภาพการศึกษา แลว้ จดั ส่งให้ สมศ. เพ่อื พจิ ารณา
ให้การรบั รองผลการประเมิน จากน้นั สมศ. จะจัดสง่ ให้กบั
สถานศกึ ษาและหน่วยงานต้นสังกัด

17

การเตรียมความพรอ้ มของสถานศึกษาเพ่อื รบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก



๓ตอนท่ี

การเตรียมความพร้อม
ของสถานศกึ ษาเพอื่ รับการประเมิน

คณุ ภาพภายนอก



๓ตอนท่ี

การเตรียมความพรอ้ มของสถานศกึ ษา
เพอ่ื รบั การประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพ่ือเข้ารับการประเมินภายนอก
เป็นการส่ือสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการประเมินและ
การประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดจนแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก
ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งแนวทาง
การดำ� เนินการเกย่ี วกับระบบข้อมลู สารสนเทศที่เก่ียวขอ้ ง เพือ่ เตรียมความพร้อม
ในการประเมินคุณภาพภายนอก แก่ส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาและสถานศึกษา
ที่จะเข้ารับการประเมินภายนอก ซึ่งในการเตรียมความพร้อม ผู้มีส่วนเก่ียวข้อง
ทุกฝ่ายต้องมีความรู้ความเข้าใจ บทบาท สามารถด�ำเนินการพัฒนาคุณภาพ
การศกึ ษาสู่การประกันคณุ ภาพภายใน และประเมนิ คณุ ภาพภายนอกได้
บทบาทของผู้มสี ่วนเกย่ี วขอ้ งกบั การพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา
และการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพือ่ รบั การประเมนิ คุณภาพภายนอก
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ได้ประกาศแนวปฏิบัติ
การด�ำเนินงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ระดับการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัด ส�ำนักงานการศึกษาพิเศษ ส�ำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษาทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ใช้เป็นแนวปฏิบัติในการด�ำเนินการ
เพื่อการพัฒนา ส่งเสริม ก�ำกับดูแล และติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
ให้เกดิ ประสทิ ธภิ าพตอ่ การพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาดังน้ี

21

การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศกึ ษาเพ่ือรับการประเมินคณุ ภาพภายนอก

๑. ระดบั สถานศึกษา
ใหส้ ถานศึกษาระดับการศึกษาขัน้ พนื้ ฐานดำ� เนินการดงั ต่อไปน ้ี
๑.๑ สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในสถานศึกษา เพ่ือให้เกิดการพัฒนาและเพ่ือเป็นกลไก
ในการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนา
และสร้างความเชื่อมัน่ ใหก้ บั สงั คม ชมุ ชน และผมู้ สี ว่ นเก่ยี วข้อง
๑.๒ จดั ใหม้ ีระบบการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษา ดังนี้
๑) ก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตาม
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยหรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือระดับ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ท่ีกระทรวงประกาศใช้และให้สถานศึกษา
ก�ำหนดเป้าหมายความส�ำเร็จตามมาตรฐานของสถานศึกษาตามบริบท ท้ังนี้
สามารถเพ่ิมเติมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา นอกเหนือจากท่ีกระทรวง
ศึกษาธิการประกาศใช้ได้ โดยให้สถานศึกษาและผู้เก่ียวข้อง ด�ำเนินการและ
รบั ผดิ ชอบร่วมกัน
๒) จัดท�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่
สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจ�ำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็น
ระบบ โดยสะท้อนคุณภาพความส�ำเร็จอย่างชัดเจนตามมาตรฐานการศึกษา
ของสถานศกึ ษา
๓) ดำ� เนนิ การตามแผนพฒั นาการจัดการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
๔) ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถาน
ศึกษา โดยก�ำหนดผรู้ ับผิดชอบและวธิ กี ารทีเ่ หมาะสม
๕) ติดตามผลการด�ำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
ตามมาตรฐานของสถานศึกษาและน�ำผลการติดตามไปใช้ประโยชน์ใน
การปรับปรุงพฒั นา

22

การเตรียมความพรอ้ มของสถานศกึ ษาเพ่ือรับการประเมินคุณภาพภายนอก

๖) การจดั ท�ำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment
Report : SAR) ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา น�ำเสนอรายงานผล
การประเมินตนเองต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานให้ความเห็นชอบ
และจดั ส่งรายงานดงั กลา่ วต่อสำ� นกั งานเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษาเปน็ ประจ�ำทกุ ปี
๗) พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ โดยพิจารณาจากรายงานผล
การประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) และตามคำ� แนะนำ� ของ
ส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาหรือส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน
เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนา
อย่างตอ่ เน่อื ง
๑.๓ สถานศึกษาแต่ละแห่งให้ความร่วมมือกับส�ำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ในการประเมิน
คุณภาพภายนอกของสถานศึกษา เพ่ือปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตามข้อเสนอแนะของส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน) และหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่ก�ำกับดูแลเพื่อน�ำไปสู่
การพฒั นาคณุ ภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
๒. ระดบั สำ� นกั งานเขตพน้ื ท่ีการศึกษา
๒.๑ ศึกษา วิเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
ตลอดจนให้ค�ำปรึกษา ช่วยเหลือและแนะน�ำสถานศึกษา เพื่อพัฒนาระบบ
ประกนั คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่งอย่างต่อเน่ือง
๒.๒ รวบรวมและสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของ
สถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) พร้อมกับประเด็นต่างๆ ท่ี
ต้องการให้มีการประเมินผลและติดตามตรวจสอบ ซึ่งรวบรวมได้จากหน่วยงาน
ที่เก่ียวข้องหรือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษาแห่งนั้น และจัดส่งไปยัง
ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
เพอ่ื ใชเ้ ปน็ ขอ้ มลู และแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก

23

การเตรยี มความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่อื รับการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

๒.๓ ตดิ ตามผลการดำ� เนินงาน ปรบั ปรงุ และพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาของ
สถานศึกษาตามข้อเสนอแนะของส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เพ่ือน�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและ
มาตรฐานของสถานศกึ ษา
๒.๔ ให้ความร่วมมือกับส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศกึ ษา (องคก์ ารมหาชน) ในการประเมินคุณภาพภายนอก
๒.๕ อาจมอบหมายบุคคลท่ีไม่ได้เป็นผู้ประเมินเข้าร่วมสังเกตการณ์และ
ใหข้ อ้ มลู เพม่ิ เตมิ ในกระบวนการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

24

การเตรยี มความพร้อมของสถานศกึ ษาเพื่อรับการประเมินคณุ ภาพภายนอก

แนวทางการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
เพอ่ื เขา้ รบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก

ชว่ งที่ ๑ ก่อนการรบั ประเมินคณุ ภาพภายนอก

๑. การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรนั้น ผู้บริหารจัดให้มีการประชุมช้ีแจงให้กับผู้เก่ียวข้องให้รับทราบถึงแนวทาง
วิธีการประเมินภายนอก พร้อมมอบหมายบทบาทหน้าท่ี ซักซ้อม ท�ำความเข้าใจในการน�ำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงให้ตรงกัน
ด้านบุคลากร ในแต่ละประเด็น และผู้ประเมินภายในโดยตรวจสอบรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) รวมทั้งหลักฐาน
ร่องรอยเชงิ ประจกั ษ์ ตามมาตรฐานประกนั คุณภาพภายในของสถานศึกษาให้ครบถว้ น ตดิ ตาม ตรวจสอบงาน ตามภาระงาน
  ที่มอบหมายไว้ ส�ำหรับครูและบุคลากรในสถานศึกษาท่ีเกี่ยวข้องรวมให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเร่ืองที่รับผิดชอบ และเป็น
ผู้ถูกประเมินภายใน ตลอดจนซักซ้อมการถาม-ตอบค�ำถาม ในแต่ละประเด็นพิจารณาร่วมกัน นอกจากน้ีควรมีการเตรียม
๒. ความพรอ้ มกบั นกั เรยี น ผปู้ กครอง คณะกรรมการสถานศึกษา หรอื ผใู้ หข้ อ้ มลู เพ่ิมเตมิ ใหเ้ ข้าใจตรงกนั

ดา้ นอาคารสถานที่ การเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานท่ีเป็นการพัฒนาสภาพแวดล้อม อาคาร สถานที่ ให้เอื้อต่อ
การพัฒนาคณุ ภาพของผู้เรยี น ให้มคี วามปลอดภัยกับผูเ้ รยี น เช่น การจัดภูมทิ ศั น์ อาการ สถานท่ี การจดั ห้องเรียน
การจัดหอ้ งปฏิบตั ิการ รวมทั้งแหลง่ เรยี นรภู้ ายใน เชน่ ห้องสมดุ สวนวทิ ยาศาสตร์ แปลงเกษตร ฯลฯ (ทะเบยี น
แหลง่ เรยี นรูภ้ ายใน) ให้มคี วามสะอาด พร้อมในการใชง้ านส�ำหรับเป็นแหล่งเรยี นรู้ รวมทง้ั จดั ทำ� ระเบยี บแหล่ง
เรยี นรภู้ ายนอก เช่น พิพิธภณั ฑ์ สถานท่ีสำ� คญั ในชมุ ชน ภูมิปัญญาทอ้ งถิน่ ฯลฯ

๓. เตรียมความพร้อมด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เอกสารในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นร่องรอย
หลักฐานที่แสดงถึงความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน และบันทึกการนิเทศชั้นเรียน
ดา้ นการจัดกจิ กรรม ของผู้บริหารสถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา เช่น หลักสูตรการศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู ้
การเรียนรู้ หน่วยแผนการจัดประสบการณ์ หน่วยแผนการจัดการเรียนรู้สื่อการสอน เคร่ืองมือวัดและประเมินผล
เครอื่ งมือนิเทศ และรายงานผลการนเิ ทศ ฯลฯ

