The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานด้านที่ ๓ ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่สายงานบริหารสถานศึกษา ก.ค.ศ.3 ด้านที่ 3 ส่วนที่ 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by photographer046, 2022-05-28 10:26:05

รายงานด้านที่ ๓ ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่สายงานบริหารสถานศึกษา ก.ค.ศ.3 ด้านที่ 3 ส่วนที่ 1

รายงานด้านที่ ๓ ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่สายงานบริหารสถานศึกษา ก.ค.ศ.3 ด้านที่ 3 ส่วนที่ 1

ก.ค.ศ. 3 (จชต.) สว่ นท่ี 1
แบบรายงานด้านที่ ๓ ดา้ นผลงานทเี่ กิดจากการปฏิบตั ิหน้าท่ีสายงานบริหารสถานศึกษา

ใหข้ ้าราชการครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษาในจังหวัดยะลา ปตั ตานี นราธวิ าส และ
สงขลา (เฉพาะพน้ื ทอ่ี ำเภอเทพา สะบา้ ย้อย นาทวี และจะนะ)

ขอมีวิทยฐานะหรอื เลอื่ นเปน็ วิทยฐานะรองผอู้ ำนวยการชำนาญการพเิ ศษ
สว่ นที่ ๑ ข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงาน

ตอฮีเราะห์ ยาเอะ๊
รองผู้อำนวยการชำนาญการ

โรงเรยี นบา้ นกาแย
สำนักงานเขตพ้นื ที่การศึกษาประถมศกึ ษานราธิวาส เขต 3

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธกิ าร



คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานสาย งานบริหาร
สถานศึกษา ซ่ึงเป็นผลงานการปฏิบัติงานในหน้าท่ีย้อนหลัง ๑ ปี ในการปฏิบัติงาน ของข้าพเจ้าทั้ง ๔ กลุ่ม
งาน และงานอ่ืนๆ ตามท่ีได้รับมอบหมาย โดยได้ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ เพ่ือนำไปประยุกต์ใช้ ส่งผลให้การ
ชว่ ยบรหิ ารจัดการสถานศกึ ษาประสบผลสำเร็จและได้รับความพึงพอใจตอ่ ผมู้ สี ่วนเกีย่ วขอ้ ง

ข้าพเจ้าขอขอบคุณผู้อำนวยการสถานศึกษาท่ีให้การรับรองผลงานท่ีเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ และ
ขอขอบคุณคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาท่ีได้ร่วมมือในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ท่ีได้รับมอบหมายจน
บรรลุตามวัตถุประสงค์ท่ีได้กำหนดไว้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับน้ีจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่สนใจ
และสามารถนำไปประยุกตใ์ ชใ้ ห้เหมาะสมกบั บริบทของสถานศึกษาต่อไป

ตอฮเี ราะห์ ยาเอะ๊



สารบัญ หน้า

เรอ่ื ง ก

คำนำ........................................................................................................................................ 1
สารบัญ..................................................................................................................................... 1
1. ขอ้ มลู ผูข้ อรบั การประเมิน……………………………………………………………………………..………… 2
2. การปฏิบัติงานในปที ีข่ อรบั การประเมิน……………………..………………….....………………….…… 4
3. ขอ้ จำกดั ตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงาน………………………………………………… 4
5
3.1 ดา้ นความปลอดภยั ในชวี ติ และทรัพยส์ ิน……………………………………………………………. 5
3.2 ดา้ นสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของยาเสพติดในพ้นื ท่ี………………………………………… 6
3.3 ด้านสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เช้ือไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)… 6
3.4 ดา้ นภาษาและวัฒนธรรม………………………………………………………………………………... 7
3.5 ด้านเศรษฐกจิ สงั คม อาชพี และความยากจนของผ้ปู กครองนักเรียน……………………
3.6 ดา้ นการคมนาคม และภัยธรรมชาตทิ เี่ กดิ ข้นึ ในพ้นื ทแ่ี ละเขตบรกิ ารของโรงเรียน…… 7
4. ผลการปฏบิ ตั งิ านท่เี กดิ จากการปฏบิ ตั ิหน้าท่ี...................................................................... 9
4.1 บรหิ ารกจิ การของสถานศกึ ษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบงั คับ นโยบาย 11
13
และวตั ถปุ ระสงคข์ องสถานศกึ ษา................................................................................ 16
4.2 การบริหารวิชาการ...................................................................................................... 17
4.3 การบรหิ ารงบประมาณ................................................................................................ 18
4.4 การบรหิ ารงานบุคคล................................................................................................... 21
4.5 การบริหารทั่วไป.......................................................................................................... 22
5. ผลทเี่ กดิ กบั ผู้เรียน ครู ผูป้ กครอง ชุมชน และสถานศึกษา.................................................. 23
6. ผลการปฏบิ ัติหน้าทอี่ นื่ ตามทไี่ ด้รบั มอบหมาย..................................................................... 28
เอกสารอา้ งอิง.......................................................................................................................... 59
ภาคผนวก................................................................................................................................. 71
ภาคผนวก ก เอกสารสำเนาทะเบยี นประวตั ิขา้ ราชการ (ก.ค.ศ. 16)..………………………….. 83
ภาคผนวก ข เอกสารสำเนาคำส่ังปฏิบตั หิ น้าท่ีทไ่ี ด้รับมอบหมายเป็นพิเศษ…..……………….
ภาคผนวก ค สำเนาเกยี รตบิ ัตร โล่รางวัล…..…........……………...............................…………..
ภาคผนวก ง ภาพประกอบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏบิ ตั งิ าน………….
ประวตั ผิ ู้รายงาน.......................................................................................................................

1

ก.ค.ศ. ๓ (จชต.) ส่วนที่ ๑

รายงานดา้ นท่ี ๓ ดา้ นผลงานท่เี กิดจากการปฏบิ ตั หิ น้าท่ี สายงานบริหารสถานศึกษา
ใหข้ า้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวดั ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา

(เฉพาะพน้ื ท่ีอำเภอเทพา สะบ้ายอ้ ย นาทวี และจะนะ)
ขอมีวทิ ยฐานะหรือเล่ือนเปน็ วิทยฐานะรองผูอ้ ำนวยการชำนาญการพิเศษ

ส่วนท่ี ๑ ข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัตงิ าน

๑. ขอ้ มูลผู้ขอรบั การประเมิน

ชอ่ื นางสาวตอฮีเราะห์ นามสกลุ ยาเอะ๊ .
ตำแหนง่ รองผู้อำนวยการสถานศกึ ษา วทิ ยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ตำแหน่งเลขที่ 4164 สถานศึกษา/หน่วยงาน โรงเรยี นบ้านกาแย อำเภอ/เขต จะแนะ
สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษา นราธวิ าส เขต 3 .
สว่ นราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน .
รบั เงนิ เดือน คศ. ๒ ขัน้ 28,910 บาท
ขอรับการประเมินวทิ ยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

๒. การปฏิบัติงานในปีทขี่ อรับการประเมนิ สายงานบริหารสถานศึกษา
หน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้

กำหนดมาตรฐานตำแหน่งรองผอู้ ำนวยการสถานศึกษา มีหน้าท่ีและความรับผิดชอบหลักในการบงั คับ
บญั ชาข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษาและบุคลากรในสถานศึกษารองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา
และช่วยปฏบิ ตั ริ าชการเกี่ยวกบั การบริหารวชิ าการและความเปน็ ผู้นำทางวิชาการ บริหารจัดการสถานศกึ ษา
บริหารการเปล่ียนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม บริหารงานชุมชนและเครือข่าย รวมทงั้ พฒั นาตนเองและ
วชิ าชพี และปฏิบัติงานอื่นตามทไี่ ด้รับมอบหมาย

โรงเรียนบ้านกาแย ต้ังอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส สังกัด
สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ เป็นโรงเรียนหนึ่งในเขตพัฒนาพิเศษ
เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าท่ีในตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้าน
กาแย วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ ได้ปฏิบัติงานตามภารกิจ ปฏบิ ัติงานอ่ืนท่เี ก่ียวขอ้ งและ
งานทีไ่ ด้รบั มอบหมายภายใต้สภาพข้อจำกัดและความยากลำบาก ดงั นี้

๒.๑ หน้าทีค่ วามรับผดิ ชอบ
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าท่ีในตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาแย ตำบลดุซงญอ

อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ ซ่ึง
เป็นพื้นท่ีมีความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี ด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้านสังคมและ
เศรษฐกิจ รวมทั้งความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพ้ืนที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตามภารกิจและงานอ่ืนที่ได้รับมอบหมาย บริหารงานตามอำนาจหน้าที่เพ่ือ

2

พฒั นาคุณภาพผู้เรียนดว้ ยการนำหลักธรรมาภิบาล มาบูรณาการในการบรหิ ารและจดั การศึกษา ได้แก่
หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลัก
ความคุ้มค่า โดยบูรณาการเข้ากับหลักการแนวคิดการบริหารระบบวงจรคุณภาพ PDCA มีการจัด
โครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 กลุ่มงาน ประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ การบริหาร
งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป โดยบริหารงานในรูปแบบกระจาย
อำนาจให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและปฏิบัติงานใน หน้าที่ตรงกับความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ (Put the right man on the right job) ตลอดจนได้สนับสนุนให้
สถานศึกษาสามารถดำเนินการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ได้ตามมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดภายใต้
การใช้ทรพั ยากรท่ีมอี ยู่อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพและเกดิ ประสิทธผิ ล

๓. ข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบตั ิงาน สายงานบรหิ ารสถานศึกษา
นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์กลุ่มคนร้ายบุกปล้นอาวุธยุทโธปกรณ์กองพันพัฒนาท่ี 4 ค่ายกรม

หลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บ้านปิเหล็งใต้ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
เม่ือวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์การก่อเหตุร้ายในพื้นท่ียังคงทวีความ
รุนแรงเพ่ิมข้ึนท้ังในเชิงปริมาณ โดยเกิดเหตุร้ายถ่ีจนเป็นการก่อเหตุร้ายรายวัน และในเชิงคุณภาพ
ความรุนแรงก็ได้มีพัฒนาการของเหตุการณ์ร้ายท้ังในเรื่องรูปแบบ/วิธีการ ทั้งการลอบยิง ลอบวาง
ระเบิด การประทุษร้ายด้วยของมีคม ทำลายพืชสวน การพลีชีพในเหตุการณ์ 28 เมษายน พ.ศ.
2547 และการทิ้งแผ่นปลิวไว้ในท่ีเกิดเหตุบ่งบอกถึงเหตุผลของการกระทำ โดยมีเป้าหมายสถานที่
ราชการ ที่ต้ัง/ชุดหน่วยกำลังของทหาร/ตำรวจ โรงเรยี น ขณะท่ีกลมุ่ เป้าหมายขยายไปถึงไทยมุสลิมท่ี
ให้ความร่วมมอื กับภาครัฐ และราษฎรไทยพุทธที่ไม่เกี่ยวข้อง
(สุรชาติ บำรุงสขุ , ๒๕๕3 : 31)

สถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัด
นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี
และอำเภอสะบ้าย้อย ซ่ึงเกิดปัญหาความขัดแย้งในพ้ืนที่นำไปสู่เหตุการณ์ลอบทำร้ายวางเพลิง วาง
ระเบิด ก่อการร้ายเกิดข้ึนอย่างต่อเนื่อง มีการแพร่ข่าวไปท่ัวโลก และมีการติดตามเหตุการณ์จาก
นานาชาติอย่างใกล้ชิด แต่นับตั้งแต่กรณีการปล้นปืนของกองพันพัฒนาที่ ๔ ค่ายกรมหลวงนราธิวาส
ราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันท่ี ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นเหตุให้มี
ทหารเสียชีวิตในที่เกิดเหตุจำนวน ๔ นาย ปืนถูกปล้นไปจำนวน ๔๔๓ กระบอก หลังจากนั้นก็มี
เหตุรา้ ยเกิดข้นึ อย่างต่อเนอ่ื ง แม้เหตกุ ารณ์ความไม่สงบดังกล่าว จะเริม่ เบาบางลงแต่ยงั คงมีเหตกุ ารณ์
ความไม่สงบอย่างต่อเน่ือง สถานการณ์ดังกล่าว นับเป็นเร่ืองละเอียดอ่อนมีความเก่ียวเนื่องกันหลาย
ด้าน ทั้งการเมือง ศาสนา ปัจจุบันสถานการณ์ความไม่สงบได้ถูกกันออกจากพื้นที่การเสนอข่าวโดย
ภาคการเมืองและสังคม ทำให้สังคมมองว่าสถานการณ์ความไม่สงบเร่ิมทุเลาความรุนแรงลงและ
ภาครัฐสามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่แท้ท่ีจริงแล้วสถานการณ์ความไม่สงบยังเกิดข้ึนอย่าง
ต่อเน่ือง สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพราะพ้ืนฐานของปัญหาท่ีแท้จริง ท้ัง

3

การศึกษา เศรษฐกิจ และความเป็นธรรม ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและจริงใจ ทำให้
สถานการณ์ความไม่สงบยังเกิดขึ้นอย่างต่อเน่ือง โดยที่ภาครัฐยังไม่สามารถแก้ไขได้ ขณะเดียวกัน
เหตุการณ์ก่อการร้ายในพื้นท่ียังคงทวีความรุนแรงเพ่ิมขึ้นจนเป็นการก่อเหตุร้ายรายวัน และมีการ
พัฒนาการของเหตุการณ์ร้ายท้ังรูปแบบและวิธีการ มีการลอบยิง ดักซุ่มยิง การลอบวางระเบิด การ
ประทุษร้ายด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่บ่งบอกความโหดร้ายเป็นที่หวาดกลัว เสียขวัญกำลังใจ มีเป้าหมาย
เปน็ สถานท่ีราชการ ท่ีตงั้ หนว่ ยกำลังของทหาร ตำรวจ และโรงเรียน ขณะที่กล่มุ เป้าหมายไม่ใช่เฉพาะ
เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ หรือบุคลากรของรัฐเท่านั้น แต่ได้ขยายรวมไปถึงคนไทยมุสลิมที่ให้ความ
ร่วมมือกับภาครัฐและคนไทยพุทธที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ โดยความรุนแรงที่เกิดข้ึนเช่นนี้ สำหรับ
จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วไม่ใช่เร่ืองใหม่ สำหรับพ้ืนท่ีท่ีมีประชากรประมาณร้อยละ ๘๐ ที่เป็นชาว
ไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูและมีความรู้สึกว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หรือได้รับการปฏิบัติท่ีทำให้
เกดิ ความรู้สกึ ว่ารัฐมีเจตนาทำลายอตั ลกั ษณท์ างวัฒนธรรม

อำเภอจะแนะเป็นอำเภอขนาดใหญ่ในจังหวัดนราธวิ าสท่ีอย่หู ่างจากตัวจังหวดั โรงเรียนบ้าน
กาแย เป็นโรงเรียนอยู่ในอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธวิ าส มีเขตรอยต่อกบั อำเภอระแงะ และอำเภอศรี
สาคร ความยากลำบากในการปฏิบัติหน้าท่ีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพ้ืนท่ี
นบั ตัง้ แตก่ ารเกดิ เหตุการณ์ความไมส่ งบ ต้ังแต่วนั ท่ี ๔ มกราคม ๒๕๔๗ ถึงปจั จุบัน มคี วามรุนแรงไม่มที ที ่า
ว่าจะยุติลง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษาต้องตกอยู่ในความหวาดผวาต้องคอยระวังตัวทุก
เสยี้ ววินาทีทอ่ี อกจากบ้าน ซ่ึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกลุม่ หน่งึ ท่ไี ด้รับผลกระทบ
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ท้ังในสภาพการเป็นประชาชนท่ัวไปที่อยู่ในพ้ืนที่เสี่ยง และในสภาพการเป็น
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายดังเหตุการณ์การเผา
บ้านพักครู การลอบทำร้ายครูขณะเดินทางไปโรงเรียน การเผาโรงเรียนและที่รุนแรงมากตามท่ีเป็น
ข่าว คือ การเข้าไปทำร้ายและลอบฆ่าจนเสียชีวิต ขณะท่ีกำลังสอน (มติชนสุดสัปดาห,์ ๒๕๔๙ อา้ งถึง
ใน เศวตาภรณ์ เพชรบุญวรรณโณ, 2551 : ๑) จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อจิตใจของ
ข้าราชการครูอย่างมาก เพราะไม่มนั่ ใจความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แต่ไม่สามารถหลกี หนีจาก
สถานการณ์ดังกล่าวได้ เน่ืองด้วยภาระหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งจาก
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗ ว่าข้าราชการครูและ
บคุ ลากรทางการศึกษาตอ้ งตรงตอ่ เวลา อทุ ิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียน จะละทิ้งหนา้ ที่
ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ (สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาแหง่ ชาติ, ๒๕๔๗ : ๕๒)

ภายใต้ข้อจำกดั และสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าแม้จะมี
ความต่นื กลัวต่อภยั พิบัตอิ ันอาจจะเกดิ ขนึ้ เมื่อไรก็ได้นนั้ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตนใหเ้ กิดประโยชน์ต่อหน้าท่ี
ราชการด้วยดีเสมอมาตามบทบาทหน้าท่ีและมาตรฐานตำแหน่งตลอดถึงมาตรฐานวิทยฐานะ ท้ังนี้
ข้าพเจ้าพยายามใช้เงื่อนไขและบริบทแห่งวิกฤติต่าง ๆ ให้เป็นโอกาสเพ่ือให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน

4

ภายใต้ความยากลำบากอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสามารถพิจารณาจากความยากลำบากเป็นด้านต่าง ๆ
ดงั น้ี

3.1 ดา้ นความปลอดภัยในชวี ติ และทรัพย์สนิ
โรงเรยี นบ้านกาแย ตงั้ อยู่ระหว่างหมู่บ้านกาแย และหมู่บา้ นกาเตา๊ ะ ตั้งอยู่บนเชิงเขาบน

เทือกเขาฮูลูกูนุง อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงกับภัยอันตรายจาก
สถานการณ์ความไม่สงบ ถึงแม้ว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามประสานความร่วมมือในการ
แก้ไขปัญหา แต่เหตุความรุนแรงก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเร่ิมรุนแรงขึ้น มีเหตุการณ์เกิดข้ึน
บ่อยครั้ง ทง้ั ในพ้ืนท่ีระหว่างการเดนิ ทาง ท้งั การวางระเบดิ บนถนน ตลอดจนใบปลวิ การขม่ ขู่เจ้าหนา้ ท่ี
ของรัฐ เช่น ยิงและลอบวางระเบิดชุดลาดตระเวรและคุ้มครองครู ลอบทำร้ายผู้บริสุทธ์ิ ตลอดจนใช้
ใบปลิวข่มขู่เจ้าหน้าที่ ติดป้ายผ้าเส้นทางเข้าโรงเรียน ซ่ึงการเดินทางไปปฏิบัติงานจนกระทั่งเดินทาง
กลับบ้านและขณะปฏิบัติหน้าท่ีราชการ ต้องตกอยู่ในความหวาดผวา หวาดระแวงต่อภัยอันตรายท่ี
พร้อมจะคุกคามชีวิตและทรัพย์สินได้ตลอดเวลา ถึงแม้จะได้รับการคุ้มกันจากหน่วยงานด้านความ
ม่นั คง แต่ก็ยังมีเหตุการณ์ถูกลอบทำร้ายจนเสียชีวิตและทุพพลภาพหลายราย จากเหตุการณ์ดงั กล่าว
ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสร้างความเดือนร้อนแก่ผู้คนทุกสาขาอาชีพ ทั้งตำรวจ ทหาร ครู
รวมถึงชาวบ้าน โดยเฉพาะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาท่ีเป็น ๑ ในเป้าหมายของผู้ก่อ
ความไม่สงบ ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาขอย้ายไปรับราชการนอกพื้นที่ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งมีหน้าที่ใน
การบริหารสถานศึกษา รู้สึกเป็นห่วงครูทุกคนเป็นพิเศษ ไม่อยากให้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
ดังกล่าว ข้าพเจ้าได้ย้ำเตือนบุคลากรภายในสถานศึกษา ให้เพิ่มความระมัดระวังตลอดช่วงเวลาการ
เดินทางไป - กลับ ซึ่งต้องอยู่ในห้วงเวลาที่กำหนด และต้องคอยสอบถามเหตุการณ์และติดตามข่าว
คราวจากผู้นำในชมุ ชนอย่างสม่ำเสมอ เพอ่ื ความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สิน

3.2 ดา้ นสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของยาเสพติดในพืน้ ที่
ปัญหาด้านยาเสพติดของประเทศไทยในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นปัญหาระดับต้นที่จะต้องได้รับ

การแก้ไขอย่างเร่งด่วน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เช่นเดียวกันด้วยลักษณะของภูมิภาคท่ีติดกับ
ชายแดนระหว่างประเทศทำใหก้ ารแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ทวคี วามรุนแรงเพม่ิ ข้ึนอยา่ งรวดเร็ว แมว้ ่า
ทางเจ้าหน้าที่ปราบปรามได้เข้าจับกุม และเพ่ิมความเข้มงวดในการปราบปรามการค้ายาเสพติดอย่าง
จริงจังแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดลดลงเลย แต่กลับทำให้ผู้ผลิตได้พัฒนา
สูตรยาให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นทำให้ตัวยาออกฤทธ์ิได้แรงข้ึนและการตรวจพบสารเสพติดในตัว
ผู้เสพทำได้ยากมากขึ้น นอกจากน้ีในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดยังมีเจ้าหน้าท่ีของรัฐจำนวน
ไม่น้อยเข้าไปมีผลประโยชน์และมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดเสียเองทำให้การป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติดจึงไม่สมั ฤทธผิ์ ล

จากสภาพปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อเยาวชนและนักเรียนใน
ชุมชน ซ่ึงจากสถิติพบว่าผู้ติดยาเสพติดจำนวนมากจะเป็นผู้ก่อคดีอุกฉกรรจ์ นอกจากนี้ยัง
ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาความม่ันคงแห่งชาติอีกด้วย ทำให้ครูผู้ท่ีมีหน้าที่อบรม

5

ส่ังสอนนักเรียนมีความเสี่ยงสูงในการถูกทำร้าย ถูกชิงทรัพย์ หรือไปขัดกับผลประโยชน์ของผู้ค้ายาเสพติด
ไดโ้ ดยไม่รู้ตัว ข้าพเจ้าในฐานะรองผู้อำนวยการโรงเรยี น ซึ่งมีหน้าท่ใี นการบรหิ ารสถานศึกษา จึงต้องมี

มาตรการควบคุมและติดตามพฤติกรรมของนักเรียนอย่างใกล้ชิด โดยให้ครูอบรมส่ังสอน บูรณาการ
และสอดแทรกความรู้ในวิชาเรียนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันท่ีดีให้กับนักเรียนในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติดที่อาจจะเกิดขึ้น มีการติดตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ อีก
ท้ังได้ดำเนินโครงการท่ีเกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยดึงผู้ปกครอง ชุมชน
และหน่วยงานอนื่ เข้ามามีส่วนรว่ ม

3.3 ด้านสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)
จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด19 ในช่วงต้นปี พ.ศ.2563 ท่ีผ่านมา การ

แพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19 ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีฐานะ
ยากจน กลุ่มคนเหล่านี้จะต้องตกงานทำให้สูญเสียรายได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเข้าถึงการบริการ
ทางด้านสาธารณสุขได้ แม้ว่าทางรัฐบาลจะมีมาตรการป้องกันและเยียวยาให้กับประชาชนแล้วก็ตาม
แต่ก็ยังส่งผลกระทบระยะยาวต่อสภาพจิตใจของประชนทุกระดับ รวมทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และ
ข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคน้ีด้วยเช่นกัน
ทำให้เกิดความวิตกกังวล ความไม่สบายใจ จนก่อให้เกิดความเครียดสะสมเร่ือยมา และที่สำคัญส่งผล
ตอ่ การจัดการเรียนรู้ ที่ไม่สามารถจดั การเรียนการสอนในห้องเรียนได้ ครูเกิดความยากลำบากในการ
จัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดท่ีหลักสูตรกำหนด นักเรียนมีข้อจำกัดใน
การเข้าเรยี น ขาดความต่อเนือ่ งในการเรียนรู้ ผู้ปกครองขาดความไว้วางใจเท่าท่ีควร

ข้าพเจ้าในฐานะรองผู้อำนวยการโรงเรยี น ซ่ึงมีหน้าทีใ่ นการบริหารสถานศึกษา พยายาม

สร้างขวัญกำลังใจ แนะนำ และให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง นักเรียน รวมทั้งข้าราชการครูและบุคคลากร
ทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทของตนเองให้ดีท่ีสุดภายใต้สถานการณ์ของโรค
ระบาด โดยการสง่ เสริมและสนับสนนุ ให้ครูมีการอบรมพัฒนารปู แบบการจัดการเรียนรู้ และการสรา้ ง
องค์ความรู้ใหม่ๆให้มีความหลากหลายอยู่เสมอ มีการบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ บูรณาการ
ตวั ช้ีวัด ให้มีความสอดคล้องกบั สถานการณ์จรงิ เพื่อลดภาระงานให้กับนักเรียนและคุณครู จดั รูปแบบ
การจัดการเรียนการสอนท่ีผสมผสาน ให้เหมาะสมกับผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกิจวัตร
ประจำวันของนักเรียนเพ่ือเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันท่ีดีและพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียน อีกท้ัง
มีการจัดต้ังกลุ่มไลน์เพ่ือสร้างเครือข่ายในการแลกเปล่ียนเรียนรู้ ติดต่อส่ือสาร และคอยช่วยเหลือให้
คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองและนักเรียน

3.4 ด้านภาษาและวัฒนธรรม
โรงเรียนบ้านกาแย ต้ังอยู่บริเวณชุมชนชนบทห่างไกลตัวเมือง มีประชากรร้อยละ 100

นับถอื ศาสนาอสิ ลาม ใช้ภาษามลายูถ่ินเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ทำให้ความไม่เข้าใจในภาษาไทย
(กลาง) ของคนในท้องถิ่น เป็นสาเหตุหน่ึงของข้อจำกัดในสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงาน
บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์

ของสถานศึกษาได้ เพราะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

6

เป็นภูมิภาคที่มีความแตกต่างจากภูมิภาคอ่ืนของประเทศไทย ทั้งนเี้ นื่องจากโครงสร้างของสังคมในพื้นที่
ดังกล่าวมีลักษณะพิเศษ คือประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามใช้ภาษามลายูในชีวิตประจำวัน
จึงทำให้การเกิดปัญหาอุปสรรคในการสื่อสาร และซ่ึงเป็นสาเหตุหนึ่งของความไม่เข้าใจในด้าน
การศึกษา ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจในภาษาไทยกลางและจะเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้อง สง่ ผลให้
ผู้ปกครองไม่สามารถจะอบรม สั่งสอนต่อยอดความรู้ท่ีนักเรียนได้เรียนรู้ไปจากโรงเรียนได้เต็มที่
รวมทั้งเกิดปัญหาอุปสรรคในการส่ือสาร ดังน้ันการสร้างความเข้าใจระหว่างครู ผู้ปกครองและ
นักเรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ข้าพเจ้าในฐานะรองผู้อำนวยการโรงเรียน ซ่ึงมีหน้าท่ีในการบริหาร
สถานศึกษา จึงได้ส่งเสริม สนับสนุนให้คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ตระหนักถึงปัญหาและ
ปลูกฝังให้นักเรียนได้ฝึกใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดยให้ครูผู้สอนพยายามใช้ภาษาไทยกลางในการ
สื่อสารสนทนา ในกระบวนการเรียนการสอนกับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เกิดทักษะในการ ฟัง พูด
อ่าน เขียน ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และนักเรียนจะได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
และส่งผลให้ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนสูงข้ึน รวมท้ังนักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจ
ทางด้านวัฒนธรรมในพื้นท่ีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และ
วัฒนธรรมเพมิ่ มากขึน้ ต่อไป

3.5 ดา้ นเศรษฐกจิ สงั คม อาชพี และความยากจนของผปู้ กครองนักเรยี น
สภาพสังคมของชุมชนโรงเรียนบ้านกาแย ประกอบไปด้วย หมู่ที่5 บ้านกาแย

และหมู่ที่ 6 บ้านกาเต๊าะ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส เป็นสังคมครอบครัวใหญ่
และมีฐานะค่อนข้างยากจน ผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวน
ยางพารา สวนผลไม้ รายได้ไม่แน่นอนข้ึนอยู่กับสภาพอากาศและราคาผลผลิตในแต่ละปี บาง
ครอบครัวต้องออกไปทำงานรับจ้างนอกพ้ืนที่อย่างเช่น ประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้นักเรียนต้องอาศัย
อยู่กับผู้ปกครองท่ีไม่ใช่บิดามารดา เช่น ตา ยาย หรือญาติพ่ีน้อง ทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่จาก
ผู้ปกครองได้อย่างเต็มที่ บางครอบครัวไม่มีเวลาแม้แต่จะดูแลลูกปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเปล่า
ประโยชน์ สง่ ผลให้นักเรียนตอ้ งขาดเรียนบ่อย และขาดการเรยี นรู้ที่ต่อเนื่อง หรือบางคนต้องออกจาก
โรงเรียน มีปัญหาด้านพฤติกรรม ปัญหาครอบครัว เพ่ือให้โอกาสทางการเรียน มีอนาคตท่ีดีไม่ไปเป็น
ปัญหาต่อสังคมต่อไป ขา้ พเจ้าจึงได้ส่งเสริมให้ครใู ช้ระบบดูแลช่วยเหลือนกั เรียนเพือ่ ติดตาม วิเคราะห์
และศึกษานักเรยี นเป็นรายกรณี ทำการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆตามสภาพปัญหาท่ีแตกต่างกันของ
นักเรียนเป็นรายบุคคล และประชมุ ผปู้ กครองเพ่อื ทราบปัญหาของนักเรียนอย่างแท้จริงและช่วยเหลือ
นักเรยี นตามสภาพปญั หา จัดสรรทนุ การศกึ ษาให้แก่นักเรยี นทีเ่ ดือดร้อนตามลำดับ ตลอดจนอบรมส่ัง
สอนนักเรยี นให้เปน็ คนดี เกง่ และมสี ขุ และใหไ้ ดร้ ับการพัฒนาความสามารถมุ่งสู่ความเปน็ เลศิ ได้

3.6 ด้านการคมนาคม และภยั ธรรมชาติทเ่ี กดิ ข้ึนในพ้ืนท่ีและเขตบรกิ ารของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านกาแย ต้ังอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ต้ังอยู่

บนเชิงเขาบนเทือกเขาฮูลูกูนุง เป็นที่ราบสูง มีแนวภูเขาสูงและแนวภูเขาสลับซับซ้อน อยู่ในพื้นท่ี
ห่างไกลจากถนนสายหลัก สองข้างทางเปน็ ปา่ เขา มีแต่ต้นไม้สลบั กับหมู่บ้านคนเป็นระยะๆ เสน้ ทางท่ี

7

ใช้ในการคมนาคมเป็นเส้นทางพ้ืนถนนขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ ยากต่อการสัญจร อีกทั้งเส้นทางคด
เค้ยี ว ลาดชัน ซง่ึ ทำให้เกิดอบุ ตั เิ หตุ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ตน้ ไมล้ ้มขวาง ถนนล่ืน ทำให้เกิดอุปสรรค
ต่อการเดินทางไปโรงเรยี น สง่ ผลให้มีความเส่ียงตอ่ ชีวติ และทรัพย์สินในการเดนิ ทางไปปฏบิ ตั ิหนา้ ที่

๔. ผลการปฏิบตั งิ านที่เกดิ จากการปฏบิ ตั หิ น้าท่ี
4.1 บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย

และวัตถปุ ระสงค์ของสถานศกึ ษา
4.๑.๑ บรหิ ารกิจการของสถานศกึ ษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคบั

การบริหารกิจการของโรงเรียนบ้านกาแย ได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ท่ี
กำหนดความมุ่งหมายไวว้ ่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ ท้ัง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวฒั นธรรมในการดำรงชีวิต สามารถ
อยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้อย่างมีความสุข ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการเก่ียวกับการบริหารและ
การจัดการสถานศึกษา การพัฒนาการบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงาน
บุคคล และการบริหารงานท่ัวไป โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา
ประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 และนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น
แนวทางในการกำหนดนโยบายของโรงเรียน โดยเน้นให้ผู้เรียนมีมาตรฐานและคุณภาพทางการศึกษา
เต็มตามศักยภาพ การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพและเป็น
เลิศ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ชุมชน องค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษา โดยยึดหลักการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล สภาพแวดลอ้ มในโรงเรยี นสามารถเป็นแหล่ง
เรียนรู้ให้กับนักเรียนและชุมชนได้ทุกมุม โดยเน้นการจัดสภาพแวดล้อมท่ีร่มร่ืนและเป็นธรรมชาติ
ผสมผสานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการอำนวยความสะดวกสบาย สถานศึกษามีการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี แผนการใช้เงิน
งบประมาณประจำปี แผนยกระดับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้ประสบ
ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ท่ีวางไว้ ภายใต้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนของคณะกรรมการ
สถานศึกษา คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน คณะครูและนักเรียน
ส่งผลให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา ครูมีความสำเร็จในการ
ประกอบวิชาชีพ นกั เรียนมคี ุณธรรมจรยิ ธรรมและความเปน็ เลศิ ทางวชิ าการ

4.๑.๒ บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของ
สถานศึกษา

ข้าพเจ้าได้ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา โดยยึดแผนกล
ยุทธ์และนโยบายของสถานศึกษาเป็นสำคัญ ดำเนินการปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไวอ้ ย่างเครง่ ครัด
โดยมีรูปแบบของการบริหารจัดการที่มีความยืดหยุ่นตามความจำเป็นหรือตามสถานการณ์ที่เกิดข้ึน
มีการบริหารงานโดยยึดกระบวนการพัฒนาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย
มีส่วนร่วมและร่วมมือในการปรับปรุง แก้ไข เปล่ียนแปลง พัฒนางานและบุคลากรให้เหมาะสมกับ
เวลา สถานการณ์ สภาพงานและศักยภาพของแต่ละคน การแสวงหาแนวทางนวัตกรรมและ

8

เทคโนโลยีท่ีทันสมัยไปกำหนดเปน็ ระบบใหส้ ามารถตรวจสอบ ควบคมุ ได้ ท้ังคนและงานเพื่อใหเ้ กิดผล
สมั ฤทธ์ิตามเป้าหมายและวัตถปุ ระสงค์ท่ีกำหนดสูงสุด มีการนิเทศ กำกับติดตามดูแล เสรมิ สร้างขวัญ
กำลังใจให้กับบุคลากร ปฏิบัติงานตามระบบการตรวจสอบถ่วงดุล โดยการกำหนดเป้าหมายของงาน
และการปฏิบัติงานท่ีมุ่งเน้นคุณภาพของผลงานด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย นโยบาย
วางแผน มอบหมายงาน นิเทศ กำกับติดตาม ดูแล เสริมสร้างกำลังใจ ประเมินและสรุปรายงานของ
งานและการปฏิบัติงานดำเนินการวางแผนปฏบิ ัติงาน ควบคุม กำกับดูแลและนเิ ทศการปฏิบัติงานของ
ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา โดยนำหลักการมีส่วนรว่ มของครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา และผู้ท่ีมี
ส่วนเก่ียวข้องทุกฝ่าย โดยใช้หลักการบริหารงานตามวงจรคุณภาพ PDCA มาประยุกต์ใช้อย่างเป็น
ระบบและต่อเนื่อง ดำเนินการบริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์
ของสถานศึกษา ต้องคำนึงถึงความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ความถนัด ความสามารถ และ
ศักยภาพ ของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยนำหลักการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School
Based Management) และหลักการบริหารงานตามวงจรคุณภาพ PDCA มาประยุกต์ใช้อย่างเป็น
ระบบและต่อเนอ่ื ง ประมวลผลโดยสังเขปไดด้ งั น้ี

๑. รวบรวมข้อมูลนโยบายของรัฐ นโยบายและวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต้น
สงั กัด รวมทั้งมาตรการที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นการเรง่ ด่วน ในแต่ละปี ในส่วนที่เก่ียวข้องกับ
กิจการของสถานศึกษา ศึกษาวิเคราะห์ เตรียมการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติจริง ในวิถีปฏิบัติงาน
ปกตขิ องสถานศกึ ษา

๒. นำยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาส เขต 3 และข้อมูลบริบทสถานการณ์จริงในแต่ละปีของสถานศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยความ
พรอ้ มของสถานศึกษา ด้านบคุ ลากร อาคารสถานที่ งบประมาณ สอ่ื วัสดุอุปกรณ์ และจำนวนนักเรยี น
มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาของสถานศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการ
บริหารกิจการของสถานศึกษาได้อย่างมปี ระสทิ ธผิ ล

๓. ข้อมูลภายใต้บริบทของโรงเรียนบ้านกาแย 1 ปี ย้อนหลัง โรงเรียนบ้าน
กาแย ปีการศึกษา 2563 มีการจัดการศึกษาตงั้ แต่ระดับชนั้ อนบุ าล 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีจำนวนนักเรียนรวมท้ังสิ้น 361 คน มีจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษารวมทั้งส้ิน 35 คน
กำหนดโครงสร้างการบริหารกิจการโรงเรียนท่ีครอบคลุมขอบข่ายภารกิจการบริหารและจัดการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ มีโครงสร้างการบริหารกิจการสถานศึกษาออกเป็น ๔ ฝ่ายงาน ดังน้ี ๑.การ
บรหิ ารงานวชิ าการ ๒.การบริหารงบประมาณ ๓.การบรหิ ารงานบคุ คล และ ๔.การบรหิ ารงานทั่วไป

๔. กำหนด ขอบข่าย ภาระหน้าท่ีและอำนาจความรับผิดชอบของครูและ
บคุ ลากรทางการศึกษา ตามโครงสรา้ งการบรหิ ารทส่ี ถานศกึ ษากำหนด

๕. ศึกษาวิเคราะห์ ประวัติ คุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ ศักยภาพ บุคลิกภาพ
และคุณลักษณะเฉพาะตัวของครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละคน แต่งต้ังและมอบหมายงานตาม
ความถนัด ความรู้ ความสามารถและศักยภาพของแต่ละคน กำหนดให้แต่ละกลุ่มงานดำเนินการ

9

บริหารจัดการในรูปของกลุ่มคณะบุคคล แต่งต้ังให้ครูที่มีความรู้ความสามารถและบุคลิกภาพ
เหมาะสม ๑ คน เปน็ หัวหน้าคณะบุคคลในแตล่ ะกลมุ่ งาน

๖. ร่วมวางแผนบริหารกิจการของสถานศึกษากับคณะกรรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ซ่ึงลงนามแต่งต้ังในคำส่ังของสถานศึกษาจากครูและบุคลากรทางการศึกษาท่ีเป็นหัวหน้า
กลุ่มงาน มกี ารแต่งตัง้ เป็นการภายใน โดยคำสงั่ โรงเรยี นบา้ นกาแย ให้รกั ษาราชการแทนผู้อำนวยการ
โรงเรยี น เมอ่ื ผูอ้ ำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียนไมส่ ามารถมาปฏิบัตริ าชการตามปกติ
และร่วมกนั กำหนดจัดทำแผนกลยทุ ธ์ของสถานศกึ ษา แผนปฏบิ ตั งิ านประจำปขี องสถานศึกษา

๗. กำหนดมาตรการกำกับ ดูแล นิเทศ และติดตาม ผลการปฏิบัติงานครูและ
บุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเน่ือง จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานกิจการของสถานศึกษา
แจง้ ให้ครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษาทุกคนของสถานศึกษาทราบและถือปฏิบัติ

๘. บริหารจดั การปัญหาและอุปสรรคในการบริหารกิจการของสถานศึกษาท่ีเกิด
จากการปฏบิ ัติงานของครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษาทันที ได้อยา่ งมปี ระสิทธผิ ล

๙. กำหนดให้มีการประเมินผลการบริหารกิจการของสถานศึกษาทุกด้านก่อน
ปิดภาคเรียนทุกภาคเรียน พร้อมนำผลการประเมินในแต่ละภาคเรียนมาพัฒนา ปรับปรุงแผนการ
ดำเนินกิจการของสถานศึกษาในภาคเรียนถัดไป กำหนดให้มีการตรวจสอบ ทบทวน และประเมิน
คุณภาพประจำปีของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการตรวจสอบ ทบทวน และประเมินคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งลงนามแต่งต้ังในคำสั่งของสถานศึกษา กำหนดให้แล้วเสร็จก่อนปิดภาค
เรียนของปีการศึกษาน้ันๆ พร้อมแจ้งผลการดำเนินงานแก่ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการ
สถานศกึ ษาของสถานศึกษา และหน่วยงานท่ีเก่ยี วขอ้ งทกุ ฝา่ ย

4.๒ การบรหิ ารงานวชิ าการ
งานวิชาการเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

และแก้ไขเพ่ิมเตมิ ( ฉบับ ๒ ) พ.ศ.๒๕๔๕ มุ่งให้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปใหส้ ถานศึกษา
ให้มากทสี่ ุดดว้ ยเจตนารมณ์ท่ีจะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระ คล่องตัวรวดเร็ว สอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถ่ิน และการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ซ่ึงจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการสามารถพัฒนาหลักสูตร
และกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการวัดผลประเมินผล รวมท้ังวัดปัจจัยเก้ือหนุนการพัฒนาคุณภาพ
นกั เรยี น ชมุ ชน ท้องถน่ิ ไดอ้ ยา่ งมีคณุ ภาพ และมปี ระสิทธิภาพไดด้ ำเนินการดังน้ี

4.๒.๑ การวางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและจัดทำรายงานเกี่ยวกับกิจกรรมของ
สถานศกึ ษา การวางแผน มีการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาโดย
ใช้เทคนคิ SWOT ANALYSIS และกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกจิ เป้าประสงค์ กำหนดแผนกลยุทธ์และนำ
แผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติโดยการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วให้มีการติดตาม
ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนา ตลอดจนการรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ผู้มีส่วน
เก่ยี วขอ้ งทราบ เชน่ ครู คณะกรรมการสถานศกึ ษา ชุมชน และหน่วยงานตน้ สงั กัดหรือหน่วยงานอนื่

4.๒.๒ จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ
เปา้ หมาย คุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ของผู้เรยี น โครงสรา้ งหลักสูตรและสาระตามหลักสตู รสถานศึกษา
ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และจัดให้มีการประเมินการใชห้ ลักสูตร เพ่ือปรับปรุงพัฒนา

10

หลักสูตร พร้อมกับการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร สามารถนำไปใช้ได้เพ่ือ
พฒั นาการเรยี นการสอนไดอ้ ยา่ งมีประสิทธภิ าพ นกั เรยี นมคี ณุ ภาพตามที่หลักสตู รกำหนด

