The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iberzerk_satit, 2021-08-25 04:16:55

เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงอย่างถูกต้องเหมาะสม

ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2564

6. การจดั การหลังการเกบ็ เกี่ยวถ่ัวลสิ ง

ธีระรัตน์ ชณิ แสน

ความสาคญั
นอกจากการใช้วธิ ีการปลูกถั่วลิสงอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพแล้ว การคงคณุ ภาพผลผลิตถั่วลิสงภายหลังการเก็บ

เกี่ยวย่อมมีความสาคัญเช่นกัน ประกอบกับเมล็ดถั่วลิสงมีปริมาณไขมันเป็นองค์ประกอบสูง ประมาณ 44-56
เปอรเ์ ซ็นต์ จึงส่งผลให้มีอายุการเก็บรกั ษาสั้น (Hassan and Ahmed, 2012) ดังน้ัน การจัดการหลังการเกบ็ เกี่ยว
ถ่ัวลิสงจึงเข้ามามีบทบาทต่อการควบคุมคุณภาพผลผลิตถั่วลิสง ขณะเดียวกัน ด้วยการใช้ประโยชน์จากถ่ัวสิลง
ตามวัตถุประสงค์ท่ีแตกต่างกันจึงส่งผลให้การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวถ่ัวลิสงต้องดาเนินการตามลักษณะการใช้
ประโยชนน์ ั้น ๆ

วิธกี ารลดความชนื้ ฝกั ถว่ั ลสิ ง
การลดความช้ืนฝักถ่ัวลิสงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฝักถั่วลิสงมคี วามชื้นลดลง สามารถคงคุณภาพถัว่ ลิสงหลัง

การเกบ็ เกยี่ วได้ โดยสามารถเลือกดาเนนิ การได้ตามความเหมาะสม เช่น
การตากแดด
การลดความช้ืนด้วยการตากแดดเป็นวิธีการลดความช้ืนที่นิยมปฏิบัติ เนื่องจากสามารถดาเนินการได้

สะดวก ไม่มีต้นทุนสาหรับแหล่งพลังงาน ดาเนินการได้โดยตากถั่วลิสงสดทั้งฝักบนวัสดุรองรับ เชน ผ้าใบ ตาข่าย
ไนลอนชนิดตาถี่ หรือแครไม้ไผ่ (หรือโครงสร้างท่ียกพ้ืนสูง) เพื่อลดการสัมผัสกับดินซึ่งอาจเป็นแหล่งของเช้ือโรค
หรอื ความชื้นที่อาจสร้างความเสยี หายแก่ฝกั ถวั่ ลิสงได้ และไม่ควรตากฝักถัว่ ลิสงบนพื้นโดยตรง (ภาพท่ี 6.1ก) ทัง้ นี้
เพื่อช่วยระบายความช้ืนระหว่างฝักถั่วลิสงกับบรรยากาศภายนอก ดังน้ัน ควรตากฝักถ่ัวให้มีความหนาของกองไม่
เกิน 5 เซนตเิ มตร และควรพลกิ กลบั กองวันละ 2-3 คร้ัง โดยควรลดความชนื้ ประมาณ 3-5 วนั กระท่งั เมล็ดถ่วั ลิสง
มีความช้ืนไม่เกิน 9 เปอร์เซ็นต์ ท้ังนี้ การลดความช้ืนด้วยการตากแดดสามารถจาแนกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ (1)
กรณีที่ฝักถ่ัวลิสงผ่านการตากแดดก่อนปลิดฝัก ให้ตากฝักถั่วลิสงต่อจนเมล็ดมีความช้ืนไม่เกิน 12 เปอร์เซ็นต์
ภายใน 2 วัน และไม่เกิน 9 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 5 วนั และ (2) กรณีที่ปลิดฝักทันทีหลังถอน ให้ตากแดดจนเมล็ดมี
ความชนื้ ไม่เกิน 12 เปอร์เซน็ ต์ ภายใน 4 วนั และไม่เกนิ 9 เปอรเ์ ซน็ ต์ ภายใน 7 วนั ทัง้ นี้ สามารถประเมินวา่ เมล็ด
ถ่ัวลิสงท่ีลดความช้ืนแล้วมีความช้ืนอยู่ในระดับใดได้จาก การวัดความชื้นด้วยการใช้เครื่องวัดความช้ืนเมล็ดพันธุ์
(ภาพที่ 6.1ข) หรือเกษตรกรสามารถตรวจสอบเบ้ืองต้นได้จากลักษณะฝัก โดยเมื่อเขย่าฝักจะมีเสียงเมล็ดกระทบ
กับฝกั ซึ่งแสดงให้เหน็ วา่ เมล็ดถัว่ ลิสงแห้งแลว้ (สานกั งานมาตรฐานสนิ คา้ เกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553)

