The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

Keywords: กฎบัตรการตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กฎบัตรการตรวจสอบภายใน ฉบับนี้จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐาน และหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ. 2566 และหนังสือกรมบัญชีกลางที่ กค 0409.4/ว 47 ลว. 28 มกราคม 2564 เรื่อง การจัดทำกฎบัตร ของคณะกรรมการตรวจสอบและกฎบัตรของหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการปฏิบัติงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบและเข้าใจคำนิยาม วัตถุประสงค์ พันธกิจ สายการบังคับบัญชา การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ กระทรวงการคลังฯ อำนาจหน้าที่ ความอิสระและความเที่ยงธรรม ขอบเขตการตรวจสอบภายใน หน้าที่ความรับผิดชอบ การประกันและการปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายใน หน้าที่ความรับผิดชอบของ หน่วยรับตรวจ และกรอบคุณธรรมตรวจสอบภายใน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มตรวจสอบภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล จึงได้ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขกฎบัตรการตรวจสอบภายในขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การตรวจสอบ ภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐและการปฏิบัติงานในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยยกเลิกกฎบัตรการตรวจสอบภายใน ฉบับที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 และให้ใช้กฎบัตรการตรวจสอบภายในฉบับนี้แทน คำนิยาม “กฎบัตรการตรวจสอบภายใน” หมายความว่า เอกสารทางการที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อกำหนด วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของงานตรวจสอบภายใน ซึ่งกฎบัตรการตรวจสอบภายใน ต้องประกอบด้วย - สถานภาพของหน่วยงานตรวจสอบภายใน - สายการรายงาน ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในกับ หัวหน้าส่วนราชการและคณะกรรมการตรวจสอบ (ถ้ามี) - สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล บุคลากร และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ตรวจสอบภายใน - ขอบเขตการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน “การตรวจสอบภายใน” หมายความว่ากิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรม และเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายใน จะช่วยให้ส่วนราชการบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผล ของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ “งานบริการให้ความเชื่อมั่น” หมายความว่า เป็นการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ อย่างเที่ยงธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งการประเมินผลและให้ความเห็นหรือข้อสรุปอย่างเป็นอิสระในกระบวนงาน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลของส่วนราชการ เช่น การให้ความเชื่อมั่นทางด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบความมั่นคงปลอดภัยของระบบต่างๆ เป็นต้น /“งานบริการให้…


- 2 - “งานบริการให้คำปรึกษา” หมายความว่า การให้คำปรึกษา คำแนะนำและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยลักษณะงานและขอบเขตของงานจะจัดทำข้อตกลงร่วมกับผู้บริหาร และมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่า ให้กับส่วนราชการ โดยการปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยงการควบคุมและการกำกับดูแล ของส่วนราชการให้ดีขึ้น “มาตรฐานการตรวจสอบภายใน” หมายความว่า กรอบ/แนวทางการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน ของผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อให้มีผลการปฏิบัติงานที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพ ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 มาตรฐานด้านคุณสมบัติ เป็นมาตรฐานที่ระบุลักษณะของหน่วยงานและบุคลากร ที่จะปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน ส่วนที่ 2 มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน เป็นมาตรฐานที่ระบุลักษณะของหน่วยงาน ด้านการตรวจสอบภายในและบรรทัดฐานทางคุณภาพที่สามารถนำไปใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน “จรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน” หมายถึง แนวปฏิบัติและหลักปฏิบัติที่เป็นหลักการพื้นฐาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในพึงปฏิบัติกรอบความประพฤติที่ดีงาม