The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 018 ดิสรณ์ จันทร์เพชร, 2022-04-17 23:34:33

รายงานวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท

รายงานวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท

จั ด ทำ โ ด ย

น า ย ดิ ส ร ณ์ จั น ท ร์เ พ ช ร นิ สิ ต ชั้น ปี ที่ 2
เ อ ก คู่ ก า ร ศึ ก ษ า เ พื่ อ พั ฒ น า ชุ ม ช น ก า ร จั ด ก า ร เ รีย น รู้วิ ท ย า ศ า ส ต ร์

รายงาน
เร่ือง “กลวิธีการสอนแบบเอก็ ซพ์ ลิซิท (Explicit Teaching Method)”

เสนอ
อาจารย์ กิตติชยั สุธาสโิ นบล

จดั ทำโดย
นายดสิ รณ์ จันทรเ์ พชร รหสั นิสิต 63105010018
นสิ ิตคณะศกึ ษาศาสตร์ เอกคู่การศกึ ษาเพือ่ พัฒนาชมุ ชน การจดั การเรยี นรู้วิทยาศาสตร์

รายงานน้ีเป�นสว่ นหนึ่งของการศึกษารายวชิ า ศษ 232 วิธวี ทิ ยาการจดั การเรยี นรู้
มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ ภาคการศึกษาท่ี 2 ป�การศึกษา 2564

2

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป�นส่วนหนึ่งของวิชา ศษ 232 วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ได้
ศึกษาหาความรู้ในเรื่องของกลวิธีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนโดยการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท
ซึ่งจากการศึกษาในเรื่องของกลวิธีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนโดยการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทได้มี
การศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกระบวนการสอนเพื่อที่จะศึกษา และเข้าใจในเรื่องของการสอน
แบบเอก็ ซ์พลซิ ทิ เพื่อเป�นประโยชนต์ ่อการศึกษาในรายวิชา

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงานเนื่องมาจากเป�นเรื่องที่น่าจะเป�นประโยชน์ต่อผู้เรียน
และมีความน่าสนใจ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบของเอ็กซ์พลิซิท
ผู้จัดทำหวังวา่ รายงานเลม่ นี้จะเป�นประโยชน์กับการศึกษาในรายวิชา ศษ 232 วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
ไมม่ ากก็นอ้ ยหากมีขอ้ ผดิ พลาดประการใด คณะผู้จัดทำขอนอ้ มรบั ไว้และขออภัยมา ณ ที่นดี้ ว้ ย

นายดิสรณ์ จนั ทรเ์ พชร
ผู้จดั ทำ

3

สารบัญ

บทท่ี หน้า
1. แนวคดิ ทฤษฎีกลวิธีการสอนแบบเอ็กซพ์ ลิซิท (Explicit Teaching Method) .................................. 5
2. กลวธิ กี ารสอนแบบเอ็กซ์พลซิ ทิ (Explicit Teaching Method) ...................................................... 7
3. ขนั้ ตอนการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method) ................................................... 7
4. การประยุกต์กลวธิ ีการสอนแบบเอ็กซพ์ ลิซิทในรายวชิ าวทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี........................ 12
5. ขอ้ ดีของกลวธิ กี ารสอนแบบเอ็กซ์พลซิ ทิ (Explicit Teaching Method)........................................ 13
6. ข้อจำกดั ของกลวิธกี ารสอนแบบเอ็กซ์พลซิ ิท (Explicit Teaching Method).................................. 13
7. ตวั อยา่ งแผนการสอนแบบเอ็กซ์พลซิ ทิ (Explicit Teaching Method) .......................................... 14
บรรณานกุ รม .............................................................................................................................. 20

4

บัญชภี าพประกอบ

ภาพประกอบ หนา้

ภาพประกอบที่ 1 การทบทวนรายสัปดาหแ์ ละรายเดือน........................................................................ 10

ภาพประกอบท่ี 2 แผนผงั ข้นั ตอนการสอนแบบเอก็ ซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method).................. 11

ภาพประกอบที่ 3 การประยุกตก์ ลวธิ กี ารสอนแบบเอ็กซ์พลิซทิ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์.......................... 12

ภาพประกอบท่ี 4 ชน้ิ งานแผนผังมโนทศั นข์ องนกั เรียนในการทบทวนความรูเ้ รื่องโครงสร้างใบ.............. 13

5

รายงานเร่ือง

“กลวิธีการสอนแบบเอก็ ซ์พลซิ ทิ (Explicit Teaching Method)”

1. แนวคิดทฤษฎีกลวธิ ีการสอนแบบเอก็ ซ์พลซิ ิท (Explicit Teaching Method)

แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป�นพื้นฐานของวิธีจัดการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิทนั้น ได้แก่ ทฤษฎี
การสรา้ งองค์ความรดู้ ว้ ยตนเอง (Constructivism) ดังท่ี พรพมิ ล พรพรี ชนม์ ได้เสนอว่า ทฤษฎพี ฒั นาการ
ทางเชาว์ปญ� ญาของเพียเจต์ (Piaget) เป�นรากฐานทสี่ ำคัญของการสร้างความรู้ดว้ ยตนเอง พัฒนาการทาง
เซาว์ป�ญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation) และ
กระบวนการปรับโครงสร้างทางป�ญญา (Accommodation) เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์ใหม่เข้าไป
สัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางป�ญญาที่มีอยู่เดิม หากไม่สัมพันธ์กันจะเกิดภาวะไม่สมดุล
(Disequilibrium) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในสภาวะสมดลุ โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้าง
ทางปญ� ญา (Accommodation)

เพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่าคนทุกคนจะมีพัฒนาการเขาว์ป�ญญาไปตามลำดับขั้นจากการมี
ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะ และคณิตศาสตร์
(Logic-Mathematical Experience) รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม (Social Transmission) วุฒิ
ภาวะ (Maturity)และกระบวนการพฒั นาความสมดลุ (Equilibrium) ของบุคคลนน้ั การประยุกต์ใช้ทฤษฎี
ในการจัดการเรียนรู้ พรพิมล พรพีรชนม์ กล่าวว่าการนำทฤษฎีการสร้างความรไู้ ปใช้ในการเรียนการสอน
สามารถทำได้หลายประการดงั น้ี

1. ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ ผลของการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้
และการตระหนักรู้ในกระบวนการนั้น เป้าหมายการเรียนรู้จะต้องมาจากการปฏิบัติจริง ดังนั้นผู้สอน
จะต้องเป�นแบบอย่างและฝ�กฝนกระบวนการเรยี นรู้ให้ผู้เรียนได้เหน็ จริง รวมถึงจัดประสบการณ์ให้ผูเ้ รยี น
ได้ฝ�กฝนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาจกำหนดการเรยี นการสอนให้เห็นเรื่องหรือป�ญหาทีม่ ีขอบเขต
กว้างและสามารถมองเหน็ ความสัมพนั ธ์ของกิจกรรมการเรยี นในแตล่ ะครั้ง

2. ในการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนจะมีบทบาทต่างไปจากเดิมจาก
การเป�นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ ไปเป�นผู้อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการ
เรียนรู้ หรอื เปล่ียนจาก "การให้ความรู้" ไปเปน� "การใหผ้ เู้ รยี นสรา้ งองค์ความรู้" บทบาทของผู้สอนจะต้อง
ทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่ผู้เรียน จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความสนใจ
และรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ดำเนินกิจกรรมให้เป�นไปในทางที่ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน
นอกจากนั้นผู้สอนยังต้องมีความเป�นประชาธิปไตยและมีเหตุผลโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเป�นเจ้าของ

6

หัวขอ้ การเรยี นการสอน อาจนำปญ� หาหรอื หัวข้อมาจากผเู้ รยี นและใชป้ �ญญาน้ันเป�นแรงกระตุ้นการเรียนรู้
ของผเู้ รียน

3. ออกแบบการเรยี นรู้ทม่ี ีลักษณะสมจริง โดยกำหนดบรบิ ทของการเรียนรู้ที่กระตนุ้ ให้ผู้เรียนได้
ใช้ความคิด บริบทการเรียนรู้ที่มีความสมจริงคือ การจัดสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้
สติป�ญญาทม่ี ีลกั ษณะเดยี วกนั กบั ทผ่ี เู้ รยี นจะต้องนำไปใชใ้ นอนาคต

4. ส่งเสริมใหผ้ ้เู รียนมีโอกาสวเิ คราะหเ์ น้ือหาและกระบวนการเรียนการสอนในห้องเรยี น โดยใช้
หลักการสร้างองคค์ วามรดู้ ว้ ยตนเอง การสรา้ งบรรยากาศการเรียนรู้ดังกลา่ วควรมีลกั ษณะดังนี้

o ผู้เรยี นเป�นเจา้ ของความคิดมากกว่าเป�นผรู้ ับสารหรือซมึ ชบั ข้อมลู
o การสื่อสารของผู้สอนจะเป�นลักษณะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด โดยไม่ต้องบอกหรือตอบ

คำถามตรงๆ ผูเ้ รียนตอ้ งเรียนร้วู ธิ ีแปลความหมายสิ่งที่ผ้สู อนพูดเพ่ือนำมาใชห้ าคำตอบท่ี
ผเู้ รยี นต้องการ
o ผู้เรียนเรยี นรดู้ ว้ ยความเขา้ ใจ
o สิง่ ที่ผเู้ รยี นเข้าใจ เปน� สงิ่ ท่ีผเู้ รยี นสรา้ งขนึ้ ไมใ่ ชก่ ารลอกเลยี นแบบแนวคิดของผูส้ อน
o ส่ิงท่ีเรยี นและวธิ ีเรียนมผี ลกระทบจากบริบทของสังคม

5. ผู้สอนยอมรับและส่งเสริมการริเริ่มความเป�นตัวของตัวเองของผู้เรียน การยอมรับความคิด
ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดอย่างอิสระ จะเป�นการช่วยพัฒนาความมีเอกลักษณ์ทาง
วิชาการเฉพาะตัวของผู้เรียน การตั้งคำถามและประเด็นแล้วนำมาวิเคราะห์และหาคำตอบด้วยตนเอง
จะชว่ ยใหผ้ ู้เรยี นเป�นคนท่รี บั ผิดชอบท่จี ะหาความรแู้ ละแก้ป�ญหาด้วยตนเองต่อไป

6. ผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดที่ขับข้อนยิ่งขึ้นจะ
ชว่ ยกระตุ้นให้ผู้เรยี นไม่พอใจความรู้อย่างง่าย ๆ แต่สามารถเช่อื มโยงและสรุปความคดิ รวบยอดต่างๆ โดย
การวิเคราะห์ ทำนายและใหค้ ำอธบิ ายความคิดของตนได้ เป�นการพฒั นาความคิดขั้นสูงของผู้เรียน

ส ร ุ ป ไ ด ้ ว ่ า ท ฤ ษ ฎ ี ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ ท ี ่ เ ป � น พ ื ้ น ฐ า น ข อ ง ก า ร จ ั ด ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ แ บ บ เ อ ็ ก ซ ์ พ ล ิ ซิ ท
(Explicit Teaching Model) นั้นคือทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ป�ญญาของเพียเจต์ (Piaget) อันเป�น
รากฐานที่สำคัญของการสร้างความรู้ด้วยตัวเองโดยบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบ
หรือดูดซึม (Assimilation) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางป�ญญา (Accommodation) เมื่อบุคคล
ได้รับประสบการณใ์ หม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรอื โครงสร้างทางป�ญญาที่มีอยู่เดิม หากไม่สัมพันธ์กันจะ
เกิดภาวะไม่สมดุล (Disequilibrium) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในสภาวะสมดุล(Equilibrium)
โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางป�ญญา (Accommodation) การเชื่อมโยงความรู้เดิมซึง่ เป�นฐานใน
การเรยี นรู้สง่ิ ใหม่ ซึง่ จะทำใหผ้ ู้เรยี นสามารถนำความรู้ท่ไี ดไ้ ปใชอ้ ย่างมีความหมาย

7

2. กลวธิ กี ารสอนแบบเอก็ ซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)