45

(ก (ข)
ภาพที่ 6.1 การตากฝกั ถวั่ ลสิ งบนพ้ืนคอนกรีตโดยตรงแ)ละความสงู ของกองฝักถว่ั ลิสงสงู เกินไป

ซง่ึ เป็นวิธที ่ีไมค่ วรปฏิบัติ (ก) เครื่องวดั ความชืน้ เมลด็ พนั ธ์ุ (ข)
ทม่ี า: ภาพท่ี 2-ข นานากาเด้น (2563)

เครอ่ื งลดความชน้ื
ดว้ ยเทคโนโลยีและนวตั กรรมทีท่ ันสมัยส่งผลให้ในปัจจุบันมีเครอ่ื งลดความช้ืนหลากหลายรูปแบบถูกสร้าง
หรอื ประดษิ ฐ์ขน้ึ มาให้เลอื กใช้ สาหรับเครอ่ื งลดความชน้ื ที่นามาใชก้ ับถัว่ ลิสง เชน่
1. เคร่ืองอบแห้งแบบกระบะสลับทิศทางลมร้อนสาหรับลดความช้ืนฝักถั่วลิสง โดยใช้ลมร้อนท่ีอุณหภูมิ
50 องศาเซลเซียส นาน 20 ชั่วโมง เปิดสลับทิศทางลมรอ้ นบนและล่างทุก ๆ 2 ชั่วโมง ท่ีความหนาของชั้นถั่วลิสง
20 เซนติเมตร สามารถลดความชื้นฝักถ่ัวลิสงพันธุ์ไทนาน 9 จากความชื้นเริ่มต้น 25.9 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 6.7
เปอร์เซ็นต์ หลังการลดความช้ืนนาน 20 ช่ัวโมง เม่ือทดสอบคุณภาพพบว่า มีความงอก 80 เปอร์เซ็นต์ การลด
ความชื้นด้วยเครื่องดังกล่าวนี้ สามารถนามาปฏิบัติได้ในช่วงฤดูฝนท่ีบรรยากาศมีความชื้นสูง (วุฒิพล และคณะ,
2560)
2. เครื่องลดความชื้นชนิดลมร้อน สามารถลดความช้ืนเมล็ดถ่ัวลิสงจาก 25 – 27 เปอร์เซ็นต์ ให้เหลือ
ประมาณ 6 – 7 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 24 ช่ัวโมง สาหรับการบรรจเุ มล็ดถ่ัวลิสงในถังหนา 60 เซนติเมตร และ
36 ชว่ั โมง เมอ่ื บรรจเุ มลด็ ในถังอบหนา 80 เซนตเิ มตร (เบญจมาภรณ์, 2543)
3. เครื่องอบไอร้อน โดยอบฝกถั่วลิสงด้วยไอร้อนท่ีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส นาน
2-3 วัน กระทั่งเมล็ดถ่ัวลิสงมีความช้ืนไม่เกิน 9 เปอรเ์ ซ็นต์ (สานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ,
2553)
การจัดการหลังการเกบ็ เก่ยี วถัว่ ลิสงตามการใชป้ ระโยชน์
เน่ืองจากการใช้ประโยชน์จากถั่วลิสงมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันตามการใช้งาน ดังนั้น เพ่ือคงคุณภาพ
ผลผลติ ของถ่ัวลสิ งจงึ ควรดาเนนิ การจัดการหลงั การเกบ็ เกยี่ วโดยจาแนกตามการใชป้ ระโยชน์ ดังนี้

