The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทที่ 1 แก้ครั้งที่1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by anuwata774, 2022-04-28 03:11:03

บทที่ 1 แก้ครั้งที่1

บทที่ 1 แก้ครั้งที่1

บทที่ 1
บทนำ

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการประกอบธุรกิจใด ๆ ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันนั่นก็คือ “การสร้างผล
กำไรสูงสุด” โดยเฉพาะอย่างย่ิงในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งต่างฝ่ายตา่ งกเ็ พียรพยายามสรรหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อ
ลดต้นทุนและเพิ่มพูนผลกำไรกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต , Just in
Time หรือ Zero Defect, 5ส และอน่ื ๆ อกี มากมาย รวมไปถงึ “การบำรุงรกั ษา" หรอื Maintenance ดว้ ย
ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ (Machines & Equipment) ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน
กระบวนการผลิต ซึ่งหากเกิดเหตุชำรุด เสียหายอย่างกะทันหัน ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพใน
การผลิต ทำให้กระบวนการผลิตหยุดชะงัก ไม่ได้ผลผลิตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรที่
ชำรุด ยังอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุอันน่าเศร้ากับผู้ปฏิบัติงานได้อีกด้วย ดังนั้นการบำรุงรักษาเครื่องจักร จึงเป็น
ส่วนสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อกระบวนการผลิตสินคา้ เพื่อให้เป็นไปได้อย่างราบร่ืนต่อเนื่อง มีประสิทธภิ าพ
และปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ เข้ามาใช้งานกับ
เครื่องจักรมากขึ้น ส่งผลให้สามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเครื่องจักรก็มีความซับซ้อน
และมีราคาสูงขึ้นเชน่ กัน ดังนั้นค่าใช้จา่ ยในการบำรุงรักษาก็ยิ่งต้องเพิ่มสูงข้ึนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เนื่องจาก
การบำรงุ รักษาเคร่ืองจักรเป็นปัจจัยหน่ึง ทจ่ี ะชว่ ยยืดอายกุ ารใช้งานเครื่องจักร ทำให้เคร่อื งจักรสามารถทำงาน
ได้เต็มสมรรถนะ สามารถรักษาระดบั คณุ ภาพของสินค้า และส่งผลให้เกดิ ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งผลที่
ได้ก็คือ การลดต้นทุนและการสูญเสียในการผลิตนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงสมควรอย่างยิ่งที่ทุกโรงงานจะให้
ความสำคัญกับการบำรงุ รักษาเครื่องจักรของตนเอง
ความหมายของการบำรงุ รกั ษา

การบำรุงรักษา Maintenance ” ได้หลักการดังนี้ หมายถึง การพยายามรักษาสภาพของเครื่องมือ
เครอ่ื งจักรต่างๆ ใหม้ สี ภาพทพ่ี ร้อมตลอดเวลา การบำรงุ รักษาน้นั ครอบคลุมไปถึงการซ่อมแซมเคร่ืองมือใช้งาน
ด้วย ในงานบริหารการผลิตหรือการบริการ จะหลีกเลี่ยงงานการซ่อมและบำรุงรักษาไม่ได้ ถึงแม้ว่า งานซ่อม
และบำรุงรักษาไม่ใช่งานผลิตโดยตรง แต่งานซ่อมและบำรุงรักษาก็มีบทบาทช่วยให้การผลิตและบริการของ
องค์กรนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่ เครื่องจักรมากขึ้น การที่เครื่องจักรเกิด
ขดั ข้องมากะทันหัน หรือไม่สามารถทำการผลิตและการบริการจำเป็นต้องอาศยั อุปกรณ์และรถใชง้ านได้ จะทำ
ให้มีผลกระทบโดยตรงต่อประสทิ ธิภาพการ ผลติ และการบริการน้ัน ๆ
ความสำคัญของการบำรุงรกั ษา

เนื่องจากหลักการบริหารงานผลิต คือ พยายามควบคุมให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพภายใต้
เวลาที่กำหนดด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด สามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันตามกำหนดเวลา รวมถึงผู้ปฏิบัติงาน
สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีขวัญกำลังใจ ดังนั้นความสำคัญของการบำรุงรักษา จึงอาจสรุปได้ดังนี้
คือ

1. เพื่อให้เครื่องจักรทำงานไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิผล (Effectiveness) ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และ
ใชง้ านได้เต็มกำลังความสามารถ

2. เพื่อให้เครื่องจักรมีสมรรถนะการทำงานสูง (Performance) ซึ่งการบำรุงรักษาจะเป็นการช่วยยืด
อายุการใชง้ าน โดยอาศัยการปรับแตง่ หรือซอ่ มบำรงุ