ศริดา เอียดแก้ว ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทไว้ว่า เป�นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่เหมาะสมให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความจำ ความเข้าใจเนื้อหาและสามารถนำไปใช้ได้โดยมี 6 ขั้นตอน
ในการสอน เหมาะกับเนอ้ื หาท่เี ป�นความรู้ หรือหลกั การ ซง่ึ มี 6 ข้นั ตอน

1. การทบทวนเนือ้ หาและการบ้าน
2. การเสนอเนื้อหาใหม่
3.การฝ�กปฎิบตั ิโดยครูคอยแนะนำอยา่ งใกลช้ ิด
4. การให้ข้อมูลย้อนกลบั และการแก้ไขข้อบกพร่อง
5. การใหฝ้ �กปฏิบตั ิโดยอสิ ระตามลำพัง
6. การทบทวนเปน� รายสปั ดาห์ และเปน� รายเดอื น

สายัณห์ พลแพน ได้กล่าวถึงวธิ กี ารสอนแบบเอก็ ซ์พลิซิทไว้ว่า เป�นรูปแบบวิธีการสอนแบบเอ็กซ์
พลิซิท หรือการจัดการเรียนการสอนแบบชัดแจ้ง พัฒนาโดยโรเซ็นซายน์ และสตีเวนส์ ประกอบด้วย
6 ข้นั ตอน คอื

1.ขนั้ ทบทวนความรเู้ ดมิ และตรวจการบา้ น
2. ขั้นนำเสนอเน้อื หาสาระหรือทักษะใหม่
3. ขั้นทำให้ผู้เรยี นฝ�กปฏบิ ตั ิ
4. ขั้นให้ขอ้ มูลปอ้ นกลบั และแกไ้ ขการปฏบิ ตั ขิ องผู้เรียน
5. ขั้นให้ผู้เรียนฝก� ปฏิบตั อิ ยา่ งอสิ ระ
6. ข้นั การทบทวนฝก� ปฏบิ ัตริ ายสัปดาห์และรายเดอื น

จากการกล่าวข้างต้นของ ศริดา เอียดแก้ว และ สายัณห์ พลแพน จึงสรุปได้ว่าการสอนแบบ
เอก็ ซ์พลซิ ทิ (Explicit Teaching Method) เป�นกระบวนการสอนที่เน้นการทบทวนประจำวัน
ประจำสัปดาห์และประจำเดือน มีการตรวจสอบการบ้าน และมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนตามจุดประสงคก์ ารเรียนรู้ส้ัน ๆ เข้าใจงา่ ยได้คำตอบท่ถี ูกตอ้ งรวดเร็วและแนน่ อน

3. ขนั้ ตอนการสอนแบบเอก็ ซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)

ข้นั ตอนของวธิ ีสอนแบบเอก็ ซพ์ ลซิ ทิ (Explicit Teaching Method) มี 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนประจำวนั และตรวจสอบการบา้ น มขี ัน้ ตอนดงั น้ี
1.1 ตรวจการบา้ น (ครูอาจใหน้ ักเรยี นชว่ ยกนั ตรวจการบ้าน)

8

1.2 สอนใหม่เมอ่ื จำเปน� ในเนื้อหาที่สำคัญๆ
1.3 ทบทวนความร้เู ดิมท่ีเก่ียวขอ้ งกับความรู้ใหม่และครูอาจซกั ถามเพิ่มเติม
1.4 ฝ�กปฏบิ ัติ

ขัน้ ตอนท่ี 2 การนำเสนอสาระความรู้ มขี ัน้ ตอนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ ดังนี้
2.1 แจง้ จุดประสงคก์ ารเรียนรสู้ นั้ ๆแต่เข้าใจง่าย
2.2 เสนอโครงสร้างและภาพรวมของสาระความรู้
2.3 เรมิ่ สอนเนอื้ หาทลี ะนอ้ ยทีละขั้น
2.4 ซกั ถามนกั เรยี นเพ่อื เปน� การตรวจสอบความเขา้ ใจ
2.5 เน้นประเดน็ ที่สำคัญใหน้ กั เรยี นทราบ
2.6 อธิบายให้ตวั อย่าง อยา่ งชัดเจน
2.7 สาธติ และทำแบบใหด้ ู
2.8 อธิบายรายละเอยี ดและยกตวั อยา่ งประกอบประเด็นเนือ้ หาท่ีสำคัญ ๆ

ข้ันตอนที่ 3 การปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำ มีข้นั ตอนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ ดงั น้ี
3.1 การฝก� นกั เรยี นในระยะแรกครูควรคอยช่วยเหลอื แนะนำโดยตลอด
3.2 ซักถามนักเรยี นบอ่ ยๆถามคำถามใหม้ ากเพ่ือใหน้ ักเรยี นตอบและใหฝ้ �กอยา่ งเพยี งพอ
3.3 คำถามทถี่ ามควรเกี่ยวข้องกับเน้ือหาใหมห่ รือทักษะใหม่
3.4 ครูตรวจสอบความเข้าใจโดยประเมินจากคำตอบของนักเรียน
3.5 ระหว่างตรวจสอบความเข้าใจ ครูจะให้คำอธิบายเพิ่มเติม ให้ข้อมูลย้อนกลับหรืออธิบาย

ซ้ำ(ถ้าจำเป�น) และให้นักเรียนมีการตอบสนองและให้ข้อมูลย้อนกลับ ครูควรแน่ใจว่านักเรียนคนมี
ส่วนร่วมในการเรยี นรู้

3.6 การให้ฝก� ปฏบิ ตั ิในระยะแรก ครคู วรคอยแนะนำจนนกั เรียนสามารถปฏิบตั เิ องโดยลำพัง
3.7 การฝ�กปฏิบัติควรทำอย่างต่อเนื่องจนกว่านักเรียนจะชำนาญถึงขั้นที่นกั เรียนนักเรียนทำ
ได้ 80 % ในขน้ั ตอนนม้ี ขี อ้ เสนอแนะในการตรวจสอบความเข้าใจเพ่ือจะไดแ้ ก้ไขความผดิ พลาด ความ
บกพร่อง ด้วยกิจกรรมดังนี้

