The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สื่อนวัตกรรม E-Book เรื่อง การเดินทางสู่แดนเอเชีย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-01-25 21:04:03

การเดินทางสู่แดนเอเชีย

สื่อนวัตกรรม E-Book เรื่อง การเดินทางสู่แดนเอเชีย

หน้า | ก

คำนำ

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ส๒๒๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการของเอเชีย ทั้งนี้ในหนังสือนี้มีเนื้อหาประกอบด้วย
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเอเชียใต้และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ โดนมีประวัติของภูมิภาคนั้นๆ รวมถึง
พฒั นาการด้านการเมอื งการปกครอง เศรษฐกจิ และสังคม

การจัดทำหนังสือเล่มนี้ได้ทำการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ใบความรู้ และอินเทอร์เน็ต
คณะผู้จัดทำจะต้องขอขอบพระคุณ คุณครูผ่องศรี เงินมูล ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึกษา ตลอดจน
ผ้ปู กครองทใี่ ห้การช่วยเหลอื มาโดยตลอด คณะผูจ้ ดั ทำหวงั ว่าหนังสอื เล่มน้ีจะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์
แก่ผู้อ่านตามสมควร

คณะผู้จดั ทำ

๑๙ มกราคม ๒๕๖๕

หน้า | ข

สารบญั

เรอ่ื ง หน้า
คำนำ............................................................................................................................................................. ก
สารบญั .......................................................................................................................................................... ข
พฒั นาการทางประวตั ิศาสตร์ของเอเชยี ใต้

เอเชียใต้ก่อนการเข้ามาของชาวตะวนั ตก......................................................................................... ๑
เอเชียใต้หลงั การเขา้ มาของชาวตะวนั ตก.......................................................................................... ๕
การตอ่ สเู้ พ่ือเอกราชของชาวอินเดยี .................................................................................................. ๗
พัฒนาการด้านการปกครอง.............................................................................................................. ๘
พัฒนาการดา้ นเศรษฐกจิ ................................................................................................................... ๙
พัฒนาการด้านสงั คม........................................................................................................................ ๑๐
พัฒนาการทางประวตั ิศาสตรข์ องเอเชียตะวันตกเฉยี งใต้
การขยายอำนาจของชนชาติอาหรับ................................................................................................. ๑๑
จกั รวรรดิออตโตมนั .......................................................................................................................... ๑๒
เอเชยี ตะวันตกเฉียงใต้ภายใต้อทิ ธพิ ลชาตติ ะวนั ตก.......................................................................... ๑๓
พัฒนาการด้านการปกครอง............................................................................................................. ๑๔
พฒั นาการด้านเศรษฐกจิ .................................................................................................................. ๑๕
พฒั นาการดา้ นสังคม........................................................................................................................ ๑๖
กิจกรรมทบทวนบทเรียน............................................................................................................................... ๑๗
บรรณานกุ รม................................................................................................................................................. ๑๘

หน้า | ๑

รูป ๑ เอเชียใต้
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ยุคต้นของเอเชียใต้ คือ การเกิดขึ้นของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
และยุคพระเวท ซ่ึงพฒั นาการทางประวัติศาสตร์ของเอเชียใตแ้ บง่ ไดเ้ ป็น ๒ ชว่ งสำคญั คือ ช่วงก่อนการเข้ามา
ของชาตติ ะวนั ตก และชว่ งหลังการเขา้ มาของชาตติ ะวนั ตก

เอเชยี ใต้ก่อนการเข้ามาของชาตติ ะวันตก

ดินแดนเอเชียใต้เป็นแหล่งอารยธรรมยุคแรกๆของโลก แต่ดินแดนทีเ่ คยเจริญรุ่งเรืองมาในอดีตก็ถูก
รกุ รานจากชนชาตติ ่างๆ การเข้ามาของชนชาติต่าง ๆ มคี วามสำคญั ในการหล่อหลอมอารยธรรมของดินแดนนี้
ในเวลาตอ่ มาด้วย

ชนชาติแรกที่เข้ามารุกราน คือ ชนชาติอารยัน (Aryan) ซึ่งเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ
๑๕๐๐ ปกี ่อนคริสต์ศักราช โดยนำจารีตทางวฒั นธรรมเข้ามา คือ ระบบวรรณะและรากฐานทางความคิดทาง
ศาสนาของอินเดีย ชนชาติอารยันใช้ภาษาสันสกฤต ซึ่งได้นำมาใช้ในการบันทึกคัมภีร์พระเวท พวกนี้เข้ามา
อาศัยอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ (ปากีสถานในปัจจุบัน) และดินแดนตอนเหนือของอินเดียหลายร้อยปีก่อนจะ
ขยายตัวไปทางใต้ และทางตะวันออก และตั้งรกรากในเขตลุ่มแม่น้ำคงคาในที่สุด ทั้งนี้ก็ได้ก่อตั้งอาณาจักร
ขนาดใหญข่ น้ึ ทว่ั ดนิ แดนสว่ นใหญท่ างเหนอื ของอินเดยี ในปัจจบุ ัน

การรุกรานครั้งสำคัญต่อมาคือ ชนชาติเปอร์เซีย ประมาณ ๕๐๐ ปีก่อน คริสต์ศักราช โดยกษัตริย์
ไซรัส (Cyrus) และดาริอุส (Darius) แห่งเปอร์เซีย ได้ขยายจกั รวรรดิไปทางตะวันออกเขา้ ครอบครองดินแดน

หนา้ | ๒

ลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งอิทธิพลของมีไม่มากนัก เพราะเข้ามาครอบครองดนิ แดนน้ี
ไดไ้ มน่ าน ประมาณ ๑๕๐ ปี และต่อมา เปอรเ์ ซยี ก็ถูกพิชติ โดยพวกกรีกท่ีนำ
โดยอเล็กซานเดอร์มหาราช แหง่ มาซโิ ดเนีย บุกเขา้ ยดึ เอเชยี ไมเนอร์ (ตรุ กใี น
ปัจจุบัน) และจักรวรรดิเปอร์เซีย และยังรุกเข้าไปในดินแดนส่วนใหญ่ของ
แคว้น ปัญจาบ อย่างไรก็ดีกองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชเหน็ดเหนื่อย
จากการรบและการเดินทัพ ไม่ยอมรุดหน้าต่อไป พระองค์จึงต้องถอนกำลงั
กลบั

รปู ๒ อเลก็ ซานเดอร์มหาราช
การรกุ รานของทง้ั เปอร์เซยี และกรีก มอี ทิ ธิพลตอ่ รูปแบบการปกครองในดนิ แดนอนุทวีป โดยเฉพาะ
ในช่วงสมัยของราชวงศ์โมริยะ นอกจากนี้ ในแคว้นคันธาระ ก็เป็นดินแดนหลอมรวมวัฒนธรรมเอเชียกลาง
เปอร์เซียและกรีกเข้าด้วยกัน กลายเป็นวัฒนธรรมทีผ่ สมผสานระหว่างกรีกและพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่จนถึง
ครสิ ต์ศตวรรษที่ ๕ และสง่ ผลต่อพฒั นาการดา้ นศิลปะทางพระพทุ ธศาสนา

ในชว่ งทเ่ี ปอร์เซียและกรกี เขา้ มาครอบครองดนิ แดนลุ่มแม่น้ำสินธุและดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือนั้น
พวกอารยันก็ก่อตั้งอาณาจักรขึน้ ทางตะวันออก กระจัดกระจายอยู่ในเขตทีร่ าบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา ไปจนถึง
แคว้นเบงกอลจนถึงดินแดนตะวันตกของอนุทวีป ในช่วงศตวรรษที่ ๕ ก่อนคริสต์ศักราชพระพุทธศาสนาได้
กำเนดิ ข้ึน ทต่ี อ่ มาแผ่ขยายกวา้ งขวางในดินแดนเอเชีย ไดร้ ่งุ เรืองทีส่ ุดคอื อาณาจักรมคธ