4.๒.๓ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542 มาตรา 22 ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการ Active
Learning เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม ดงี าม และคุณลกั ษณะทพ่ี ึงประสงค์ จัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและแหล่ง
เรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ
เรียนการสอนตามความเหมาะสม ตอบสนองความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูที่สอนไม่ตรง
วิชาเอกหรือไม่ตรงกับความถนัด มีการส่งเสริมให้เข้ารับการอบรมพัฒนาในสาขาวิชาท่ีสอน มีการ
จดั ทำแผนการจดั การเรยี นรู้และประเมนิ ผลการสอนทุกครง้ั

4.๒.๔ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ส่งเสริมให้ครูผลิตและ
พัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน ซึ่งครูได้ผลิตส่ือท่ีได้รับงบประมาณจัดสรรและงบส่วนตัวเพื่อ
ไว้ใช้ประกอบการเรียนการสอน พัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างง่าย โดยมีบทเรียนที่เริ่มจากง่ายไปหายาก
โดยคำนึงถึงวัยวุฒิและภาวะในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ วิธีการเรียนการสอนสนุกน่าสนใจ
ตอบสนองความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ผู้รายงานได้ทำการสำรวจแหล่งเรียนรู้
ในสถานศึกษาและชุมชนท้องถ่ินใกล้เคียงจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้
ทงั้ ในและนอกโรงเรียน ใชภ้ ูมปิ ญั ญาท้องถนิ่ เพอื่ เป็นแหล่งเรยี นรทู้ ่นี า่ สนใจและหลากหลาย

4.๒.๕ การนิเทศการศึกษา ข้าพเจ้าจัดทำโครงการนิเทศภายใน เพื่อให้คำแนะนำ
ช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการนิเทศอย่างต่อเน่ือง โดยผู้บริหารและเพ่ือนครูด้วยกัน
และมีการประเมนิ ผลการดำเนนิ งานอยู่เสมอใชแ้ นวดำเนินการ ดงั นี้

๑. ศึกษาสภาพปัญหา
๒. ประชุมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพ่ือร่วมกำหนดกิจกรรม
การสังเกตการสอนของครทู ุกคนและทุกชน้ั เรียน
๓. จดั ทำปฏทิ ินการนิเทศ
๔. กำหนดบทบาทหนา้ ท่ี ผทู้ ำหน้าที่นเิ ทศและผรู้ บั การนิเทศ
๕. ดำเนนิ การตามปฏทิ นิ การนเิ ทศทก่ี ำหนดไว้
๖. สรปุ ผลตามแบบประเมนิ
4.๒.๖ การวัดผลประเมินผล ดำเนินการโดยกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการวัดผล และ
ประเมินผลของสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูจัดทำเคร่ืองมือการวัดผลและประเมินผลแต่ละรายวิชา
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา พัฒนาเคร่ืองมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐาน เน้นการ
ประเมินตามสภาพจริง เกณฑ์การประเมินการจัดการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา มี 8 ระดับ
คอื ระดับ 4 ระดับ 3.5 ระดับ 3 ระดับ 2.5 ระดบั 2 ระดบั 1.5 ระดบั 1 และระดับ 0
4.๒.7 ส่งเสริมและจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและความเป็นไทย ให้กับ
ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายท้ังในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย/ระบบทวิภาคี ด้วยข้อจำกัดตาม
สภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานนักเรียนขาดความตระหนักด้านมารยาทไทยตลอดจน
วัฒนธรรมท้องถ่ิน ท้ังนี้ทางโรงเรียนได้ส่งเสริมและจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาและ

11

ปฏิบัติจริง โดยประสานความร่วมมือจากผู้ปกครอง ภูมิปัญญาท้องถ่ิน โดยการเชิญวิทยากรมา
บรรยายให้ความรู้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น และจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา นำนักเรียนไปศึกษา
แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ส่งผลให้นักเรียนมีความรัก และหวงแหนวัฒนธรรมท้องถ่ินของตนเองและช่วย
อนรุ ักษ์ให้อยคู่ ูก่ ับท้องถน่ิ และชุมชนของตนเอง

4.๒.8 จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา ข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากใน
การปฏิบัติงานบุคลากรขาดความเข้าใจในการจัดเตรียมเอกสารด้านตัวชี้วัดและมาตรฐาน วิธีการ
ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ น้ัน ทางโรงเรียนได้จัดระบบโครงสร้างองค์กร ให้รองรับการ
จดั ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กำหนดเกณฑ์การประเมินเป้าหมายความสำเร็จของ
สถานศึกษาและตัวช้ีวัดของกระทรวง เป้าหมายความสำเร็จของเขตพ้ืนท่ีการศึกษา หลักเกณฑ์และ
วธิ ีการประเมิน ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย
ดังน้ี กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จดั ทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาทม่ี ุ่งเน้นคุณภาพ
มาตรฐาน จัดระบบบริหารและสารสนเทศ ดำเนินงานตามแผนพัฒนาของสถานศึกษา จัดให้มีการ
ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานของ
สถานศึกษา จัดรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน และจัดให้มีการพัฒนา
การศึกษาอย่างต่อเน่ือง ส่งผลให้ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนเพ่ิมสูงข้ึน และผู้ปกครองให้
ความไว้วางใจในการสง่ บุตรหลานเขา้ ศกึ ษาในโรงเรยี น

สรุปผลที่เกิดจากการบริหารวิชาการส่งผลให้โรงเรียนบ้านกาแยมีแผนพัฒนา
การศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีท่ีสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาผู้เรียน สามารถ
ดำเนินการพัฒนาการการศึกษาตามแผนทีว่ างไว้ จากการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรส่งผลให้โรงเรียนมี
หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรท่ีเป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ัน
พ้ืนฐาน พ.ศ.2551 สามารถนำหลักสูตรไปวิเคราะห์และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไป ครูมีการ
วิเคราะห์หลักสูตรนำไปสู่การจัดทำแผนและออกแบบการเรียนรู้ได้น่าสนใจมากย่ิงขึ้นมีบรรยากาศ
สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีการนำภูมิปัญญาท้องถ่ินเข้ามามี
ส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ตอบสนองความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียน ครูมีสื่อสำหรับใช้ในการ
จัดการเรยี นการสอนสามารถึงดูดความสนใจของผู้เรยี นได้ดยี ่ิงขน้ึ ผู้เรียนเข้าใจเน้ือหามากขึ้นครูมกี าร
เตรียมการสอนและมีเทคนิคการสอนท่ีน่าสนใจมากขึ้น มีการปรับปรุง แลกเปลี่ยนเทคนิค การสอน
ระหว่างครูผสู้ อนกับคณะกรรมการนิเทศนำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของผู้เรียนให้สงู ข้ึน
มีการวัดผลและประเมินผลของครูผู้สอนสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวช้ีวัด มีการวัดและประเมินผล
ตามสภาพจริง โครงสร้างขององค์กรเป็นระบบมากขึ้น มีเกณฑ์การประเมินเป้าหมายความสำเร็จของ
สถานศึกษามีการวางแผนและดำเนินตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการตรวจสอบคณุ ภาพอย่าง
ตอ่ เน่อื ง

4.๓ การบรหิ ารงบประมาณ การเงนิ และสนิ ทรัพย์อย่างถูกต้อง รวดเร็วและโปร่งใส
ข้าพเจ้าได้พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานการบริหาร

งบประมาณ การเงินและสินทรัพย์ของโรงเรียน เนื่องจากไม่มเี จา้ หน้าทก่ี ารเงินโดยเฉพาะ จำเป็นต้อง
ใช้ครูผู้สอนมาปฏิบัติหน้าท่ีทางด้านการเงินและสินทรัพย์ ซ่ึงมีภาระงานสอนและงานอื่นๆท่ีได้รับ
มอบหมายอย่แู ล้ว

12

ข้าพเจ้าจงึ ใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบตั งิ าน โดยส่งครทู ่ีปฏิบัตหิ น้าทด่ี ังกลา่ วเข้า
รับการอบรมทางด้านการเงินอยู่เสมอและได้ดำเนินการด้านการบริหารงบประมาณ การเงิน และ
สินทรัพย์ ดังน้ี

4.๓.๑. การจัดทำและเสนอของบประมาณ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของ
สถานศึกษาตามข้อตกลงที่ทำกับเขตพื้นที่การศึกษา ด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา ตลอดจนต้นทุน ซึ่ง
ต้องคำนวณต้นทุนผลผลิตขององค์กรและผลผลิตงาน/โครงการ จัดทำข้อมูลสารสนเทศ วิเคราะห์
สภาพแวดลอ้ มที่มี ผลกระทบตอ่ การจัดการศึกษาของสถานศกึ ษา จัดทำรายละเอยี ดแผนงบประมาณ
แผนงาน งานโครงการตามตัวช้ีวัดความสำเร็จของสถานศึกษา จัดทำกรอบประมาณการรายจ่าย ให้
สอดคล้องกับประมาณรายได้ของสถานศึกษาท้ังจากเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ โดย
ผา่ นความเหน็ ชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

4.๓.๒. การจัดสรรงบประมาณภายในสถานศึกษา มีการจัดสรรงบประมาณ ตาม
หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการจัดสรรงบประมาณ ตรวจสอบกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับ
วิเคราะห์กิจกรรมตามภารกิจ แผนงาน งานโครงการของสถานศึกษา เพ่ือจัดลำดับความสำคัญ และ
กำหนดงบประมาณ จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการประจำปี ทสี่ อดคล้องวงเงินงบประมาณที่ได้รับ
นำเสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ขอความเห็นชอบคณะกรรมการสถานศึกษา การ
เบิกจ่ายและการอนุมัติงบประมาณ จัดทำแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาส โดยกำหนดปฏิทิน
ปฏิบัติงานรายเดือน ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ เบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ประเภทตา่ งๆ ใหเ้ ปน็ ไปตามแผนปฏิบตั กิ ารประจำปี

4.๓.๓. การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงิน มีการจัดทำ
แผนการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณของสถานศึกษา
ตรวจสอบ ติดตาม และนิเทศ พร้อมท้ังเสนอข้อปัญหา เพื่อให้สถานศึกษาเร่งแก้ปัญหาได้ทัน
สถานการณ์ รายงานผลการดำเนินการตอ่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน

4.๓.๔. การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพ่ือการศึกษา สนับสนุนให้ครูบุคลากรทาง
การศึกษา และสถานศึกษาร่วมมือกันใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการ
เรียนการสอน ศึกษาวิเคราะห์แหล่งทรัพยากร บุคคล หน่วยงาน องค์กร และท้องถ่ินท่ีมีศักยภาพมา
ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยติดต่อประสานความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในลักษณะ
เครือข่ายความร่วมมือเพ่ือการศึกษา รวมถึงได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการระดมกำลังของผู้ปกครองและ
ชุมชนเข้ามามีส่วนในการพัฒนาโรงเรียนโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนในการสร้างถนน ทาสี และอาคาร
เรียนรวม