3. เพื่อใหเ้ ครื่องจักรมีความเที่ยงตรงนา่ เชื่อถือ (Reliability) ในการผลิตสนิ ค้า ซ่งึ การบำรุงรักษาจะมี
ผลโดยตรงตอ่ การทำงานของเครือ่ งจักร ในส่วนทีเ่ กีย่ วขอ้ งกับความละเอียด ความเทยี่ งตรง และมาตรฐานของ
สนิ ค้า ซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับหรือความพงึ พอใจของลกู คา้ ท่ีมตี อ่ สนิ ค้าในทา้ ยสุดดว้ ย

4. เพ่ือใหม้ ีความปลอดภัย (Safety) จดั วา่ เปน็ ปจั จัยท่ีสำคญั เพราะถา้ มกี ารใช้งานเครอ่ื งจักรท่ีชำรุด
หรอื ไมพ่ ร้อมใช้งาน กส็ ามารถก่อให้เกดิ อบุ ัติเหตุและการบาดเจบ็ ต่อผู้ใช้งานเครอื่ งจักรได้
วตั ถปุ ระสงคข์ องระบบบำรุงรักษาในงานอตุ สาหกรรม

1. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือเป็นการป้องกันไม่ให้คุณภาพต่ำลง ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นใน
ผลติ ภณั ฑท์ ่ีผลติ ออกไปจากโรงงาน โดยการบำรงุ รกั ษาจะชว่ ยให้เครื่องจกั รมีความเที่ยงตรงและแม่นยำ

2. ควบคุมต้นทุนของผลิตภัณฑ์ ไม่ให้เพิ่มขึ้น หรือหาหนทางในการลดต้นทุนลง ซึ่งการเดิน
เครื่องจกั รกลก็ย่อมมกี ารลงทนุ ค่าดำเนินการ รวมถึงค่าซอ่ มแซมตา่ ง ๆ

3. ควบคมุ กำหนดการส่งมอบสินคา้ หรือผลิตภณั ฑ์ เพื่อให้ถึงลกู คา้ ได้ตรงเวลามากทส่ี ุด เพอื่ ให้ลูกค้ามี
ความเชื่อมั่นในการทำงานของโรงงาน ถ้ามีการส่งมอบช้า ก็ย่อมหมายถึงต้นทุนต้องเพิ่มขึ้น และอาจเสีย
คา่ ชดเชยหรือคา่ ปรับให้กบั ลูกคา้ อีกดว้ ย

4. ป้องกนั ความสูญเสยี อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การขดั ข้องจนทำให้เดินเครอื่ งจักรไม่ได้เต็ม
กำลัง หรอื จำเปน็ ต้องหยุดการทำงาน หรอื เคร่อื งจกั รชำรดุ เสียหาย เปน็ ต้น

5. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ อันเนื่องมาจากเครื่องจักรเดินผิดพลาด หรือชำรุด
เสียหาย ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น และทำให้ผู้ปฏิบัติงานบาดเจ็บ ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าประกัน
เงนิ ชดเชย เงนิ ทดแทน เป็นตน้

6. ประหยัดพลังงาน เครื่องจักรจะทำงานได้ต้องอาศัยพลังงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าหาก
เคร่อื งจักรได้รับการดแู ลให้อย่ใู นสภาพท่ีดี เคร่อื งเดินราบเรยี บไม่สะดุด ไม่มีการรว่ั ไหลของน้ำมัน มกี ารเผาไหม้
ที่สมบรู ณ์ ก็จะส้นิ เปลืองพลงั งานหรอื กำลงั นอ้ ยลง สง่ ผลให้ประหยัดคา่ ใชจ้ า่ ยลงได้

บทท่ี 2
ทฤษฎีทเ่ี กี่ยวขอ้ ง

2.1 จดุ มุ่งหมายของการบำรุงรักษา
1. เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือเป็นการป้องกันไม่ให้คุณภาพต่ำลง ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นใน

ผลติ ภัณฑ์ทีผ่ ลิตออกไปจากโรงงาน โดยการบำรุงรักษาจะช่วยใหเ้ ครอ่ื งจกั รมีความเที่ยงตรงและแมน่ ยำ
2. ควบคุมต้นทุนของผลิตภัณฑ์ ไม่ให้เพิ่มขึ้น หรือหาหนทางในการลดต้นทุนลง ซึ่งการเดิน

