The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by มาดีนะห์ วันหมัด, 2022-07-06 13:42:10

Poster Washing Hand 5

Poster Washing Hand 5

Keywords: washing hand

Protect yourself and others rom getting sick

การล้างมือ
WASHING HANDS

washing hands


การล้างมือ

นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2
ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

รายวิชา การพยาบาลขั้นพื้นฐาน (พ.ย.361202
ปีการศึกษา 2564

ชื่อหนังสือ เทคนิคปราศจากเชื้อและกีดกั้นเชื้อ

คณะผู้จัดทำ นักศึกษาสาขาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่2
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมมราชชนนี
จังหวัดนนทบุรี

ที่ปรึกษา อาจารย์พัชรินทร์ วรรณโพธิ์
อาจารย์ ดร.สุภลักษณ์ ธานีรัตน์

กองบรรณานิการ นางสาวกรภัค ทองแสง
นางสาวจันจิรา แน่นนอก

ออกแบบปก นางสาวเมธาวี เพชรอำไพ
นางสาวปรมา วันหมัด

พิสูจน์อักษร นางสาวอิศริยา หอมดอกไม้

ปีที่พิมพ์ กรกฎาคม 2565

พิมพ์ที่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
47/99 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัด
นนทบุรี 11000

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพยาบาลพื้นฐาน รหัสวิชา พย.361202 ชั้นปีที่ 2 ห้อง A โดยมี
จุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการล้างมือที่ถูกวิธีเพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผู้จัดทำจึงได้เลือกหัวข้อนี้มาทำรายงานนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจเเละมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต
ในปัจจุบัน ทางคณะผู้จำทำต้องขอขอบคุณ อาจารย์ ดร.สุภลักษณ์ ธานีรัตน์ เป็นอย่างสูงที่ได้มาให้ความรู้
เเละเเนวทางในการล้างมือที่ถูกวิธี ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อ่านไม่มากก็น้อย หากมี
ข้อผิดพลาดประการใดทางคณะผู้จัดทำต้องขอน้อมรับมา ณ ในโอกาสนี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ

บ การล้างมือเป็นมาตรการสําคัญอย่างหนึ่งของการป้องกันการแพร่
ท โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เพราะในขณะที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย มือของ
นิ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรการแพทย์อื่น ๆ มีโอกาสสัมผัสกับเลือด, สารคัด
ย หลั่ง, สิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย, หรือจากการสัมผัสทางอ้อม เช่น การสัมผัสอุปกรณ์
า เครื่องใช้ของผู้ป่วย รวมทั้งจากสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน, การศึกษาใน
ม การทำอีบุ๊คครั้งนี้เพื่อศึกษา ประเภทของการล้างมือ รูปแบบ ขั้นตอนและวิธีการ
ล้างมือในอต่ละช่วง อัตราการล้างมือ, อัตราความถูกต้องในการล้างมือ และ
ระยะเวลาเฉลี่ยในการล้างมือ โดยการศึกษาแบบพรรณนาภาคคีดขวาง ร่วม
กับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อมิให้กลุ่มบุคลากรการแพทย์ทราบว่ากำลังถูก
สังเกตพฤติกรรมการล้างมืออันจะช่วยป้องกับ Hawthorne effect ซึ่งอาจเกิด
ขึ้นขณะเก็บข้อมูลการศึกษาครั้งนี้ได้สังเกตพฤติกรรมการล้างมือของแพทย์
พยาบาล และเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในแผนกชันสูตรโรคและแผนกทันต
สาธารณสุข จํานวน ๔๓ คน, เลือกตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง, เก็บข้อมูลในช่วงวันที่
๑-๓๐ เมษายน ๒๕๕๕. บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้เชิงพรรณนา โดยใช้
โปรแกรม SPSS for Windows, version ๑๑.๕. จากการศึกษาสังเกตการ
สัมผัสผู้ป่วย ๑๑๘ ครั้งที่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย พบ
ว่าอัตราการล้างมือในกลุ่มบุคลากรการแพทย์ของโรงพยาบาลที่ถูกเฝ้าสังเกต
เท่ากับร้อยละ ๘๘.๕๘. เมื่อจําแนกอัตราการล้างมือตามตำแหน่งหน้าที่ของ
บุคลากรการแพทยที่ถูกเฝ้าสังเกตพบว่าอัตราการล้างมือของแพทย์, พยาบาล
วิชาชีพ, พยาบาลเทคนิค,ทันตาภิบาล และเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
เท่ากับร้อยละ ๔๓.๗๕, ๑๐๐, ๑๐๐, ๑๐๐ และร้อยละ ๕๐ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์
อัตราความถูกต้องและไม่ถูกต้องในการล้างมือของบุคลากรการแพทย์เท่ากับ
ร้อยละ ๑๓.๑๔ และร้อยละ ๔๒.๘๖. สรุปว่าบุคลากรการแพทย์ของโรงพยาบาล
ควนกาหลงจังหวัดสตูล ยังคงมีพฤติกรรมการล้างมือที่ไม่ถูกต้องสูงถึงร้อยละ
๑๒.๘๖ ถึงแม้จะมีอัตราการล้างมือเพิ่มสูงถึงร้อยละ ๘๘.๕๘ ก็ตาม. ดังนั้น
บุคลากรการแพทย์เหล่านี้สมควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติต่อ
การล้างมือโดยเร่งด่วน อันจะช่วยลดและป้องกันปัญหาโรคติดเชื้อในโรง
พยาบาล