(1) เตรียมคำถามไว้ล่วงหน้าให้มากเพื่อถามให้นักเรียนตอบอย่างทั่วถึงและคำตอบที่ได้
ควรเป�นคำตอบทต่ี รงประเดน็ สำคัญ หรอื ตรงตามในเรอ่ื งหรือทักษะที่สอน

(2) ใหน้ ักเรียนสรปุ กฎหรือกระบวนการด้วยตนเอง
(3) ให้นักเรียนตอบโดยเขยี นคำตอบในสมุด
(4) หลังจากการสอน ครูควรให้นกั เรยี นเขียนสาระหรือประเด็นสำคญั ของบทเรียน
และสรุปประเด็นสำคัญลงในสมุด

9

ดังนั้นการตรวจสอบความเขา้ ใจจงึ มคี วามสำคัญและจำเปน� เพ่ือเป�นการทบทวนเน้ือหาสาระท่ี
เรยี นผ่านมาและยำ้ เพอ่ื ความเขา้ ใจของผเู้ รยี น

ขัน้ ตอนท่ี 4 การแกไ้ ขใหถ้ ูกต้อง และการให้ข้อมูลยอ้ นกลบั มขี นั้ ตอน ดังน้ี
4.1 ครคู วรรบั ร้แู ละตอบรับคำตอบทร่ี วดเร็วและมนั่ ใจของนักเรยี นอย่างสั้นๆ เช่น ถูกต้อง หรือ

คำชมอนื่ ๆ
4.2 คำตอบที่ลังเลของนักเรียนครอู าจต้องให้ขอ้ มลู ยอ้ นกลบั ให้ตอบอย่างมน่ั ใจ
4.3 การตอบผดิ หรอื ปฏบิ ตั ผิ ิดของนกั เรียนบง่ บอกถงึ ความจำเป�นในการฝก� เพมิ่
4.4 ตรวจสอบติดตามบทเรียนของนกั เรยี นเสมอ
4.5 พยายามให้การตอบสนองทุกคำถามท่นี กั เรียนถาม
4.6 การแก้ไขการตอบผิดของนักเรียน ครูควรให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ถามคำถามให้ง่ายขึ้น ให้

คำแนะนำ อธบิ าย ทบทวน หรือสอนใหมใ่ นขั้นสดุ ทา้ ย
4.7 ถามคำถามซำ้ จนกว่าจะถูกต้อง
4.8 การให้ฝ�กปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำการแก้ไขควรทำต่อไป จนกว่าครูจะแน่ใจว่านักเรียน

บรรลุผลสำเร็จตามวัตถปุ ระสงคข์ องบทเรยี น
4.9 ให้คำชมเชยแต่พอควร ในเรือ่ งท่ีเฉพาะเจาะจง จะทำให้มีประสทิ ธิภาพมากกว่าการชมเชย

พรำ่ เพรื่อ
ในประเด็นของการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของนักเรียนมีข้อเสนอเพื่อการ

ตอบสนองคำตอบของนักเรยี น ดังน้ี
(1) ตอบถูกต้องเร็วด้วยความมั่นใจในคำตอบโดยปกติพฤติกรรมนักเรียน จะปรากฎในช่วงการ

เรียนตอนแรกๆ ตอนที่มีการทบทวน ครูควรถามคำถามใหมๆ่ พร้อมทั้งมีการฝ�กเพิ่มเตมิ และกล่าวคำ
ชมเชย

(2) ตอบถูกแต่ลังเลไม่แน่ใจ จะปรากฎในการเรียนในตอนต้นหรือในช่วงให้ฝ�กโดยมีครูคอย
แนะนำ ครคู วรให้ข้อมลู ย้อนกลบั หรอื ตอบสนองกลับดว้ ยคำพูดสน้ั ๆ เชน่ ถกู ต้อง ดีมาก การให้ข้อมูล
ย้อนกลับในลกั ษณะน้ีครูควรใหข้ อ้ มลู เพ่ิมเติมเพือ่ ให้นักเรยี นเข้าใจวา่ คำตอบนัน้ ถูกตอ้ งเพราะอะไร

(3) ถา้ นักเรยี นตอบผิดเพราะสะเพร่าควรใหก้ ารทบทวนแกไ้ ขและใหข้ ้อมลู ย้อนกลับทันที
(4) ตอบผิดเพราะไม่มีความรู้ ไม่จำเนื้อหาสาระ นักเรียนที่ตอบผิดในช่วงต้นซึ่งเป�นระยะการ
เรียนเนื้อหาสาระใหม่ ชี้ให้เห็นว่า มีความรู้ไม่แน่นพอ ไม่รู้จริงเกี่ยวกับสาระความรู้นั้น ครูควรแก้ไข
เช่น ครูชี้นำเสนอแนะแนวทางเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง โดยถามคำถามใหม่และง่ายพร้อมทั้ง
ยกตัวอย่างและเหตุผลประกอบ , สอนใหม่ สำหรับนักเรียนที่ไม่เข้าใจ , บอกเป�นนัย ถามคำถามที่
ง่ายๆ หรือทำการสอนใหม่

10

ข้นั ตอนที่ 5 การฝก� อย่างอสิ ระ (ฝก� ปฏบิ ตั ทิ ีโ่ ตะ๊ ) มีขอ้ เสนอแนะการจัดการเรียนรู้ ดงั น้ี
5.1 ให้นักเรียนฝ�กอย่างเพยี งพอ
5.2 ฝก� ทักษะเน้ือหาสาระท่ีเรยี นไปแลว้
5.3 ฝ�กเพอ่ื ให้เกิดความชำนาญ
5.4 การฝ�กปฏบิ ัติโดยลำพงั ควรปฏิบตั ิไดถ้ กู ต้อง 95%
5.5 นักเรียนจะตน่ื ตัว ถา้ การให้ฝ�กปฏบิ ตั ิ ได้โดยมีการติดตามตรวจสอบ
5.6 กระต้นุ ให้นักเรยี นมคี วามรับผดิ ชอบในงานที่ตนเองปฏบิ ัติ และมีความกระตือรอื รน้ เสมอ

