1
2
รายงานการสารวจทรพั ยากรป่ าไม้
อทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่
กลุ่มสารวจทรพั ยากรป่ าไม้
ส่วนสารวจและวิเคราะห์ทรพั ยากรป่ าไม้ สานักฟื้ นฟแู ละพฒั นาพ้ืนท่ีอนุรกั ษ์
กรมอทุ ยานแห่งชาติ สตั วป์ ่ า และพนั ธพุ์ ชื
พ.ศ. 2560
3
บทสรปุ สำหรบั ผู้บริหาร
จากสถานการณป์ ่าไมใ้ นปัจจุบันพบว่า พื้นทีป่ ่าไมใ้ นประเทศเหลืออยเู่ พยี งประมาณร้อยละ 31.62
ของพ้ืนที่ประเทศ การดำเนินการสำรวจทรัพยากรป่าไม้จึงเป็นอีกทางหนึ่งท่ีทำให้ทราบถึงสถานภาพและศักยภาพ
ของทรัพยากร ตลอดจนปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการบุกรุกทำลายป่า เพื่อนำมาใช้ในการ
ดำเนนิ การตามภาระรบั ผดิ ชอบต่อไป ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพนั ธพุ์ ืช ไดด้ ำเนินการมาอย่างต่อเน่ือง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดสรรงบประมาณการดำเนินงานและกำหนด
จุดสำรวจเป้าหมาย ในพืน้ ท่ีอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ ซง่ึ มีเนอื้ ท่ี 1,377,767.34 ไร่ หรอื ประมาณ 2,204.43
ตารางกิโลเมตร (พ้ืนที่ได้จากการแปลภาพถ่ายทางอากาศ) โดยพน้ื ทีอ่ ุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อยู่ในความดแู ล
รับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นท่ีอนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) และสำนักบริหารพ้ืนท่ีอนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)
ได้ทำการสำรวจท้ังสิ้น จำนวน 283 แปลง สำหรับการวางแปลงตัวอย่างถาวร (Permanent Sample Plot)
ที่มีขนาดคงที่ รูปวงกลม 3 วง ซ้อนกัน คือ วงกลมรัศมี 3.99, 12.62, 17.84 เมตร ตามลำดับและมีวงกลมขนาด
รัศมี 0.631 เมตร อยตู่ ามทิศหลกั ท้งั 4 ทศิ
ผลการสำรวจและวิเคราะหข์ ้อมูล เมื่อแปลภาพถ่ายทางอากาศ พบว่ามชี นิดป่าหรอื ลกั ษณะการ
ใช้ประโยชน์ท่ีดนิ ท้ังหมด 10 ชนดิ ได้แก่ ป่าดิบชนื้ ป่าดบิ แลง้ ป่าดบิ เขา ป่าเบญจพรรณ สวนป่า ทุ่งหญ้าธรรมชาติ
พื้นท่ีเกษตรกรรม แหล่งน้ำ พ้ืนท่ีหินโผล่ และพื้นที่อื่นๆ สำหรับพรรณไม้ยืนต้นรวมทุกชนิดป่า พบทั้งส้ิน 97
วงศ์ มีมากกว่า 740 ชนิด จำนวน 160,948,167 ต้น ปริมาตรไม้รวมท้ังหมด 36,817,574.00 ลูกบาศก์เมตร ความ
หนาแน่นของไม้เฉล่ีย 121 ต้นต่อไร่ และปริมาตรไม้เฉลี่ย 28.33 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ เม่ือเรียงลำดับตาม
ปริมาตรจากมากสุดไปหาน้อยสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis) มังตาน
(Schima wallichii) ก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima) เค่ียมคะน อง (Shorea henryana)
หว้า (Syzygium cumini) กระบก (Irvingia malayana) ข้ีหนอนควาย (Gironniera subaequalis)
สบ (Altingia excelsa) ปออีเก้ง (Pterocymbium tinctorium) และตาเสือ (Aphanamixis polystachya)
ตามลำดับ
กล้าไม้ (Seedling) ท่ีพบในแปลงสำรวจมีมากกว่า 435 ชนิด รวมจำนวนทั้งหมด 8,959,143,797 ต้น
ซ่ึงเมื่อเรียงลำดับจากจำนวนต้นที่พบมากสุดไปหาน้อยสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ เข็มป่า (Ixora cibdela)
ข่อยหนาม (Streblus ilicifolius) ตะเคียนหิน (Hopea ferrea) ก่อเดือย พริกไทยดง (Aporosa planchoniana)
ข่อย (Streblus asper) กระเบากลัก (Hydnocarpus ilicifolia) ค้างคาว (Aglaia edulis) อบเชย (Cinnamomum
bejolghota) และเชียด (Cinnamomum iners) ตามลำดบั
ลูกไม้ (Sapling) ที่พบในแปลงสำรวจมีมากกว่า 395 ชนิด รวมจำนวนทั้งหมด 644,112,821
ต้น ซ่ึงเม่ือเรียงลำดับจากจำนวนต้นท่ีพบมากสุดไปหาน้อยสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ข่อยหนาม ค้างคาว
ปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia) เข็มป่า กระเบากลัก ต้ิวเกล้ียง (Cratoxylum cochinchinense)
พลับพลา (Microcos tomentosa) กัดลิ้น (Walsura trichostemon) จันดำ (Diospyros venosa) และ
ตะเคียนหิน ตามลำดบั
ชนิดและปรมิ าณไผ่ที่พบ มีมากกว่า 11 ชนิด มีจำนวน 27,664,780 กอ รวมทั้งส้ิน 639,149,206 ลำ ชนิด
ท่ีพบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ไผ่กะแสนดำ (Schizostachyum mekongensis) ซาง (Dendrocalamus
strictus) และไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) ตามลำดับ
การสารวจทรพั ยากรป่าไมพ้ น้ื ทอ่ี ุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่
4
ชนิดและปริมาณของหวายท่ีพบ มี 7 ชนิด มีจำนวน 10,967,614 เส้น โดยชนิดที่พบมากท่ีสุด
3 อันดับแรก ได้แก่ หวายขม (Calamus siamensis) หวายโป่ง (Calamus latifolius) และหวายขริง
(Calamus palustris)
ชนิดและปริมาณตอไม้ท่ีพบ มีมากกว่า 23 ชนิด รวมทั้งสิ้น 1,977,048 ตอ โดยชนิดไม้ที่มี
ปริมาณตอมากท่ีสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) กระบาก (Anisoptera costata) และ
สอยดาว (Mallotus paniculatus) ตามลำดบั
จากผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลสังคมพืชในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบความหนาแน่นของ
พรรณพืช (Density) ความถี่ (Frequency) ความเด่น (Dominance) และดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ (IVI)
ดงั นี้
ในพ้ืนท่ีป่าดิบชื้นของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีชนิดไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญของชนิดไม้ (IVI)
สงู สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ กระเบากลัก (Hydnocarpus ilicifolia) ยางเสียน หว้า ข้ีหนอนควาย กัดล้ิน ค้างคาว
ยางโอน สำเภา พกิ ุลปา่ และจกิ นม ตามลำดบั
ในพนื้ ที่ป่าดิบแล้งของอทุ ยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่ มีชนิดไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคญั ของชนิดไม้ (IVI)
สูงสุด 10 อันดบั แรก ไดแ้ ก่ ยางเสยี น กระเบากลัก ก่อเดือย ข่อยหนาม มังตาน คอแลน หว้า ค้างคาว ตาเสือ
และดนั หมี ตามลำดบั
ในพ้ืนที่ป่าดิบเขาของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีชนิดไม้ท่ีมีค่าดัชนีความสำคัญของชนิดไม้ (IVI)
สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ก่อเดอื น ข้ีหนอนควาย มังตาน หมากขี้อ้าย พูสลัก พญาไม้ เสมด็ แดง สะทิบ เหมือดปลาซิว
และข้หี นอนควาย ตามลำดับ
ในพ้ืนที่ป่าเบญจพรรณของอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่ มีชนิดไม้ท่ีมีค่าดัชนีความสำคัญของชนิดไม้ (IVI)
สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ พลับพลา ประดู่ โมกมัน กระบก ติ้วเกล้ียง คำแสด แคหัวหมู กระถิน หมีเหม็น
และหว้า ตามลำดับ
ในพ้ืนที่สวนป่าของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีชนิดไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญของชนิดไม้ (IVI)
สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ยูคาลิปตัส กระถิน คำแสด แคหัวหมู มะหาด มะกล่ำต้น มะเกลือ มะเด่ือ ข่อย
และแดง ตามลำดับ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างป่า พบว่า มีไม้ยืนต้นขนาดเส้นรอบวงเพียงอก (GBH) ระหว่าง
15-45 เซนติเมตร จำนวน 112,944,099 ตน้ คิดเป็นร้อยละ 70.17 ของไม้ท้ังหมด ไม้ยืนต้นขนาดเส้นรอบวง
เพียงอก (GBH) อยู่ระหว่าง >45-100 เซนติเมตร จำนวน 35,831,581 ต้น คิดเป็นร้อยละ 22.26 ของไม้ทั้งหมด
และไม้ยืนต้นขนาดเส้นรอบวงเพียงอก (GBH) มากกว่า 100 เซนติเมตรขึ้นไป จำนวน 12,172,487 ต้น คิด
เป็นร้อยละ 7.56 ของไมท้ ้งั หมด
ปริมาณมวลชีวภาพ (มวลชีวภาพเหนือพ้ืนดินและมวลชีวภาพใต้พื้นดิน) ท้ังหมด เท่ากับ
32,814,252.34 ตัน โดยมีค่ามวลชีวภาพเฉลี่ยเท่ากับ 25.46 ตันต่อไร่ และมีปริมาณการเก็บกักคาร์บอน
เฉลย่ี เท่ากับ 45.02 ตนั คารบ์ อนไดออกไซดต์ อ่ ไร่
การสารวจทรพั ยากรป่าไมพ้ น้ื ทอ่ี ุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่
5
มูลค่าไม้ยืนต้นในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นมูลค่าไม้แปรรูปและไม้ชิ้นสับมีค่าเท่ากับ
122,042,045,134 บาท
จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้ทราบข้อมูลพ้ืนฐานเก่ียวกับทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะ
ด้านกำลังผลิตและความหลากหลายของพันธ์ุพืชในพื้นท่ีต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อีกท้ังยังเป็น
แนวทางในการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ เกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการสำรวจ และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
และแบบแผนเพ่ือเป็นแนวทางในการติดตามการเปล่ียนแปลงของทรัพยากรป่าไม้ในพ้ืนที่อุทยานแห่งชาติเขา
ใหญ่ ต่อไป
การสารวจทรพั ยากรป่าไมพ้ น้ื ทอ่ี ุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่
6
สารบญั
สารบัญ หน้า
สารบญั ตาราง 6
สารบัญภาพ 8
คำนำ 9
วตั ถปุ ระสงค์ 10
เป้าหมายการดำเนินการ 11
ข้อมูลทั่วไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 11
12
ความเป็นมา 12
ลกั ษณะภูมิประเทศ 13
ลกั ษณะภมู อิ ากาศ 13
พชื พรรณและสัตวป์ า่ 14
แหลง่ ทอ่ งเทย่ี วภายในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 15
การเดนิ ทางและเสน้ ทางคมนาคม 20
รูปแบบและวธิ กี ารสำรวจทรัพยากรป่าไม้ 21
การสมุ่ ตวั อยา่ ง (Sampling Design) 21
รปู รา่ งและขนาดของแปลงตวั อยา่ ง (Plot Design) 22
ขนาดของแปลงตวั อย่างและข้อมูลท่ีทำการสำรวจ 22
การวเิ คราะห์ข้อมูลการสำรวจทรพั ยากรป่าไม้ 23
1. การคำนวณเน้ือท่ีป่าและปรมิ าณไมท้ ้ังหมดของแต่ละพืน้ ท่อี นรุ ักษ์ 23
2. การคำนวณปริมาตรไม้
3. ขอ้ มลู ท่วั ไป 23
4. การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบของหมไู่ ม้
5. การวเิ คราะหข์ ้อมลู ชนิดและปรมิ าณของลูกไม้ (Sapling) และกลา้ ไม้ (Seedling) 24
6. การวิเคราะหข์ ้อมลู ชนิดและปรมิ าณของไม้ไผ่ หวาย
7. การวิเคราะหข์ อ้ มลู สังคมพชื 25
8. วเิ คราะห์ขอ้ มูลความหลากหลายทางชวี ภาพ
9. วเิ คราะห์ขอ้ มูลปรมิ าณมวลชวี ภาพ (Biomass) 25
25
25
27
28
ผลการสำรวจและวเิ คราะห์ข้อมูลทรัพยากรปา่ ไม้ 7
1. การวางแปลงตัวอย่าง
2. พืน้ ทปี่ า่ ไม้ สารบญั (ต่อ)
3. ปริมาณไม้
4. ชนดิ พันธุ์ไม้ หนา้