4.๓.5. การบริหารการเงิน ดำเนินการเบิกเงิน การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การ
จา่ ยเงิน และการนำสง่ เงนิ ให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธกี ารทกี่ ระทรวงการคลงั กำหนด

4.๓.6. การบริหารการบัญชี มีการจัดทำบัญชีการเงิน ตรวจสอบความถูกต้องของตัว
เงินสดและเงินฝากธนาคารตามรายงานคงเหลือประจำวัน ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของบัญชี
ย่อยและทะเบียน จัดทำรายงานประจำเดือนสง่ หนว่ ยงานต้นสังกดั และสำนกั งานตรวจเงินแผน่ ดิน

4.๓.7. การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ แต่งต้ังคณะกรรมการสำรวจวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน
อาคาร ส่ิงก่อสร้างทั้งหมดเพื่อทราบสภาพการใช้งาน จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินที่เป็นวัสดุ ครุภัณฑ์

13

ให้เป็นปัจจุบันการจัดหาพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ตรวจสอบงบประมาณ รายละเอียด เกณฑ์คุณ
ลกั ษณะเฉพาะ โดยคณะกรรมการ และเมื่อตรวจรับงานให้มอบเรื่องแก่เจ้าหน้าที่การเงินเบกิ เงินเพ่ือ
จ่ายแก่ผู้ขาย/ผู้จ้าง การควบคุม บำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินให้เป็น
ปัจจุบัน กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บควบคุม และเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระบบ แต่งต้ัง
คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีอย่างสม่ำเสมอทุกปี ตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษาและ
ซอ่ มแซมทงั้ ก่อนและหลังการใช้งาน

สง่ ผลให้โรงเรียนมีระบบการบริหารการเงินและพัสดุท่ีมีประสิทธิภาพ เป็นไปด้วยความ
เรียบร้อย บรรลุจุดประสงค์ตามเป้าท่ีกำหนด ถูกต้อง คล่องตัว รวดเร็ว คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้
ทุกเวลา และเอ้ือประโยชน์ให้การดำเนินงานต่างๆ ประสบความสำเร็จด้วยดี และผลต่อคุณภาพการ
จัดการศึกษาโดยรวม มีการจัดทำทะเบียนพัสดุอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน มีแผนการใช้จ่ายเงิน
ตรงตามแผนงาน/โครงการและมีการติดตามและประเมนิ ผลโครงการ/กิจกรรมพร้อมท้ังรายงานผลให้
คณะกรรมการสถานศึกษาข้นั พ้ืนฐานทราบ

4.๔ การบรหิ ารงานบคุ คล
ข้าพเจ้าในฐานะรองผู้อำนวยการโรงเรียน ซ่ึงมีหน้าท่ีในการบริหารสถานศึกษา ได้

บริหารงานบุคคล พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานการบริหารงานบุคคล
ดังน้ี

4.๔.๑. การสรรหา การบรรจุ และแต่งต้ัง
ข้าพเจ้าได้พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานด้านการ

สรรหา การบรรจุและแต่งตั้ง คือ ความไม่พึงพอใจในการมอบหมายงาน การแต่งตั้งตามคำส่ังของ
บุคลากร เพ่ือให้ปฏิบัติงานในการงานต่างๆ เพราะคิดว่าไม่ตรงกับความรู้ ความสามารถของตนเอง
คิดว่าตนเองไม่สามารถท่ีจะปฏิบัติงานได้สำเร็จ ตลอดจนความขัดแย้งของบุคลากรบางกลุ่มใน
สถานศกึ ษาทม่ี ีความคดิ เห็นไม่ตรงกนั ในบางเร่อื ง

ข้าพเจ้าจึงใช้ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยการศึกษาบุคลากร
เป็นรายบุคคล ทำความเข้าใจ โดยพยายามสรรหาคนที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับงาน
ร่วมประชุมวางแผนปรึกษาหารือ อภิปรายปัญหาที่เกิดข้ึนในโรงเรียน หรือเพื่อแจ้งข่าวคราวความ
เคลื่อนไหวทางการบริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ทราบ การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
จัดให้มีการพบปะ การประชุมปรึกษาหารือกันเพ่ือแก้ปัญหาทางภาคปฏิบัติ ในระหว่างผู้ท่ีมี
ประสบการณ์ในงานน้ันมาแล้ว และมีความสนใจที่จะแก้ปัญหาน้ันร่วมกัน การปรึกษางานก่อนเปิด
โรงเรียน การจัดครูในรูปแบบกรรมการงานต่างๆของโรงเรียน การแจกข่าวสารของโรงเรียน
ประเมินผลการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน เพ่ือประเมินผลงาน เพ่ือตรวจสอบว่าผลการปฏิบัติงาน
เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของงานน้ันเพียงใด พิจารณาความดีความชอบ เช่น การเล่ือนข้ันเงินเดือน
เล่ือนตำแหน่ง หรือเปล่ียนตำแหน่งให้เหมาะสมและถูกต้องกับความสามารถเพ่ือประโยชน์ในการ
พฒั นาตัวบุคคล ให้การนิเทศการปฏิบัตงิ าน สง่ เสริมให้คำปรึกษา และดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน
ให้จัดโครงการ ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ มี
โอกาสได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีกิจกรรมที่เป็นการการละลายพฤติกรรม เสริมสร้างความรัก ความ

14

สามัคคีระหว่างหมูค่ ณะ มีแนวทางในการพัฒนาตนเองมขี วัญและกำลังใจในการปฏบิ ัตงิ านได้อย่างมี
ความสขุ ในการปฏบิ ัติงานมากยงิ่ ขนึ้

4.๔.๒. การเสริมสรา้ งประสิทธภิ าพในการปฏิบัตงิ าน
ข้าพเจ้าได้พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานด้านการ

เสริมสรา้ งประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน คือ ครูและบุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ ICT
และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
และการขาดความรคู้ วามสามารถในการปฏิบัตงิ านที่ไมต่ รงกบั วิชาเอกและความสามารถท่ีตนเองมี

ข้าพเจ้าจึ งใช้ ความรู้ความสามารถในการปฏิ บั ติ งาน โดยการประชุ มวางแผน
ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการหัวหน้ากลุ่มงาน ท้ัง ๔ กลุ่มงาน ให้คำแนะนำ ชี้แนะ หาวิธีการ เพ่ือเพ่ิม
ประสิทธิภาพในการพัฒนาบุคคล ให้ความไว้วางใจ ความเช่ือถือ ให้ความมั่นคงกับบุคลากรทุกคน
เปิดโอกาสให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้เข้าร่วม อบรม
สัมมนา ศึกษาดูงาน รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร สร้างบรรยากาศในการทำงาน สนับสนุน และ
อำนวยความสะดวกในการทำงาน กำหนดและวางแผนการดำเนินงานในระยะยาว กำหนดความต้อง
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของงานให้ชัดเจน เพื่อบุคลากรจะได้เตรียมตัว หรืออาจแสวงหาความรู้
เพ่ิมเติม มีความกระตือรือรน้ ในการพัฒนางาน เพื่อเป็นการเสริมสรา้ งประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
และส่งเสริมหาวิธีการสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธภิ าพในการปฏิบัติงาน เช่น การให้ความสำคัญต่อความ
ต้องการของบุคลากร การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การแนะนำ ชี้แนะให้มีความรู้เก่ียวกับ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินการจัดกิจกรรม/โครงการ ส่งผลให้ครูและ
บุคลากรทางการศึกษาได้มีแนวทางในการพัฒนาตนเองมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานได้อย่างมี
ความสุขและเปน็ การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏบิ ตั ิงานใหส้ ูงขึ้น

4.๔.๓. วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์
และรอ้ งทกุ ข์

ข้าพเจ้าได้พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานด้านวินัย
การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และร้องทุกข์ คือ ครูส่วน
ใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจนเก่ียวกับพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ หมวด ๖ บัญญัติ ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องรักษาวินัย
ตามทีบ่ ัญญัติเป็นข้อหา้ มและข้อปฏิบัตติ ามหมวดน้ีโดยเคร่งครดั อยู่เสมอ ต้งั แต่มาตรา ๘๒ ถงึ มาตรา
๙๗

ข้าพเจ้าจึงใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยการจัดหาเอกสาร
เก่ียวกับพระราชบัญญัติต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องให้ครูได้ศึกษา ตลอดจนมีการแจ้งในที่ประชุมครู
ประจำเดือน และเม่ือมีกรณีตัวอย่างเก่ียวกบั การผิดวินัยของข้าราชการจะนำมาให้ครูได้ศกึ ษาและมี
การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างท่ีดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น การตรงเวลา ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย
ปฏิบตั ิตามข้อตกลงของโรงเรยี น เป็นต้น มกี ารเสรมิ สร้างขวัญและกำลังใจแก่ครแู ละบคุ ลากรโดยให้
คำปรึกษา แนะนำท้ังเร่ืองงานและเรื่องท่ัวไป มีการใช้สมุดมอบหมายงาน/การนิเทศ กำกับ ติดตาม
เปน็ เคร่ืองมือในการรักษาวินยั ป้องกนั และขจดั เหตุเพอื่ มิใหผ้ ู้ใต้บงั คบั บัญชากระทำผดิ วินยั

15

4.๔.๔. จัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
สถานศกึ ษา ประเมินผลการปฏิบตั งิ านตามมาตรฐานของข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา

ข้าพเจ้าได้พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ด้านจัดทำ
มาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประเมินผล
การปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ครูและบุคลากร
ส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจท่ีถูกต้องเก่ียวมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา และการรายงานผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา

ข้าพเจ้าจึงใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานโดยการศึกษา ทำความเข้าใจ
เก่ียวกับการจัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพ่ือ
เสนอแนะแนวทาง ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์กับผู้ท่ีเกี่ยวข้อง เปิดให้โอกาสให้คณะครูและเพื่อน
ร่วมงานได้แลกเปล่ียนเรียนรแู้ ละพัฒนางานในรปู แบบตา่ งๆ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ทเ่ี กยี่ วขอ้ งได้มีโอกาส
พัฒนาศักยภาพได้อย่างหลากหลายและต่อเน่ือง ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มี
แนวทางในการพัฒนาตนเองมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและ
เพื่อประโยชน์ประเมินผลและการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา เป็นการเสรมิ สรา้ งประสิทธิภาพในการปฏบิ ัตงิ านสูงข้ึน

4.๔.๕. ส่งเสริมสนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาอย่าง
ต่อเน่อื ง