การฝ�กปฏบิ ตั ทิ โ่ี ตะ๊ เพอื่ ให้การปฏบิ ตั กิ ิจกรรมโดยลำพังท่ีมีประสิทธภิ าพ ควรปฏิบัตดิ ังนี้
(1) ครูควรเดินดูนกั เรียนทำงาน ใหข้ อ้ มลู ยอ้ นกลับ ถามคำถามและอธิบายสัน้ ๆ อย่างทว่ั ถงึ
(2) ครูควรจัดที่นั่งให้มองเห็นนกั เรียนทง้ั ชัน้ ในขณะปฏิบัติงาน
(3) ครูควรวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้นักเรียนฝ�กปฏิบัติอย่างอิสระ ครูต้องจัด

กิจกรรมให้เปน� ไปตามจุดประสงค์ โดยความมุ่งหวังใหน้ ักเรยี นสามารถตอบไดโ้ ดยอัตโนมัติ โดยการท่ี
ใหน้ กั เรียนฝ�กปฏบิ ตั ิมาก ๆ

ขนั้ ตอนที่ 6 การทบทวนรายสปั ดาหแ์ ละรายเดอื น มีขอ้ เสนอการจดั การเรยี นรู้ดังนี้
6.1 ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้วอย่างเป�นระบบโดยทบทวนเป�นประจำสัปดาห์ และทบทวน

ประจำเดือน การทบทวนของครูช่วยให้ครูได้ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน และเพื่อให้แน่ใจว่า
ความรูท้ กั ษะที่เรียนไปแล้ว นักเรียนรู้และปฏบิ ัติเข้าใจเปน� อยา่ งดีและเพือ่ ความคงทนของความรู้

6.2 ตรวจการบา้ นทใ่ี หท้ ำ
6.3 ทดสอบบ่อย ๆ
6.4 สอนใหม่ในเน้อื หาที่บกพร่อง

ภาพประกอบที่ 1 การทบทวนรายสัปดาหแ์ ละรายเดือน
ทีม่ า : https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.ama

11

จากข้างตน้ สรุปได้วา่ วธิ ีการสอนแบบเอก็ ซ์พลซิ ิท ประกอบดว้ ย 6 ขนั้ ตอน
1. ขนั้ ทบทวนความรู้เดิมและตรวจการบ้าน คอื ใหค้ รทู บทวนความรู้ ก่อนท่ีจะเริ่มเรียน

ความรู้ใหม่ โดยมกี ารฝ�กปฏิบัติ หรอื การทำแบบฝก� ทักษะ
2. การนำเสนอสาระความรใู้ หม่ คือ ครูจะชแ้ี จงจดุ ประสงค์การเรียนรสู้ นั้ ๆ แต่เข้าใจง่าย

จะมีการเริ่มเข้าเนื้อหาทีละน้อย เน้นสอนประเด็นสำคัญ โดยอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้
ชัดเจน

3. การฝ�กปฏิบัติโดยมีครูแนะนำ คือ จะเป�นการให้ทำแบบฝ�กหัด การให้นักเรียนถาม
หรือตอบคำถามหลายๆ คำถาม เพื่อตรวจสอบความเขา้ ใจ และมีส่วนรว่ มในการเรยี นรู้

4. กาขั้นให้ข้อมูลป้อนกลับและแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียน คือ ให้ครูตอบกลับคำตอบ
ของนักเรียนให้ถูกต้อง มั่นใจ หรอื จะให้ขอ้ มลู เพ่มิ เติม และควรจะมคี ำชมเชยให้นักเรียนเล็กน้อย

5. การฝ�กอย่างอิสระ คือ ให้นักเรียนฝ�กปฏิบัติโดยลำพัง และสามารถปฏิบัติถูกต้อง
95% หรือเกิดความชำนาญในการฝก�

6. การทบทวนรายสัปดาห์และรายเดือน คือ ให้ครูทบทวนเป�นประจำสัปดาห์ และ
อาทิตย์ เพื่อให้แน่ใจว่าความรู้ ทักษะที่เรียนไปแล้ว นักเรียนรู้และปฏิบัติเข้าใจเป�นอย่างดีและเพื่อมี
ความรูท้ ่คี งทน

ดังนั้น การทำวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท 6 ขั้นตอน ทำให้เป�นรูปแบบการสอนที่เน้น
การเข้าใจจรงิ และการฝก� จนเกดิ เป�นทักษะ ซ่งึ จะชว่ ยใหน้ กั เรยี นเกดิ ความมั่นใจ สามารถนำไปใช้เป�น
พนื้ ฐานการศกึ ษาในระดบั สูงขึ้นได้ดี

ภาพประกอบที่ 2 แผนผงั ขั้นตอนการสอนแบบเอก็ ซ์พลซิ ิท (Explicit Teaching Method)
ที่มา : http://www.thaischool.in.th/_files_school/80101276/workteacher

12

4. การประยุกต์กลวิธีการสอนแบบเอ็กซพ์ ลซิ ิทในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
การสอนโดยแบบเอ็กซ์พลิซิทในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีลักษณะสำคัญคือ

เป�นการสอนที่สะท้อนลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์คือ การใช้ทักษะกระบวนการต่าง ๆ เพื่อสืบเสาะ
สำรวจ ดว้ ยวธิ กี ารท่ีหลากหลายเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรอื ตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ โดยปกติแล้ว
การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ยึดติดรูปแบบหรือขั้นตอนสามารถปรับประยุกต์ไปตามข้อมูล
แนวคิดหรือหลักฐานการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่รับเอาหลักการนี้มาใช้ในการเรียนการสอน
มีหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการจัดการเรียนการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
หรือการสอนที่มีการหมั่นทบทวนบทเรียน โดยเน้นการเชื่อมโยงไปสู่บริบทที่แวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ในบทเรียน ตัวอย่างการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ที่เน้นบริบทที่จะนำเสนอใน
บทเรียนนี้คือ การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ และสังคม การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
และการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการไปศึกษาจากโครงงาน การศึกษาจากประสบการณ์จริง การศึกษาจาก
การทำแบบทดสอบ การศึกษาจากแบบจำลองสถานการณ์ ซึ่งแนวทางในการเชื่อมโยงเน้ือหาแนวคิดทาง
วิทยาศาสตรใ์ นบทเรียนเข้าส่บู ริบทในชีวติ จรงิ ของผู้เรยี น จะทำใหผ้ ูเ้ รียนเกดิ การเรยี นรู้อย่างมีความหมาย
เรียนรู้ที่จะใช้วิทยาศาสตร์ ในการแก้ป�ญหาหรือตัดสินใจ เรียนรู้การทำงานจริงของนักวิทยาศาสตร์
เพ่อื เตรียมตวั สกู่ ารเป�นพลเมอื งที่รูว้ ทิ ยาศาสตร์ตามหลักการของแนวคิดวทิ ยาศาสตร์เพ่อื ปวงชน