5. สงั คมพชื 29
6. ความหลากหลายทางชีวภาพ 29
7. ปริมาณมวลชวี ภาพ 31
8. มลู คา่ ไมย้ ืนต้นในอทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ 37
39
สรปุ ผลการสำรวจและวเิ คราะห์ข้อมลู ทรพั ยากรปา่ ไม้ 50
ปัญหาและอปุ สรรค 56
ขอ้ เสนอแนะ 56
เอกสารอ้างองิ 59
ภาคผนวก 61
64
64
65
66
8
สารบญั ตาราง
ตาราง หนา้
1. ขนาดของแปลงตวั อยา่ งและข้อมลู ทที่ ำการสำรวจ 22
2. พ้นื ทปี่ ่าไม้จำแนกตามลักษณะการใชป้ ระโยชน์ท่ีดินใน 31
อุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่(Area by Landuse Type) 37
3. จำนวนต้นไม้ที่สำรวจพบจำแนกตามชนิดป่าหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน
39
ในอทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ 40
4. การกระจายขนาดความโตของไม้ท้ังหมดในอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ 41
5. ปรมิ าณไม้ทัง้ หมดของอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่ (30 ชนดิ แรกที่มีปรมิ าตรไม้สูงสุด) 42
6. ปริมาณไม้ในปา่ ดิบชน้ื ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (30 ชนิดแรกท่มี ปี รมิ าตรไมส้ ูงสดุ ) 43
7. ปริมาณไม้ในปา่ ดบิ แล้งของอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ (30 ชนิดแรกท่ีมีปรมิ าตรไม้สูงสดุ ) 44
8. ปริมาณไม้ในป่าดิบเขาของอทุ ยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่ (30 ชนิดแรกทมี่ ีปรมิ าตรไมส้ ูงสุด) 45
9. ปรมิ าณไมใ้ นปา่ เบญจพรรณของอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ (30 ชนดิ แรกท่ีมปี ริมาตรไม้สูงสุด) 46
10. ปรมิ าณไม้ในพื้นท่สี วนปา่ ของอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ 47
11. ชนดิ และปริมาณกล้าไม้ (Seedling) ท้งั หมดท่พี บในอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ 48
12. ชนดิ และปริมาณลูกไม้ (Sapling) ทั้งหมดท่พี บในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 48
13. ชนดิ และปรมิ าณไผ่ท่ีพบในอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ 49
14. ชนิดและปรมิ าณหวายที่พบในอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ 51
15. ชนิดและปริมาณตอไมท้ ี่พบในอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่
16. ดัชนคี วามสำคัญของชนิดไม้ (Importance Value Index : IVI) ของป่าดบิ ชืน้ 52
ในอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่
17. ดัชนคี วามสำคัญของชนิดไม้ (Importance Value Index : IVI) ของป่าดิบแลง้ 53
ในอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่
18. ดชั นีความสำคัญของชนิดไม้ (Importance Value Index : IVI) ของป่าดิบเขา 54
ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
19. ดัชนีความสำคัญของชนิดไม้ (Importance Value Index : IVI) ของป่าเบญจพรรณ 55
ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
20. ดชั นีความสำคัญของชนดิ ไม้ (Importance Value Index : IVI) ของพน้ื ทีส่ วนป่า 56
ในอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ 57
21. ความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธ์ไุ มใ้ นอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่
22. มวลชีวภาพและปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพ้ืนทีอ่ ุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่
23. มูลค่าไม้ยนื ตน้ ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
9
สารบญั ภาพ
ภาพที่ หน้า
1. แก่งหินเพิง 15
2. จดุ ชมทวิ ทศั น์เขาเขียว (ผาเดียวดาย) 16
3. นำ้ ตกคลองแกว้ 16
4. น้ำตกผากล้วยไม้ 17
5. น้ำตกสาลิกา 18
6. น้ำตกเหวนรก 18
7. นำ้ ตกเหวสวุ ัต 19
8. ลกั ษณะและขนาดของแปลงตัวอย่าง 21
9. แผนที่แสดงจดุ สำรวจท้งั หมดในพน้ื ท่ีอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ 29
10. แผนทแี่ สดงชนิดป่าประเภทต่างๆของอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่จากการแปลภาพถา่ ยทางอากาศ 30
11. พื้นที่ป่าจำแนกตามการใชป้ ระโยชน์ท่ดี นิ ในอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ 32
12. ลกั ษณะทว่ั ไปของป่าดิบเขาในอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่ 32
13. ลกั ษณะท่ัวไปของป่าดบิ ชน้ื ในอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่ 33
14. ลกั ษณะทวั่ ไปของปา่ ดิบแล้งในอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่ 33
15. ลักษณะทว่ั ไปของปา่ เบญจพรรณในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 34
16. ลักษณะทัว่ ไปของสวนป่าในอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ 34
17. ลักษณะทว่ั ไปของทุง่ หญา้ ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 35
18. ลักษณะทั่วไปของพน้ื ที่แหล่งนำ้ ในอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ 35
19. ลักษณะทั่วไปของพนื้ ทีห่ ินโผล่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 36
20. ลักษณะทวั่ ไปของพนื้ ท่ีอ่นื ๆ ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 36
21. ปริมาณไม้ท้ังหมดท่ีพบในอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ 38
22. ปริมาตรไม้ทั้งหมดท่พี บในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 38
23. การกระจายขนาดความโตของไม้ตน้ ในพ้นื ที่อทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ 39
24. แผนที่แสดงปรมิ าณมวลชีวภาพแยกตามการใชป้ ระโยชนท่ีดนิ 58
10
คำนำ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์
ดำเนินโครงการสำรวจทรพั ยากรป่าไม้ เพ่ือตดิ ตง้ั ระบบติดตามความเปล่ียนแปลงของทรัพยากรปา่ ไมใ้ นพน้ื ทป่ี ่า
อนุรักษ์ท่วั ประเทศ เพือ่ ให้ทราบถึงสถานภาพและศักยภาพของทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากรปา่ ไม้ รวมท้ัง
ความหลากหลายทางชีวภาพท่ีมีอยูใ่ นพ้ืนท่ีป่าไม้ ตลอดจนปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการบุกรุก
ทำลายปา่ เพือ่ นำมาใชใ้ นการดำเนินการตามภาระรับผิดชอบต่อไป ส่วนสำรวจและวิเคราะหท์ รพั ยากรป่าไม้
จึงได้ดำเนินการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ตามแผนงานดังกล่าวในพื้นท่ีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซ่ึงเป็นพื้นท่ีที่
ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ถือเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสมบูรณ์และสำคัญของ
ประเทศไทย โดยมีรูปแบบและวิธีการสำรวจแบบแปลงตัวอย่างถาวรรูปวงกลมรศั มี 17.84 เมตร และสุ่มตัวอย่าง
แบบสม่ำเสมอ (Systematic Sampling) ในพื้นท่ภี าพถ่ายดาวเทียมที่มีการแปลสภาพว่าเป็นป่า โดยให้แต่ละ
แปลงตัวอย่างมีระยะห่างเท่าๆ กัน บนเส้นกริดแผนท่ี 2.5x2.5 กิโลเมตร ซึ่งได้ทำการสำรวจชนิดและปริมาณ
ไม้ ลูกไม้ กล้าไม้ ไผ่ และหวาย เป็นต้น ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ป่าที่ทำการสำรวจในแต่ละจุด ซึ่งผลการสำรวจ
ที่ได้จะทำให้ทราบข้อมูลพ้ืนฐานเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะด้านกำลังผลิตและความหลากหลายของ
ชนดิ พันธุ์ไม้
ส่วนสำรวจและวเิ คราะหท์ รพั ยากรปา่ ไม้ สำนกั ฟ้นื ฟูและพัฒนาพืน้ ที่อนุรักษ์ ไดด้ ำเนนิ การ
สำรวจดงั กล่าวเสรจ็ แล้ว จงึ ได้จดั ทำรายงานผลการดำเนินงานสำรวจทรพั ยากรปา่ ไม้ในพ้นื ที่อทุ ยานแหง่ ชาติ
เขาใหญ่ฉบับนี้ขึ้น เพ่ือเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินงานด้านทรัพยากรป่าไม้ในพ้ืนท่ีอนุรักษ์ รวมทั้งใช้ในการ
ประเมินสถานภาพและศักยภาพของทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรอืน่ ๆ ที่เกย่ี วข้อง เพ่ือนำไปเป็นข้อมลู
พนื้ ฐานในการดำเนินการในภารกิจตา่ งๆ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตวป์ า่ และพันธ์พุ ืช ตอ่ ไป
การสารวจทรพั ยากรป่าไมพ้ น้ื ทอ่ี ุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่
11
1. เพ่ือให้ทราบข้อมูลพ้ืนฐานเก่ยี วกับทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะด้านกำลังผลิต และความหลากหลาย
ของพืชพันธใุ์ นพื้นท่ีอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่
2. เพ่ือใช้เป็นแนวทางในการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ เกี่ยวกับรูปแบบ วธิ กี ารสำรวจ และกาวเิ คราะห์
ขอ้ มลู อยา่ งเป็นระบบและแบบแผน
3. เพอื่ เปน็ แนวทางในการวางระบบติดตามการเปล่ียนแปลงของทรัพยากรป่าไมใ้ นพ้ืนที่
4. เพื่อให้ไดข้ ้อมลู พ้นื ฐานเกีย่ วกบั พรรณไมเ้ ดน่ และชนิดไม้มาใช้ในการวางแผนเพาะชำกลา้ ไม้
เพ่ือปลูกเสรมิ ป่าในแตล่ ะพน้ื ที่
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ส่วนสำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้ สำนักฟื้นฟูและพัฒนา
พื้นที่อนุรักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดสรรงบประมาณการดำเนินงานและ
กำหนดพ้ืนท่ีสำรวจเป้าหมายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่จังหวัด
ปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมา จงั หวดั นครนายก และจงั หวัดสระบุรี จำนวน 283 แปลง
การสำรวจใช้การวางแปลงตัวอย่างถาวร (Permanent Sample Plot) ทีม่ ีขนาดคงท่ี รปู วงกลม
3 วง ซ้อนกัน คือ วงกลมรัศมี 3.99, 12.62, 17.84 เมตร ตามลำดับ และมีวงกลมขนาดรัศมี 0.631
เมตร อยู่ตามทิศหลักทั้ง 4 ทิศ โดยจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้ง 4 ทิศ จะอยู่บนเส้นรอบวงกลมของ
วงกลมรศั มี 3.99 เมตร และทำการเกบ็ ขอ้ มลู การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ต่างๆ อาทิ เชน่ ชนดิ ไม้ ขนาด
ความโต ความสงู จำนวนกล้าไม้และลูกไม้ ชนิดป่า ลกั ษณะต่างๆ ของพ้ืนทท่ี ี่ต้นไม้ข้ึนอยู่ ลักษณะภูมิ
ประเทศ เช่น ระดับความสูง ความลาดชัน เปน็ ต้น ตลอดจนการเก็บข้อมูลองค์ประกอบร่วมของป่า เช่น
ไม้ไผ่ หวาย ไม้พุ่ม เถาวัลย์ และพืชช้ันล่าง แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลเพ่ือให้ทราบเนื้อที่ป่าไม้
ชนิดป่า ชนิดไม้ ปริมาณ และความหนาแน่นของหมู่ไม้ กำลังผลิตของป่า ตลอดจนการสืบพันธ์ุตาม
ธรรมชาติของหมูไ่ ม้ในปา่ น้ัน
