เด็ กที่บก พร่ องทางการ
มองเห็ น
เด็ กที่มีความบกพร่ องทางการมองเห็ น
มีลั กษณะอย่ างไร?
มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไ
หลอยู่เสมอ
หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศรีษะ มองเห็นไม่ชัดเจน
ในบางครั้ง
เวลามองวัตถุในระยะไกลๆต้องขยี้ตาหรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆ
โดยกลัวจะสะดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
มักขยี้ตาบ่อยๆ
ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สายตา
กระพริบตาบ่อยๆ
อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้
ไม่สนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนังหรือข้อความ
ที่เขียนบนกระดานดำ
สาเหตุ ที่เด็ กบกพร่ องทางการมองเห็ น
ปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นในเด็กเกิดได้ จากหลาก
หลายสาเหตุและมักมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก
สามารถจำแนกสาเหตุของปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็น
ออกเป็น 4 กลุ่มตามลักษณะ
กรรมพันธุ์ (Heredity) โดยความผิดปกติจะสามารถ
ถ่ายทอดมาถึงเด็กได้หากครอบครัวมีประวัติสุขภาพของ
ครอบครัว (Family History) ที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น โรค
ต้อ (Familial Cataract) โรคกล้ามเนื้อจอตาเจริญผิด
เพี้ยน (Retinal dystrophies) และมะเร็งจอตา
(Retinoblastoma)
ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน (Rubella) และโรค
ท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
สาเหตุ ที่เด็ กบกพร่ องทางการมองเห็ น
ระหว่างคลอด เช่น โรคจอตาผิดปกติอันเกิดจากการคลอด
ก่อนกำหนด (Retinopathy of prematurity) และอาการเยื่อ
บุตาอักเสบในเด็กแรกเกิด (Newborn Conjunctivitis)
ในวัยเด็ก เช่น การขาดแคลนวิตามินเอ (Vitamin A
Deficiency) โรคหัด (Measles) ตาอักเสบ (Eye Infection)
ยารักษาตาแผนโบราณ (Traditional eye medicines) และ
อุบัติเหตุ (Injuries)
ความชุ กของโรค
พบว่ามีอัจตารกากคาวราสมำชรุกวขจอใงนสปภราะวชะาต
การบไอทดยใปีนเพด็.กศไ.ท2ย5ร4้อ9ย-ล2ะ505.011
และมีอัตราความชุกของสภาวะตาเลือนรางในเด็กไทย
ร้อยละ0.21 จึงประมาณการว่ามีเด็กไทยเป็นเด็กตาบอดจำนวน
13,101 คน และเป็นเด็กตาเลือนรางจำนวน 26,670 คน
การสั งเกต การวิ นิ จฉั ย
การวินิจฉัยความพิการทางการเห็นตามพรบ.ส่งเสริมและพัฒนา
คุณภา1พ. ชีวคิตนพคิกนาพริกทาารงกพา.รศเห.็2น55
ค0รอบคลุมทั้งคนตาเห็นเลือนราง
และคนตาบอด ได้แก่
คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อได้รับการตรวจแก้ไขด้วยแว่นตา
แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 ลงไป จนถึงมองไม่เห็น
แม้แต่แสงสว่างหรือคนที่มีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
