The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรู้ทางการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับนิสิต ชั้นปีที่ 3 เอกการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 018 ดิสรณ์ จันทร์เพชร, 2022-12-06 12:49:54

บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การศึกษาจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

นวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรู้ทางการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับนิสิต ชั้นปีที่ 3 เอกการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”

บ ทเรียนสำเร็จรูป

เรื่อง "การศึกษาจุลินทรีย์
ด้วยกล้องจุลทรรศน์"

เอกคู่การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



คำนำ

บทเรืยนสำเร็จรูปเรื่อง "การศึกษาจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรคน์ "
ได้จัดจำขึ้นเพื่อเป็นสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่อง
ของการเรียนรู้ในเรื่องของการศึ กษาจุลินทรีย์ ด้วยกล้องจุลทรรคน์
ซึ่ งเป็นเนื้ อหาที่ สำคัญสำหรับนิสิตเอกคู่การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่จะต้องนำความรู้
ในเรื่องนี้ ไปใช้นการปฏิบัติการสอนในอนาคต

ดังนั้ นบทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้จึงมุ่งส่งเสริมให้นิสิตเอกคู่การจัดการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ได้ลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดหักษะในการประ
ยุกค์ใช้ความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางคณะผู้จัดทำหวังว่าบทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้จะให้ความรู้ และเป็น
ประโยชน์ แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใดทางผู้จัดทำ
ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ



สารบัญ หน้ า

เรื่อง ข
คำนำ 1
สารบัญ 2
คำแนะนำ 3
วัตถุประสงค์ และแนวคิด 5
แบบทดสอบก่อนเรียน
กรอบที่ 1 มารู้จักกล้องจุลทรรศน์ กันเถอะ 6
กรอบที่ 2 โครงสร้างกล้องจุลทรรศน์ 9
กรอบที่ 3 ข้อควรระวังในการใช้กล้องจุลทรรศน์ 10
กรอบที่ 4 ขั้นตอนการใช้กล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบหลังเรียน 13
บรรณานุกรม ง

1

คำแนะนำ

1.ให้นิสิตอ่านแนวคิด และจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนสำเร็จรูป

2.ให้นิสิตทำแบบทดสอบก่อนเรียน ห้ามดูเฉลยก่อนทำ เมื่อทำเสร็จ
แล้วตรวจคำตอบกับเฉลยแบบทคสอบก่อนเรียน

3. ให้นิสิตศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปไปทีละกรอบ อย่าข้ามกรอบแล้ว
ตอบคำถามและตรวจคำตอบในกรอบต่อไป ถ้าตอบถูกให้ทำการศึกษา
ในกรอบต่อไปได้ ถ้าตอบผิดให้กลับมาอ่านอีกครั้งหากไม่เข้าใจให้
ศึกษาเนื้อหาใหม่หรือถามครูผู้สอน และเมื่อเข้าใจแล้วจึงทำการศึกษา
ในกรอบต่อไปจนจบทุกกรอบ

4. เมื่อศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปจนครบทุกกรอบแล้ว ให้นิสิตทำแบบ
ทดสอบหลังเรียน ห้ามดูเฉลยก่อนทำ เมื่อทำเสร็จแล้วให้ตรวจคำตอบ
กับเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

อย่าลืมทำตาม
คำแนะนำนะคะนิสิต

2

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. เพื่อให้นิสิตสามารถอธิบายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาจุลินทรีย์
ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ได้

2.เพื่อให้นิสิตสามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ ในการศึกษาเรื่องจุลินทรีย์ได้
3.เพื่อให้นิสิตสามารถนำความรู้ที่ ได้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติการสอนหรือ

การทดลองเชิงปฏิบัติการได้

กรอบแนวคิด

จุลชีววิทยา (Microbiology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ ในด้านรูป
ร่าง โครงสร้าง การสืบพันธุ์ สรีรวิทยา การจัดจำแนก การแพร่กระจายใน
ธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นในการศึกษาทาง
ด้านจุลชีววิทยาซึ่ งเป็นการศึ กษาสิ่ งมีชีวิตขนาดเล็กที่ ไม่สามารถมองเห็น
ได้ด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเป็นเครื่องมือ
วิทยาศาสตร์ที่ สำคัญที่ ใช้ในการศึ กษาจุลชีววิทยา

3

แบบทดสอบก่อนเรียน

ตั้งใจทำ
อย่าแอบดูเฉลยนะครับ !!