46

สาหรับจาหนา่ ย
ผผู้ ลิตถัว่ ลสิ งหรอื เกษตรกรสามารถจาหนา่ ยถ่ัวลิสงใหแ้ กพ่ อ่ ค้าคนกลางหรอื ผู้บรโิ ภคใน 2 ลกั ษณะ ไดแ้ ก่
1. ฝักสด ถ่ัวลิสงสาหรับบริโภคฝักสด (หรือฝักต้ม) หลังการเก็บเก่ียวเกษตรกรสามารถล้างทาความ
สะอาดเพ่ือให้ฝักสะอาดได้ จากน้ันจึงบรรจุในภาชนะที่สะอาด ระบายอากาศได้ดี เช่น กระสอบป่าน กระสอบตา
ข่าย เป็นต้น เพอ่ื คุณภาพและรสชาติที่ดี รวมถึงช่วยลดการเข้าทาลายของเชื้อราต้องนาส่งถั่วลสิ งฝักสดยังตลาดรับ
ซ้ือหรือพ่อค้าคนกลางภายใน 24 ชั่วโมง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2557) ท้ังน้ี พันธุ์ถั่วลิสงฝักสดที่เป็นท่ีนิยม
บริโภคอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ พันธ์ุกาฬสินธุ์ 2 หรือท่ีรู้จักในชื่ออื่น เช่น ถั่วลายเสือ ถ่ัวราชินี เป็นต้น ทั้งน้ี
นอกจากถวั่ ลิสงพันธ์ุกาฬสินธ์ุ 2 จะบรโิ ภคในรปู แบบของฝักต้มแล้วในเขตจังหวดั แมฮ่ อ่ งสอนยังแปรรูปถวั่ ลิสงพันธุ์
กาฬสินธ์ุ 2 ในรูปแบบถัว่ ลสิ งคว่ั ซ่ึงเป็นผลิตภณั ฑท์ ี่สร้างชื่อเสียงให้แกพ่ ืน้ ที่ผลติ ถัว่ ลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ในเขตพ้ืนท่ี
ดงั กล่าว
2. ฝักแห้ง สาหรับการจัดการเพื่อผลิตถั่วลิสงฝักแห้ง หลังการเก็บเก่ียวให้เลือกลดความช้ืนตามกรรมวิธี
การลดความช้ืนตามท่ีกล่าวมาแล้วข้างต้นซ่ึงภายหลังการลดความชื้นเมล็ดถ่ัวลิสงควรมีความช้ืนประมาณ 9
เปอร์เซ็นต์ ท้ังน้ี ในบางกรณีอาจไม่สามารถลดความชื้นด้วยการตาดแดดโดยตรงหรือไม่มีเครื่องมือเครื่องจักร
สาหรบั การลดความชนื้ เช่น ในช่วงฤดฝู นที่มฝี นตกหรืออากาศมคี วามชื้นสงู การลดความชื้นด้วยการระบายอากาศ
จึงสามารถนามาปฏิบัติเพื่อลดข้อจากัดดังกล่าวได้ด้วยการผ่ึงฝักถั่วลิสงบนภาชนะที่สะอาดเช่นเดียวกับการตาก
แดดแต่เปลี่ยนสถานที่ตากจากพ้ืนที่โล่งแจ้งเป็นพ้ืนที่ร่มมีหลังคา ป้องกันความชื้นจากน้าฝนได้ และควรมีพัดลม
เพ่ือช่วยให้อากาศระบายได้อย่างต่อเน่ือง เม่ือถ่ัวลิสงมีระดับความช้ืนที่เหมาะสมจึงบรรจุในภาชนะท่ีสะอาด
สามารถระบายอากาศได้ดี เช่น กระสอบป่าน กระสอบตาข่าย เป็นต้น จากนั้น จึงส่งจาหน่ายหรือเก็บรักษา
(กลา่ วในลาดบั ตอ่ ไป) เพื่อรอจาหน่ายในลาดับตอ่ ไป