อันที่จะนำมาซึ่งความเชื่อมั่น และให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรม เป็นอิสระเปี่ยมด้วยคุณภาพ “ส่วนราชการ” หมายความว่า กรมพัฒนาที่ดิน “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายความว่า อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน “หน่วยงานตรวจสอบภายใน” หมายความว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบการตรวจสอบภายในของ ส่วนราชการตามที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ “หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน” หมายความว่า ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน กรมพัฒนาที่ดิน “ผู้ตรวจสอบภายใน” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินให้ปฏิบัติงาน ตรวจสอบภายในของกรมพัฒนาที่ดิน “หน่วยรับตรวจ” หมายความว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของกรมพัฒนาที่ดิน 1. วัตถุประสงค์และพันธกิจ 1.1 วัตถุประสงค์ 1.1.1 เพื่อให้ความเชื่อมั่น และให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระเพื่อเพิ่มคุณค่าและ ปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้ดีขึ้น 1.1.2 เพื่อช่วยให้ส่วนราชการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมิน และเสนอแนะปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการกำกับดูแล การบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน ของส่วนราชการอย่างเป็นระบบ 1.2 พันธกิจ มุ่งเสริมสร้าง สนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงและ การควบคุมเพื่อให้การดำเนินงานของกรมพัฒนาที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและช่วยเพิ่มคุณค่า ให้กับหน่วยงาน 2. สายการบังคับบัญชา 2.1 กลุ่มตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน และไม่อาจมอบอำนาจในการปกครอง บังคับบัญชา และดูแลงานของผู้ตรวจสอบภายในให้ผู้อื่นได้ 2.2 ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายในเป็นผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มตรวจสอบภายใน /3. การปฏิบัติตาม...


- 3 - 3. การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังฯ กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมพัฒนาที่ดินปฏิบัติงานโดยยึดถือกรอบแนวทาง ดังนี้ 3.1 หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 3.1.1 มาตรฐานด้านคุณสมบัติ 3.1.2 มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน 3.1.3 หลักเกณฑ์การตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ 3.1.4 จรรยาบรรณการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ 3.2 คู่มือหรือแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในที่มิได้กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ กระทรวงการคลังฯ 3.3 หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 3.4 หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยง สำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562 3.5 หลักเกณฑ์การประเมินการประกันและปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายใน 4. อำนาจหน้าที่ 4.1 การตรวจสอบ สอบทาน ประเมิน และติดตามการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานในสังกัด กรมพัฒนาที่ดิน ภายใต้ขอบเขตของการตรวจสอบภายในที่กำหนด โดยมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลหลักฐาน ระบบงานทั้งที่เป็นเอกสารบนระบบอิเล็กทรอนิกส์สารสนเทศ ทรัพย์สินต่าง ๆ และบุคลากรของหน่วยงาน รวมถึงการขอคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และการเข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงาน ของกรมพัฒนาที่ดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบ 4.2 ติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานที่ได้รับการตรวจ เพื่อให้ การปรับปรุงแก้ไขไปสู่กระบวนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4.3 ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน การจัดทำหรือการแก้ไขระบบ การควบคุมภายในและแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหาร ที่เกี่ยวข้อง ผู้ตรวจสอบภายในเป็นเพียงผู้มีหน้าที่ประเมินและให้คำปรึกษาแนะนำ 4.4 ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในเฉพาะในส่วนที่ตนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะและ ประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเท่านั้น 4.5 การให้คำปรึกษา แนะนำ โดยยึดกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการข้อบังคับหนังสือ สั่งการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางราชการ 5. ความอิสระและความเที่ยงธรรม 5.1 กลุ่มตรวจสอบภายในต้องมีความเป็นอิสระ เที่ยงธรรม ปราศจากการแทรกแซงในการปฏิบัติงาน ตรวจสอบการกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานตรวจสอบ การรายงานผลการตรวจสอบ และการเสนอความเห็น ในการตรวจสอบ 5.2 ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการ นอกเหนือจากแผนการตรวจสอบที่อนุมัติแล้ว ทั้งนี้ งานดังกล่าวต้องเป็นงานในหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานตามแผน ไม่ใช่งานที่มีลักษณะเป็นงานประจำหรืองานตรวจก่อนจ่ายและ ไม่ทำให้ผู้ตรวจสอบภายในขาดความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมที่ตรวจสอบ /5.3 ผู้ตรวจสอบ…


- 4 - 5.3 ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติงานตรวจสอบด้วยความสำนึกรับผิดชอบ ไม่เรียกรับผลประโยชน์ และไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือสร้างความสัมพันธ์ใด ๆ ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะทำให้เกิด ความอคติ ลำเอียง จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างเที่ยงธรรม 5.4 ผู้ตรวจสอบภายในต้องเปิดเผยหรือรายงานข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญทั้งหมดที่ตรวจพบ ซึ่งหากละเว้นไม่เปิดเผยหรือไม่รายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว อาจจะทำให้รายงานบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง 5.5 ผู้ตรวจสอบภายในต้องไม่เป็นกรรมการในคณะกรรมการใดๆ เพื่อพิจารณาตัดสินการกระทำความผิด ซึ่งมีผลทางกฎหมายและส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ 6. ขอบเขตของการตรวจสอบภายใน การปฏิบัติงานตามประเภท/ลักษณะของการตรวจสอบภายใน 6.1 งานบริการให้ความเชื่อมั่น เป็นการตรวจสอบ วิเคราะห์เอกสารหลักฐานต่าง ๆ การดำเนินงาน ที่เกี่ยวกับกิจกรรม/โครงการของส่วนราชการตามแผนการตรวจสอบประจำปี เพื่อให้ได้มาซึ่งการประเมินผล ความเพียงพอ เหมาะสม รัดกุม ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของกระบวนการกำกับดูแล การบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมของส่วนราชการ รวมถึงความประหยัดและคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรพร้อมข้อเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ 6.1.1 การตรวจสอบการเงิน เป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสม และ เชื่อถือได้ของระบบบัญชีและการเงิน ข้อมูลการเงิน การบัญชีและรายงานการเงินของส่วนราชการ รวมถึง การปฏิบัติงานตามมาตฐานการบัญชี นโยบายผังบัญชีและกฎระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง 6.1.2 การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบ เป็นการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ของทางราชการ ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล ทั้งจากภายในและภายนอก รวมถึงมาตรฐาน/แนวปฏิบัติ นโยบายที่เกี่ยวข้อง 6.1.3 การตรวจสอบการดำเนินงานเป็นการตรวจสอบความประหยัด ความมีประสิทธิผล ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของกิจกรรมที่ตรวจสอบว่าสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด หรือไม่ 6.1.4 การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการประเมินความเสี่ยง และการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การปกป้องและรักษาทรัพย์สิน การรักษาความลับ 6.2 งานบริการให้คำปรึกษา เป็นการบริการให้คำปรึกษาแนะนำต่อผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ของส่วนราชการ เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน ซึ่งเป้าหมายการให้บริการมีทั้งในรูปแบบคลินิกเคลื่อนที่ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื้อหาการปรึกษามุ่งเน้นระบบการควบคุมภายใน และการปรับปรุงพัฒนาระบบ การควบคุมภายใน การบริหารจัดการความเสี่ยง การกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 7. หน้าที่ความรับผิดชอบ 7.1 กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน เพื่อสนับสนุนการบริหารงานและ การดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายกรมพัฒนาที่ดิน โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพของ การบริหารจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายใน และกำกับดูแลของส่วนราชการ 7.2 จัดทำรายงานผลการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบประจำปีให้เป็นไปตามมาตรฐานของ การตรวจสอบภายใน และแนวทางการประกันคุณภาพการตรวจสอบภาครัฐ คู่มือ/แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายใน 7.3 ประสานงานกับหน่วยรับตรวจ ผู้ตรวจสอบภายในระดับกระทรวง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในบรรลุเป้าหมาย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ /7.4 จัดทำและ…