ความหมายและประเภท

ความหมายของการล้างมือ

การล้างมือ หมายถึง การขัดถูให้ทั่วมือรวมทั้งช่องลายนิ้ว
มือด้วยสบู่หรือสารเคมีและน้ำ แล้วล้างออกให้สะอาด เป็นวิธีที่มี
ประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อการ
ล้างมือที่ถูกวิธีร่วมกับการเช็ดมือด้วยผ้าสะอาดทุกครั้งสามารถ
ลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้การล้างมืออย่างถูกต้องและ
เหมาะสมสามารถลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ถึงร้อยละ 50
ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพจึงควรมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการล้างมืออย่างถูกวิธี เพื่อลดการติดเชื้อใน
โรงพยาบาล

ประเภทของการล้างมือ

1 Normal hand washing (การล้างมือทั่วไป)
หมายถึง การล้างมือเพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ เหงื่อ ไขมัน ที่

ออกมาตามธรรมชาติและลดจำนวนเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ชั่วคราวบน
มือ การล้างมืออย่างถูกวิธีต้องล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้
เวลาในการฟอกมือนานประมาณ 15 นาที

ก่อนปฏิบัติงานต่างๆ ก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย

ล้างมือด้วยสบู่เหลวนาน 10-15นาที

ล้างด้วยน้ำสะอาด

เช็ดมือด้วยผ้าสะอาด/กระดาษ

2 Hygienic hand watching (การล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ)

หมายถึง การล้างมือด้วยสบู่เหลวผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Chlorhexidine 4% ใช้เวลาในการฟอกมือ
นาน 20-30 นาที

ล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อนาน 30 วินาที

ใช้ Alcohol-based product 5 มล. เช็ดมือด้วยผ้าสะอาด/กระดาษ
ถูมือให้ทั่วจนเเห้ง

ล้างด้วยน้ำสะอาด

3.Surgical hand watching (การล้างมือก่อนทำหัตถการ)

การล้างมือก่อนทำหัตถการในห้องผ่าตัดหรือห้องคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยการฟอกมือด้วยสบู่
ผสมยาฆ่าเชื้อ เช่น Chlorhexidine 4% ตั้งแต่มือ แขน ถึงข้อศอกให้ทั่วเป็นเวลา 2-5 นาที

ฟอกมือและแขนให้ถึงศอกด้วยน้ำยา เช็ดมือด้วยผ้าปราศจากเชื้อ



ทำลายเชื้อ นาน 2-6 นาที

ใช้น้ำยา Alcohol-based product 10 มล. ถูมือให้ทั่วจนถึง
ข้อศอกจนน้ำยาเเห้ง ทำครั้ง 2 ครั้ง



ล้างด้วยน้ำสะอาด
เช็ดมือด้วยผ้าปราศจากเชื้อ

4 การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (Alcohol gel)