อาณาจักรมคธมีกษัตริย์สำคัญองค์หนึ่งคือ จันทรคุปตะ (Chandra Gupta) ซึ่งขยายอำนาจออกไป
จนถึงอัฟกานสี ถาน เปน็ ผกู้ อ่ ตัง้ ราชวงศ์โมริยะ ซ่งึ เปน็ ราชวงศท์ ยี่ ง่ิ ใหญข่ องอินเดยี กษตั ริย์ที่ยิ่งใหญ่ราชวงศ์น้ี
คือ พระเจา้ อโศกมหาราช (ครองราชย์ ๒๗๓-๒๓๒ ก่อนครสิ ต์ศกั ราช)

รปู ๓ พระเจา้ อโศกมหาราช

หนา้ | ๓
ในช่วงสมัยของพระองค์ ได้ขยายอำนาจครอบครองเกอื บทัว่ ทั้งดนิ แดนอนุทวีป อย่างไรก็ดี การพิชิต
โอรสิ สา (Orissa) ที่เปน็ แควน้ ใกล้เคียง ก่อให้เกดิ การสญู เสยี เลือดเนือ้ เป็นอันมาก ทำให้พระเจา้ อโศกมหาราช
ทรงละทิ้งการเข่นฆ่า และหันมาใช้แนวทางสันติหรืออหิงสาหลังจากที่ทรงยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา
ราชวงศ์โมริยะมีส่วนสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปสู่ดินแดนเอเชียตะวันออก และเอเชีย
ตะวนั ออกเฉียงใต้ ซึง่ สง่ ผลต่อพัฒนาการทางประวตั ศิ าสตร์ของดนิ แดนเหล่านี้

รปู ๔ เสน้ ทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

เมื่อราชวงศ์โมริยะเสื่อมอำนาจลง ดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองก็แยกตัวเป็นอิสระ แต่ต้อง
เผชญิ กบั การรุกรานทม่ี าจากทางเหนือและจีนจนกระทั่งประมาณปลายคริสต์ศตวรรษท่ี ๓ เมอื่ เกดิ ราชวงศ์คุป
ตะ (Gupta) ขึ้นมามีอำนาจเหนืออาณาจักร ในแคว้นมคธและดินแดนรอบๆ ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ ๔-๕
ราชวงศ์คุปตะรวบรวมดินแดนตอนเหนือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และขยายอำนาจลงมาถึงเทือกเขาวินธยะ
(Vindhya) กษัตริย์ที่มีอำนาจโดดเด่นที่สุด ได้แก่ จันทรคุปตะที่ ๑ (Chandra Gupta l) สมุทรคุปตะ
(Samudra Gupta) และจนั ทรคปุ ตะท่ี ๒ (Chandra Gupta II ) ชว่ งสมยั ของราชวงศ์คปุ ตะถอื วา่ เปน็ ยคุ ทอง
ของอินเดยี มคี วามก้าวหนา้ ท้งั ในดา้ นวัฒนธรรมฮินดู วิทยาศาสตร์ และการปกครอง

เมื่อราชวงศค์ ุปตะหมดอำนาจลงเพราะการรุกรานจากเอเชียกลางในครสิ ต์ศตวรรษที่ ๖ ดนิ แดนอนุ
ทวีปก็กลับไปเป็นดินแดนที่ประกอบด้วยอาณาจักรและแว่นแคว้นหลากหลายอีกครั้ง แต่ก็เป็นช่วงสมัยที่
ค่อนขา้ งสงบและมีเสถยี รภาพ ตลอดจนมีความก้าวหนา้ ทางวฒั นธรรมเปน็ เวลาหลายรอ้ ยปกี อ่ นจะถึงช่วงสมัย
ทมี่ สุ ลิมเขา้ มามอี ำนาจ

ชาวอาหรับเคยรกุ เข้ามาในดินแดนเอเชยี ใต้เป็นเวลานานแล้ว ในชว่ งตน้ คริสตศ์ ตวรรษท่ี ๑๑ อิทธิพล
ของมุสลิมเริม่ ปรากฏชัด การรุกรานของอาหรับดำเนินสบื เน่ือง แต่นอกจากเข้ามาเขน่ ฆ่าทำลายแล้ว ก็ไม่ได้
เข้ามายึดครองเป็นเวลานาน ซึ่งได้ยุติลงเป็นเวลากว่า ๑ ศตวรรษก่อนที่จะกลับเข้ามาใหม่ในช่วงปลาย
ครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๒ ซึง่ เปน็ การเขา้ มายดึ ครองเปน็ การถาวร

หนา้ | ๔

กองทัพอาหรับที่รุกเข้ามาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ได้ทำลายโบสถ์วิหารของชาวพุทธแทบ
หมด ตอ่ มาชาวอาหรบั ก็สามารถพิชิตอาณาจักรฮินดไู ด้เกอื บหมด ในชว่ งต้ังแตต่ ้นครสิ ต์ศตวรรษที่ ๑๓ จนถึง
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เขตอำนาจของมุสลิมที่เข้ามาปกครองอินเดีย เรียกว่า “รัฐสุลต่านแห่งเดลี” (Delhi
Sultanate) แต่มุสลิมที่ปกครองดินแดนนี้มีทั้งชาวอาหรับ เติร์ก และอัฟกัน อำนาจของรัฐสุลต่านแห่งเดลี
ขยายไปยังดินแดนส่วนต่างๆของอินเดียตอนเหนอื ได้ไม่น้อยกว่าในช่วงสมัยคุปตะ การผสมผสานวัฒนธรรม
อินเดียและมุสลิมมีผลสำคัญต่อการพัฒนาการทั้งทางสถาปัตยกรรม ดนตรีวรรณกรรม และศาสนาอินเดีย
เข้าใจกนั วา่ ภาษาอรู ดเู กดิ ข้ึนในชว่ งสมยั ของรฐั สุลตา่ นแห่งเดลนี เี่ อง จากการผสมผสานภาษาอินเดียโบราณกับ
ภาษาเปอร์เซีย เตอรก์ ซี และอาหรับ

ใน ค.ศ. ๑๕๒๖ จกั รพรรดิบาบูร์ รุกเข้ามาชอ่ งเขาไคเบอร์จาก
เอเชยี กลางเข้ามาตง้ั แต่ราชวงศโ์ มกลุ หรอื มุคัลในอนิ เดียตอนเหนอื และ
เมื่อถึง ค.ศ. ๑๖๐๐ เส่อื มลงในช่วงตา้ นคริสตศ์ ักราชท่ี ๑๘

รูป ๕ แผนที่ชอ่ งเขาไคเบอร์ ชว่ งสมยั ของราชวงศ์โมกลุ ได้เกิดการเปลย่ี นแปลงอย่างสำคัญใน
ดินแดนอนุทวีปอินเดีย เมื่อชาวฮินดูซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ ถูก
ปกครองโดยจักรพรรดริ าชวงศ์โมกุลท่ีเป็นมุสลิม จักรพรรดิบางองคท์ รง
ให้การอุปถัมภ์ศาสนาฮินดู แต่บางองค์กลับทรงปกครองอย่างกดขี่และ
เก็บภาษีชาวฮินดู อย่างไรก็ดีจักรพรรดิโมกุลมีนโยบายสร้างความเป็น
ปึกแผน่ ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะจักรพรรดอิ กั บามหาราช

ราชวงศ์โมกุลรุ่งเรืองอย่างมากในรัชสมัยของชาห์ เจฮัน (ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ.๑๖๒๘-๑๖๘๕)
ทรงเป็นจักรพรรดิผู้ทรงสร้างทัชมาฮาล แต่จักรพรรดิโอรังเซบ (ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ.๑๖๘๕-๑๗๐๗) มี
คลั่งไคล้ในศาสนาอิสลาม จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ศาสนาอื่นหมดไปจากอินเดีย ราชวงศ์โมกุลจึงถึง
คราวเสื่อม เมื่อจักรพรรดิโอรังเซบสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. ๑๗๐๗ ได้เข้าสู่ยุคของความแตกแยก และแย่งชิง
อำนาจกันของอาณาจักรและแว่นแคว้นตา่ งๆ แต่กย็ ังปกครองอินเดยี แต่ในนามจนค.ศ. ๑๘๕๘