4

จดหมายถึงนิสิตตัวน้ อย

"เกรด ไม่ใช่ทั้ งหมดของชีวิต ผลสอบไม่ใช่ทุกอย่าง"

เกรดไม่ใช่ตัวติดสินคน คนเราถนัดไม่เหมือนกัน คนที่ได้เกรดมากกว่า 3
อาจจะชอบการเรียนในวิชานั้ น ๆ หรือสาขานั้ น ๆส่วนคนที่ได้เกรดต่ำ
กว่า 3 อาจจะไม่ได้ชอบวิชาหรือสาขานี้ แต่จำเป็นต้องเรียนก็เป็นได้ เขา
อาจจะไปถนัดในด้านอื่นมากกว่า คนเรานั้ นมีความเก่งคนละแบบ

เก่งกันคนละด้าน สังคมชอบใช้เกรดมาเป็นตัวตัดสินแต่ละบุคคลมากกว่า
ความสามารถจริง ๆ ที่เค้าถนัด สังคมตั้งบรรทัดฐานขึ้นมาว่าคนเกรดสูง

ๆ คือคนดี คนเก่ง ส่วนคนเกรดไม่สูงคือคนไม่เก่ง คนไม่พยายาม
ไม่เอาไหน แต่สมัยนี้ ณ ปัจจุบันนี้ โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว… มุมมอง
ของสังคมก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เปิดใจรับกับคนที่เกรดไม่สูงมากขึ้น
ไม่ได้มองแค่เกรดแล้ว แต่มองที่ความสามารถของบุคคลนั้ น ๆ มากกว่า



ดังนั้ นบทเรียนสำเร็จรูปฉบับนี้
ทางคณะผู้จัดทำจึงอยากบอกนิสิตทุก ๆ คนว่า
"โปรดทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุด และนั้ นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้วสำหรับเรา"

5

กรอบที่ 1 มารู้จักกล้องจุลทรรศน์ กันเถอะ

ในการศึ กษาทางด้านจุลชีววิทยาซึ่ งเป็นการศึ กษาสิ่ งมีชีวิตขนาดเล็ก
ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์
ซึ่งเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ สำหรับผู้ที่จะศึกษาวิชาจุลชีววิทยา

จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์ และวิธีใช้ที่ถูกต้อง ในปัจจุบัน
วิทยาการในด้านต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้าไปมาก รวมทั้ งมีการประดิษฐ์
กล้องจุลทรรศน์ แบบใหม่ๆขึ้น จึงทำให้การศึกษาในด้านวิชาจุลชีววิทยา

สามารถที่จะศึกษาได้อย่างก้าวหน้า และรวดเร็ว

6

กรอบที่ 2 โครงสร้างกล้องจุลทรรศน์

โครงสร้างโดยทั่ วไปของกล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสงธรรมดา
มีส่วนประกอบดังนี้

1.ส่วนฐาน (base) คือส่วนฐานที่วางติดกับโต๊ะ มีหลอดไฟฟ้ าติดอยู่ที่ฐานก
ล้องพร้อมสวิทช์ปิดเปิด

2.ส่วนแขน (arm) คือส่วนที่ยึดติดระหว่างลำกล้องกับส่วนฐาน
3.ลำกล้อง (body tube) มีเลนส์ใกล้ตาติดอยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างติดกับ

แผ่นหมุน ซึ่งมีเลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่ บางกล้องมีปริซึมติดอยู่เพื่อหักเห
แสงจากเลนส์ ใกล้วัตถุให้ผ่านเลนส์ ใกล้ตา
4.แผ่นหมุน (revolving nosepiece) คือแผ่นกลมหมุนได้ มีเลนส์ใกล้วัตถุ
ติดอยู่เพื่อหมุนเปลี่ยนกาลังขยายของเลนส์ ตามความต้องการ

7

5. เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) คือเลนส์ที่ติดอยู่บนแผ่นหมุน
ตามปกติจะมี 3 หรือ 4 อัน แต่ละอันจะมีตัวเลขแสดงกำลังขยาย
กำกับไว้ เช่น x4, x10, x40 หรือ x100 เป็นต้น ในกรณีที่ใช้เลนส์ใกล้
วัตถุกาลังขยาย x100 ต้องใช้น้ำมันเป็นตัวกลางระหว่างเลนส์และวัตถุ
จึงจะเห็นภาพ