๔. การเตรียมความพร้อมด้านเอกสาร หลักฐาน รอ่ งรอย ทเี่ ก่ียวข้องเป็นการเตรยี มการตรวจสอบความถกู ต้อง
ครบถ้วนของเอกสารท่ีสถานศึกษาจัดท�ำขึ้นระหว่างการด�ำเนินการพัฒนาสถานศึกษาในรอบ ๑ ปีท่ีผ่านมา
ดา้ นเอกสาร เช่น ประกาศมาตรฐานและต้ังค่าเป้าหมายของสถานศึกษาท่ีมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
หลักฐาน แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำ� ปี และจัดท�ำสารสนเทศสถานศกึ ษา ตลอดจนเตรยี มสื่อเทคโนโลยีใหม้ ีความเป็นปจั จบุ ัน
รอ่ งรอย และพร้อมใช้งาน ฯลฯ

25

การเตรยี มความพรอ้ มของสถานศึกษาเพอื่ รับการประเมนิ คุณภาพภายนอก

P a gPea |g1eP2a| 1g2e | 12

ชว่ งทช่ี ว่๒งทระี่ ช๒ห่ววรงา่ ะทงห่ีร๒วบั ่าชกรงาะว่รรหบั งปวกทร่าาะงี่รเร๒ปมบั นิรกะคราเณุะมรปินหภรคาวะณุพเ่ามภงินารยคพบันณุ ภอกาภกยาานพรอภปการยะนอเมกนิ คณุ ภาพภายนอก
Page | 12

• อํา•นวอยําคน•ววายมอคสาํ วะนาดวมวยสกคะแวดกาวค่มกณสแะกะดกค่ วรณกรแะมกกรค่ารณรมปะกรกาะรเรมปมนิรกะตาเามรมปินคตรวะาาเมมคเินหวตามามามเะหคสมวมามะเชเสห่นมมเาชะ่นสม เชน่
เตรยี มเตแรหียลมง่ แเขตหอ้รลียม่งมลู ขแอ้หหมลลูลักง่ ฐขหาอ้ ลนมกั เลูชฐงิาหปนลรเชักะงิฐจปาักนรษะเ์ชจผิงกั ู้ปปษรร์ะะผสจปู้ ากั รนษะง์สาผานูป้ นกรงบั ะาผสนู้ปากนรบั ะงผาเมู้ปนินรกะหบั เ้อมผงู้ปินสรหาํ ะ้อหเงมรสับนิ าํ หห้อรงบั สาํ หรบั

าหรบั ประชปุมรยะ่อชยมุ เปขตยอร่อระงียผชมขู้ปมุ หอรยงอ้ะ่อผงเยมู้ปสขนิ�ำรอหะงเรมผับปู้นิ ปรระะเมชุมินยอ่ ยของผปู้ ระเมนิ

มรบค่ รว•รรนาํ•เสยในอาํ เข•สชอ้ นามนอูลําขตเอ้ สามเ้นมยูลอมตขาวาต้อมรมมฐลู าตตนลารแมฐลมาะนาปตแารละฐะเาดปนน็รแะกลเาดะร็นปพกรจิ ะาาเรรดพณน็ จิ กาาารอรณาพจาิจนาอําราเณสจนาอาํ อเโสาดนจยนอกําโดเรสยบนกรอารโรยดบายรยกรายราบยรรยาย
ประกปอรบะกPอoปบwระePกroอwPบoeirPnoPtwoหienรrอืtPหVoรTiอืnRtVโหดTยรRอืผโู้บดVรยTหิ ผRาู้บรโรสดิหถยาผรนูบ้ สศรถกึหิ าษานราศสึกคถษวารานกศครึกวะรษชกาับรไคะมวช่ครับวกไรรมใะช่คชเ้ววับรลใไาชมเ้่คววลราใช้เวลา

กครยอาวนยาานงวมนาากยนามวานกานมาก

รา่วนมศ•รปึกร•บัะสปารนะษ•งสาาฟนปนขรงอะาคสนาวาขานองัมงคราว่นามขมมอรือคว่ จวมามกมอื ผรจู้เ่วกามกี่ยมผวอื ขเู้ กจ้อ่ยีางกวเขผชอู้เน่กงย่ี กเวชรข่นร้อมงกกรเาชรรมน่สกถการนรสศมถกึ กาษานราศสกึผถษู้ปาากนคศผรกึปู้ อษกงาครผอู้ปงกครอง
ตวั แทตนวั นแกัทเนรตนยี วั นักแเทรตนยีวั นแักทตเนรัวตยีแ้นทสนตังตัวกน้แัดสทองันกงตคัดน้ ์กอสรงัภคกา์กัดครรอภัฐงาแคคลก์ ระรัฐเภแอาลกคะชรเนอัฐแกลชะนเอกชน

