The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ต้นไม้เมืองเหนือ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jiratdha, 2021-11-04 05:02:20

ต้นไม้เมืองเหนือ

ต้นไม้เมืองเหนือ

ตน้ ไมเ้ มืองเหนอื

คู่มอื ศึกษาพรรณไม้ยนื ตน้
ในปาภาคเหนือ ประเทศไทย

ไซมอน การด์ เนอร์
หินดา สิทธสิ นุ ทร

วิไลวรรณ อนุสารสุนทร

คำอธิบายสัญลกั ษณ์

ชื่อวทิ ยศาสตร์

หบม0าพยเลข.ชป.น'็ 3ิดฯ2iDj ilalen9J iaรุ parviflora สภาพพื้นท่ี (ระดับความชืน้ )
ตา'น>หัง ตานหนั A. ความสูงจากระดับนาทะเล

(ะยะออกดอก---------ญ

ระยะออกผล

Pร

สว่ นใหญ่ แห้งแล้ง
แหง้ แลง้ \ ปานกลาง
สว่ นนอ้ ย ปานกลาง
ปานกลาง \ ชื้น
>1200 ทา
800-1200ทา ชนื้
ใกลแ้ หล่งนา้ํ
0-800ทา

หมายเลขชนิด

หมายเลขนำหนาชอ ^Dillenia parviflora)

แสดงสำดับของชนดิ (มคี ำบรรยายละเอียด)
หมายเลขตามหลงั ช่ือ (Dillenia parviflora2)

เป็นการอ้างถึงชนิด (ดคู ำบรรยายทส่ี ว่ นอ่ืนในหนังสอื )

ต้นไมเ้ มืองเหนอื

คู่มือศึกษาพรรณไมย้ นื ตน้
ในปาภาคเหนอื ประเทศไทย

ตน้ ไมเ้ มืองเหนอื

คมู่ อื ศึกษาพรรณไม้ยนื ตน้
ในปาภาคเหนอื ประเทศไทย

ตน้ นใ...ต้นนวี ติ

ไชมอน การด์ เนอร์
พินดา สิทธสิ ุนทร
วิไลวรรณ อนสุ ารสนุ ทร

หอพรรณไม้
ภาควิชาชวี วิทยา
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สนบั สน,ุ นโดย
IUCN

The World Bank
มลู นธิ ิโตโยตา้ ประเทศไทย
โครงการจดั พิมพค์ บไฟ

มนี าคม 2000

The World Bank IUCN ZifaliT ตIิ'ใไภ/;ใ-มลู นิธิเฅ&่ ตาปร:เทศไทย

The World Conservation Union

คู่มือศึกษาพรรณไมย้ ืนต้น ในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย

ผเู้ ขยี น ไชมอน การ์ดเนอร์ พนิ คา สิทธิสุนทร วิไลวรรณ อนุสารสุนทร

ภาพปก ม.ร.ว. สมานสนทิ สวัสดิวตั น์
พมิ พค์ ร้ังแรก มีนาคม 2000

ดำเนนิ การผลิต โครงการจัดพมิ พ์คบไฟ

จดั จำหนา่ ยโดย อาคารสถาบนั ปรดี ี พนมยงค์ 65/1 ซอยทองหล่อ ถนนสขุ ุมวทิ 55
เขตวัฒนา กรงุ เทพมหานคร 10110
โทรคัพท 712-7402-3 โทรสาร 712-7403 E-mail [email protected]
บรชิ ท้ อมรนิ ทร์บุค๊ เซน็ เตอร์ จำกัด
โทรด้พท์ 882-1010 โทรสาร 434-1384

ราคา 450 บาท

หนังสอื เลม่ น้ไี ด้ร้บการสนับสนนุ โดย
The CY99 Environment Component of the World Bank/Netherlands Partnership Programme, through
the IUCN Regional Biodiversity Programme for South & Southeast Asia.
มลู นิธโิ ตโยตา้ ประเทศไทย โครงการจดั พิมพ์คบไฟ และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
สนบั สนนุ ทุนในการพมิ พ์และเผยแพร่

ภาพถ่ายทัง้ หมดโดย ไชมอน การด์ เนอร์ และพนิ ดา สิทธิสนุ ทร นอกจากจะกลา่ วไว้เป็นอย่างอื่น
ภาพวาดท้ังหมดโดย พนิ คา สิทธสิ นุ ทร เวน้ แต่ภาพปกและภาพสภาพปา่ ระดบั สงู -ต่าํ โดย ม.ร.ว. สมานสนทิ สว้สดิวตั น์ และ
ภาพประกอบ ตระกลู Ficus และวงศ์ Fagaceae โดย คณุ ปราณี ปาลี
สิขสทิ ธหนังสือเป็นของ ไซมอน การด์ เนอร้ พินดา สทิ ธสิ นุ ทร วไิ ลวรรณ อนสุ ารสุนทร
ลิขสิทธืภ้ าพถา่ ยและภาพวาดเป็นของ ผถู้ ่ายภาพและผ้วู าดภาพ
เจ้าของลิขสทิ ธสงวนลิขสิทธตามพระราชปัญญัติ การคัดลอกสว่ นใดๆ ในหนงั สอื เล่มนไ้ี ปเผยแพร่ในทุกรปู แบบ ต้องไดร้ ับ
อนุญาตเป็นลายลกั ษณอ์ กั ษรจากเจา้ ของลขิ สทิ ธกอ่ น

ขอ้ มูลทัง้ หมดทีเ่ ก่ียวกับประโยชนท์ างการแพทย์และการใช้สอยอน่ื ๆ ใหไ้ วเ้ พ่อื เป็นแนวทางเท่านั้น ไมค่ วรนำมาใชโดยมไิ ด้
ปรกึ ษาผเู้ ชีย่ วชาญในแต่ละสาขา

ข้อมูลบรรณานกุ รม การด์ เนอร์ ไชมอน

ค่มู ือศกึ ษาพรรณไม้ในปาภาคเหนือ ประเทศไทย

กรุงเทพฯ: โครงการจดั พิมพ์คบไฟ. 2543
560 หน้า
1. ตน้ ไม้-การจำแนกชนดิ 2. ต้นไม้-ประเทศไทย 3. ปาไม้-การจดั การปาไม้
I พนิ ดา สทิ ธสิ ุนทร. ผแู้ ต่งรว่ ม แ วไิ ลวรรณ อนสุ ารสุนทร. ผแู้ ตง่ ร่วม HI ชอื่ เร่ือง

582.16 ISBN 974-7798-27-1

คำขอบคณุ

ผู้จัดทำขอแสดงความขอบคณุ เป็นอย่างสูงตอ่ หน่วยงานและบคุ คลท่ไี ดใ้ ห้การสนับสนนุ และช่วยเหลอื ในการจัดทำ
หนังสอื เล่มนี้จนสำเร็จดงั ต่อไปนี้

งานสำรวจภาคสนาม เกบ็ ขอ้ มลู ตัวอย่างพืช รวมท้งั ภาพถ่าย รูปวาด และรวบรวมข้อมลู ลงในฐานขอ้ มูลสว่ นหน่งึ
เปน็ ผลมาจากโครงการสำรวจความหลากหลายของพรรณพชื ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ปา่ ดอยเชียงดาว (1995-96 สนบั สนุนโดย
สำนกั งานนโยบาย และแผนส่ิงแวดลอ้ ม) และโครงการสำรวจความหลากหลาย ของพรรณพชื ในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง
(1997-99 สนบั สนนุ โดย องค์การพฒั นาองค์ความรู้และ ศึกษานโยบายการจดั การทรัพยากรชวี ภาพในประเทคไทย รหสั โครงการ
139029) งานรวบรวม และจัดเตรยี มตน้ ฉบับทง้ั ภาษาไทยและภาษาองั กฤษ ไดร้ ปี การสนบั สนุนจากโครงการ East Asia Local
Languages Field Guide โดย The World Conservation Union, IUCN และ The World Bank และผู้จัดทำตอ้ งขอ
ขอบคณุ มูลนิธิโตโยตา้ ประเทศไทย โครงการจัดพิมพค์ บไฟ และบริษทั โตโยตา้ มอเตอร์ ประเทศไทย จำกดั ท่ไี ตใ้ หท้ ุน
สนบั สนุนในการจัดพิมพแ์ ละ เผยแพร่ หนังสือ ทง้ั ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทงั้ น้ีผูจ้ ดั ทำได้รบั ความชว่ ยเหลือและ
ประสานงานดว้ ยดมี าโดยตลอดจาก ผ.ศ. ไพฑรย์ เล็กสวัสด Dr.Scott Perkins คณุ ปรีชา โพธิ และคณุ สณุ ยี ์ วงศไ์ วศยวรรณ
หอพรรณไม้ ภาควิชาชีววทิ ยา มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ได้เอื้อเฟือสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะ เจ้าหน้าท่ีคอมพวิ เตอร์ คณุ รุ่งทิวา
ปัญญายศ และคุณเกรกิ ผักกาด ไดช้ ว่ ยงานด้านคอมพวิ เตอรแ์ ละงานเตรยี มต้นฉบบั อยา่ งอดทนเปน็ อย่างมาก ถึงแม้ผู้จดั ทำ
จะแกไ้ ขต้นฉบับหลาย ๆ ครั้งกต็ าม นที เมอซ,ิ บชู า ออ่ ข่า เป็นผชู้ ว่ ยงานภาคสนามมาโดยตลอด และเจา้ หน้าทปี่ าไมแ้ ละหนว่ ย
ต้นนาี้ ในเขตรักษาพนั ธ์สัตว์ปาและอทุ ยาน แห่งชาตทิ กุ แหง่ ทีไ่ ดช้ ่วยเหลอื และใหค้ วามสะดวก โดยเฉพาะที่เขตรกั ษาพนั ธ์สตั ว์ปา

ดอยเชียงดาว อทุ ยานแหง่ ชาตดิ อยหลวง และอุทยานแหง่ ชาติดอยสเุ ทพ-ปุย Mr. J.F. Maxwell ดร. จำลอง เพง็ คลา้ ย ดร. ปยี ะ
เฉลมิ กลิ่น กรณุ าชว่ ยตรวจตวั อย่าง พรรณไม้ ม.ร.ว. สมานสนิท สวสั ดวี ัตน์ ได้กรณุ าวาดรปู ประกอบปกหนงั สอื และรปู สภาพ
ปาระดบั สูง-ตํา่ และคณุ ปราณี ปาลี ไดช้ ่วยวาดรปู ประกอบ ตระกูล Ficus และวงศ์ Fagaceae ภาพถ่ายสว่ นหนงึ่
ได้รับความอนุเคราะหจ์ ากคณุ อาคม มณีกลุ ดร. ชวลติ วิทยานนท์ คณุ เชิดศกั ด เกอ้ื รกั ษ์ E.J. Haas ดร. อ้อย กาญจนวนชิ ย์
ม.ร.ว. สมานสนิท สวสั ดีวตั น์ Richard Davies ผู้เชีย่ วชาญหลายๆ ท่านได้กรณุ าตรวจและแกไ้ ขขอ้ มูลบางสว่ น ดงั ต่อไปน้ี
ดร. ชวลิต นิยมธรรม (Leguminosae) ดร. จำลอง เพ็งคล้าย (Bombacaceae, Coniferae, Dipterocarpaceae,
Elaeocarpaceae.Lauraceae, Sterculiaceae, Lythraceae, Moraceae, Rubiaceae, Tiliaceae) ดร. ถ่องกานดา ชยามฤต
(Anacardiaceae, Capparidaceae) ดร. ปยิ ะ เฉลมิ กลนิ (Annonaceae, Magnohaceae) ดร. ประนอม จันทรโณทยั
(Myrtaceae, Lecythidaceae) ซึง่ นับเป็นประโยชน์อย่างยงิ่ อย่างไรกต็ ามหากมขี อ้ ผดิ พลาดอ่นื ๆ อีกในหนงั ลือเล่มนี้
ผ้จู ด้ ทำหวงั เปน็ อยา่ งยิง่ วา่ จะไดร้ บั คำวิจารณ์ แนะนำและแกไ้ ขจากทา่ นผ้มู ปี ระสบการณแ์ ละเชย่ี วชาญทกุ ๆ ท่าน เพื่อนำมา
ปรับปรงุ ให้หนังสือสมบรู ณ์ยง่ิ ข้ึนตอ่ ไป เรยี บเรยี งขอ้ มลู ตรวจทานตน้ ฉบบั ภาษาไทย และภาษาอังกฤษโดย ดร. กอบเกียรติ

แสงนลิ Kate Hardwick Kym Leggett เนตรนภศิ จิตแหลม บณั ฑติ ไกรวจิ ติ ร ม.ร.ว. สมานสนิท สวสั ดีวัตน์ Tim
Rayden Tony Ball รวมทงั้ งานพิมพ์ คุณสรุ ศักดิ อนิ ทานนท์ และเจ้าหนา้ ทีข่ องบรษิ ทั อมรนิ ทร์พรนิ้ ต้ิง แอนด์ พบั ลชิ ชงิ่ จำกดั
(มหาชน) ทกุ ๆ ทา่ น

คุณปราณี ปาลี ผจู้ ัดทำได้รวบรวมขอ้ มลู จาก หอพรรณไม้ หอ้ งสมุดและฐานข้อมูลจากทต่ี ่างๆ ด้งต่อไปนี้ หอ
พรรณไม้ ภาควชิ าชีววิทยา และหอพรรณไม้ คณะเภสชั ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ หอพรรณไม้ กรมปาไม้ สวนพฤกษศาสตร์
สมเด็จพระนางเจ้าสริ กิ ิต คณะเภสชั ศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหิดล หอ้ งสมุดมหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

นอกจากน ผจู้ ด้ ทำต้องขอขอบคณุ บคุ คล อกี หลายท่านท่ไี ม่ไดก้ ล่าวช่ือในทน่ี ้ี โดยเฉพาะเพือ่ นๆ ผู้รว่ มงาน และ
ครอบครัว ท่ชี ว่ ยเหลอื และท่ีสำคญั ทส่ี ุด เป็นกำลงั ใจใหท้ ำหนงั สือเล่มน้ีจนสำเร็จ

V

ต้นนาตน้ ชวี ติ

ท่ามกลางความเปล่ียนแปลงและการพัฒนาท่ีเกดี ข้ึนในหลายๆ ดา้ น ประเทศไทยตอ้ งเผชิญกบั วกิ ฤตการณ์
ทรพั ยากรธรรมชาตอิ ยา่ งน่าตระหนก เพยี งในชว่ งเวลาไม่กสี่ บิ ปีทผ่ี ่านมา พน้ื ทป่ี ่าจากเคยอุดมสมบูรณถ์ กู ใชแ้ ละ

ถกทำลายลงอย่างรวดเร็ว อันเปน็ สาเหตสุ ำคัญทีนำไปสูข่ ้อชัดแยงนานบั ปการ ตลอดจนฝันรา้ ยจากอุทกภยั ความ
แห้งแลง้ และ ฤดกู าลท่ผี นั ผวน

ข้อพิพาทในการจัดสรรปา่ ไม้และทรพั ยากรธรรมชาตทิ ง้ั มวล จึงถูกผนวกเขา้ มาในวิถชี ีวิตของคนไหยใน

รุ่นน้ีอย่างหลีกเลย่ิ งไมไ่ ต้
ปรวิ ิตกเช่นน้ี สะทอ้ นอยู่ในความเป็นมาของโครงการ “ตน้ นา้ี ด้นชีวิต" เมือครังดำรขิ น้ึ ในปี 2537 จาก

ความพยายามร่วมกบั กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะปกป้องปาตน้ น้ําไว้ โดยนำประสบการณข์ องกรมปา่ ไมท้ ีทดลอง
ดำเนนิ งานมากว่าสบิ ปที ี่เขาสามหมนื่ โดยความสนบั สนุนขององค์การสหประชาชาตดิ ้วยกาวรณรงคใ์ หใชท้ รัพยากรดิน
ปา และน้าํ อย่างทะนุถนอม จดั การเกษตรของตนแบบผสมผสาน ไมใ่ ชส้ ารพิษ เพือกนั มิใหเ้ จึอปนลงไปสตู่ ้นนำลำธาร
ตลอดจนรักและอยรู่ ว่ มกบั ปาด้นนา้ํ อยา่ งเปน็ มติ ร

เพอื่ รณรงค์ในเรอ่ื งนี้ ได้พฒั นาส่ือตา่ งๆ เป็นหลายภาษาตามทค่ี นในเขตป่าตน้ นาี้ ใช้สือสารกันรวมทั้ง

จักรยานยนต์ โทรทัศน์ และเคร่อื งฉายาติทัศน์ขนาดย่อมเพอี่ สะดวกและคล่องตวั ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน'์ 1ทกี รม

ปา่ ไม้

จากปี 2540 เปน็ ต้นมา ไดร้ ่วมงานกบั มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ และกองทนุ ชุมชนรักปาเพีอสนับสนุนพินท!ุ

สภาพปา่ รักษาป่าดน้ นำ สรา้ งแนวกันไฟป่า โดยไม่ใหแปลกแยกไปจ่ ากวถิ ีชวิต และความเชอดงเดมของคนตนนา
ในบรเิ วณพืน้ ทป่ี าอนรุ กั ษล์ ุ่มนาี้ ปิงตอนบนและล่มนี้าแม่วาง ซ่ึงครอบคลมุ พ้นื ทป่ี ากวา่ 1 แสน 2 หม่ืนไร ตลอดจน

รณรงคท์ างวิชาการ กิจกรรมดา้ นศิลปะและวฒั นธรรมในชมุ ชนเมอง เพอเชอื มโยงความผกู พนั และการมส่วนรว่ ม
ในการปกปอ้ งรกั ษา "ดน้ ชวี ติ ” เอาไว้ด้วยความเข้าใจ และดว้ ยวิธีการทเี่ ปน็ มิตรตอ่ ท้งั ธรรมชาติและตอ่ ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง

หนังสอื “ตน้ ไม้เมอื งเหนอื '' เปน็ อีกกจิ กรรมหน่งึ ในโครงการ "ต้นน้าี ต้นชวี ติ " จัดพิมพข์ ้นึ ทังภาษาไทย

และภาษาองั กฤษ โดยรวบรวมผลงานจากความรกั และจติ ใจของคนเขยี น ไชมอนด์ การด์ เนอร์ พนิ ดา สิทธสิ นุ ทร
และวไิ ลวรรณ อนุสารสนุ ทร ท่ีทำงานค้นควา้ มานานนบั ปีดว้ ยทนุ สนบั สนุนในการจัดเตรยี มตน้ นบบั จากธนาคารโลก
เราปรารถนาทจี ะใหห้ นงั สอื เลม่ นเื ปน็ สะพานสืบทอดความรู ความรกั และความหวงแทนพรรณไมยนตนทมอยู

ในพ้ืนที่ปาทางภาคเหนือของไทย
ดง้ ทา่ นพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตํโต) ไดเ้ ตอื นสติไวว้ ่า “คนในรุน่ น้ี ได้ใชท้ รัพยากรธรรมชาตไิ ปอยา่ ง

สนิ้ เปลอื ง และไม่เป็นมติ รตอ่ สภาพแวดลอ้ ม จงึ จำเปน็ ทค่ี นรุ่นนี้จก้ ตอ้ งร้จู ักเปล่ยี นแปลงแกไขตนเองตั้งแตบ่ ัดนี้

พร้อม ๆ ไปกบั ให้ความรูค้ วามเข้าใจทเ่ี ป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมแก่คนรุ่นใหม"่
ตน้ นาี้ ให้กำเนิดปา่ น้าี และชวี ติ ความพยายามของทุก ๆ ฝา่ ย ในการปกปอ้ งรักษาไว้อยา่ งจรงิ จังเท่าน้น

จึงจะเป็นหลกั ประกนั เบืองตน้ ในการสง่ ผ่านมรดกทางธรรมชาตทิ ีสำคญั เท่าทจี ะพอมีเหลีออยู่นใื หก้ ับคนรุน่ ต่อๆ ไป

มูลนธิ โิ ตโยต้าประเทศไทย
มนี าคม 2543

VI

มูลนิธ(ิ ติ(ยติ ำประเทศิเทย
(Toyota Thailand Foundation - TTF)

ก่อตั้งขึ้นในเดอื นตุลาคม พ.ศ. 2535 ในโอกาสท่ี บริพIั โตโยตา มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
ดำเนนิ งานมาครบรอบ 30 ปี ด้วยเงินทุนจดทะเบยี น เริมแรก 30 ลา้ นบาท ซงึ่ มลู นิธฯิ ได้นำเงนิ ดอกผล
มาดำเนนิ กิจกรรมภายใตว้ ัตถุประสงคเ์ พ่อื สง่ เสริมการศึกษา พัฒนาคณุ ภาพชวี ติ และส่ิงแวดลอ้ มรวมทงั้
กิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยร่วมมอื กบั ผ้ทู รงคณุ วุฒิ จากหนว่ ยราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน
และองคก์ รสาธารณกศุ ลต่าง ๆ

ในป้จจุบัน มลู นธิ ฯิ มีทนุ จดทะเบยี นท้งั สิน้ 250 ล้านบาท โดยกจิ กรรมต่างๆ ของมลู นธิ ฯิ ได้
ดำเนินไปอยา่ งราบรื่น และขยายขอบเขตอย่างกวา้ งขวาง ภายใต้ความตระหนักว่า ชุมชนและสังคมทเ่ี ข้มแขง็
ย่อมอยู่บนรากฐานที่มน่ั คงของการศึกษาและคณุ ภาพชวี ิตท่ีดี ซึง่ จำเปน็ ต้องดำเนนิ ควบคไู่ ปพร้อมกบั
การพัฒนาในด้านอ่นื ๆ ด้งนั้น ตลอดระยะเวลาท่ีผา่ นมา มลู นธิ โิ ตโยต้าประเทศไทย จึงยังคงม่งุ มัน่ ทีจ่ ะเป็น
ส่วนหนึ่งในกระบวนการกอ่ สรา้ งสงั คมทด่ี ี เขม้ แข็ง และสนั ติ เพือ่ ให้สังคมไทยเปน็ สังคมทเ่ี จริญรงุ่ เรอื ง
อย่างแทจ้ ริง

vii

กจิ กรรมของมลู นิธิฯ พ.ศ. 2536 - 2542

โครงการตอ่ เนอ่ื ง

♦ สนบั สนูนโครงการตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั
♦ โครงการทอ้ งเรียนมาตรฐาน เด็กชนั้ กอ่ นวยั เรยี น
♦ โครงการหนงั สอื มือสอง
♦ โครงการหนังสือหอ้ งสมดุ โรงเรยี นชน้ั ประถม
♦ โครงการรางวลั มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

(TOYOTA THAILAND FOUNDATION AWARD-TTF AWARD )
♦ โครงการต้นนํา้ - ตน้ ชวี ิต
♦ โครงการกองทุนหมนุ เวยี นนกั เรียนพยาบาลในเขต 8 จงั หวดั ภาคเหนือ
♦ โครงการอาหารกลางวนั ''หนูรกั ผักสืเขียว’' เพ่อี พัฒนาการจดั อาหารกลางวันใน

โรงเรยี นอยา่ งย่งั ยนื และแก่ไขปญั หาการขาดสารอาหารท่จี ำเป็นตอ่ พฒั นาการของเด็ก
วัยเรยี น
♦ ก่อต้งั และสนับสนนู ทุนศูนยว์ ิจยั สงิ่ แวดล้อม ณ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

โครงการและกิจกรรมพเิ ศษรว่ มกบั องคก์ รตา่ งๆ

♦ โครงการพอ่ แม่อปุ ถมั ภ์ มูลนธิ ิหมอเสม พร้งิ พวงแกว้
♦ โครงการบา้ นตะวันใหม่ มลู นิธิปอ้ งกนั และปราบปรามยาเสพติด
♦ โครงการสง่ เสริมทางเสอื ก แรงงานคนื ถนิ่ มลู นิธเิ พอ่ี การพฒั นาเด็ก
♦ ทนุ การศกึ ษาและฟิกอาชพี สำหรับผ้ตู อ้ งขัง กรมราชฑณั ฑ์
♦ ทนุ การศกึ ษา ''คนจนเมือง'' มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์
♦ ทุนการศกึ ษาวศิ วกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยนี านาชาติสิรนิ ธร
♦ ทุนการศึกษาปริญญาโท วศิ วกรรมศาสตรก์ ารขนส่งและการจราจร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั

viii

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ

เนอื่ งในโอกาสพระราชพธิ มี หามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ครอบครัว
โตโยต้า ซึ่งประกอบดว้ ย มูลนิธโิ ตโยต้าประเทศไทย บรษิ ทั โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกดั ชมรม
ตวั แทนจำหนา่ ยโตโยตา้ ชมรมความรว่ มมอื โตโยตา้ (ผ้ผู ลติ ช้ินสว่ น) และโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชนั่
ประเทศญีป่ ุ่น รว่ มกันดำเนนิ กจิ กรรมเฉลมิ พระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภายไตโครงการตาม
รอยพระราชปณิธาน จำนวน 7 กิจกรรม ประกอบดว้ ย

1. กอ่ ตัง้ บรษิ ัท ข้าวรชั มงคล จำกดั โรงสขี ้าวชุมชนอนั เน่ืองมาจากพระราชดำริ ณ นิคม
อุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ จังหวดั ฉะเชิงเทรา

2. นอ้ มเกล้าฯถวายขา้ วสาร 600 ดน้ มลู ค่า 9 ล้านบาท เพอ่ื พระราชทานแก่โครงการ อาหาร
กลางวัน กองทุนพฒั นาเด็กและเยาวชนในถน่ิ ทุรกันดาร ในสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ
สยามบรมราชกุมาร