เครอื่ งจกั รกลกย็ อ่ มมกี ารลงทุนคา่ ดำเนินการ รวมถึงค่าซ่อมแซมต่าง ๆ
3. ควบคุมกำหนดการส่งมอบสินคา้ หรือผลติ ภัณฑ์ เพ่ือให้ถงึ ลกู คา้ ไดต้ รงเวลามากทสี่ ดุ เพอ่ื ให้ลูกค้ามี

ความเชื่อมั่นในการทำงานของโรงงาน ถ้ามีการส่งมอบช้า ก็ย่อมหมายถึงต้นทุนต้องเพิ่มขึ้น และอาจเสีย
คา่ ชดเชยหรือค่าปรบั ให้กบั ลกู ค้าอีกดว้ ย

4. ป้องกนั ความสูญเสยี อนั เน่อื งมาจากสาเหตุต่าง ๆ เชน่ การขัดข้องจนทำใหเ้ ดนิ เครอื่ งจักรไม่ได้เต็ม
กำลงั หรอื จำเปน็ ต้องหยุดการทำงาน หรอื เครื่องจกั รชำรุดเสยี หาย เปน็ ตน้

5. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ อันเนื่องมาจากเครื่องจักรเดินผิดพลาด หรือชำรุด
เสียหาย ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น และทำให้ผู้ปฏิบัติงานบาดเจ็บ ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าประกัน
เงนิ ชดเชย เงินทดแทน เปน็ ต้น

6. ประหยัดพลังงาน เครื่องจักรจะทำงานได้ต้องอาศัยพลังงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าหาก
เคร่อื งจักรไดร้ บั การดูแลให้อยูใ่ นสภาพท่ีดี เครื่องเดินราบเรยี บไม่สะดดุ ไมม่ กี ารร่วั ไหลของนำ้ มัน มีการเผาไหม้
ท่ีสมบรู ณ์ ก็จะส้ินเปลอื งพลังงานหรอื กำลังน้อยลง ส่งผลให้ประหยัดค่าใชจ้ า่ ยลงได้
2.2 ประเภทของการบำรุงรักษาเคร่ืองจกั ร

การบำรุงรกั ษาตามแผน (Planned Maintenance) จะเป็นการซอ่ มบำรงุ ตามกำหนดการ แผนงาน
หรอื ระบบท่ีเตรียมการไวล้ ่วงหน้า ซง่ึ ไดม้ ีการกำหนดวันเวลา สถานที่และจำนวนผูป้ ฏิบตั ิงานท่ีจะเข้าไป
ดำเนินการไว้แลว้ อย่างชดั เจน โดยแนวทางการบำรุงรกั ษาน้ัน อาจเลือกใช้ชนิดใดชนิดหน่งึ ได้ เชน่ การ
บำรุงรกั ษาเชงิ ป้องกัน การบำรุงรกั ษาเชงิ แกไ้ ขปรบั ปรงุ ส่วนระยะเวลาทีจ่ ะเข้าไปดำเนนิ การอาจจะกำหนด
หรอื วางแผนเขา้ ซ่อมบำรงุ ขณะท่ีเคร่ืองจักรทำงานอยู่ หรือขณะเครอื่ งจักรชำรดุ หรือขณะท่ีโรงงานหยุดทำการ
ซอ่ มบำรงุ อาจกลา่ วได้ว่า การซ่อมบำรุงประเภทนีจ้ ะมปี ัญหาน้อย เพราะมีเวลาเตรยี มการไวแ้ ล้วล่วงหนา้ ทกุ
ข้ันตอน

การบำรงุ รักษานอกแผน (Unplanned Maintenance) เป็นการบำรุงรกั ษานอกระบบงานทีว่ างไว้
อนั มีเหตมุ าจากเครอ่ื งจักรเกดิ การขดั ข้อง ชำรดุ เสยี หายอย่างกะทันหัน จงึ ต้องรีบทำการซ่อมแซมให้เสร็จ
เรียบร้อยทนั การใช้งานครง้ั ต่อไป ซง่ึ การซ่อมบำรุงประเภทนี้จะเกิดปัญหามากกวา่ เพราะไม่ทราบล่วงหน้า จงึ
ทำให้ยุ่งยากในการทจ่ี ะจดั เตรียมผู้ดำเนนิ การ อุปกรณ์ หรืออะไหล่ได้อยา่ งทันทว่ งที

2.3 ชนดิ ของการบำรงุ รกั ษาเครอื่ งจักร
1. การบำรุงรักษาหลงั เกิดเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance) เปน็ การบำรุงรกั ษาเม่ือ