- 5 - 7.4 จัดทำและสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง พร้อมเสนอหัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานทราบ 7.5 จัดทำและเสนอแผนการตรวจสอบระยะยาวตามรอบระยะเวลา แผนการตรวจสอบประจำปี ต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณหรือปีปฏิทิน ซึ่งรวมถึง การปรับปรุงแผนการตรวจสอบระหว่างปีด้วย 7.6 ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติโดยนำนวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้และมาสนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมจัดทำและเสนอ รายงานผลการตรวจสอบของงานบริการให้ความเชื่อมั่นและรายงานผลการบริการให้คำปรึกษาโดยตรงต่อหัวหน้า ส่วนราชการ ภายในเวลาอันควรหรืออย่างน้อยทุกสองเดือนนับจากวันที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน และกรณี เป็นเรื่องที่มีผลเสียหายให้รายงานผลทันทีรวมถึงการรายงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงและ การควบคุมภายใน 7.7 ติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานที่ได้รับการตรวจ เพื่อให้ การปรับปรุงแก้ไขเป็นไปตามข้อเสนอแนะที่กำหนดในคู่มือ/นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน 7.8 รายงานความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน โดยจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน ตามแผนการตรวจสอบประจำปีเป็นระยะ ๆ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อปีเสนอโดยตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ 7.9 จัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบประจำปี (รายงานประจำปี) เสนอ รายงานโดยตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการพร้อมเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบในรูปแบบ e-book ในเว็บไซต์ หน่วยงาน ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณถัดไป 7.10 พัฒนางานตรวจสอบภายในอย่างต่อเนื่องทั้งระบบงานตรวจสอบและบุคลากรขององค์กร และมีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับการพัฒนาให้ทราบกันอย่างทั่วถึง รวมถึงนำนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ มาสนับสนุนการปฏิบัติงานตรวจสอบ 7.11 กรณีมีความจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาร่วมปฏิบัติงานตรวจสอบ สามารถเสนอ ร่างขอบเขตงาน รวมทั้งข้อเสนอโครงการของผู้รับจ้างให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาอนุมัติว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ 8. การประกันและการปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมพัฒนาที่ดิน จัดให้มีการประกันและการปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบ ภายในตามรูปแบบ วิธีการ รอบระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด ประกอบด้วย 8.1 การประเมินภายในองค์กรดำเนินการเป็นประจำทุกปีด้วยวิธีการ 2 รูปแบบ ได้แก่ 8.1.1 การติดตามประเมินผลระหว่างดำเนินงานตามรูปแบบ วิธีการ และรอบระยะเวลาที่ ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายในกำหนด 8.1.2 การประเมินตนเองเป็นระยะ โดยผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายในหรือทีมผู้ตรวจสอบภายใน ที่ได้รับมอบหมายตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 8.2 การประเมินภายนอกองค์กร ดำเนินการโดยบุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นผู้ประเมินจากภายนอกที่มีความสามารถและ มีความอิสระตามระยะเวลา รูปแบบ หลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด 9. หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ 9.1 หน่วยรับตรวจต้องอำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจสอบภายใน 9.2 หน่วยรับตรวจต้องจัดให้มีระบบการเก็บเอกสารในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและครบถ้วน /9.3 หน่วยรับตรวจ...