3. รณรงคร์ ับบริจาคหนงั สอื จากประชาชนทั่วประเทศในโครงการหนังสือมือสอง
4. หนังสือเฉลิมพระเกียรติ คำพอ่ สอน ประมวลพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสเกยี่ วกบั

เด็กและเยาวชน
5. หนังสอื เฉลมิ พระเกียรติ คมํ ึอปฏบิ ัตงิ านเพี่อการฟัฒนาอาหารเด็กในโ-รงเรียน และชมุ ชน:

ประสบการณ์อากโครงการ "หนูรกั ผกั สีเขียว"
6. หนังสอื เฉลิมพระเกียรติ From Japan to Arabia: Ayutthaya's Maritime Relations with

Asia และจดั สัมมนาวชิ าการนานาชาตทิ างประวัติศาสตร์ เรือ่ ง “อยุธยากบั เอเชยี ”
7. คอนเสริ ต์ การกุศล โตโยต้า คลาสสคิ ส์ โดยวงดรุ ิยางค์ เวียนนา ฟอลค์ ส์ โอแปร์ จากเมอื ง

เวยี นนา ประเทศออสเตรีย

IX

รายนามคณะกรรมการมลู นธิ ิโตโยตา้ ประเทศไทย

ประธานมูลนิธิ พล.ต.อ. เภา สารสนิ
รองประธาน,มูลนธิ ิ Mr. Yoshiaki Muramatsu
กรรมการ ดร. เสนาะ อูนากลู
ดร. พสิ ิฎฐ ภัคเกษม
กรรมการและเทรญั ญิก ดร. เจตน์ สุจริตกลุ
กรรมการและเลขานกุ าร ดร. ชาญวทิ ย์ เกษตรคริ ิ
ศ.ดร. เทียนฉาย กริ ะนันทน์
อธกิ ารบดีจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั

รศ.ดร. นริศ ชัยสูตร
นายเฉลา อธิการบดมี หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โฆสติ สกลุ
ประธานชมรมตัวแทนจำหน่ายโตโยต้า

Mr. Yoshinori Omori
ประธานชมรมความร่วมมอื โตโยตา้

นายประมนต์ สธุ ีวงศ์
นายนนิ นาท ไชยธีรภิญโญ
Mr. Masaki
นายเอกชยั Nakatsugawa
รัตนชัยวงศ์

รายนามคณะกรรมการบริหาร มูลนธิ โิ ตโยต้าประเทศไทย

นายประมนต์ สธุ วี งศ์ ประธานคณะกรรมการ
บริษัท โตโยตา มอเตอร์ ประเทศไทย จำกดั
Mr. Yoshiaki Muramatsu
Mr. Masaki Nakatsugawa ประธานบรษิ ัทฯ
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการบรหิ าร
นายเอกชัย รตั นชยั วงศ์ รองประธานกรรมการบริหาร
นายมิง่ ขวญั แสงสวุ รรณ กรรมการ
จนั ทร์วเิ มลีอง กรรมการ
นายสุทธิ คริ ิรัตนม์ านะวงศ์ กรรมการสมทบ
นายณรงค์ชัย ผอู้ ำนวยการ
ฝา่ ยประชาสมั พันธ์ และกิจกรรมสงั คม
เลขานกุ ารคณะกรรมการบรหิ าร

โครงการจัดพมิ พค์ บไฟ มูลนิธเิ พี่อการศึกษาประชาธปิ ไตยและการพัฒนา
คณะกรรมการ
ศาสตราจารยเ์ สนห่ ์ จามริก ประธาน
ทปี่ รกึ ษา
ศาสตราจารย์ระพี สาครกิ กรรมการ
ผูอ้ ำนวยการโครงการ
จดั พิมพค์ บไฟนานาชาติ อาจารย์สุลกั ษณ์ ศิวรักษ์ กรรมการ
คณะทำงานฝา่ ยจดั การ/
บรรณาธกิ าร ดร. ชยั วัฒน์ คปุ ระตกุล กรรมการ

ดร. ชัยวฒั น์ สถาอานนั ท์ กรรมการ

ธนพรรณ สทิ ธสิ ุนทร กรรมการ

ดร. สมบัติ จันทรวงศ์
พระศรปี รยิ ตั โิ มลี
ประชา หุตานวุ ตั ร

ไอแวน แคทส์
ดอนนา แอนเดอร์ตนั

ดร. ชยั วัตน์ สถาอานนั ท์
ธนพรรณ สทิ ธิสุนทร
สุณีย์ วงศโ์ วศยวรรณ

Xi

คำนำโครงการจัดพิมพค์ บไฟ

คงมีวธิ ีแบง่ หนงั สอื ออกเป็นสองส่วนหลายวธิ ี เชน่ กระบวนการผลติ กับกระบวนการเขียนหนงั สือ ฝา่ ย
ผผู้ ลิตกับฝ่ายผอู้ ่าน หรอื ราคากับคณุ ภาพของหนงั สือ แตว่ ธิ แี บ่งหนงั สือท่ีสำคญั อกี วธิ หี น่งึ คือแบง่ ระหว่างปกกับ
เนอ้ื ใน

ผู้ผลิตหนังสอื แทบทุกรายคงเห็นว่า ปกหนังสอื สำคัญ
แตท่ ่ีจริงปกหนงั สอื สำคัญอย่างไร?
ส่วนใหญส่ ำนกึ แรกท่ผี คู้ นสัมผัสหนงั สือนอกจากการอา่ นบทวิจารณ์ เรือ่ งย่อ หรอื ฟงั เขาเอ่ยถงึ มาแลว้
คงเปน็ ปก
ปกท่งี ดงามแปลกตานอกจากจะทรงคุณค่าในตวั เองแลว้ ยงั ดึงดูดเชิญชวนผคู้ นให้เขา้ หาหนงั สอื หยบิ มา
พนิ จิ พิศอา่ นในร้าน และท่ีสุดช้อื หาไปอ่านเป็นของตน
ปกหนงั สือเล่มท่ีท่านถืออย่ใู นมอื ขณะน้ืเป็นผลงานของจติ รกรสำคัญ ภาพปกละเอียดงดงามและรบั กับ
เน้อื เร่ืองว่าด้วยพนั ธพุ ฤกษ์แหง่ ดินแดนภาคเหนือของสยาม
แตท่ ง้ั ปกทัง้ หนังสือน้ดี ำรงอยใู นบริบททางสังคมชนดิ หน่ึง
ภายในบรบิ ทสงั คมไทยปัจจุบนั ความขดั แย้งนานาชนิดปรากฏแพร่กระจายใหเ้ ห็นท่วั ไปโดยเฉพาะท่ี
เกยี่ วพนั ลึกล้าํ ในเรอ่ื งความสัมพันธร์ ะหวา่ งมนษุ ยก์ ับธรรมชาติ
คำถามวา่ มนษุ ย์อยู่และ “ควรอย’ู่ ' กับธรรมชาติในลักษณ์ใด เป็นฐานทางความคดิ แหง่ ความขดั แย้งท่ี
สะท้อนให้เหน็ ในรปู ของการจัดการกับธรรมชาตอิ ย่างปาและน้ีา ในสภาพที่ทรพั ยากรธรรมชาตเิ ปล่ียนแปลงผุกรอ่ น
เพราะภยั จากทศิ ทางการพัฒนาประเทศที่เห็นวตั ถุเป็นประธานจนหมดความอาทรตอ่ ธรรมชาตมิ านานปี
บางฝา่ ยเห็นวา่ ธรรมชาตศิ กั ดสี้ ทิ ธีไ้ ม่ควรแปดเปอี นดว้ ยมือมนุษย์ ดงั นั้นมนษุ ยจ์ งึ ควรอยู่ใหไ้ กลจาก
ดนิ แดนป่าเขา เก็บรักษาไวใ้ หเ้ ปน็ แหง่ นื้าหล่อเลยี้ งแผ่นดิน ในขณะท่ีอีกบางฝา่ ยเห็นวา่ มนษุ ยบ์ างหมูบ่ างเหล่าอยู่
รว่ มกบั ธรรมชาติชนิดทีแ่ ยกกันไม่ออก ธรรมชาตหิ ล่อเลยี้ งชีวิตและมนษุ ยเ์ หล่านั้นแมืใช้ประโยชนจ์ ากปาเขา
แตก่ ็เคารพ มิไดท้ ำลายให้สน้ิ สูญไปเหมือนอุตสาหกรรมบางชนิด เพราะมนษุ ย์กเ็ ป็นส่วนหนึง่ ของธรรมชาตเิ ช่นกนั
โจทย์ทางความคิดเก่ียวกบั ระบบนเิ วศในต้นคริสตศ์ ตวรรษใหม่นมื้ ิไดร้ าบเรยี บง่ายใด เหมอื นจะถามว่า
คนอยูก่ ับปาไดห้ รอื ไม่ เพราะในขณะทป่ี าเสิอ่ มลงดว้ ยฤทธข้ี องผลประโยชนท์ างเศรษฐกจิ และทศิ ทางการพัฒนา
ของรัฐ คนเองแม้อยูก่ ับปามานานนัก แต่คนกเ็ ปลีย่ นไปดว้ ย
“คบไฟ,' มิได้พยายามจะใหค้ ำตอบในเรื่องนี้ แต่พยายามทำหนา้ ทีจ่ ดุ ไฟทางปญั ญาเพื่อขบั ไลแ่ มลงรา้ ย
และความมืด "คบไฟ” หวงั ว่าเมื่อสวา่ งข้ึนคนคงเหน็ โลกไดห้ ลากมมุ หลายด้านข้นึ เมอ่ื ปลอดจากภัยแมลงคนคง
พนิ ิจพจิ ารณาปญั หาสิ่งแวดล้อมกับมนษุ ย์ได้อย่างตรติ รองยิง่ ข้ึน และคงค้นหาวธิ ีอยูด่ ้วยกันกบั โลกและผคู้ นที่
หลากหลายแตกตา่ งดว้ ยปญั ญาและอาทรได้ดขี นึ้

ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานน้ ท์
กรรมการโครงการจดั พมิ พค์ บไฟ

พฤษภาคม 2543

xii

คำนำ

ขา้ พเจ้าขอขอบคุณ โครงการจดั พมิ พ์คบไฟ มูลนธิ เิ พื่อการศกึ ษาประชาธปิ ไตยและการพัฒนา ที่ได้
กรณุ าใหเ้ กยี รตแิ กข่ า้ พเจ้าเปน็ ผเู้ ขียนคำนำให้กับหนังสือเรื่อง ต้นไม้เมอื งเหนือ ะ คมู่ อื ศึกษาพรรณไมย้ ืนตน้
ในปา่ ภาคเหนือประเทศไทย จดั ทำโดย ไชมอน การด์ เนอร์ พินดา สทิ ธสิ นุ ทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร

จากความรูส้ กึ ของคนท่ัวไป เม่อื นกึ ถงึ ต้นไม้ ดอกไม้ หลายคนมักมีแนวโนม้ ม่งุ มาทขี่ า้ พเจ้า ในกรณี
นก้ี ็เชน่ กัน ทกุ สงิ ทกุ อยา่ งมองเห็นไดส้ องด้านอย่างเปน็ ธรรมชาติ แมม้ องทเี่ ร่ืองราวเกีย่ วกับต้นไม้ ย่อมไมค่ วร
มองข้ามข้อมลู ทเ่ี กีย่ วกบั ธรรมชาติของคน ซงึ่ ควรจะเข้าใจธรรมชาตขิ องสิง่ ใดกต็ ามทีต่ นสนใจเกย่ี วขอ้ ง หาก
นำเอาหลักความจริงซึง่ ชไั้ ว้อยา่ งชัดเจนวา่ ทุกสิงมีเหตมุ ผี ลอยทู่ คี่ น

ด้งนั้นในกรณีท่ไี ดร้ บั การขอร้องให้เขยี นคำนำของหนังสือซง่ึ เก่ยี วกับตน้ ไมเ้ พื่อการศึกษา ชวน
ใหค้ ดิ ว่าคงไมเ่ พียงถือกรอบกำหนดไวแ้ ค่พรรณไม้เมืองเหนือเทา่ นัน้ หากสามารถขุดค้นความจริงได้ถงึ รากฐาน
กค็ งจะทราบเจตนาของข้าพเจ้าไดว้ า่ เป้าหมายในการเขียนนมี้ งุ่ ไปยังคนและควรมองสองด้านรว่ มกนั กลา่ วคือ
ท้งั ผู้มีส่วนรว่ มในการจัดทำและผทู้ สี่ นใจศึกษาหาความรู้ จากผลงานซงึ่ ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มน้ี

ข้าพเจ้าไดพ้ ิจารณาถงึ เจตนารมณ์ของผทู้ รี่ ่วมกนั จัดทำหนงั สอื เร่อื งนี้ และพยายามหาเหตผุ ลเชอ่ื มโยง
ถึงผอู้ ่านเพอื่ หวงั ศึกษาหาความรู้ หากทง้ั สองด้านเข้าใจธรรมชาตขิ องสง่ิ ซ่งึ ปรากฏอยูใ่ นหนงั สือเลม่ นีอ้ ยา่ ง
ถงึ แกน่ แล้ว กน็ า่ จะไดร้ ับประโยชนท์ ั้งสองฝ่าย

นอกจากนนั้ ทากไมม่ องอยา่ งยดึ ตดิ อยู่แต่ขอ้ มลู ท่เี กี่ยวกับพรรณไม้ชนิดต่างๆ ซ่ึงมกี ารจำแนก
แยกแยะออกมาเปน็ หมวดเป็นหมู่ ย่งิ มกี ารกำหนดกรอบไวเ้ ฉพาะพรรณไมย้ นื ตน้ อกี ทง้ั ของภาคเหนือด้วย ยอ่ ม
เข้าใจไดแ้ จม่ แจง้ วา่ สิง่ เหลา่ นเ้ี กิดจากความต้องการของคน คณะผจู้ ัดทำก็คงจะตอ้ งการให้ข้อมูลทปี่ รากฏออกมา
ในหนงั สอื เพือ่ ส่ือถึงผ้อู ่าน ส่วนผสู้ นใจหาความรู้จากหนังสอื กค็ งตอ้ งการทจ่ี ะได้รบั ความรูเ้ ป็นสงิ่ ตอบสนอง

ดังนัน้ หากมองทีภ่ าพรวม กน็ า่ จะเห็นไดส้ องประการด้วยกนั กล่าวคือ ประการแรกขอ้ มูลความรู้
ภายในหนงั สอื เลม่ นค้ี วรจะทำหน้าทเี่ ปน็ สอื่ ธรรมชาติทีส่ านความเขา้ ใจระหว่างคณะผจู้ ัดทำกบั ผู้อา่ นให้เกดิ
ประโยชนร์ ่วมกัน และใครข่ อเนน้ ความสำคัญว่า คนมีรากฐานจติ ใจเปน็ ส่งิ กำหนดทศิ ทางการปฏิบตั ิ ในอนั ที่
จะนำไปสูก่ ารสร้างสรรคห์ รอื ทำลายก็ได้

ดง้ นนั้ ส่ือสมั พันธ์จากหนงั สอื เล่มนี้ นา่ จะมุ่งไปที่ความสัมพนั ธท์ างจิตใจระหว่างคนซงึ่ มีโอกาสใช้
ขอ้ มูลในหนงั สือเป็นส่ือสรา้ งความเข้าใจเปน็ อนั ดับแรก ทง้ั น้แี ละทั้งน้ัน เพอื่ จะไดช้ ว่ ยใหม้ ีการกำหนดทิศทาง
มุ่งไปสปู่ ระโยชนส์ ุขรว่ มกนั ซ่ึงสิ่งน้ีจะเกดิ ไดจ้ ำเปน็ ต้องมคี วามจริงใจและความมีใจกวา้ งเข้าหากัน

ถา้ คณะผูจ้ ัดทำมคี วามจริงใจทีจ่ ะให้แก่สงั คมอยา่ งแทจ้ ริงแล้ว ขา้ พเจ้าเชือ่ มัน่ วา่ ผูท้ สี่ นใจอา่ นหนังสอื
เล่มนี้น่าจะเป็นกลมุ่ บคุ คลทม่ี คี วามจรงิ ใจสอดคล้องกนั ที่เข้ามาพบกนั อยา่ งเป็นธรรมชาติ ทง้ั นแี้ ละท้งั นนั้
เนือ่ งจากธรรมชาตขิ องมนุษย์ ผทู้ ม่ี รี ากฐานความรสู้ ึกนกึ คิดสอดคล้องกัน ยอ่ มมวี ถิ ที างซึ่งนำมาพบกันและเกดิ
ความผูกพันซึง่ กันและกนั เปน็ สัจธรรม

อนั ดับทสี่ อง นอกจากมุ่งความสำคญั ทีค่ นแลว้ หากหวนกลบั มาพิจารณาขอ้ มลู เกี่ยวกบั ต้นไม้ซึง่
หนงั สือเล่มนไี้ ด้เนน้ เปา้ หมายไปยงั ตน้ ไม้เมืองเหนือ แต่ขา้ พเจา้ กเ็ ชอ่ื ว่า หากเข้าใจไดถ้ ึงแกน่ แท้มากเพียงใด

xiii

กรอบซง่ึ กำหนดไว้ว่าเป็นตน้ ไม้เมืองเหนอื ก็คงจะถูกละลายหายไป ช่วยใหม้ ีโอกาสนำความร้มู าใช้ไดก้ ับ
พรรณไมจ้ ากทุกภาค และยงั สามารถสานความคดิ เลยไปถงึ ทุกทอ้ งถิ่นในโลก

ในเมือ่ ชว่ งหลังๆ เรามักกลา่ วถึงประเด็นของโลกาภิวฒั น์ ซึ่งหากมองถงึ สจั ธรรมของคนดว้ ยความ
เข้าใจอย่างแท้จริงแล้ว กน็ า่ จะรวู้ ่า โลกาภวิ ฒั นใ์ นดา้ นจติ ใจ ซ่ึงหมายถึงคุณธรรมและจรยิ ธรรมย่อม
เกิดข้ึนจากโลกทีไ่ ม่มีเปลือกนอก ซึง่ โลกใบนีท้ กุ คนสามารถค้นพบความจริงไดจ้ ากรากฐานจติ ใจตนเองอยา่ ง

อิสระ

การใชห้ นังสอื ซึ่งพิมพอ์ อกเผยแพร่ความรูใ้ ห้เกิดประโยชนอ์ ยา่ งแท้จริง ก่อนอ่ืนควรเข้าใจว่าเน้อื หา

สาระในหนังสอื คือผลสำเร็จรปู ซึง่ ได้รบั การคดิ และทำขึน้ โดยมนุษย์

หนังสือเผยแพรค่ วามร้จู งึ เป็นสงิ่ ซง่ึ มนษุ ยป์ ระดิษฐข์ ้นึ โดยพยายามเลียนแบบธรรมชาตใิ ห้มากที่สุด

แต่มนุษย์ย่อมมีกิเลส ดงั น้นั เนอื้ หาสาระในหนังสือจึงถูกแฝงไวด้ ว้ ยเงือ่ นไขท่ีเกิดจากกเิ ลสมนษุ ย์ ยง่ิ มีกิเลส

หนา ส่ิงทอี่ ยู่ในหนงั สอื ย่อมหา่ งจากความจริงมากขน้ึ

ดง้ นน้ั แมอ้ าจพบวา่ ภายในเน้ือหาสาระของหนังสือเล่มนืม้ ีการจดั จำแนกพรรณไม้ออกเป็นหมวด

เป็นหมู่ แตช่ ่วงหลงั ๆ กเ็ ริม่ มีความขัดแย้งเกดิ ขึน้ ระหวา่ งผู้ซึ่งถูกเรียกวา่ นักวชิ าการเองไมว่ ่ามนษุ ยจ์ ะพยายาม

กำหนดระบบและกฎเกณฑอ์ ย่างละเอยี ด รวมทงั้ ใหม้ ีการอ้างอิงหลกั ฐาน แต่ถ้าเขา้ ใจความจรงิ ย่อมเหน็ ไดว้ า่

มนุษยเ์ องน่นั แหละทพี่ ยายามสร้างเงอ่ื นไขเพ่ือหวงั ใหค้ นอ่นื เชือ่ สิ่งซ่งึ ตนทำไว้

ถา้ เราเข้าใจไดอ้ ยา่ งลกึ ชึ้งกน็ ่าจะพบความจรงิ วา่ การจัดหมวดจัดหมู่ของพรรณไม้น้นั เกิดจากความคดิ

ของมนุษยท์ ง้ั สิ้น แตธ่ รรมชาตทิ แี่ ทจ้ ริงน้ันไม่มกี ารแบง่ แยกขอบเขต หากมีการสานถงึ กนั เปน็ เน้อื เดยี วอยา่ ง

มีเหตุมผี ล มนษุ ย์ตา่ งหากท่ียดึ ติดอยกู่ บั สิ่งสมมตุ จิ ึงทำให้เกดิ ภาวะปดิ กน้ั ความเขา้ ใจ ซงึ่ ควรจะมุ่งลกึ ลงไป

ถึงความจรงิ
ข้าพเจ้าหวังเปน็ อยา่ งยิง่ ว่า ทงั้ คณะผู้จัดทำและผู้นำไปใชป้ ระโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ หากสามารถ

มองทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ งสานเหตุกบั ผลถึงซ่งึ กนั และกนั ใหเ้ ปน็ เนือ้ เดียวกนั ได้ ประโยชน์จากหนงั สอื เลม่ นก้ื ็คงจะมี
ความสมบรู ณ์ครบถ้วนมากข้นึ

อยา่ งไรก็ตาม ส่งิ นี้จะบรรลผุ ลมงุ่ สู่เป้าหมายทีแ่ ท้จริงร่วมกันได้ คงไมม่ สี ิง่ ใดที่จะกำหนดวิถที างให้
เปน็ ไปได้ นอกจากธรรมชาตซิ ึ่งอยใู่ นรากฐานจติ ใจของแต่ละคน ผมู้ ีสว่ นร่วมกัน ทงั้ จากฝ่ายผู้ให้และฝ่ายผรู้ บั
ซ่ึงจะเหน็ ไดจ้ ากสจั ธรรมทมี่ ีรากฐานจติ ใจผกู พันฝีงลกึ อยู่กับพ้ืนดินรว่ มกนั และสานถงึ พรรณไม้นานาชนดิ
รวมท้งั ชีวิตอ่นื ด้วย

ขา้ พเจา้ เชื่อวา่ หนงั สอื เลม่ นีน้ ่าจะมีบทบาทเป็นส่วนหนึง่ ซ่งึ กำหนดแนวทางให้ผทู้ ีย่ ้งมีรากฐานจิตใจ
อสิ ระ และรกั ศักดศ็ รคี วามเป็นตวั ของตวั เอง พึงใช้ขอ้ มลู เปน็ ล่อื นำไปส่คู วามสงบสขุ ทง้ั แก่ตนเองและสังคม

ร่วมกนั

ระพี สาครกิ
XIV

สารบัญ

คำอธบิ ายสญั ลักษณ์และรปู แบบของหนังสอื ปกหนา้ ดา้ นใน
คำขอบคณุ V
สารจากโตโยต้าและคบไฟ
อารมั ภบท Vi
สารบัญ xiii
สารบญั รูปวธิ านของวงศ์/สกุล
สารบญั ตาราง 1
2
3

บทนำ 3
5
วิธกี ารใชห้ นงั สอื 8
วิธกี ารสำรวจพรรณไม้-อปุ กรณ์ การเขยี นบนั ทึกและการเก็บตวั อยา่ ง 9
แผนท่ีภาคเหนือของประเทศไทย 9
ลกั ษณะภูมศิ าสตรท์ างกายภาพของภาคเหนือ 12
ลกั ษณะของสังคมพืชในภาคเหนอื 16
รปู ด้านข้างของป่าแบบตา่ ง ๆ 21
รปู วธิ านทวั่ ไป (สว่ นใหญ่ใชใ้ บและเปลือกตน้ )
รปู วธิ านใชล้ กั ษณะเดน่ ชัด 29

ดอนท่ี 1 ะ คู่มอื ภาคสนาม 30

ลักษณะรายละเอียด ถนิ่ ทอี่ ยู่ ระยะเวลาการออกดอกและออกผล ช่อื ทอ้ งถน่ิ
ชนิดพรรณไม้ท่ใี กล้เคยี งกนั รปู วิธานจำแนกระดบั วงศ์และสกุล
อันดับของวงศ์ตา่ ง ๆ ทอี่ า้ งถึงในเล่ม

ดอนท่ี 2 ะ ความรู้และขอ้ มูลเพิม่ เดิม 379
ชือ่ วิทยาศาสตร์ ช่ือพอ้ ง เอกสารอา้ งอิง การกระจาย และการใช้ประโยชน์

ภาคผนวก 464
476
อภิธานศพั ท์ 486
ตารางเปรยี บเทยึ บระหว่างวงศ์
ตารางเปรยี บเทียบระหว่างกลุ่มทย่ี ่งุ ยาก 507
516
บรรณานกุ รม
เอกสารทคี่ วรอ่านเพม่ิ เตมิ

ดรรชนี 518
ช่อื ทอ้ งถนิ่ 525
ชอื่ ภาษาองั กฤษ 529
ชื่อสกุล (รวมท้ังชอ่ื พอ้ ง) ปกหลังดา้ นใน
ช่อื วงศ์

ก. รปู วิธานหวั ไปของใบ รปู วิธานการจำแนก
ง. ใบเด่ยี วเรียงแบบสลบั ขอบใบเรยี บ

ข. ใบเดยี วออกตรงกันขา้ ม จ. ใบประกอบแบบขนนก เรียงแบบสลับ
ค. ใบเดี่ยว เรยี งแบบสลับ ขอบใบมชี ่หี ยัก

รูปวธิ านใช้ลักษณะเดน่ ชัด

เรือนยอดและลักษณะของดน้

1 ขืนอยบู่ นตน้ ไม้อนื หรอื บนหิน 20 มตี ่อม

2 เรือนยอดรปู กรวยแคบ หรอื รูปทรงกระบอก 21 มีขนรปู ดาว ขนแตกแขนงหรอื เป็นแผง
3 เรอื นยอดเปน็ ชั้น ๆ หรือกิง่ ออกเป็นวง 22 ใบใกล้ร่วงสแี ดงสดหรอื สม้
23 ก้านใบหรอื กา้ นใบร่วม (rachis) มีปกี
4 เรือนยอดไม่แตกแขนง (ใบเป็นกลุ่มใกลป้ ลายก่งิ )

5 โคนตน้ เปน็ พูพอน 24 หใู บรูปร่างแปลก ๆ

6 โคนตน้ เปน็ ร่อง 25 ตฺาใบรูปกรวยแคบ

ลกั ษณะของเปลือกดน้ 26 กงิ่ ก้านหนา้ ตัดเปน็ สนั หรือเป็นส่ีเหลย่ี ม

7 มหี นาม (thorn spine or prickle) ลักษณะของดอก
8 นา้ํ ยางสขี าว สอี ่ีน ๆ หรือเป็นยางชัน (resin) 27 ดอกออกดคิ กิงหรือติดลำตน้

9 เปลอื กต้นแตกลกึ 28 ดอกเปน็ ช่อแคบยาว (catkin) หรอื ดูคลา้ ยแคบยาว
10 เปลอื กต้นเป็นแผ่นหรือหลดลอก 29 ดอกใหญ่สีขาวหรอื เหลอื ง (> 5 ชม.)