12
ความเปน็ มา
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้รับสมญานาม
วา่ เป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน ตลอดจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่สำคัญของ
โลก ซ่ึงได้ดำเนินการประกาศจัดต้ังเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดท่ีดินบริเวณป่าเขา
ใหญ่ ในท้องท่ีตำบลป่าขะ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอบ้านนา ตำบลหนองแสง ตำบลนาหินลาด อำเภอปาก
พลี ตำบลสาริกา ตำบลหินต้ัง ตำบลพรหมมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ตำบลประจันตคาม อำเภอ
ประจันตคาม ตำบลสัมพันตา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา และตำบลมวกเหล็ก ตำบลซำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้เป็นอุทยาน
แห่งชาติ ซ่ึงลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 86 ลงวันที่ 18 กันยายน 2505 รวมเนื้อที่
1,355,468.75 ไร่ หรือ 2,168.75 ตารางกโิ ลเมตร
ตอ่ มากองทัพอากาศได้มีหนังสอื ที่ กศ 0379/15739 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ถงึ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ ขอกันพื้นท่ีก่อสร้างสถานีเรดาร์และสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคม ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ซงึ่ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ไดม้ ีมตใิ นคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 ลงวันท่ี 3 กุมภาพันธ์ 2520 เห็นชอบ
ให้กันพื้นที่ส่วนดงั กล่าวได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎกี า เพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วน ในท้องท่ี
ตำบลหินตง้ั อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2521 ซ่ึงลงประกาศในราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ที่ 95 ตอนท่ี 99
ลงวันที่ 21 กันยายน 2521 เป็นเน้ือที่ประมาณ 71 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา หรอื 0.1149 ตารางกิโลเมตร และ
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอใช้พื้นที่บางสว่ นในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในท้องท่ีอำเภอ
ปากพลี และอำเภอเมอื ง จังหวัดนครนายก เนือ้ ท่ี 1,925 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา หรอื 3.0807 ตารางกิโลเมตร
เพอ่ื ก่อสร้างโครงการเข่ือนคลองท่าด่านอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ เพ่ือประโยชน์ในการจัดแหล่งเกบ็ กักนำ้ ใช้
เพื่อการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูก รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัด
นครนายกเป็นประจำทุกปี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ทำการก่อสร้างโครงการเข่ือนคลองท่าด่าน อัน
เน่ืองมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วน ในท้องที่
ตำบลหินลาด อำเภอปากพลี และตำบลหินต้ัง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โดยประกาศในราช
กจิ จานเุ บกษาเล่มท่ี 116 ตอนท่ี 119ก ลงวนั ที่ 26 พฤศจิกายน 2542
13
ลกั ษณะภมู ิประเทศ
สภาพท่ัวๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นพ้ืนท่ีด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่ง
สูงโดดเด่นขึ้นมาจากท่ีราบภาคกลาง แล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของท่ีราบสูงโคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูง
ท่ีสุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขา
ฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซ่ึงวัด
ความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ท่ีอุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือ
และตะวันออกพ้ืนท่ีจะลาดลง ทางทิศใต้และตะวันตกเป็นท่ีสูงชันไปเร่ือยๆ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิด
ต้นน้ำลำธารท่ีสำคญั ถึง 5 สาย ได้แก่
- แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก อยู่ในพ้ืนท่ีทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซ่ึงมี
ความสำคัญต่อการเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำท้ัง 2 สายน้ี มาบรรจบกัน
ทจ่ี งั หวดั ฉะเชิงเทรา กลายเป็นแมน่ ้ำบางปะกงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย
- แม่น้ำลำตะคองและแมน่ ้ำพระเพลิง อย่ใู นพ้ืนท่ที างทิศเหนือ ไหลไปหล่อเล้ียงพื้นท่ีเกษตรกรรม
ของทร่ี าบสูงโคราช ไปบรรจบกบั แมน่ ้ำมูลซึ่งเปน็ แหล่งน้ำสำคัญของภาคอีสานตอนลา่ งไหลลงสู่แม่น้ำโขง
- ห้วยมวกเหลก็ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉยี งเหนือ มีปริมาณน้ำไหลตลอดท้งั ปีและใหป้ ระโยชน์ทางด้าน
การเกษตร โดยเฉพาะการปศุสตั ว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสูแ่ ม่นำ้ ป่าสกั ทอ่ี ำเภอมวกเหล็ก
ลักษณะภูมิอากาศ
อทุ ยานแห่งชาติเขาใหญม่ สี ภาพป่าท่ีรกทึบ และไดร้ ับอิทธพิ ลจากลมมรสมุ ทำใหเ้ กิดฝนตกชุกตาม
ฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัดและหนาวจัดจนเกินไป เหมาะแก่การท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิด
ต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือน
พฤษภาคม ประมาณ 28 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม มีอุณหภูมิประมาณ 17 องศา
เซลเซียส และมีความช้ืนสมั พทั ธ์เฉลีย่ ของอทุ ยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่เท่ากับ 66 เปอรเ์ ซ็นต์
- ฤดรู อ้ น แม้วา่ อากาศจะร้อนอบอา้ วกวา่ ในท่ีอื่น แต่ทเ่ี ขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเยน็ สบายเหมาะ
แก่การพักผ่อน
- ฤดฝู น เปน็ ช่วงท่ีสภาพธรรมชาติ ป่าไม้ และทุ่งหญ้าเขียวขจี สวยงาม นำ้ ตกต่างๆ จะมีสายนำ้ ท่ี
ไหลหลากและเชย่ี วกราก
- ฤดหู นาว ชว่ งเดือนตลุ าคม ถึงเดือนกมุ ภาพนั ธ์ เป็นฤดูท่นี ักท่องเท่ียวมากทีส่ ุด อากาศค่อนข้างเยน็
โดยเฉพาะบรเิ วณเขาสูง
14
พชื พรรณและสตั วป์ ่า
สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบ
ชน้ื ป่าดบิ เขา ทงุ่ หญา้ และปา่ รุน่ หรอื ปา่ เหลา่ ซึ่งมรี ายละเอยี ดดังนี้
- ป่าเบญจพรรณ ลักษณะของป่าชนิดน้ีอยู่ทางด้านทศิ เหนือ ซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 200-600
เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู
แดง นนทรี ซ้อ ปออีเก้ง สมอพิเภก ตะคล้ำ เป็นต้น พืชช้ันล่างมีไม้ไผ่และหญ้าต่างๆ รวมทั้งกล้วยไม้ด้วย ใน
ฤดูแลง้ ปา่ ชนิดนจ้ี ะมีไฟลุกลามเสมอ และตามพนื้ ป่าจะมีหนิ ปูนผดุ ข้นึ อยทู่ วั่ ๆ ไป
- ป่าดิบแล้ง ลักษณะป่าชนิดนี้มีอยู่ทางทิศตะวันออก ซ่ึงเป็นที่ราบลูกเนินในระดับความสูง 200-
600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ช้ันบน ได้แก่ ยางนา พันจำ เค่ียมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียน
หิน ตะแบก สมพง สองสลึง มะค่าโมง ปออีเก้ง สะตอ ซาก และคอแลน เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรองมี กะเบา
กลัก หลวงขี้อาย และกัดลิ้น เป็นต้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วยพืช
จำพวกมะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ขา่ กลว้ ยป่า และเตย เป็นต้น
- ป่าดิบช้ืน ลักษณะป่าชนิดน้ีเป็นป่าท่ีอยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ปานกลาง จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกับป่าดิบแล้ง เพียงแต่ว่าไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางกล่อง
ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก โดยเฉพาะพื้นที่ถกู รบกวนจะพบ ชมพูปา่ และกระทุ่มน้ำข้ึนอยู่ท่ัวไป บริเวณ
ริมลำธารมักจะมีไผ่ลำใหญ่ๆ ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ป่าดิบช้ืนบนที่สูงข้ึนไปจะมียางปายและยางควน นอกจากไม้
ยางแล้วไม้ช้ันบนชนิดอื่นๆ ยังมี เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ จำปีป่า พะดง และทะโล้ ไม้ช้ันรอง ได้แก่ ก่อน้ำ
ก่อรัก กอ่ ดา่ ง และกอ่ เดือย ข้ึนปะปนกัน
- ปา่ ดิบเขา ป่าชนดิ นีเ้ กิดอยู่ในทที่ ี่มอี ากาศเย็นบนภูเขาสงู ท่ีสงู จากระดบั น้ำทะเลประมาณ 1,000
เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างไปจากป่าดงดิบช้ืนอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีไม้วงศ์ยางข้ึนอยู่เลย พรรณไม้ท่ีพบเป็น
ไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี และไม้ก่อชนิดต่างๆ ที่พบข้ึนในป่าดิบ
ชื้น ตามเขาสูงจะพบต้นกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจัดกระจายอยู่ท่ัวไป ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เก็ดล้าน ส้มแปะ แกนมอ
เพลาจังหัน และหว้า พชื ชั้นล่าง ได้แก่ ต้างผา กำลงั กาสาตัวผู้ กูด และกลว้ ยไมด้ นิ
- ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นหรอื ป่าเหล่า ลักษณะป่าชนิดนเี้ ปน็ ผลเสียเนอ่ื งจากการทำไร่เล่ือนลอยในอดีต
กอ่ นมีการจดั ตั้งป่าเขาใหญ่เป็นอทุ ยานแห่งชาติ ได้มีราษฎรอาศัยอยู่และได้แผ้วถางป่าทำไร่ เม่ือมีการอพยพ
ราษฎรลงไปสู่ท่ีราบ บริเวณไร่ดังกล่าวถูกปล่อยท้ิง ต่อมามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาเสียส่วนใหญ่ บางแห่งมีหญ้า
แขม หญ้าพง หญ้าขนตาช้างเลา และตองกง และยังมีกูดชนิดต่างๆ ข้ึนปะปนอยู่ด้วย และเนื่องจากในเขตอุทยาน
แห่งชาติเขาใหญ่มีการป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี พ้ืนท่ีป่าหญ้าหรือป่าเหล่าน้ี จึงไม่ถูกรบกวนจากไฟป่าเลย
ดังนั้น จึงมีพันธุ์ไม้เบิกนำจำนวนไม่น้อย แพร่พันธ์ุกระจัดกระจายทั่วไป เช่น สอยดาว บรมือ ลำพูป่า เลี่ยน
ปอหู ตองแตบ ฯลฯ ปัจจุบนั พื้นท่ปี ่าทุง่ หญา้ บางแห่ง ได้กลบั ฟื้นคนื สภาพเปน็ ปา่ ละเมาะบา้ งแลว้
อทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งท่ีมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ในบางโอกาสขณะขับรถยนตไ์ ปตามถนน จะสามารถ
เห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนน ลูกช้างเล็กๆ
บริเวณต้ังแต่ที่ชมวิวกิโลเมตรท่ี 30 จนถึงปากทางเข้าหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ในปัจจุบันถ้าขับ