ภาพประกอบที่ 3 การประยุกต์กลวิธกี ารสอนแบบเอก็ ซ์พลิซิทในรายวชิ าวทิ ยาศาสตร์
ทมี่ า : https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.nstda.or.th%2Fhome

13

5. ข้อดีของกลวิธกี ารสอนแบบเอก็ ซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
กลวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method) มีข้อดีคือเป�นการจัดการเรียน

การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีการทบทวนบทเรียนจะทำให้เข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น และจะเป�นการ
ตรวจสอบวา่ ตนเองไม่เข้าใจเน้ือหาส่วนใดหรือไม่ เมื่อไม่เข้าใจจะได้ค้นควา้ ข้อมูลเพิ่มเติมหรือซักถามจาก
เพื่อนๆ ครูอาจารย์ ซึ่งถือเป�นกระบวนการเรียนรู้ไปในตัว โดยกลวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit
Teaching Method) มีหลากหลายวธิ เี พ่ือให้ผู้เรียนไดฝ้ �กฝนความรู้ที่ได้เรียนมา เช่น การทำแบบฝ�กหัดใบ
งาน การทำรายงาน การทำแผนผังมโนทัศน์ เป�นต้น ซึ่งจากการทบทวนบทเรียนนี้เองจึงทำให้ผู้เรียนมร
ความรู้ทเ่ี ข้าใจ และสามารถนำไปปรบั ประยกุ ต์ใชใ้ นชวี ติ ประจำวนั ไดอ้ ยา่ งถอ่ งแท้

ภาพประกอบท่ี 4 ชิน้ งานแผนผังมโนทศั น์ของนักเรยี นในการทบทวนความรู้เร่ืองโครงสร้างใบ
ท่ีมา : https://www.google.com/url?sa=i&url=http%3A%2F%2Fintermediateswrs.blogs

6. ขอ้ จำกัดของกลวิธกี ารสอนแบบเอ็กซ์พลซิ ิท (Explicit Teaching Method)
การสอนแบบเอ็กซพ์ ลิซทิ (Explicit Teaching Method) เป�นการใหผ้ เู้ รียนไดท้ บทวนความรู้ไป

ในตัวเพื่อเข้าใจในเนื้อหาบทเรียน แต่ในทางกลับกันการมอบหมายภาระงานให้ผู้เรียนไปฝ�กหัด
ทบทวนควรมปี รมิ าณท่ีพอดี เพราะหากมอบหมายภาระงานใหผ้ เู้ รยี นไปฝ�กหัดทบทวนควรมีปริมาณท่ี
มากอาจส่งผลให้ผู้เรียนเกิดภาวะเครียดหรือเหนื่อยจากการทำการบ้านมากเกินไป จนส่งผลเสียต่อ
การเรียน ดังนั้นการบ้านหรือแบบฝ�กหัดจึงเป�นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอน แต่ป�ญหา
คือเรื่องของปริมาณ ไปจนถึงรูปแบบการให้การบา้ นที่ช่วยพัฒนาใหเ้ ด็กๆ คิด และกระตุ้นให้นักเรยี น
สนุกทจ่ี ะกลับไปเรยี นรู้และขบคิดไปจนถึงทำงานสร้างสรรคร์ ่วมกันต่อไป โดยเฉพาะอย่างย่ิงการบ้าน

14

ในโลกดิจิทัลดูจะเป�นเรื่องท้าทายและสนุกสนาน และสำหรับหลายครอบครัว การนั่งทำการบ้าน
ร่วมกันกด็ ูจะเป�นอกี หน่ึงชว่ งเวลาของครอบครัวไทยท่เี ราค้นุ เคยกันดี และสามารถพฒั นาผเู้ รยี นได้
7. ตวั อยา่ งแผนการสอนแบบเอ็กซพ์ ลิซทิ (Explicit Teaching Method)

แผนการจดั การเรยี นรูท้ ่ี 2 สารอาหารทร่ี ่างกายต้องการ

หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 2 รา่ งกายของเรา ระยะเวลา 1 ชั่วโมง

กลุม่ สาระการเรยี นรวู้ ทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ชั้นประถมศกึ ษาป�ท่ี 6

1. มาตรฐานการเรียนรตู้ วั ช้ีวัด

ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์
กันความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน
รวมทงั้ นำความรไู้ ปใช้ประโยชน์

2. ตวั ช้ีวดั
ป.6/1 อธบิ ายการเจริญเตบิ โตของมนุษยจ์ ากวยั แรกเกิดจนถึงวัยผใู้ หญ่

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1) อธบิ ายการเจริญเติบโตของมนุษย์จากวยั แรกเกดิ จนถึงวัยผู้ใหญไ่ ด้ (K)
2) รู้วิธใี นการดูแลรักษาระบบอวยั วะตา่ ง ๆ ในรา่ งกายได้ (P)
3) ยกตัวการดแู ลรักษาร่างกาย และอวยั วะต่าง ๆ ของตนเองในชวี ติ ประจำวันได้ (A)

4. สาระการเรยี นรู้
มนุษยม์ ีการเจรญิ เติบโต และมกี ารเปล่ยี นแปลงทางด้านร่างกายตงั้ แตแ่ รกเกิดจนเป�นผใู้ หญ่