สาหรับเพาะปลูก (เมลด็ พันธุ์)
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวถ่ัวลิสงเพ่ือใช้สาหรับการเพาะปลูกหรือผลิตเมล็ดพันธุถั่วลิสง ภายหลังการ
เก็บเก่ียวนั้นมีการดาเนินการเช่นเดียวกับการผลิตถ่ัวลิสงฝักแห้ง เพียงแต่การจัดการต้องมีความเอาใจใส่มากขึ้น
เพราะเมล็ดถ่ังลิสงท่ีได้ต้องยังคงมีชีวิตและคงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วยเช่นกัน ดังน้ัน ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว
ระหว่างการลดความช้ืน และระหว่างการเก็บรักษา เกษตรกรจะต้องเอาใจใส่ระหว่างการปฏิบัติ ด้วยการ
ตรวจสอบพันธ์ุปนก่อนการเก็บเกี่ยว รวมถึงเลือกเก็บเกี่ยวเฉพาะต้นถั่วลิสงที่แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงเข้า
ทาลายเพราะเชื้อโรคบางชนิด (โดยเฉพาะโรคท่ีมีสาเหตุจากเชื้อรา) สามารถตดิ กับเมล็ด (seed borne) ได้ (ภาพ
ที่ 6.2) เช่น โรคเมลด็ เน่าก่อนงอก โรคเมล็ดด่าง เป็นตน้ (โสภณ, 2545) โดยเชื้อโรคเหล่านี้จะเข้าทาลายฝักถ่ัวลิสง
ก่อนการเก็บเกี่ยว หลังการถอนต้นถั่วลิสงควรเลือกเฉพาะฝักท่ีสมบูรณ์ ฝักแก่เต็มท่ี ไม่พบการเข้าทาลายของโรค
และแมลง (ภาพที่ 6.3) สาหรบั การลดความช้นื ในขัน้ ตอนต่อไป

47

การลดความชื้นต้องเลือกใช้วธิ ีการลดความช้ืนท่ีสง่ ผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธ์ุน้อยท่ีสุดกล่าวคอื แม้
ถ่ัวลิสงจะมีฝักถ่ัวท่ีสามารถลดความรุนแรงของแสงแดดระหว่างการลดความช้ืนด้วยการตากแดดได้ แต่หาก
อุณหภูมิระหว่างการลดความช้ืนมากกว่า 45 องศาเซลเซียส ควรลดความรุนแรงของแสงแดดหรืออุณหภูมิที่สูง
ด้วยการพรางแสงโดยวัสดุพรางแสงชนิดต่าง ๆ เช่น ตาข่ายพรางแสง หรือเลือกใช้การผ่ึงในท่ีร่ม อย่างไรก็ตาม
การลดความชน้ื ท้ังฝักยงั อาจสง่ ผลกระทบให้การลดความช้ืนต้องใช้ระยะเวลาทยี่ าวนานขึ้นเม่ือเปรียบเทียบกบั การ
ลดความช้ืนในพืชบางชนิดท่ีสามารถลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ได้โดยตรงซ่ึงช่วงระยะเวลาการลดความช้ืนที่ยาวนาน
ขึน้ อาจเป็นเหตใุ ห้โรคและแมลงเข้าทาลายฝักถ่ัวลิสงได้เชน่ เดยี วกัน ทงั้ นี้ หลังการลดความชื้นเมล็ดพนั ธุ์ถั่วลสิ งควร
มคี วามช้ืนระหวา่ ง 7-8 เปอร์เซน็ ต์ ขณะเดยี วกัน หากเมลด็ พันธ์ุถ่ัวลสิ งมีความชน้ื ตา่ เกินไปจะส่งผลตอ่ ความมีชีวิต
ของเมลด็ พนั ธุ์ดว้ ยเชน่ กนั (ธรรมศกั ดิ์, 2552)