ปกติ

• รว่ •มรรับว่ ฟม•งั รกับารฟร่วนงั มกําราเบั สรฟนังาํอกเผสาลนรกนอาาํผรเลปสกนราะอรเผมปลนิรกะดาเ้วมรยปินวดราะว้จเยามวแนิ าลดจะ้วาใยแหวลข้ าะ้อจใมหาูลแ้ขเล้อพะม่ิมใูลหเตเข้พิมอ้ ิ่มมผเตูล้เขิมเา้พรผ่มิ ว่ ู้เเขมตา้รมิ รบั ว่ผฟมเู้ ังขรับ้ารฟว่ ังมรับฟงั
ประกปอรบะดกว้ อปยบรดผะบู้วกยรอหิ บผาดู้บรว้รสยิหถาผรนูบ้ สศรถกึหิ าษานราศสึกคถษราูผานู้สศคอกึรนผูษูส้าตอัวคนแรทผูตนูส้ัวนอแักนทเนรตนียวั นักแเทรกนียรนรมักกกเราียรรมนสกถการนรสศมถึกกาษานราศสึกถษาานศกึ ษา
ผู้ปกคผรูป้ อกงคนรกัผอเู้ปรงกนยี คนักรเรอตียงัวนแักทตเนรัวตียแน้ทสนตังตวัก้นแดั สทงันกตัดน้ สงั กดั

• ใน•ช่วใงนรชบั •่วกงารใรนับปชกรว่าะงรเรมปับินรกะภาเามรยปินนรภอะากเยมนสินอถภกาานยสศนถึกอาษนกาศสมกึ ถีกษาานรมจศีกัดึกากษราาจรมัดเรีกียานรจเกรดัาียกรนสากรอเานรรตียสนาอมกนปาตรกาสตมอิ ปนกตตาิมปกติ
ตามตตาารมาตงสาตอรานมงสตแอาลนระาตงแาสลรอะานตงกาแรจิ ลากงะรกตริจามกรทาร่กี งราํกมหจิทนก่กี รดาํ รไหวมน้ทดี่กไําวห้ นดไว้

นคุณภาพภายนอก

26
การเตรยี มความพร้อมของสกถาารนเศตกึกราษยีราเมเพตค่ือรกวรียับามกรมาคเพตรวปรารอ้ียมะเมมพขคนิ รคอว้อุณางมสมภขถพาอพารงนภ้อสาศมยถกึขนาษออนกางศสเกึพถษ่ือาารนเบั ศพกึือ่ าษรรบัาปเกพราะือ่ รเรมปบั นิรกะคาเณุ มรปินภรคาะพุณเภมภานิายพคนุณภอาภกยานพอภกายนอก

ช่วงท่ี ๓ หลงั เสรจ็ สนิ้ การประเมนิ คณุ ภาพภายนอก

ชว่ งท่ี ๓ หลังเสร็จส้ินการประเมินคณุ ภาพภายนอก

ผบู้ ริหารสถานศึกษา ครู และบคุ ลากรทเี่ กย่ี วขอ้ งรว่ มกันตรวจสอบ
รายงานผลการประเมนิ คุณภาพภายนอกตามท่สี ํานักงานรบั รอง
มาตรฐานและประเมนิ คณุ ภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) แจ้งผล

การประเมนิ

สถานศกึ ษาสามารถโตแ้ ยง้ ผลการประเมนิ คณุ ภาพภายนอกได้ โดยทาํ
เป็นลายลักษณ์อกั ษร ซ่งึ สมศ.จะส่งผลการพิจารณา (ร่าง) รายงาน
การประเมนิ คุณภาพภายนอกสถานศกึ ษาระดบั การศกึ ษาขั้นพื้นฐาน
ใหส้ ถานศึกษาพจิ ารณา โดยมีผลการพจิ ารณา ๓ ประเภท ดังน้ี
๑) เห็นชอบและยอมรบั ผลการประเมนิ ตามทคี่ ณะผูป้ ระเมนิ เสนอ
๒) เห็นชอบและยอมรับผลการประเมิน ตามทค่ี ณะผู้ประเมนิ เสนอ
โดยมขี อ้ แก้ไข ดงั น้ี .....(อธบิ ายข้อทต่ี ้องการแก้ไข )
๓) ไม่เหน็ ชอบผลการประเมนิ เพราะเหตใุ ด อธบิ ายพรอ้ มแนบเอกสาร/
หลกั ฐานประกอบ (สมศ.จะนาํ เรอ่ื งเข้าคณะกรรมการเพ่อื พิจารณาตอ่ ไป)

โดย สมศ. มแี บบตรวจสอบคุณภาพรายงานการประเมนิ คณุ ภาพ
ภายนอก (สาํ หรับสถานศึกษา) ใหส้ ถานศึกษากรอกและส่งคืน ผปู้ ระเมนิ
เพ่อื จัดส่งให้ สมศ.ตอ่ ไป

วเิ คราะหผ์ ลการประเมินคณุ ภาพภายนอกเพ่อื การพฒั นา
ปรบั ปรุง แกไ้ ข ตามความจําเป็นเรง่ ด่วน ปกติ หรือกาํ หนดลงใน
แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาระยะยาว

27
การเตรียมคกวาราเตมรพียมรคอ้ วมามขพอรงอ้ สมถขอางนสถศากึ นษศกึ าษเาพเพ่อื อื่ รรบั บั กกาารรปประรเมะนิ เคมุณนิ ภคาพุณภภายานพอภก ายนอก

ขอ้ ควรตระหนักในการรบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก
สถานศึกษาไมค่ วรปฏิบัติ ดงั น้ี
๑. การเกณฑน์ ักเรยี น ครู มาตงั้ แถว โบกธงรับคณะผูป้ ระเมนิ ภายนอก
ตัง้ แต่หนา้ โรงเรยี น
๒. การจดั ขบวน จัดวงดนตรี การแสดงแหต่ อ้ นรบั ผปู้ ระเมินภายนอก
๓. การจัดดอกไม้ หรอื จบั ผา้ คล้ายกบั งานพระราชพธิ ี (เปน็ การลงทนุ ท่ี
สงู มาก)
๔. การจัดท�ำป้ายไวนิล ป้ายต้อนรับ เหมือนผู้ประเมินภายนอกเป็น
บคุ คลสำ� คัญ
๕. การปูทางเดินด้วยพรมแดง เพื่อให้ผู้ประเมินภายนอกเดิน (ห้าม
ออกนอกเส้นทาง)
๖. การจดั นกั เรียน หรือ นักศึกษาวชิ าทหารกางร่ม คอยติดตามหรือถือ
สมั ภาระ
๗. การมอบของทรี่ ะลกึ ให้แก่ผปู้ ระเมินภายนอก
๘. การจดั เลี้ยงอาหารอย่างฟุ่มเฟือย ใหญ่โต


28

การเตรียมความพรอ้ มของสถานศกึ ษาเพ่ือรับการประเมินคุณภาพภายนอก

๔ตอนที่

ตวั อยา่ งแนวทางการเตรยี มข้อมูล/
ร่องรอยหลกั ฐานเชงิ ประจกั ษ์



๔ตอนที่

ตัวอย่างแนวทางการเตรยี มขอ้ มูล/
ร่องรอยหลักฐานเชิงประจกั ษ์

สถานศึกษาทั้งระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และระดับ
การศึกษาข้ันพ้ืนฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ควรมีการเตรียมการรับการประเมิน
คุณภาพภายนอก ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ได้น�ำเสนอ
เป็นตัวอย่างการเตรียมข้อมูลเอกสารหลักฐานท่ีเกิดจากการปฏิบัติงานตามปกติ
ใหส้ ถานศึกษาได้น�ำไปปรบั ใช้ตามบรบิ ทของตนเอง

31

การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก

32 ระดับปฐมวยั แนวทางพจิ ารณา ขอ้ มูล/รอ่ งรอยหลกั ฐานเชงิ ประจักษ์
- ความเหมาะสม เปน็ ไปได้ ๑. ศึกษาเอกสาร/หลกั ฐานเชิงประจกั ษ์
การเตรยี มความพร้อมของสถานศึกษาเพอ่ื รับการประเมินคณุ ภาพภายนอก ดา้ น - ความเชอ่ื ถือได้ - ประกาศมาตรฐานและก�ำหนดค่าเป้าหมาย
ดา้ นท่ี ๑ คุณภาพของเด็ก - ประสทิ ธผิ ล - แผนพฒั นาการจดั การศกึ ษาของสถานศกึ ษา แผนปฏบิ ัติการ
หรอื ด้านอ่นื ตามชื่อท่ีสถาน
ศึกษากำ� หนด ประจ�ำปี
- รายงานการประเมนิ โครงการ/กิจกรรม
- สารสนเทศของสถานศกึ ษาด้านผู้เรยี น
- สถิติ/ผลการชา่ งนำ้� หนกั วดั ส่วนสงู ตามเกณฑ์มาตรฐาน
- แบบประเมินพัฒนาการของเดก็ ปฐมวยั และผลการประเมิน

พฒั นาการ ๔ ด้าน (อบ.)
- แบบบันทึกการท�ำกจิ กรรมของเด็กปฐมวัย เชน่ การลา้ งมือ

กจิ กรรมการจดั ประสบการณป์ ระจำ� วนั (๖ กจิ กรรมหลกั )
ฯลฯ
- รายงานผลพฒั นาการทัง้ ๔ ดา้ นของเดก็ ปฐมวัย
- การคัดกรองเดก็ เป็นรายบุคคลครอบคลมุ ทงั้ ๔ ดา้ น
- โครงการ/กจิ กรรมท่รี องรบั ผลการวเิ คราะหผ์ ูเ้ รียนรายบุคคล
เช่น โครงการสง่ เสริมพัฒนาสุขภาวะ พัฒนาการของเดก็ ที่มี
พัฒนาการล่าช้า หรือเดก็ ที่มคี วามตอ้ งการพเิ ศษ ฯลฯ

ดา้ น แนวทางพจิ ารณา ขอ้ มูล/รอ่ งรอยหลักฐานเชิงประจกั ษ์

33 - แฟ้มสะสมผลงานเด็กรายบคุ คล
- ผลงาน/นวตั กรรม/แบบอยา่ งทดี่ ใี นแตล่ ะดา้ น เชน่ สง่ิ ประดษิ ฐ์
การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่อื รบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก
ภาพวาด ภาพปะตดิ งานปนั้ ฯลฯ
- ภาพถ่าย/วดี ที ัศน์
- ค�ำส่งั ตา่ ง ๆ ท่เี ก่ยี วขอ้ ง
- หลักฐานร่องรอยท่แี สดงถงึ การมีสว่ นรว่ มของผปู้ กครอง