2. ต้องสิ้นสุดการรักษาพยาบาลตามปกติและได้รับการ
ตรวจแก้ไขด้วยแว่นตา(Refraction)แล้ว แต่ความผิดปกติหรือ
ความบกพร่องดังกล่าวยังคงมีอยู่ คนพิการตามกฎหมายประเภทนี้
จึงหมายถึง คนที่มีความผิดปกติทางการเห็นภายใต้เงื่อนไขต่อไป
นี้
• เมื่อการอักเสบได้รับการรักษาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน
• หลังการผ่าตัดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
• ในรายที่มีความผิดปกติของ Extraocular muscle, Traumatic
cataract, Traumatic vitreous haemorrhage ให้ลงความเห็น
หลังได้รับอันตรายต่อตาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน
การสั งเกต การวิ นิ จฉั ย
3. คนพิการทางการเห็นตามกฎหมาย ไม่ครอบคลุมบุคคล
ต่อไปนี้ • มีตาพิการหรือตาบอดเพ
ียง 1 ข้าง
• มีตาบอดสี
• มีตาเข ตาเหล่
4. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถให้การวินิจฉัยภาวะความ
พิการทางการเห็นโดยการตรวจวัดสายตา (Visual acuity: VA)
หรือ ลานสายตา Visual feld: VF)
การสั งเกตพฤติ กรรม
1. ขยี้ตาบ่อย ๆ เหมือนพยายามท
ำให้ภาพที่ไม่ชัดให้ปรากฎชัดขึ้น
2. เวลามองวัตถุมักป้องตา
3. ถือหนังสือไว้ใกล้ตามาก หรือก้มหน้าใกล้หนังสือ
4. กระพริบตาถี่มากกว่าปกติ
5. มีความยุ่งยากในการอ่านหนังสือหรือการทำงานที่ต้องใช้สายตา
6. ตามักช้ำแดงและมีน้ำตา ขี้ตากรัง
7. ทำตาหรี่ หรือขยี้ตาขณะที่มอง
8. มักพูดว่าตัวหนังสือหรือรูปภาพเต้นหรือมองอะไรมัวๆ หรือเป็น
ภาพซ้อน
9. ไม่สามารถอ่านหนังสือเรียงตามบรรทัดได้นาน มักอ่านหนังสือ
กลับไปกลับมา
10. เวลาอ่านหนังสือมักจะสับสนเมื่ออ่านอักษรที่มีลักษณะ
คล้ายกัน เช่น ก,ถ,ภ หรือ บ กับ ป หรือ อ กับ ฮ
11. ลูกตาดำมีลักษณะผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
เด็กอายุ 2 เดือน ถ้ายังไม่จ้องหน้า ให้สงสัยว่าเด็กจะมี
สายตาผิดปกติ • ดูลักษณะ ขนาด และตําแหน่งของ
ดวงตาที่ผิดปกติ • มีพฤติกรรมชอบขยี้ตา กระพริบตา
บ่อยๆ ดูอะไร ต้องเพ่งใกล้ตาผิดปกติ
มีอาการปวดตา ปวดศีรษะ หลังจากการใช้สายตา
มีอาการตาไม่สู้แสง น้ําตาไหล เมื่อออกที่แจ้งจะหรี่ตาลง
ในการอ่านหรือเขียนหนังสือมีแนวโน้มที่จะสับสนกัน
ระหว่างอักษรที่คล้ายกัน เช่น ด กับ ค บ กับ ม ช กับ ซ
ฯลฯ หรือมักจะหลงตําแหน่งหรือบรรทัด เช่น อ่านข้ามข้อ
หรือข้ามบรรทัด ฯลฯ ซึ่งเป็นอาการของผู้มีลานสายตาผิด
ปกติ
จดการบ้านผิด เรียนไม่ทันเพื่อน
เดินชน พัฒนาการช้า
การจัดการศึ กษาสำหรั บเด็ ก
ที่มีความบกพร่ องทางการ
มองเห็ น
หลักสูตรและการเรียนการสอน
หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น
ควรเป็นลักษณะเดียวกัน หลักสูตรสำหรับเด็กปกติ ทั้งนี้เพื่อ
เด็กจะได้มีทักษะที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติเมื่อจบการศึกษา