5. สาระสำคญั /ความคิดรวบยอด
อวัยวะต่างๆ ของร่างกายคนเรามกี ารทำงานสัมพันธ์กันอย่างเปน� ระบบ โดยระบบย่อยอาหารทำ

หน้าที่ย่อยอาหารให้เป�นสารอาหารขนาดเล็ก แล้วดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ขณะที่ระบบ

15

หายใจทำหน้าที่นำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และแก๊สออกซิเจนนี้จะทำให้สารอาหารเกิดการ
เปล่ียนแปลงจนกลายเป�นพลังงานทรี่ า่ งกายนำไปใช้ได้

6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์

สมรรถนะสำคญั ของผูเ้ รยี น ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์

1) ความสามารถในการส่ือสาร 1) การสังเกต 1) มวี นิ ยั
2) ความสามารถในการคดิ 2) การจำแนกประเภท 2) ใฝ่เรยี นรู้
3) ความสามารถในการแกป้ ญ� หา 3) การตัง้ สมมติฐาน 3) มงุ่ มน่ั ในการทำงาน
4) ความสามารถในการใช้ทักษะ 4) การลงความเหน็ จากข้อมูล
5) การจัดกระทำและการส่ือ
ชวี ติ
ความหมายข้อมูล

7. กิจกรรมการเรียนรู้
 แนวคดิ วธิ กี ารสอน : การสอนแบบเอ็กซ์พลิซทิ (Explicit Teaching Method)

ขน้ั ตอนท่ี 1 ทบทวนประจำวัน และตรวจสอบการบา้ น

1. ครนู ำผู้เรียนเข้าสู่บทเรยี นด้วยหารตง้ั คำถามทบทวนเนอื้ หาในเรอ่ื งของรา่ งกายของเรา
ยกตวั อย่างคำถามเชน่ นักเรียนเคยสงสยั ไหมว่าทำไมร่างกายของคนเราจึงแตกตา่ งกัน

2. ครูใหน้ ักเรียนแตล่ ะคนออกมาหน้าช้ันเรยี น เพ่อื นำเสนอในหัวข้อ “ร่างกายทีฉ่ ันภมู ิใจ”
3. ครแู จกใบงานประกอบการเรียนเรือ่ ง “ร่างกายของฉนั ” ให้แกน่ ักเรยี น เพื่อใหน้ ักเรียนไดม้ ีการ

จดบนั ทกึ ความรรู้ ะหว่างเรยี น และทำแบบฝ�กหัดทบทวนความรใู้ นใบงาน

ขั้นตอนท่ี 2 การนำเสนอสาระความรู้ มขี นั้ ตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูแจ้งนักเรียนว่าวันนี้เราจะเรียนกันในเร่ือง “ร่างกายของเรา” โดยอธิบายผ่านแผนผงั มโนทศั น์
เพื่อใหผ้ เู้ รยี นไดเ้ หน็ ถึงขอบเขตท่ีจะเรียนในวนั น้ี

16

2. ครูนำแผนภาพร่างกายมนุษย์ที่แสดงอวัยวะภายในร่างกายมาให้นักเรียนดู ครูและนักเรียน
รว่ มกนั อภิปราย ว่าอวยั วะตา่ ง ๆ เช่น หวั ใจ ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ และไต มีลักษณะรปู รา่ ง
เป�นแบบใด และอยู่ตรงกับตำแหนง่ ใดในรา่ งกาย

3. ครูตง้ั คำถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังน้ี
- ปอดของเรามีกข่ี า้ ง และพบอยู่ที่ตำแหนง่ ใด
- อวยั วะต่าง ๆ ในรา่ งกายทำหน้าทอ่ี ะไรบา้ ง
- อวัยวะที่เก่ยี วขอ้ งกับการยอ่ ยอาหารคืออะไร

4. นักเรียนร่วมกันตอบคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน โดยครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
อวยั วะต่าง ๆ ในรา่ งกายจะทำหน้าท่แี ตกตา่ งกันไป แตจ่ ะร่วมกนั ทำงานอย่างเป�นระบบเพื่อให้เรา
ดำรงชีวิตอยู่ไดอ้ ย่างปกติ

ขนั้ ตอนท่ี 3 การปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำ มีขัน้ ตอนการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้

1. ให้นักเรียนศึกษาอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูตั้งคำถาม
กระตุ้นให้นกั เรยี นตอบดังน้ี
- หวั ใจทำหน้าที่อะไร
- กระเพาะอาหารทำงานสมั พนั ธ์กบั ลำไส้หรอื ไม่ ลกั ษณะใด

2. นกั เรียนรว่ มกนั ตอบคำถามตามความคดิ เห็นของแต่ละคน
3. นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สืบคันข้อมูลอวัยวะที่นักเรียนสนใจ ตามขั้นตอนทาง

วทิ ยาศาสตร์โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสงั เกตดงั นี้
- นกั เรียนแตล่ ะกล่มุ เลือกศกึ ษาขอ้ มูลอวยั วะภายในรา่ งกาย 1 อวัยวะ
- ชว่ ยกนั หาข้อมูลอวัยวะทเ่ี ลือกจากแหล่งข้อมลู ตา่ ง ๆ ให้มากท่สี ุด
- แตล่ ะกลมุ่ สง่ ตัวแทนนำเสนอขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ากการศกึ ษาหนา้ ชั้นเรียน

4. นักเรียนและครรู ่วมกนั ตรวจสอบความถกู ตอ้ งของข้อมูลท่ีได้จากศกึ ษาค้นคว้า

ขน้ั ตอนท่ี 4 การแกไ้ ขใหถ้ กู ต้อง และการให้ข้อมูลยอ้ นกลบั

1. นกั เรียนแต่ละกลุ่มส่งตวั แทนกลุม่ นำเสนอขอ้ มูลจากการปฏิบตั ิกิจกรรมหนา้ ชัน้ เรยี น
2. นกั เรียนและครูรว่ มกันอภิปรายและหาข้อสรปุ จากการปฏบิ ัติกจิ กรรม โดยใช้แนวคำถามตอ่ ไปนี้

