The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักเกษตรทฤษฎีใหม่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chonnicha Chumuenwai, 2022-07-11 04:57:58

เศรษฐกิจพอเพียง ส 32101

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักเกษตรทฤษฎีใหม่

โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์

เศรษฐกิจพอเพียง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
เศรษฐศาสตร์ (ส 32101)

“...เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต
รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน

เปรียบเสมือนเสาเข็ม
ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง

สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม
แต่คนส่ วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม
และลืมเสาเข็มเสี ยด้วยซ้ำไป...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากวารสารชัยพัฒนา

ฉบับประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง
ความจำเป็นที่ต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการรับผลกระทบใด ๆ
ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ต้องอาศัย
ความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำหลักวิชาการ
ต่าง ๆมาใช้ในการวางแผนเพื่อดำเนินการทุกขั้นตอน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คืออะไร?

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถี
ปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกร
ชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี และได้ทรงเน้นย้ำแนวทางพัฒนา
ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึง
ถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ตลอดจน ใช้ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การ
ป้องกันให้รอดพ้นจากวิกฤต และให้สามารถ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและ
ยั่งยืนภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญา

ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ

ประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว

ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา

และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง

โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้

ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง

หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล


รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ต่อการมีผลกตร่ะอทบกใาดรๆมอีัผนเลกิดกจรากะทกาบรเปลี่ยนแปลง ทั้ง

ภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความ
รอบคอบ และความ ระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ
มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ
ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้าง พื้นฐานจิตใจ
ของคนในชาติโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏีและนัก
ธุรกิจในทุกระดับ

ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่
เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา
และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ
เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่ง
แวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

“...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย
เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ
มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง
หมายความว่าพอประมาณ
ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก
คนเราก็อยู่เป็นสุข...”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

องค์ประกอบ ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง

องค์ประกอบ ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสม
กับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น
ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่างๆอย่างมีเหตุผลตาม
หลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม คิดถึง
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างถ้วนถี่ โดยคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ
อย่างรอบคอบ

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัว ให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปลี่ยนแปลงในด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถ
ปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงท

องค์ประกอบ ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง

เงื่อนไขสำคัญ เพื่อให้เกิดความพอ
เพียง การตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ต้องอาศัย ทั้งเงื่อนไขคุณธรรม หลักวิชา และ
เงื่อนไขชีวิตเป็นพื้นฐาน

เงื่อนไขคุณธรรม เสริมสร้างพื้นฐาน
จิตใจของคนในชาติ ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต
รู้ รัก สามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่ง
ปันให้ผู้อื่น

องค์ประกอบ ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง

เงื่อนไขหลักวิชา อาศัยความรอบรู้
รอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำ
วิชาการต่างๆ มาใช้วางแผนและดำเนินการทุก
ขั้นตอน

เงื่อนไขชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยความ
อดทน มีความเพียร มีสติ และปัญญา บริหาร
จัดการ การใช้ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและ
คุณธรรม เป็นแนวทางพื้นฐาน

“...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า
มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ
แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข

ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ
อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ
หรือระบบพอเพียง...พอเพียงนี้อาจจะมีมาก
อาจจะมีของหรูหราก็ได้แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น.

ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ
พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
ในด้านต่างๆ

ด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิด
และวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป

ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว

ด้านสังคมและวัฒนธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลกันรู้ รัก
สามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน
รักษา เอกลักษณ์ ภาษา ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
ในด้านต่างๆ

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จัก ใช้และจัดการ
อย่างฉลาดและรอบคอบ ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและ
คงอยู่ชั่วลูกหลาน

ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับ
ความต้องการและสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีจาก
ภูมิปัญญาชาวบ้าน

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่
ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทาง
ปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่
หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น
ขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่
เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระ
ราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ
คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับ
บุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบ
พื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่
ตามแนวพระราชดำริ

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง

พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้
เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ
พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน
สำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ
เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอ
เพียงมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วนของสังคม
อย่างจริงจัง จะส่งผลให้การพัฒนาประเทศ
ก้าวหน้าไปอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน
พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
ทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่ง
แวดล้อม และเทคโนโลยีอันจะนำไปสู่
"ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย"

สมาชิกกลุ่ม

1. นางสาวชลนิชา จู๋หมื่นไวย ม.5/10 เลขที่ 2
2.นางสาวศราสิ นี แก้วภู ม.5/10 เลขที่ 3
3. นางสาวริญญารัตน์ ภูวสิ นปริยากรณ์ ม.5/10 เลขที่4
4. นายพชรดนัย อนันตภูมิ ม.5/10 เลขที่14
5. นายภูวิศ ศรีจันทร์ ม.5/10 เลขที่15
6. นางสาวศิริพร ศิลาลาศ ม.5/10 เลขที่22
7. นายณัฐวุฒิ เอี่ยมสุวรรณ ม. 5/10 เลขที่24
8. นางสาวขนิษฐา บุญเรือน ม.5/10 เลขที่ 27
9. นางสาวชญานีย์ พลายเถื่อน ม.5/10 เลขที่ 28
10. นายอัมรินทร์ สาดี ม.5/10 เลขที่31
11. นางสาววันวิสา ฉิมบรรจง ม.5/10 เลขที่34
12. นางสาวปราณปรียา บุญแต้ม ม.5/10 เลขที่37
13. นางสาวชญาภา ปลื้มจิตต์ ม.5/10 เลขที่ 40
14. นางสาววรินทร แก้วพรรณราย ม.5/10 เลขที่43
15. นางสาวปุณยนุช เร่งเหิม ม.5/10 เลขที่ 44


Click to View FlipBook Version