รถยนต์ข้ึนเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอม ข้ามสะพานคลองสามสิบไปแล้ว สามารถเห็นโขลงช้างได้
เหมือนกัน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน จากการศึกษาตามโครงการการอนุรกั ษ์ชา้ งป่า และการจัดการพื้นที่ป้องกัน
(Elephant Conservation and Protected Area Management) ภายใต้ความร่วมมือของ WWF และ
IUCN ในปี พ.ศ. 2527-2528 พบว่า มีช้างจำนวนประมาณ 250 ตัว สัตว์ป่าที่พบได้บ่อยๆ และตามโอกาส
15
อำนวย ได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้าทั่วๆ ไป นอกจากน้ียังพบ เสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่น ชะนี
พญากระรอก หมาไม้ ชะมด อีเห็น กระตา่ ยป่า และนกชนิดต่างๆ จำนวน 250 ชนิด จากจำนวนไม่น้อยกว่า
340 ชนิด ที่สำรวจพบอาศัยอยู่บริเวณป่าเขาใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารและท่ีอาศัยอย่างถาวร นกที่
น่าสนใจและพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกเงือก นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นก
แซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้าและนกกินแมลงชนิดต่างๆ นกเงือกทั้ง 4 ชนิด ซึ่งได้แก่ นกกก นกเงือก
กรามช้าง นกแก๊ก และนกเงือกสีน้ำตาลท่ีพบบนเขาใหญ่นับว่าเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักดูนกเป็นอย่างดี เพราะพบ
เห็นไดท้ ั่วไป พวกแมลงทีม่ มี ากกวา่ 5,000 ชนิด ทีส่ วยงามและพบเหน็ บ่อย ได้แก่ ผีเสอ้ื มีรายงานพบกวา่ 216 ชนิด
แหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่
- แก่งหินเพิง เป็นแก่งหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำใสใหญ่ ในเขตอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
แก่งหินเพิงจะสวยงามมากที่สุดในยามน้ำหลาก ราวเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ฤดูฝนจึงเป็น
ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการท่องเท่ียวแก่งหินเพิง มีนักท่องเท่ียวเดินทางมาเล่นน้ำตามแก่งต่างๆ เป็น
จำนวนมาก สำหรับผู้ช่ืนชอบความตื่นเต้นเร้าใจ ยังนิยมนำการล่องแก่งแพยางจากแก่งหินเพิงลงมายังหน่วย
พทิ ักษ์อทุ ยานแหง่ ชาติ ที่ ขญ.9 อกี ดว้ ย
ภาพที่ 1 แก่งหนิ เพิง
- จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย) นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามน่าชม มีลักษณะคล้าย
ผานกเค้าที่ภูกระดึง จะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาว และทิวทัศน์ท่ีสวยงามด้านจังหวัดปราจีนบุรี
ตอนเชา้ ตรู่จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นยามเชา้ เป็นดวงกลมสแี ดงเหนือสนั เขาร่มท่ีสวยงาม
16
ภาพที่ 2 จุดชมทวิ ทศั น์เขาเขียว (ผาเดียวดาย)
- น้ำตกคลองแก้ว เป็นน้ำตกเตี้ยๆ ท่ีเกิดจากห้วยลำตะคอง ในฤดูฝนจะดูสวยงามมากเหมาะ
สำหรับการเล่นน้ำ ใกล้บริเวณน้ำตกจะมีสะพานแขวนลำห้วยถึง 2 สะพาน ห้วยลำตะคอง เป็นแนวแบ่งเขต
จังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกแห่งน้ีอยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเท่ียวเขาใหญ่ ประมาณ
100 เมตร
ภาพท่ี 3 น้ำตกคลองแก้ว
17
- น้ำตกแก่งกฤษณา น้ำตกเหวจั๊กจั่น เป็นน้ำตกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ท่ีมีความงดงามไม่แพ้
แห่งอืน่ ๆ เหมาะสำหรบั การพกั แรมในปา่ และชมทวิ ทศั น์ธรรมชาติรอบกายอย่างเพลิดเพลนิ ใจ
- นำ้ ตกตะครอ้ นำ้ ตกสลดั ได และ นำ้ ตกสม้ ป่อย เป็นน้ำตกขนาดเล็กท่ีสวยงามอยู่ใกลก้ ับหน่วยพิทักษ์
อทุ ยานแห่งชาติ ท่ี ขญ.10 (ประจันตคาม) เหมาะสำหรบั พกั ผอ่ นเลน่ นำ้ ทุกวันจะมนี ักทอ่ งเทีย่ วในทอ้ งถิ่นและ
ใกล้เคียงไปเที่ยวชมและเล่นน้ำตกนี้ โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวจากถ่ินอ่ืนไปเที่ยวชม
มากเชน่ กนั
- น้ำตกธารทิพย์ เป็นน้ำตกเล็กๆ ไหลมาตามลานหินกว้างเป็นทางยาว จากนั้นสายน้ำจะไหล
ผ่านช่องเขาแคบที่ขนาบข้าง ก่อนตกลงเป็นน้ำตกสูง 5 เมตร จากน้ำตกธารทิพย์มีทางเดินป่าไปอีก 4
กิโลเมตร ถึงน้ำตกเหวอีอ่ำ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่อีกแห่งหน่ึง มีความสูงประมาณ 25 เมตร ผู้สนใจติดต่อ
เจ้าหน้าที่ นำทางที่หน่วยพทิ ักษ์อุทยานแหง่ ชาตทิ ี่ ขญ. 10 (ประจนั ตคาม)
- นำ้ ตกผากล้วยไม้ เป็นน้ำตกขนาดกลางท่ีอยูใ่ นห้วยลำตะคองเช่นเดยี วกนั ห่างจากศูนยบ์ รกิ าร
นักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า ทางเดินเริ่ม
จากจุดกางเต็นท์ผากล้วยไม้ไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร โดยเดนิ เลียบไปตามห้วยลำตะคองที่เต็มไปด้วยพันธไุ์ ม้
ใหญ่ร่มคร้ึม มีโอกาสพบนกหลายชนิด เช่น นกกางเขนน้ำหลังเทา นกกะรางคอดำ นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ
ฯลฯ น้ำตกผากล้วยไม้มีลักษณะเป็นหน้าผาลดหลั่นกันลงมา สูงประมาณ 10 เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำ
กว้างมาก เหมาะสำหรับเล่นน้ำ ตามหน้าผาและคบไม้บริเวณน้ำตกพบกล้วยไม้นานาชนิดข้ึนอยู่เป็นจำนวน
มาก กล้วยไมท้ โ่ี ดดเด่นท่ีสดุ คือ หวายแดง ท่จี ะออกดอกสแี ดงเปน็ ชอ่ ยาวในช่วงหน้ารอ้ น
ภาพที่ 4 น้ำตกผากล้วยไม้
18
- น้ำตกสารกิ า ต้ังอยู่ที่ตำบลสารกิ า อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สายน้ำ
ไหลตกจากหน้าผาเป็นทอดๆ ถึง 9 ช้ัน ผาที่สูงท่ีสุดประมาณ 100 เมตร แต่ละชั้นมีอ่างรับน้ำขนาดย่อม เหมาะ
แก่การลงเล่นน้ำ บริเวณน้ำตกช้ันล่างมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ และมีทางเดินต่อไปตามธารน้ำท่ีไหลตกลงมาเป็น
ชั้นๆ จนไปถึงแอ่งน้ำกว้างและโขดหินก้อนใหญ่ มองขึ้นไปจะเห็นน้ำตกสาริกาช้ันสูงท่ีสุด น้ำตกสาริกามีน้ำ
ไหลเกือบตลอดปี และในฤดฝู นจะมีปรมิ าณนำ้ มาก
ภาพที่ 5 นำ้ ตกสาริกา
- น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงทส่ี ุด อยูท่ างทิศใตข้ องอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่ มี
ทั้งหมด 3 ช้นั ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เม่ือน้ำไหลผา่ นหน้าผาชน้ั น้ี จะพุ่งไหลลงสูห่ นา้ ผาชนั้ ที่ 2 และ 3
ที่อยถู่ ัดลงไปใกล้ ๆ กัน ในลักษณะการไหลตก 90 องศา รวมความสูงไมต่ ่ำกว่า 150 เมตร เป็นสายน้ำท่ีไหลทะลัก
ไปส่หู ุบเหวเบอื้ งล่าง ในฤดูฝนนำ้ จะไหลแรงมากจนดนู ่ากลวั
ภาพท่ี 6 นำ้ ตกเหวนรก
19
- น้ำตกเหวสุวตั เป็นน้ำตกท่ีมีชื่อเสียงมากเปน็ ท่ีรู้จักของประชาชนทั่วๆ ไป น้ำตกเหวสุวัตนี้อยู่
สดุ ถนนธนะรชั ต์ หรือจะเดินเทา้ ตอ่ จากน้ำตกผากล้วยไม้ไปก็ได้ ประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำตกน้ีมีลักษณะเป็น
สายนำ้ ตกลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตรเศษ บริเวณด้านล่างของน้ำตกเป็นแอง่ น้ำและลำธารเหมาะที่
จะลงเล่นน้ำ แตส่ ำหรับฤดฝู นน้ำจะมากและไหลแรงน้ำคอ่ นข้างเยน็ จัด
ภาพที่ 7 น้ำตกเหวสุวัต
- ส่องสัตว์ เป็นกิจกรรมท่ีใช้ไฟส่องสัตว์ในเวลากลางคืนไปตามถนนสองข้างทาง จะพบสัตว์ที่
เล่ยี งหากนิ กลางวันมาหากินกลางคืน เช่น เมน่ ชะมด นกฮกู บ่าง หมีขอ ฯลฯ สามารถติดตอ่ ขออนญุ าต
ได้ทีศ่ นู ยบ์ รกิ ารนกั ทอ่ งเที่ยวเขาใหญ่ หรอื ท่ที ำการอุทยานแหง่ ชาติ
- หอดูสตั ว์หนองผักชี อยู่บริเวณหนองผักชี ซ่ึงเป็นแหลง่ นำ้ ของสัตว์ป่า รอบๆ หนองน้ำเป็นทุ่ง
หญ้าคากว้างใหญ่ มีโปง่ สัตว์ ปากทางเข้าอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 35-36 ถนนธนะรัชต์ เดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ
1 กโิ ลเมตร
- หอดสู ัตวม์ อสิงโต อยู่บริเวณอา่ งเกบ็ น้ำมอสิงโต รอบๆ มีลกั ษณะเป็นทุ่งหญา้ โล่งที่เหมาะสำหรับ
ซุ่มดูสัตว์ป่าท่ีมากินดินโป่ง ซึ่งเป็นดินที่มีแร่ธาตุสำคัญของสัตว์กินพืช อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเท่ียวเขา
ใหญ่ ประมาณ 500 เมตร
- หอดูสัตว์เขากำแพง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 4 (คลองปลากั้ง)
ประมาณ 2 กิโลเมตร ต้ังอยู่ในทุ่งหญ้าติดชายป่าเชิงเขากำแพง มีทิวทัศน์สวยงามมาก ในเวลาเย็นจะมีฝูง
กระทงิ ออกหากินบริเวณใกล้ๆ สามารถชมจากหอดสู ตั ว์นไ้ี ดช้ ดั เจน
20
การเดินทางและเส้นทางคมนาคม
การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับว่าสะดวกสบาย เพราะมีระบบการคมนาคมอย่างดี
ตดิ ต่อกับชุมชมอ่ืนๆ อย่างท่ัวถึง แตเ่ มือ่ เดินทางถึงทางขน้ึ อทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่ เสน้ ทางจะมีความลาดชัน
บางช่วงโค้งหกั ศอก ควรขับขด่ี ้วยความระมดั ระวัง และปฏิบัติตามป้ายจราจรอย่างเคร่งครัด ท่านสามารถเดินทาง
โดยรถยนต์ส่วนตัวจากกรงุ เทพฯ อาจใช้เวลาเพยี ง 3 ช่วั โมงเศษหรือน้อยกว่า โดยเร่ิมจาก
ถนนพหลโยธินผ่านรังสิตถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพ ผ่านมวกเหล็กและเล้ียวขวาอีก
ครั้งตรงทางแยกก่อนถึงอำเภอปากชอ่ งตรงกโิ ลเมตรที่ 58 เข้าสู่ทางหลวงจงั หวัดหมายเลข 2090 (ถนนธนะรัชต์)
ประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจ จากน้ันเส้นทางจะไต่ขึ้นเขาไปอีก 14 กิโลเมตร จะถงึ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ระยะทางรวมทง้ั สนิ้ 200 กิโลเมตร
ถนนพหลโยธินผ่านรังสิต ผ่านหนองแค เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 แล้ว
เปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ผ่านตัวเมืองนครนายกถึงสี่แยกเนินหอม หรือวง
เวียนนเรศวร ก่อนเข้าตัวเมืองปราจีนบุรีเล้ียวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3077 (ถนนปราจีนบุรี-เขา
ใหญ)่ ถงึ ด่านตรวจเนนิ หอม ถนนเริม่ เข้าสปู่ ่าและไตข่ ้นึ ท่ีสงู รวมระยะทางประมาณ 160 กโิ ลเมตร
ถนนพหลโยธิน เลีย้ วขวาบรเิ วณรงั สิต เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 มุ่งสู่ตวั เมืองนครนายก
แล้วเปล่ียนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ถึงส่ีแยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร
เลีย้ วซา้ ยเขา้ ถนนปราจนี บรุ ี-เขาใหญ่ รวมระยะทางประมาณ 160 กโิ ลเมตร
21
การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ในแต่ละจังหวัดท่ัวประเทศไทย ดำเนินการโดยกลุ่มสำรวจทรัพยากรป่าไม้