ข้าพเจ้าได้พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานเก่ียวกับ
การส่งเสริมสนั บสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่ อเนื่อง คือ
ขาดงบประมาณสำหรับส่ งเสริมให้ ครูได้ ทำงานวิจั ย และขาดการปรับปรุงกฎระเบี ยบต่ างๆ
เพ่ือสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเนื่องจากที่ผ่านมาแม้ว่าครูจะได้รับการ
อบรมบ่อยคร้ัง แต่มีครูบางส่วนที่ยังไม่ได้นำองค์ความรู้ท่ีได้รับจากการอบรมมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ใน
การพัฒนาตนเองและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนได้จริง อีกทั้งบางส่วนก็ยังมีความเข้าใจ
คลาดเคลือ่ นในเรื่องท่ีไปอบรมมาด้วย

ข้าพเจ้าจึงใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยการศึกษาหาแนวทาง
เก่ี ยวกั บการส่ งเสริ มสนั บสนุ นข้ าราชการครู และบุ คลากรทางการศึ กษาให้ มี การพั ฒนาอย่ างต่ อเนื่ อง
โดยส่งเสรมิ ให้ครูทำการวิจัยในช้ันเรียนเพ่ือแก้ไขปัญหาท่ีเกดิ ข้ึนระหว่างการจัดการเรยี นรู้ในช้ันเรียน จัดให้มี
การ PLC เพ่ือแลกเปล่ียนพูดคุยและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน จัดให้มีการถ่ายเทองค์ความรู้ท่ีได้จากการอบรม
มาขยายต่อแก่เพื่อนครูที่โรงเรยี น และให้ครเู ขียนรายงานการอบรมทุกคร้ังหลังจากท่ีได้เข้ารบั การอบรม หรือ
สัมมนาในเร่ืองต่างๆ และส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ
ได้อย่างหลากหลายทุกกลุ่มสาระและการเรียนรู้ ส่งเสริมให้มีการต่อยอดองค์ความรู้ตามความถนัดหรือ
ความสามารถพิเศษของครูเพ่ือจะได้ถ่ายทอดความรู้ไปยังนักเรียนต่อไป เสนอแนะและจัดหาวิธีการ
จัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ควบคู่กับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา ส่งผลให้ครู

16

และบุคลากรทางการศึกษาได้มีการพัฒนาตนเองจนเกิดเป็นองค์ความรู้ ความเข้าใจและรักในงานท่ีทำอย่าง
เปน็ มืออาชีพ

4.๕ การบริหารทวั่ ไป
ข้าพเจ้าในฐานะรองผู้อำนวยการโรงเรียน ซ่ึงมีหน้าที่ในการบริหารสถานศึกษา ได้

บรหิ ารงานบริหารทว่ั ไป พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏบิ ตั ิงานการบรหิ ารงานท่วั ไป ดงั นี้
4.5.๑. ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในการระดมทรัพยากรเพ่ือการศึกษา

และให้บริการดา้ นวิชาการแก่ชุมชน
ข้ าพเจ้ าได้ พบข้ อจำกั ดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิ บั ติ งานเกี่ ยวกั บ

การประสานความร่ วมมื อกั บชุ มชนและท้ องถ่ิ นในการระดมทรั พยากรเพื่ อการศึ กษาและให้ บริ การ
ด้านวิชาการแก่ชุมชน คือ ปัญหาวิกฤติทางด้านการเงิน และปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยในชุมชน
เนือ่ งจากเหตกุ ารณ์ความไม่สงบในพืน้ ท่ีทำให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพได้

ข้าพเจ้าจึงใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานทำความเข้าใจเก่ียวกับบริบท
ของชุมชน เพ่ิมทักษะในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน และร่วมหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข
ปัญหาเก่ียวกับการระดมทรัพยากรเพ่ือการศึกษา โดยการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม และสนับสนุนงานสัมพันธ์
ชุมชน ให้ถือว่าชุมชนเป็นกำลังสำคัญในการให้ความร่วมมือท้ังในรูปแบบของแรงงานหรือกำลังทรัพย์
เพ่ือเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาและการระดมทรัพยากรทางการศึกษาให้
ได้มากท่ีสุด นำเอาปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ทางด้านต่างๆมาให้ความรู้แก่นักเรียน อีกทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้
ครรู ่วมเป็นวทิ ยากรท้องถน่ิ ตามสาขาวิชาต่างๆเพอื่ ใหค้ วามรแู้ กผ่ ู้ปกครองอีกดว้ ย

4.5.๒. จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
ข้าพเจ้าได้พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ

การจัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา คือ การกำหนดกิจกรรมการควบคุมภายในตามท่ีมีการ
ปฏิบัติอยู่เดิม โดยมิได้พิจารณาความมีประสิทธิภาพ และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของการ
ดำเนินงาน และความเส่ียงท่ีเปลี่ยนไปขององค์กร รวมท้ังครูและบุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความ
เข้าใจท่ีชัดเจนเก่ียวกับระบบควบคุมภายในสถานศกึ ษา

ข้าพเจ้าจึงใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบควบคุม
ภายในสถานศึกษา โดยการค้นคว้าและปรึกษา หารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้ที่มีความรู้ ความ
ชำนาญในการควบคุมภายในสถานศึกษา หาแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาเก่ียวกับระบบ
ควบคุมภายในนำเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อ
นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน ส่งผลให้โรงเรียนมี
ระบบควบคุมภายในท่ีมีประสิทธภิ าพมากข้นึ

4.5.๓. จัดระบบดแู ลช่วยเหลือนกั เรียน/การบริหารกิจการนักเรยี น
ข้าพเจ้าได้พบข้อจำกัดตามสภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานเก่ียวกับ

การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน/การบริหารกิจการนักเรียน คือ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ตรง
ตามสภาพปัญหา ครูท่ีปรึกษาและคณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจ
เก่ียวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนท่ีชัดเจน ครูไม่ได้ศึกษา คัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคล
อยา่ งจริงจัง และการทำงานยงั ไมเ่ ห็นผลมากนัก

17

ข้าพเจ้าจึงใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานโดยการศึกษา ค้นคว้า หา
ความรู้เก่ียวกับปัญหาการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำความเข้าใจเก่ียวระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน และศึกษาปัญหาท่ีเกี่ยวกับระบบบริหารกิจการนักเรียน และดำเนินการประชุมปรึกษาหารือ
คณะกรรมการดำเนินการระบบดแู ลช่วยเหลือนักเรียนให้คำแนะนำ ชแ้ี นะเกี่ยวกบั ระบบการดูแลชว่ ยเหลือ
นักเรียน กระบวนการดำเนินงานดูแลและช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอนพร้อมด้วยให้ความรู้ แนะนำ
และจัดหาวิธีการและเคร่ืองมือในการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูท่ีปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการ
ดำเนินการ มีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองหรือบุคคลภายนอก
รวมท้ังการสนับสนุนส่งเสริมจากสถานศึกษา โดยมีกระบวนการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนให้เป็นระบบ ส่งผลให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปเพ่ือพัฒนา
ช่วยเหลือนักเรียนในทุกด้าน ทั้งน้ีเพื่อให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นไปเพ่ือดำรง
ซ่ึงสิทธิ ศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ ที่เกิดมาพร้อมเด็กทุกคน และกฎหมายรองรับ และสิทธิน้ีควรได้รับการ
ยอมรับและปกป้องคุ้มครองจากผู้ใหญ่และคนในสังคมทุกคนได้รวมพลังผลักดันระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนให้เป็นกระบวนการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิเด็กท่ีได้ขับเคล่ือนไปอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร
ทั้งนี้เพ่ือสร้างสรรค์อนาคตของเด็กซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้
ดำเนินชีวิตด้วยความเปน็ วถิ ีแห่งสนั ตสิ ุขที่ย่งั ยนื สบื ไป

5. ผลท่ีเกิดกับผูเ้ รียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผ้ปู กครอง ชมุ ชนและสถานศกึ ษา
โรงเรียนบ้านมะรือโบตก เป็นโรงเรียนท่ีต้ังอยู่ในชุมชนบทและห่างไกลจากตัวเมืองจาก

ข้อจำกัดดังกล่าว ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาได้พยายามดำเนินการในการจัดการศึกษา
เพ่ือให้มีคุณภาพและมาตรฐานท่ีจะเกิดข้ึนต่อผู้เรียน ครู ผู้ปกครองชุมชน และสถานศึกษาอย่างเต็ม
ความสามารถ ดงั รายละเอยี ดตอ่ ไปนี้

5.๑ ผลทเี่ กิดกับผูเ้ รียน
๑. มกี ารพฒั นาทางด้านจติ ใจ สตปิ ญั ญา และมีสขุ นิสยั ท่ดี ี
๒. มีคณุ ธรรม จริยธรรม นำหลกั คำสอนของศาสนาไปใช้ในชวี ติ ประจำวนั
๓. มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานรว่ มกบั ผอู้ ืน่ ได้
๔. อนุรกั ษ์ขนบธรรมเนียมประเพณที อ้ งถิ่น
๕. มีความกระตอื รอื ร้น มคี วามรบั ผดิ ชอบ และมคี วามสามคั คี

5.๒ ผลทีเ่ กิดกบั ครูและบคุ ลากรทางการศึกษา
๑. มีการปรับปรงุ การจดั การเรยี นการสอนอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ
๒. มกี ารวเิ คราะห์ผเู้ รยี นเปน็ รายบุคคล รวบรวมขอ้ มลู สารสนเทศ
๓. ใชเ้ ทคโนโลยีผนวกกบั การใชภ้ ูมิปญั ญาทอ้ งถน่ิ บรู ณาการในการจดั การเรียนรู้
๔. มีการวดั ผลประเมนิ ผลด้วยวธิ กี ารทหี่ ลากหลาย
๕. มคี วามรกั ความสามัคคี ปฏบิ ัติงานอยา่ งมีประสิทธิภาพ

18

5.๓ ผลทเี่ กิดกับผ้ปู กครองและชุมชน
๑. ผูป้ กครองมีความศรัทธา เช่อื ม่ันในการพัฒนาและการจดั การศกึ ษาของสถานศึกษา
๒. ผูป้ กครองเห็นความสำคัญและมาใช้บริการดา้ นต่างๆ ของสถานศกึ ษา
๓. ผู้ปกครองได้รบั ทราบข้อมลู ความก้าวหนา้ การพฒั นาของสถานศึกษาในรูปแบบตา่ ง ๆ
๔. ชมุ ชนสามารถใชว้ ัสดอุ ปุ กรณต์ ลอดจนอาคารสถานทใ่ี นการจัดกจิ กรรมต่อชมุ ชน
๕. ชุมชนมีความสามัคคี มีความตระหนักในการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพในการจัด

การศกึ ษา

5.๔ ผลทีเ่ กดิ กบั สถานศกึ ษา
๑. สถานศึกษาเป็นท่ียอมรับของผ้ปู กครอง ชุมชนและหนว่ ยงานราชการอนื่ ๆ
๒. สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้างการบริหารและระบบการบริหารงานเป็น