เครอ่ื งจักรเกดิ การชำรุดและหยดุ การทำงานโดยฉกุ เฉนิ กลา่ วไดว้ ่าเป็นวธิ ดี งั้ เดมิ ในการบำรงุ รกั ษา แต่ก็
หลกี เลี่ยงไม่ไดท้ ่ีจะใช้วิธนี ้ี เพราะสามารถเกิดเหตุขัดข้องกับเครอื่ งจักรไดต้ ลอดเวลา แม้ว่าจะมีการบำรุงรักษา
เชงิ ป้องกันทดี่ เี ยย่ี มสักเพียงใดกต็ าม

2. การบำรุงรักษาเชงิ ป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) เปน็ การบำรุงรักษาเพอ่ื ป้องกนั การ
เสื่อมสภาพการเกิดเหตุขดั ข้อง หรือการหยุดทำงานของเครื่องจกั รโดยฉุกเฉนิ โดยอาศยั การตรวจสภาพ
เครื่องจักร การทำความสะอาด ขนั น็อตสกรูใหแ้ นน่ และหลอ่ ลนื่ อย่างถกู วธิ ี มกี ารปรบั แตง่ เคร่อื งจกั ร รวมถึง
การบำรุงและเปลี่ยนชน้ิ สว่ นอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการบำรงุ รกั ษาชนิดนี้ สามารถแบง่ ย่อยได้ 2
แบบ คอื

การบำรุงรกั ษาตามระยะเวลา (Periodic Maintenance หรอื Time Based Maintenance: TBM)
คอื การดำเนนิ การอยเู่ ป็นระยะ ๆ ผ่านการตรวจสอบ ทำความสะอาดอปุ กรณ์ และเปลีย่ นชนิ้ ส่วนอะไหลเ่ พ่ือ
ปอ้ งกนั ความเสียหายอย่างฉับพลนั หรือเกิดปัญหาตอ่ กระบวนการผลติ

การบำรงุ รกั ษาแบบคาดการณ์ (Predictive Maintenance) คอื การใหค้ วามสำคัญและใส่ใจกบั
ชิ้นส่วนทส่ี ำคญั ของเครอื่ งจักร เป็นการคาดการณ์ผ่านการตรวจสอบ หรือวนิ ิจฉยั เพื่อที่จะใหช้ น้ิ ส่วนน้นั ๆ
สามารถใช้งานไดค้ รบอายกุ ารใชง้ านจริง ๆ กลา่ วไดว้ า่ เป็นการบริหารจดั การแนวโน้มของคุณค่า (Trend
Values) โดยอาศยั การตรวจวดั และการวเิ คราะห์ข้อมลู เกย่ี วกับการเส่อื มสภาพอาจกลา่ วได้อีกอยา่ งหน่งึ วา่ เป็น
การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition Based Maintenance: CBM) ดว้ ย โดยมากแล้วจะใชอ้ ปุ กรณ์วิเคราะห์
การส่ัน (Vibration Analyzers) และมรี ะบบเฝา้ ตดิ ตาม (Surveillance System) เพอื่ ตรวจสอบสภาพผา่ น
ระบบออนไลน์ (On–line System)

3. การบำรงุ รกั ษาเชิงแก้ไขปรับปรงุ (Corrective Maintenance) เปน็ การดัดแปลง ปรับปรงุ แกไ้ ข
เคร่อื งจักรหรอื ชน้ิ ส่วนของเครอื่ งจกั ร เพ่อื ขจดั เหตขุ ัดข้องเร้อื รงั ของเคร่ืองจักรใหห้ มดไปโดยส้ินเชิง และ
ปรบั ปรงุ สภาพของเครื่องจักรใหส้ ามารถผลิตได้ดว้ ยคุณภาพและปริมาณทสี่ งู ข้นึ โดยเป็นการพฒั นาความ
นา่ เชื่อถือและง่ายตอ่ การบำรุงรักษา

4. การปอ้ งกนั เพ่ือบำรุงรักษา (Maintenance Prevention) เป็นการดำเนนิ การเพ่ือให้ไดม้ าซง่ึ
เครือ่ งจักรทีไ่ มต่ ้องมีการบำรุงรักษา หรอื บำรุงรกั ษาให้น้อยทส่ี ดุ โดยอาศัยการออกแบบเคร่ืองจักรใหม้ ีความ
แข็งแรง ทนทาน บำรงุ รักษาไดง้ า่ ย มกี ารใช้เทคนิคและวสั ดทุ จี่ ะทำให้เครื่องจักรมีความนา่ เช่ือถอื (Reliability)
สูง รวมถงึ เลือกซ้ือเครอ่ื งจักรท่ีมีประสทิ ธิภาพ ทนทาน ซ่อมง่ายและสมราคา