11 เปลือกต้นเปน็ เสน้ ใย ลอกได้เป็นเส้นยาว 30 ดอกสชี มพู แดง หรอื ส้ม (ขนาดต่าง ๆ)
12 เปลอื กชนั้ ในมีกลน่ิ หอม 31 ชนั้ กลบี ดอกไมส่ มมาตร

ลกั ษณะของใบ 32 กลบี ดอกเป็นฝอยหรอื มรี ะบาย
13 ใบเดยี วขนาดใหญ่ (ยาว >30 ชม.) ลกั ษณะของผล
14 ใบเดีย่ วรูปรา่ งแปลก ๆ 33 ผลสดขนาดใหญ่ (>5 ชม.)
34 ผลมปี กี หรอื มสี นั กว้าง
15 ก้านใบติดด้านหลังใบ (peltate) 35 ผลมีหนาม
16 มีเส้นใบหลายเส้นจากฐานใบ 36 ผลสุกแตกได้ (ไมม่ ีปีก)
17 เส้นใบดา้ นขา้ งตรงและขนานกน้

18 เส้นใบด้านขา้ งเลือนลางมาก 37 ผลประกอบ (compound)

19 มเี กล็ดและมีนวลสขี าว 38 เมลด็ มเี นอื หุ้ม (aril or sarcotesta)

รปู วิธานของวงศ์/สกุล

Dilleniaceae 31 Sapindaceae 131 Ebenaceae (Diospyros) 245
Symplocaceae 250
Magnoliaceae 33 Anacardiaceae 142 Oleaceae 254
Apocynaceae 257
Annonaceae 36 Leguminosae 156 265
Bignoniaceae 274
Polyalthia 42 Albizia & Archidebdron 158 Labiatae 285
Lauraceae
Guttiferae 49 Bauhinia 168 256
Litsea 297
Flacourtiaceae 53 Cassia (yellow fws) 170
Euphorbiaceae 299
Theaceae 56 (pink fws) 173 Antidesma 305
308
Camellia 57 Dalbergia 178 Bridelia 309
Croton 314
Dipterocarpaceae 64 Millettia 181 Glochidion 323
Mallotus 325
Shorea 70 Combretaceae 187 Ulmaceae 332
345
Sterculiaceae 77 Myrtaceae 193 Moraceae 351
Ficus 367
sterculia 78 Syzygium 194 Urticaceae 373
Fagaceae
Pterospermum 83 Lythraceae Palms & Cycads
Conifers
Tiliaceae 87 Lagerstroemia 202

Colona 88 Araliaceae 210

Grewia 89 Rubiaceae 217

Elaeocarpaceae 94 Ericaceae

Rutaceae 99 Rhododendron 235

Meliaceae 114 Myrsinaceae

Icacinaceae 124 Ardisia 238

Celastraceae 127 Maesa 241

Sapotaceae 242

2

ตารางเปรียบเทียบ

1. All families 476-485 10. Maesa 495
2. Elaeocarpus 486 11. Diospyros 496-7
3. Albizia & Archidendron 487 12. Symplocos
4. Cassia & Senna 488 13. Lauraceae 498
5. Dalbergia 489 14. Glochidion 499
6. Terminalia 490 15. Boehmeria 500
7. Lagerstroemia 491 16. Ficus 501
8. Syzygium 17. Lithocarpus & Quercus 502-3
9. Ardisia 492-3 18. Castanopsis 504-5
494 506

วิธีการใช้หนังสอื

หนังสอื เลม่ น้เี ขียนขน้ึ เพือ่ ช่วยนกั พฤกษศาสตรส์ มัครเลน่ จำแนกชนดิ ของต้นไม้ท่พี บในปาทาง
ตอนเหนอื ของประเทศไทย โดยได้รวบรวมพรรณไม้กว่า 880 ชนิด (75% ของไม้ท้องถิน่ ) ท้งั ท่พี บไดท้ ว่ั ๆ ไป
และทีห่ ายาก นอกจากนี้ยังไดเ้ พมิ่ พรรณไม้บางชนดิ ทนี่ ์าเข้ามาปลกู และได้ขึ้นปะปนกับไม้ทอ้ งถ่ิน จนอาจจะ
ทำใหส้ ับสนกนั ดว้ ย ผู้เขียนพยายามใช้คำส้นั ๆ งา่ ย ๆ และเน้นส่วนที่สำคัญต่อการจำแนกชนิด ประกอบกับ

รูปถ่ายและภาพวาด
เพ่อื ให้สามารถจำแนกพรรณไมไ้ ด้อย่างงา่ ยและรวดเรว็ หนงั สอื นีป้ ระกอบไปดว้ ย 2 สว่ นหลกั และ

สว่ นประกอบอนื่ ๆ ดังน้ี
ตอนท่ี 1 เพอื่ ชว่ ยจำแนกพรรณไมโ้ ดยเฉพาะ ประกอบดว้ ยช่ือวิทยาศาสตร์ ช่ือภาษาไทย เดือน

ทอ่ี อกดอก/ผล สถาพพื้นท่ี คำอธบิ ายลักษณะพืช ภาพวาด รูปถ่าย และรปู วิธานของวงศ์และสกุลหลกั ๆ พืชทง้ั
880 ชนิดนมี้ ีรปู แบบของขอ้ มูล 3 ชนิด คือ

- 430 ชนิดหลัก มีคำอธบิ ายลักษณะและรปู ประกอบโดยละเอียด ยกเวน้ บางลักษณะท่ี
เปน็ ลกั ษณะร่วมในวงศห์ รอื สกลุ เดยี วกันซ่ึงได้กล่าวถงึ แลว้ ในคำนำของวงศแ์ ละสกุล
นน้ั ๆ

- 340 ชนิดที่คลา้ ยกนั มีความคลา้ ยคลึงกบั ชนดิ หลกั ทอี่ ย่ในหน้าเดยี วกัน จึงจะกล่าว
ถงึ เฉพาะลักษณะทแ่ี ตกต่างไปจากชนิดหลกั เท่าน้ัน

- 110 ชนดิ เพิมเติม กล่าวถึงเฉพาะในรปู วธิ าน ไมม่ ีคำอธบิ ายประกอบในสว่ นอื่น แต่
มีข้อมลู เพิมเดิมในส่วนท่ี 2 ของหนังสอื

ตอนที่ 2 ประกอบดว้ ยข้อมูลทีน่ า่ สนใจอ่นื ๆ ซง่ึ ไม่ตอ้ งการใช้ในการจำแนกพชื เชน่ ชิอ่ ผแู้ ตง่
ช่อื พอ้ ง หนังสืออ้างองิ แหลง่ ทพี่ บนอกจากในภาคเหนอื ของไทย ประโยชนใชส้ อย

รูปวิธาน เพอื่ ชว่ ยในการจำแนกพชื เราได้ทำรปู วธิ านขน้ึ ชึง่ มที ้ังรูปวธิ านท่ัวไป (ใช้ใบ-เปลือก
ตน้ ) รปู วธิ านแบบใชล้ กั ษณะเด่นชดั (ยาง, หนาม อ่นื ๆ ) และรูปวธิ านของวงศ/์ สกุล (ใช้ดอก, ผล) รวมทัง้ หมด

กวา่ 100 รปู วธิ าน
ตารางเปรียบเทียบ เราได้จัดลกั ษณะทสี่ ำคญั ของพืชแต่ละชนดิ ใน วงศ/์ สกุล หลกั ๆ

มาไวใ้ นรปู ของตาราง เพอ่ื ไว้ใชเ้ ปรียบเทียบลกั ษณะเหลา่ นี้ใดง้ ่ายขน้ึ

3

บรรณานกุ รม ประกอบด้วยเอกสารอ้างองิ ท้งั หมดที่ใชในหนงั สือเลม่ นี้
ดรรชนี ประกอบดว้ ยดรรนีชื่อภาษาไทย ช่อื วทิ ยาศาสตร์ และดรรชนีวงศ/์ สกลุ
ลำดับของชนดิ และวงศ์ เรยี งตามแบบของ Flora Generale de Indo Chine และ Flora of British
India ซงึ่ แสดงความสัมพนั ธข์ องววิ ฒั นาการของพืชโดยเรยี งจากวงศท์ ีม่ ีโครงสร้างของดอกแบบด้งั เดมิ ไป
จนถงึ แบบซับชอ้ น ดังนนั้ วงศ์ท่ีมโี ครงสรา้ งของดอกคลา้ ยกนั จะอยใู่ กลก้ นั
ระบบตวั เลข พืชทุกชนิดในคู่มือเล่มนีจ้ ะมีตัวเลขกำกบั อยู่ ซง่ึ เปน็ เลขอ้างอิงใชส้ ำหรบั คมู่ ือเล่มน้ี
โดยเฉพาะตวั เลขที่ปรากฏอยกู่ ่อนชอ่ื แสดงถึงลำดับของชนดิ โดยจะเรยี งจากชนดิ ท่ี 1 ไปจนถึงชนิดสุดท้าย
ส่วนตวั เลขที่ปรากฏหลงั ช่ือหมายถงึ การอ้างถงึ ชนิดนนั้ ๆ เท่าน้นั ตัวเลขอ้างองิ นีย้ งั ใช้กับรูปประกอบดว้ ย

วิธจี ำแนกพืช

ใซค้ ู่มอื นใ้ี นการจำแนกพืชไดห้ ลายวธิ ี ทงี่ า่ ยทส่ี ดุ สำหรับผู้ท่ไี มม่ ีพนื้ ฐานทางด้านพฤกษศาสตร์
และไม่คุน้ เคยกับพรรณไม้คอื การเทยี บตัวอย่างกบั รูปประกอบในคู่มอื จนพบรูปทใ่ี กลเ้ คียงกบั ตัวอย่างมากทส่ี ดุ
แล้วอ่านคำอธิบายเพ่ือตรวจสอบวา่ คอื ชนิดเดยี วกันหรอื ไม่ แตค่ วรจะตรวจสอบชนดิ อื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน
ดว้ ยเพราะบางครงั้ มลี กั ษณะคล้ายกันมาก และอาจเปน็ ชนิดท่ไี มไ่ ด้แสดงรูปประกอบเอาไว้ อยา่ งไรก็ตามคำ
อธิบายจะแสดงถงึ ลักษณะสำคญั ซงึ่ ช่วยจำแนกพรรณไม้ท่ีคลา้ ยกันออกจากกันได้ วชิ ิท่ีสองคอื ถา้ ทราบชือ่
ภาษาไทยให้ตรวจดูดรรชนภี าษาไทยและอา่ นคำอธบิ ายประกอบว่าตรงกับตวั อย่างหรือไม่ ผเู้ ขยี นพบวา่ มชี ่ือ
พชื หลายชนดิ ท่ีมชี อิ่ ภาษาไทยซา้ํ กนั และพืชอกี หลายชนดิ ทม่ี ชี ่ือภาษาไทยอกี หลายชือ่ และพชื บางชนดิ ไม่มชี อ่ื
ภาษาไทยเลย คมู่ อื เล่มน้จี ึงไดร้ วบรวมเฉพาะช่ือท่ีมภี าษาไทยท่ีใซ้อา้ งองิ กันทว่ั ๆ ไปเท่านน้ั ผู้ใชค้ มู่ อื นา่ จะเติม
ชอ่ื ทอ้ งถ่ินของตนเองลงในหนงั สอื เพ่อื ให้สมบูรณม์ ากยิ่งขึน้ เพราะวา่ ความสำคัญไม่ไดอ้ ยทู่ ีต่ วั ของพชื แต่อยู่ทีผ่ ใู้ ช้
คมู่ อื สามารถจำแนกพืชได้ ในที่นื้มรี ปู วธิ านอยู่ 3 แบบ

รปู วิธานท่วั ไป ส่วนมากจะใชล้ ักษณะของใบ เปลือกตน้ ถ้าตัวอยา่ งไมม่ ลี ักษณะใดโดยเฉพาะควร
จะใชร้ ูปวธิ านแบบน้ี เริม่ จากรปู วิธาน ก แล้วต่อด้วยรปู วิธานยอ่ ย ข-จ ซึง่ จะรวมถึงพชื กลมุ่ ใหญ่ ๆ ไว้เกอื บ
ทัง้ หมด แต่อาจจะเปน็ ไปไมไ่ ดท้ ี่จะระบุลงไปถึงระดับชนิด โดยไมไ่ ดด้ ูดอกหรือผล เนือ่ งจากหนังสือเลม่ นม้ี ี
จำนวนชนิดพชื ถึง 880 ชนิด อยา่ งไรก็ตามถา้ ใช้รูปวิธานของใบแลว้ พบวา่ มจี ำนวนชนิดพืชให้ไว้อีกหลายชนิด
ในกรณนี ลี้ องใช้ตารางเปรียบเทียบวงศใ์ นหน้า 476 อาจจะชว่ ยในการตดั สนิ ใจได้

รูปวธิ านแบบใช้ลกั ษณะเด่นชดั จะไมก่ ว้าง เหมือนกบั รปู วธิ านแบบแรกเพราะจะรวมเฉพาะกลุ่มพืช
จำนวนไม่มาก แต่จะใช้เด้สะดวกและรวดเรว็ ถ้าพรรณไมข้ องทา่ นมลี กั ษณะท่รี ะบไุ ว้ในหน้า 2

รปู วิธานของวงศ/์ สกุล ซงึ่ รวบรวมไว้ในตอนที่ 1 ในวงศ์และสกลุ ขนาดใหญ่จะมีรปู วิธานแยกโดย
เฉพาะการใชร้ ปู วธิ านน้สี ่วนใหญ่จำเปน็ จะต้องใชล้ กั ษณะของดอกและผล ท้ังนี้เพราะการจะแยกพชื ชนิดที่
ใกล้เคียงกันจะให้ลักษณะของใบเพยี งอยา่ งเดยี วย่อมเปน็ ไปไมไ่ ด้ ในหน้า 2 จะมีสารบัญรปู วิธานของวงศ์/สกลุ
ถา้ มีตัวอยา่ งเฉพาะส่วนใบ และไม่มีลกั ษณะพเิ ศษใด ๆ ไมส่ ามารถเดาไดเ้ ลยว่าอยวู่ งศ์/สกลุ ไหน ใหใ้ ช้
รปู วิธานท่วั ไปซึ่งสามารถจำแนกพืชจากลกั ษณะ ใบและตน้ ไดถ้ ึงระดบั หนึ่ง ซึง่ เปน็ กลุ่มของชนิดที่มใี บและตน้
คล้ายกนั มาก หลงั จากนั้นใชต้ ารางเปรียบเทียบ (หนา้ 476) เพ่ือตรวจสอบและเลือกชนดิ

4

วิธใี ชร้ ปู วธิ าน

ในแตล่ ะรปู วธิ านจะประกอบไปด้วยกลุม่ ของตวั เลขเรียงจากน้อยไปหามาก ในแต่ละกล่มุ ตวั เลขจะมี
คำบรรยายลกั ษณะของพชื ใหเ้ ลอื ก โดยจะเร่มิ จากลกั ษณะครา่ ว ๆ และละเอียดลงไปเร่ือย ๆ เพือ่ นำไปสชู่ นดิ
พชี ทีต่ รงกบั ลกั ษณะตา่ ง ๆ ที่เลือกนม้ี ากทสี่ ุด

วิธีใชใ้ ห้เร่มิ จากเลข 1 กอ่ น โดยตรวจสอบลักษณะของพชื ที่ต้องการจำแนกและเปรียบเทียบกับ
คำอธิบายลักษณะของเลข 1 (สังเกตว่ามเี ลข 1 หลาย ๆ ขอ้ ให้เลอื ก) เลอื กขอ้ 1 ท่ีใกล้เคียงกบั ตวั อยา่ งพืช
มากทสี่ ดุ แลว้ ให้พจิ ารณาคำบรรยายลักษณะของกลมุ่ ตัวเลขท่ีสงู ข้นึ ในบรรทัดถัดลงมาจากข้อ 1 ทเี่ ลือกไวแ้ ลว้
ทำเชน่ น้ไี ปเรื่อย ๆ จนกระทงั่ พบชนิดพชื (มีเลขอา้ งอิง) หลังจากน้นั ใหอ้ า่ นคำบรรยายของพชื ชนดิ น้ันโดยละเอียด
เพ่ือใหแ้ นใ่ จวา่ ตรงกบั ตัวอยา่ งจรงิ ๆ ในบางคร้งั รปู วิธานจะจำแนกชนิดพชื ไปจนถึงวงศห์ รอื สกุลเท่าน้นั ใน
ขณะท่ตี วั เลขอ้างอิงหมายถึงเลขของพชื ชนิดแรกของวงศ์และสกลุ เทา่ นน้ั มิไดห้ มายความว่าจะต้องเปน็ ชนดิ
นัน้ ๆ ถ้ามรี ปู วธิ านเฉพาะของวงศ์หรือของสกุล ตวั เลข หมายถึง หนา้ ของหนงั สือทม่ี ีรปู วธิ านอยู่ (รช. น.)
ถา้ ใชร้ ูปวธิ านเหล่านแ้ี ล้วไมส่ ามารถจะบง่ บอกชนดิ ได้ อาจมสี าเหตุดงั นี้

ใ. ตวั อย่างพืชท่ใี ช้จำแนกมีลักษณะผดิ ปกตจิ ากพืชชนิดเดยี วกัน ควรเลอื กตัวอยา่ งพืชที่โตเต็มท่ี
สมบรู ณ์ มขี นาดและลกั ษณะเหมอื นกับลักษณะสว่ นใหญบ่ นตน้ หรือใหพ้ ิจารณาจากต้นชนิด
เดียวกันในบรเิ วณใกล้เคียงกัน

2. เปน็ พชี ท่ีนำเขา้ มาปลูก ซ่ึงไม่ได้รวบรวมไว้ในคมู่ อื ซงึ่ จะพบไดม้ ากตามถนนหนทาง สวนสาธารณะ
และบรเิ วณหมบู่ ้าน

3. ถา้ ใชร้ ูปวิธานของวงศ/์ สกุล อาจจะเลอื กวงศ์/สกลุ ผดิ ต้งั แต่ต้น ควรจะตรวจสอบลกั ษณะ วงศ/์
สกุล เปรยี บเทียบกับตัวอย่างพชื อีกครั้งหนงึ่

ถา้ พจิ ารณาทุกขอ้ แลว้ พืชทีพ่ บไมต่ รงกับชนดิ ใดในคมู่ อี แสดงว่าเป็นชนดิ ทีไ่ มไ่ ดร้ วบรวมไว้ใน
หนงั สอื คู่มอื เล่มนี้ บนั ทกึ ลกั ษณะสำคัญและสอบถามผูเ้ ช่ยี วชาญหรือพยายามค้นหาจากหนงั สืออา้ งอิงต่อไป

วธิ กี ารสำรวจพรรณไม้ ะ อปุ กรณ์ การเขยี นบันทึก และการเก็บตวั อย่าง

อปุ กรณ์

การสำรวจพรรณไม้ใช้อปุ กรณ์ไมม่ าก ทส่ี ำคัญก็คอี แวน่ ขยาย 10x ใชส้ ่องดูส่วนเล็ก ๆ เชน่ ขน ต่อม
เกสร กลอ้ งส่องทางไกล 8x หรือ 10x ใชต้ รวจดสู ่วนของต้นไม้ทีส่ ูง ๆ มดี พกเลก็ ๆ สำหรับเจาะเปลอื กไม้
(เมื่อจำเปน็ ) สมดุ ดนิ สอ เทปวดั 1.5 เมตร แผนท่ี เครอ่ื งวัดระดบั ความสงู จากน้าั ทะเลเพ่ือบันทกึ ลักษณะของ
พ้นื ทแี่ ละพืช ถา้ ตอ้ งการเก็บตัวอย่างด้วยต้องมีถุงพลาสติก กรรไกรตดั ก่งิ แอลกอฮอล์ 70% แผงอัดพรรณไม้

5

การเขยี นบนั ทึก

วธิ ที ส่ี ะดวกทสี่ ุดก็คอื ใช้คมู่ อื นจ้ี ำแนกพรรณไม้ แตถ่ ้าต้องการเขียนบนั ทกึ ไวเ้ พือ่ เป็นข้อมูลในการ
จำแนกพรรณไมใ้ นกายหลงั ควรจะบันทึกสิง่ เหล่านี้

1. สภาพพนท่ี ระดบั ความสูงจากน้าิ ทะเล ความลาดเอยี ง ชนิดและสภาพของปา โครงสรา้ งเรือน
ยอดและความหนาแนนของชนั้ เรือนยอด ความช้ืน รองรอยไฟไหม้หรือการรบกวนอนื่ ๆ

2. ลักษณะพรรณไม้ ความสงู และลกั ษณะเรอื นยอด ขนาดลำต้น และควรสังเกตด้วยว่าเป็น
ไม้ยืนตน้ หรอื ไม้เลื้อยเกาะกับต้นอ่ืน

3. เปลอื กไม้ ลักษณะแตกของเปลือก ยาง สีของเนอ้ื ไม้
4. ชนดิ และการเรยี งของใบ ถ้าเกบ็ ไดจ้ ากพนื้ ควรพิจารณาให้ดวี ่าเปน็ ใบเดย่ี วหรอื เปน็ ใบยอ่ ยท่ีรว่ ง

ออกจากใบประกอบ และสงั เกตวา่ ใบเรียงตรงข้ามหรือเรียงสลับ ได้จากรอยแผลเป็นบนกิง่
5. ตำแหน่งดอก/ผล ออกท่ีปลายกิง่ ระหวา่ งใบหรือออกบนก่งิ แกห่ รอื ลำต้น
6. ส่วนประกอบของดอก พิจารณาลกั ษณะและจำนวนของกลีบเล้ยี ง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสร

ตัวเมยี และสงั เกตดว้ ยวา่ เปน็ ดอกสมบูรณ์เพศหรอื แยกเพศ และถ้าเป็นดอกแยกเพศ ดอก
เพศผแู้ ละเพศเมียอย่บู นช่อดอกหรือตน้ เดียวกนั หรือไม่ หรอื ตา่ งกนั อยา่ งไร
7. ผล สังเกตวา่ มีกลบี เลย้ี งติดอยู่หรือไม่ ถา้ มดี วู า่ อยดู่ า้ นลา่ งหรอื สว่ นบนของผล ผลเม่อื แกแ่ ตก
ออกหรือไม่ เมล็ดเปน็ อย่างไร
8. บันทึกเดือน ปี ทเ่ี กบ็ ตัวอยา่ ง

การวาดภาพประกอบ

การทจ่ี ะเขียนอธบิ ายลักษณะตา่ ง ๆ ของพชื ให้ชัดเจนน้ัน บางครัง้ ยากและใชเ้ วลานาน ควรวาด
ภาพประกอบรว่ มดว้ ยจะทำให้ชัดเจนยง่ิ ข้ึน และยังเติมสีส่วนต่าง ๆ ไดด้ ว้ ยหรอื ใช้เทคนคิ การทาบใบ
และใช้ดนิ สอฝน เพื่อเกบ็ รายละเอยี ดของรูปร่างใบและเส้นใบก็มปี ระโยชนแ์ ละง่ายมาก

การถ่ายรปู

การถา่ ยรูปเพือ่ ใชอ้ ้างองิ ในการจำแนกพรรณไม้ ควรถ่ายอย่างน้อย 2 รปู รปู ท่ี 1 เป็นรปู กงิ่ ของ
ดอก/ผล เพ่อื แสดงการจดั เรียงของส่วนตา่ ง ๆ รูปท่ี 2 ถา่ ยรายละเอียดของดอก/ผลระยะใกล้ ถา้ เป็นผลก็
แสดงรปู ตดั ใหเ้ หนเนอื และเมลดด้วย เลนส์ Macro และ Extension tube จะชว่ ยให้ถ่ายขยายส่วนทมี ี
ขนาดเลก็ ไดช้ ดั เจนข้ึน รูปทกุ รูปควรบอกขนาดด้วยโดยใช้ไม้บรรทัด น้ิวมอื หรอื เหรียญประกอบในรูป

รปู ถา่ ยในหนังสอื เลม่ นิสว่ นใหญใชก้ ลอ้ ง Nikon F3, FM2 รว่ มกับเลนส์หลายขนาด แต่ทใ่ี ช้มากคอื
55 mm. Micro และ 300 mm.

