สมุดภาพเล่มเล็ก
"เครื่องหมายเตือนสารเคมีอันตราย"
จัดทำโดย
เด็กหญิงจิรภรณ์ บุตราช
เสนอ
อาจารย์พรพรรณ ยิ่งยง
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด (explosive)
ตัวอย่าง เช่น TNT ดินปีน พลุไฟ ดอกไม้ไฟ
ประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gases)
2.1 ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases)
ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน
2.2 ก๊าซไม่ไวไฟ และ ไม่เป็นพิษ
(non flammeble non toxic gases)
อาจถูกระเบิดได้เมือถูกกระแทกอย่างแรง หรือ ได้รับความร้อนสูงจากภายนอก
เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไฮโดเจนเหลว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
2.3 ก๊าซพิษ (poison gases)
อาจตายไปเมื่อสูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (flammable Liquids)
ติดไฟง่าย เมื่อถูกประกายไฟ
เช่น น้ำมัันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ อะซิโตน ไซลิน
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ (flammable)
ลุกใหม่ได้เอง ลุกติดไฟง่ายเมื่อถูกเสียดสี หรือ ความร้อนสูงใน 45 นาที
เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไม้ขีดไฟ
สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง
(Substances Liable to Spontaneous Combustion)
วัตถุที่เกิดการบุไหม้ได้เอง : ลุกติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับอากาศ ภายใน5นาที เช่น
ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟต์
สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substance Which
in Contact with Water Emit Flammable Gases)
สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ โซเดียม
ประเภทที่ 5 สารออกซิไดซ์ และ สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substan
ces)
วัตถุออกซิไอซ์ : ไม่ติดไฟ แต่ทำให้สารอื่นลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียม
คลอเรต แอมโมเนียไนเตรท โปแตสเซียมคลอเรต ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides)
อาจจะระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนไวต่อการกระทบและเสียดสีทำปฏิกิริยารุนแรงกับ
สารอื่น เช่น อะซิโตนเปอร์ออกไซด์ , Methyl Ketone Peroxide
ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ
วัตถุมีพิษ (Toxic Substances)
วิตถุมีพิษ : อาจทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรงจากการกิน หรือการสูดดม
หรือจากการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น อาร์ซีนิค ไซยาไนด์
ปรอท สารฆ่าแมลง สารปราบสัตรูพืช โลหะหนักเป็นพิษ
วัตถุติดเชื้อ (Infections Substance)
วัตถุติดเชื้อ : วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้ อนและทำให้เกิดโรคได้ เช่น ของเสียอันตรายจากโรงพยาบาล
เข็มฉีดยาใช้แล้ว เชื้อโรคต่างๆ
ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี (Redliactive Materials)
วัตถุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม
เช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียน โคบอลต์-60 เป็นต้น
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน (Corrosive Substance)
ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง
หรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่งเมื่อเกิดการรั่วไหลของสาร กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์
วัตถุก่อให้เกิดการระคายเคือง : อาจก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
ทำลายเยื่อบุผิวหนัง และ เยื่อบุตา เช่น กรดแก่ เบสแก่
ประเภทที่ 9 วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด
(Miscellaneous Dangerous Substance and Articles)
สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตราย ซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึง
ประเภทที่ 8 เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียไนเตรต เป็นต้น