ระบบมากขึ้น
๓. สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากชุมชนและ

หนว่ ยงานตา่ งๆ
๔. สถานศกึ ษามกี ารบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้หลักการมีสว่ นรว่ ม
๕. สถานศึกษามีระบบกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชนในการพัฒนา

การศึกษา

6. ผลการปฏบิ ตั หิ น้าทีอ่ ืน่ ตามท่ีได้รับมอบหมาย
6.1 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าท่ีเป็นกรรมการและเลขานุการฝ่ายบริหารงานงบประมาณศูนย์

เครือข่ายดุซงญอ-ผดุงมาตร ตามประกาศศูนย์เครือข่ายดุซงญอ-ผดุงมาตร เร่ือง แต่งต้ัง
คณะกรรมการบริหารงาน 4 กลุ่มงาน ประจำปีการศึกษา 2563 ประกาศ ณ วันท่ี 25 ธันวาคม
พ.ศ.2563 ผลการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความมุ่งม่ัน ต้ังใจ จนงาน
สำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จด้วยดี เกิดความพึงพอใจต่อทุก
ฝ่าย

6.2 ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าท่ีเป็นคณะกรรมการดำเนินการนิเทศ เพ่ือขับเคล่ือนการแก้ปัญหา
การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2563 ในวันที่ 11 -14 มกราคม พ.ศ.๒๕๖4 ตามประกาศศูนย์เครือข่ายดุซงญอ-ผดุงมาตร ส่ัง ณ
วันท่ี 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ผลการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความ
มุ่งมั่น ตั้งใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จด้วยดี เกิด
ความพึงพอใจต่อทกุ ฝา่ ย

6.3 ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าท่ีเปน็ คณะกรรมการดำเนินการยกระดับคุณภาพการศึกษาการนิเทศ
การจัดการเรียนการสอนในศูนย์เครือข่ายดุซงญอ-ผดุงมาตร ตามคำส่ัง สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา
ประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ที่ 5/2564 สัง่ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564 ผลการปฏบิ ัติหนา้ ที่
ตามภารกิจข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่น ต้ังใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ผล
การดำเนนิ งานประสบผลสำเร็จดว้ ยดี เกดิ ความพงึ พอใจตอ่ ทกุ ฝ่าย

19

6.4 ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าท่ีเป็นคณะกรรมการดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนการสอน 8
กลุ่มสาระในรูปแบบ C+5p ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา วันที่ 8 -18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๖4 ตามประกาศศนู ย์เครือข่ายดุซงญอ-ผดุงมาตร สัง่ ณ วันท่ี 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ผลการ
ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยความ
เรยี บรอ้ ย ผลการดำเนนิ งานประสบผลสำเรจ็ ด้วยดี เกิดความพึงพอใจต่อทกุ ฝา่ ย

6.5 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ของการเลือกต้ัง
สมาชิกสภาและนายกเทศมนตรีตำบลมะรือโบตก ในวันท่ี 28 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 หน่วย
เลือกตั้ง ที่ 6 เขตเลือกตั้งท่ี 2 หมู่ที่ 7 ณ โรงเรียนสอนศาสนาบาลาเซาะพงมาเนาะ ตำบลมะรือโบ
ตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ตามคำสั่งผู้อำนวยการการเลือกต้ังประจำเทศบาลตำบลมะรือโบ
ตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ที่ 15/2564 สงั่ ณ วันที่ 24 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ผล
การปฏิบัติหน้าท่ีตามภารกิจข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความมุ่งม่ัน ตั้งใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วย
ความเรียบรอ้ ย ผลการดำเนินงานประสบผลสำเรจ็ ด้วยดี เกดิ ความพงึ พอใจต่อทกุ ฝา่ ย

6.6 ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าท่ีเป็นคณะกรรมการดำเนินการประเมินความสามารถด้านการอ่าน
ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 ปีการศึกษา 2563 ระดับสนามสอบศูนย์เครือข่ายดุซงญอ-ผดุง
มาตร วนั ที่ 18 มีนาคม 2564 ตามคำส่งั สำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
ท่ี 84/2564 สงั่ ณ วันที่ 10 มนี าคม 2564 ผลการปฏบิ ตั ิหนา้ ทตี่ ามภารกจิ ขา้ งตน้ ข้าพเจ้าปฏิบัติ
ด้วยความมุ่งม่ัน ต้ังใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จ
ดว้ ยดี เกิดความพึงพอใจต่อทุกฝ่าย

6.7 ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าท่ีเป็นคณะกรรมการดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ช้ัน
ประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ระดับสนามสอบศูนย์เครือข่ายดุซงญอ-ผดุงมาตร วันท่ี 24
มีนาคม 2564 ตามคำส่ังสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ท่ี 97/2564
สั่ง ณ วันที่ 11 มีนาคม 2564 ผลการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความ
มุ่งม่ัน ตั้งใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จด้วยดี เกิด
ความพึงพอใจตอ่ ทุกฝ่าย

6.8 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าท่ีเป็นคณะกรรมการเพ่ือดำเนินงานวิจัยเชิงพ้ืนที่เพ่ือการจัดทำ
นโยบายการจัดการเรยี นรู้วิถีใหม่ ตามคำส่ังสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต
3 ท่ี 181/2564 สั่ง ณ วันที่ 18 เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ผลการปฏิบัติหน้าท่ีตามภารกิจ
ข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่น ต้ังใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ผลการ
ดำเนินงานประสบผลสำเร็จด้วยดี เกิดความพึงพอใจต่อทกุ ฝ่าย

6.9 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าท่ีเป็นวิทยากรการอบรมคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและ
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกต้ัง สำหรับการเลือกต้ังสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
ตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ ระหว่างวันท่ี 23-24 พฤศจิกายน 2564 ณ
องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ผลการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจ
ข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความมุ่งม่ัน ตั้งใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ผลการ
ดำเนินงานประสบผลสำเรจ็ ด้วยดี เกิดความพงึ พอใจต่อทกุ ฝา่ ย

20

6.10 ข้าพเจา้ ได้ปฏิบัติหน้าท่ีเป็นวิทยากรโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ เร่ือง การจัดทำ
ข้อตกลง ในการปฏิบัติงาน Performance Agreement (PA) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา
และการจัดทำส่ือ การสอนอย่างง่ายด้วย CANVA เพ่ือพัฒนาความรู้ความสามารถในการจัดทำ
ข้อตกลงในการพัฒนางาน ว PA และการสร้างส่ือการสอน เพ่ือมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ในวันท่ี 8-9 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ โรงเรียนบ้านน้ำหอม ผลการปฏิบัติหน้าท่ีตามภารกิจ
ข้างต้น ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยความมุ่งม่ัน ต้ังใจ จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยความเรียบร้อย ผลการ
ดำเนนิ งานประสบผลสำเร็จดว้ ยดี เกดิ ความพงึ พอใจตอ่ ทกุ ฝา่ ย

ขอรบั รองวา่ ขอ้ มูลดงั กลา่ วข้างตน้ ถกู ตอ้ งและเปน็ ความจรงิ

(ลงช่ือ)................................................ ผูข้ อรับการประเมิน
(นางสาวตอฮเี ราะห์ ยาเอ๊ะ)

ตำแหนง่ รองผู้อำนวยการโรงเรยี นบ้านกาแย
วนั ท่ี เดอื น กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕

การตรวจสอบและรับรอง
การตรวจสอบและรบั รองของผูบ้ งั คับบัญชาขัน้ ต้น
ไดต้ รวจสอบแลว้ รับรองว่าขอ้ มูลถกู ต้องและเป็นความจริง

(ลงช่ือ)......................................................ผูบ้ งั คบั บัญชาข้นั ตน้
(นายอะห์หมัดซานาดี แวอารง)

ตำแหนง่ ผูอ้ ำนวยการโรงเรียนบา้ นกาแย
วันที่ เดือน กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565

21

เอกสารอา้ งอิง

เศวตาภรณ์ เพชรบญุ วรรณโณ. (2551). การดูแลตนเองดา้ นจิตใจของข้าราชการครทู ี่ปฏิบตั ิงาน
ในพื้นท่ีสถานการณค์ วามไมส่ งบในภาคใต้ : กรณีศกึ ษาอำเภอสะบา้ ย้อย จังหวดั สงขลา.
สารนิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวชิ าพยาบาลศาสตร์ (การพยาบาลสขุ ภาพจิต
และจิตเวช). มหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2553). การก่อความไม่สงบในจงั หวัดชายแดนภาคใต้ : ปญั หาและพฒั นาการ.
จุลสารความม่นั คงศึกษา. ฉบบั ที่ 73 : 31.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2547). วนิ ัยและการรักษาวนิ ัย สบื คน้ จาก
https://otepc.go.th/images/00_YEAR2562/09_PG/act-teacher-1-2547.PDF
เมอ่ื วันท่ี 31 กุมภาพันธ์ 2565

22

ภาคผนวก

23

ภาคผนวก ก
เอกสารสำเนาทะเบยี นประวัติข้าราชการ (ก.ค.ศ. 16)

24
ก.ค.ศ.16 หน้า 1

25
ก.ค.ศ.16 หน้า 2

26
ก.ค.ศ.16 หน้า 3

27
ก.ค.ศ.16 หน้า 4

28

ภาคผนวก ข
เอกสารสำเนาคำส่ังปฏบิ ตั ิหน้าท่ีทีไ่ ด้รบั มอบหมายเป็นพิเศษ

29

30

31

ประกาศศูนย์เครอื ข่ายดุซงญอ-ผดุงมาตร เรื่อง แตง่ ตั้งคณะกรรมการบรหิ ารงาน 4 กลมุ่ งาน
ประจำปีการศึกษา 2563

32

33

ประกาศศนู ย์เครือขา่ ยดซุ งญอ-ผดุงมาตร เร่อื ง การนเิ ทศ เพอ่ื ขับเคล่ือนการแก้ปัญหาการอ่านไม่
ออก เขียนไม่ได้ของนักเรียนชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 1 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

34

35

36

37

38

39

คำสั่ง สำนกั งานเขตพืน้ ท่ีการศกึ ษาประถมศึกษานราธวิ าส เขต 3 ท่ี 5/2564
แตง่ ตั้งคณะกรรมการดำเนนิ การยกระดบั คณุ ภาพการศึกษาการนิเทศติดตามและประเมนิ ผล

การจัดการศึกษา ศนู ย์เครอื ข่ายดุซงญอ-ผดุงมาตร

40

41

ประกาศศนู ย์เครอื ข่ายดซุ งญอ-ผดุงมาตร เรอ่ื ง การนเิ ทศการจดั การเรยี นการสอน 8 กลุม่ สาระ
ในรปู แบบ C+5p ของโรงเรียนในศนู ย์เครือขา่ ยสถานศึกษา

42
คำส่ังประธานกรรมการประจำหนว่ ยเลอื กตง้ั ของการเลือกต้ังประจำเทศบาลตำบลมะรือโบตก

43

44

45

46

47


Click to View FlipBook Version