- กลมุ่ ของนกั เรียนเลอื กศกึ ษาอวยั วะใดในร่างกาย
- อวยั วะท่นี ักเรยี นเลือกศกึ ษามีความสมั พนั ธก์ ับอวยั วะอ่นื ในร่างกายหรือไม่ ลกั ษณะใด

17

3. นกั เรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกจิ กรรม โดยใหไ้ ดข้ อ้ สรุปว่า ภายในร่างกายของเรา
ประกอบด้วยอวยั วะต่าง ๆ ที่ทำหนา้ ทเ่ี ฉพาะอย่างและทำงานรว่ มกันอย่างเปน� ระบบ

ขัน้ ตอนที่ 5 การฝ�กอย่างอิสระ (ฝก� ปฏบิ ัตทิ ่ีโตะ๊ ) มขี ้อเสนอแนะการจดั การเรียนรู้

1. เมื่อเรียนในเรื่องของร่างกายแล้ว ครูให้นักเรียนทำแบบฝ�กหัดในใบความรู้ที่ได้แจกในต้นคาบ
แกน่ กั เรยี น

2. ครูให้นักเรียนได้ฝ�กทำแบบฝ�กหัดตามลำพัง โดยครูจะคอยเดินดูนักเรียนทำงาน และให้ข้อมูล
ย้อนกลบั ถามคำถามและอธบิ ายส้นั ๆ อยา่ งทั่วถงึ

3. เมื่อนักเรียนในห้องเรียนทำแบบฝ�กหัดเสร็จ ครู และนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝ�กหัด โดยมีครู
อธิบายใหน้ กั เรยี นเขา้ ใจในเน้ือหาบทเรยี นมายิง่ ขนึ้ และถูกต้อง

ขน้ั ตอนที่ 6 การทบทวนรายสปั ดาห์ และรายเดอื น

1. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจาก
แหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร วิทยาศาสตร์ และ อินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป�นแผนผัง
มโนทัศน์สง่ ครูในสองสัปดาห์ถดั ไป

8. การวัดและประเมนิ ผล

รายการวัด วิธกี าร เครื่องมอื เกณฑ

1) กจิ กรรมท่ี 1 การ - ตรวจสอบจาก - แบบสงั เกตพฤติกรรมการ - รอ้ ยละ 50 ผา่ นเกณฑ์
นำเสนอในหวั ข้อ พฤติกรรมการทำ ทำงานรายบคุ คล
“รา่ งกายทฉี่ ัน กจิ กรรมของผ้เู รียน
ภมู ิใจ” - เกณฑ์คะแนนชน้ิ งาน - รอ้ ยละ 60 ผ่านเกณฑ์
- ตรวจสอบจากชิ้นงาน - แบบสงั เกตพฤติกรรมการ
2) กิจกรรมที่ 2 สบื - ตรวจสอบจาก
คันข้อมูลอวยั วะที่ ทำงานรายบคุ คล
นกั เรยี นสนใจ พฤติกรรมการทำ
กจิ กรรมของผู้เรยี น - เกณฑ์คะแนนแบบฝ�กหดั - ร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์
3) แบบฝ�กหดั - ตรวจสอบจาก
รา่ งกายของเรา แบบฝก� หัด

18

9. ส่อื /แหลง่ การเรยี นรู้

9.1 สื่อการเรยี นรู้
1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.6 เลม่ 1
2) แบบฝ�กหัดวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ป.6 เลม่ 1
3) ใบบรรทุกความรู้ และใบงานแบบฝ�กหัดเรอื่ งร่างกายของเรา
4) กระดาษแข็ง
5) สีไม้
6) กระดาษ A4

9.2 แหล่งการเรยี นรู้
1) หอ้ งเรียน
2) อินเทอรเ์ นต็

19

บรรณานกุ รม

20

บรรณานุกรม

โกสมุ ภ์ สขุ สมยั . การเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นวชิ าภาษาไทย เรอ่ื ง การเขยี นสะกดคำ
ของนกั เรยี น ขัน้ ประถมศึกษาปท� ่ี 3 ทีส่ อนด้วยวิธกี ารสอนแบบเอ็กซ์พลชิ ิทและการสอน
โดยการใช้แบบฝก� เสรมิ ทักษะ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑติ สาขาหลักสูตร
และวธิ สี อน บัณฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร นครปฐม, 2546.

จติ ตมิ า สินปรุ. การปฏบิ ัตกิ ารพฒั นาทักษะการสนทนาภาษาองั กฤษเพื่อการส่ือสาร โดยใชว้ ิธสี อน
แบบเอ็กซพ์ ลิซิท วิชาภาษาองั กฤษ สำหรบั นกั เรียนชั้นประถมศกึ ษาปท� ี่ 5. กลมุ่ เครือข่าย
สถานศกึ ษาท่ี 23 เหลา่ เสอื่ โก๊ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 1
ในวจิ ัยและประเมนิ ผลอุบลราชธานี 3(1) : หนา้ 24-29. มกราคม-มถิ ุนายน 2556.

จรี ะศกั ด์ิ นุน่ ปาน. ผลของการจัดการเรยี นรู้ด้ายวิธกี ารสอนแบบเอ็กซพ์ ลิสทิ ร่ามกบั การใช้แบบฝก�
ทกั ษะท่มี ีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปญ� หา คณติ ศาสตรข์ องนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปท� ่ี 4.
วทิ ยานพิ นธ์การศกึ ษามหาบณั ฑติ สาขาวชิ าหลกั สูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทกั ษิณ, 2553.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตรก์ ารสอน. พิมพ์คร้ังท่ี 16. กรงุ เทพ ฯ : สำนักพิมพแ์ หง่ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, 2555.
ภานุมาศ พร้อมวงษ์. (2563). วิธสี อนแบบเอก็ ซ์พลิซทิ (Explicit Teaching Method)

สบื คน้ เมื่อวันท่ี 27 มีนาคม 2565. จาก https://www.gotoknow.org/posts/677651

21

ภาคผนวก

22

ภาคผนวก
1. ใบงานแบบฝก� หดั เรื่องอวัยวะในรา่ งกาย

23

2. ใบงานบนั ทกึ ความรใู้ นบทเรยี น


Click to View FlipBook Version