6

การเกบ็ ตัวอยา่ ง

การเก็บตวั อย่างเปน็ วธิ ที ่ีนา่ เชอ่ื ถอื มากทีส่ ดุ เมอ่ื ต้องการตรวจสอบและจำแนกพรรณไมในภายหลัง
สามารถเกบ็ ตวั อยา่ ง ใบ ดอก ผล ที่ตกอย่ตู ามพ้นื หรอื ใชก้ อ้ นหินขว้างให้ส่วนที่มีดอกหรอื ผลหลดุ ออกมา
ถา้ ดอกอยูส่ งู มากมองไม่เห็นว่าบานหรอื ไม่ ให้สงั เกตแมลงทบ่ี ินตอมอยรู่ อบกง่ิ ดอก ถา้ เกบ็ ตวั อยา่ งตามพ้นื ดนิ
ตอ้ งให้แนใจวา่ ตวั อย่างนนั้ มาจากด้นท่ีเราตอ้ งการจริง ๆ ไม่ใชไ่ ม้เลื้อยหรอื ตน้ อน่ื ๆ ทีใ่ กล้เคยี ง ใบกต็ อ้ งสงั เกต
วา่ เป็นใบเดี่ยวหรอื ใบยอ่ ยของใบประกอบ ควรมกี ารจดบันทกึ ประกอบด้วยเสมอ ใหแ้ นบใบไว้ในสมุดบันทกึ
หรอื แผงอดั เพีอ่ ให้แบนราบอยูเ่ สมอ และเก็บดอก ผลในถุงพลาสตกิ รัดแน่น เพอี่ ใหส้ ดอยู่ไดน้ าน ๆ หรือใส่
แอลกอออล์ 70% เลก็ น้อย จะเก็บไดน้ านข้นึ แตส่ จี ะเปลีย่ นแปลงไป ถ้าต้องการนำตัวอยา่ งไปตรวจสอบกบั นกั
พถกุ ษศาสตร์ ตอ้ งมีการเตรยี มตวั อย่างดง้ นี้

1. ใชอ้ ุปกรณ์ เช่น กรรไกรตดั กงิ่ ไม้ เกบ็ ตัวอย่างท่ีเป็นชอ่ ของดอก/ผล ซ่งึ มใี บทมี่ ีลกั ษณะสมบรู ณ์
2. จัดเรยี งตวั อย่างท่ีเกบ็ ไดล้ งบนแผน่ กระดาษพบั (ใชก้ ระดาษหนงั สือพิมพ์) โดยเรยี งให้เหน็ ใบท้งั

ดา้ นบนและด้านล่าง ถ้าเปน็ ใบประกอบตอ้ งแสดงใหเ้ ห็นใบสมบูรณ์ทงั้ ใบ จดบนั ทึกลกั ษณะต่าง ๆ
ลงบนกระดาษพับด้วย
3. เรียงกระดาษท่มี ตี ัวอย่างลงในแผงอัดพรรณไม้ อดั ใหแ้ นน่ แล้วมัดดว้ ยเชือก
4. ถ้าตอ้ งการเก็บตัวอยา่ งไว้เป็นเวลานาน ๆ ใหน้ ำเอาแผงอดั พรรณไม้ทม่ี ตี วั อย่างพืชอยเู่ หลา่ นใ้ี ส่
ไวใ้ นถงุ พลาสตกิ ขนาดใหญแ่ ละพรมดว้ ยแอลกอฮอล์ 95% จนเปียกชุม่ มดั ปากถงุ ใหแ้ นน่ จะ
เกบ็ ไว้ไดเ้ ป็นเวลาหลายอาทิตย์
หมายเหตุ ะ การเกบ็ ตวั อย่างในอุทยานแหง่ ชาตแิ ละเขตอนรุ ักษจ์ ะต้องไดร้ บั อนุญาตกอ่ น

7

1. ดอยุ อินทนนท์ 2565 ม. แผนทภ่ี าดเหนือของประเทศไทย
2. ด^ยผ้าหม่ ปก 2288 ม.
3. ดอยุ เชียงดาว 2225 ม.
4. หอ่ ยภสู อยดาว’21Q2 ม.
5. ดอุยหลงั คา 2030 ม.
6. ดอุยภูคา 1950 ม.
7. ดอยุ ม่อพ่เอง
8. ดอยสุเท)ๆ-ปยุ

8

ลักษณะภูมิศาสตร์ทางกายภาพของภาคเหนือ

พื้นทีซ่ ง่ึ หนังสือเล่มนี้ครอบคลุม คอื 9 จังหวคั ท่ีอยู่ในภาคเหนอึ ตอนบนของประเทศไทย ประกอบดว้ ย เชียงราย
แมฮ่ อ่ งสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา นา่ น แพร่ และอุตรดิตถ์ บางครัง้ อาจจะกล่าวถงึ ชนิคของพรรณไม้ทพี่ บในจงั หวัดที่
ใกล้เคียงดว้ ย เชน่ ตาก สุโขทัย และพษิ ณุโลก ซ่งึ ชนิดของพรรณไม้เหลา่ น้อี าจจะพบในตอนเหนึอด้วย

ทง้ั 9 จังหวัดนีอ้ ย่รู ะหว่างเสน้ รงุ้ ที่ 97'20.40’ ถึง 101 21.60' และเส้นแวงที่ 17 13.20’ - 20 27.60' ครอบคลมุ
พ้นื ท่ี รวมทั้งหมด 91,351.82 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 17.72 ของพ้นื ท่ปี ระเทศไทย

ลักษณะทางภมู ศิ าสตร์
ภาคเหนือของประเทศไทยอยู่ในเขตช่วงบนของลุ่มนา้ํ เจ้าพระยา ซึ่งแบง่ ออกเปน็ แม่น้ีายอ่ ย 4 สาย คือ แมน่ ้ีาปงี

แม่นีา้ วัง แมน่ ี้ายม และแม่น้ีาน่าน ทางด้านตะวนั ตกมีเพยี งแมฮ่ ่องสอนและตาก 2 จังหวัดเท่านน้ั ท่ีน้ําไหลลงส่แม่นี้าสาละวนิ
ขณะท่จี ังหวัดเชียงรายซ่งึ อยู่เหนอื สดุ ไหลลงสูแ่ มน่ ี้าโขง เทือกเขาทีแ่ บ่งก้นั ระหว่างแมน่ าี้ เหล่านี้ประกอบดว้ ย ยอดทส่ี ูงสุดทั้งหลาย
ของประเทศไทย (ดอยอินทนนท์ 2,565 ม. ดอยผ้าหม่ ปก 2,288 ม. ดอยเชยี งดาว 2,225 ม. ภูสอยคาว 2,102 ม. ดอยลังกา
2,030 ม.)

ลักษณะภมู อิ ากาศ
ภูมิอากาศของภาคเหนือของประเทศไทยมคี วามแตกตา่ งกันเปน็ ฤดกู าล มีความคล้ายคลึงกันกบั ภูมิอากาศแบบ

มรสมุ ของอินเดยี ตอนกลางมากกวา่ ภมู ิอากาศ “ชุ่มนาี้ เสมอ'’ แบบในภาคใต้ของประเทศไทย แบ่งแยกได้เป็น 3 ฤดูกาล คอื ระหว่าง
ช่วงเดีอนพฤศจกิ ายน - กมุ ภาพนั ธ์ เป็นฤดูทีแ่ ห้งแล้งและเยน็ ระหวา่ งเดือนมนี าคม - พฤษภาคม อากาศร้อนและแหง้ และ
อากาศจะร้อนชื้นระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ปริมาณนํา้ ฝนตลอดปจี ะผนั แปรระหว่าง 1,110 ถงึ 1,500 มม. ซ่ึงมากกว่า
ร้อยละ 80 จะตกในชว่ ง 6 เดือนของฤดฝู น ในขณะท่ีเดอื นธันวาคม มกราคม และกมุ ภาพนั ธแ์ ทบจะไม่มีฝนเลย รูปแบบของ
สภาพอากาศเช่นนี้ค่อนขา้ งจะสม่ําเสมอตลอดทวั่ เขตภาคเหนอื แตอ่ าจจะมฝี นตกมากชน้ื และนานช้นื ในบรเิ วณเทือกเขาและ
ในทางด้านตะวันตกของจงั หวัดตากและแม่ฮอ่ งสอน

ลักษณะของสงั คมพืชในภาคเหนอื
การทภ่ี าคเหนือมภี มู อิ ากาศทเี่ ป็นฤดูกาลเชน่ นี้ ประกอบกบั สภาพภูมปิ ระเทศทีค่ ่อนขา้ งจะซับซ้อนท่าให้เกิดรปู แบบ
ตามธรรมชาตขิ องสังคมพืชทปี่ ระกอบด้วย หย่อมป่าท่สี ลับซบั ช้อนท้งั ในปาทีผ่ ลดั ใบและปาไมผ่ ลัดใบ และเพิม่ ความซับช้อน
ย่ิงชน้ื จากการทีม่ นษุ ย์ไดเ้ ข้าไปรบกวนเปน็ ระยะเวลายาวนาน ความสมดลุ ของพรรณไม้ในหยอ่ มปาชนดิ ใดชนดิ หนึง่ ชน้ื อยกู่ ับ
ปจั จัยหลัก 3 ประการคอื ความชื้น ระดบั ความสงู จากนาี้ ทะเล และการถูกรบกวน

ความช้ืน
ปริมาณความชืน้ ของปาวดั ได้จากความแตกต่างระหว่างอัตราทีร่ บั นี้ากับอัตราการสญู เสียนีา้ ในพื้นท่สี งู อาจจะมฝี นตก

พรำ ๆ ตลอดทั้งปี ในขณะที่พ้นื ท่ีลุ่มนาี้ ทีจ่ ะได้รบั ในฤดูแล้งคอื นี้าทไ่ี หลจากลำหว้ ยหรอื ธารนาี้ ซ่ึงช้นื อยู่กับลักษณะภมู ปิ ระเทศและ
ความลาดชนั ของพืน้ ท่ี บริเวณหุบเขาและทหี่ บุ อัตราการไหลของนี้าใต้ดินทเี่ ข้ามาในพน้ื ท่เี หล่านจ้ี ะเร็วกว่าอัตราของนี้าท่จี ะไหลออกไป
เป็นผลให้เกดิ ความชนื้ สะสมอยใู่ นพ้ืนดนิ ซึ่งพืชสามารถจะน่าไปใชีได้ ในไหลส่ นั เขากระบวนการไหลของน้าี กลับตรงกนั ข้าม
และจะมีแตเ่ พียงพรรณไมช้ นดิ ท่ีสามารถทนตอ่ สภาพแห้งแลง้ เท่านน้ั จะมีชีวติ อยไู่ ด้ ในสภาพทม่ี แี สงแดดจดั และร้อนซ่งึ เกิดขนใน
ทลี่ ุ่มต่าํ อัตราการระเหยและการสูญเสียน้ําจะสงู กว่าในบรเิ วณท่มี เี มฆมากกวา่ และเยน็ กว่าในพน้ื ที่สงู ไหล่สนั เขาท่ที น้ เข้าหาทิศเหนือ
จะอย่ใู นรม่ เป็นระยะเวลายาวกวา่ ไหล่สนั เขาทีท่ ้นเขา้ หาทิศใต้ ด้งนน้ั สันเขาดา้ นเหนือจะมคี วามช้นื สูงกวา่

9

ชนดิ ของดนิ ท่ีจะเก็บรกั ษาความชน้ื ไดด้ ีท่ีสุดคอื ดนิ ที่มอี ินทรียสารเป็นองคป์ ระกอบเป็นส่วนใหญ่ มคี วามสมดุล
เท่ากนั ระหว่าง ทราย โคลน และดินเหนยี ว ดินทีม่ ที รายมากเกินไปจะไม่สามารถเกบ็ น้ําได้ดี ในขณะทีด่ ินเหนยี วสามารถ
จะเก็บน้าํ จำนวนมากได้ แตอ่ นุภาคของดนิ ทเ่ี ล็กมากเหล่าน้นั จะยึดอนภุ าคของนาํ้ ไวอ้ ยา่ งเหนียวแนน่ ทำให้พชื นำไปใชไ้ ม่ได้
ดินทมี่ อี ินทรยี สารมาก สามารถจะเก็บกักนา้ั ไวไ้ ด้นานกวา่ ดินทีม่ อี นิ ทรยี ส์ ารตาํ่ ในพนี ทีส่ งู ซึ่งมีอตั ราการคายนำตำและฝนทตี ก
ประปรายในฤดแู ล้งทำใหพ้ ื้นทีท่ ม่ี ดี ินดเี กิดมีความช้นื อยา่ งเกอื บถาวร ซงึ่ เปน็ สงิ่ สำคญั มาก ขณะทพี ืนทรี าบตำซึงถา้ มลี ักษณะดนิ
ท่ดี ีเพียงอยา่ งเดียวไมเ่ พียงพอที่จะรักษาระดบั ความช้นื ไวไ้ ด้ ถา้ ไมม่ แี หลง่ นาั้ จากใต้ดิน ซงึ่ ทำให้เกดิ ปาดบิ ช้นื เฉพาะตามแนว
สำหว้ ยหรอื ธารน้าั และในท่ีหบุ ในบรเิ วณซ่ึงได้รับนา้ั ใตด้ ินอยา่ งตอ่ เนอ่ื งจะเกิดปาที่มีความเสถียรสงู ได้ ถึงแมว้ ่าดินจะไมด่ ี
ทง้ั นีเ้ พราะพืชไมไ่ ด้พึง่ พาดินในการรักษาระดบั ความชุม่ ช้นื สว่ นพชื ท่ไี ม่ไดอ้ ยู่ในบรเิ วณท่มี แี หล่งน้าั ตลอดปีนนั้ จะตอ้ งพัฒนา
กลไกบางอย่างที่จะต้องป้องกันการสญู เสยี นาํ้ วธิ ีการสำคญั ทไ่ี ดพ้ ัฒนาจากการววิ ัฒนาการ มีด้งนี้

1. ลักษณะการท้งิ ใบ (ผลัดใบ) พชื จะผลัดใบท้ังหมดหรอื บางส่วนในฤดูแล้ง
2. เปล่ยี นลกั ษณะใบ (sclerophylly) เปน็ ใบหนามไี ขปกคลุมซง่ึ จะลดการสูญเสยี นา้ั ได้
ในพื้นที่ลุ่มต่าํ พืชส่วนใหญส่ ามารถจะทนทานตอ่ สภาพแหง้ แล้งโดยใช้วธิ ีการแรก ขณะท่พี ชื ในพนื้ ทส่ี ูงสว่ นใหญจ่ ะใช้
วิธีที่ 2 ระดับของการผลัดใบมากหรอื นอ้ ยของพรรณไมใ้ นปาจะเปน็ ดรรชนอี ย่างดีในการบ่งบอกถึงความแหง้ แลง้ ของหย่อมปา
ในทล่ี ่มุ ต่าํ ในขณะที่จะไมค่ อ่ ยมีประโยชน้[นทสี่ งู

ความสูงจากระดับนาทะเล
อณุ หภูมใิ นพน้ื ท่สี งู จะด่าํ กวา่ และมีระดับความช้นื สงู กวา่ ในที่ลมุ่ ต่าํ อณุ หภมู ทิ ่ีจุดเยือกแข็งทสี่ ามารถจะทำให้เกิดการ

เปลย่ี นแปลงอย่างชัดเจนของชนดิ พืชพรรณในเขตอบอ่นุ จะเกิดชนื้ ปลี ะไมก่ ่ชี วั่ โมงบนยอดเขาสงู ทนี ี อยา่ งไรกต็ ามพชื แต่ละชนิด
จะมีช่วงของอณุ หภมู ิทเี่ หมาะสมท่ีสุดของตนในการงอก การเจริญเตบิ โต การออกดอกและการตดิ ผล ดังนันจงึ มีพชี นอ้ ยชนดิ มาก
ท่จี ะมคี วามมากหลายเท่า ๆ กันในช่วงของระดบั ความสูงทั้งหมด

ในพนื้ ท่ีระดับสูงไมเ่ พียงแต่ปรมิ าณฝนจะมากกวา่ ในพน้ื ท่ลี ุ่มตำเทา่ น้ัน ยังมฝี นตกแฝกว้างสม่าํ เสมอตลอดทั้งปี
และสว่ นหนง่ึ ตกในชว่ งฤดูแล้ง การท่พี ื้นที่สงู มอี ุณหภูมติ าํ่ ทำใหล้ ดอตั ราการคายนีา้ และการสูญเสียนา้ี ลง เป็นผลใหเ้ กดิ ความช้ืนบน
พน้ื ดิน นอกเหนอื จากน้นั อุณหภูมิทเ่ี ยน็ ลงทำให้อตั ราการสลายตวั ลดลง เกดิ การสะสมมากชน้ื ของอินทรยี ์สารในดินซ่ึงเปน็ ผลดี
ต่อระดับความชื้นภายในดนิ ปจั จยั เหลา่ นี้มารวมกนั ทำใหเ้ กดิ ผลที่ออกมาของความชนื้ รวมท่ัวไปของพืน้ ทร่ี ะดบั สงู ถึงแมว้ ่าสภาพ
ภูมปิ ระเทศยงั คงมบี ทบาททสี่ ำคัญ คอื บรเิ วณไหล่สันเขาท่ีโลง่ แจง้ และบรเิ วณท่หี ุบเขามีรม่ เงา จะเกดิ ชนิดของพชื พรรณ
ท่ีตา่ งกนั อย่างชดั เจนกวา่ บรเิ วณที่มีสกั ษณะระหวา่ งรอยตอ่ ของปาต่างชนิด

การรบกวน
ปาทกุ ประเภทจะถูกรบกวนจากรูปแบบต่าง ๆ โดยธรรมชาติ ซึ่งเปน็ สาเหตไุ ม่ทำให้เกิด หรอื ชะลอการเกดิ สภาพปา

ชนดิ เสถียรสูงสุด ซึ่งสามารถจะเกิดช้นื ไดใ้ นพ้ืนที่ การรบกวนตามธรรมชาติ เช่น การเลอ่ื นไหลพงั ทลายของดิน ไฟปาทเี กดิ จาก
ฟ้าผ่า นัา้ ท่วม เปน็ ต้น อย่างไรกด็ าม ในปาทางภาคเหนือของประเทศไทยการรบกวนปาทเ่ี ป็นอยใู่ นปัจจุบันเกิดจากกิจกรรมของคน
ซ่งึ ได้มีการเขา้ มาตง้ั รกรากในภาคเหนืออย่างนอ้ ย 7,000 ปีมาแล้วหรืออาจจะนานกวา่ นัน้ พน้ื ท่บี างแหง่ เชน่ ทล่ี ุ่มชน้ื ปาที่เกิด
ตามธรรมชาตแิ ถบนแี ทบจะไม่มเี หลือให้เห็นไดอ้ กี แมแ้ ตใ่ นปาบนพืนทีสงู ก็ตาม แทบจะหาไม่ได้ว่ามปี าใดในประวัตศิ าสตรทไี ม่มี
กิจกรรมของมนุษย์เปน็ หสักฐานหลงเหลืออยู่ การรบกวนท่ีพบมากทส่ี ดุ ในปจั จบุ นั นี้คอื การเจตนาจุดไฟเผาปา จากพนื้ ทีทีเรา
ไดเ้ ขา้ ไปสำรวจ เกอื บรอ้ ยละ 80 ของพ้ืนทีน่ ำมีหลกั ฐานของการถูกไฟเผาเมอ่ื ไมน่ านมานเี้ อง และในพืน้ ท่อี นื่ ๆ กค็ งจะมี
เหตกุ ารณ์แบบน้ีเกดิ ช้ืนเชน่ กนั

10

ถงึ แม้ว่าการตดั ทำไมเ้ พื่อการค้ามผี ลกระทบอย่างรนุ แรงตอ่ การเปลี่ยนแปลงของป่าในอดีต การประกาศ
พระราชบัญญัติปดิ ปาในปี พ.ศ. 2532 ได้มีผลอย่างสำคญั ให้การตัดไมท้ ำลายปาอย่างเปน็ กระบวนการลดลง แต่การลักลอบ
ตดั ไม้เป็นหย่อมเลก็ ๆ ยังคงมีอยู่ และยง้ มผี ลด้านลบต่อสภาพของปา เพราะผูล้ ักลอบจะเลอื กตดั ไมท้ ีม่ มี ูลค่าสูง ซ่ึงไม้เหลา่ น้ี
ส่วนใหญจ่ ะพบในปาเบญจพรรณ/ปาไผ่ ทเ่ี รียกวา่ เบญจพรรณ หมายถงึ ไม้มีคา่ มากท่สี ุด 5 ชนิดคอื ไมส้ กั Tectona grandis,
ไมป้ ระดู่ Pterocarpus macrocarpus, ไม้แดง Xylia xylocarpa, ไม้มะคา่ Afzelia xylocarpa, ไมต้ ะแบก Lagerstroemia

spp.

การรบกวนมีผลตอ่ ป่าอยา่ งไร
เมอื่ ปาดัง้ เดมิ ถูกรบกวน จะมกี ารเปลี่ยนแปลงหลายอย่างตามมาขน้ึ อยู่กบั สภาพด้ังเดิมของพ้ืนท่ีและรปู แบบของการ

รบกวน
1. โครงสร้างของปา ยอดของต้นไม้ท่ีเปิดไปส่ทู ้องฟ้าคือชน้ั เรอื นยอด (canopy) ความสูงโดยเฉลีย่ และความหนาแน่นของ

ชน้ั เรอื นยอดจะเปน็ ตัวบง่ ช้ถี ึงความเสถียรและสภาพของหยอ่ มปาใด ๆ แต่โครงสร้างของชน้ั เรือนยอดกม็ คี วามสำคัญ
ไมย่ ง่ิ หย่อนกวา่ กัน ปาท่สี มบรู ณม์ ีความเสถียรและไม่ถูกรบกวนจะประกอบด้วย พรรณไม้ยืนต้นท่ีมีอายุตา่ ง ๆ กัน มี
ความชอบข้ึนในถ่นิ อาศัยย่อยตา่ ง ๆ กัน ผลก็คอื ทำให้เกดิ ความไม่สม่าื เสมอของชน้ั เรือนยอด และเกดิ โครงสร้างของชั้น
ตา่ ง ๆ ขนึ้ ไม้ขนาดใหญท่ ่ีสงู เด่นเหนือไม้อ่นื ๆ เรียกว่า ไม้สงู เด่น (emergent) ขณะทไ่ี ม้ยินต้นท่อี ยใู่ นที่ไม่มีแสงแดดหรือ
ไดร้ ับแสงบา้ ง อยู่ชั้นต่ําลงมาจากชัน้ เรอื นยอดข้างบน เรียกวา่ ไม้ช้นั กลาง (understorey layer) บริเวณใดที่เป็นที่ชมุ่ ข้นึ มกั
จะพบชน้ั ของปา 3 ช้นั ในขณะท่ี บริเวณท่ีแห้งแล้งกวา่ จะมชี ้นั ของปาเพียง 2 ชน้ั บริเวณที่มชี ัน้ ของเรือนยอดทสี่ ม่าํ เสมอกนั มาก
และ/หรอื มชี นั้ เรือนยอดเพยี งชั้นเดยี ว มกั จะเป็นปาทีย่ ง้ ไมเ่ จริญเต็มท่ี หรือไดถ้ กู รบกวนอยา่ งมากจนไมส่ ามารถจะเจริญ
เตม็ ศักยภาพได้
2. ชนิดของไมย้ ืนด้น การที่ปาถูกรบกวนเปน็ ระยะเวลานาน ๆ เปน็ ผลใหม้ กี ารเปลี่ยนแปลงองคป์ ระกอบชนิดของพรรณไม้ ใน
ปาธรรมชาติทกุ ประเภทจะมชี อ่ งวา่ งเล็ก ๆ เกดิ ขึน้ เสมอเนอื่ งจากมีตน้ ไมต้ ายไป ช่องว่างเหลา่ นจ้ี ะมไี ม้เบกิ นำ (pioneer) จำนวน
มาก ซึ่งจะเปน็ ไม้ที่โตเรว็ แต่ไม่ทนถา้ อยูใ่ นทก่ี ำบงั แสงและจะตายเม่อื ชอ่ งวา่ งปิด ในปาทถี่ ูกรบกวนจะพบไมเ้ บกิ นำเสมอ
และพบเป็นจำนวนมาก กอ่ นที่ไม้ชนิดเสถยี รสงู สดุ (climax species) จะเขา้ มา กลุม่ ไมเ้ บิกนำที่สำคัญเชน่ ไมไ้ ผ่ ซึง่ มักจะ
เป็นไมเ้ ด่นในบรเิ วณปาระดับต่าํ ทีถ่ กู รบกวน