ส่วนสำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้ สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นท่ีอนุรักษ์ และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์
ตา่ งๆ ในสงั กดั กรมอทุ ยานแห่งชาติ สัตว์ปา่ และพันธุพ์ ชื
การสุ่มตวั อย่าง (Sampling Design)
การสำรวจทรพั ยากรป่าไม้ ใช้วิธีสุ่มตวั อย่างแบบสม่ำเสมอ (Systematic Sampling) ในพ้ืนที่ท่ี
ภาพถ่ายดาวเทียมแปลว่ามีสภาพเป็นป่า โดยให้แต่ละแปลงตัวอย่าง (Sample plot) มีระยะห่างเท่าๆ กัน
โดยกำหนดให้แต่ละแปลงห่างกัน 2.5x2.5 กิโลเมตร เร่ิมจากการสุ่มกำหนดแปลงตัวอย่างแรกบนเส้นกริดแผน
ที่ (Grid) ลงบนขอบเขตแผนที่ประเทศไทยมาตราส่วน 1:50,000 ให้มีระยะห่างระหว่างเส้นกริดแนวตั้งและ
แนวนอนเท่ากับ 2.5x2.5 กิโลเมตร คือ ระยะช่องกริดในแผนท่ีเท่ากับ 2.5 ช่อง จุดตัดของเส้นกริดท้ังสอง
แนวก็จะเป็นตำแหน่งท่ีต้ังของแปลงตัวอย่างแต่ละแปลง เม่ือดำเนินการเสร็จส้ินแล้วจะทราบจำนวนหน่วยตัวอย่าง
และตำแหนง่ ที่ตั้งของหนว่ ยตัวอย่าง โดยลกั ษณะและรูปแบบของการวางแปลงตวั อย่างดังภาพท่ี 8 ตามลำดบั
ภาพท่ี 8 ลักษณะและขนาดของแปลงตวั อยา่ ง
22
รปู ร่างและขนาดของแปลงตัวอย่าง (Plot Design)
แปลงตัวอย่าง (Sample Plot) ที่ใช้ในการสำรวจมีท้ังแปลงตัวอย่างถาวรและแปลงตัวอย่างช่วั คราว
เป็นแปลงทม่ี ขี นาดคงท่ี (Fixed–Area Plot) และมีรปู รา่ ง 2 ลักษณะดว้ ยกัน คือ
1. ลักษณะรูปวงกลม (Circular Plot)
1.1 รปู วงกลมท่ีมีจุดศนู ยก์ ลางร่วมกัน รัศมีแตกตา่ งกัน จำนวน 3 วง คอื วงกลมรศั มี 3.99,
12.62 และ 17.84 เมตร ตามลำดบั
1.2 รูปวงกลมท่ีมรี ัศมเี ทา่ กัน จดุ ศูนย์กลางต่างกนั จำนวน 4 วง รัศมี 0.631 เมตร เท่ากัน
โดยจุดศูนยก์ ลางของวงกลมอยบู่ นเสน้ รอบวงของวงกลมรัศมี 3.99 เมตร ตามทศิ หลกั ท้งั 4 ทศิ
2. ลักษณะแบบแนวเส้นตรง (Intersect Line) จำนวน 2 เส้น ความยาวเส้นละ 17.84
เมตร โดยมีจุดเร่ิมต้นร่วมกัน ณ จุดศูนย์กลางแปลงตัวอย่างทำมุมฉากซ่ึงกันและกัน ซึ่งตัวมุม Azimuth ของ
เสน้ ที่ 1 ไดจ้ ากการสุม่ ตวั อย่าง
ขนาดของแปลงตวั อยา่ งและข้อมูลทท่ี ำการสำรวจ
ขนาดของแปลงตัวอย่าง และขอ้ มูลท่ีทำการสำรวจแสดงรายละเอียดไวใ้ นตารางท่ี 1
ตารางท่ี 1 ขนาดของแปลงตัวอยา่ งและข้อมูลท่ที ำการสำรวจ
รัศมีของวงกลม จำนวน พ้ืนทห่ี รอื ความยาว ข้อมูลทีส่ ำรวจ
หรอื 4 วง 0.0005 เฮคแตร์ กลา้ ไม้
ความยาว (เมตร)
0.631
3.99 1 วง 0.0050 เฮคแตร์ ลูกไมแ้ ละการปกคลุมพื้นที่ของกล้าไม้ และลูกไม้
12.62 1 วง 0.0500 เฮคแตร์ ไมไ้ ผ่ หวายทย่ี งั ไมเ่ ลื้อย และตอไม้
17.84 1 วง 0.1000 เฮคแตร์ ตน้ ไม้ และตรวจสอบปจั จัยที่รบกวนพ้นื ทีป่ า่
17.84 (เส้นตรง) 2 เส้น 17.84 เมตร Coarse Woody Debris (CWD) หวายเลื้อย
และไม้เถา ท่ีพาดผา่ น
23
1. การคำนวณเนอื้ ที่ปา่ และปรมิ าณไมท้ ้งั หมดของแต่ละพนื้ ท่ีอนรุ กั ษ์
1.1 ใชข้ อ้ มลู พืน้ ท่ีอนุรกั ษจ์ ากแผนท่แี นบท้ายกฤษฎีกาของแตล่ ะพ้ืนทอ่ี นุรักษ์
1.2 ใช้สัดส่วนจำนวนแปลงตัวอย่างที่พบในแต่ละชนิดป่า เปรียบเทียบกับจำนวนแปลง
ตัวอย่างท่ีวางแปลงท้ังหมดในแต่ละพ้ืนท่ีอนุรักษ์ ท่ีอาจจะได้ข้อมูลจากภาคสนาม หรือการดูจากภาพถ่าย
ดาวเทียมหรือภาพถ่ายทางอากาศ มาคำนวณเป็นเน้ือท่ีป่าแต่ละชนิดโดยนำแปลงตัวอย่างที่วางแผนไว้มา
คำนวณทุกแปลง
1.3 แปลงตัวอย่างทไี่ ม่สามารถดำเนนิ การได้ ก็ต้องนำมาคำนวณด้วย โดยทำการประเมิน
ลักษณะพน้ื ท่วี ่าเปน็ หน้าผา นำ้ ตก หรอื พื้นทอ่ี ่ืนๆ เพอื่ ประกอบลักษณะการใชป้ ระโยชนท์ ดี่ นิ
1.4 ปริมาณไม้ทั้งหมดของพื้นที่อนุรักษ์ เป็นการคำนวณโดยใช้ข้อมูลเนือ้ ที่อนุรักษ์จาก
แผนท่ีแนบท้ายกฤษฎีกาของแต่ละพื้นท่ีอนุรักษ์ ซ่ึงบางพ้ืนท่ีอนุรักษ์มีข้อมูลเน้ือที่คลาดเคล่ือนจากข้อเท็จจริง
และสง่ ผลต่อการคำนวณปรมิ าณไม้ทั้งหมด ทำใหก้ ารคำนวณปรมิ าณไมเ้ ป็นการประมาณเบ้ืองตน้
2. การคำนวณปรมิ าตรไม้
สมการปริมาตรไม้ที่ใช้ในการประเมินการกักเก็บธาตุคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ แบบวิธี
Volume Based Approach โดยแบ่งกลุม่ ของชนิดไม้เป็นจำนวน 7 กลุ่ม ดงั น้ี
2.1 กลุ่มท่ี 1 ได้แก่ ยาง เต็ง รัง เหียง พลวง กระบาก เคี่ยม ตะเคียน สยา ไข่เขียว
พะยอม จันทนก์ ะพ้อ สนสองใบ
สมการท่ไี ด้ ln V = 2.372083 + 2.443847 ln (DBH/100)
R2 = 0.94, sample size = 188
2.2 กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กระพ้ีจั่น กระพี้เขาควาย เก็ดดำ เก็ดแดง เก็ดขาว เถาวัลย์เปรียง
พะยูง ชิงชัน กระพี้ ถ่อน แดง ขะเจ๊าะ แคทราย แคฝอย และสกลุ มะเกลอื
สมการที่ได้ ln V = 2.134494 + 2.363034 ln (DBH/100)
R2 = 0.91, sample size = 135
2.3 กลุ่มท่ี 3 ได้แก่ รกฟ้า สมอพิเภก สมอไทย หูกวาง หูกระจง ตีนนก ข้ีอ้าย กระบก
ตะคร้ำ ตะคร้อ ตาเสือ ค้างคาว สะเดา ยมหอม ยมหิน กระท้อน เล่ียน มะฮอดกกานี ขี้อา้ ย ตะบูน ตะบัน รัก
ตวิ้ สะแกแสง ปเู่ จา้ และไมส้ กุลสา้ น เสลา อนิ ทนิล ตะแบก ชะมวง สารภี บุนนาค
สมการที่ได้ ln V = 1.880578 + 2.053321 ln (DBH/100)
R2 = 0.89, sample size = 186
24
2.4 กลุ่มท่ี 4 ได้แก่ กางขม้ี อด คูน พฤกษ์ มะคา่ โมง นนทรี กระถินพิมาน มะขามปา่
หลมุ พอ และสกุลข้เี หล็ก
สมการที่ได้ ln V = 1.789563 + 2.025666 ln (DBH/100)
R2 = 0.90, sample size = 36
2.5 กลุ่มที่ 5 ได้แก่ สกุลประดู่ เติม
สมการที่ได้ ln V = 2.037096 + 2.299618 ln (DBH/100)
R2 = 0.94, sample size = 99
2.6 กลมุ่ ท่ี 6 ได้แก่ สัก ตีนนก ผ่าเสยี้ น หมากเล็กหมากน้อย ไขเ่ น่า กระจบั เขา
กาสามปีก สวอง
สมการที่ได้ ln V = 2.119907 + 2.296511 ln (DBH/100)
R2 = 0.94, sample size = 186
2.7 กลุ่มท่ี 7 ได้แก่ ไมช้ นิดอ่ืนๆ เชน่ กุก๊ ขวา้ ว งว้ิ ป่า ทองหลางปา่ มะม่วงป่า ซ้อ โมก
มนั แสมสาร และไม้ในสกลุ ปอ ก่อ เปลา้ เปน็ ต้น
สมการท่ีได้ ln V = 2.250111 + 2.414209 ln (DBH/100)
R2 = 0.93, sample size = 138
เซนตเิ มตร โดยท่ี V คอื ปริมาตรสว่ นลำต้นเมื่อตดั โคน่ ท่คี วามสงู เหนือดนิ (โคน) 10
ถงึ ก่ิงแรกท่ีทำเป็นสินค้าได้ มีหน่วยเป็นลูกบาศกเ์ มตร
DBH มีหนว่ ยเป็นเซนตเิ มตร
Ln = natural logarithm
3. ข้อมูลทวั่ ไป
ข้อมูลท่ัวไปที่นำไปใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ที่ตั้ง ตำแหน่ง ช่วงเวลาท่ีเก็บข้อมูล ผู้ท่ีทำการเก็บข้อมูล
ความสูงจากระดับน้ำทะเล และลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่าน้ีจะใช้ประกอบในการ
วิเคราะห์ ประเมินผลร่วมกับข้อมูลด้านอื่นๆ เพ่ือติดตามความเปล่ียนแปลงของพ้ืนท่ีในการสำรวจทรัพยากร
ปา่ ไมค้ รง้ั ต่อไป
25
4. การวิเคราะหข์ ้อมลู องคป์ ระกอบของหมู่ไม้
4.1 ความหนาแนน่
4.2 ปรมิ าตร
5. การวเิ คราะหข์ ้อมลู ชนิดและปรมิ าณของลูกไม้ (Sapling) และกลา้ ไม้ (Seedling)
6. การวเิ คราะหข์ ้อมลู ชนิดและปริมาณของไมไ้ ผ่ หวาย
6.1 ความหนาแนน่ ของไมไ้ ผ่ (จำนวนกอ และ จำนวนลำ)
6.2 ความหนาแนน่ ของหวายเสน้ ตง้ั (จำนวนต้น)
7. การวเิ คราะห์ข้อมลู สังคมพืช โดยมรี ายละเอียดการวเิ คราะหข์ ้อมลู ดังนี้
7.1 ความหนาแนน่ ของพรรณพชื (Density : D) คือ จำนวนต้นไม้ท้ังหมดของชนิดพนั ธ์ทุ ่ีศึกษาท่ี
ปรากฏในแปลงตัวอย่างต่อหน่วยพื้นที่ท่ีทำการสำรวจ
D= จำนวนต้นของไม้ชนดิ น้ันทัง้ หมด .
พ้ืนทแี่ ปลงตวั อยา่ งท้งั หมดทท่ี ำการสำรวจ
7.2 ความถ่ี (Frequency : F) คอื อัตราร้อยละของจำนวนแปลงตวั อย่างที่ปรากฏพันธไุ์ ม้ชนิดน้นั
ตอ่ จำนวนแปลงท่ีทำการสำรวจ
F = จำนวนแปลงตัวอยา่ งทพี่ บไม้ชนดิ ท่กี ำหนด X 100
จำนวนแปลงตัวอย่างท้ังหมดท่ที ำการสำรวจ
7.3 ความเดน่ (Dominance : Do) ใชค้ วามเด่นดา้ นพน้ื ท่ีหนา้ ตดั (Basal Area : BA) หมายถึง พืน้ ที่หน้าตัด
ของลำต้นของต้นไม้ทีว่ ัดระดับอก (1.30 เมตร) ต่อพ้ืนทที่ ี่ทำการสำรวจ
Do = พืน้ ทีห่ นา้ ตดั ท้ังหมดของไมช้ นดิ ท่ีกำหนด X 100
พ้นื ทแ่ี ปลงตัวอย่างท่ีทำการสำรวจ
26
7.4 ค่าความหนาแนน่ สัมพัทธ์ (Relative Density : RD) คือ ค่าความสมั พัทธ์ของความหนาแน่น
ของไม้ท่ีตอ้ งการต่อค่าความหนาแน่นของไม้ทุกชนิดในแปลงตวั อย่าง คิดเปน็ ร้อยละ
RD = ความหนาแนน่ ของไมช้ นิดน้นั X 100
ความหนาแนน่ รวมของไม้ทุกชนิด
7.5 ค่าความถีส่ ัมพัทธ์ (Relative Frequency : RF) คอื ค่าความสัมพัทธข์ องความถ่ีของชนิดไม้
ท่ีต้องการต่อค่าความถี่ท้ังหมดของไม้ทุกชนดิ ในแปลงตวั อยา่ ง คดิ เป็นรอ้ ยละ
RF = ความถีข่ องไม้ชนิดนนั้ X 100
ความถ่ีรวมของไมท้ กุ ชนิด
7.6 ค่าความเดน่ สมั พทั ธ์ (Relative Dominance : RDo) คอื คา่ ความสัมพนั ธข์ องความเดน่ ในรูป
พนื้ ทห่ี น้าตัดของไมช้ นดิ ที่กำหนดต่อความเด่นรวมของไม้ทุกชนิดในแปลงตวั อยา่ ง คดิ เป็นร้อยละ
RDo = ความเดน่ ของไม้ชนิดนัน้ X 100
ความเด่นรวมของไมท้ ุกชนดิ
7.7 คา่ ดัชนีความสำคญั ของชนิดไม้ (Importance Value Index : IVI) คือ ผลรวมของคา่ ความสมั พัทธ์
ตา่ งๆ ของชนิดไมใ้ นสังคม ได้แก่ ค่าความสัมพัทธ์ด้านความหนาแน่น ค่าความสัมพัทธ์ด้านความถ่ี และค่า
ความสมั พทั ธ์ดา้ นความเด่น
IVI = RD + RF + RDo
27
8. วิเคราะห์ข้อมูลความหลากหลายทางชวี ภาพ
โดยทำการวิเคราะห์ค่าตา่ งๆ ดังนี้
8.1 ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Diversity) วัดจากจำนวนชนิดพันธุ์ที่ปรากฏใน
สังคมและจำนวนต้นที่มีในแต่ละชนิดพันธุ์ โดยใช้ดัชนีความหลากหลายของ Shannon-Wiener Index of
Diversity ตามวิธีการของ Kreb (1972) ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังต่อไปน้ี
s
H = ∑ (pi)(ln pi)
i=1
โดย H คือ คา่ ดัชนคี วามหลากชนดิ ของชนดิ พนั ธ์ุไม้
pi คือ สดั ส่วนระหว่างจำนวนต้นไม้ชนิดท่ี i ต่อจำนวนตน้ ไม้ท้ังหมด
S คือ จำนวนชนดิ พนั ธไ์ุ ม้ท้งั หมด
8.2 ความร่ำรวยของชนิดพันธ์ุ (Richness Indices) อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชนิดกับ
จำนวนต้นทั้งหมดท่ีทำการสำรวจ ซ่ึงจะเพ่ิมข้ึนเมื่อเพ่ิมพ้ืนที่แปลงตัวอย่าง และดัชนีความร่ำรวย ท่ีนิยมใช้
กัน คือ วิธีของ Margalef index และ Menhinick index (Margalef 1958, Menhinick 1964) โดยมีสูตร
การคำนวณดังน้ี
1) Margalef index (R1)
R1 = (S-1)/ln(n)
2) Menhinick index (R2)
R2 = S/√n
เมื่อ S คือ จำนวนชนดิ ท้ังหมดในสงั คม
n คอื จำนวนตน้ ท้ังหมดท่ีสำรวจพบ
