วิชาดนตรี
ครูเมย์
องค์ประกอบดนตรี
สารบัญ
1 จังหวะ (Rhythm) 4 การประสานเสียง(Harmony)
2 เสียง (Tone) 5 พื้นผิว (Texture)
3 ทำนอง (Melody) 6 คีตลักษณ์ (Forms)
จังหวะ (Rhythm)
จังหวะ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับเวลา
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับจังหวะประกอบด้วย
1.ความเร็วของจังหวะ (Tempo)
2.บีตส์ (Beat)
3.อัตราจังหวะ (meter)
ความเ(รT็วeขmอpงo)จังหวะ ดนตรีมีการกำหนดความเร็วของแต่ละ
บทเพลง โดยมีเครื่องมือที่
เป็น ตัวกำหนดความเร็ว เรียกว่า
"เมโทรนอม (Metronome)" หรือเรียกว่า เครื่องกำหนดจังหวะ
โดยตัวเลขกำหนดความเร็ว หมายถึง จำนวนจังหวะที่เคาะต่อ 1 นาที
เช่น ถ้าตั้งความเร็วไว้ที่ 60 เครื่องกำหนดจังหวะจะเคาะ 60 ครั้ง ต่อ 1 นาที
ความเ(รT็วeขmอpงo)จังหวะ
บีตส์ (Beat)
จังหวะที่เคาะหรือดำเนินต่อเนื่องไปอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผู้ฟังสามารถรับรู้ได้
จากการเคาะเท้าหรือปรบมือไปพร้อมกับบทเพลง
อัต(รMาeจtังerห)วะ
นอกจากการเคาะจังหวะอย่างสม่ำเสมอคงที่แล้ว
ยังสังเกตได้ว่า บางจังหวะบีตส์มีความหนักเบาต่างกันออกไป
ด้วยเหตุนี้ ดนตรีจึงมีการจัดกลุ่มจังออกเป็น 2 3 4 จัง (ใน1ห้องเพลง)
เช่น อัตราจังหวะ 234 โดยที่ 1 เป็นจังหวะสำคัญและมีความหนัก
444
แน่นที่สุดเสมอ
เสียง (tone)
เสียง เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง
และเสียงเปลี่ยนแปลงได้เมื่อแหล่ง กำเนิดเสียงมีการสั่นที่แตกต่างกัน
เช่น เสียงพูดของมนุษย์ เกิดจากการสั่นสะเทือนของเส้นเสียงที่อยู่ภายในลำคอ
เสียงกลอง เกิดจากการสั่นสะเทือนของหนังกลองเมื่อะูกตีด้วยไม้กลอง
เสียงระฆัง เกิดจากการสั่นสะเทือนของตัวระฆังเมื่อถูกตีด้วยไม้
เสียงกีตาร์ เกิดจากการสั่นสะเทือนของสายกีตาร์เมื่อถูกดีด
ความดังของเสียงและระดับเสียงเป็นสมบัติของเสียง
ทำนอง (melody)
ทำนอง เกิดจากการผสมผสานระหว่างจังหวะ (สั้น-ยาว) และเสียง (สูง-ต่ำ)
ที่ไล่เรียงกันหรือสลับกันไป
การผสมผสานของจังหวะและเสียง ทำให้เพลงแต่ละเพลงมีทำนอง จังหวะ
และให้ความรู้สึกของเพลงที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งจะเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงนั้น
ในทางดนตรีถือว่า “ทำนอง” เป็นการเคลื่อนที่ผสมผสานกันของเสียงในแนวนอน
คือแนวทำนองจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามจังหวะที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ
การประสานเสียง (harmony)
การประสานเสียง คือ เสียงสูง-ต่ำ หรือทำนองที่เข้าไปสอดแทรกทำนองเดิม