หมายถึง การล้างมือในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำ และมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรก
หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ให้ทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล การล้างมือด้วยน้ำยาประมาณ 10
มิลลิลิตรใช้เวลาประมาณ 15 - 25 วินาที

ขั้นตอนการล้างมือ ขั้นตอนที่ 1 ฝ่ามือถูฝ่ามือ
ล้างมือด้วยน้ำสะอาด ถู
สบู่จนขึ้นฟอง หลังจาก
นั้นนำฝ่ามือทั้งสองข้าง
ประกบกัน และถูวนให้ทั่ว




ขั้นตอนที่ 2 ถูหลังมือและ
ซอกนิ้ว เพื่อฆ่าเชื้อโรค
บริเวณมือและซอกนิ้ว
ด้านหลัง โดยใช้ฝ่ามือถู
บริเวณหลังมือ และซอก
นิ้วสลับไปมาทั้งสองข้าง




ขั้นตอนที่ 3 ถูฝ่ามือและ
ซอกนิ้ว นำมือทั้งสอง
ข้างมาประกบกัน ถูฝ่ามือ
และซอกนิ้วด้านหน้าให้

สะอาด

ขั้นตอนการล้างมือ ขั้นตอนที่ 4 หลังนิ้วมือถู
ฝ่ามือ ให้นิ้วมือทั้งสอง
ข้างงอเกี่ยวกัน ถูวนไป

มา




ขั้นตอนที่ 5 ถูนิ้วและโคนนิ้วหัวแม่
มือ กางนิ้วหัวแม่มือแยกออกมา
ใช้ฝ่ามืออีกข้างกำรอบนิ้วหัวแม่
มือ แล้วถูหมุนไปรอบ ๆ ทำสลับ

กันทั้งสองข้าง




ขั้นตอนที่ 6 ถูปลายนิ้วมือบน
ฝ่ามือ ให้แบมือแล้วใช้ปลายนิ้วมือ
อีกข้างถูวนเป็นวงกลม จากนั้น

สลับข้างทำแบบเดียวกัน




ขั้นตอนที่ 7 ถูรอบข้อมือ กำมือ
รอบข้อมือข้างหนึ่ง ถูวนจนกว่า
จะสะอาด หลังจากนั้นให้เปลี่ยน
ข้างทำแบบเดียวกับมือข้างแรก

การล้างมือก่อนผ่าตัด การล้างมือก่อนผ่าตัดเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถลดการติด
เชื้อของแผลผ่าตัดใต้ ระยะเวลาล้างมือผ่าตัดปัจจุบัน ให้มีการศึกษา
พบว่า สามารถลดลงได้จากเดิมสิบนาทีจนเหลือสามนาที นอกจากนี้
มีงานวิจัยหลายชิ้นได้ยืนยันถึงประสิทธิผลการล้างมือสามนาทีและ
เก้าสิบวินาทีไม่มีความแตกต่างกัน ในบทความวิจัยครั้งนี้ต้องการ
ศึกษาถึงประสิทธิผล ในการล้างมือก่อนผ่าตัดสามนาทีและเก้าสิบ
วินาทีมีผลลัพธ์เป็นอย่างไรโดยใช้การผ่าตัดไส้ติ่งเป็นตัวแทนในการ
วิจัย ครั้งนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผล
ระยะเวลาที่ล้างมือก่อนผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ใช้ระยะเวลา ล้างมือ 90
วินาทีและ 3 นาที มีความแตกต่างกันหรือไม่ เพื่อนำไปใช้ในทาง
คลินิก วิธีการทาวิจัยเป็นการเก็บรวบรวม ข้อมูลแบบไปข้างหน้าในผู้
ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบและผ่าตัดที่โรง
พยาบาลพระนั่งเกล้าจำนวน 112 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ล้างมือก่อน
ผ่าตัดเก้าสิบวินาทีจำนวน 65 ราย และกลุ่มที่ล้างมือสามนาทีจำนวน
47 ราย ผลการวิจัย ผู้ป่วยที่ล้างมือสามนาทีและเก้าสิบวินาทีไม่มี
ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่อง เพศ อายุ การ
วินิจฉัยระดับความรุนแรงของโรคไส้ติ่งอักเสบ การได้รับยาก่อน
หรือหลังผ่าตัดและชนิดของยาปฏิชีวนะ ระยะเวลา การให้ยาก่อน
ผ่าตัด ตลอดจนโรคประจำตัวของผู้ป่วย ผลลัพธ์ของการวิจัยใน
ครั้งนี้ พบกลุ่มล้างมือสามนาทีก่อน ผ่าตัดมีอัตราการติดเชื้อของ
แผลผ่าตัดร้อยละ 8.5 กลุ่มผู้ป่วยที่ล้างมือเก้าสิบวินาทีพบร้อยละ
4.6 ค่า p-value มีค่า เท่ากับ 0.45 สำหรับการผ่าตัดซ้ำหลังจากได้
ผ่าตัดไส้ติ่งไปแล้วไม่พบอุบัติการณ์ดังกล่าวทั้งสองกลุ่ม สรุปผล
วิจัย การล้างมือสามนาทีและเก้าสิบวินาทีก่อนผ่าตัดไส้ติ่งมี
ประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน

เหตุผลที่ควรล้างมือ 1.ที่เปียกชื้นสามารถแพร่กระจายแบคทีเรียได้มากกว่ามือที่แห้ง 1,000 เท่า
2. 85% ของจุลินทรีย์ ถูกส่งผ่านมือที่เปียกชื้น
3. บนมือของเราสามารถมีแบคทีเรียเกาะอยู่ได้ถึง 3,000 ชนิด
4.เล็บมือเป็นส่วนที่ยากที่สุดในการทำความสะอาดเพื่อทำการกำจัดเชื้อ
จุลินทรีย์
5. แบคทีเรียสามารถอยู่ในมือได้ 3 ชั่วโมง และแบคทีเรียตัวเดียวสามารถ
แบ่งตัวได้ถึง 4,000,000 ตัวใน 3ชั่วโมง
6. การล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคในระบบ
ทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ
7. งานวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้หญิงล้างมือด้วยสบู่บ่อยและใช้เวลา
นานกว่าผู้ชาย
8. โต๊ะทํางานโดยเฉลี่ยมีแบคทีเรียมากกว่าที่นั่งสุขา 400 เท่า
9. พบแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในธนบัตรโดยเฉลี่ยมากถึง 26,000 ตัวต่อฉบับ
10. บนสมาร์ทโฟนสามารถพบแบคทีเรียได้มากกว่า 30,000 ตัว
11. แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์สามารถพบแบคทีเรียได้มากกว่าที่นั่งใน
ห้องน้ำ
12. งานวิจัยในสหราชอาณาจักรสามารถพบเชื้อแบคทีเรียได้ถึง

10% ของบัตรเครดิต
14% ของธนบัตร
26% บนมือเรา
13. มีเพียง 19% ของประชากรทั่วโลกที่ล้างมือกับสบู่หลังเข้าห้องน้ำ
14.การล้างมือด้วยน้ำและสบู่สามารถลดจํานวนการเสียชีวิตจากโรคท้อง
ร่วงได้ถึง 50%
15 การล้างมือที่ถูกวิธีมีประสิทธิภาพเท่ากับการฉีดวัคซีน

บรรณานุกรม

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2563). ล้างมือให้สะอาด สำคัญอย่างไร?.siphhospital.com
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต.(2563).มาล้างมือกันเถอะ. https://www.paolohospital.com
ชัยรัตน์ ลำโป.(2559). พฤติกรรมการล้างมือของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัด
สตูล. https://kb.hsri.or.th
Howard Markel.(2015). Wash Your Hands!. https://www.ncbi.nlm.nih.gov

คณะผู้จัดทำ

นักศึกษาสาขาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมมราชชนนีจังหวัดนนทบุรี รุ่นที่ 30

นางสาวกรภัค ทองแสง เลขที่004 รหัสนักศึกษา 64123301004
นางสาวจันจิรา แน่นนอก เลขที่010 รหัสนักศึกษา 64123301019
นางสาวปรมา วันหมัด เลขที่ 044 รหัสนักศึกษา 64123301095



นางสาวเมธาวี เพชรอำไพ เลขที่ 061 รหัสนักศึกษา 64123301131



นางสาวอิศริยา หอมดอกไม้ เลขที่ 083 รหัสนักศึกษา 64123301175


Click to View FlipBook Version