5. การบำรุงรกั ษาทวีผล (Productive Maintenance) เป็นการบำรงุ รกั ษาทน่ี ำเอาการบำรงุ รักษาท่ี
กล่าวมาขา้ งต้นมาประกอบเข้าดว้ ยกัน เพอื่ ส่งเสริมการผลติ ใหเ้ กดิ ผลสงู สุดเทา่ ทีจ่ ะเป็นไปได้

6. การบำรงุ รกั ษาทวผี ลแบบทกุ คนมีส่วนรว่ ม (Total Productive Maintenance: TPM) เป็นการ
บำรุงรักษาท่ีเน้นการมสี ่วนรว่ มของทกุ คนทง้ั พนักงานปฏิบัตกิ ารในสายการผลิต(Operators) และพนกั งานฝ่าย
ซอ่ มบำรงุ (Maintenance group) ซ่งึ จะรับผดิ ชอบในการบำรุงรกั ษาอปุ กรณ์และเครอ่ื งจักรตา่ ง ๆ ร่วมกัน
2.3 ทฤษฎีแผนผงั เหตุและผลของการวเิ คาระห์เครื่องจักร

แผนผงั ก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรอื เรียกเปน็ ทางการวา่ แผนผังสาเหตุและผล (Cause and
Effect Diagram) แผนผงั สาเหตแุ ละผลเป็นแผนผงั ท่ีแสดงถงึ ความสัมพนั ธร์ ะหว่างปัญหา (Problem) กบั
สาเหตทุ ั้งหมดท่ีเปน็ ไปไดท้ ่ีอาจกอ่ ให้เกิดปญั หานัน้ (Possible Cause) เราอาจคุ้นเคยกับแผนผัง สาเหตแุ ละ
ผล ในชอื่ ของ "ผงั ก้างปลา (Fish Bone Diagram) " เนื่องจากหนา้ ตาแผนภมู ิมีลักษณะ คล้ายปลาท่ีเหลอื แต่
ก้าง หรือหลายๆ คนอาจรู้ จกั ในช่อื ของแผนผงั อิชิกาวา่ (Ishikawa Diagram) ซ่ึง ไดร้ ับการพัฒนาครง้ั แรกเม่ือ
ปี ค.ศ. 1943 โดย ศาสตราจารยค์ าโอรุ อชิ กิ าว่า แห่งมหาวิทยาลยั โตเกยี ว แผนผังสาเหตุและผลคอื อะไร
สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ไดน้ ยิ ามความหมายของผังก้างปลาน้ีว่า "เปน็ แผนผังทใ่ี ช้แสดงความสัมพันธ์
อย่างเปน็ ระบบระหวา่ งสาเหตหุ ลายๆ สาเหตุที่เปน็ ไปได้ที่ ส่งผลกระทบให้เกิดปญั หาหน่ึงปญั หา" เมือ่ ไรจงึ จะ
ใชแ้ ผนผังสาเหตุและผล

1. เม่อื ตอ้ งการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา
2. เมอ่ื ตอ้ งการทำการศกึ ษา ทำความเข้าใจ หรอื ทำความรู้จกั กับกระบวนการอน่ื ๆ เพราะวา่ โดยส่วน
ใหญ่พนักงานจะรปู้ ัญหาเฉพาะในพ้นื ที่ของตนเท่านนั้ แต่เมื่อมีการทำแผนผงั กา้ งปลาแล้ว จะทำให้เราสามารถ
รูก้ ระบวนการของแผนกอนื่ ได้ง่ายขึ้น
3. เมอื่ ตอ้ งการใหเ้ ปน็ แนวทางในการระดมสมอง ซ่งึ จะชว่ ยใหท้ ุกๆ คนให้ความสนใจ ในปญั หาของ
กลุ่มซง่ึ แสดงไว้ทหี่ วั ปลา
วิธีการสรา้ งแผนผงั สาเหตแุ ละผลหรอื ผงั ก้างปลา
สิง่ สำคัญในการสรา้ งแผนผงั คือ ต้องทำเป็นทีม เป็นกลุ่ม โดยใช้ขนั้ ตอน 6 ข้ันตอน ดงั ต่อไปน้ี