ถ้าปลอ่ ยใหเ้ วลาเนิ่นนานต่อไป ปาท่ีถกู รบกวนนี้จะมกี ารเพมิ ชนิดของพรรณไมข้ องปาแหง้ แลง้ เขา้ ไปในพน้ื ท่ที ่ีมี
ศักยภาพความข้ึนสงู ขน้ึ ป่าทีม่ เี รอื นยอดเจรญิ เตม็ ท่ไี มจ่ ำเป็นจะต้องเปน็ ปาแบบเสถยี รสงู สดุ ซง่ึ ในท่ีสดุ อาจจะพฒั นา
ตอ่ ไปจากปาแบบดง้ กลา่ วได้ ในการประเมินวา่ การรบกวนอยู่ในระดบั ใดจะตอ้ งใช้การเปรียบเทยี บจากลกั ษณะทางกายภาพของ
พ้นื ที่ และจำนวนชนดิ ของพรรณไมท้ ่ีปรากฏในขณะนนั้ จึงจะสามารถประเมินการถกู รบกวนไดว้ ่ามขี นาดใด

3. ดรรชนอี น่ื ๆ ทบี่ ง่ บอกการรบกวน นอกเหนือจากผลกระทบที่มตี ่อโครงสร้างของช้นั เรอื นยอดและองค์ประกอบของชนดิ
พรรณไมแ้ ลว้ การรบกวนยังนำไปส่กู ารเปลยี่ นเปลง องค์ประกอบอนื่ ๆ ทีม่ ิใชพ่ รรณพืชในระบบนเิ วศอีกด้วย ปาที่ถูก
รบกวนนอ้ ยจะมีชั้นของไม้พมุ่ ที่มกี ารพฒั นาอยา่ งดี และมีปรมิ าตรของไมท้ เ่ี นา่ ผุพง้ บนพ้ืนดินพอสมควร ขณะทปี่ ่าซ่งึ เสยี่ ง
ต่อไฟปาจะมีจำนวนไม้พ่มุ หรอื ชากตอไม้นอ้ ยและช้ันพ้นื ลา่ งมกั จะปกคลุมดว้ ยหญา้ และกก

ปา่ แบบตา่ งๆ ใน.ภาคเหนือ

ปา่ ทรี ะดับตำ (Lowland Forests) (<800 ม.)
พื้นทช่ี ื้น ฝาดบิ ชน้ื )

พ้นื ทีช่ ืน้ อยู่ในระดบั ลุ่มตํา่ จะเป็นป่าทม่ี ีความอดุ มสมบูรณท์ ่ีสดุ ในภาคเหนอื ของประเทศไทย ในแงข่ องความหลาก
หลายของชนิดไม้ยนื ตน้ ในปาทีเ่ จริญเตม็ ท่ี ไม้ขนาดใหญท่ ส่ี ุดอาจจะสงู 40 เมตร หรือสูงมากกวา่ ขณะท่ีไมเ้ ล็ก ๆ สงู ประมาณ
25-30 เมตร เรือนยอดของไม้ชัน้ กลางพัฒนาได้ดี ถงึ แม้ว่าพวกไมช้ ัน้ กลางและไมช้ ้ันเรอื นยอดแทบทง้ั หมดจะเป็นไมไมผ่ ลดั ใบ
แตก่ ม็ ไี ม้สงู เด่นหลายชนิดทผ่ี ลัดใบชว่ งสัน้ ๆ ในฤดหู นาว ไม้สูงเด่นท่พี บมาก เช่น กางชื้มอด Acrocarpus fraxmifolius
(Leguminosae), ทองหลาง Erythrina spp. (Leguminosae), เลียน Toona spp. (Meliaceae), ตะเคียนทอง Hopea
odorata (Dipterocarpaceae), ยางนา Dipterocarpus alatus (Dipterocarpaceae), ปอ Pterocymbium (Sterculiaceae),
พระเจา้ หา้ พระองค์ Dracontomelon dao (Ancardiaceae), ลำพปู า Duabanga grandiflora (Sonneratiaceae), กะพง
Tetrameles ทนdiflora (Datiscaceae), หมอ่ นหลวง Morus macroura, โพ, ไทร Ficus spp. (Moraceae) ไมเ้ หล่านี
หลายชนิดมพี ูพอน แต่ลกั ษณะเชน่ นี้โม่พบมากดังเชน่ ในปาร้อนชืน้ ทางภาคใต้ของประเทศไทย

พรรณไมในชน้ั เรอื นยอดมคี วามหลากหลายมาก ไม่มชี นิดใดทชี่ ัดเจนวา่ เปน็ ไมเ้ ดน่ วงศท์ ่ีพบเสมอคอื Annonaceae,
Sapindaceae, Meliaceae, Euphorbiaceae ขณะที Lauraceae มกั จะพบเสมอแตจ่ ะพบน้อยลงในทรี ะดบั สูง ไมชันกลาง
ก็มีความหลากหลายเชน่ ลัน เชน่ มะไฟ Baccaurea ramiflora, ดหี มี Cleidion, spiciflorum (Euphorbiaceae), เลือดควาย
Knema spp. (Myristicaceae), พะวา Garcinia spp. (Guttiferae), ต้างหลวง Trevesia palmata (Araliaceae), และ
พวกปาล์มอกี หลายชนิด ไผต่ ่าง ๆ จะพบน้อยลง แตจ่ ะมีพวกตน้ ขนาดใหญท่ ีล่ ำตน้ สงู ถึง 30 เมตร คอื Gigantachloa ชน้ั
ของไมพ้ ุ่มประกอบด้วยลกู ไม้ (sapling) มากมาย และมพี วกปาล์ม พวกขงิ แทบจะไม่มีหญา้

รปู แบบของปา่ ทีก่ ลา่ วมาข้างตน้ แทบจะไม่มีใหเ้ หน็ ทางภาคเหนอื ของประเทศไทย เนอ่ื งจากไดถ้ กู ปรบั เปล่ยี นสภาพ
ใหเ้ ป็นพื้นทไ่ี รน่ า แต่ยงั คงมหี ย่อมปาเลก็ ๆ เหลืออยตู่ ามโขดหนิ บรเิ วณธารน้าํ ทีย่ ากจะเข้าถึง และในทที่ มี่ กี ารอนุรกั ษอ์ ย่างดี
หรือเป็นสถานทคี่ กั คสิทธ แตอ่ นาคตของหย่อมปาเหลา่ นีก้ ย็ ังไม่แนน่ อน

พ้นื ทีค่ วามชื้นระดับปานกลาง (ปา่ ผลัดใบ/ไผ่)
พื้นทท่ี ี่ห่างไกลจากลำห้วยหรอื ห่างจากแหล่งนํ้าใตด้ ิน โครงสรา้ งของปาจะเปล่ยี นอยา่ งฉบั พลันเพราะพชื จะต้องปรบั

ตวั ให้เขา้ ลับฤดกู าลทขี่ าดแคลนน้าี โครงสรา้ งของปา่ ชนิดนีด้ ูงดงามเชน่ เดียวลับปาดิบ มตี น้ ไม้ชนดิ สูงเดน่ ซึ่งสงู ถงึ 40 เมตร
ความสงู โดยเฉลีย่ ของไมโี ดยทั่วไป ราว 30 เมตร แต่บรเิ วณเชน่ นก้ี ไ็ ม่พบมาก เรอื นยอดปกคลมุ ประมาณร้อยละ 70 ระดบั
ความสงู โดยเฉล่ยี ของไมท้ ่พี บมากคอื 25 เมตร องค์ประกอบของโครงสรา้ งจะดไู ม่ซบั ช้อนเทา่ ลับในปาดิบ มไี ม้สงู เด่นและ
ไม้ชนั้ กลางน้อยกว่า สดั สว่ นของไมไมผ่ ลัดใบมนี ้อย ส่วนใหญ่ของไม้ตน้ เปน็ ไม้ผลดั ใบหรืออย่างน้อยผลดั ใบบางสว่ นในช่วงฤดแู ล้ง
แหลง่ ของป่าชนิดนส้ี ว่ นใหญใ่ นปัจจบุ นั มีไม้ไผเ่ ป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย และนับวันไมไ้ ผ่จะกลายเป็นไมเ้ ดน่ มากชื้นในท่ซี ่งึ
มกี ารรบกวนมากชนื้

ลักษณะของปาชนดิ นี้ประกอบด้วยไมท้ ี่มคี ่าทางเศรษฐกจิ มากทีส่ ุดของภาคเหนือ ซงึ่ รวมถงึ ปาไมส้ กั (Tectona
grandis) ทคี่ รัง้ หน่งึ เคยเป็นแหล่งรายได้ที่สำคญั ของประเทศ ไม้สกั ที่เคยเป็นไมเ้ ดน่ ไดถ้ ูกตัดโค่นไปแทบจะหมดไปจากปาในภาค
เหนอื แตก่ ็ยังพอจะมีพ้นื ท่ีทยี่ ง้ มกี ลุม่ ของตน้ ไมส้ กั หนมุ่ อยู่บ้าง ไม้ยนื ต้นชนดิ ท่สี ำคญั และเคยมีอยู่อยา่ งมากมายตามธรรมชาติ
เช่น ประด่ปู า่ Pterocarpus macrocarpus, ไม้แดง Xylia xylocarpa และ มะค่าโมง Afzeha xylocarpa (Leguminosae)
ซง่ึ ไม้เหลา่ นี้ถูกทดแทนที่โดยไม้ดน้ หลาย ๆ ชนดิ ทม่ี คี ่าน้อยกว่า เช่น สมอ Canarium, ตะคลา Garuga pinnata (Burseraceae) 1
ตะคล้อ Schleichera oleosa (Sapindaceae), มะกอก Spondias pinnata, กุ๊ก Lannea coromandelica (Anacardiaceae),
ชยั พฤกษ์ Cassia fistula (Leguminosae), รกฟ้า Terminalia spp (Combretaceae), ตะแบก Lagerstoemia spp.

12

ป่าดิบซนื ป่าขนทีสอง ปา่ ดิบเขา
Moist evergreen secondary growth Hill evergreen

37

ป่าระดับสูง 1 Morus macrou
2 Michelia cham
Highland forests 3 Turpinia pomif
4 Ficus semicor
ระดบั ความสูงจากนๆ้ํ ทะเล 1200-1400 ม. 5 Archidendron
6 Erythrina subu
altitude 1200-1400๓. 7 Nyssa javanic
8 Markhamia st
9 Maesa ramen
10 Fraxinus florib
11 Sapium bacca

ออกแบบและวาดภาพประกอบ โดย ม.ร.ว. สมานสนทิ สวสั ดีวัตน์
Designed & painted by M.R. Smansnid Svasti

บรเิ วณด้นนา ป่าดิบเขาช้นื ป่าดบิ แล้ง/สน
headwater catchment Moist hill evergreen Dry evergreen/pine

ura (753a) 12 Gluta obovata (300) 23 Symplocos macrophylla (572) 45 Michelia floribunda (9)
mpaca (7) 13 Melia toosendan (220) 24 Lithocarpus elegans (823) 46 Areca triandra (858)
fera (285) 14 Dillenia parviflora (2) 25 Vernonia volkameriifolia (511) 47 Cyathea sp.(875)
rdata (787) 15 Phyllanthus emblica (737) 26 Schima wallichii (78) 48 Musa sp. (banana)
n clypearia (324) 16 Buddleja asiatica (604) 27 Prunus cerasoides (379) 49 Trichilla connaroides (237)
umbrans (358) 17 Firmiana colorata (130) 28 Callicarpa arborea (632) 50 Magnolia hodgsonii (12)
ca (467) 18 Kydia calycina (109) 29 Engelhardtia serrata (806) 51 Macropanax sp. (455)
tipulata (615) 19 Rhus chinensis (303) 30 Anneslea fragrans (86) 52 Zanthoxylum nitidum (199)
ntacea (537) 20 Albizia chinensis 1323) 31 Gochnatia decora (510) 53 Cinnamomum iners (670)
bunda (578) 21 Styrax benzoides (575) 32 Carpinus londoniana (808) 54 Phoebe cathia (675)
atum (742) 22 Choerospondias axillaris (306) 33 Quercus semiserrata (840) 55 Ternstroemia gymnanthera (81)
34 Diospyros glandulosa (557) 56 Heteropanax fragrans (459)
35 Wendlandia tinctoria (499) 57 Syzygium albiflorum (428)
58 Sambucus javanica (472)
36 Elaeocarpus floribundus (167) 59 Tarennoidea wallichii (503)
37 Michelia baillonii (11) 60 Lindera Caudata (668)
38 Castanopsis acuminatissima(814) 61 Aquilaria crassna (685)
39 Betula alnoides (807) 62 Gordonia dalglieshiana (79)
40 Mahonia nepalensis (39) 63 Acer sp. (277)
41 Saurauia napaulensis (90) 64 Livistona speciosa (847)
42 Anthocephalus chinensis (481) 65 Actinodaphne sp. (656)
43 Manglietia garrettii (14) 66 Mallotus philippensis (735)
44 Syzygium megacarpum (421) 67 Myrica esculents (810)
68 Debregeasia longifolia (802)
69 Phoebe lanceolata (673)
70 Dracaena lourieri (844)
71 Rhododendron ludwigianum(519)

72 Ochna integerrima (209)
73 Wightia speciosissima (612)
74 Vaccinium sprengelii (514)

75 Bauhinia variegsta (335)
76 Craibiodendron stellatum (516)
77 Phoenix loureiri (863)
78 Cycas pectinata (872)
79 Sterculia villosa (125)
80 Pinus kesiya (870)

ปา่ ดบิ ขัน้ ป่าขัน้ ทส่ี อง ปา่ ดิบเขา
Moist evergreen secondary growth Hill evergreen

ป่าระดับสงู 1 Morus macro
2 Michelia cham
Highland forests 3 Turpinia pomi
4 Ficus semico
ระดับความสูงจากนํา้ ทะเล 1200-1400 ม. 5 Archidendron
6 Erythrina sub
altitude 1200-1400๓. 7 Nyssa javanic
8 Markhamia s
9 Maesa ramen
10 Fraxinus flori
11 Sapium bacca

ออกแบบและวาดภาพประกอบ โดย ม.ร.ว. สมานสนทิ สวัสดวิ ตั น์
Designed & painted by M.R. Smansnid Svasti

บรเิ วณดน้ น้าํ ป่าดิบเขาขั้น ป่าดบิ แล้ง/สน
headwater catchment Moist hill evergreen Dry evergreen/pine

oura (753a) 12 Gluta obovata (300) 23 Symplocos macrophylla (572) 45 Michelia floribunda (9)
mpaca (7) 13 Melia toosendan (220) 24 Lithocarpus elegans (823) 46 Areca triandra (858)
ifera (285) 14 Dillenia parviflora (2) 25 Vernonia volkameriifolia (511) 47 Cyathea sp.(875)
ordata (787) 15 Phyllanthus emblica (737) 26 Schima wallichii (78)
n clypearia (324) 16 Buddleja asiatica (604) 27 Prunus cerasoides (379) Musa sp. (banana)
burnbrans (358) 17 Firmiana colorata (130) 28 Callicarpa arborea (632) 49 Trichilla connaroides (237)
ca (467) 18 Kydia calycina (109) 29 Engelhardtia serrata (806) 50 Magnolia hodgsonii (12)
stipulate (615) 19 Phus chinensis (303) 30 Anneslea fragrans (86) 51 Macropanax sp. (455)
ntacea (537) 20 Albizia chinensis 1323) 31 Gochnatia decora (510) 52 Zanthoxylum nitidum (199)
ibunda (578) 21 styrax benzoides (575) 32 Carpinus londoniana (808) 53 Cinnamomum iners (670)
atum (742) 22 Choerospondias axillaris (306) 33 Quercus semiserrata (840) 54 Phoebe cathia (675)
34 Diospyros glandulosa (557) 55 Temstroemia gymnanthera (81)
35 Wendlandia tinctoria (499) 56 Heteropanax fragrans (459)
57 Syzygium albiflorum (428)
36 Elaeocarpus floribundus (167) 58 Sambucus javanica (472)
37 Michelia baillonii (11) 59 Tarennoidea wallichii (503)
38 Castanopsis acuminatissima(814) 60 Lindera caudata (668)
39 Betula alnoides (807) 61 Aquilaria crassna (685)
40 Mahonia nepalensis (39) 62 Gordonia dalglieshiana (79)
41 Saurauia napaulensis (90) 63 Acer sp. (277)
42 Anthocephalus chinensis (481) 64 Livistona speciosa (847)
43 Manglietia garrettii (14) 65 Actinodaphne sp. (656)
44 Syzygium megacarpum (421) 66 Mallotus philippensis (735)
67 Myrica esculents (810)

Debregeasia longifolia (802)
69 Phoebe lanceolate (673)
70 Dracaena lourieri (844)

Rhododendron ludwigianumiSld)
Ochna integerrima (209)
73 Wightia speciosissima (612)
74 Vaccinium sprengelii (514)
Bauhinia variegate (335)
Craibiodendron stellatum (516)
Phoenix loureiri (863)

78 Cycas pectinate (872)
79 Sterculia villosa (125)
80 Pinus kesiya (870)

(Lythraceae) และช้อ Gmelina arborea (Labiatae) ไมยนื ด้นขนาดเลกกมหี ลากหลายชนิด ทพบมากเปนกลุ่มไนวงศ
Sterculiaceae, Tiliaceae, Anacardiaceae, Leguminosae, Labiatae และ Euphorbiaceae

พ้นื ท่แี ห้ง (ป่าเต็งรัง)
บริเวณสันเขาท่โี ลง่ แจ้งและทสี่ งู ชนั หันเข้าหาทิศใต้ ซง่ึ ในฤดแู ล้งแทบจะไม่มีแหลง่ นำใตด้ ิน และหนา้ ดินก็บางเกินไป

ทีจ่ ะอุ้มนา้ํ คงพบเพยี งพืชทีส่ ามารถจะปรบั ตัวใหเ้ ข้ากับสภาพแหง้ แลง้ เทา่ น้นั ถึงจะอยรู่ อดได้ ชนิดของสงั คมพชื ในบรเิ วณเช่นน้ี
เรียกว่า ปาเตง็ รงั (เนอ่ื งจากมักจะพบไมเ้ ดน่ 4 ชนิดของวงศ์ Dipterocarpaceae คอื พลวง Dipterocarpus tuberculatus,
ยางเหยี ง Dipterocarpus obtusifolius, เตง็ Shorea obtusa และรงั Shorea siamensis ปา่ ชนิดนืมโี ครงสร้างของเรอื นยอดที
ปกคลมุ นอ้ ยกว่าปา่ แบบอี่นในปา่ ระดับตํ่าด้วยกนั คือปกคลมุ เพยี งรอ้ ยละ 60 ความสูงเฉลียโดยหัวไป 15 เมตร มไี ม้สงู เด่นหรอื
ไม้ระดบั กลางไม่กี่ชนิด ความหลากหลายของชนดิ ไมย้ นื ดน้ ก็มีนอ้ ยกวา่ มาก คอื น้อยกวา่ ครึ่งหนึ่งของจำนวนชนดิ ทพ่ี บท้งั หมดในป่า
ผลัดใบ/ปาไผ่ ชนดิ ของไมต้ น้ ทีพ่ บทว่ั ไปเชน่ Lophopetalum wallichii (Icinaceae), Walsura spp. (Meliaceae), รักใหญ่
Gluta usitata. Buchanania spp (Anacardiaceae), กระพเขาควาย Dalbergia cultrata & ชิงชัน Dalbergia Oliveri
(Leguminosae), อนิ ทนลิ บก Lagerstroemia macrophylla (Lythraceae), มะเกลือ Diospyros mollis (Ebenaceae),
โมกมัน Wrightia arborea, โมกหลวง Holarrhena pubescens (Apocynaceae), Strynchnos spp (Loganiaceae), เหมอื ดโลด
Aporosa villosa, มะขามป้อม Phyllanthus emblica (Euphorbiaceae). Rubiaceae เปน็ วงศ์ทีพบมากทีสดุ มชี นิดต่าง ๆ
มากมาย โดยเฉพาะท่ีเป็นไมช้ น้ั ล่าง เช่น ยอปา Morinda tomentosa, คำมอกหลวง Gardenia sootepensis. Censcoides
spp. เป็นดน้ มีสมาชิกของ Fagaceae นอ้ ยชนิดเช่น ก่อแดง Quercus kingiana, ก่อแพะ Quercus kerrn & กอ่ หยุม
Castanopsis argyrophylla

โดยสภาพปกติตามธรรมชาติแล้ว การขยายตวั ของปา่ เตง็ รังจะมีขอบเขตค่อนข้างจำกดั แตเ่ นอื่ งจากในช่วงหลาย
สทส้ วรรษที่ผา่ นมา การรบกวนเกิดข้ึนเปน็ บรเิ วณกวา้ ง ผลก็คือ การเกิดของป่าแบบนี้ขยายพน้ื ท่อี อกไป ซง่ึ ในปจั จบุ นั เปน็ ป่าที่
โดดเดน่ ของพื้นที่ระดบั ตํา่ ในส่วนใหญ่ทัว่ ภาคเหนือ การเกดิ ไฟป่าทำให้สถานการณเ์ ชน่ นืคงที ชึงมีผลทำให้พรรณไมช้ นดิ
ที่ต้องการระดับความชนื้ สงู ตง้ั ตัวไมไ่ ด้ ถึงแม้จะเปน็ บรเิ วณทีม่ ีความชน้ื ในระดบั กลางกต็ าม

ปา่ ที่ระดับความสงู ปานกลาง (800-1200 ม.)
ทช่ี ว่ งระหว่างระดับความสงู 800-1200 เมตร. เปน็ บรเิ วณทีม่ ีการเปลีย่ นแปลงระหว่างปาพ้ืนทล่ี มุ่ ตาํ่ และปา่ พนื้ ท่ีสูง

ป่าสว่ นใหญท่ อ่ี ยู่ในทรี่ ะดับความสงู เช่นนป้ี ระกอบด้วย สดั ส่วนชนิดของพรรณไม้ท่ีมใี นปาทัง้ 2 ระดับ ผลกค็ อื เป็นปาทีม่ ีจำนวน
ชนดิ ของไม้ต้นมากมายที่สุดในภาคเหนอื ของประเทศไทย

พ้ืนท่ชี ้นื
ปาชืน้ ที่ระดบั น้ีมคี วามคล้ายคลึงกบั ป่าท่ีแห้งในท่รี ะดบั ต่าํ ท้งั ในแง'ของโครงสร้างของชนั้ เรอื นยอดทปี กคลมุ และ

จำนวนองค์ประกอบของชนิดไม้ยืนตน้ อยา่ งไรก็ตามมีไม้ต้นหลายชนดิ ท่ีกลายเปน็ ไม้หายากหรือสญู หายไปจากปาระดบั ต่ํา
เนอ่ื งจากสภาพของถิ่นทีอ่ ยไู่ ดท้ รุดโทรมลงยังคงมชี วี ิตอยไู่ ด้ในปาแบบน้ี

พนื ทีระหว่างกลาง (Intermediate areas)
พ้นื ทร่ี ะหวา่ งกลางสามารถจะรองรบั ไมย้ นื ตน้ ทงั้ ชนิดท่ีพบในปาระดับสงู และชนดิ ทพี่ บในปาระดบั ตา่ํ มักจะพบ

บริเวณท่มี ที ง้ั สมาชิกของวงศ์ก่อ (Fagaceae) และไผข่ ึน้ อย่ใู กล้ ๆ กนั โดยท่ัวไปแลว้ พน้ื ทีท่ ถ่ี กู รบกวนมากกว่าจะมีสดั สว่ นของ
พรรณไมท้ พี่ บในระดับตํ่าสงู กว่า โดยเฉพาะพวกไม้ไผ่ ในพืนท่ีรอยตอ่ ระหวา่ งกลางและพีนทีช่ ีน จะเกดิ เป็นปาชนดิ ปาดิบผสม/ปา
ผลัดใบ ซึ่งจะขยายอาณาเขตของปาแบบนั!้ ดส้ งู สุดในระดับความสงู ประมาณ 1,000 เมตร และสามารถจะพบไดใ้ นทีม่ คี วามสูง
ระดบั ตา่ํ กว่าถา้ สภาพแวดลอ้ มเอือ้ อำนวย ปาทีห่ ลากหลายชนิดนีม้ ีลักษณะเฉพาะทบ่ี ่งบอกไดโ้ ดยมีเรือนยอดท่ีใหญโ่ ตของยางปาย

13

Dipterocarpus costa และเตง็ Dipterocarpus turbmatus (Dipterocarpaceae) ซึงมกั จะเกิดขนเปน็ กลุ่มหลายต้นอยู่ด้วยกนั
ชนิดของไม้ต้นอ่นื ๆ ทมี่ กั จะพบในปาแบบน้ี เช่น Balakata baccata, คางคาก Nyssa javanica (Cornaceae), กระบก Irvingia
malayana (Irvingiaceae) และพะยอม Shores roxburghii (Dipterocarpacear) ถึงแมพ้ รรณไมชนดิ ทกี ล่าวมาจะพบในป่า
แบบอน่ื ได้เช่นกัน แตจ่ ะมคี วามมากหลายสูงสดุ เม่อื อยู่ในปาเช่นน้ี ถา้ มกี ารรบกวนมากขึน้ ไมท้ ี่มเี รือนยอดอยูใ่ นระดบั กลางจะถกู
ไมไผ่เข้ามาแทนทแ่ี ละกลายเปน็ ไม้เดน่ ขนึ้ แทน

ปา่ ในพ้ืนที่ระดบั สงู (1,200-2,565 ม.)