รปู ๖ ทชั มาฮาล

หน้า | ๕

เอเชียใตภ้ ายหลงั การเขา้ มาของชาตติ ะวนั ตก

วาสโก ดา กามา คน้ พบเสน้ ทางทะเลมายังอินเดยี และเดนิ ทางมาถึงเมอื งกาลกิ ัต ใน ค.ศ. ๑๔๙๘ เป็น
การปูทางสำหรับการเขา้ มาติดต่อค้าขายกบั ชาติตะวันตกกับดินแดนนี้ โดยชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาตแิ รกที่เข้า
มา มีสถานีการค้าสำคัญอยู่ที่เมืองกัวและบอมเบย์ ต่อมามีฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส อังกฤษตั้งสถานี
การคา้ แห่งแรกของตนท่ีสรุ ัต เมอื งทา่ ชายฝง่ั ตะวนั ตกของ และเม่อื ถงึ กลางทศวรรษ ๑,๖๐๐ อังกฤษก็มีสถานี
การค้าในเมืองที่สำคัญๆของอินเดยี เช่น บอมเบย์ กัลกัตตา และมัทราส ฮอลันดาก็ตั้งสถานีการค้าขึ้นที่สุรตั
เปน็ แห่งแรก ส่วนฝรง่ั เศสมีศูนย์กลางสำคญั ๆอยู่ท่ีปอนดีเชอรี เมือ่ ถงึ ชว่ งศตวรรษตอ่ มา มหาอำนาจตะวันตก
ก็สูญเสยี อทิ ธพิ ลของตนแทบท้งั หมดใหแ้ ก่องั กฤษ

ในช่วงนี้ราชวงศ์โมกุลยังแข็งแกร่งอยู่ พวกเขาขับไล่ชาวตะวันตกเมื่อบางคนพยายามยึดอำนาจ
มากกว่าท่ไี ด้รบั อนญุ าต ไมว่ ่าจะโดยทางการทูตหรอื เมื่อพวกเขาตอ่ ต้าน ทางการทหาร

บริษทั อนิ เดียตะวันออกขององั กฤษได้รบั อนญุ าตโดยจกั รพรรดิราชวงศโ์ มกลุ ให้คา้ ขายในอนิ เดียได้ ใน
ค.ศ.๑๖๑๗ และในค.ศ.๑๖๗๐ กษัตริย์ชาร์ลที่ ๒ ของอังกฤษก็ทรงอนญุ าตให้แสวงหาดินแดน จัดตั้งกองทัพ
ผลิตเงินตรา และกำหนดเขตอำนาจทางกฎหมายของตนเองได้ กิจการการคา้ ขยายตัวอยา่ งรวดเรว็ และเมอ่ื ถึง
กลางศตวรรษตอ่ มา บรษิ ัทนีก้ ก็ ลายมาเป็นเครื่องมอื ในการขยายอำนาจขององั กฤษ

อังกฤษเริ่มเข้ายึดครองดินแดนในอนุทวีปอินเดียเมื่อกองกำลังของบริษัทอินเดียตะวันออกซึ่ง
บญั ชาการโดยโรเบิรต์ ไคลฟ์ มชี ัยชนะเหนือกษัตริย์แห่งเบงกอลใน ค.ศ. ๑๗๕๗ เป็นจดุ เรม่ิ ต้นของการเข้าไป
ปกครองอนิ เดียของอังกฤษ

สาเหตุของการสู้รบเกิดจากเหตกุ ารณ์ท่เี รยี กว่า “หลมุ ดำแห่งกลั กตั ตา” เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่
ฟอร์ตวลิ เลียม (Fort William) ปอ้ มปราการของอังกฤษเพือ่ ปกป้องผลประโยชน์ทางการค้า หลังจากปฏิเสธท่ี
จะรอื้ การป้องกันทส่ี รา้ งเพม่ิ มาเพราะกลัวการโจมตขี องฝรงั่ เศส พวกเขาถูกกองกำลังอินเดยี โจมตี พวกเขาพา่ ย
แพ้ และนกั โทษประมาณ ๖๔ คนถกู โยนเขา้ ไปในห้องขงั ขนาดเลก็ ๕.๕ x ๔.๓ เมตร โดยในจำนวนน้นั ๔๓ คน
เสียชีวติ

รูป ๗ ทตี่ ้ังของอดตี คุกมดื หลุมดำแห่งกลั กัตตา

หน้า | ๖

เมื่อถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อังกฤษสามารถควบคุมดินแดนอนุทวีปอินเดียได้เกือบทั้งหมด
กษัตริย์พื้นเมืองบางส่วนถูกบีบให้ยอมรับความเป็นเจ้าอาณานิคมของอังกฤษ ในขณะที่อีกบางส่วนถูกริบ
ดินแดนไป ดินแดนบางส่วนของอนุทวีปตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของอังกฤษ ในขณะที่บางส่วน

ราชวงศ์พื้นเมืองยังคงปกครองอยู่แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ
อังกฤษ อินเดียยังสถานภาพเป็นรัฐเอกราชแต่เพียงในนาม จักรพรรดิ
ราชวงศโ์ มกลุ ทรงมฐี านะเป็นหุ่นเชิดขององั กฤษมากข้ึน

การผนวกดินแดนของแคว้นอวาธะใน ค.ศ. ๑๘๕๖ อ้างความ

ผดิ พลาดในการบริหารบ้านเมืองและปฏิบัตกิ ารดา้ นวัฒนธรรม เช่น ห้าม

รปู ๘ พธิ สี ตี การทำพิธีกรรมของฮินดู เช่น พิธีสตี (การเผาตนเองของหญงิ หม้ายเพ่ือ
ตามสามีที่เสียชีวิตด้วยการกระโดดเข้ากองไฟที่เผาศพสามี) นับเป็นการ

ขยายอำนาจช่วงสดุ ทา้ ยขององั กฤษก่อนทจี่ ะเกิดความไมพ่ อใจและกระแสการต่อต้านกว้างขวางของอินเดยี

ใน ค.ศ. ๑๘๕๗ เกิดกบฏซีปอยหรือกบฏอินเดีย ต่อมาคือ

“สงครามอสิ รภาพคร้งั แรก (First War of Independence)” ของอนิ เดีย

ทหารของกองทัพ “ทหารซีปอย” เกณฑ์มาจากคนพื้นเมืองที่มีเป็นฮินดู รูป ๑ กบฎซีปอย

และมุสลิมก่อการกบฏ เหตผุ ลนเ้ี ช่อื กันวา่ เป็นเพราะตลบั ปนื ยาวใหม่ท่ีเชื่อ

กันว่าจุ่มลงในไขมันสัตว์ เช่น วัวและสุกร ตลับปืนไรเฟิลใหม่เหล่านี้ยัง

ต้องการใหผ้ ้ใู ช้กดั ปลายปนื ทำให้เกิดการละเมดิ ขอ้ ห้ามทางศาสนา ทหาร รูป ๙ กบฏซีปอย
กบฏรุกขึ้นไปถึงเดลี และขึ้นทั้งในอินเดียตอนเหนือและตอนกลางเพื่อ

ตอ่ ตา้ นบรษิ ัทอินเดยี ตะวันออก กองกำลงั ทหารพื้นเมอื งและอาณาจกั รหลายแหง่ เขา้ รว่ มกับฝ่ายกบฏ แต่กอง

กำลังอินเดียในส่วนอื่นๆอีกหลายพื้นที่ภายใต้การปกครองของอังกฤษยังจงรักภักดีต่อบริษัทฯ ทำให้อังกฤษ

สามารถปราบกบฏที่ดำเนินอยถู่ งึ ๑ ปีเตม็ ลงได้

ผลจากเหตุการณ์ครง้ั น้ี ราชวงศ์โมกลุ ตอ้ งสิน้ สุดลง อำนาจในการปกครองอนิ เดยี ถกู ถ่ายโอนจากมาอยู่
ที่รัฐบาลอังกฤษ มีการประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชินีนาถวคิ ตอเรียขึ้นเปน็ จกั รพรรดินีแห่งอนิ เดยี และมี
อปุ ราชแห่งอนิ เดียทำหน้าท่ีปกครองดินแดนน้ี