หนว่ ยงาน หรอื บุคคลภายนอก เชน่ บนั ทกึ การประชุม
ผ้ปู กครอง หนงั สือเชิญ ผปู้ กครอง ผู้นำ� ชมุ ชน องค์กรตา่ ง ๆ
ฯลฯ
๒. การสังเกต
- พฤตกิ รรมเดก็ ในชนั้ เรยี นและนอกชน้ั เรยี น เชน่ การรบั ประทาน
อาหารกลางวนั การเลน่ มมุ ประสบการณ์ การนอน การใช้สอ่ื
เทคโนโลยีของ ทกั ษะทางสังคม ฯลฯ
- สังเกตพฤตกิ รรมเด็กขณะรว่ มกจิ กรรมการจัดประสบการณ์
ประจ�ำวัน (๖ กิจกรรมหลกั )
- สงั เกตการตอบค�ำถามของเดก็
๓. การสัมภาษณ์ (แบบเป็นทางการและไมเ่ ปน็ ทางการ)
เด็ก ครู ผบู้ ริหารผูป้ กครอง ผู้ท่มี ีส่วนเกี่ยวขอ้ ง เช่น คณะกรรมการ
สถานศกึ ษา องคก์ รต่าง ๆ ฯลฯ

34 ดา้ น แนวทางพิจารณา ข้อมลู /ร่องรอยหลักฐานเชงิ ประจกั ษ์
ดา้ นท่ี ๒ กระบวนการ - ความเป็นระบบ ๑. ศึกษาเอกสาร
การเตรยี มความพร้อมของสถานศึกษาเพอ่ื รับการประเมินคณุ ภาพภายนอก บริหารและการจดั การ หรอื - ความเช่อื ถือได้ - แผนพัฒนาการจดั การศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏบิ ตั ิการ
ด้านอ่นื ตามชือ่ ที่สถาน - ประสทิ ธิผล
ศกึ ษากำ� หนด ประจำ� ปี
- หลกั สูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย
- รายงานโครงการ/กจิ กรรม
- คู่มือการปฏิบัตงิ านของสถานศึกษา คู่มอื นกั เรียน
- รายงานการบรหิ ารจัดการของสถานศึกษา
- รายงานการพฒั นา/การใช/้ การประเมินหลกั สูตรสถานศึกษา

ระดับปฐมวัย
- ค่มู อื /แนวทางการนเิ ทศภายในสถานศึกษาและรายงาน

การนเิ ทศภายในของสถานศกึ ษา
- สารสนเทศของสถานศกึ ษา ครู เดก็ สอ่ื เทคโนโลยี นวตั กรรม

แหลง่ เรยี นรภู้ ายในและภายนอก ฯลฯ
- รายงานการพัฒนาครแู ละบุคลากรในสถานศึกษา ID Plan

ของครู รายงานผลการพัฒนาตนเอง
- รายงานการใชง้ บประมาณประจำ� ปี
- ภาพถา่ ยกิจกรรม
- รายงานการดำ� เนินงานระบบดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรียน

ดา้ น แนวทางพจิ ารณา ข้อมลู /รอ่ งรอยหลกั ฐานเชิงประจักษ์

35 - ผลงาน/นวตั กรรมของ/แบบอย่างที่ดีในการบรหิ ารจดั การ
ของผ้บู รหิ าร
การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่อื รบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก
- หลักฐานรอ่ งรอยทีแ่ สดงถงึ การมสี ่วนร่วมของผปู้ กครอง
หนว่ ยงาน หรือบุคคลภายนอก เช่น บันทกึ การประชุม
ผ้ปู กครอง หนงั สอื เชญิ ผู้ปกครอง ผ้นู ำ� ชุมชน องคก์ รต่าง ๆ

๒. สงั เกต
- สภาพแวดล้อมและภูมทิ ัศน์บรบิ ททัว่ ไปของสถานศกึ ษา
- ห้องเรียนและหอ้ งปฏบิ ัตกิ ารต่าง ๆ
- การรบั ประทานอาหารกลางวนั และการดื่มนม
- ระบบความปลอดภัยในชัน้ เรียนและนอกชั้นเรียน
- หอ้ งน้�ำ
- สนามเดก็ เล่น
- มมุ ประสบการณ์ในห้องเรยี น (อย่างนอ้ ย ๔ มมุ )
๓. สมั ภาษณ์
เด็ก ครู ผูบ้ ริหารผปู้ กครอง ผทู้ ีม่ สี ว่ นเกีย่ วขอ้ ง เชน่ คณะกรรมการ
สถานศกึ ษา องคก์ รตา่ ง ๆ ฯลฯ