1. กำหนดประโยคปัญหาท่ีหวั ปลา
2. กำหนดกล่มุ ปจั จัยที่จะทำให้เกดิ ปญั หานนั้ ๆ
3.ระดมสมองเพื่อหาสาเหตุในแตล่ ะปจั จยั
4. หาสาเหตหุ ลกั ของปัญหา
5. จัดลำดับความสำคญั ของสาเหตุ
6. ใชแ้ นวทางการปรบั ปรุงทจ่ี ําเปน็ โครงสร้างของแผนผังสาเหตแุ ละผล

รูปที่ 2.1 โครงสร้างของแผนผังสาเหตุและผล
ผังก้างปลาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดงั ต่อไปน้ี

ส่วนปญั หาหรือผลลัพธ์ (Problem or Effect) ซง่ึ จะแสดงอยทู่ ่ีหัวปลา
สว่ นสาเหตุ (Causes) จะสามารถแยกย่อยออกได้อีกเป็นดังตอ่ ไปนี้

➢ ปจั จัย (Factors) ท่สี ่งผลกระทบตอ่ ปัญหา (หัวปลา)
➢ สาเหตุหลัก
➢ สาเหตยุ อ่ ย
สาเหตุของปัญหาจะเขียนไวใ้ นก้างปลาแต่ละกา้ งกา้ งย่อยเปน็ สาเหตขุ องก้างรองและ ก้างรองเปน็ สาเหตุของ
ก้างหลัก เป็นต้น
การกำหนดปัจจัยบนกา้ งปลา
เราสามารถทจี่ ะกำหนดกล่มุ ปัจจยั อะไรก็ได้ แต่ต้องมนั่ ใจว่ากลุ่มท่เี รากำหนดไว้เปน็ ปจั จัยนนั้ สามารถ
ทจ่ี ะชว่ ยให้เราแยกแยะและกำหนดสาเหตุต่างๆ ได้อยา่ งเป็นระบบ และเป็นเหตุ เปน็ ผล
โดยส่วนมากมกั จะใชห้ ลกั การ 4M IE เป็นกลุ่มปัจจยั (Factors) เพ่อื จะนําไปสู่การ แยกแยะสาเหตุ
ต่างๆ ซ่ึง 4M IE น้มี าจาก
➢ M Man คนงาน หรอื พนักงาน หรอื บุคลากร
➢ M Machine เครื่องจกั รหรืออุปกรณ์อาํ นวยความสะดวก
➢ M Material วัตถดุ ิบหรอื อะไหล่ อปุ กรณ์อน่ื ๆ ทใี่ ชใ้ นกระบวนการ
➢ M Method กระบวนการทำงาน
➢ E Environment อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการทำงาน

รปู ที่ 2.2 สว่ นประกอบของผังกา้ งปลา

แตไ่ ม่ได้หมายความว่า การกำหนดกา้ งปลาจะตอ้ งใช้ 4M 1E เสมอไป เพราะหากเรา ไมไ่ ด้อยู่ใน
กระบวนการผลิตแล้ว ปจั จัยนําเขา้ (input) ในกระบวนการที่จะเปลีย่ นไป เชน่ ปจั จัยการ นําเข้าเป็น 4P ไดแ้ ก่
Place , Procedure, People และ Policy หรือเป็น 4S Surrounding, Supplier, System และ Skill ก็ได้
หรืออาจจะเปน็ MILK Management, Information, Leadership, Knowledge ก็ได้ นอกจากนน้ั หากกลุ่ม
ที่ใชก้ า้ งปลามปี ระสบการณใ์ นปัญหาทีเ่ กิดข้ึนอยู่แล้ว ก็สามารถทจ่ี ะ กำหนดกลุม่ ปัจจยั ใหมใ่ หเ้ หมาะสมกับ
ปัญหาตั้งแตแ่ รกเลยก็ได้ เช่นกนั
การกำหนดหวั ข้อปัญหาที่หัวปลา

การกำหนดหวั ข้อปัญหาควรกําหนดให้ชัดเจนและมีความเป็นไปได้ ซ่ึงหากเรากำหนด ประโยคปัญหา
นีไ้ ม่ชัดเจนตั้งแต่แรกแลว้ จะทำใหเ้ ราใชเ้ วลามากในการค้นหา สาเหตุ และจะใช้ เวลานานในการทำผังก้างปลา

การกำหนดปัญหาทหี่ ัวปลา เช่น อัตราของเสยี อตั ราชวั่ โมงการทำงานของคนท่ไี ม่มี ประสิทธิภาพ
อัตราการเกิดอบุ ตั เิ หตุ หรอื อัตราต้นทุนตอ่ สินค้าหน่ึงช้ิน เป็นต้น ซง่ึ จะเหน็ ไดว้ า่ ควรกำหนดหัวข้อปญั หาในเชงิ
ลบ