รูป ๑๐ สมเด็จพระราชินีนาถวกิ ตอเรยี

หนา้ | ๗

กบฏซีปอยนบั เปน็ ช่วงเปลีย่ นที่สำคญั ของการเข้าไป มีอำนาจขององั กฤษในอนิ เดยี การปกครองของ
บริษัทอินเดียฯสรา้ งความไม่พอใจให้ จนเกิดกระแสต่อด้านรนุ แรงท่ีนำไปส่กู ารกอ่ การกบฏคร้ังนั้น

ความไม่พอใจมีท้ังสาเหตทุ างเศรษฐกิจ (เช่น การเปิดโรงงานทอผ้าของอังกฤษโดยใช้เครือ่ งจักรทีท่ ำ
ให้กจิ การทอผา้ พืน้ เมืองตอ้ งปดิ กจิ การและการเก็บภาษีที่ดนิ ในอัตราสงู ) การเมือง (การแบ่งแยกและปกครอง
จนสร้างความแตกแยกระหว่างชาวฮินดูและชาวมุสลิม และการยา้ ยพระบรมวงศานวุ งศ์ของราชวงศ์โมกุลจาก
ที่ประทับในนครเดลีไปอยู่ในเมืองเล็กๆ) และสังคม (การพัฒนาบ้านเมืองแบบตะวันตกที่ทำให้ชาวอินเดีย
ปรับตัวไม่ทัน การสร้างความขัดแย้งทางศาสนาโดยคณะมิชชันนารีบางกลุ่มที่ดูถูกศาสนาฮินดูและการออก
กฎหมายอนุญาตให้สตรหี ม้ายแตง่ งานครั้งท่ีสองได้)

ดังนั้นแมว้ ่าอังกฤษจะปกครองอาณานิคมอินเดียพร้อมกบั พัฒนาใหม้ ีความก้าวหน้าทันสมัยแตก่ ารมี
สถานะไม่เทา่ เทยี ม โดยเฉพาะอย่างย่งิ การถูกกีดกนั ไมใ่ ห้เข้ารบั ตำแหน่งระดบั สงู ในระบบราชการ ก็ทำให้ชาว
อินเดยี โดยเฉพาะคนรนุ่ ใหมท่ ีร่ วมกล่มุ กันในลักษณะของขบวนการชาตินยิ มตอ่ สเู้ พอื่ เอกราช

การตอ่ ส้เู พ่ือเอกราชของอินเดยี

ขบวนการชาตินิยมท่ีมบี ทบาทสำคญั ในการเรียกร้องเอกราช

ของอินเดีย คือสภาแห่งชาติอินเดีย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในค.ศ.๑๘๘๕ เพื่อ

ต่อสู้ในเรื่องนี้โดยสันติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่๑ ชาวอินเดีย

ช่วยอังกฤษสู้รบในสงครามโดยหวังว่าจะได้รับเอกราชภายหลัง

สงคราม แต่เมื่อสงครามยุติอังกฤษไม่ให้ เอกราช ยังควบคุมและ

ขดั ขวางการเรียกร้องเอกราชของอินเดยี รวมท้งั ปราบปรามผู้ตอ่ ต้าน

อังกฤษอย่างรุนแรง กระแสตอ่ ต้านเขม้ ข้นมากข้ึนในช่วงค.ศ.๑๙๑๘-

รปู ๑๑ มหาตมะคานธี ๑๙๒๒ เมื่อผู้นำการเรียกร้องเอกราชโดยเฉพาะ มหาตมะคานธี
(civil disobedience) ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญาและวิธีการ

ของ บาบา ราม สิงห์ ชาวซิกข์ผู้นำขบวนการต่อสู้ในแคว้นปัญจาบในช่วงทศวรรษ ๑๘๗๐ คานธีจึงสามารถ

เปล่ียนสภาแหง่ ชาตอิ ินเดียใหเ้ ปน็ ขบวนการมวลชน มีชาวอนิ เดียท่ัวประเทศ เมอ่ื ถงึ ชว่ งปลายทศวรรษ ๑๙๓๐

เมื่อประชาชนเริ่มผิดหวังกบั การถ่วงเวลาของฝ่าย จึงเกิดกลุ่มหัวรุนแรงในขบวนการนี้ซ่ึงเป็นท่ีนิยมของชาว

อนิ เดยี มากขนึ้ กลุ่มหวั รนุ แรงแยกตัวออกไปต้งั พรรคของตนเองและกอ่ ตัง้ กองทพั ปลดปลอ่ ยท่ีเรียกว่ากองทัพ

หนา้ | ๘

แห่งชาติอินเดียขึ้นในค.ศ.๑๙๒๔ กองทัพแห่งชาติอินเดีย ปฏิบัติการและต่อต้านฝ่ายพันธมิตรในระหว่าง
สงครามโลกคร้ังที่ ๒ ในอาระกัน พม่า และอสั สัม โดยได้รบั การสนบั สนุนจากญ่ีปนุ่ แตก่ ็ลม้ เหลว มีนายทหาร
ถกู กลา่ ววา่ เปน็ พวกทรยศ

ในระหว่างสงครามโลกคร้ังที่ ๒ สภาแห่งชาติอินเดยี ได้ตั้งขวนเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกไปจาก
อินเดีย(Quit India Movement) นายทหารที่ถกู กล่าวหาว่าทรยศต่อชาติก็เกิดการกบฏขึ้นในกองทัพอังกฤษ
โดยมีประชาชนลุกฮือขึน้ ต่อตา้ นอย่างกว้างขวาง การไต่สวนนายทหารและเหตุการณ์ความไม่สงบที่ตามมามี
ส่วนอยา่ งสำคญั ในการทำให้อังกฤษตดั สินใจให้เอกราชแก่อินเดียในทีส่ ดุ เมอ่ื วนั ท่ี ๑๕ สงิ หาคม ค.ศ. ๑๙๔๗

อยา่ งไรก็ดี เอกราชของอินเดียก็ตอ้ งแลกมาดว้ ยการแบ่งดนิ แดนอนทุ วปี ออกเปน็ ประเทศอินเดียและ
ปากีสถาน ภายหลังมีความรุนแรงเกิดขึ้นระหว่างชาวซิกข์ฮินดู และมุสลิม ในหลายส่วนของประเทศ เช่น
ปญั จาบ เบงกอลและเดลี ทำให้ประชาชนเสียชวี ิตไมน่ อ้ ยกว่า , นอกจากน้นั ยังมีการอพยพคร้ังใหญ่ทีส่ ดุ คือ มี
ประชากรท่เี ปน็ ฮนิ ดู ซิกข์และมุสลมิ ๑๒ ลา้ นคนอพยพขา้ มพรหมแดน ๒ ประเทศ

พฒั นาการด้านการเมืองการปกครอง

เอเชียใต้มพี ฒั นาการทีเ่ จรญิ มาต้ังแตอ่ ดตี จากหลกั ฐานทางโบราณคดใี นอารยธรรมล่มุ แมน่ ำ้ สินธุแสดง
ให้เหน็ วา่ มีผู้ปกครองท่อี าจเปน็ นักบวชหรือกษัตรยิ ์ต่อมาในสมัยพระเวทชาวอารยันได้อพยพเขา้ มาในเอเชียใต้
แยกกันอยู่เป็นเผา่ มีผูน้ ำเผ่า ต่อมาเกิดเมืองและรัฐที่มีผู้ปกครองของตน รัฐต่างๆถูกรวมเปน็ จักรวรรดิในสมัย
ราชวงศ์เมารยะ สมัยจักรวรรดิคุปตะและสมัยราชวงศ์มัมลุกและราชวงศ์โมกุลหรือมุคัลที่เป็นมุสลิม สมัย
จักรวรรดิโมกุล เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ชาวตะวันตกชาติแรกคือโปรตุเกสได้เข้ามายังอินเดียต่อมา
เอเชียใต้ตกเป็น อาณานิคมของอังกฤษในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
อนิ เดียได้เรยี นรู้ประชาธปิ ไตยแต่กม็ ีส่วนท่ที ำใหเ้ กดิ ความแตกแยกทางเชอื้ ชาติและศาสนาทีร่ นุ แรงมากขึน้ เม่อื
อินเดยี ได้เอกราชจึงเกดิ การแยกประเทศออกเป็นอนิ เดยี ที่เปน็ ชาวฮินดู และปากีสถานท่ีเป็นชาวมุสลิม ต่อมา
ในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ ปากีสถานตะวนั ออกได้แยกออกเป็นประเทศบังกลาเทศ ปัจจุบันประเทศในเอเชียใต้มีการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยในหลายประเทศมีปัญหาความขัดแย้งภายในทั้งสาเหตุจากการเมืองเชื้อชาติ
ศาสนาและเศรษฐกิจรวมท้ังปญั หาการก่อการร้าย