อย่างไรก็ตามต้องมีการปรับวิธีสอน สื่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้
สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของเด็ก ควรเน้น
ประสบการณ์และการใช้สื่ออุปกรณ์ที่เป็นของจริงเพื่อให้เด็กที่
มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถเรียนรู้ด้วยการสัมผัส
เรียนรู้โดยการลงมือกระทำ(Leaning by doing) และสามารถ
ใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้
หลักสู ตรสำหรับเด็ กที่มีความ
บกพร่ องทางสายตา
หลักสูตรระดับก่อนประถมศึกษา (0-5 ปี)
ประสบการณ์ของเด็กช่วงอายุ0-5ปีและเป็นพื้นฐานของ
พัฒนาการในช่วงต่อมา ดังนั้นจึงควรจัดเป็นการศึกษาให้แก่เด็ก
ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลักสูตรควรครอบคลุมถึงการฝึก
ประสาทสัมผัสทางการรับรู้การฟัง การสัมผัส เพื่อชดเชยความ
บกพร่องทางสายตาตลอดจนการดมกลิ่น การลิ้มรส เด็กควร
เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและอุปกรณ์ที่เป็นของจริง กิจกรรม
ควรเน้นเกี่ยวกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่(gross motor)
กล้ามเนื้อย่อย(Fine motor) พัฒนาการทางสติปัญญา
พัฒนาการทางอารมณ์และสังคมและการพัฒนาทักษะในการช่วย
เหลือตนเอง
หลักสูตรระดับประถมศึ กษา
แม้ว่าหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมอง
เห็นจะเป็นลักษณะเดียวกับหลักสูตรสำหรับเด็กปกติแต่วิธีการ
สอนตลอดจนสื่อ และอุปกรณ์การสอนอาจแตกต่างไปจากเด็ก
ปกติบ้าง ควรมีการปรับหลักสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับความ
ต้องการและความสามารถของเด็กและเพิ่มเติมสิ่งที่ยังขาด เพื่อ
ให้เด็กได้รับประโยชน์มากที่สุด เช่น การดัดแปลงโปรแกรม
ทางการศึกษาจากกการใช้สายตาสู่การได้ยินให้มากที่สุดเพื่อ
ชดเชยกับการรับรู้ทางสายตาที่สูญเสียไป การจัดการเรียนการ
สอนควรใช้การรับรู้ทางการฟังเป็น ซึ่งรวมถึงการจัดสภาพ
แวดล้อมที่เอื้อต่อการฟัง การใช้เทปบันทึกเสียง การสนทนา
การอภิปราย เป็นต้น
หลักสูตรระดับมัธยมศึ กษา
หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมอง
เห็นเป็นลักษณะเดียวกับหลักสูตรสำหรับเด็กปกติ เพียง
แต่การปรับวิธีการสอน ขั้นตอน วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นให้
สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของเด็กและ
ควรได้รับบริการเพิ่มเติมทางการแนะแนวและการให้คำ
ปรึกษาในด้านการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนปกติและเพื่อนที่
มีความบกพร่องทางสายตาจากครูแนะแนวหลักสูตรระดับ
นี้ควรครอบคลุมด้านอาชีวศึกษานักเรียนควรได้รับการฝึก
ทักษะที่จำเป็นเพื่อการประกอบอาชีพเพิ่มเติมจนมีทักษะ
พอที่จะทำงานได้ ในหลักสูตรควรมีการปรับปรุงเรื่องการ
ฝึกการเคลื่อนไหวและการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพ
แวดล้อมการฝึกทักษะสื่อสารและฝึกประสาทสัมผัสการรับ
รู้ด้วย
อุปกรณ์การสอนที่จำเป็ น
1. หนังสือที่มีตัวพิมพ์ขนาดใหญ่เพื่อให้เด็กมองเห็นได้ง่าย
2. หนังสือที่มีตัวอักษรนูน
3. อุปกรณ์ในการสื่อสารเฉพาะสำหรับคนตาบอด
4. เครื่องพิมพ์ดีดที่มีตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าเครื่องพิมพ์
ดีดปกติ
5. เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง วิทยุ เทป
เป็นต้น (เนื่องจากเด็กที่เรียนรู้ได้ดีจากการฟัง)
6. แว่นขยาย เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ สไลด์
กล้องจุลทรรศน์ จะช่วยให้เด็กมองเห็นได้ชัดเจน
7. สมุดหรือกระดาษที่เขียนควรมีเส้นบรรทัดที่ห่าง เขียน
ได้สะดวก กระดาษควรมีผิวค่อนข้างหยาบ สีของกระดาษ
ควรเป็นสีขาวแก่ หรือ ครีม ซึ่งได้แก่การมองเห็น
8. ขนาดของอุปกรณ์ ควรมีขนาดใหญ่ เช่น ลูกโลก
แผนภูมิต่างๆ เป็นต้น
9. โต๊ะและเก้าอี้ ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ และปรับให้เหมาะ
สมกับสายตาของเด็ก
การจัดกิ จกรรมการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความ
บกพร่องทางการมองเห็น
การ์วูด(Garwood 1983) กล่าวว่าหลักสูตรและกิจกรรมการ
เรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
ควรครอบคลุมถึงกิจกรรมเพื่อพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
1.การพัฒนาประสาทสัมผัสทางการรับรู้ sensory
Development
การฟังและการสัมผัสที่เด็กเหล่านี้ใช้มากที่สุดคือการฟัง
ดังนั้น เด็กควรจะพัฒนาทักษะในการฟังเพื่อให้ประสาทสัมผัส
ทางด้านทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกิจกรรมใน
การฟัง ได้แก่
การให้เด็กบอกลักษณะและทิศทางของเสียงประเภท
ต่างๆ เช่น เสียงสูง-เสียงต่ำ เสียงดัง-เสียงค่อย
เสียงใกล้-เสียงไกล เป็นต้น
การฝึกให้เด็กมีสมาธิในการฟังนานขึ้น โดยการเล่นเกม
ต่างๆที่มีคำสั่งเป็นลำดับขั้นตอนหรือ เล่นเกมส์นำปัญญา
โดยครูออกคำสั่งให้เด็กปฏิบัติตาม
ฝึกฟังเสียงต่างๆและให้เด็กบอกว่าเสียงนั้นมาจากทิศใด
ฝึกบอกความแตกต่างหรือความเหมือนของเสียงในระยะ
ทางที่ต่างกัน โดยเริ่มจากเสียงของวัตถุต่างๆไปสู่เสียง
คน
การสัมผัส
เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็นจะใช้ประสาท
สัมผัสจากการจับต้องสำรวจและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวใน
ที่สุดทักษะการอ่านจากการสัมผัสกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
สัมผัสควรรวมถึงการให้เด็กสัมผัสวัตถุและเปรียบเทียบวัตถุ
ที่มีผิวสัมผัสต่างกัน เช่น หยาบ ขรุขระ แข็ง แห้ง เปียก
เป็นต้น และให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายบนพื้นผิว
ที่มีลักษณะต่างกัน เช่น ให้เด็กวิ่งเล่น กระโดด หรือ กลิ้งบน
เสื่อ หญ้า พื้นดิน บนเนิน เป็นต้น