บรเิ วณชม่ ขึน้ (ป้าดิบเขาขึ้น)
ความแตกต่างระหว่างป่าชนื้ และปาแห้งในพ้นื ทส่ี ูงจะมีความแตกตา่ งกนั น้อยลง เนอื่ งจากมคี วามชน้ื สูงกว่าเมอื่ เปรียบ

เทยี บกับพื้นที่ลุม่ ตาํ่ ปาชน้ื ไมจ่ ำเปน็ จะต้องจำกัดอยใู่ นบรเิ วณทีห่ ุบเท่านั้น แต่อาจจะพบในสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะ
บนเนนิ สูงและบนไหล่เขาท่หี ันตรงกับทศิ เหนือ ท่รี ะดบั ความสูงเหนอื 1,800 เมตร ป่าที่เกิดตามธรรมชาติเปน็ ปาดบิ เขาชืน้ ยกเว้น
พน้ื ทีส่ ว่ นที่โล่งเปด็ มาก ๆ เขา้ ใจวา่ ในอดีตนน้ั ปาดิบเขาชื้นคงจะขยายพืน้ ทล่ี งไปในทรี่ ะดบั ความสงู ตํา่ กวา่ น้ี แตไ่ ด้มีปาทแี่ หง้ กวา่
ค่อยๆ เข้ามาแทนท่ี

พื้นท่ปี กคลุมของเรือนยอดในปาดิบเขาชื้นที่มีความเสถยี ร อาจจะมีความแนน่ ทบึ และมีความสูงเทา่ ๆ กับปาใน
ระดับตํา่ แต่โครงสรา้ งจะมคี วามซบั ช้อนนอ้ ยกวา่ พรรณไมท้ ่ีมเี รอื นยอดในช้ันกลางจะไม่เดน่ ชัดเทา่ และไมัใหญ่ทส่ี งู เด่นจะมี
จำนวนน้อยกวา่ สว่ นใหญร่ ้อยละ 100 เป็นไมัไม่ผลัดใบ ความหลากหลายของชนิดไมย้ ืนตน้ จะนอ้ ยกวา่ ทพ่ี บในปา่ ระดับตา่ํ แต่
กค็ งมีความหลากหลายของพชื พรรณมากกว่าในปา่ ท่แี หง้ วงศ์ทพี่ บมากคือ Magnoliaceae และ Theaceae แตย่ ากที่จะบอกว่า
ไม้ชนิดใดชนดิ หนงึ่ เปน็ ไม้เดน่ มกั จะพบพรรณไม้ตอ่ ไปนี แตจ่ ะพบไม่มาก เชน่ กว่ ม Acer spp., มะเนยี งน่า Aesculus assamica,
จันทร์ทอง Fraxinus floribunda, ค้อ Livistonia speciosa, มะขามปอ้ มดง Cephalotaxus & Podocarpaceae ไม้ทอี ยู่
ชน้ั กลางมักจะประกอบด้วย Theaceae, Symplocaceae & Oleaceae และทีเ่ หนอื จากระดบั 1,400 เมตร จะเริ่มมไี ม้ประเภท
กุหลาบปา Rhododendron ชั้นของไม้พุ่มพบ เตยหนิ Pandanus, หมากเรยี ก Areca tnandra & เฟินตน้ Cyathea, มะดงั ดง
Ostodes paniculate, มือพระนารายณ์ Schleffera เป็นตน้

พืนทรี ะหว่างกลาง (Intermediate site)
ปาท่พี บว่ามกี ารกระจายกว้างท่ัวไปในชว่ งระดบั ความสงู 1,000 - 1,800 เมตร คอื ปาดิบเขา โครงสรา้ งองค์ประกอบ

ของปาชนดิ นจี้ ะมคี วามซับช้อนน้อยกวา่ ปาชื้น มีพรรณไม้สูงเดน่ นอ้ ยมากและโครงสรา้ งของไมช้ ั้นกลางกพ็ ฒั นาไม่มาก เรือนยอดที่
ปกคลมุ ส่วนใหญ่เป็นไมไั ม่ผลัดใบทั้งสนิ้ พ้นื ท่ีปกคลุมสูงไดถ้ งึ รอ้ ยละ 90 มีความสูงเฉล่ยี 20-25 เมตร พรรณไม้ชน้ั ท่ปี กคลมุ
ดินส่วนใหญ่เปน็ หญ้าและกก เป็นสญั ญาณของไฟไหมัในอดตี ไมย้ นื ตน้ ทเ่ี ป็นสมาชิกของวงศก์ ่อ Fagaceae มกั จะมีมากถึง
ร้อยละ 50 ของเรือนยอดทป่ี กคลมุ ไมย้ นื ต้นชนิดอืน่ ทพ่ี บอย่ทู ว่ั ไป เช่น มงั ดาล Schima wallichii, คา่ หด Engelhardtia spp.
(Juglandaceae), Carpinus loudonii (Betulaceae), รกั ใหญ่ Gluts obovata (Anacardiaceae), มะมือ Choreospondias
axillaris (Anacardiaceae), คางคาก Nyssa javanica (Cornaceae), คอไก่ Tarennoidea wallichii (Rubiaceae), มะห้า
Syzygium albiflorum (Myrtaceae), แหลบุก Phoebe laceloata (Lauraceae) เช่นเดียวกบั Elaeocarpaceae & Lauraceae
กำลงั เสีอโครง่ Betula alnoides (Betulaceae) ซ่ึงพบมากมายในท้องถน่ิ บางครั้งจะอยกู่ นั เป็นกลมุ่ ท่เี ป็นชนิดเดียวกันทงั้ หมด
ไม้ยินต้นขนาดเล็กกว่า เช่น มะขามแป Archidendron clypearia (Leguminosae), กำลังชา้ งสาร Maesa spp., พิลง้ กาสา
Aidisia spp. (Myrsinaceae), กำยาน Styrax bensoides (Styracaceae), Vernonia spp. (Compositae), เหมอื ดโลด
Aporusa spp., เม่า Antidesma spp., ไคร้ Glochidion spp (Euphorbiaceae), มะกอกพราน Turpinia spp.

(Staphyleaceae)

14

พนื้ ที่แหง้ (ปา่ สน-ปา่ ไม่ผลดั ใบ)
พนื้ ท่ีบรเิ วณทีโ่ ล่งแจง้ และสันเขาท่หี ันตรงกบั ทศิ ใต้ ประกอบด้วยชนิดของปาทแี่ หง้ กวา่ ซึง่ แทรกอยเู่ ปน็ หย่อมใน

บรเิ วณปาดิบเขา ในพืน้ ที่ดินสว่ นใหญเ่ ปน็ ดนิ ทราย เช่นท่อี ำเภอแม่แจ่ม แทบทัง้ หมดของพน้ื ทเี่ ป็นปาชนิดน้ี โดยจะมแี นวหรือ
แถบของปาชื้นแทรกตามหบเขา การทพ่ี ้ืนท่ีแถบน้ีถูกรบกวนต่อเนื่องเปน็ ระยะเวลานาน โดยเฉพาะการเกิดไฟปา ทำให้การขยายตัว
ของปาชนดิ นร้ี กุ ลํา้ ออกไปมากขน้ึ จากส่วนท่เี กดิ ชน้ื เองตามธรรมชาติ

ป่าแห้งในระดับสงู ประกอบด้วยชนิดของพรรณไม้ยืนตน้ น้อยชนดิ ทสี่ ดุ เม่อื เทียบกับปา่ ชนดิ อนื่ ทพี่ บในภาคเหนอื ของ
ประเทศไทย และมักจะมไี มเ้ ดน่ น้อยกวา่ 10 ชนิด เรอื นยอดที่ปกคลุมแทบท้งั หมดเปน็ ไม้ไมผ่ ลัดใบ และคอ่ นข้างจะโปร่งและเปดิ
มาก (ปกคลุมน้อยกวา่ 50%) ไมพ้ ่มุ มีอยกู่ ระจดั กระจายมาก และส่วนหนึง่ เป็นไม้ยนื ตน้ ที่แคระแกรน แทบจะไม่พบพวกไผแ่ ละ
ปาล์ม ยกเวน้ ชนดิ ท่อี ดทนตอ่ ความแห้งแล้งไดเ้ ชน่ ปาล์มสิบสองปันนา Phoenix lourein ชนั้ ท่ปี กคลุมดินบนพนื้ ปามีไมเ้ น้ืออ่อน
คอ่ นข้างน้อย ประกอบดว้ ยหญ้าและไม้เนอ้ื อ่อนท่ผี ลดั ใบ

ปาสนมักจะเหน็ เปน็ 2 ชั้นชัดเจน เรือนยอดช้ันบนแทบจะเปน็ ไมส้ นทงั้ หมด (Pinus spp.) ช้นั ทอ่ี ยู่ตา่ํ ลงมาประกอบ
ด้วย ส้มแปะ Vaccinium spp., ตาฉเี คย Craibiodendron stellatum (Ericaceae), เหมือดคน Helicia spp., (Proteaceae),
กระโดนแดง Tristaniopsis burmanica (Myrtaceae), หมาก Mynca esculenta (Myricaceae), สารภีปา AnnesJea fragrans
(Theaceae), ขมนิ ต้น Mahonia nepalensis (Berberidaceae), ปอตูบหูขา้ ง Sterculia villosa (Sterculiaceae), ปรง Cycas
spp. (Cycadaceae), กระแจะ Ochna integerrima (Ochnaceae), กหุ ลาบปา Rhododendron spp (Ericaceae), เหมือดจีดง
Memecylon plebejum (Melasromataceae), ส้าน Dillenia aurea (Dilleniaceae) ชนดิ ของไม้สนท่ีพบมากทีสุด ท่ีระดับ
สงู กว่าคอื สนสามใบ Pinus kesiya ในขณะทีร่ ะดบั ตํา่ กวา่ 1,000 เมตร เปน็ ไม้สนสองใบ Pinus merkusil ณ ทรี่ ะดบั ต่ําลงมาน้ี
จะมปี าระหว่างรอยตอ่ ซึ่งประกอบด้วยไม้สน/ชนดิ ไมข้ องปาดิบแล้ง และชนดิ ไม้ของปาเต็งรังก็มักจะพบในบริเวณน้ี ปาด้งกลา่ ว
มักจะมไี มเ้ ด่น คอื เตง็ Dipterocarpus tuberculatus และสนสองใบ Pinus merkusil

ป้าบนพน้ื ทหี่ นิ ปนู (Limestone forests)
ปาหนิ ปูน เกดิ ข้ึนในพ้ืนที่หลายแหง่ ในภาคเหนือของประเทศไทย นบั จากพนื้ ท่เี ป็นหยอ่ มเล็ก ๆ ความยาวน้อยกวา่

100 เมตร จนกระทง่ั เปน็ พน้ื ท่ีกวา้ งขวางใหญโ่ ตเชน่ ทค่ี อยเชยี งดาว ซึง่ เป็นภูเขาสงู เปน็ อนั ดับท่ี 3 ของประเทศไทย ถงึ แมว้ า่
จำนวนชนิดของไมย้ นื ตน้ จะมีไมก่ ชี่ นดิ ที่สามารถจะข้นึ ในทเี่ ชน่ นี้ แต่สภาพภูมิประเทศท่เี ป็นหินผาเหล่าน้ีกท็ ำให้เกิดแบบของปาท่ี
นา่ สนใจย่ิง องคป์ ระกอบของพรรณไม้หลายชนดิ จะไมพ่ บในปาแบบอนื่ ๆ ปาหนิ ปนู ซ่งึ เกิดขนึ้ ในท่ีระดบั ตํา่ จะมกี ลุม่ ไมผ้ ลดั ใบ
จำนวนมาก เนอื่ งจากการระเหดิ ของน้ีาเป็นไปอย่างรวดเรว็ บนช้นั หินเหล่านี้ ชนิดของพรรณไมย้ นื ตน้ จะมีความคลา้ ยคลึงมาก
กบั ชนดิ ทีพ่ บในปาผลดั ใบ/ปาไผ่ แต่เนอื่ งจากการเข้าไปตัดโคน่ ในพน้ื ที่ซึ่งเปน็ หินผาเช่นนท้ี ำไดย้ ากลำบาก ด้งนัน้ ปาหนิ ปูน
จึงเปน็ แหล่งสุดทา้ ยของไม้มีคา่ ทางเศรษฐกจิ หลาย ๆ ชนิดทไี่ ตถ้ กู ตดั โคน่ ไปจากบริเวณปาใกลเ้ คยี งทีล่ ้อมรอบอยู่

ลกั ษณะทน่ี ่าสนใจของปาแบบหินปนู น้คี ือ จะประกอบดว้ ยชอ่ งเล็ก ๆ ทลี่ กึ ลงไป (sink hole) ชอ่ งที่ลกึ เหล่าน้ี
จะให้ความชุม่ ชนื้ และรม่ เงา ทำใหเ้ กดิ สภาพปราศจากไฟปาและที่นเี้ องจะเกื้อกลู ให้ไมต้ ้นหลาย ๆ ชนดิ เจริญงอกงาม ซงึ่ โดยปกติ
แล้ว พรรณไมเ้ หล่านจี้ ะเกดิ เฉพาะในปาดิบช้ืนท่ีปราศจากการรบกวนเท่านั้น สภาพทางธรณีที่แบง่ เขตระหวา่ งหินปนู และหินช้ัน
(Shale) ท่นี ้าี ซึมผ่านไม่ได้ เปน็ บรเิ วณหนงึ่ ที่จะพบเห็นชนดิ ของพรรณไมท้ ่ไี มค่ ่อยจะพบทอ่ี ื่น น้าี จากใตด้ นิ ทีไ่ ด้ซึมผ่านชน้ั หินปนู
ลงมาอย่างสะดวกจะถกู ดน้ มารวมอยู่ใกล้ ๆ พ้นื ผวิ ทำให้บรเิ วณนี้เกดิ สภาพชุ่มชื้นขึน้ ตวั อยา่ งของสภาพทางธรณที ่ีแสดงลกั ษณะ
เช่นนค้ี อื บริเวณเชิงภูเขาของดอยเชียงดาว

15

รปู วิธานทัว่ ไป (ส่วนใหญ่ใช้ใบและเปลือกตน้ )

ก. รูปวิธานทว่ั ไปของใบ

ลักษณะทีก่ ล่าวขา้ งลา่ งหมายถงึ ใบ ยกเว้นจะระบเุ รนอย่างอ่ืน

1. ใบเรยี งแบบวนรอบ *

2. ใบเด่ยี ว

3. เปลอื กต้นมยี างขาว - Alstonia 594, Rauvolfia 588
3. เปลอื กดน้ ไมม่ ียางขาว - Actinodaphne 656, Pinus 870, Syzygium formosum 422

2. ใบประกอบแบบขนนก - Heterophragma 628, Santisukia 613
1. ใบออกตรงกนั ขา้ ม

4. ใบเดีย่ ว - รูปวิธานยอ่ ย ข (หนา้ 17)
4. ใบประกอบมีใบยอ่ ย 3 ใบ

5. ขอบใบมีฃหี ยกั - Turpiทia 285
5. ขอบใบเรยี บ- Euodia 189, Vitex™ น279
4. ใบประกอบแบบนว้ิ มอื - Vitex™ - 279, Aesculus 283
4. ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว

6. ใบย่อย 5-7 คู่ มีกลน่ิ แบบสม้ - Euodia meliaefolia 189
6. ใบย่อย 2-4 คู่ ไม่มีกล่ินแบบสม้ - Turpinia 285, Sambucus 472, Fraxinus 578

Schrebera 579, Bignoniaceaeวธิ น 265

4. ใบประกอบแบบขนนก 2-4 ชนั้ - Bignoniaceae ™ น265

1. ใบเรยี งแบบสลบั

7. ใบเด่ยี ว

8. ขอบใบมชี ีห่ ยัก - รูปวิธานยอ่ ย ค (หน้า 18)
8. ขอบใบเรยี บ - รูปวธานยอ่ ย ง (หน้า 19)

7. ใบประกอบใบย่อย 3 ใบ

9. เปลอื กตน้ มหี นาม Erythrina357. Aegle กาarme/os™7, Zanthoxylum evodiaefolium200
9. เปลอื กตน้ ไมม่ หี นาม

10. ขอบใบมีซ่หี ยัก - Allophyllus 262 (มขี น), Bischofia 701 (ไมม่ ีขน)
10. ขอบใบเรียบ

11. มีเกล็ด - Aglaia 228

11. มขี น - Heritiera 134, Brucea 205, Walsura 217, Lepisanthes 273,

Sandoricum 277, Butea 355

11. เรยี บเกลีย้ ง - Crateva 40, Brucea 205, Dysoxylum 223, Xerospermum264

7. ใบแบบน้ิวมือ

12. เปลือกต้นเป็นหนาม - Bombaceae แ4, Brassiopsis 462, Trevesia 460
12.เปลือกไม่มีหนาม- Sterculia™ น78, Schleffera454 (+ไมเ้ กาะอาล้ย), Macropanax455

7. ใบประกอบแบบขนนกชน้ั เดยี ว - รูปวธิ านย่อย จ (หนา้ 20)
7. ใบประกอบแบบขนนก 2-4 ชนั้ - Leguminosaeวิธ น15ธ 1 Melia 220 (มีชห่ี ยกั ), Chukrasia 232,

Aralia458 (มหี ,นาม), Heteropanax 459, Palmae '^367,
Cyathea 875 (เฟินต้น)
* ใบออกเป็นกลุม่ แตไ่ ม่ใชแ่ บบวนรอบ จะเหน็ ชัดในกิ่งแก่ ๆ เนอื่ งจากช่องระหวา่ งแผลของใบกวา้ งขนึ้ เช่น : Terminalia,
Rhododendron, Baccaurea.

16

รปู วิธานยอ่ ย ข ะ ใบเด่ียวออกตรงกันข้าม

1. เปลอื กด้นมียางสขี าวหรอื เหลือง 11. กิง่ กา้ นกลม ใบออกในระนาบ/วนรอบ
2. ใบมีหูใบ 1 คู่ 12. ขอบใบมซี ่หี ฺยัก
13. เส้นใบทีฐ่ าน 3 เสน้ มีหใู บ
Apocyanaceae รธ น 257
2. ไมมีลักษณะดงั กล่าว Urticaceae รธ345
13. เส้นใบทฐี่ าน 1 เส้น ไมม่ หี ูใบหรือมแี ต่เลก็
3. ใบมีขนชดั เจน
Ficus hispida 779 Olea oblanceolata 534
Broussonetia 754 (Buddleja asiatica) 604
Morus rr&croura 753a (Viburnum) 469
12. ขอบใบเรียบ
3. ใบเรยี บเกลยี้ งหรอื เกือบเรยี บเกลี้ยง
Lagerstroemia รธ น202
Guttiferae น49 (ยางสคี รมี หรอื เหลือง)
Terminalia™ 187
Apocynaceae™ น257 (ยางขาว) Olea rosea584
Sarcosperma 548 (ต่อมจมในชอกเส้นใบ) (Buddleja asiatica) 604
1. เปลอื กด้นไม่มียางขาว (Viburnum) 489
4. ใบมหี ูใบ 1 คู่ (Wightia) 612 (มกั จะเป็นไม้เกาะอาศัย)
Rubiaceae™ น217 (บางครัง้ มหี นาม) 10. ใบไมม่ ีขน 1
14. ขอบใบมีซีหยกั
Fagraea 605 (เส้นใบขา้ งเลอื นลาง) Euonymus 252 (ใบ 8-15 (22) ชม., มนรี)
Carallia brachiata 388 (ตาใบรปู กรวย) Careya arborea^35 (ใบ 15-30 ชม. รปู ไข่กลับ)
4. ไม่มีหใู บ Barringtonia*38 (ใบ 7-20 ชม., รปู ไข่กลบั )
5. ใบมตี อ่ มหรือมเี กล็ด Olea salicifolia 586 (ใบ 7-15 ชม. รปู หอก)
Olea dioica 587 (ใบ 6-13 ชม. รูปหอก)
6. มตี อ่ มใหญ่ ๆ สว่ นมากอยู่ทJี านใบ 14. ขอบใบเรียบ
7. ใบรูปไขกวาง/รปู สามเหลยม 15. เสน้ ใบด้านขา้ งขนานกบ้ เสน้ ใบหลัก
Gmelina arborea 630 (+ เกลีย้ ง)
Conifers รธ น374
Trewia nudifloraj47 (ขนรูปดาว)
Mallotusรชิ น (เกลี้ยงหรอื มขี น) 15. เส้นใบด้านข้างสานกน้
16. เสน้ ใบหลัก 3-5 เสน้ จากฐานใบ
7. ใบรปู ขอบขนานหรอื มนรี /Acer277 (ใบดา้ นล่างสอี อกขาว)
TerVminalia รธ น 187 Strynchnos 607 (เส้นใบจากฐาน 3-5 เส้น)
Wightia 612 (มกั จะเปน็ ไม้เกาะอาศยั ดอกล้ี
Mallotus™ น314
Cleidon spiciflorum 709 ชมพู)
6. มตี ่อมประปรายทีข่ อบใบ Cinnamomum "iners 869
16. เส้นใบหลกั จากฐาน 1 เส้น
Hiptage180 17. ใบออกฺ ในระนาบ
(Terminal!a) ™ น 187
6. มเี กล็ดสีเงนิ ดา้ นลา่ ง 18. กง่ิ ก้านมสี ัน
Nothaphoebe 677
Combretum quandrangulare 400 Duabanga grandiflora 452
6. มตี อ่ มใสหรอื อออกดำดา้ นลา่ ง Memecvlon 438 (เสน้ ใบเลอื นลาง)
8. ใบมขี น 18. กิ่งก้านไมมีสัน
Eugenia bracteata407 (ไม้พุ่มสูงถงึ 2 ม.) Lagerstroemia ™ น 202(ใบออ่ นสนี ํา้
Decasperjrium parviflorum 433
8. ใบเรียบเกล้ียงฺ ตาลอมชมพู)
Crypteronia 451 (ใบอ่อนสอี อกฟ้า)
9. ขอบใบมีซีหยกั Cratoxylum 47 (ใบอ่อนสีชมพ)ู
17. ใบเรียงแบบวนรอบ
Glyptopetalum sclerocarpum 255
9. ขอบใบเรยี บ Bouea oppositifolia 289
Oleaceaeรธ น 254
Syzygium รธ น194 Viburnum cylindricum 478
Litsea salicifolia 882 (เกือบตรงกันข้าม)
Acronychia pedunculata 182 Beilschmiedia 881 (เกอื บตรงกันขา้ ม)
5. ใบไม่มตี อ่ ม 17. ใบเรียงแบบวนรอบหรือในระนาบ
Microtropis 249, Lophopetalum 258, Mastixia488
10. ไมม่ ีขน
11. กงิ่ ก้านสเี หลอื ง ใบออกเป็น 2 แถว

Labiataeรธ 11274

17

รูปวิธานย่อย ค ะ ใบเดย่ี ว เรยี งแบบสลับ ขอบใบมีซี่หยัก

1. ก่ิงก้านเป็นหนาม (thorny) 10. ใบส่วนใหญ่ ยาว >20 ชม. มซี ีหยกั หยาบ ๆ
Vernonia 511
Maytenus 251 Helicia formosana 683
Zizyphus 258
10. ใบส่วนใหญ่ ยาว <15 ซม. มซี ล่ี ะเอยี ด
Flacourtiaceae รธ น53 11.ใบรปู หอก
Trevesia 460 (ใบใหญ่ พไู ม่หยกั ลกึ )
1. กิง่ ก้านไม่มหี นาม Salix tetrasperma 842
2. เปลือกต้นมยี างขาวหรือยางสอี น่ื Eurya acuminata 87
11. ใบรปู มนรหื รอื ขอบขนาน
3. มียางขาว Symplocosรธ น 25°
Camellia conทata 74
Moraceaeรธ น 325 Pyrenaria garrettiana 80a
3. มียางสแี ดง (Elaeocarpaceae)รธ น 94
(Fagaceae)รธ น-351
Mallotus™ น314 7. ใบแกเ่ รยี บเกลยื งหรอื มขี นเล็ก ๆ
Macaranga 726 12. เส้นใบท่ฐี าน 3-7 เสน้
Ostodes736
(GordonIa) 79 Celtis 749 (ใบรปู ไขแ่ คบ)
2. เปลอกต้นไมม่ ยี างขาวหรอื ยางสีอื่น Eriolaena 144 (ใบรปู ไข่กว้าง)
4. ใบมีเกล็ด 12. เสน้ ใบทฐี่ าน 1 เสน้
5. เกล็ดสอี อกเงนิ
13. เปลอื กด้นแตกลึก
Homonoia riparia 725 (ใบรูปหอก) Vaccinium 514
Crgtonp น308 (ใบกว้างกว่าไม,่ เป็นรูปหอก) Schima wallichii 78
Fagaceae^ น 351
5. เกลยงสีน้าํ ตาลอม1ส้ม (Salix tetrasperma) 842
Saurauia 89 (ชีห่ ยกั แหลมไม่มีต่อม)
Ardisiaรธ น308 (ช่หี ยักมนกลมมตี ่อม) 13. เปลือกตน้ เรียบหรือแตกตน้ื ๆ

4. ใบมีตอ่ ม 14. ปลายใบคอ่ ย ๆ สอบแหลม
6. ตอ่ มกลมอยู่ที่ก้านหรือฐานใบ 15. หูใบหลดุ รว่ งไว ไม่มกี ลบี ดอก
Ostodes 738 (เส้นใบทฐี่ าน 3 เส้น ต่อมบนชีห่ ยัก) บImus lanceifolius 752
Aporosa 698 (ต่อมบนกาน มีชห่ี ยักประปราย) Salix tetrasperma 842
Prunus 379 15. ไม่มหี ใู บ มกี ลบี ดอก
6. มตี อ่ มเปน็ เส้นขดี
Casearia 69 (เสน้ ขีดใส) Theaceaeรธ น56
Ilex englishii248
Maesa^ น241 (เส้นขดี ทบึ ) Ehretia609 (เส้นใบข้าง 6-9 ค)ู่
6. ต่อมเปน็ จดุ เขม้ เลก็ ๆ Carpinus 808 (ชีห่ ยักเป็นคู่ ๆ เส้นใบข้าง