หน้า | ๙

พัฒนาการดา้ นเศรษฐกิจ

เอเชียใต้เป็นดินแดนท่ีมีหมู่บ้านต้ังกระจัดกระจายอยู่ท่ัวไป หมู่บ้านเหล่าน้ันมพี ้ืนฐานเศรษฐกิจแบบ
พึง่ ตนเอง ชาวบ้านมอี าชพี หรือหน้าท่ีตามวรรณะของตน เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก และมชี ่างฝีมือ เม่ือชาว
มุสลิมอาหรับยึดครองอินเดียตอนเหนือในคริสต์ศตวรรษที่ ๘ การค้าได้รับการส่งเสริมโดยเฉพาะการค้า
ภายนอกภูมิภาค พ่อค้าส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เนื่องจากชาวฮินดจู ะไม่เดินเรือเพราะถือว่าผิดกฎวรรณะ ใน
สมัยจกั รวรรดโิ มกุลเศรษฐกิจขนึ้ อยู่กับการเกษตร การค้า และอตุ สาหกรรม โดยรัฐให้การสนับสนนุ เช่น ให้กู้
เงินซื้อเมล็ดพืชเครื่องมือทางการเกษตร สร้างถนนเชื่อมทั่วจักรวรรดิเพื่อส่งเสริมการค้าขาย และส่งเสริม
อุตสาหกรรมทอพรม ผ้า ฝ้าย ผา้ ไหม โดยมีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายด้วยจำนวนมาก ในครสิ ต์ศตวรรษ
ที่ ๑๘ อังกฤษสามารถขยายการค้าและอิทธิพลทางการเมืองในอินเดียและซีลอน เมื่ออินเดียตกเป็นของ
อังกฤษ ชาวองั กฤษเข้ามาลงทนุ ในกิจการไร่ชา ไร่ฝ้าย ไร่ฝ่ินในอนิ เดยี และนำแรงงานชาวทมิฬจากเข้าไปยังศรี
ลังกา กลายเป็นปญั หาเชื้อชาติในศรลี งั กาในเวลาต่อมา รฐั บาลได้ใช้อินเดียเป็นแหลง่ ผลติ สนิ คา้ และส่งออกไป
ยงั ยโุ รป รัฐเข้าควบคุมทรพั ยากรท่ีดนิ และการคา้ กบั ตา่ งประเทศ มกี ารสรา้ งทางรถไฟจากเมอื งท่าต่างๆ เมือง
หลายเมืองถูกพฒั นาเปน็ เมืองใหญ่ เชน่ กัลกัตตา บอมเบย์ มัทราส เปน็ ต้น

ในช่วงสงครามเย็น อินเดียได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ

จากสหภาพโซเวียต ส่วนปากีสถานได้รับความช่วยเหลือจากจีน แต่ละ

ประเทศสว่ นใหญใ่ นภูมิภาคน้ี ยงั คงประสบปญั หาความยากจนและด้อย

พัฒนาดา้ นการศึกษา ดา้ นสาธารณสขุ ต่อมาหลงั ยคุ สงครามเย็น หลาย

ประเทศได้พัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจโลก ยุคโลกาภิวัฒน์ทีเ่ ป็นระบบ

รปู ๑๒ สงครามเย็น ทุนนิยมและการลงทุนข้ามชาติ หลายประเทศเปิดรับการลงทุนจาก
ต่างชาติ และมีการลงทุนของเอกชนในประเทศมากขึ้น แต่จำนวน

ประชากรทีม่ ากโดยในอินเดีย ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัดและการพัฒนาทไี่ มท่ ่ัวถึง ทำให้ประชากรโลก

ประเมินวา่ เอเชยี ใต้มฐี านะทางเศรษฐกิจยากจนทสี่ ดุ ในโลก

อินเดียเป็นประเทศท่ีมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกจิ มากที่สุดในภูมิภาคโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม มีเมอื งใหญ่หลายเมอื งทม่ี ีความทนั สมยั เชน่ มุมไบ บงั คาลอร์ เดลี เป็นต้น ซึ่งมี
โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ แต่การพัฒนาก็ทำให้เกิดปัญหาช่องว่างทางรายได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งมี
ประชากรยากจนมากตดิ อนั ดบั โลก

หน้า | ๑๐

พัฒนาการด้านสงั คม

เอเชยี ใตเ้ ป็นดินแดนทีม่ คี วามเจรญิ ทางอารยธรรมและความอุดมสมบรู ณ์ทำให้มีชนต่างชาติอพยพเข้า
มาอยู่ในเอเชียใต้อยู่เสมอ ทำให้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาความ
ขัดแยง้ ทเี่ ป็นอปุ สรรคต่อการพฒั นามาจนถงึ ปัจจุบัน เชน่ ความขดั แยง้ ระหว่างประชากร ชาวฮินดูกับมุสลิมใน
อินเดีย ชาวทมิฬกับชาวสิงหลในศรีลังกา เป็นต้น พัฒนาการทางสังคมที่สำคัญและเป็นรากฐานของสังคม
อินเดยี คือ ระบบวรรณะ ซึ่งแบง่ คนในสงั คมออกเป็นชนช้ันวรรณะท่ีตายตวั เปน็ ระบบทม่ี ีบทบาทต่อชาวฮินดู
ท้ังดา้ นศาสนา สังคม และการดำเนนิ ชวี ิตประจำวัน แม้ในปัจจบุ ันอนิ เดยี จะเลิกการแบง่ ชัน้ วรรณะแล้ว แต่ใน
ชนบทของอินเดีย ระบบวรรณะยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมอินเดียและยังมีประชากรขึ้นทะเบียนเป็นพวกนอก
วรรณะมากกว่า ๑๐๐ ลา้ นคน

นอกจากนั้นแล้วในเอเชียใต้ยังเป็นดินแดนที่เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาและลัทธิที่สำคัญ เช่น ศาสนา
พราหมณ์-ฮนิ ดู พระพุทธศาสนา และศาสนาเชน เปน็ ตน้ ศาสนาและลทั ธเิ หล่านี้ไดเ้ ป็นรากฐานความเจรญิ ทาง
อารยธรรมของเอเชียใต้ ทั้งในด้านศิลปะ วรรณกรรม กฎหมาย พิธีกรรม และการดำรงชีวิตของประชาชน
ตอ่ มาเมอื่ ชาวมุสลิมเขา้ มาปกครองอินเดีย ศาสนาอสิ ลามก็มีบทบาทตอ่ สงั คมในเอเชียใต้ ซ่งึ ศาสนาและความ
เชอื่ เหลา่ นย้ี งั คงมอี ิทธพิ ลต่อประชากรในเอเชียใต้มาจนถึงปจั จุบนั

สังคมของเอเชียใต้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีลักษณะโดยรวมเป็นสังคมชนบทสังคมเกษตรกรรม
ครอบครัวเป็นหน่วยย่อยที่มีความสำคัญในบางพื้นที่มีความเป็นอยู่แบบเผ่าทั้งนี้เพราะเอเชียใต้เป็นดินแดน
กวา้ งใหญม่ คี วามเจริญแตกต่างกนั บางชุมชนอาศยั อย่ใู นปา่ เทือกเขาภูเขาบางประเทศที่อยู่ตอนใน เช่น ภูฎาน
ประชาชนอย่างรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบทประกอบอ าชีพ
เกษตรกรรมส่วนใหญ่มีฐานะยากจนช่วยการศึกษามีความคิดอนุรักษ์นิยมศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการ
ดำเนินชีวิตของผูค้ นทีเ่ นน้ ความเรียบงา่ ยแต่ศาสนาทีแ่ ตกตา่ งกันก็เป็นสาเหตุความขัดแย้งสำคัญของเอเชยี ใต้
ด้วยเชน่ กัน