ด้วยเมล็ดพันธ์ุถั่วลิสงมีน้ามันเป็นองค์ประกอบสูง ประมาณ 44-56 เปอร์เซ็นต์ (Hassan and Ahmed,
2012) ซ่ึงเป็นอีกหน่ึงปัจจัยที่ส่งผลให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นจากปฏิกิริยา lipid peroxidation (วันชัย,
2553) ทาให้มีอายุการเก็บรักษาสั้นประมาณ 4-6 เดือน (เบญจมาภรณ์, 2543) นอกจากนี้ เมล็ดพันธ์ุถ่ัวลิสงบาง
พันธ์ุมีลักษณะการพักตัวตามธรรมชาติหรอื การพักตัวหลังการเก็บเกี่ยว (after - ripening) กล่าวคือ เมล็ดพันธุ์จะ
มีความงอกต่าหรือไม่สามารถงอกได้ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหน่ึงภายหลังการเก็บเกี่ยวเพราะอาจมีสาเหตุจาก
ลักษณะทางกายภาพของส่วนห่อหุ้มเมล็ดหรือส่วนห่อหุ้มต้นอ่อนที่ขัดขวางการเข้าออกของก๊าซออกซิเจนระหว่าง
การงอกของเมล็ดพันธุ์ อย่างไรก็ตาม การพักตัวจะลดลงเม่ือระยะเวลาในการเก็บรักษาเพ่ิมขึ้นหรือภายหลังการ
เก็บเกี่ยวในช่วงเวลาหน่ึง (Benech-Arnold and Sanchez, 2004) เช่น พันธุ์ขอนแก่น 60-3 (นุชนภางค์, 2543)
ดงั น้ัน การผลิตเมล็ดพันธุ์ถวั่ ลิสงจึงนิยมผลิตเพื่อใช้สาหรับเพาะปลูกในฤดูกาลท่ีสองหลังการเก็บเก่ียวเพื่อให้เมล็ด
พนั ธุพ์ น้ การสภาวะการพกั ตัว

การเก็บรกั ษาถัว่ ลิสงฝกั แห้งและการขนย้าย
ในกรณที ่ีต้องเกบ็ รักษาในรูปแบบเมลด็ พันธ์ุ เพ่อื ปอ้ งกนั การแลกเปลย่ี นความช้ืนกบั บรรยากาศจึงควรเก็บ

รักษาในถุงพลาสติกโพลีเอทิลีน (polyethylene: PE) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ถุงร้อน” หรือ “ถุงซิป” สาหรับ
สถานที่เก็บรักษาน้ัน ควรเป็นสถานทส่ี ะอาด โล่งโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถป้องกันความเปียกชื้นจาก
ฝนได้ ไม่มีสตั ว์ (เชน่ นก หนู เป็นต้น) เข้าทาลาย และควรแยกออกจากสถานท่ีเก็บรกั ษาสารเคมอี ันตราย (เพ่ือให้
สอดคล้องกับการรับรองมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP) (ภาพท่ี 6.4ก) ทั้งน้ี ควรรองกระสอบที่บรรจุถ่ัว
ลสิ งด้วยวตั ถุท่ีแข็งแรง เช่น ท่อนไม้ พาเลต และเสาคอนกรตี เปน็ ต้น (ภาพท่ี 6.4ข) ในชน้ั ล่างสดุ เพ่ือป้องกันไม่ให้
ฝกั ถั่วลิสงดูดความช้ืนจากพื้นอีกคร้ัง ขณะเดียวกัน หากเก็บรักษาเป็นจานวนมากควรเว้นช่องว่างระหว่างแถวของ
ภาชนะบรรจุ ไม่ควรวางชิดผนัง และไม่ควรวางซ้อนทับกันหลายชั้นมากเกินไป ทั้งนี้ หากต้องการเก็บรักษาเป็น
ระยะเวลานานควรเก็บในห้องทีส่ ามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสมั พทั ธไ์ ด้โดยกาหนดระดบั อณุ หภูมทิ ี่ 15-20