การดมกลิ่น
ประสาทสัมผัสจากการดมกลิ่นจะช่วยเตือนให้เด็กที่มีความ
บกพร่องทางสายตาให้ทราบถึงสิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่พึง
ปรารถนาได้ กิจกรรมเพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสจากการดมกลิ่
ยอาจรวมถึงกิจกรรมต่างๆ
2.พัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่
ฝึกเอื้อมจับวัตถุโดยให้เด็กสัมผัสวัตถุที่มีเสียงแล้วค่อยค่อย
ดึงวัตถุออกจากตัวแล้วให้เด็กพยายามจับวัตถุตามเสียงของ
วัตถุทั้งๆทั้งนี้จะช่วยให้เด็กรู้จักสำรวจ
ฝึกให้เด็กจับวัตถุด้วยมือทั้งสอง
ฝึกการคืบและคลานตามเสียงของวัตถุนั้นๆทั้งนี้จะช่วยให้
เด็กรู้จักสำรวจ
ฝึกการคืบและคลานตามเสียงของของเล่นหรือเสียงคนเพื่อ
กระตุ้นให้เด็กเคลื่อนไหว
ฝึกให้เด็กปีนป่ายบันไดโดยมีคนเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด
จูงเด็กเดินรอบห้อง
3.พัฒนาการของกล้ามเนื้อย่อย
ใช้วัตถุที่มีรูปทรง ผิวสัมผัสและอุณหภูมิที่ต่างกัน
ไป(เย็นหรืออุ่น) แตะตามลำตัว แขนขา และวางไว้ที่
ส่วนของร่างกายให้ไวต่อการรับรู้จากการสัมผัสวัตถุ
ชนิดต่างๆ(Body sensitive to object) และให้เด็ก
บอกชื่อของวัตถุนั้น
ฝึกจับสิ่งของต่างๆเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อย่อย เช่น การ
เล่นปั้นแป้ง เป็นต้น
ฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อมือและตา โดยการใช้
กรรไกรตัดตามเส้นตรง เส้นโค้ง และเส้นซิกแซก
สำหรับเด็กที่มีสายตาเหลืออยู่น้อยมากอาจใช้กาวติด
เชือกให้เป็นรูปร่างต่างๆแล้วให้เด็กตัดกระดาษรอบ
รอบเชือกนั้น
ฝึกสัมผัสสิ่งของใช้ต่างๆและให้บอกชื่อของสิ่งของตาม
นั้น
4. พัฒนาการทางสติปัญญา
การแยกประเภท โดยให้เด็กเล่นเกมสัมผัสวัตถุและบอก
ลักษณะของวัตถุทั้งนั้นแล้วให้ แยกประเภท 3 มิติ รูปทรง
ขนาด ผิว และน้ำหนัก เป็นต้น
เหตุผล ฝึกเล่นเกมที่ให้เด็กรู้จักใช้เหตุผลโดยมีข้อสรุปที่
สามารถตรวจสอบได้ตามความเป็นจริงให้เด็กได้ตัวอย่างที่
เป็นของจริงและประสบการณ์ตรง เช่น ถ้าเราเปิดตู้เย็นเรา
จะรู้สึกอย่างไร เป็นต้น
การแก้ปัญหา เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาจะเข้าใจได้ช้า
ว่าวัตถุในสภาพแวดล้อมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลาย
อย่าง ครูควรส่งเสริมว่าวัตถุต่างๆนำมาใช้ได้หลายวิธีและ
ควรกล่าวถึงการเชื่อมโยงของวัตถุนั้นน้ำกับสิ่งอื่น เช่น เก้าอี้
ตัวเตี้ย อาจใช้งานได้หลายลักษณะนอกเหนือจากการนั่งแล้ว
อาจใช้ยืนหยิบสิ่งของในที่สูงได้เป็นต้น
5.พัฒนาทางอารมณ์และสังคม
การตอบสนองทางอารมณ์เด็กที่มีความบกพร่องทางการมอง
เห็น ควรได้รับการกระตุ้นให้แสดงออกในการตอบสนองทาง
อารมณ์อย่างเหมาะสมโดยการแสดงออกทางสีหน้า
การพลัดพรากจากกัน เด็กอาจเกิดความกังวลใจถ้าไม่มีผู้ใหญ่
อยู่ใกล้ๆ ดังนั้น ผู้ใหญ่ต้องลดความกังวลใจของเด็กโดยบอก