เพื่อให้เกิดความไพเราะ หนักแน่น แต่สิ่งที่สำคัญของการประสานเสียง
คือ การผสมกลมกลืนกันระหว่าง เสียงร้องและทำนอง
ในทางดนตรีถือว่า “การประสานเสียง” เป็นการผสมผสานกันของเสียง
ในแนวตั้ง คือการผสมเสียงในช่วงเวลา จังหวะเดียวกัน
พื้นผิว (texture)
ดนตรีประกอบด้วยการประสานเสียงในแนวตั้งกับทำนองในแนวนอน
เมื่อรวมกันจะปรากฏเป็นพื้นผิว พื้นผิวทางดนตรี (musical texture)
เป็นลักษณะการจัดความสัมพันธ์ระหว่างทำนองกับการประสานเสียง
ลักษณะพื้นผิวของดนตรีขึ้นอยู่กับการแปรทำนองและการประสานเสียง
การจัดประเภทของพื้นผิวดนตรีที่ควรรู้จัก มีดังนี้
1.พื้นผิวโมโนโฟนิก (Monophonic texture)
2.พื้นผิวโฮโมโฟนิก (homophonic texture)
พื้นผิวดนตรี (Musical Texture )
พื้นผิวโมโนโฟนิก พื้นผิวโฮโมโฟนิก
(Monophonic texture) (HoMophonic texture)
เป็นพื้นผิวของดนตรีทำนองเดียว เป็นพื้นผิวของดนตรีที่มีแนวทำนองหลัก
ไม่มีดนตรีประกอบ ส่วนใหญ่ และแนวประสานเสียงประกอบ
จะเป็นประเภทบทสวดต่าง ๆ เป็นเสียงซ้อนกัน เกิดจากการ
มีเพียงเส้นเดียว ขับร้องประสานเสียง การเรียบเรียงประสาน
ที่เล่นทำนอง ไม่มีเสียงประสานใด ๆ ในวงดนตรีและบทเพลง
คีตลักษณ์ (Forms)
บทเพลงโดยทั่วไปจะมีการกำหนดรูปแบบและท่อนเพลงไว้อย่างชัดเจนเรียกว่า
“คีตลักษณ์” หรือ “รูปแบบ”
รูปแบบของบทเพลงขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลงที่ต้องการ
บทเพลงที่มีรูปแบบปกติหรือรูปแบบซับซ้อน ซึ่งรูปแบบที่ควรรู้จัก ได้แก่
1.รูปแบบเอกบท (Unitary form)
2.รูปแบบทวิบท (Binary Form)
3.รูปแบบตรีบท (Ternary form)
รูปแบบเอกบท (Unitary Form)
เป็นบทเพลงที่มีเพียงท่อนเดียว
สัญลักษณ์ที่ใช้ในเพลงเอกบท คือ A
และอาจมีการซ้ำทำนองกัน เช่น AAAA
ซึ่งท่อนที่เพิ่มมาไม่ควรมีทำนองที่ต่างจากเดิมมากนัก
รูปแบบทวิบท (Binary Form)
เป็นบทเพลงที่มีทำนองหลัก 2 ท่อน หรือมากกว่า
แต่ทำนองที่เพิ่มขึ้นต้องมีทำนองช้าต่อกันมา
โดยไม่สลับทำนอง สัญลักษณ์ที่ใช้ในเพลงทวิบท คือ ab
นอกจากนี้ ยังมีการซ้ำกันหลาย ๆ เที่ยวก็ได้
เช่น ซ้ำทำนองแบบ aabb
รูปแบบตรีบท (Ternary Form)
เป็นบทเพลงที่มีทำนองหลัก 2 ทำนอง แต่นำทำนอง A
ย้อนกลับมาบรรเลงใหม่ ซึ่งทำนองจะขัดแย้งตรงกลางของ
ทำนองเดิม สัญลักษณ์ที่ใช้ในเพลงตรีบท คือ ABA
เป็นลักษณะของเพลงไทยสากลในปัจจุบัน
สรุป
จังหวะ เสียง ทำนอง
คีตลักษณ์ การประสานเสียง
องค์ประกอบดนตรี
พื้นผิว
ภาระงาน
คำสั่ง : ให้นักเรียนออกแบบ Mine Mapping ในหัวข้อเรื่อง องค์ประกอบทางดนตรี
ส่งก่อนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
ส่งทางไลน์ส่วนตัวได้เลยนะคะ
THANK YOU
See you next time!