6. เลนส์ใกล้ตา (eyepiece lens) คือเลนส์ชุดที่อยู่ส่วนบนสุดของกล้อง
มีตัวเลขบอกกำลังขยายอยู่ทางด้านบน เช่น x5, x10, หรือ x15 เป็นต้น
บางกล้องมีเลนส์ใกล้ตาอันเดียว (monocular) บางกล้องมีเลนส์ใกล้ตา
2 อัน (binocular) เลนส์ชุดนี้ขยายภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุ
ภาพที่เห็นมีขนาดขยาย เป็นภาพเสมือนหัวกลับ และกลับซ้ายเป็น
ขวากับวัตถุ

7.วงล้อปรับภาพ (adjustment wheel) สำหรับปรับระยะห่างระหว่างวัตถุ
กับเลนส์ใกล้วัตถุ เพื่อปรับภาพให้เห็นชัด ซึ่งระยะห่างที่ทาให้เห็นภาพ
ชัด เรียกว่า ระยะการทำงานของกล้อง (working distance) หรือระยะ
โฟกัสของกล้อง วงล้อดังกล่าวมี 2 ชนิด คือ ชนิดปรับภาพหยาบ
(coarse adjustment wheel) ใช้ปรับระยะห่างระหว่างวัตถุกับเลนส์ใกล้
วัตถุชนิดกำลังขยาย 10 เท่าลงมา และชนิดปรับภาพละเอียด ใช้ปรับภาพ
ให้ชัด เมื่อใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายสูง 40 เท่าขึ้นไป

8. แท่นวางวัตถุ (stage) มีช่องตรงกลางสำหรับให้แสงผ่าน และใช้วาง
สไลด์ แก้ว เป็นอุปกรณ์ ที่เคลื่อนที่ได้ (mechanical stage) ด้วยการ
หมุนปุ่ มบังคับ อุปกรณ์ ดังกล่าวมีคลิปเกาะสไลด์ และมีสเกลบอก
ต่ำแหน่ งของสไลด์ บนแท่นวางวัตถุ ฉะนั้ นอุปกรณ์ นี้จะช่วยอำนวย
ความสะดวกในการเลื่อนสไลด์ ไปทางขวา ซ้าย หน้า และหลังได้ใน
ขณะที่ตามองภาพในกล้อง ช่วยให้หาภาพได้รวดเร็ว และมีสเกลบอก
ตำแหน่ งของวัตถุบนสไลด์

8

9. คอนเดนเซอร์ (condenser) คือชุดของเลนส์ที่ทำหน้าที่รวมแสงให้
มีความเข้มมากที่สุด เพื่อส่องวัตถุบนสไลด์ แก้วให้สว่างที่สุด มีปุ่ มปรับ
ความสูงต่ำของ condenser

10. ไอริสไดอะแฟรม (iris diaphragm) เป็นม่านปรับรูเปิดเพื่อให้แสงผ่าน
เข้า condenser และมีปุ่ มสาหรับปรับ iris diaphragm ให้แสงผ่านเข้า
มากน้ อยตามต้องการ

11. แหล่งกำเนิดแสง (light source) เป็นหลอดไฟฟ้ าให้แสงสว่างติดอยู่
ที่ฐานกล้อง มีสวิทช์เปิดปิด และมีสเกลปรับปริมาณแสงสว่าง

แบบฝึกหัดโครงสร้างกล้องจุลทรรศน์

9

กรอบที่ 3 ข้อควรระวังในการใช้กล้องจุลทรรศน์

เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์ ที่มีราคาค่อนข้างสูง และมีส่วน
ประกอบที่อาจเสียหายง่ายโดยเฉพาะเลนส์ จึงต้องใช้และเก็บรักษาด้วย

ความระมัดระวังให้ถูกวิธี ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1.ในการยกกล้องและเคลื่อนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหนึ่งจับที่แขนและอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของกล้อง
2. สไลด์ และกระจกปิดสไลด์ ที่ใช้ต้องไม่เปียก เพราะอาจจะทำให้แท่นวางวัตถุเกิดสนิม และเลนส์ใกล้

วัตถุอาจขึ้นราได้
3. เมื่อต้องการหมุนปุ่ มปรับภาพหยาบต้องมองด้านข้างตามแนวระดับแท่นวางวัตถุ เพื่อป้ องกัน

การกระทบของเลนส์ใกล้วัตถุกับกระจกสไลด์ ซึ่งอาจทำให้เลนส์แตกได้
4. การหาภาพต้องเริ่มด้วยเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกาลังขยายต่ำสุดก่อนเสมอ
5. เมื่อต้องการปรับภาพให้ชัดขึ้นให้หมุนเฉพาะปุ่ มปรับภาพละเอียดเท่านั้ น เพราะถ้าหมุนปุ่ มปรับ