เด็กว่าผู้ใหญ่ยังอยู่ในบริเวณนั้นๆถึงแม้ว่าจะอยู่ไกลออกไป
ก็ตาม
การกลัวคนแปลกหน้า เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
ควรได้รับการสัมผัสกับคนแปลกหน้าขณะที่สมาชิกในบ้านอยู่
ด้วย โดยค่อยๆแนะนำให้เด็กรู้จักคนแปลกหน้าไม่ควรจู่โจม
เด็ก
อิทธิพลของพ่อแม่ ปัญหาทางสังคมของเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางสายตาส่วนใหญ่คือเรื่องของการปรับตัวของพ่อแม่ให้เข้า
กับเด็กการแนะแนวให้กับผู้ปกครองจึงเป็นสิ่งจำเป็นตลอดจน
การแนะแนวให้ผู้ปกครองรู้จักผู้ปกครองคนอื่นในลักษณะ
เดียวกัน ดังนั้นครูควรสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่
และลูก
6.พัฒนาทักษะในการช่วยเหลือตนเอง
ควรมีการสนับสนุนให้เด็กช่วยเหลือและเป็นตัวของตัวเอง
มากที่สุด ดังนี้
หลักโดยทั่วไป ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมใหม่ต้องบอกให้เด็ก
รู้ล่วงหน้า
-พยายามวางของให้เป็นทุกครั้ง เช่น วางช้อนทางขวาของ
จาน หรือ แปรงหวีผมวางบนโต๊ะเครื่องแป้งทุกครั้ง
การรับประทานอาหาร
-ให้เด็กเรียนรู้ชื่ออาหารชนิดต่างๆจากการดมกลิ่น
-ก่อนที่เด็กจะหัดรับประทานอาหารเองเราควรบอกว่า
อาหารวางตรงไหนของจาน
-สำหรับเด็กที่เข้าใจเรื่องเวลาเราอาจใช้นาฬิกาเป็นแม่
แบบ
การแต่งตัว
-พยายามให้เด็กแต่งตัวเอง
-ทำตำหนิเสื้อจากหน้าและหลัง
สื่ อสิ่ งอำนวยความสะดวกสำหรับ
บุ คคลที่บกพร่ องทางการเห็ น
1.เครื่องพิมพ์ดีดอักษรเบรลล์
คือ อุปกรณ์ผลิตสื่ออักษรเบรลล์ ซึ่งบุคคลที่บกพร่องทาง
การเห็นมีความจำเป็นต้องใช้ในการพิมพ์ เอกสาร หรืองานต่าง ๆ
เพื่อจดบันทึกข้อมูลลงบกระดาษ หรือแผ่นพลาสติก
2.กระดานหรือแผนรองเขียน(Slate)และดินสอ(Stylus)
คือ อุปกรณ์พื้นฐานของการเขียนอักษรเบรลล์ด้วยมือ เพื่อใช้
ในการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ และสามารถพกพาได้สะดวก
Slate ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกบกัน มีรูเพื่อการกด
ทำอักษรนูน Stylus มีลักษณะเป็นโลหะปลายแหลมมีด้ามจับ
กระชับอุ้งมือ เพื่อกดเข้าไปรูบน Slate
3.ไม้เท้าขาว
คือ อุปกรณ์ที่ช่วยนำทางคนตาบอดให้ไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้
อย่างอิสระและปลอดภัย ไม้เท้าขาวมีหลายลักษณะ เช่น
แบบพับได้ แบบพับไม่ได้ ฯลฯ
4.ลูกคิด
คือ อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อช่วยในการคำนวณสำหรับคนตาบอด
เช่น บวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม รากที่สอง ฯลฯ
5.แว่นขยาย
คือ อุปกรณ์ที่ช่วยขยายสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยเลนส์
ของอุปกรณ์ที่ช่วยในการขยาย มีหลายขนาดขึ้น อยู่กับความ
เหมาะสมของแต่ละบุคคล
ผู้จัดทำ
นางสาวจิรนันท์ โคตะการ
รหัสนักศึกษา 6211010006
สาขาภาษาไทย คณะครุศาสตร์