เทคนิคการระดมความคดิ เพือ่ จะได้กา้ งปลาทลี่ ะเอยี ดสวยงาม คือ การถาม ทําไม ทําไม ทาํ ไม ในการ
เขียนแตล่ ะกา้ งย่อยๆ
ขอ้ ดี

1. ไม่ตอ้ งเสยี เวลาแยกความคิดตา่ ง ๆ ทกี่ ระจัดกระจายของแตล่ ะสมาชิก แผนภมู ิ ก้างปลาจะช่วย
รวบรวมความคดิ ของสมาชกิ ในทีม

2. ทำใหท้ ราบสาเหตหุ ลกั ๆ และสาเหตยุ อ่ ย ๆ ของปัญหา ทำใหท้ ราบสาเหตุที่แทจ้ รงิ ของปัญหา ซง่ึ
ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ถกู วธิ ี
ขอ้ เสีย

1. ความคดิ ไม่อสิ ระเน่อื งจากมแี ผนภูมิกา้ งปลาเป็นตวั กำหนดซง่ึ ความคิดของสมาชิก ในทมี จะมา
รวมอย่ทู ่ีแผนภมู กิ ้างปลา

2. ต้องอาศยั ผูท้ ีม่ ีความสามารถสงู จึงจะสามารถใชแ้ ผนภมู ิกา้ งปลาในการระดมความคิด
Chart แผนภูมแิ ท่ง

แผนภมู แิ ทง่ คือ แผนภมู ิท่ีประกอบดว้ ย แกนสองแกน คอื แกนนอนและแกนตงั้ และรูป
สเ่ี หลี่ยมผืนผ้าท่มี ีความกว้างของแต่ละรูปเท่ากัน สว่ นความยาวจะแปรตามขนาดของข้อมลู เรียกรปู สี่เหล่ียม
แต่ละรปู น้ีวา่ แท่ง (bar) การนาํ เสนอข้อมลู อาจจดั ใหแ้ ท่งแตล่ ะแทง่ อยใู่ นแนวตงั้ หรือ แนวนอนก็ได้ โดยวาง
เรยี งให้ชิดกนั หรอื ห่างกนั เล็กน้อยเท่าๆ กนั ก็ได้ พร้อมท้ังเขียนรายละเอยี ด ของแตล่ ะแท่งกำกบั ไว้ นอกจากน้ี
เพือ่ ความสวยงาม อาจจะใช้วิธแี รเงาหรือระบายสี เพ่ือใหด้ ู สวยงามและสะดวกในการศึกษาเปรยี บเทียบข้อมลู
ที่เหมาะสำหรบั การใชแ้ ผนภูมิแทง่ ในการ นําเสนอข้อมูล ได้แก่ ข้อมลู ที่จาํ แนกตามคณุ ภาพ ตามกาลเวลา และ
ตามภูมิศาสตรแ์ ผนภมู แิ ท่ง จําแนกไดห้ ลายประเภท ไดแ้ ก่ แผนภมู แิ ท่งเชงิ เดยี ว แผนภูมิแทง่ เชงิ ซ้อน แผนภูมิ

แท่ง สว่ นประกอบ แผนภูมิแทง่ บวก-ลบ แผนภมู ิแทง่ ซ้อนกัน แผนภมู แิ ท่งปิระมดิ ในชั้นนจี้ ะกลา่ วถึง แผนภูมิ
แทง่ เชงิ เดียวและแผนภมู แิ ทง่ เชิงซอ้ นเทา่ น้ัน

รูปที่ 2.3 ตวั อยา่ งแผนภูมิแท่ง
2.4 ทฤษฎีเครือ่ งมือคณุ ภาพ 7 ชนิด ( 7 QC Tools)
ความเปน็ มา

ในปี ค.ศ. 1946 JUSE หรือ Union of Japanese Scientists and Engineers ไดถ้ ูกก่อตง้ั ขน้ึ พรอ้ ม
ๆ กบั การจัดตัง้ กลุม่ Quality Control Research Group ขึน้ เพื่อคน้ คว้าให้การศึกษาและ เผยแพร่ความรู้
ความเข้าใจในเร่ืองระบบการควบคมุ คุณภาพทว่ั ทั้งประเทศ โดยมีจุดหมายเพ่ือลบ ภาพพจนส์ นิ คา้ คุณภาพตํา่
ราคาถกู ออกจากสนิ ค้าท่ี "Made in Japan" และเพิ่มพลังการสง่ ออกไป พร้อม ๆ กนั