รปู ๑๓ กำเนดิ วรรณะ

หนา้ | ๑๑

รปู ๑๔ เอเชยี ตะวันตกเฉยี งใต้

การขยายอำนาจของชนชาตอิ าหรับ

ดินแดนคาบสมุทรอานาโตเลีย ซีเรีย ปาเลสไตน์ และอียิปต์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งในทาง
การเมอื งและวัฒนธรรมภายใต้จกั รวรรดิโรมนั และต่อมาจกั รวรรดิไบเซนไทน์ (โรมนั ตะวนั ออก) โดยมีเมโสโป
เตเมยี ค่นั กลางระหว่างจักรวรรดินี้และเปอร์เซียทอี่ ยู่เลยไปทางตะวันออก อย่างไรกด็ ีปัจจยั สำคญั ที่ทำให้เอเชีย
ตะวนั ตกเฉียงใต้โดดเด่นเป็นเอกเทศ โดยเฉพาะในทางวัฒนธรรมจากยโุ รปและแอฟริกา คอื ศาสนาอิสลาม ซ่งึ
ขยายตัวเขา้ มาต้งั แต่ ค.ศ. ๖๓๔

ชัยชนะของนักรบชาวอาหรับผู้ศรัทธาในศาสดามุฮัมมัด ทำให้ศาสนาอิสลามขยายอิทธิพลไปอย่าง
รวดเร็ว คือไปถึงปาเลสไตน์ในค.ศ. ๖๓๖ เมโสโปเตเมียในปีต่อมา ซีเรียและอียิปต์ในปี ค.ศ.๖๔๐ และ
เปอร์เซียใน ค.ศ. ๖๔๒ ดินแดนที่ยึดได้โดยชาวอาหรับเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ภายในระยะเวลาไม่
นานนัก ทำให้ดินแดนเหล่านี้กลายมาเป็นเส้นแบ่งทางวัฒนธรรมระหว่างยุโรปและโลกมุสลิม อย่างไรก็ตาม
ชาวอาหรับขยายอิทธิพลไปไม่ถึงคาบสมุทรอานาโตเลีย ซึ่งยังอยู่ภายใต้อำนาจของพวกโรมันจนกระทั่งชาว
เติรก์ เข้ามาสู่ดินแดนน้ี

เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษท่ี ๙ ชาวอาหรับท่ีแผข่ ยายอำนาจเข้ามาในช่วงนี้แตกเป็นรัฐเลก็ ๆ จำนวนมาก
ในเขตที่อยู่ระหว่างแม่น้ำไนล์และแม่น้ำไทกริส รวมทั้งในแอฟริกาเหนือและดินแดนส่วนใหญ่ของสเปน

หนา้ | ๑๒

เปอร์เวีย ซึ่งฟื้นฟูอิสรภาพของตนเองในเวลาต่อมารับเอารูปแบบหนึ่ง ชีอะฮ์ ซึ่งชาวอาหรับที่เป็นมุสลิม
นิกายสุหนี่เหน็ ว่าเป็นความเชอื่ นอกศาสนา

ศาสนาอิสลามแผ่ขยายต่อไปทางตะวันออกจนถึงอินเดียและหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (อินโดนีเซยี
ปัจจุบัน)ในขณะที่ด้านตะวันตกชาวอาหรับก็รุกเข้าไปถึงสเปนและอิตาลีในยุโรป นครสำคัญของอาหรับ คือ
ไคโร บาสรา ดามัสกัส และแบกแดด เปน็ ศนู ยก์ ลางท้งั ในทางเศรษฐกิจและวฒั นธรรม มีความก้าวหน้ารุ่งเรือง
ในด้านวรรณกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนวิทยาการด้านตา่ งๆรวมทั้งการแพทย์และวิทยาศาสตร์

จกั รวรรดอิ อตโตมัน

ความรงุ่ เรอื งทางอำนาจและวัฒนธรรมของอาหรบั สน้ิ สุดลงในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ เมอื่ พวก
เตริ ก์ จากเอเชยี กลางเข้ามามีอำนาจในเอเชยี ตะวนั ตกเฉยี งใต้ จกั รวรรดิเตริ ก์ ทีเ่ รยี กวา่ “ รัฐสุลต่านเซลจุก” มี
ศูนย์กลางอยู่ที่แบกแดด และมีอำนาจครอบคลุมเปอร์เซีย อิรัก และซีเรีย นอกจากนี้เมื่อเอาชนะจักรวรรดิ
ไบเซนไทน์ (Byzantine) ได้ในการรบครั้งสำคัญเมื่อค.ศ.๑๐๗๑ พวกเติร์กก็เข้าไปตั้งมั่นในคาบสมุทร
อนาโตเรีย

พวกเติร์กในคาบสมุทรอนาโตเลียแตกเป็นรัฐอิสระจำนวนมาก เมื่อมองโกลรุกรานดินแดนน้ีในค.ศ.
๑๒๔๑-๑๒๔๓ แต่เมื่อสิ้นศตวรรษที่ ๑๓ รัฐหนึ่งในจำนวนนี้ คือ ออตโตมัน (Ottoman) ตั้งอยู่ทาง
ตะวันตกเฉียงใตข้ องคาบสมุทรอนาโตเลีย ก็ประกาศตนเป็นรัฐอสิ ระ พวกออตโตมันเตริ ์กขยายอำนาจอย่าง
รวดเรว็ ในชว่ งศตวรรษหลังจากนั้น โดยเฉพาะสามารถยดึ ครองคอนสแตนตโิ นเปิลได้ในค.ศ. ๑๔๕๓ ออตโตมัน
เตริ ก์ มอี ำนาจสงู สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๖ สุลต่านเซลิม (ค.ศ. ๑๕๑๒-๑๕๒๐) ยดึ ครองซีเรีย อียิปต์และ
คาบสมุทรอาหรับ เมื่อถึงสมัยสุลต่านสุไลมานที่ ๑ (ค.ศ.๑๕๒๐-๑๕๖๖) ออตโตมันก็กลายเป็นอาณาจักรท่ี
กว้างใหญ่ ยดึ ครองดนิ แดนเอเชีย-ตะวนั ตกเฉียงใต้ไว้ได้ท้ังหมด และขยายอำนาจต่อไปถึงกรีซ คาบสมุทรบอล
ข่าน และฮังการี โดยมีอำนาจทางทะเลเหนือเมดเิ ตอร์เรเนียน แม้ว่าถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ยุโรปจะเรมิ่
ก้าวหน้าเข้มแข็งเหนือโลกมุสลิม แต่จักรวรรดิออตโตมันก็ยังคงครอบครองดินแดนบางส่วนในยุโรป เช่น
แอลเบเนียและบอสเนีย โดยมีประชากรจำนวนมากเปลีย่ นมานบั ถือศาสนาอสิ ลาม

อำนาจของจักรวรรดิออตโตมันเสอื่ มลงอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษที่ ๑๘-๒๐ ถกู ท้ิงให้ล้าหลังยุโรป
มากยง่ิ ขนึ้ พวกออตโตมนั กรีซ เซอร์เบีย โรมาเนีย และบลั แกเรยี ประกาศตนเป็นอิสระ และภายหลังสงคราม
บอลข่าน ค.ศ. ๑๙๑๒-๑๙๑๓ พวกออตโตก็ถกู ขบั ออกจากยุโรปท้งั หมด

หน้า | ๑๓

จักรวรรดิออตโตมันก็ถูกขนานนามว่า “คนป่วยแห่ง

ยุโรป (Sick Man of Europe) ” และต้องอยู่ภายใต้อิทธิพล

ทางการเงินของชาติตะวันตกมากขึ้น ในขณะที่มหาอำนาจ

ยุโรปก็ขยายอำนาจเข้าฝรั่งเศสผนวกแอลจีเรียในค.ศ. ๑๘๗๓

และยดึ ตนู เี ซียในค.ศ. ๑๘๗๘ และขยายอำนาจไปในซีเรียและ

เลบานอน อังกฤษยึดครองอียปิ ต์ในคศ. ๑๘๘๒ (ยังอยูภ่ ายใต้

รูป ๑๕ สงครามบอลขา่ น อำนาจในนามของจักรวรรดิออตโตมัน)และขยายอำนาจไปถึง
อ่าวเปอร์เซียในเวลาต่อมา มหาอำนาจยุโรปอีกชาติหนึ่ง คือ