48
องศาเซลเซียส ความช้ืนสัมพัทธ์ระหว่าง 55-65 เปอร์เซ็นต์ ซ่ึงควรเก็บรักษาไม่ควรเกิน 1 ปี รวมถึงควรสุ่มตรวจ
คุณภาพของเมล็ดถ่ัวลิสงเป็นระยะกระท่ังสิ้นสุดอายุการเก็บรักษาและนาไปใช้ประโยชน์ (สานักงานมาตรฐาน
สนิ คา้ เกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2555)

ส่วนการขนยา้ ยถัว่ ลสิ งท้ังตน ฝกสด หรือฝกแหง ควรใชอปุ กรณห์ รือภาชนะทสี่ ะอาดปราศจากวัตถุหรือสิ่ง
ที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ การขนย้ายถวั่ ลสิ งแหงทง้ั เปลือกจะตองขนส่งดว้ ยดว้ ยยานพาหนะท่ีสามารถปอง
กันความเปียกชน้ื ไดเ้ พอ่ื ปอ้ งกันใหถ่ัวลิสงมคี วามช้นื สงู และเกดิ เชื้อราได้ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2557)

ภาพที่ 6.2 โรคโคนเนา่ ขาดในถว่ั ลิสงโดยลาต้นจะเน่าแล้วแห้งตายทั้งตน้ บริเวณคอดิน (จดุ ท่ลี ูกศรชี้) มักขาด
เพราะเนื้อเยื่อเปื่อยยุ่ยและพบเสน้ ใยของเชอ้ื ราสาเหตุ (Aspergillus niger van Tieghem)

(ก (ข
))

(ค (ง)
ภาพท่ี 6.3 ฝักถวั่ ลสิ งทถี่ กู เส้ียนดนิ เข้าทาลาย ปลาย)ฝักมรี ูหรือโพรง มักพบดินอย่ใู นฝัก (ก) ฝกั ถัว่ ลิสงทถี่ กู เช้ือรา

ทาลายทาให้เปลือกฝกั มสี คี ลา้ และฝักเปื่อยย่ยุ (ข) ฝกั ถงั่ ลสิ งท่ถี ูกไสเ้ ดือนฝอยเข้าทาลาย ทาให้เกดิ
แผลเป็นจุดนนู ขนาดเล็ก สดี าหรือนา้ ตาลเข้ม กระจายอยู่บนเปลอื กฝัก (ค) และถั่วลสิ งฝกั ดี (ง)

ท่มี า: ดดั แปลงจากสานกั งานมาตรฐานสนิ คา้ เกษตรและอาหารแหง่ ชาติ (2553)

49

(ก) (ข)
ภาพท่ี 6.4 โรงเกบ็ ถวั่ ลสิ งทสี่ ะอาดและอากาศถ่ายเทสะดวก (ก) การเกบ็ รกั ษาฝกั ถ่ัวลิสงในกระสอบปา่ นหรือ

กระสอบพลาสติกสานทร่ี องฐานด้วยไมพ้ าเลต (ข)
ข้อพึงปฏิบตั ิ

- ไม่ควรนาเมลด็ ถั่วลสิ งท่ีไม่สมบูรณ์ เช่น เมล็ดท่ีมเี ชื้อรา เมลด็ ลีบ เมล็ดเน่า และแมลงเข้าทาลาย เป็นต้น
ไปบรโิ ภคหรือเล้ียงสตั ว์

- เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ควรทดสอบความงอกเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงก่อนปลูก โดยอาจใช้
ทรายเป็นวัสดุเพาะแล้วคานวณหาเปอร์เซ็นต์ความงอกของต้นกล้าถ่ัวลิสง ซ่ึงเมล็ดพันธ์ุถ่ัวลิสงที่มีคุณภาพควรมี
ความงอกไมต่ า่ กว่า 75 เปอรเ์ ซน็ ต์

- การขาดธาตุอาหารบางชนิดอาจส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตหรือเมล็ดพันธ์ุถ่ัวลิสง โดยเฉพะอย่างยิ่งการ
ขาดธาตุโบรอน (B) ท่ีมีผลให้เมล็ดถั่วลิสงแสดงอาการผิดปกติโดยเน้ือเย่ือภายในของใบเล้ียง (cotyledons) จะ
เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์หรือมีลักษณะภายในกลวง เรียกลักษณะดังกล่าวว่า “hollow heart seed” หรือ “เมล็ด
กลวง” ซ่ึงยากต่อการสังเกตเพราะต้องแกะเมล็ดออกดู (ภาพท่ี 6.5) ดังน้ัน ควรวิเคราะห์ดินก่อนการเพาะปลูก
โดยเฉพาะอย่างยง่ิ การปลูกถ่ัวลิสงพนั ธ์ุเมลด็ ขนาดโตที่มคี วามอ่อนไหวต่อการขาดธาตอุ าหารดังกล่าว

ภาพที่ 6.5 เมล็ดถวั่ ลสิ งที่แสดงอาการเมล็ดกรวงเน่ืองจากขาดธาตโุ บรอน
ทมี่ า: Food and fertilizer technology center (2001)

50

คาแนะนาการปฏิบัติ เพื่อหลีกเล่ยี งการปนเปอื้ นสารอะฟลาทอกซนิ ในเมลด็ ถวั่ ลิสง
1. ไม่ปลูกถัว่ ลสิ งต่อเน่ืองในพนื้ ที่เดียวกนั ทกุ ปี ควรปลูกสลับดว้ ยขา้ วฟา่ ง ถั่วเหลือง หรือถ่ัวเขยี ว
2. เนื่องจากถ่ัวลสิ งมโี อกาสทถี่ ูกเช้ือรา Aspergillus flavus เข้าทาลายได้ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว ดังน้ันเพ่ือ

ลดโอกาสการเขา้ ทาลายของเชอ้ื ราทเ่ี หลืออยู่ในแปลง จงึ ไมค่ วรปลกู ถ่ัวลิสงตามขา้ วโพดเลยี้ งสัตว์
3. กาจัดแหล่งสะสมของเชอ้ื รา เชน่ ซากตน้ ถ่ัวลสิ ง ซากตน้ และฝักข้าวโพดเล้ียงสัตว์
4. อย่าให้ถ่ัวลิสงขาดน้าในช่วงท่ีเป็นระยะออกดอก แทงเข็ม และพัฒนาเป็นฝัก ต้องให้น้าอย่างสม่าเสมอ

หากต้นถัว่ ลสิ งขาดน้า จะทาให้ถัว่ ลิสงอ่อนแอต่อการเข้าทาลายของเช้ือรา และผลผลิตลดลง
5. ต้องปฏิบัตติ ามคาแนะนาการเก็บเกย่ี วและวทิ ยาการหลงั การเก็บเก่ียวอยา่ งเคร่งครัด
6. หลังจากกะเทาะเปลือก ต้องรบี คัดและแยกเมล็ดทีถ่ กู แมลงศัตรูเข้าทาลาย มเี ชอ้ื รา เมลด็ เสีย เมล็ดเน่า

ออกทิง้ ทันที หา้ มนาเมลด็ ทค่ี ดั ทิ้งดงั กลา่ วไปใช้บรโิ ภคและ/หรอื เล้ียงสัตว์อย่างเด็ดขาด
7. สานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้กาหนดมาตรฐานปริมาณสารอะฟลาทอกซิน

ท้ังหมดในเมล็ดถ่ัวลิสงเพือ่ ใชบ้ รโิ ภคไมเ่ กิน 20 ส่วนในพันลา้ นส่วน (พีพบี )ี

51

เอกสารอ้างอิง
สานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2553. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับถั่วลิสง (มกษ.