8.3 ความสม่ำเสมอของชนิดพันธ์ุ (Evenness Indices) เป็นดัชนีที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานท่ีว่า ดชั นี
ความสมำ่ เสมอจะมคี ่ามากที่สุดเม่ือทกุ ชนิดในสังคมมีจำนวนตน้ เทา่ กันทั้งหมด ซงึ่ วิธกี ารท่ีนยิ มใช้กันมากในหมู่
นักนเิ วศวทิ ยา คอื วิธีของ Pielou (1975) ซ่งึ มีสูตรการคำนวณดงั นี้
E = H/ ln(S) = ln (N1)/ln (N0)
เม่อื H คอื คา่ ดชั นคี วามหลากหลายของ Shannon-Wiener
S คอื จำนวนชนิดทัง้ หมด (N0)
N1 คอื eH
28
9. การวเิ คราะห์ข้อมูลปริมาณมวลชีวภาพ (Biomass)
วิเคราะหห์ าปรมิ าณมวลชวี ภาพโดยการคำนวณแตล่ ะชนิดปา่ ดงั น้ี
9.1 ป่าดิบช้ืน ใชส้ ูตการคำนวณของ Ogawa et al. (1965)
Ws = 0.0396 (D²H)0.9326
WB = 0.006003 (D2H)1.0270
WL = (28.0/WTC + 0.025)-1
WTC = ~ D2 H
WR = 0.0264 (D2H)0.7750
9.2 ปา่ ดบิ แลง้ และป่าดบิ เขา ใช้สูตรการคำนวณของ Tsutsumi et al. (1983)
WS = 0.0509 (D2H)0.919
WB = 0.00893 (D2H)0.977
WL = 0.0140 (D2H)0.669
WR = 0.0313 (D2H)0.805
9.3 ปา่ เบญจพรรณ พน้ื ทีส่ วนปา่ และทุ่งหญ้า ใชส้ ตู รการคำนวณของ Ogawa et al. (1965)
WS = 0.0396 (D2H)0.932
WB = 0.003487 (D2H)1.027
WL = [22.5/WS + 0.025]-1
WR = 0.0264 (D2H)0.775
โดย
Ws = มวลชวี ภาพลำต้น
WB = มวลชวี ภาพกิง่
WL = มวลชีวภาพใบ
WR = มวลชวี ภาพราก
WTC = มวลชีวภาพลำต้น + กงิ่
29
1. การวางแปลงตัวอยา่ ง
จากผลการดำเนินการวางแปลงสำรวจเพอื่ ประเมินสถานภาพและศักยภาพของทรัพยากรป่าไม้
ในพนื้ ที่อุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่ กำหนดการวางแปลงสำรวจโดยกลุม่ สำรวจทรพั ยากรป่าไม้ สว่ นสำรวจและ
วิเคราะหท์ รัพยากรปา่ ไม้ สำนกั ฟ้ืนฟแู ละพัฒนาพื้นที่อนรุ ักษ์ ทง้ั หมด 353 แปลง แสดงดงั ภาพที่ 9 และชนดิ
ป่าประเภทตา่ งๆ ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่แปลจากภาพถา่ ยทางอากาศ แสดงดังภาพที่ 10 สว่ นแปลงท่ี
สามารถทำการสำรวจได้จำนวนท้ังหมด 283 แปลง
ภาพที่ 9 แผนที่แสดงจดุ สำรวจทั้งหมดในพน้ื ท่ีอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่
30
ภาพที่ 10 แผนท่ีแสดงชนดิ ป่าประเภทต่างๆ ของอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่จากการแปลภาพถา่ ยทางอากาศ
31
2. พื้นท่ีป่าไม้
จากการสำรวจภาคสนาม พบการใช้ประโยชน์พ้นื ทที่ งั้ หมด 8 ประเภท ไดแ้ ก่ ป่าดบิ ช้ืน ปา่ ดบิ เขา
ปา่ ดบิ แล้ง ป่าเบญจพรรณ สวนป่า ทุ่งหญา้ ธรรมชาติ พน้ื ท่ีเกษตรกรรม และพนื้ ท่ีอ่ืนๆ แต่จากการการแปล
ภาพถ่ายทางอากาศ พบว่ามีลักษณะพื้นท่ีท้ังหมด 10 ประเภท โดยมีพื้นท่ีแหล่งน้ำ และพ้ืนที่หินโผล่เพ่ิม
ขนึ้ มา จากการสำรวจพบป่าดิบแล้งมากทส่ี ุด มีพื้นที่ 1,344.02 ตารางกโิ ลเมตร (840,012.88 ไร่) คิดเปน็ ร้อยละ
60.97 ของพ้ืนท่ีทั้งหมด รองลงมา คือ ป่าเบญจพรรณ มีพ้ืนที่ 461.32 ตารางกิโลเมตร (288,324.89 ไร่) คิด
เป็นร้อยละ 20.93 ของพ้ืนที่ท้ังหมด รายละเอียดแสดงดังตารางท่ี 2 ภาพที่ 11 และลักษณะทั่วไปของการใช้
ประโยชน์ทด่ี ินแสดงดงั ภาพท่ี 12-20
ตารางท่ี 2 พืน้ ท่ีป่าไมจ้ ำแนกตามลกั ษณะการใชป้ ระโยชน์ทดี่ ินในอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ (Area by
Landuse Type)
ลักษณะการใชป้ ระโยชนท์ ด่ี นิ พืน้ ทีท่ ้ังหมด รอ้ ยละ
(Landuse Type) ของพนื้ ทีท่ ง้ั หมด
ไร่ เ คแตร์ ตร.กม.
ปา่ ดิบชื้น 94.88 4.30
(Tropical Evergreen Forest) 59,300.38 9,488.06 60.97
ป่าดบิ แลง้ 8.10
(Dry Evergreen Forest) 840,012.88 134,402.06 1,344.02 20.93
ป่าดบิ เขา 1.28
(Hill Evergreen Forest) 111,596.26 17,855.40 178.55 3.42
ปา่ เบญจพรรณ 0.32
(Mixed Deciduous Forest) 288,324.89 46,132.00 461.32 0.03
สวนปา่ 0.31
(Forest Plantation) 17,677.00 2,828.32 28.28 0.33
ทุ่งหญา้ ธรรมชาติ 100.00
(Grass Land) 47,160.90 7,545.74 75.46
พน้ื ทีเ่ กษตรกรรม
(Agriculture Land) 4,393.57 702.97 7.03
แหล่งนา้
(Built up Water Resources) 431.31 69.01 0.69
พื้นทอ่ี ่นื ๆ
(Others) 4,285.04 685.61 6.86
พน้ื ทห่ี นิ โผล่
(Rocky) 4,585.11 733.61 7.34
รวม 1,377,767.34 220,442.77 2,204.43
หมายเหตุ : - การคำนวณพนื้ ทป่ี ่าไมข้ องชนดิ ป่าแต่ละชนิดใชก้ ารแปลภาพถา่ ยทางอากาศ
- ร้อยละของพ้ืนทีส่ ำรวจคำนวณจากข้อมลู แปลงท่สี ำรวจพบ
32
ภาพที่ 11 พ้ืนทีป่ ่าจำแนกตามการใช้ประโยชน์ทีด่ ินในอทุ ยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่
ภาพท่ี 12 ลักษณะทว่ั ไปของปา่ ดบิ เขาในอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่
33
ภาพที่ 13 ลักษณะทวั่ ไปของป่าดิบช้ืนในอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่
ภาพที่ 14 ลักษณะท่ัวไปของปา่ ดบิ แล้งในอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่
34
ภาพท่ี 15 ลักษณะทั่วไปของปา่ เบญจพรรณในอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่
ภาพที่ 16 ลักษณะท่วั ไปของสวนปา่ ในอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่
35
ภาพที่ 17 ลักษณะทัว่ ไปของทงุ่ หญา้ ในอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่
ภาพท่ี 18 ลักษณะทั่วไปของพนื้ ทแี่ หล่งน้ำในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
36
ภาพที่ 19 ลักษณะทว่ั ไปของพืน้ ท่หี ินโผล่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ภาพที่ 20 ลักษณะทว่ั ไปของพ้นื ทีเ่ กษตรกรรม ในอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่
37
3. ปรมิ าณไม้
จากการวิเคราะห์เกี่ยวกับชนิดไม้ ปริมาณ ปริมาตร และความหนาแน่นของต้นไม้ในป่า โดยการสำรวจ
ทรัพยากรป่าไม้ในแปลงตัวอย่างถาวร ในพื้นท่ีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวนทั้งส้ิน 283 แปลง พบต้นไม้ท่ีมีความสูงมากกว่า
1.30 เมตร และมีขนาดเส้นรอบวงเพียงอก (GBH) มากกว่า 15 เซนติเมตรข้ึนไป มีมากกวา่ 740 ชนิด รวมทงั้ หมด 160,948,167
ต้น ปริมาตรไม้รวมท้ังหมด 36,817,574.00 ลูกบาศก์เมตร ปริมาตรไม้เฉล่ีย 28.33 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ มีความหนาแน่นเฉลี่ย
121 ต้นต่อไร่ พบจำนวนต้นไม้มากที่สุดในพ้ืนท่ีป่าดิบแล้ง จำนวน 103,438,162 ต้น รองลงมาคือป่าเบญจพรรณ จำนวน
29,095,344 ต้น พบปริมาตรไม้มากที่สุดในป่าดิบแล้ง จำนวน 25,474,496.27 ลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือป่าเบญจพรรณ จำนวน
4,676,129.80 ลกู บาศก์เมตร รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 3 และภาพที่ 21-22
การกระจายความโต พบว่ามีต้นไม้ที่มีขนาดเส้นรอบวงเพียงอก (GBH) ขนาด 15-45 เซนติเมตรพบมากที่สุด
จำนวน 112,944,099 ต้น คิดเป็นร้อยละ 70.17 ของต้นไม้ทั้งหมด รองลงมาคือขนาด 45-100 เซนติเมตร จำนวน
35,831,581 ต้น คิดเป็นร้อยละ 22.26 และพบไม้ขนาดความโตมากกว่า 100 เซนติเมตร จำนวน 12,172,487 ตน้ คิดเป็นร้อย
ละ 7.56 รายละเอยี ดแสดงดังตารางท่ี 4 และภาพท่ี 23
ตารางท่ี 3 จำนวนตน้ ไมท้ ส่ี ำรวจพบจำแนกตามชนิดป่าหรือการใชป้ ระโยชนท์ ด่ี ินในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ลกั ษณะการใช้ประโยชนท์ ่ีดิน ปริมาณไมท้ ัง้ หมด
(Landuse Type)
จานวน (ตน้ ) ปริมาตร (ลบ.ม.)
ป่าดิบชน้ื
(Tropical Evergreen Forest) 7,400,692 1,670,058.91
ปา่ ดบิ แลง้
(Dry Evergreen Forest) 103,438,162 25,474,496.27
ป่าดิบเขา
(Hill Evergreen Forest) 17,289,981 4,558,645.98
ป่าเบญจพรรณ
(Mixed Deciduous Forest) 29,095,344 4,676,129.80
สวนปา่
(Forest Plantation) 3,648,531 437,270.31
ทงุ่ หญ้าธรรมชาติ
(Grass Land) 75,457 972.73
รวม 160,948,167 36,817,574.00
38
ภาพท่ี 21 ปรมิ าณไม้ท้งั หมดท่ีพบในอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่
ภาพที่ 22 ปริมาตรไม้ทัง้ หมดท่ีพบในอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่
ตารางที่ 4 การกระจายขนาดความโตของไมท้ ง้ั หมดในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 39
ขนาดความโต ปรมิ าณไมท้ ้งั หมด (ตน้ ) รอ้ ยละ (%)
15 – 45 ซม. 112,944,099 70.17
45 – 100 ซม. 35,831,581 22.26
> 100 ซม. 12,172,487 7.56
160,948,167 100.00
รวม
ภาพที่ 23 การกระจายขนาดความโตของไม้ต้น ในพ้ืนที่อุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่
4. ชนิดพันธุ์ไม้
ชนิดพันธุ์ไม้ทส่ี ำรวจพบในภาคสนาม ส่วนใหญ่ท่ีพบมกั จะเป็นพันธ์ุไม้ทรี่ ู้จกั และคุ้นเคยสำหรับเจ้าหน้าทที่ ่ีทำ
การสำรวจอยู่แล้ว แต่เพือ่ ความถกู ต้องของชนดิ พันธ์ุไม้ จงึ ได้จำแนกโดยใช้เจ้าหน้าทีผ่ ู้เชีย่ วชาญทางด้านพันธไุ์ ม้ เจ้าหนา้ ทีใ่ น
พื้นท่ี และบางครั้งจำเป็นต้องใชร้ าษฎรในพ้นื ที่ซึ่งมีความรู้ในชนิดพันธุไ์ ม้ประจำถิ่นช่วยในการเก็บข้อมูลและเก็บตัวอย่างชนิด
พันธ์ุไม้ เพื่อนำมาให้ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธ์ุไม้ เจ้าหน้าท่ีจากส่วนกลาง และสำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช ช่วยจำแนกช่ือทางการและชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง โดยชนิดพันธ์ุไม้ท่ีพบท้ังหมดในพื้นท่ีอุทยาน
แห่งชาติเขาใหญ่ มีมากกว่า 97 วงศ์ มีมากกว่า 740 ชนิด จำนวน 160,948,167 ต้น ปริมาตรไม้รวมทั้งหมด 36,817,574
ลูกบาศก์เมตร มีความหนาแน่นของไม้เฉลี่ย 121 ต้นต่อไร่ มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 28.33 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และชนิดพันธุ์ไม้ท่ีมี
ปริมาตรไม้มากท่ีสุด 10 อันดับแรก คือ ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis) มังตาน (Schima wallichii) ก่อเดือย (Castanopsis
acuminatissima) เค่ียมคะนอง (Shorea henryana) หว้า (Syzygium cumini) กระบก (Irvingia malayana) ขี้หนอนควาย (Gironniera
subaequalis) ส บ (Altingia excelsa) ป อ อี เก้ ง (Pterocymbium tinctorium) แล ะตาเสื อ (Aphanamixis polystachya) ต ามลำดั บ
รายละเอยี ดดงั ตารางที่ 5
40
ตารางที่ 5 ปรมิ าณไมท้ ั้งหมดของอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ (30 ชนดิ แรกที่มปี รมิ าตรไม้สงู สุด)
ลาดับ ชนดิ พนั ธ์ุไม้ ช่ือวิทยาศาสตร์ ปรมิ าณไม้ทั้งหมด
จานวน (ตน้ ) ปริมาตร (ลบ.ม.)