อิตาลี ยึดลิเบีย ในค.ศ. ๑๙๑๒ จักรวรรดิออตโตมัน หันไปพึ่งพาความช่วยเหลือจากเยอรมนีในการปกป้อง

ตนเองให้พ้นจากการขยายอำนาจของมหาอำนาจต่าง ๆ แต่วิธีการนี้ทำให้จักรวรรดิออตโตมันต้องพึ่งพา

เยอรมนีทัง้ ทางการเงนิ และทางทหาร

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ และต้นศตวรรษต่อมา ดินแดนหลายแห่งในเอเชียตะวนั ตกเฉียงใต้
โดยเฉพาะจักรวรรดอิ อตโตมัน พยายามปฏริ ูปปรับปรุงประเทศด้านต่างๆ เพื่อใหก้ า้ วทนั สมัยทัดเทียมกับชาติ
ตะวันตกคนรุน่ ใหมท่ ่ไี ด้รับการศึกษาลกุ ขนึ้ มาเรียกรอ้ งทา้ ทายอำนาจของผู้นำทางศาสนาทย่ี งั ยึดมน่ั ใจจารีต

อย่างไรก็ดีงบประมาณที่ใช้ในการปรับปรุงประเทศส่วนใหญ่กู้ยืมมาจากชาติตะวันตก จึงก่อให้เกิด
หนสี้ นิ และถูกครอบงำโดยชาตเิ หลา่ นี้มากยิ่งข้ึน

เอเชียตะวนั ตกเฉยี งใต้ภายใตอ้ ิทธิพลชาตติ ะวนั ตก

ความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วม
สงครามโลกอยู่ข้างเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ในระหว่างอังกฤษซ่ึงเปน็ ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรได้ใช้วิธีการ
กระตุ้นความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ชาวอาหรับที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันให้ลุกขึ้นมา
ต่อต้าน

อังกฤษให้สัญญาแก่ชาวอาหรับว่าจะให้เอกราช แต่เมื่อจักรวรรดอิ อตโตมันพ่ายแพ้ ชาวอาหรับก็ถกู
หักหลัง อังกฤษและฝรั่งเศสไม่เพียงแต่ทำสนธิสัญญาลับเพื่อแบ่งดินแดนแต่ยังได้ให้สัญญาแก่ชาวยิวว่าจะ
สนับสนุนใหม้ ดี ินแดนของตนเองในปาเลสไตน์ ดินแดนนี้ซึ่งชาวยวิ ถอื วา่ เปน็ แผน่ ดินดง้ั เดิมของตนในยุคโบราณ

หน้า | ๑๔

มีชาวอาหรับตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่เป็นเวลานานกว่า , การเข้ามาแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตกจึงมีส่วน
สำคัญในการสร้างความขดั แยง้ ระหว่างอสิ ราเอล และชาตอิ าหรบั ท่ียงั คงยืดเยอื้ มาถึงปัจจุบัน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซีเรียกลายมาเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส และดินแดนที่มี
ประชากรนบั ถอื ศาสนาครสิ ต์ของซีเรยี ก็ถูกแบ่งออกไปเป็นเลบานอน ส่วนอิรักและปาเลสไตนก์ ็ตกเป็นดินแดน
ในอาณัตขิ องอังกฤษ โดยปาเลสไตน์ถกู แบ่งเป็นส่วนดา้ นตะวันตกอังกฤษปกครองโดยตรง ในช่วงน้เี องท่ชี าวยิว
ได้รับอนุญาตให้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ตะวันตก นอกจากนี้ดินแดนส่วนใหญ่ของคาบสมุทร
อาหรบั ตกอยู่ใตอ้ ำนาจของเจา้ ผู้ครองทเ่ี ปน็ พันธมิตรของอังกฤษซ่งึ เปน็ ผู้ก่อตง้ั อาณาจักรซาอุดิอาระเบียขึ้นใน
ค.ศ. ๑๙๒๒

ความพา่ ยแพข้ องอาณาจักรออตโตมนั เปดิ โอกาสให้เคมาล อตาเตอรก์ ยึดอำนาจและยกเลิกระบอบ
การปกครองของกาหลิบและก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๒๓
เคมาล อตาเตอร์ก รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดคี นแรกของประเทศตุรกสี มยั ใหมท่ ีก่ ่อตัง้ ขึ้นนี้ไม่ได้เป็นส่วน
หนึ่งของเอเชียตะวันตกใต้ หรือตะวันออกกลาง หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของยุโรป ส่วนอิรัก ซีเรีย และอียิปต์
ได้รับเอกราชตั้งแต่ช่วงทศวรรษ ๑๙๒๐ และ ๑๙๒๓ แต่อังกฤษและฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมถอนตัวออกไป
จนกระท่ังหลังสงครามโลกคร้ังที่ ๒ และในชว่ งหลังสงครามโลกครง้ั ที่ ๒ น่เี อง ทีค่ วามขดั แย้งระหว่างชาตินิยม
อาหรับและขบวนการไซออนิสตข์ องยวิ ได้กลายเปน็ ความรนุ แรงที่ยดื เย้อื มาถงึ ปัจจุบัน

พฒั นาการดา้ นการเมืองการปกครอง

ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเมืองยุคเริ่มแรกคืออารยธรรมเมโสโปเต
เมียและมีพฒั นาการด้านการเมืองการปกครองมาอย่างต่อเนอื่ งนบั ตงั้ แตก่ ารปกครองแบบนครรัฐ การปกครอง
ภายใตอ้ าณาจกั รและจักรวรรดเิ ช่น บาบโิ ลเนยี อัสซีเรีย เปอรเ์ ซีย เปน็ ต้น เมือ่ จกั รวรรดิไบแซนไทน์รุ่งเรืองก็
ไดข้ ยายอำนาจมาปกครองบริเวณซเี รยี ปาเลสไตน์ และอิรักในปัจจุบนั

ตง้ั แตค่ รสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๕ ทำให้เมืองสำคญั เช่น ดามัสกัสแบกแดด ได้รับอทิ ธพิ ลของอารยธรรมกรีก-
โรมัน การประกาศศาสนาอิสลามของศาสดามุฮัมมัดในคริสต์ศตวรรษที่ ๗ มีส่วนสำคัญที่ทำให้ชาวอาหรับที่
เคยแยกกันอยู่เกิดความสามัคคีจากการนับถือศาสนาเดียวกันและสร้างจกั รวรรดิอาหรับขึ้นมีศูนยก์ ลางอยู่ที่
เมอื งแบกแดด จากนัน้ ถูกพวกมุสลิมมองโกลขยายอำนาจเข้ามายงั เอเชียตะวันตกเฉียงใต้และต่อมาจักรวรรดิ
ออตโตมันได้เข้ามาปกครองดินแดนนี้ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ชาวยุโรปขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาหลัง

หน้า | ๑๕

สงครามโลกครั้งที่ ๑ จักรวรรดิออตโตมันสลายตัวลงเหลือเขตแดนคือประเทศตุรกี ชาติตะวันตกโดยเฉพาะ
อังกฤษและฝรั่งเศสมีอิทธิพลเหนือดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผลให้เกิดพรมแดนใหม่และเกิด
ประเทศใหม่ที่สำคัญ อังกฤษและฝรั่งเศสสนับสนุนให้ชาวยิวจากยุโรปอพยพมายังเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซ่ึง
กลายเป็นทีม่ าของความขัดแย้งทางเชือ้ ชาติ เมอื่ สงครามโลกคร้ังที่ ๒ ส้ินสุดลงประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียง
ใต้ได้รับเอกราช ขณะเดียวกันความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ไดเ้ ร่ิมข้ึนจากการที่ชาติตะวันตกนำโดยสหรฐั อเมริกา
อังกฤษ ฝรั่งเศส สนับสนุนการตั้งประเทศอิสราเอลของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ ค.ศ. ๑๙๔๘ ทำให้ชาว
อาหรับมปี ฏิกิรยิ าตอ่ ต้านอิทธิพลตะวนั ตกและอิสราเอลอย่างรนุ แรง จนนำไปส่สู งครามระหว่างชาติอาหรับกับ
อสิ ราเอล หลายคร้ังในดนิ แดนปาเลสไตน์ การส้รู บไดม้ ีมาตอ่ เน่อื งจนถึงปัจจุบนั โดยเฉพาะระหว่างปาเลสไตน์
กับอิสราเอล ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของภูมิภาคและของโลกในด้านรูปแบบการเมืองการปกครอง ประเทศใน
ภูมิภาคนี้มีรูปแบบการปกครองที่หลากหลายได้แก่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น จอร์แดนระบอบ
ประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล เลบานอน รัฐอิสลาม เช่น อิหร่าน นอกจากนี้ประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของ
จักรวรรดิอาหรบั ได้รวมตัวกันก่อตั้งสนั นบิ าตอาหรับเพ่อื รว่ มมือกนั ทางการเมอื งเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