Rapanea yunnanensis 535 10-13 คู่ ลำต้นเป็นรอ่ ง)
Betula alnoides 807 Symplocos ธ น25° (เสน้ ใบข้าง 5-9(11) คู)่
Myrica esculenta 810 14. ปลายใบป้านหรอื แหลมเล็กน้อย
Prunus phaeosticta 382 Siphonodon 257
Prunus javanica 383 Ochna 209
4. ใบไม1มีเกล็ดหรอต่อม Helicia nilagirica 682
7. ใบแกม่ ีขนชดั เจน Dillenia รธ-น 31
8. เส้นใบท่ฐี าน 3-7 เส้น Theaceaeรธ น 56
Homalium 65
9. ไม่มีหใู บ Hydnocarpus 64
Elaeocarpusรธ น 94
Alangium 484 (Symplocos)รธ น-250
9. หใู บเชอื มเป็นคู่ ๆ

Urticaceae (ยกเวน้ Boehemeria) น 345
9. หูใบแยก

Tiliaceae ว1ิ 5 น 87
Trema orientalis 748
Bpehmeria 791
8. เส้นใบท่ีฐาน 1 เส้น

(ไมม่ ีหูใบ ยกเว้น Salix)

18

รูปวธิ านย่อย ง ะ ใบเรียงแบบสลบั ขอบLjเรยี น

หมายเหต, ะ มากกว่าร้อยละ 50 ของพรรณไมอยูใ่ นกลุม่ น
ดงั นนถาไม'มดี อกหรือผลคงจะไม'สามารถระบุชนดิ ได

. เปลือกชัน้ ในมยี างขาวหรือสอี ่นื 4. ใบไมม่ ีเกล็ดหรอื ตอ่ ม
8. ใบแกมขนซดั เจน
2. ยางสีแดงหรอื อกชมพู 9. ขนรูปดาวหรอื เป็นแผงขน
Myristicaceae 645 Sterculiaceaeรธ น78
Miliusa 26 Nothapodytes foetida 244
(Gordonia) 79 Solanurn verbascifolium 611
(Mallotus)^น314 Sumbaviopsis albicans 889
(Macaranga)72Q 9. ขนเป็นเสน้ ธรรมดา
10. เสน้ ใบทฐ่ี าน 3-7 เสน้
2. ยางสขี าว
Moraceaeรชิ น 325 Alangium 463
Lindera 666
Sapotaceaeรธ น242 Neolitsea 665
Dendrocnide stimulans7^ขนระคายเคอื ง)
(Euphorbiaceae) 1รธ น 297 10. เสน้ ใบที่ฐาน 1 เสน้
. เปลอกชนในมชี ันหรือมีกลิน่ หอม
3. หูใบใหญ่ เสน้ ใบขา้ งชัดเจน 11. ใบเหนยึ วสีเขียวเขม้

Dipterocarpaceae รธ น64 (ยกเวน้ Vatica) Rhododendron arboreum 822
3. ไมม่ ีหใู บ เส้นใบขา้ งไม่เดน่ Fagaceae^ น351

Anacardiaceae รธ น142 (ใบเกลี้ยงหรอื มีขน) (Diospyros) -245

Lauraceaeรร น 285 (ใบมักจะเกลี้ยง) (Antidesma) -iT" น2"
(Glochidion) น-309
Styrax 575 (ใบมขี นสขี าวรปู คาว)11 11. ใบบางกวา่ สีเขียว
Aqqjlaria crassna6Q5(ใบเกลย้ี งหฺ รือเกอื บเกล้ยี ง) 12. มีหใู บ (มีขนาดเลก็ )
. เปลือกชัน้ ในไม่มชี ัน ยางขาวหรอื ยางสีอื่น
4. ใบมีเกลด็ Rosaceae 37Q
Antidesma^ น2"
5. เกล็ดออกสีเงนิ Brideliaรธ น-305
Platea latifolia 241 (ใบกวา้ ง)
Homonoia riparia 725 (ใบรูปหอก) Glochidion™ น 309
Crotonรธ น 308 12.ไมม่ ีหูใบ

5. เกลด็ สนี าตาลอมส้ม Vernonia 511
Heritiera macrophylla 134 Gochnatia 510
Ardisiaรธ น 238 Nyssa javanica 487 (มีนวล)
Diospyrosรธ น 245
Rhododendron ‘ท- น 235
4. ใบมีต่อม j-itseaรธ น 288
8. ใบแก่เรยี บเกลยี้ งหรือเกือบเรยี บเกลยี้ ง
6. ตอ่ มบนกา้ นหรือฐานใบ
13. มีหูใบ
Euphorbiaceae รธ น297 14. หใู บแยก
Prunus arborea 381 Microcos 183 (เส้นใบทีจาน 3 เส้น)
Parinari378 Rosaceae 378 (เส้นใบทฐาน ใ เสน)
6. ต่อมบนผวิ ใบมกั จะเลก็ ๆ 14. หูใบไม่แยก
7. สีซีดหรอื ใส
Magnoliaceae รธ น33 (รอยแผลหใู บบนกา้ นใบ)
Acronychia pedunculata 182 Casearia flavovirens 71 (หใู บเลก)
Atalantia 183 (เป็นหนาม) Irvingia กาalayana 208 (ตารูปกรวย
Tristaniopsis burmanica 434
รอย้ แผลกลม)
(Lauraceae)รธ น 285
7. สีเขม้ Euphorbiaceae วิธ น297 (ก้านใบดา้ นบนพองออก)
Holoptelea integrifolia 751 (เสน้ ใบข้าง 5-7 เส้น)
Rapanea 535 (เส้นใบข้างมากมาย) Fagaceae ธ น351
Ardisia polycephala 531 13.ไมมีหูใบุ
Ardisia attenuate528 16. เสนใบขนานก้น
Myrica esculenta 810
7. เบนเส้นเขม้

Maesa ธ น241

19

Nageia wallichianus (ใบยาว 7-15 (20) cm) 3. กา้ นใบยอ่ ยดา้ นข้าง <5 มม.
Dracaena 844 (ใบยาว (22) 50-80 cm) 6. กา้ นใบรว่ ม (rachis) มีปกี
16. เส้นใบท่ีฐาน 3-7 เสน
Rhus chinensis 303 (ไมม่ ีหนาม)
Alangium salvifolium 463 Harrisonia perforata 207 (มหี นาม)
Cinnamomum iners 870 6. กา้ นใบรว่ มไมม่ ปีก
Cinnamomum caudatum 871 7. ยางแหง้ แข็งเป็นซน้
Neolitsea cassia 665
Aquilaria crassna 885 Garuga2^
16. เสน้ ใบทฐ่ี าน 1 เส้น 7. ยางไมม่ ีลักษณะด้งกล่าว
17. เปลือกดน้ แตกลกึ ๆ
Azadirachta indica 222 (ใบยอ่ ยโค้งงอ)
Cinnamomum porrectum 888
Xanthophyllum 45 (Engelhartia serrata)806
Gochnatia decora 510 1. ใบยอ่ ยขอบใบเรียบ
(Ilex) 248
Craibiodenijron 516 8. ใบย่อยหนาแขง็ เสน้ ใบขนานก้น
17. เปลือกดน้ เกลยงหรอื มีรอยแตกตน ๆ
Annonaceae ท น36 (±ในระนาบ Palmae 387
Cycadaceae 377
แกนต้นเปน็ แผน่ ๆ) 8. ใบยอ่ ยบางกว่า เส้นใบสานก้น
Pittosporum 43 (ตายอดเปน็ เกลด็ ) 9. ใบมกี ลน่ิ ส้ม หรือมักมหี นาม
Anacolosa 239 (ในระนาบ เส้นใบขา้ งโคง้ )
Schoepfia 238 (ในระนาบ เส้นใบโค้ง) Rutaceaeรธ น 99
Icacinaceae ' -124 (เส้นใบข้างโค้ง) 9. ใบไม่มีกล่นิ แบบสม้ ไม่มีหนามฺ

//ex248 10. เปลือกด้นมยี างสหี รอื มกี ล่นิ

Theaceae 58 11. มยี างสีออกแดง
Lauraceae ' 285 (ใบใกล้ร่วงลีเหลอื ง) Ailanthus triphysa 202
Diospyros^ น 245 Pterocarpus 389
Helicia 882 Callerya atroqprpurea 372
Nyssa 487 (ตาใบแคบ)
Lyonia ovalifolia 517 11. ยางมีกลิน่ คล้ายนามนสน
Rhododendron molumense 521
Anacardiaceae 142
9 รปู วธิ านยอ่ ย จ ะ (ก้านใบย่อย <1 ซม.)
เบประกอบแบบขนนก เรียงแบบสลับ2*1453
Protium serratum 219
1. ใบยอ่ ยขอบใบเปน็ ซ่หี ยัก (กา้ นใบย่อย +1 ชม.)
2. มีหูใบเปน็ แผน่ หรือหใู บเทยี ม)
Mahonia nepalensis 391 (หใู บเทียม) 11. มีกล่นิ หอมหวาน
Pometia pinnata 288 (หูใบเทยี ม) Toona 234
Picrasma javanica 203 (หูใบ)
2. หูใบไม่เป็นแผน ไม่มหี ูเทียม 10. เปลือกไม่มยี างหรอื มกี ลิน่
3. ดา้ นใบย่อยด้านขา้ ง >5 มม. 12. ใบย่อยปลายป้าน ผวิ เรียบ
4. ใบย่อย 2-5 คู่ เส้นใบขา้ งเลือนลาง กา้ นใบย่อยพอง
5. ยางเปน็ ซ้นหรอื ออกสีดำ ออก (pulvinate) กลนิ่ ของพชื คล้ายถั่ว
Protium serratum 210 (ไม่มหี ใู บ)
Canarium 214 (มหี ูใบ) Leguminosae น 156
5. ยางไมม่ ีลกั ษณะดง้ กล่าว 12. ใบยอ่ ยมกั จะแหลมเกลยูง หรอื มขี น
Engelhardtia serrata 808 เส้นใบขา้ งมกั จะชด้ เจน ก้านใบไม่พอง
Meliosma pinnata 288 (ไม่มีจุด) ไมม่ ีกล่ินแบบถั่ว
4. ใบย่อย 6-13 คู่
Choerospondias axillaris 398 Meliaceae 114
(Meliosma pinnata) 288 Simaroubaceae 292 (เปลือกขม)
Bretschnerideraceae 284

(ดอยภคู า)
Meliosma pinnata 288
Pentapanax (Aralia) 458
Engelhardtia spicata 895

Sapindaceae 11 131
(ขนนกปลายคู่ เสน้ ใบไม่จรดกน้ )

20

รูปวธิ านใชล้ ักษณะเด่นชดั

เรื^นยอดและลักชุ'ณะด้น Aralia 456
รูปวิธานท, 1J ขนอย่บู นตน้ ไมอ้ ื่นหรอื บนหนิ Heteropanax fragrans 459
Eurycoma Iongifolia 204
1. ใบเดย่ี วเรยี งแบบสลบั
2. มียางสขี าว รปู วธิ านที่ 5 ะ โคนต้นเปน็ พพู อน
Ficus ร®•น332
2. ไมม่ ยี างขาว 1. ใบเดยี่ ว
Tetrameles 453 (ใบรูปไข่กวา้ ง)
Rhododendron vietchianum 520 Tetrameles nudiflora 453
Parashorea stellata 95
1. ใบเดย่ี วออกตรงกนั ขา้ ม Pentace burmanica 146
Wightia 612 Ficus - ■ น 332
Fagasea ceilanica 605 (Elaeocarpus prunifolius) 179*
1. ใบประกอบแบบขนนกช้ันเดยี วหรือ 2 ช้นั
1. ใบรปู นวมอื Dracontomelon dao 310
Schpfflera 454 Acrocarpus fraxinifolius 332

รปู วธิ านที่ 2 ะ เรอื นยอดคลา้ ยกรวยแคบหรือรปู รปู วิธานท่ี 6 ะ โดนดน้ เปน็ ร่อง

ทรงกระบอก 1. ใบออกตรงกนั ขา้ ม

1. เรือนยอดแน่นทบึ สเี ขยี วเขม้ ไม่ผลัดใบ Lagerstroemia -202
Garcinia 56 Acer2™
Annonaceae รธ น36 (Terminalia mucronata) 392
Mesua ferrea59 (Crypteronia paniculate) 451
Aquilaria crassna 685 1. ใบเรยี งแบบสลบั
(Crypteronia paniculate) 451 Carpinus 808
(Xanthophyllum) 45 Alphonsea 19
(Alstonia)594 (Terminalia mucronata) 392
(Diospyros mollis) 559
1. เรือนยอดก่งึ เปิด สีออ่ นกว่า ผลัดใบ
Dolichandrone 618 ลักษณะของเปลอื กดน้
Pterocymbium 132
Anogeissus acuminata 406 รูปวธิ านท่ี 7 ะ มหี นาม (thorn, spine, prickle)
(Fagraea fragrans) 605
(Lagerstroemia) -’202 1. หนาม (ยาว ฐานไม่พองออก)
2. ใบเดย่ี วออึกแบบตรงกนั ขาม
รูปวิธานที่ 3 ะ เรอื นยอดเป็นชน้ั ๆ
Cratoxylum 47
หรอื กิง่ ออกเปน็ วง Combretum quadrangulare 400
Lagerstroemia 1202
1.ใบแบบนิว้ มอื Rubjaceae 217
2. ใบเดยี่ วเรยี งแบบสลับ
Bombacaceae 114 Alangium salvifolium 463
Steitculiaรธ น 78 Anogeissus 406
1. ใบเด่ียวออกตรงกันขา้ ม Bridelia 305
Alstonia 594 Diospyros montana 561
Duabanga grandiflora 482 Rutaceae ‘"(ใบมกั จะมกี ลิน่ ส้ม)
(Tarennoidea) 503 Flacourtiaceae^ น 53 (ขอบใบมักเป็นซ่ี
1. ใบเดีย่ วออกแบบสลบั
หนามมักจะแตกแขนง)
Terminalia รธ น187 Streblus 755 (ยางขาว)
Garcinia - น49 Zizyphus 258
Macaranga 726 Carissa spinarum 589
Maytenus25''
รูปวธิ านที่ 4 ะ เรอื นยอดไม่แตกแขนง Euphorbia ,688 (คลJ้ ยกระบองเพชร)
Capparis*0 (ไม้พุ่มรอเลอย)
(ใบเปน็ กล่มุ คลา้ ยปาล์ม) Solanum6^ (หนามทู ใี บ)
(Livistonia) 847 (ใบใหญค่ ลา้ ยพดั )
1. ไมผ่ ลัดใบ
21
Palms & Cycads รธ น367

Draceana 844
Pandanus 846
Cyathea 875 (เฟนิ ตน้ )

1. ผลัดใบ
Oroxylum indicum 626

2. ใบแบบขนนก

Cassia javanica 351 Pterocarpus 350
Callerya atropurpurea 372
Acacia3^ (Pometia 266 )
Mimosa 313a Ailanthus 202
Caesalpinia 312b 1. น้าํ ยางสีนาํ้ ตาลหรือ^อกดำ
(มกั จะเปลีย่ นสีชาั ๆ เมอื่ สว่ นของพชื เป็นแผล)
(Albizia)รธ น158 5. ใบเดย่ี วออกเแบบตรงกันข้าม

(Phoenix) 883 Cratoxylum 407

1. หนาม (prickle) อ้วนส้นั โคง้ ฐานพองออก Bouea 289
5. ใบเดีย่ วออกแบบสลบั
3. ใบประกอบ 3 ใบยอ่ ย
Diospyros 550
Erythrina 357 Anacardiaceaeรธ-น 142
3. ใบแบบนิว่ มอื 5. ใบประกอบแบบขนนก
Burseraceae210
Bombax 114 Rhus rhetsoides305 , R. succedanea 304
1. น้าํ ยางแหง้ เปน็ ข้น
Trevesia 460
6. ใบเดยี่ ว
Brassiopsiz 462
3. ใบแบบขนนกชนเดยี ว Anacardiaceaeรธ น142
Dipterocarpaceae รธ น64
Zanthoxylum 200 ‘'จ' Styrax 575
Gardenia 505; (ใบตรงก้นข้าม ตาใบสเี หลือง)
Harrisonia perforata 207 (กานใบรวมมบี กึ ) Pinus 870 (ใบเป็นกลุ่ม)
6. ใบประกอบแบบขนนกั
3. ใบแบบขนนก 2-3 ชน Burseraceae 210
Aquilaria crassna 685
Arajia 456
3. ใบเดียว รปู วิธานที่ 9 ะ เปลอื กต้นแตกลกึ

Falconeria insigne 744 1. เปลือกดน้ สซี ีด หนาและนม่ิ

รปู วธิ านที่ 8 ะ น้ํายางสีขาว สีอนื่ หรือเป็นยางช้น 2. ใบเดีย่ ว

1. นายางสีขาวหรือครีม Xanthophyllum 45
2. ใบเดียวออกตรงกันข้าม
3. มีหใู บ Gochnatia decora 510
Rubiaceae รอ น 217
Fagraea 635 Xantolis546
3. ไม่มหูใบ 2. ใบประกอบแบบขนนก

Guttiferae™ น 49 Mahonia nepalensis 39
Ficus hispida 799
Apocynaceaeรธ-น 257 Millingtonia hortensis 627
Sarcosperma 548
2. ใบเดียวเรยงแบบสลบ 1. เปลือกตน้ สเี ข้ม แขง็ และเปราะ
3. ใบเดย่ี ว
Moraceae™ 325
Dipterocarpaceae รชิ น64
Sapotaceae ™ น242 Fagaceae^ น35°
Euphorbia 686 (คลา้ ยกระบองเพชร) Vaccinium 514
Falconeria insigne 744 Craibiodendron 516
2. ใบประกอบแบบขนนก Pinus 879
Rhus chinensis 303 (ก้านใบรว่ มมีปกี ) Fagraea fragrans 606
Aglaia228 Terminalia alata 396
Schima wallichii 78
1. นายางสเี หลอื ง Cinnamomum porrectum 668
(Anneslea fragrans)86
Guttiferae™ น49 (Ilex) MS

1. นาํ้ ยางสแี ดงหรอื สีส้ม 3. ใบประกอบแบบขนนก

4. ใบเดยี ว Protium serratum 21°
Myristicaceae 645
Miliusa26
(Macaranga)726

(Mallotus)™ น 314
(Ostodes)736
(Gordonia) 79
4. ใบประกอบแบบ 3 ใบยอ่ ย
Bischofia701
Butea355
4. ใบประกอบแบบขนนก

22

รปู วธิ านที่ 10 ะ เปลือกต้นเป็นแผน่ Ficus hirta var. roxburghii778
Ficus fulva 774
บางหรือลอกหลดุ Palmae ภ น367 (ปาล์มพดั )

1. เปลือกต้นเป็นแผ่น (ชินหนา) 1. ใบยาว >2พกของความกวา้ ง
Lagerstroemia รธ น202 3. ขอบใบมีฃีหยกั
Pinus kesiya 870 Dillenia รธ น 31
Terminalia กานcronata 390
Dipterocarpus costatus 96, D.turbinatus 97 Saurauia 89
(Afzelia xylocarpa 333 )
Helicia formosana 683
1. เปลอื กต้นบาง (หลุดเป็นชนิ บาง ๆ) Vernonia 511
Dillenia indica 6 3. ขอบใบเรียบ
Cryptocarya pallens 679 Meliosma simplicifolia 287
Betula alnoides 807 Magnolia 12
Prunus cerasoides 379 Barringtonia 436
Cratoxylum cochinchinense 48 Knema 645
Gardenia turgida 508 Semecarpus 392
Chisocheton siamensis 226 Syzygiuท่า ทาegacarpum 421
Actinodaphne 656
1. เปลือกด้นลอก (เป็นชนิ บางตามยาว) Phoebe 873
Tristaniopsis burmanica 434
(Mesua ferrea)59 รปู วธิ านที่ 14 ะ ใบเดีย่ วรูปรา่ งแปลก ๆ
(Tectona grandis)631
(Wendiandia) 499 1. ขอบใบหยกั เปน็ พูแบบฝ่ามอ
Aquilaria crassna 685 2. ใบมีขนชัดเจนิ
Malvaceae199
รูปวธิ านท่ี 11 ะ เปลือกต้นเป็นเส้นใย Sterculia villosa 125 & ร. hypochra 126
MallotusjDarbatus รธ น314
ลอกไดเ้ ปน็ เส้นยาว (เรียกกันทว่ั ๆ ไปวา่ ต้นปอ) (กา้ นใบติดคา้ นหลงั ใบ)

Malvaceae199 Broussonetia 754
Tiliaceaeรธ น87 Ficus hirta var. roxburghii778
2. ใบเกลยงหรือเกือบเกลยง
sterculiaceaeรธ น77 Acer277 (ใบออกตรงกน้ ขา้ ม)
(Aquilaria crassna) 685 Sterculia urena 124
รปู วธิ านที่ 12 ะ เปลือกต้นมีกล่นิ Firmiana 130
Macaranga gigantea 727
Toona 234 (กล่ินหอมหวาน) Trevesia*88
Ricinus communis 687
Betula alnoides 807 (กลนคลา้ ยเ,ครองเทศ)
Lauraceae 274 (กล่นิ คล้ายเครอื่ งเทศ) 1. ใบรปู หวั ใจ สามเหล่ียมหรือกลม
Miliusa 28 (กล่ินเหม็น)
มักจะมหี ลายพทู ่ีไม่ลกึ
Platea latifolia 241 3. ใบออกตรงก้นขา้ ม
หมายเหตุ ะ หลายชนิดนมื ื่อตดั พืชมีชันท่ีหอมเหมือนนา้ํ มันสน
Strychnos 897
(ดรู ูปวธิ านที 7) สุ Premna 834
Gmelina arborea 639
ลกั ษณะของ เบ Trewia nudiflora 747
(Nothapodytes foetida) 244
รปู วิธานท่ี 13 ะ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ (ยาว >30 ซม.) (Mallotus) น 314

1. ใบยาว <2 เท่าของความกว้าง (Broussonetia) 754
2. ก้านใบติดด้านหลงั ใบ (peltate)
Ricinus communis 687 3. ใบออกแบบสลับ
Macaranga726
Mallotus barbatus 731 4. เปลือกต้นมยี างขาว
Pterospermum acerifolium 138 Morus 753
Brownlowiaoeltata 147 Broussonetia 754
2. กา้ นใบติดทฐานใบ Ficus auriculata 788
Ficus fulva7874
Tectona grandis 631 Ficus hirta var. roxburghii 778
Dipterocarpus tuberculatus 190
sterculia ท่ น 78 4. ไม่มียางขาว
5. กา้ นใบมักติดดา้ นูหลงั ใบ
Trevesia 460 มักมตี ่อมและมนี ิายางสแี ดง
Hibiscus macrophyllus 110
Ficus auriculata 768

23

Mallotus '๖ น314 Neolitsea 665
Aleurites ทาoluccana 688 Lindera 666
Macaranga 72Q Urticaceae ™ น 345
5. ก้านใบติดทฐี่ านใบ (ยกเว้น Brownlowia) 2. เสน้ ใบทฐ่ี านยาว >2/3 ของความยาวใบ
ไมม่ ีต่อมหรอยางสีแดง
Cananga latifolia 30 3. ใบออกตึ รงกน้ ข้าม
Pterocymbium 132
Colona floribunda 152 Strychnos 607
Brownlowia peltata 147 (กา้ นใบติดค้านหลังใบ) Acer277
Berrya161
Eriolaena 144 Trewia nudiflora 747
Malvaceae - น109
Dipterocarpus tuberculatus 108 3. ใบออกสลับก้น
Nothapodytes foetida 244 (มตี อ่ มใส) Cryptocarya 679
Tetrameles nudiflora 453 Sterculiaceae รธ น77
Alangium 463 Tiliaceae™ น87
Palmaeรธ u 367 (ปาล์มพดั ) Tetrameles 453
Bauhinia 168
1. ใบรูปยาวแคบ หรอื รูปหอก ยาว >3 เท่าของความกว้าง Ficus™ น332
2. ใสน้ ใบขนานก้น', Zizyphus 288
Macaranga726
Dracaena 844 Mallotus™ *314
Pandanus 846 (ขอบใบเป็นซแี หลม) Aquilaria 685
Conifersรธ 374 Alangium 463
Ficus™ น332
2. เสน้ ใบสานกน้ Ulmaceae ๖323
Grewiaรธ น 89
Knema 645 รูปวิธานที่ 17 ะ เส้นใบด้านข้างตรงและขนานก้น
utsea salicifolia 662
Cinnamomum iners 670 1. เส้นใบข้างชดั เจน นูนทีด่ า้ นล่าง
Homonoia riparia 725
Phyllanthus 737 Dillenia 31
Urticaceaeรธ น 345 Dipterocarpus 96
Polyalthia ™ น 42
Salix842 Cyathocalyx 38
Cananga odorata 31
1. ใบรปู ต่าง ๆ ก้น Saurauia 89
Colona winitii149 Pometia pinnata 266
Pterospermum 135 Knema 646
Ficus Semicordata 787 Bridelia retusa 704
Bauhipia™^Qe 1. เส้นใมขู า้ งเลอื นลาง ชิดตดิ กน้
2. มีนายางสเี หลอื งหรอื ขาว
รปู วธิ านท่ี 15 ะ ก้านใบดีดท่หี ลงั ใบ (peltate)
Calophyllum 61 a
Pterospermum รธ น83 Alstonia594
Brownlowia peltata 147 Ficus™ น332
Picinus communis 687
Macaranga726 Garcinia ™ น 49
Mallotus™ น314 Sapotaceae 5ธ น242
Balakata baccatum 742 2. ไมม่ ยางขาว
Rapanea yunnanensis 535
รูปวิธานท่ี 16 ะ เส้นใบหลกั หลายเสน้ จากฐานใบ Aquilaria crassna 685
Syzygium cumini 428
(เสน้ ใบขนานกน้ แบบฝ่ามือหรอื 3 เสน้ ) Ardisia nervosa 533
Diospyros coatanea 564
1. เสน้ ใบทัง้ หมดขนานกบั เส้นใบหลกั
รปู วธิ านที่ 18 ะ เสน้ ใบดา้ นข้างเลอื นลางมาก
Dracaena 844
Pandanus 846 (ชใี บแหลม) 1. มยี างสีขาว
Garcinia ™ น49
Conifersรธ น374 Mesua ferrea 59
Ficus ™ '■332
1. เสน้ ใบขา้ งเลอื นลาง ชิดตดิ ก้น
2. เส้นใบท่ีฐานยาว 2/3 ของความยาวใบ 1. ไม่มียางขาว
Cinnamomum 668