36 ดา้ น แนวทางพิจารณา ข้อมลู /รอ่ งรอยหลกั ฐานเชิงประจักษ์
๑. ศกึ ษาเอกสาร
การเตรยี มความพร้อมของสถานศึกษาเพอ่ื รับการประเมินคณุ ภาพภายนอก ด้านที่ ๓ การจัด - ความเปน็ ระบบ - ประกาศมาตรฐานและกำ� หนดค่าเปา้ หมาย
ประสบการณ์ทีเ่ น้นเดก็ เป็น - ความเช่ือถือได้ - แผนพฒั นาการจดั การศกึ ษาของสถานศึกษา แผนปฏบิ ัติการ
สำ� คญั หรือดา้ นอื่นตามชอื่ ท่ี - ประสิทธผิ ล
สถานศกึ ษากำ� หนด ประจำ� ปี
- หลักสตู รสถานศึกษา ระดบั ปฐมวัย
- วิเคราะหห์ ลักสูตรปฐมวัย และหน่วยการจัดประสบการณ์

แผนการจัดประสบการณ์ท่ีเนน้ ผู้เรยี นเป็นสำ� คัญ
- โครงการ/กจิ กรรมทส่ี ่งเสริมเด็ก
- การวิเคราะห์เด็กเป็นรายบคุ คล
- เครื่องมอื การประเมนิ พฒั นาการทั้ง ๔ ดา้ นด้วยวิธกี ารที่

หลากหลาย
- สื่อเทคโนโลยี นวตั กรรม แหลง่ เรียนรูภ้ ายในและภายนอก

ฯลฯ
- แบบ อบ. ๑,๒,๓
- แบบรายงานพฒั นาการเดก็
- แหลง่ เรยี นรู้ ภูมิปญั ญาทอ้ งถ่นิ
- ผลงาน/นวตั กรรมของ/แบบอยา่ งทดี่ ีของครู

ดา้ น แนวทางพจิ ารณา ข้อมูล/รอ่ งรอยหลักฐานเชิงประจกั ษ์

37 - แฟม้ สะสมผลงานครู
- ค�ำสั่งตา่ ง ๆ ที่เก่ยี วข้อง เชน่ แต่งตั้งผู้รบั ผดิ ชอบโครงการ/
การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่อื รบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก
กิจกรรม
- ภาพถ่าย/วีดีทศั น์
- รอ่ งรอยหลักฐานทแี่ สดงให้เหน็ ว่ามีการแลกเปลย่ี นเรยี นรู้

โดยใช้กระบวนการชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
- หลักฐานร่องรอยที่แสดงถึงการมีส่วนรว่ มของผู้ปกครอง

หน่วยงาน หรอื บุคคลภายนอก เช่น บนั ทึกการประชมุ
ผูป้ กครอง หนังสอื เชิญ ผปู้ กครอง ผ้นู ำ� ชุมชน องคก์ รต่าง ๆ
๒. สังเกต
- การจดั ประสบการณ์สำ� คญั
- ผลงานเด็ก
- พฤติกรรมการจัดประสบการณ์ของครู
- พฤติกรรมเดก็
๓. สัมภาษณ์
เด็ก ครู ผบู้ ริหารผู้ปกครอง ผ้ทู ีม่ ีส่วนเกี่ยวข้อง เชน่ คณะกรรมการ
สถานศกึ ษา องคก์ รตา่ ง ๆ ฯลฯ

38 ระดบั การศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐานและระดบั การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐานศนู ยก์ ารศกึ ษาพิเศษ

การเตรยี มความพร้อมของสถานศึกษาเพอ่ื รับการประเมินคณุ ภาพภายนอก ดา้ น แนวทางพจิ ารณา ขอ้ มลู /ร่องรอยหลักฐานเชิงประจกั ษ์
ดา้ นท่ี ๑ คณุ ภาพของ - ความเหมาะสม/เป็นไปได้ ๑. ศกึ ษาเอกสาร/ผลงาน/รางวัล
ผเู้ รยี น หรอื ดา้ นอ่นื ๆ - ความเช่ือถือได้ - ประกาศมาตรฐานและก�ำหนดคา่ เป้าหมาย
ตามทส่ี ถานศึกษากำ� หนด - ประสทิ ธผิ ล - แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการ

ประจำ� ปี
- หลกั สูตรสถานศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน
- รายงานการประเมนิ โครงการ/กจิ กรรม
- รายงานผลการประเมนิ คณุ ภาพภายนอกในรอบท่ีผา่ นมา
- สารสนเทศของสถานศึกษาดา้ นผเู้ รยี น เช่น ผลการทดสอบ

ระดับชาติ ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี น การประเมินคุณลกั ษณะ
อันพึงประสงค์ การประเมนิ การอ่าน คดิ วิเคราะห์ และเขียน
การสอบวัดความสามารถการอ่าน (RT) การประเมินสมรรถนะ
ผเู้ รยี น
- สถติ /ิ ผลการช่งั น้�ำหนักวัดส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
- แฟม้ สะสมผลงานนกั เรยี นรายบุคคล
- ผลงาน/นวตั กรรม/แบบอยา่ งทดี่ ใี นแตล่ ะกลมุ่ สาระการเรยี นรู้
รางวลั ตา่ ง ๆ ของผเู้ รยี น