1 ยางเสียน Dipterocarpus gracilis 1,409,538 1,401,024.17
2 มงั ตาน Schima wallichii 881,904 1,389,219.63
3 กอ่ เดือย Castanopsis acuminatissima 2,683,399 1,067,763.55
4 เคย่ี มคะนอง Shorea henryana 557,785 912,071.93
5 หว้า Syzygium cumini 1,530,140 834,494.48
6 กระบก Irvingia malayana 1,032,656 756,390.67
7 ขีห้ นอนควาย Gironniera subaequalis 1,711,044 656,534.08
8 สบ Altingia excelsa 143,215 523,821.66
9 ปออเี ก้ง Pterocymbium tinctorium 1,145,721 500,653.29
10 ตาเสอื Aphanamixis polystachya 1,198,484 448,296.59
11 ยางโอน Polyalthia viridis 791,452 416,863.27
12 ลาพูปา่ Duabanga grandiflora 286,430 396,028.82
13 สมพง Tetrameles nudiflora 135,677 392,145.94
14 ยางปาย Dipterocarpus costatus 211,054 389,854.20
15 กระบาก Anisoptera costata 173,366 387,560.39
16 กระเบากลัก Hydnocarpus ilicifolia 3,505,001 385,329.37
17 พะยอม Shorea roxburghii 128,140 377,481.14
18 สตตี น้ Sloanea sigun 1,002,506 356,543.01
19 มะมอื Choerospondias axillaris 241,204 356,524.41
20 ข้หี นอนควาย Gironniera nervosa 1,869,334 328,294.48
21 จันดา Diospyros venosa 783,914 311,220.45
22 โพบาย Balakata baccata 173,366 306,620.75
23 อะราง Peltophorum dasyrachis 580,398 298,071.32
24 กะเพราตน้ Cinnamomum glaucescens 173,366 288,588.82
25 กระท้อน Sandoricum koetjape 459,796 280,320.48
26 เสม็ดแดง Syzygium cinereum 399,495 263,162.04
27 คอแลน Nephelium hypoleucum 2,577,872 254,731.21
28 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus 942,205 247,320.18
29 คา้ งคาว Aglaia edulis 1,989,936 243,306.77
30 สะตอ Parkia speciosa 97,989 238,628.11
31 อนื่ ๆ Others 132,129,058 21,806,998
รวม (Total) 160,948,167 36,817,574.00
หมายเหตุ : มชี นิดพันธ์ุไม้ทส่ี ำรวจพบทัง้ หมดมากกว่า 740 ชนิด
41
ตารางที่ 6 ปรมิ าณไม้ในป่าดบิ ชืน้ ของอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ่ (30 ชนดิ แรกท่ีมีปริมาตรไมส้ งู สุด)
ลาดับ ชนิดพนั ธุไ์ ม้ ช่ือวทิ ยาศาสตร์ ปรมิ าณไม้ทั้งหมด
จานวน (ต้น) ปริมาตร (ลบ.ม.)
1 ยางเสยี น Dipterocarpus gracilis 216,870 144,842.33
2 หว้า Syzygium cumini 216,870 113,715.72
3 พะยอม Shorea roxburghii 13,554 104,015.83
4 จิกนม Barringtonia macrostachya 81,326 85,428.22
5 ข้หี นอนควาย Gironniera subaequalis 189,761 83,784.30
6 สาเภา Chaetocarpus castanocarpus 149,098 77,238.19
7 กระเบากลกั Hydnocarpus ilicifolia 555,730 60,508.78
8 ยางปาย Dipterocarpus costatus 54,218 52,944.44
9 มะปริง Bouea oppositifolia 121,989 50,896.63
10 เทพทาโร Cinnamomum porrectum 13,554 39,175.56
11 ไมน้ กคอ่ Xanthophyllum flavescens 40,663 31,898.17
12 จาปปี า่ Michelia floribunda 54,218 27,894.75
13 เหมือดหลวง Symplocos cochinchinensis 40,663 26,474.11
14 จนั ดา Diospyros venosa 40,663 26,215.47
15 เตา้ หลวง Macaranga gigantea 13,554 25,994.40
16 ยางโอน Polyalthia viridis 216,870 24,829.18
17 พิกุลปา่ Adinandra integerrima 243,979 24,042.12
18 มะเด่อื กวาง Ficus callosa 27,109 23,371.13
19 กอ่ เดือย Castanopsis acuminatissima 54,218 21,009.34
20 คา้ งคาว Aglaia edulis 203,316 20,221.29
21 มะสา้ น Dillenia aurea 94,881 20,109.75
22 ค้างคาวหนู Glycosmis puberula 149,098 18,937.53
23 ตาเสือ Aphanamixis polystachya 176,207 16,491.69
24 สะตอ Parkia speciosa 13,554 16,000.06
25 กัดล้ิน Walsura trichostemon 338,860 15,771.74
26 แหลบุก Phoebe lanceolata 67,772 14,986.39
27 มะมอื Choerospondias axillaris 27,109 12,856.24
28 กระดงั งาป่า Polyalthia lateriflora 176,207 10,794.24
29 ก่อกระดมุ Quercus semiserrata 13,554 10,663.25
30 ขางขาว Xanthophyllum virens 27,109 9,993.38
31 อน่ื ๆ Others 3,768,118 458,954.68
รวม (Total) 7,400,692 1,670,058.91
หมายเหตุ : มชี นดิ พนั ธ์ุไม้ทสี่ ำรวจพบทั้งหมดมากกวา่ 112 ชนิด
42
ตารางท่ี 7 ปรมิ าณไม้ในป่าดิบแล้งของอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่ (30 ชนดิ แรกทีม่ ปี ริมาตรไมส้ งู สดุ )
ลาดับ ชนดิ พนั ธไ์ุ ม้ ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ ปรมิ าณไม้ทัง้ หมด
1 ยางเสยี น Dipterocarpus gracilis จานวน (ตน้ ) ปรมิ าตร (ลบ.ม.)
2 มงั ตาน Schima wallichii
3 เค่ยี มคะนอง Shorea henryana 1,028,916 1,086,612.14
4 กอ่ เดือย Castanopsis acuminatissima
5 หว้า Syzygium cumini 598,057 897,420.66
6 กระบก Irvingia malayana
7 สบ Altingia excelsa 443,720 792,768.82
8 ปออเี ก้ง Pterocymbium tinctorium
9 ตาเสอื Aphanamixis polystachya 1,916,355 661,158.06
10 ยางโอน Polyalthia viridis
11 ลาพปู า่ Duabanga grandiflora 881,009 604,204.75
12 ข้หี นอนควาย Gironniera subaequalis
13 กระบาก Anisoptera costata 520,888 473,313.81
14 กระเบากลกั Hydnocarpus ilicifolia
15 สตีตน้ Sloanea sigun 115,753 457,021.21
16 ยางปาย Dipterocarpus costatus
17 โพบาย Balakata baccata 913,163 418,697.10
18 พะยอม Shorea roxburghii
19 จนั ดา Diospyros venosa 900,301 362,907.20
20 ขห้ี นอนควาย Gironniera nervosa
21 มะมอื Choerospondias axillaris 546,611 348,704.37
22 กะเพราต้น Cinnamomum glaucescens
23 กระทอ้ น Sandoricum koetjape 244,367 346,725.47
24 สมพง Tetrameles nudiflora
25 สะตอ Parkia speciosa 1,035,346 339,796.00
26 ค้างคาว Aglaia edulis
27 คอแลน Nephelium hypoleucum 141,476 338,701.24
28 มะปรงิ Bouea oppositifolia
29 อะราง Peltophorum dasyrachis 2,668,750 299,008.36
30 ขอ่ ยหนาม Streblus ilicifolius
31 อนื่ ๆ Others 790,979 285,056.61
รวม (Total)
128,614 281,616.68
141,476 268,047.00
83,599 263,015.01
630,211 258,330.82
1,401,897 251,125.83
160,768 247,628.65
141,476 245,275.91
372,982 243,640.95
102,892 232,600.96
77,169 201,329.21
1,588,388 201,129.52
1,762,018 178,063.09
302,244 171,257.95
424,428 157,799.76
3,202,500 145,907.03
80,171,810 14,415,632.09
103,438,162 25,474,496.27
หมายเหตุ : มชี นิดพนั ธุ์ไม้ทสี่ ำรวจพบทั้งหมดมากกว่า 692 ชนิด
43
ตารางท่ี 8 ปรมิ าณไม้ในปา่ ดบิ เขาของอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่ (30 ชนิดแรกทม่ี ปี รมิ าตรไม้สงู สดุ )
ลาดบั ชนดิ พนั ธไุ์ ม้ ชือ่ วิทยาศาสตร์ ปริมาณไมท้ ั้งหมด
1 ก่อเดือย Castanopsis acuminatissima จานวน (ต้น) ปรมิ าตร (ลบ.ม.)
2 มังตาน Schima wallichii
3 ขหี้ นอนควาย Gironniera subaequalis 505,903 383,668.67
4 ก่อตลับ Quercus ramsbottomii
5 เสม็ดแดง Syzygium cinereum 128,956 367,730.26
6 พญาไม้ Podocarpus neriifolius
7 ขนนุ นก Palaquium obovatum 515,823 301,185.90
8 หมากขอี้ ้าย Cryptocarya pallens
9 อะราง Peltophorum dasyrachis 79,357 142,625.83
10 ลาดวนดง Mitrephora tomentosa
11 สะทบิ Phoebe paniculata 267,831 141,016.28
12 เตา้ หลวง Macaranga gigantea
13 ข้หี นอนควาย Gironniera nervosa 277,751 105,967.60
14 โมลสี ยาม Reevesia pubescens
15 หว้า Syzygium cumini 39,679 100,032.59
16 หวั แมงวันหนู Buchanania sessifola
17 เมก็ Macaranga tanarius 555,501 93,322.83
18 สตตี น้ Sloanea sigun
19 เหมอื ดปลาซวิ Symplocos sumuntia 9,920 86,393.12
20 จาปีปา่ Michelia floribunda
21 ไทร Ficus annulata 39,679 85,303.44
22 จาปาปา่ Magnolia elegans
23 มะมนุ่ Elaeocarpus stipularis 327,349 77,159.37
24 คอเหี้ย Artemisia vulgaris
25 ตงั หน Calophyllum calaba 9,920 68,253.54
26 สามพนั ปี Dacrydium elatum
27 กร่าง Ficus altissima 287,670 55,891.32
28 ขุนไม้ Nageia wallichiana
29 จาปีดง Magnolia henryi 99,197 55,304.28
30 มะยาง Sarcosperma arboreum
31 อืน่ ๆ Others 119,036 54,000.40
รวม (Total)
19,839 52,052.75
29,759 48,567.12
89,277 41,706.56
386,867 39,878.58
39,679 39,300.74
19,839 35,126.30
19,839 35,114.02
49,598 34,701.51
178,554 34,185.25
99,197 32,890.76
19,839 31,636.20
9,920 30,133.63
198,393 29,975.30
79,357 29,774.33
79,357 29,304.08
12,707,094 1,896,443.45
17,289,981 4,558,645.98
หมายเหตุ : มีชนดิ พันธไุ์ มท้ สี่ ำรวจพบทงั้ หมดมากกวา่ 230 ชนิด
44
ตารางท่ี 9 ปรมิ าณไม้ในป่าเบญจพรรณของอทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ (30 ชนดิ แรกทมี่ ปี ริมาตรไม้สูงสดุ )
ลาดับ ชนิดพนั ธุไ์ ม้ ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ ปริมาณไม้ทง้ั หมด
จานวน (ต้น) ปริมาตร (ลบ.ม.)