- b - ~- m V1u1 c.J'f LJ~11"iJl?l e:i..:i~ ~ b~~ tJlJ11tJ{;l ~ b5 tJ~ bbe..J'U..:J 1'U 1m..:i m1 ~i;i e:i~"il'Ube:J m111Vl° b~ tJ1.LJ' e:i..:i him1LJnu~..:i1'U ~-~ V1u1 tJ'fLJ~11:ul?l e:i..:i~1m1ti~bb"il..:Jbb(;l~~e:iLJ"lle:i-B'mnlJ~ 1..:i 1 'W~e:ilJ~..:iV11.LJ'e:i~m-w'm~lJL ~ bbn e'.Jm1"iJ~e:i'lJJ11tJ1 'U 'U ~.er V1u1tJfLJm1:u~e:i..:iLJ5iMmlJ-LJ'e:i~nvh..:i bb(;l~.vm~'Limb'U~"lJe:i..:i~~11"iJ~e:i'lJJ11tJ1'LI1'Lib~e:i..:i~1..:i 1 vi~1V1i!16'i1'U116llm1i..:i1~LJ5u~ mrub~1V1i!1vi"lJe:i..:iV1'ti1t!fLJ~11"ilm~vhm1:u..:i1"ilhi'\.Jfiu~V!~e:ii;i~bi;it!~e:i m1'\.Jiju~V1i!1vilil..:i nci 11 ~~11:u~e:iLJJl1 tJ L 'U11 t!..:i1'U~1V1i!1?i1'U116llm1~1lJ~lJF111 bbn mru @o. ndeJ'UFlW511l.JnT:i~11~~eJ'lJ.f11~b'U • @)0.@) e:r~11"iJ~e:iLJmt! 1 'LI bi~1m1tif rn~1m1 L 'U~1bb V!'W ..:i~'U L 'U"llru~b~ mn'U 1~ bb(;l~~ e:i..:i bi ii m1lJ-LJ' ~bbc!..:i 'U YJ1..:ie..ii;iLJ1~ 1tJ6lJ'U1 'Un :um1lJ~ ~11"iJ~e:irnbi;i~ 1 ~Fl11lJbFl11'W~ti'lJ~'4'Um1LJfiu~ ~11.ln!JV!mtJ 1~bti tJ'lJ .v e:iu ..:iri''lJ bb(;l~"iJ11mLJ11rum1~11"iJ~e:iumCJ 1 'LI @)0.tv ~ ~11:u~e:i'lJJ11tJ L'Uhi'\.J1~ bli'Um1l.J b~ tJ..:i1 'U..:i1'U~ ~'U bFlt!iiVlil 1Vl° f LJ ~ ~6lle:iLJlJ1n e:i'UJ11t! 1 'LI 'U 1~tJ~nm @) tJ V1~e:i..:i1'Uvi:u~vh1~"ll1~m1mlJ'Ua~1~bvitJ..:i511l.J b~e:i..:i:u1mn~m1l.l~l.J~'UITT'U~'\.Jbb'lJLJ~1..:i 1 @)0. m ~ ~ 11"iJ~e:i'lJJl1tJ1 'Ul?l e:i..:i'\.J;; u~ ..:i 1'U ~ 1 CJ Fi11l.J ~ J11'Wbu'UiiI')1 tJ e:ilJ f LJ'W ..:iFJ11lJ fi ~ b t'.1 'U bb(;i::: 'U 6.J ' 11tJ..:J1'Ue..J(;lfl11'\.Jijtm..:J1'U ml.l-V'e:i b -vi:u "il~..:J eJ'Ub lJ'U~ 1~6111"1qi1~ tJ 1llu~ b {j e:J'U @)0.~ :u11t!1LJ11rum1m1:u~e:i'lJmtJ1 'LI ~ ~11"iJ~e:iLJJ11 tJL 'U ~~ii e:i'\11~ n'\.Jiju&i1 'U"iJ11tJ1LJ11run11'\.Jfiu~ ..:i1'U~11"iJ~e:i'lJJ11CJ1 'LI b lJ'LIVI~ n~'U~1'U L 'U m1'\.Jiju~ V1i!1vi 1~tJ 1 -rr 1l1'qi611\1 n bb(;i ~1:u 11ruqi1 rueYm V1l.J :::~l.J b~ tJ1 nLJFJ11l.li'.i ~~~'LI ~~'UFl..:i m1lJb vitJ..:i511l.J m1f mnm1lJ~'lJ bbi;i:::m1lJ~1lJ11tiL 'Um1'\.Jfiu~V1i!1~ b~ mll'LIV1~n'\.J1:::n'LI m1l.l~'U h~e:i11rum'W"lle:i..:i..:i1'Um1"il~e:iLJmtJ L 'U 1~tJ-W..:i8~~mbi;i~IP111..:i 11zj..:iV1~n'\.Jiju~ lil..:i~e:i 1 LJd @)0.