ดา้ น แนวทางพจิ ารณา ขอ้ มูล/รอ่ งรอยหลักฐานเชงิ ประจกั ษ์

39 ๒. สงั เกต
- พฤตกิ รรมของผ้เู รยี นในช้ันเรยี นและนอกชั้นเรยี น เช่น
การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่อื รบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก
พฤตกิ รรมการเรยี นรู้ การค้นคว้าหาความรดู้ ้วยตนเอง การมี
คุณลักษณะและคา่ นยิ มท่ีดตี ามทส่ี ถานศกึ ษาก�ำหนด การใช้
สอ่ื เทคโนโลยี และแหลง่ เรียนรู้ ทกั ษะทางสงั คม การทำ� งาน
เปน็ ทีม การอยู่ร่วมกนั บนความแตกตา่ งระหว่างบคุ คล ฯลฯ
- สภาพการจัดการช้นั เรยี นทสี่ ่งผลต่อการเรยี นรู้ทีม่ ีประสทิ ธภิ าพ
- การตอบค�ำถาม แลกเปลย่ี นความคิดเห็นของผู้เรยี น
๓. สัมภาษณ์ (กระบวนการ/วธิ ีการ/กจิ กรรมต่างๆ)
นกั เรียน ครู ผบู้ รหิ ารผู้ปกครอง ผูท้ มี่ สี ว่ นเกย่ี วขอ้ ง เช่น
คณะกรรมการสถานศึกษา องคก์ รตา่ ง ๆ ฯลฯ

40 ด้าน แนวทางพจิ ารณา ข้อมลู /รอ่ งรอยหลกั ฐานเชงิ ประจักษ์
ดา้ นที่ ๒ กระบวนการ - ความเป็นระบบ ๑. สังเกต
การเตรยี มความพร้อมของสถานศึกษาเพอ่ื รับการประเมินคณุ ภาพภายนอก บรหิ ารและการจดั การ - ความเช่อื ถือได้ - สภาพแวดล้อมและภูมิทศั นบ์ ริบททวั่ ไปของสถานศกึ ษา
- ประสิทธิผล - อาคารสถานที่ หอ้ งเรยี นและหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารต่าง ๆ
- ระบบความปลอดภัยในช้นั เรียนและนอกชัน้ เรียน
๒. สมั ภาษณ์
นกั เรยี น ครู ผูบ้ ริหารผปู้ กครอง ผทู้ มี่ สี ่วนเกย่ี วข้อง เชน่ คณะ
กรรมการสถานศกึ ษา องค์กรตา่ ง ๆ ฯลฯ
๓. ศกึ ษาเอกสาร
- ประกาศมาตรฐานและกำ� หนดค่าเปา้ หมายของสถานศกึ ษา
- แผนพฒั นาการจัดการศกึ ษาของสถานศกึ ษา แผนปฏบิ ตั กิ าร

ประจำ� ปี
- หลกั สตู รสถานศึกษาขั้นพน้ื ฐาน
- รายงานการประเมินโครงการ/กจิ กรรม
- รายงานผลการประเมนิ คณุ ภาพภายนอกในรอบท่ผี ่านมา
- รายงานการบรหิ ารจดั การของสถานศึกษา
- คมู่ ือการปฏบิ ัติงานของสถานศึกษา คู่มือนกั เรยี น
- รายงานการพฒั นา/ใช/้ ประเมินหลกั สตู รสถานศกึ ษา

ข้ันพ้นื ฐาน

ดา้ น แนวทางพจิ ารณา ข้อมูล/รอ่ งรอยหลกั ฐานเชงิ ประจกั ษ์

41 - คมู่ อื /แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาและรายงาน
การนเิ ทศภายในของสถานศกึ ษา
การเตรียมความพร้อมของสถานศกึ ษาเพ่อื รบั การประเมินคณุ ภาพภายนอก
- สารสนเทศของสถานศึกษา ครู นักเรียน สอ่ื เทคโนโลยี
นวตั กรรม แหลง่ เรยี นรภู้ ายในและภายนอก ฯลฯ

- รายงานการพัฒนาครแู ละบุคลากรในสถานศึกษา ID Plan
ของครู รายงานผลการพฒั นาตนเอง

- รายงานการใชง้ บประมาณประจำ� ปี
- ภาพถา่ ยกิจกรรม
- รายงานการด�ำเนินงานระบบดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรยี น
- ผลงาน/นวัตกรรมของ/แบบอย่างทีด่ ใี นการบรหิ ารจัดการ

ของผบู้ ริหาร
- หลกั ฐานร่องรอยทีแ่ สดงถงึ การมีสว่ นรว่ มของผปู้ กครอง

หนว่ ยงาน หรือบุคคลภายนอก เชน่ บันทึกการประชมุ
ผูป้ กครอง หนงั สอื เชิญ ผปู้ กครอง ผนู้ ำ� ชมุ ชน องค์กรตา่ ง ๆ


Click to View FlipBook Version