ภาพหยาบจะทำให้ระยะภาพหรือจุดโฟกัสของภาพเปลี่ยนไปจากเดิม
6. ห้ามใช้มือแตะเลนส์ ควรใช้กระดาษเช็ดเลนส์ในการทำความสะอาดเลนส์
7. เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องเอาวัตถุที่ศึกษาออก เช็ดแท่นวางวัตถุและเช็ดเลนส์ให้สะอาด หมุนเลนส์ใกล้

วัตถุกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ตรงกลางลำกล้อง และเลื่อนลำกล้องลงต่ำสุด ปรับกระจกให้อยู่ในแนว
ตั้งฉากกับแท่นวางวัตถุเพื่อป้ องกันไม่ให้ฝุ่ นเกาะ แล้วเก็บใส่กล่องหรือตู้ให้เรียบร้อย

10

กรอบที่ 4 ขั้นตอนการใช้กล้องจุลทรรศน์

ขั้นที่ 1 วางสไลด์ ที่ต้องการส่องบนแท่นวางสไลด์ เปิดไฟกล้องจุลทรรศน์
ควรให้จุดวงกลมของแสงอยู่ตรงกลางใกล้เคียงกับบริเวณที่ ต้องการส่องมากที่ สุด



ขั้นที่ 2 ปรับระยะห่างระหว่างตา สำหรับกล้องชนิด 2 ตา ปรับหาระยะห่างระหว่างตา

และปรับ Diopter ที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้ระยะโฟกัสที่เท่ากัน



ขั้นที่ 3 ปรับโฟกัส หาระยะโฟกัสที่ชัดที่สุด โดยเริ่มจากเลนส์วัตถุที่ขนาดกำลัง
ขยายต่ำสุดก่อน จากนั้ นค่อยเพิ่มกำลังขยายให้สูงขึ้น โดยปรับปุ่ มปรับภาพหยาบ



ขั้นที่ 4 ปรับละเอียด เมื่อปรับภาพหยาบจนพอมองเห็นภาพให้ทำการปรับด้วยปุ่ ม

ปรับภาพแบบละเอียด (Fine adjustment knob) ควบคู่กับการเลื่อนสไลด์

11



ขั้นที่ 5 ปรับปริมาณแสง โดยปรับที่ไดอะแฟรมช ใต้แท่นวางสไลด์ เพื่อควบคุมแสง
ในปริมาณที่พอเหมาะ การลดความกว้างของไดอะแฟรมลงเมื่อกำลังขยายสูงขึ้น

ขั้นที่ 6 ปรับกำลังขยายให้สูงขึ้น เมื่อไม่ขนาดของวัตถุที่ส่องมีขนาดเล็กจนไม่
สามารถมองเห็นได้ให้ปรับกำลังขยายให้สูงขึ้น โดยเลนส์ 100X ควรใช้ Immersion

Oil หยดลงบนกระจกปิดสไลด์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นด้วย
โดยให้เลนส์สำผัสกับ Immersion Oil และกระจกปิดสไลด์



ขั้นที่ 7 เก็บทำความสะอาด เมื่อใช้งานเสร็จให้เก็บโดยใช้ถุงคลุมหรือเก็บไว้ใน
ที่ที่ไม่มีฝุ่ น และความชื้นต่ำ โดยเช็ดทำความสะอาดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์
หรือน้ำยาสำหรับเช็ดเลนส์

12

แบบฝึกหัดการใช้กล้องจุลทรรศน์

คำชี้แจง : จงเรียงลำดับวิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ ให้ถูกต้อง

ขั้นตอนที่____ ขั้นตอนที่____ ขั้นตอนที่____ ขั้นตอนที่____

ขั้นตอนที่ ____ ขั้นตอนที่ ____ ขั้นตอนที่ ____

สใาช้มกถ้าลาร้หอถางรกโับทนิชรสมิทตวริยดรัีงโศไ์อมไ่สดเ้าขเ้ธลาิตใยจกค่าะร

13

แบบทดสอบหลังเรียน

เพื่อทำแสบแบกถ้ทนานดิQสสิRตอ-พบCรหo้อลdัมeงเแดร้ลียา้วนนบไดน้เลยครับ



บรรณานุกรม

เนียรวรรณ มีเจริญ. (2561). กล้องจุลทรรศน์ และส่วนประกอบของ
กล้องจุลทรรศน์. จาก https://www.scimath.org/lesson-biology/it

การใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2565.
จาก www.kruseksan.com/book/microscope.pdf

กล้องจุลทรรศน์ - SMD : E- Learning. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2565.
จาก www.learning.smd.kku.ac.th/home/images/.pdf


Click to View FlipBook Version