~.@) Fl11l.lzje:i«~ c1 (Integrity) Fl11l.lzje:i«~J "lle:i..:i~~11"il~e:J'lJJ11tJL 'U"il~~~1..:i1 ~ bn~ FJ11l.J 1111..:i hbbi;i:::vh 1 ~~i;i tJoWtJ"il"lJe:i..:ier~11"il~e:iLJmtJ 1 'Liiim1l.l'W1bzje:i~e:i bb{;i~tJe:il.Jfo"iJ1nLJFJFli;i~11 '\.J ' 'U ' @)0 . ~-Iv Fl11l.J b ;;{ tJ..:J 5111.J (Objectivity) tJ:' ~ 11 "iJ ~ e:J'lJ J11 CJ L 'U "iJ ~ bb~ ~..:i Fl11l.J b Vl0 CJ..:J 5111.J b~tJ..:ierLJ1~ne:iLJ16lJ1:fi'W L 'Um111LJ11l.l-V'e:il.li;i '\.J1:::bli'Ue..ii;i bbi;i:::11tJ..:i1'Ue..ii;i~1tJFi11l.J1ll~1 b~tJ..:i e'.Jm1:u~e:iLJJ11tJ 1 'LI 'U 'U 'U ~e:i..:iv\'1V1i!1viLJ1~bli'Lie:icJ1..:iblJ'U511l.JL'LIYln 61 ~m'Um1ru bbi;i~bi'\.Jcie:itJ1~m l.l~~n?i1'U~1 V1~e:im1l.l~~n\1n?1~ , I \.I "' "llB..:J~FlFl(;l~'Ub .V1miiaYJ6'Wi;i b VltJ e:i m1'\.JijtY~..:i1'U @)o.~.mm1ll~Fi11l.l~LJ (Confidentiality) tr~11:u~e:iLJJ11t!L'U:u~bm1'WL'UFiruri1 bb(;l~~Yl5 'U ' "lJe:i..:itr 'U b lJ'LI b ~1"/Je:i..:i-V' e:il.Ji;ivi1~fLJYJ11LJ"iJ1nm1'\.Jnu~..:i1'U '\J '6.J bb(;l~ 1ll b ll~be..i t!-V'e:il.li;ilil..:inci111~tJ \I 1ll1~f LJe:i'U , un~:u1n IV ~viiie11'U1:uV1i!1vil~tJ~1..:ib~tJne:i'U tJm1'LI 1 'Limruviii~'LI5~ L 'Ubb~"lle:i..:i..:i1'Um:fi'W bb(;l~b~m.Ve:i..:inLJn!JVlmmvhif 'LI @)O ~. ~ Fl11l.l~1lJ11ti L 'UV!U 1vi (Competency) ~ m1"il~e:J'lJ.!l1CJ L 'U"il:::tl1Fl11l.Ji ~ n~~ bbi;i::: '\.J1~~LJm1rum 1 .ffLJiju~..:i1'Ue:icJ1..:ib~l.Jvi n!Jumm1m1"il~e:iLJmtJ L 'UuuLJtl ii~i;iu..:iri'LJ 1 i~..:ibb~u~tlb lJ'LI~'U 1 '\.J 1 l>----- b~'U6lle:J'lJ 1~ tJ ................................................. . ( 'U1CJ'\.J111l.JYlcJ CJ1h ) e:i5'lJ~ndl.J~l9ll'U1Vi~'U 'W~l"l~fl1tJ'U ®<tbb


Click to View FlipBook Version