4900-2553). ( สื บ ค้ น เ มื่ อ 17 พ ฤ ศ จิ ก า ย น 2563). Available from URL:
http://gap.doa.go.th/web_manual/doc/SD/SD70.pdf.
สานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2555. มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติท่ีดีสาหรับโรง
กะเทาะถั่วลิสง (มกษ. 4901-2555). (สืบค้นเม่ือ 17 พฤศจิกายน 2563). Available from URL:
https://www.acfs.go.th/standard/download/PEANUT_SHELLING_PLANT.pdf.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2545. การปลูกถั่วลิลง. พิมพ์ครั้งท่ี 1. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด.
กรุงเทพฯ.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2557. การปลูกถ่ัวลิลง. พิมพ์ครั้งที่ 1. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด.
กรุงเทพฯ.
ธรรมศักด์ิ ทองเกตุ. 2552. การดูแลรกั ษาคุณภาพเมล็ดพันธ์ุ. วารสารธุรกจิ เมล็ดพันธ์ุไทย. 31-34. (สืบค้นเมอ่ื 17
พฤศจิกายน 2563). Available from URL: https://www.thasta.com/pdf/article/การดูแลรักษา
คณุ ภาพเมลด็ พันธุ์ .pdf.
นานากาเด้น. 2563. เครื่องวัดค่าความชื้นเมล็ด EE-KU. (สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563). Available from
URL: https://www.nanagarden.com/shop/24075/เครือ่ งวดั ความช้ืน-moisture-meter/30003.
นุชนภางค์ สุวรรณเทน. 2543. อิทธิพลของขนาดเมล็ดที่มตี ่อการพกั ตัวและอายกุ ารเก็บการรักษาของถัว่ ลิสงเมล็ด
โตพันธ์ุขอนแก่น 60-3. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .
เบญจมาภรณ์ สุทธิ. 2543. อิทธิพลของวิธีการลดความชื้นและการเก็บรักษาต่อคุณภาพและอายุเก็บรักษาเมล็ด
พันธุ์ถั่วลิสง. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณ ฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ บัณ ฑิตวิทยาลัย
มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น.
วุฒิพล จันทรส์ ระคู, ศักดชิ์ ยั อาษาวัง, กลวัชร ทมิ ินกลุ , ธนกฤต โยธาทูล, ประยูร จนั ทองออ่ น และสนอง อมฤกษ์.
2560. การศึกษาและพัฒนาเครื่องอบแห้งแบบกระบะสลับทิศทางลมร้อนสาหรับลดความช้ืนฝักถั่วลิสง.
คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร. (สืบค้นเม่ือ 17 พฤศจิกายน 2563). Available from URL:
http://www.doa.go.th/research/showthread.php?tid=2230.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. ปรับปรุงใหม่. ภาควิชาพืชไร่นา คณ ะเกษตร
มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2553. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับถั่วลิสง.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ: กรุงเทพฯ. 39 หนา้ .

52

Benech-Arnold, R. and Sanchez, R. A. 2004. Handbook of Seed Physiology Applications to
Agriculture. 1st Edition. CRC Press, Boca Raton.

Food and fertilizer technology center. 2001. Boron Deficiency of Crops. [online 18 November
2020]. Available from: URL: https://www.fftc.org.tw/en/publications/detail/1432#picp2.

Hassan, F.U., and Ahmed, M. 2012. Oil and Fatty Acid Composition of Peanut Cultivars Grown in
Pakistan. Pak. J. Bot. 44(2): 627-630.


Click to View FlipBook Version