1 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus 1,201,578 342,891.88
2 กระบก Irvingia malayana 600,789 315,159.32
3 สมพง Tetrameles nudiflora 21,457 184,722.52
4 โมกมัน Wrightia arborea 1,566,342 159,341.31
5 มังตาน Schima wallichii 118,012 134,226.05
6 พลบั พลา Microcos tomentosa 3,057,586 116,098.09
7 ยางเสยี น Dipterocarpus gracilis 53,642 110,504.48
8 หมเี หม็น Litsea glutinosa 632,974 105,888.18
9 ยางแดง Dipterocarpus turbinatus 21,457 102,556.37
10 ข้อี ้าย Terminalia nigrovenulosa 150,197 88,280.13
11 อะราง Peltophorum dasyrachis 107,284 78,671.06
12 มะกลา่ ตน้ Adenanthera pavonina 193,111 76,370.31
13 มะมือ Choerospondias axillaris 32,185 70,081.09
14 กระถนิ Leucaena leucocephala 1,083,566 68,161.88
15 ทิ้งถอ่ น Albizia procera 96,555 66,199.04
16 ต้วิ เกลีย้ ง Cratoxylum cochinchinense 1,437,602 63,497.72
17 หวา้ Syzygium cumini 407,678 62,463.43
18 ยางปาย Dipterocarpus costatus 42,913 57,696.45
19 คอแลน Nephelium hypoleucum 343,308 56,268.45
20 คาแสด Mallotus philippensis 1,051,380 48,755.84
21 เมก็ Macaranga tanarius 236,024 48,382.42
22 มะพอก Parinari anamense 118,012 46,266.59
23 โมกใหญ่ Holarrhena pubescens 289,666 46,264.21
24 ก๊กุ Lannea coromandelica 364,765 45,906.32
25 แคหัวหมู Markhamia stipulata 1,019,195 44,759.06
26 งว้ิ Bombax ceiba 10,728 40,291.07
27 จามจุรี Albizia saman 53,642 39,773.19
28 มะกอกเกล้อื น Canarium subulatum 482,777 38,801.59
29 ผา่ เสยี้ น Vitex canescens 504,233 38,396.83
30 สาโรง Sterculia foetida 96,555 37,874.66
31 อื่นๆ Others 13,700,131 1,941,580.26
รวม (Total) 29,095,344 4,676,129.80
หมายเหตุ : มชี นิดพนั ธุไ์ มท้ ส่ี ำรวจพบท้ังหมดมากกว่า 223 ชนิด
45
ตารางท่ี 10 ปริมาณไม้ในพน้ื ท่ีสวนป่าของอทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่
ลาดับ ชนิดพันธ์ไุ ม้ ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ ปรมิ าณไม้ทง้ั หมด
จานวน (ตน้ ) ปริมาตร (ลบ.ม.)
1 ยูคาลปิ Eucalyptus camaldulensis 1,004,053 214,887.80
2 กระถนิ Leucaena leucocephala
3 มะกลา่ ตน้ Adenanthera pavonina 1,117,186 118,291.20
4 คาแสด Mallotus philippensis
5 มะเกลือ Diospyros mollis 42,425 38,594.78
6 มะหวด Lepisanthes rubiginosa
7 แคหัวหมู Markhamia stipulata 466,673 26,475.24
8 แดง Xylia xylocarpa
9 มะดกู Siphonodon celastrineus 127,274 17,079.54
10 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus
11 ตะโกพนม Diospyros castanea 339,398 5,291.69
12 ข่อย Streblus asper
13 หาด Artocarpus lacucha 226,265 5,058.78
14 ตะคร้า Garuga pinnata
15 โมกมัน Wrightia arborea 28,283 3,935.26
16 พญารากดา Ludwigia octovalvis
17 ตานดา Diospyros montana 70,708 2,605.94
18 ลาปา้ ง Pterospermum diversifolium
19 Unknown Unknown 28,283 1,174.93
รวม (Total)
14,142 931.95
70,708 871.13
28,283 743.37
14,142 402.04
14,142 267.18
14,142 256.51
14,142 178.02
14,142 115.73
14,142 109.23
3,648,531 437,270.31
46
ตารางท่ี 11 ชนดิ และปรมิ าณของกลา้ ไม้ (Seedling) ทั้งหมดที่พบในอุทยานแหง่ ชาติเขาใหญ่
ลาดบั ชนดิ พนั ธ์ไุ ม้ ช่อื วทิ ยาศาสตร์ ความหนาแน่น ปริมาณไม้ท้งั หมด
(ตน้ /ไร่) (ตน้ )
1 เข็มป่า Ixora cibdela 298.52 389,880,546
267.99 350,006,399
2 ขอ่ ยหนาม Streblus ilicifolius 148.13 193,463,453
120.99 158,019,767
3 ตะเคียนหิน Hopea ferrea 106.29 138,821,104
100.64 131,437,002
4 กอ่ เดือย Castanopsis acuminatissima 97.24 127,006,542
92.72 121,099,261
5 พริกไทยดง Aporosa planchoniana 90.46 118,145,620
76.89 100,423,777
6 ขอ่ ย Streblus asper 73.50 95,993,316
68.98 90,086,035
7 กระเบากลัก Hydnocarpus ilicifolia 67.84 88,609,215
62.19 81,225,114
8 คา้ งคาว Aglaia edulis 62.19 81,225,114
54.28 70,887,372
9 อบเชย Cinnamomum bejolghota 54.28 70,887,372
53.14 69,410,552
10 เชียด Cinnamomum iners 45.23 59,072,810
44.10 57,595,990
11 พลองใบเล็ก Memecylon geddesianum 44.10 57,595,990
44.10 57,595,990
12 จนั ดา Diospyros venosa 39.58 51,688,709
39.58 51,688,709
13 พญาไม้ Podocarpus neriifolius 38.45 50,211,889
38.45 50,211,889
14 สุรามะรดิ Cinnamomum subavenium 37.31 48,735,068
36.18 47,258,248
15 ปลาไหลเผือก Eurycoma longifolia 36.18 47,258,248
36.18 47,258,248
16 เสมด็ Melaleuca quinquenervia 4,463.04 5,846,848,639
6,839 8,959,143,797
17 ขี้หนอนควาย Gironniera nervosa
18 คอแลน Nephelium hypoleucum
19 คา้ งคาวหนู Glycosmis puberula
20 หว้า Syzygium cumini
21 สตีตน้ Sloanea sigun
22 ยางเสยี น Dipterocarpus gracilis
23 ส่องฟ้าดง Clausena harmandiana
24 มะปรงิ Bouea oppositifolia
25 พสู ลัก Epiprinus malayanus
26 พะยอม Shorea roxburghii
27 นกนอน Cleistanthus helferi
28 องั กาบ Barleria cristata
29 พลับพลา Microcos tomentosa
30 ชมพนู่ ้า Syzygium siamense
31 อน่ื ๆ Others
รวม (Total)
หมายเหตุ : มชี นิดพนั ธุ์กลา้ ไมท้ ี่สำรวจพบทง้ั หมดมากกวา่ 435 ชนดิ
47
ตารางท่ี 12 ชนดิ และปริมาณของลูกไม้ (Sapling) ทพ่ี บในอทุ ยานแหง่ ชาติเขาใหญ่
ลาดบั ชนิดพันธ์ุไม้ ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ ความหนาแนน่ ปรมิ าณไม้ทง้ั หมด
(ตน้ /ไร่) (ต้น)
1 ข่อยหนาม Streblus ilicifolius 32.90 42,647,743
11.76 15,241,805
2 คา้ งคาว Aglaia edulis 11.42 14,802,138
9.39 12,164,133
3 ปลาไหลเผอื ก Eurycoma longifolia 9.27 12,017,577
8.48 10,991,686
4 เข็มป่า Ixora cibdela 7.58 9,819,240
7.24 9,379,572
5 กระเบากลัก Hydnocarpus ilicifolia 7.12 9,233,017
7.12 9,233,017
6 ตว้ิ เกลย้ี ง Cratoxylum cochinchinense 7.12 9,233,017
7.01 9,086,461
7 พลบั พลา Microcos tomentosa 6.67 8,646,793
6.67 8,646,793
8 กัดล้นิ Walsura trichostemon 6.67 8,646,793
5.77 7,474,347
9 จนั ดา Diospyros venosa 5.31 6,888,123
5.31 6,888,123
10 ตะเคียนหิน Hopea ferrea 5.20 6,741,568
4.98 6,448,456
11 ยางโอน Polyalthia viridis 4.75 6,155,344
4.75 6,155,344
12 เลอื ดกวาง Knema linifolia 4.75 6,155,344
4.52 5,862,233
13 หว้า Syzygium cumini 4.52 5,862,233
4.30 5,569,121
14 ชมพนู่ ้า Syzygium siamense 4.30 5,569,121
4.30 5,569,121
15 คอแลน Nephelium hypoleucum 4.30 5,569,121
4.07 5,276,009
16 สอยดาว Mallotus paniculatus 279.41 362,139,427
497 644,112,821
17 โมกมัน Wrightia arborea
18 พสู ลกั Epiprinus malayanus
19 เขยตาย Glycosmis pentaphylla
20 คา้ งคาวหนู Glycosmis puberula
21 ก่อเดือย Castanopsis acuminatissima
22 อบเชย Cinnamomum bejolghota
23 ตองผา้ Sumbaviopsis albicans
24 มะปริง Bouea oppositifolia
25 ดนั หมี Gonocaryum lobbianum
26 มะไฟ Baccaurea ramiflora
27 ข้หี นอนควาย Gironniera nervosa
28 พลองข้ีนก Memecylon floribundum
29 พังแหร Trema angustifolia
30 ขอ่ ย Streblus asper
31 อ่นื ๆ Others
รวม (Total)
หมายเหตุ : มีชนดิ พันธลุ์ กู ไมท้ ่สี ำรวจพบท้งั หมดมากกวา่ 395 ชนิด
48
ตารางที่ 13 ชนิดและปรมิ าณไผ่ท่พี บในอทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่
ลาดบั ชนิดไผ่ ชอ่ื วิทยาศาสตร์ จานวนท้งั หมด
กอ ลา
1 ไผก่ ะแสนดา Schizostachyum mekongensis 13,241,831 354,900,384
2 ซาง Dendrocalamus strictus
3 ไผ่รวก Thyrsostachys siamensis 5,489,704 90,353,244
4 ไผ่ป่า Bambusa bambos
5 ไผซ่ างนวล Dendrocalamus membranaceus 1,380,744 88,330,853
6 โจด Vietnamosasa ciliata
7 ไผผ่ ากมนั Gigantochloa hasskarliana 4,474,940 75,737,949
8 ไผต่ ง Dendrocalamus asper
9 ไผไ่ ร่ Gigantochloa albociliata 1,330,837 18,341,359
10 หลอด Schizostachyum aciculare
11 Bambusa sp. Bambusa sp. 182,990 7,254,418
รวม 316,074 2,220,430
232,897 1,764,177
66,542 1,596,884
99,813 1,201,465
848,409 14,448,002
27,664,780 639,149,206
ตารางท่ี 14 ชนดิ และปรมิ าณหวายที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ลาดบั ชนิดหวาย ช่ือวทิ ยาศาสตร์ ปริมาณหวายทัง้ หมด (เส้น)
1 หวายขม Calamus siamensis 9,923,822
2 หวายโปง่ Calamus latifolius 482,949
3 หวายขรงิ Calamus palustris 264,843
4 หวายน้า Calamus godefroyi 186,948
5 หวายหนามขาว Calamus floribundus 46,737
6 หวายน้า Daemonorops angustifolia 31,158
7 หวายกงุ้ Myrialepis paradoxa 31,158
รวม 10,967,615
ตารางท่ี 15 ชนดิ และปริมาณตอไม้ที่พบในอทุ ยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่ 49
ลาดบั ชนดิ ตอไม้ ชอ่ื วิทยาศาสตร์ ปริมาณตอไม้ทงั้ หมด ปริมาตรทง้ั หมด
(ตอ) (ลบ.ม.)
1 มะค่าโมง Afzelia xylocarpa 14,022 22,255.45
14,022 2,766.39
2 กระบาก Anisoptera costata 14,022 2,002.63
28,043 812.20
3 สอยดาว Mallotus paniculatus 14,022 794.15
28,043 209.93
4 หว้าเขา Cleistocalyx operculatus 14,022 154.69
28,043 131.21
5 กอ่ เดือย Castanopsis acuminatissima 14,022 131.21
28,043 118.78
6 บุนนาค Mesua ferrea 14,022 100.82
28,043 99.44
7 มะกอกเกลอื้ น Canarium subulatum 14,022 12.48
28,043 643.92
8 ลาย Microcos paniculata 14,022 30.38
14,022 27.62
9 ง้ิวป่า Bombax anceps 14,022 12.43
14,022 183.92
10 มงั ตาน Schima wallichii 14,022 16.72
14,022 81.03
11 ปอตู๊บหชู ้าง Sterculia villosa 14,022 26.24
28,043 1,401.84
12 พลับพลา Microcos tomentosa 1,570,421 79,335.83
1,977,048 111,389
13 ติ้วเกลยี้ ง Cratoxylum cochinchinense
14 พะยงู Dalbergia cochinchinensis
15 เหมอื ดคนตัวผู้ Helicia nilagirica
16 พลองกนิ ลูก Memecylon ovatum
17 มะมว่ งปา่ Mangifera caloneura
18 ตีนนก Vitex pinnata
19 ขห้ี นอนควาย Gironniera nervosa
20 ขอ่ ยหนาม Streblus ilicifolius
21 Lithocarpus sp. Lithocarpus sp.
22 F.FAGACEAE F.FAGACEAE
23 Unknown Unknown
รวม