พัฒนาการดา้ นเศรษฐกจิ

แตเ่ ดิมชาวอาหรับแบง่ ออกเป็น ๒ กลมุ่ คือ พวกทต่ี ง้ั ถิ่นฐาน

อยู่เป็นหมู่บ้านหรือเมืองในบริเวณโอเอซีสที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบ

อาชีพเกษตรกรรม กับพวกเบดูอินซึ่งเร่ร่อนเลี้ยงแกะ แพะ อูฐ ม้า

หรือเป็นกองคาราวานค้าขายต่อมาเมื่อจักรวรรดิอาหรับมีความ

เจริญรุ่งเรือง พ่อค้ามุสลิมจำนวนมากได้ออกเดินทางค้าขายไปยัง

ดินแดนต่างๆ ทั้งทางบกและทางทะเล ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ คือ รปู ๑๖ โอเอซสี

ดนิ แดนทเ่ี ชือ่ มเสน้ ทางการคา้ ระหว่างเอเชีย แอฟริกาตะวันออก และมหาสมุทรอนิ เดยี ในคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๙

ชาวยุโรปไดผ้ กู ขาดการค้าในภมู ภิ าคนี้และเมื่ออังกฤษไดเ้ กิดใช้คลองสเุ อชในอยี ปิ ต์เมือ่ ค.ศ. ๑๘๖๙ เส้นทางนี้

จึงกลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ การค้นพบน้ำมันดิบในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ทำให้ดินแดนนี้มี

ความสำคญั มากข้ึนและมีผลตอ่ ยุทธศาสตรก์ ารส้รู บในช่วงสงครามโลกคร้งั ท่ี ๒ และยุทธศาสตร์การเมืองและ

เศรษฐกจิ โลกในช่วงสงครามเย็น ประเทศผ้ผู ลิตน้ำมนั ได้รวมตัวกนั ตงั้ องค์การโอเปก (OPEC) เพ่อื รวมกลุ่มกัน

ในการกำหนดราคาน้ำมันโลกและปริมาณน้ำมันทีจ่ ะผลิต เป็นองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีบทบาท

สำคญั ต่อเศรษฐกิจโลก นบั ตง้ั แต่ทศวรรษท่ี ๑๙๕๐ น้ำมันกลายเปน็ ปจั จัยสำคญั ต่อโลกและยังเป็นปัจจยั สำคัญ

หน้า | ๑๖

ที่มีผลต่อความมั่นคงของภูมิภาค กล่าวคือมสี ่วนทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอลมาก
ขึ้น เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการรักษาและยึดครองพ้ืนที่ที่มนี ้ำมัน รวมทั้งทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าไปแทรกแซง
กิจการภายในเพื่อเข้าควบคุมทรัพยากรน้ำมัน เช่น กรณีการยึดครองอิรักในปัจจุบัน เมืองใหญ่มีฐานะทาง
เศรษฐกจิ ดี เช่น เทลอาวฟี ริยาด เปน็ ต้น

พัฒนาการดา้ นสงั คม

ในอดีตสังคมของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นสังคม

แบบชนเผ่า ประกอบด้วยพวกที่ตั้งถิ่นฐานทำเกษตรกรรม

อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เร

เนียน บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส – ยูเฟรติส และบริเวณ

โอเอซสิ อีกกลุ่มเป็นพวกชนเผา่ เร่ร่อนหรอื เบดูอิน อาศัยอยู่

ตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครอง มี

อาชีพเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย และบางครั้งปล้นสะดม การอยู่ รปู ๑๗ แม่นำ้ ไทกรสี -ยูเฟรตสิ
ท่ามกลางทะเลทรายทำให้ชนเผ่าต่างๆต้องช่วยเหลือกัน

ความผูกพันภายในเผ่าจึงมีสูง และมักเกิดการสู้รบกับต่างเผ่า เพื่อป้องกันหรือแย่งชิงทุ่งหญ้า แหล่งน้ำและ

ทรพั ยส์ ิน ตอ่ มาเมื่อยอมรับนบั ถือศาสนาอิสลาม ทำให้ชนเผา่ ตา่ งๆ รสู้ ึกผูกพนั ในฐานะท่เี ปน็ มุสลิมเหมือนกัน

ความขัดแยง้ ระหวา่ งเผ่าจงึ ลดลง ในสมยั จกั รวรรดอิ าหรับ พวกอาหรบั รบั ความรู้ต่างๆ จากทุกเชอื้ ชาติ ศาสนา

เช่น แปลตำราภาษากรีกแขนงต่างๆเป็นภาษาอาหรับ รับความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์จากอินเดีย เช่น เลขอา

รบิก ระบบทศนยิ มเ ปน็ ต้น แล้วนำไปพฒั นาตอ่ ทำให้มีความรงุ่ เรืองทางอารยธรรมสูง และความรู้เหล่านั้นได้

ถูกถา่ ยทอดไปยังชาวยโุ รป จากการทำสงครามครูเสดและภูมิภาค

อ่นื ๆ ผ่านการทำสงคราม การเผยแผ่ศาสนา และการคา้ ขาย ดา้ น

เช้อื ชาติและศาสนา ประชากรสว่ นใหญ่เปน็ ชาวอาหรับ พูดภาษา

อาหรับ นับถือศาสนาอิสลาม แต่มีประชากรส่วนหนึ่งที่ต่างเช้ือ

ชาติ ศาสนาและภาษา เช่น ชาวอิหร่านหรือเปอร์เซียพูดภาษา

ฟาร์ซีและอาหรับ นับถือศาสนาอิสลาม ชาวเลบานอนและชาว

รูป ๑๘ สงครามครูเสด ไซปรัสนับถือศาสนาคริสต์ ชาวเติร์กในตุรกีพูดภาษาเตอร์กีสนับ
ถือศาสนาอิสลาม และชาวยิวพูดภาษาฮีบรู นับถือศาสนายูดาย

หนา้ | ๑๗

เป็นต้น ความแตกต่างทางด้านเช้ือชาติ เช่นกรณีสงครามระหว่างอิรัก(ชาวอาหรบั ) กับอิหร่าน(ชาวเปอรเ์ ซีย)
เม่อื ทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ปัญหาความขัดแยง้ ระหว่างโลกอาหรับกับอิสราเอล(ยิว) ที่ชาวอาหรบั ถือว่าชาวยิวเข้า
มาแยง่ ชงิ ดินแดนปาเลสไตน์ ซ่งึ เปน็ ดนิ แดนศกั ดิ์สิทธแ์ิ ละตัง้ ประเทศอสิ ราเอลข้ึน ทำชาวปาเลสไตน์ต้องอพยพ
ไปอาศยั อยูต่ ามพรมแดนของประเทศเพ่อื นบ้านและสร้างปญั หาตามมา เป็นตน้

Vonder Go Wordwall

หนา้ | ๑๘

บรรณานุกรม

ผ่องศรี เงนิ มลู . (๒๕๖๓). หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี ๓ จากอดตี สปู่ ัจจบุ นั . สืบค้นเมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓
แหล่งทม่ี า : https://classroom.google.com/

Wikipedia. Black Hole of Calcutta. สบื คน้ เมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕.
แหล่งที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Black_Hole_of_Calcutta


Click to View FlipBook Version