24

Fagraea 605 (± ไม้เกาะอาศัย ใบอวบนา้ํ ) Nothapodytes foetida 244
Rutaceae 99 (ใบมกี ลนิ่ คล้ายสน)
Memecylon 438
Anneslea 86 Myrtaceae ‘ น193
Ternstroemia 81 Celtis 749
Syzygium รธ น194 Engelhardtia serrata 806

รูปวิธานท่ี 19 ะ ใบมเี กลด็ หรอื มีนวลสขี าว 4. ตอ่ มสเี ขม้
Carallia brachiata 388
1. ใบมเี กลด็ Ardisia ™ น238
2. เกล็ดสีออกเงนิ Rapanea yunnanensis 535
Combretum quadrangulare 400 (กงิ ก้านมสี ัน) Craibiodendron Stellaturn 516
Platea latifolia 241 Pavetta indica 501
Aglaia 228 (ใบแบบขนนก) prunus phaeosticta 382 & p. javanica383
Croton 710 Glyptopetalum sclerocarpum 258
Homonoia 725 Betula alnoides 897
2. เกลด็ สีนา้ํ ตาลอมสม้ IVlyrica esculenta 810

Rhododendron ห น 235 รปู วิธานท่ี 21 ะ มีขนรปู ดาว
Ardisiaรธ น 238
Heritiera กาacrophylla 134 ขนแต่กแขนงหรือเป็นแผง
1. ใบเด่ยี วออกแบบตรงกน้ ขา้ ม
1. ใบดา้ นล่างสอี อกขาวแต่ไม่มีเกล็ด
Anisoptera 91 Buddleja asiatica 604
Acer laurinum 277 Callicarpa arborea 632
Brownlowia147 Premna 634
Callicarpa 632 Lagerstroemia 202
MallotUS paniculatus 733 Trewia nudiflora 747
Fagaceaeไธ น 351 Viburnum 489
Knema 645 1. ใบเดยี่ วออกแบบสลับ
Mesua ferrea 59
Pterospermum รชิ น 83 Sterculiaceae - 77
Styrax 575 Alangium 463
(Trema orientalis 748 ) SoIanuทา verbascifolium 611
Schoutenia ovata 166 Croton 710
Homonoia riparia 725
รูปวิธานที่ 20 ะ ใบมีตอ่ ม Hydnocarpus 84
Mallotus ■•‘■314
1. ต่อมอยู่ที่ขอบใบ Malvaceae
Hiptage 180 Hopea odorata 102
Terminalia ท น187 Styrax benzoides 575
Ardisiaรธ น238 Tiliaceae ™ 87
Nothapodytes foetida 244
1. ตอ่ มอยูท่ ่ีก้านใบหรือท่ฐี านใบ รนทาbaviopsis albicans 889
Carpinus 898
Terminalia 5ชิ น187
Euphorbiaceae รธ น297 1 .ใบประกอบแบบขนนก
Gmelina arborea 630 Aglaia grandis 239 (ขนแตกแขนง)
Rosaceae378 Aphanamixis 231
Heterophragma 828
1. ต่อมอยบู่ นผวิ ใบ Lannea coromandelica 399
2. ตอ่ มขนาดใหญ่เหน็ ชัดเจน Litchi chinensis 271
3. ใบเดยว
รปู วธิ านท่ี 22 ะ ใบใกล้ร่วงสแี ดงสดหรอื สม้
Terminalia รธ น187
3. ใบประกอบแบบขนนก 1. ใบเดยี่ ว

Bignoniaceae 1ธ-น285 Elaeocarpaceae 94
Acanthus triphysa 202
Croton™ แ398
2. ต่อมเป็นเสน้ ขดี Acer277
Casearia 69 (เสน้ ขดี ใส) Shorea siamensis 105
Maesa™ น241 (เสน้ ขดิ เขม)
1. ใบประกอบใบยอ่ ย 3 ใบ
2. ตอ่ มเลก็ ๆ เป็นจุด
4. ตอ่ มใส Sandoricum koetjape 227

25

Bischofia javanica 701 Ficus รธ น332
1. ใบประกอบแบบขนนก Acronychia pedunculata 182
Carpinus 808
Canarium 214 Rapanea yunnanensis 535
Rhus 303 (Nyssa javanjca) 467*
Ailanthus triphysa 202 รปู วธานท่ี 26 ะ กงิ ก้านหนา้ ต้ดเป็นสันหรือเปน็

รูปวิธานที่ 23 ะ กา้ นใบหรอื กา้ นใบร่วม (rachis) สเี หลยี ม
Eurya nitida 88
มีปกี Archidendron clypearia 324
Combretum quadrangulare 400
1. ใบเดยี่ ว Labiataeรธ 11274
(Bignoniaceae) วธิ น 265
(Dillenia) ™ พ่ Duabanga grandiflora 452
1. ใบประกอบใบย่อย 3 ใบ หรอื แบบนว้ิ มือ Rauvolfia verticillata 588

Vitex™ น279 ลักษณะของดอก

1. ใบประกอบแบบขนนก รูปวธิ านท่ี 27 ะ ดอกออกติดกง่ิ หรอื ตดิ ลำดน้
Sambucus 472
Rhus chinensis 303 1. ดอกมกี ลบี ดอก
Harrisonia perforata 207 Saurauia 89 (สชิ มพู)
Zanthpxylum acanthopodium 198 Radermachera ignea 621 (สีส้ม)
Barringtonia 436
รปู วิธานท่ี 24 ะหูใบรูปร่างแปลก ๆ Polyaithia รชิ น42 (สีออกเขยี ว)
Goniothalamus 24 (สีออกเขยว)
1. หูใบระหวา่ งคใู่ บ (interpetiolar) Flacourtiaceae ห น53 (ขาวหรือออกเชยี ว)
มกจะเช่อื มตดิ กี ันเปน็ วง
Rubiaceae ™ น217 1. ดอกไมม่ ีกลีบดอก
Apocyanaceae ท ะ'257 Baccaurea 700
Carallia brachiata 388 Ficus ๖’น332
Fagraea 605 Antidesma 691
Palmaeวริ 367
1. หูใบเชื่อมตดิ กันเป็นคู่ Artocarpus 759
Urticaceaeรธ ,เ 345 Helicia 682
Phyllanthus 737
1. หใู บเช่ือมตดิ กับก้านใบ
Magnoliaceae 3ธ น33 รูปวธิ านที่ 28 ะ ดอกเปน็ ช่อแคบยาว (catkin)
Canarium 214
หรอื ดคู ล้ายแคบยาว
1. หใบแยกเป็นพู
Rosaceae""878 1. ใบเด่ียวออกตรงกันข้าม
Microcos163
Pterospermum วิธ น83 Crypteronia 481
Terminalia รธ น 187
1. หใู บดูคล้ายใบ Trewia nudiflora 747
2. หลดุ ร่วงไว (หูใบจรงิ ) 1.ใบเดยี่ วออกแบบสลับ
Picrasma "javanica 203 (ขนนกชนเดียว)
Albizia chinensis 323 (ขนนก 2 ชน) Terminalia ™ น187
2. ไม่หลดุ ร่วง (หใู บเทยี ม) Tetrameles 453
Mafionia nepalensis 39 Homonoia riparia 725
Pometia pinnata 266 Baccaurea 790,
Fernandoa adenophylla 616 Antidesmaรธ น2"
Markhamia stipulate 615 Aporosa 697
Fagaceaeรธ น 351
รปู วิธานท่ี 25 ะ ตาใบรปู กรวยแคบ Salix842
Betula 807
1. ตาดอกตรงกันข้าม Carpinus 808
Carallia bracteata 388 1. ใบประกอบแบบขนนก
Anthocephalus chinesis 481 Engelhardtia 805
Metadina trichtoma 487 Schleichera oleosa 289
Tarennoidea wallichii 503 (Pometia pinnata) 266
Bouea oppositifolia 289

1. ใบเรียงแบบสลบ้
Irvingia malayana 208
Magnoliaceaeรธ น 33

26

รปู วธิ านที่ 29 ะ ดอกใหญส่ ึขาวหรอื เหลอื ง (>5 ชม.) Wightia speciossisima 612
Prunus cerasoides 379
1. ดอกสขี าว Cassia™ น17°
Mesua ferrea 59 Anneslea fragrans 86
Dillenia indica 6 Euonymus 252
Magnoliaceaeรธ น 33 3. ดอกขนาดเลก็ (<2 ซม.)
Roihmannia sootepensis 509 Saurauia 89
Crateva 40 Vaccinium 514
Bauhiniaรธ น168 Ardisia น238
Duabanga grandiflora 452 Sterculia - 78
Bignoniaceae ธ *265 Her/tiera rgacrophylla 134
Eugenia megacarpa 421 รูปวธิ านท่ี 31 ะ ชนกลีบดอกไมส่ มมาตร
Fagraea ceilanica 605
Lagerstroemia รธ *220 1. ดอกแบบดอกถวั่
Zanthophyllum 198
Theaceaeรธ น 56
Papilionoideae ธ น178
Rhododendron รธ *235
Dolichandrone 618 1. ดอกมี 2 ปาก (bilabiate)
Millingtonia hortensis 627 Bignoniaceae ร- น 265
Labiatae รธ 4274
1. ดอกสเี หลอื ง Wightia speciosissima 612
Dillenia aurea 4, D.ovata 5
Polyalthiaรธ น 42 1. ดอกรูปแบบอน ๆ
Hibiscus 110 Caesalpinioideae key p
Cananga 30 Hiptage 180
(Eriolaenap44 Crateva 40
Fernandoa adenophylla 616 (Schima wallichii) 78
Markhamia stipulata 615 (Rhododendron) - น235
Gardenia sootepensis 505
(Ochpa integerrima) 209 รปู วธานที่ 32 ะ กลบี ดอกเปน็ ฝอยหรอื มีระบาย

รูปวธานที่ 30 ะ ดอกสีชมพู แดง หรอื ส้ม Elaeocarpaceae รธ น 94
Stereospermum fimbriatum 822
1(ขนาดตา่ ง, ๆ) Hiptage 180
Lagerstroemia loudonii 441
1. ดอกสแี ดงหรอื สม
2. ดอกขนาดใหญ่ (>5 ชม.) Euonymus 252
Bombax ceiba 114
Rhododendron 518 ลกั ชุ$นะของผล
Butea mgnosperma 355
2. ดอกขนาดเลก็ กวา่ (<5 ชม.) รปู วิธานที่ 33 ะ ผลมเี นอขนาดใหญ่ (>5 ซม.)
Firmiana colorata 130
Pterocymbium macranthum 132 รึ. ผลกลม
Erythrina 357 2. เบเดยวออกแบบสลบั
Acrocarpus fraxinifolius 332 Diospyros dasyphylla 565
Cratoxylum cochinchinense 48 Dillenia indica 8
Radermachera ignea 621 Artocarpus789
Sterculia pexa 122 2. ใบเดยวออกตรงกนั ขา้ ม

1. ดอกสีชมพู Strychnos nux-blanda 807
3. ดอกขนาดใหญ่ (>5 ชม.) Nauclea orientalis 482

Manglietiagarrettii14 Garcinia 49
Syzygium formosana 422 2. ใบประกอบใบยอ่ ย 3 ใบ

Lagerstroemia รธ น 22° Aegle marmelos 187
Hibiscus 110 Crateva 40
Dipterocarpus obtusifolius 99 Sandoricum koetjape 227
(Rhododendron) รธ *235 2. ใบประกอบแบบขนนก
3. ดอกขนาดกลาง (2-5 ซม.) Feronia limonia 188
Cratoxylum 47
Kydia calycina 109 1. ผลไมก่ ลม
Reevesia pubeseens 143 Syzygium megacarpum 421
Melochia umbel/ata^45 Mangifera 208 (มะม่วง)
Irvingia malayana 208
Fagraea ceilanica 805

27

รปู วธิ านทฺ ี่ 34 ะ ผลมปี ีกหรือเปน็ สนั กวา้ ง Zanthoxylum 197
Mischocarpus pentapetalus276
1. ใบเดยี่ วออกแบบตรงกนั ขา้ ม Bretschneidera sinensis 284
Acer277 Aesculus assamica 283
Combretaceae รธ 187 Euodia 189
Hiptage 180 Sisyrolepsis muricata 263b

1. ใบเดียวออกแบบสลับ 1. เมล็ดไมม่ ีปีก
Tiliaceaeรธ น 87 3. ใบเดีย่ ว (ส่วนใหญ่เรียงแบบสลับ)
Heritiera 134
Kydia109 Camellia รธ น 57
Ulmus 752
Holoptelea 751 Rutaceae รธ น297
Dipterocarpaceae * น64 Tetrameles nudiflora 209 (ใบเรยี งตรงกนั ข้าม)
Sloanea 171
1. ใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ Sterculia ™ u
Butea 355 Eriolaena 144
Euphorbiaceae รธ น297
1. ใบประกอบแบบขนนก Anthocephalus chinensis 481
Pterocarpus 360 Euonymus 252
Cassiaรธ น 170
Derris robusta 377 3. ใบประกอบแบบขนนก
Ailanthus triphysa 202
Arfeuillea arborescens 274 Meliaceae รธ น114
Engelhardtia 805 Sapinadaceae น131
Fraxinus 578
รปู วธิ านท่ี 37 ะ ผลประกอบ
รปู วธิ านท่ี 35 ะ ผลมีหนาม
1. ผลสด
Castanopsisรธ น351
Mallotus™ น314 Magnoliaceae 11 น33
Sindora siamensis 334 Morinda 489
Nephelium 263a
Sloanea 171 Nauclea orientalis 482
Ricinus communis 687
1. ผลแห้ง
รูปวธิ านที่ 36 ะ ผลสกุ แตกได้ (ไม่มปี ีก) Anthocephalus chinensis 481
Mitragyna 483
1. เมล็ดมปี กี Haldina cordifolia 480
2. ใบเดีย่ วเรยี งแบบสลับ Anogeissus 406
Gordonia dalglieshiana 79 Compositae 231
Schima wallichii 78 Artocarpus 761
Pterospermum รธ น 83 FicusJ*332
Pterygota alata 120
Tristaniopsis burmanica 434 รูปวธิ านท่ี 38 ะ เมลด็ มเี นอหรอื เอือหุ้ม (aril or
Eriolaena candollei144
Reevesia pubescens 143 sarcotesta)
2. ใบเด่ยี วเรยี งแบบตรงกันข้าม
1. เยอ่ื หุ้มสีแดงหรือสม้
Crypteronia paniculata 451
Lagerstroemia รธ น202 Sloanea 171
Lophopetalum wallichii 256 Meliaceae^ น1า4
Wendlandia 499 Myristicacae 645
Wightia speciosissima 612 Bhesa robusta 250 (เยอสเี หลีอง)
Hymenodictyon 478 Tabernaemontana 591
Euonymus 253 Euonymus 252
2. ใบประกอบแบบขนนก Glyptopetalum sclerocarpum 255
Harpullia 268
Bignoniaceaeรธ น 265 Arytera littoralis265
Schrebera swietenioides 579 Mischocarpus pentapetalus 244
Toona234 (Semecarpus cochinchinensis) 302
Chukrasia 232
Leguminosae รธ น156 เนอหอ่ หมุ้ คอ (hypocarp)

28 1. เยอื่ หุม้ สขี าวหรอื ไมม่ สี ี

Sapindaceae^ น131
Maytenus 251
Garciniaรธ น 49
Walsura 217
Trichilla 237

คม่ อิ ภาคสพฺ มฺ

สรปุ การจดั จันด้บของพชื ท่ีมที ่อลำเลียงที่ระบุในหนงั สอื น้ี

ใช้ระบบของ Bentham และ Hooker, (1863)

หนา หน้า

Division ANGIOSPERMAE Hippocastanaceae 139 Loganiaceae 261

Class DICOTYLEDONAE Bretschneideraceae 139 (Strychnaceae)

Sub-class Polypetalae Staphyleaceae 140 (Gentianaceae)

flowers mostly bisexual with both Sabiaceae 141 Buddlejaceae 261

calyx&corolla, petals usually free Anacardiaceae 142 Polemoniales

1. Thalamiflorae 3. Calyciflorae Boraginaceae 263

Ranales (=order) Rosales Solanales

Dilleniaceae 31 Leguminosae 155 Solanaceae 263

Magnoliaceae 33 Mimosoideae 157 Personales

Annonaceae 36 Caesalpinioideae 165 Scrophulariaceae 264

Berberidaceae 44 Papilionoideae 175 Bignoniaceae 265

Parietales Rosaceae 183 Lamiales

Capparaceae 45 Myrtales Labiatae 274

(Capparidaceae) Rhizophoraceae 186 (Verbenaceae)

Polygales Combretaceae 187 Subclass Monochlamydeae

Pittosporaceae 46 Myrtaceae 194 flowers usually unisexual, no corolla

Polygalaceae 47 Lecythidaceae 200 Laurales

Guttiferales Melastomataceae 201 Myristicaceae 282

Hypericaceae 48 Lythraceae 202 Lauraceae 285

Guttiferae 49 Passiflorales Daphnales

(Clusiaceae) Crypteroniaceae 207 Proteaceae 295

Flacourtiaceae 53 Sonneratiaceae 208 Thymelaeaceae 296

(Samydaceae) Datiscaceae 209 Euphorbiales

Theaceae 56 (Tetrameliaceae) Euphorbiaceae 297

(Ternstroemiaceae) Umbellales Urticales

Saurauiaceae 63 Araliaceae 210 Ulmaceae 323

(Actinidiaceae) Alangiaceae 213 Moraceae 325

Dipterocarpaceae 64 Comaceae 215 Urticaceae 345

Malvales (Nyssaceae) Quernales

Malvaceae 73 Sub-class Gamopetalae Juglandaceae 347
Bombacaceae
Sterculiaceae 75 flowers mostly bisexual with both Betulaceae 348
Tiliaceae
Elaeocarpaceae 77 calyx & corolla, petals fused in (Corylaceae)
2. Disciflorae
Geraniales 87 asymmetric corolla Myricaceae 350
Malpighiaceae
Rutaceae 94 Caprifoliales Fagaceae 350
Simaroubaceae
Irvingiaceae Caprifoliaceae 216 Amentales
Ochnaceae
Burseraceae Rubiaceae 217 Salicaceae 365
Meliaceae 98 Asterales
Olacales Class MONOCOWLEDONAE
Olacaceae
Icacinaceae 99 Compositae 231 Dracaenaceae 366
Aquifoliaceae
106 (Asteraceae) (Agavaceae)
Celastrales 109 Ericales
Pandanaceae 366
Celastraceae 110 Ericaceae 233 Palmae
Rhamnaceae 111 (Vacciniaceae) 367
Sapindales 114 Primulales
Sapindaceae (Arececeae)
Aceraceae Division GYMNOSPERMAE
Myrsinaceae 238 Class PINOPSIDA

123 Ebenales 242 Cephalotaxaceae 374
124
Sapotaceae
127 Podocarpaceae 375
(Sarcospermataceae)
245 Pinaceae 376
Ebenaceae
127
Symplocaceae 250 Class CYCADOPSIDA
130
Styracaceae 253 Cycadaceae 377

Gentianales Division PTERIDOPHYTA
131 Oleaceae
138 254 Cyatheaceae 378
257
Apocynaceae

30

DILLENIACEAE

Division ANGIOSPERMAE 1. ดอกขนาดใหญ่ (10-20 ขม.) ยล 3-10 ขม.

Class DICOTYLEDONAE 2. ดอกสขี าว ยล ธ-10 ขม. D.indica^
DILLENIACEAE
2. ดอกสีเหลอื ง ยล 3-0 ขม.
ประมาณ 300 ชนดิ สว่ นใหญพ่ บในเขต 3.ไมไ่ มย่ ลดั ใบ ดอกออกปลายกิง่ บนกา้ นส้ัน ๅ ยล ธ-ธ ขม. D.ovata 5
ศนู ยส์ ตู รของทวปี เอเชยี และออสเตรเลีย
ทางภาคเหนือของประเทศไทย พบ 1 สกุล 3.ไม้ยลดั ใบ ดอกออกตามขอกใบบนก้านยาว (5-12 ขม.) ยล 3-4 ขม.
6 ชนดิ ไม้ยืนด้นผลัดใบหรอื ไม่ผลัดใบ
ใบเด่ียวเรียงแบบสลับมักจะเป็นกลุ่มท่ี D.aurea4
ปลายกิ่ง เสน้ ใบท่อี อกข้างขนานกนั ไปจรด
1. ดอกขนาดเล็กกว่า1(2.5-5 ขม.) สเี หลอื ง ยล 1.5-25 ขม.
4. ดอกออกปลายกงิ่ มักเปนดอกเดย่ี ว หรอื ออกเปนคู่ ไมท้ มุ่ หรือไม้ตน้ ขนาดเล็ก

ใบ 17-25 X 7-10 ซม. ดอก q-5 ชม. เกสรตัวผู้ 8-10 มม. เกสรตัวเมีย

6-7 หน่วย ผล 2-2.5 ชม. พบที่ จ. พิษณุโลก ในที่แหง้ ๆ 'D.hookeri

ขอบใบที่ซใ่ี บ ดอกขนาดใหญส่ ีเหลืองหรอื 4. ดอกออกตามขอกใบ ขอ่ ล2! 2-7 ดอก
5. กา้ นดอกยาว 2.5-0 ขม. กลบี เล้ยี งด้านนอกไมม่ ีขน
ขาว มีเกสรตัวผู้มากมายเรียงเป็น 2 วง เกสร
ตัวเมียอยเู่ ป็นกลุ่มนนตรงกลาง ดอกบาน ใบแก่ด้านลา่ งเกล้ียง 1 D.pentagyna 3
ตอนเชา้ ตรู่ กลบี ทบอบบางจะหลดุ รว่ ง
อยา่ งรวดเรว็ เหลอื กลีบเล้ยี งท่ขี ยายตัวและ 5. ก้านดอก ยาว 0.5-3 ขม. กลีบเล้ยี งด้านนอกรขนคลาั ยไหม

ใบแกด่ า้ นล่างสาก D.parviflora 2

ปกคลมุ ผลในทส่ี ดุ

2Dillenia parviflora

ตา้ นหิง่ ตา้ นหนิ

ไม้ผลดั ใบสูงถึง 40 ม. เรือนยอดคอ่ นข้าง
โปร่ง มกี ิ่งหอ้ ยลงไม่มีระเบยี บ เปลอื กตน้
เรยี บลนี ํา้ ตาลออ่ น ใบ ยาว 15-25 ชม. แต่

ในตน้ ออ่ นม้กมีขนาดใหญม่ าก (ถึง 100

ชม.) รปู ไขก่ ลบั แคบ ปลายปา้ นค่อย ๆ สอบ
ท่โี คนยอดมขี นอ่อนปกคลุม ใบแก่มีขน

หยาบ ๆ เสน้ ใบขา้ งมี 22-35 คู่ กา้ นใบยาว
1-3.5 ชม. พองและแผอ่ อกโอบฐานของกง่ิ

ดอก สเี หลืองขนาด 3-5(6) ชม. ช่อละ 2-7
ดอก ออกบนก่ิงที่ไมม่ ีใบ ก้านดอก 0.5-3
ชม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบซ้อนกนั ด้านนอกมี

ขนคล้ายไหม กลีบคอก 5 กลีบ กลบี กลม

ฐานแคบ เกสรตัวผู้ 150-200 เรยี งเปน็ 2

วงยาว 11-14 มม. เกสรตัวเมยี 5-8 หนว่ ย

ผล 1.5-1.8 ซม. ลีเหลืองถึงสม้ ออ่ น ผลสด

ไมแ่ ตก หมายเหตุ พบทั่วไปในภาคเหนอื

ทัง้ ในป่าทึบและกง่ึ โลง่ แจง้ มี 2 สายพันธุ

kerriivar. มะตา้ นแคว้ง มขี นปกคลมุ
parvifloraเกสรตัวเมีย var.
ไม่มขี น

3Dillenia pentagyna

ๆรึ!ฟ้ๆ.รึ ส้ๆร1ึ รึ!ก!รเึ ส้า

คลา้ ยกับ D. parviflora แตใบยาว 20-50

31


Click to View FlipBook Version