หลงั จากน้ันมาตรฐานอตุ สาหกรรมของประเทศญ่ีปุ่น ซ่งึ ก็คือ Japanese Industrial Standards (JIS)
marking system ได้ถกู กำหนดเป็นกฎหมายในปี ค.ศ. 1950 พร้อม ๆ กับการเชอื่ เชญิ Dr. W. E. Deming
มาเปดิ สัมมนาทาง QC ให้แก่ผบู้ ริหารระดบั ตา่ ง ๆ และวิศวกรในประเทศ นบั เปน็ การจุดประกายของการ
ตระหนกั ถึงการพฒั นาคุณภาพ อันตามมาดว้ ยการก่อตง้ั รางวัล Deming Prize อนั มีชือ่ เสยี ง เพ่อื มอบให้แก่
โรงงานซ่ึงมีความก้าวหนา้ ในการพัฒนาคุณภาพดเี ดน่ ของประเทศ

ตอ่ มาในปี ค.ศ. 1954 Dr. J. M. Juran ได้ถูกเชิญมายังประเทศญป่ี ่นุ เพ่ือสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่
ผบู้ ริหารระดบั สูงภายในองค์กรในการนําเทคนคิ เหลา่ นีม้ าใช้งาน โดยไดร้ ับความ ร่วมมือจากพนักงานทุก ๆ คน
นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพฒั นาและรวบรวมเครื่องมือทใ่ี ชใ้ นการ ควบคุมคณุ ภาพรวม 7 ชนดิ ที่เรียกว่า QC 7
Tools มาใช้

เครอ่ื งมือควบคุมคุณภาพทัง้ 7 ชนดิ นี้ ต้ังช่อื ตามนกั รบในตํานานของชาวญป่ี นุ่ ทช่ี อื่ "บงเค " (Ben-ke)
ผ้ซู ง่ึ มอี าวธุ อนั ร้ายกาจแตกตา่ งกนั 7 ชนิด พกอยูท่ ่หี ลงั และสามารถเลือกดึงมาใช้ สยบคู่ต่อสู้ทม่ี ีฝีมือร้ายกาจ
คนแล้วคนเล่า สำหรับเคร่ืองมือท้ัง 7 ชนิด สามารถแจกแจงได้ดังนี้

1. ผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) หรือผงั ก้างปลา (Fishbone Diagram)
บางครง้ั เรยี กวา่ Ishikawa Diagram ซงึ่ เรียกตามช่ือของ Dr.Kaoru Ishikawa ผู้ซงึ่ เร่มิ นาํ ผงั นม้ี าใช้ในปี ค.ศ.
1953 เป็นผังที่แสดงความสมั พนั ธร์ ะหว่างคุณลักษณะ ทางคุณภาพกบั ปจั จยั ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. แผนภมู ิพาเรโต (Pareto_Diagram) เปน็ แผนภูมิทใี่ ช้แสดงใหเ้ ห็นถงึ ความสัมพันธ์ ระหว่าง สาเหตุ
ของความบกพร่องกบั ปริมาณความสญู เสยี ทเ่ี กิดขน้ึ

3. กราฟ (Graphs) คือภาพลายเส้น แท่ง วงกลม หรอื จดุ เพ่อื ใช้แสดงคา่ ของข้อมูลว่า ความสัมพนั ธ์
ระหวา่ งขอ้ มลู หรือแสดงองค์ประกอบต่าง ๆ

4. แผ่นตรวจสอบ (Checksheet) คือแบบฟอร์มทมี่ ีการออกแบบช่องวา่ งต่าง ๆ ไวเ้ พ่ือใช้ บนั ทึก
ข้อมูลได้ง่ายและสะดวก

5. ฮีสโตแกรม (Histogram) เป็นกราฟแท่งที่ใช้สรุปการอนุมาน (Inference) ข้อมลู ตา่ งๆ เพอื่ ทจี่ ะใช้
สรปุ สถานภาพของกล่มุ ข้อมลู น้ัน

6. ผังการกระจาย (Scatter Diagram) คือ ผังทใี่ ช้แสดงคา่ ของขอ้ มูลทีเ่ กิดจาก ความสมั พันธ์ของตวั
แปรสองตัวว่ามแี นวโน้มไปในทางใด เพ่ือทจ่ี ะใชห้ าความสัมพนั ธท์ ีแ่ ทจ้ รงิ

7. แผนภูมิควบคมุ (Control Chart) คอื แผนภมู ิท่ีมีการเขียนขอบเขตทีย่ อมรบั ไดข้ อง คุณลกั ษณะ
ตามข้อกาํ หนดทางเทคนิค (Specification) เพื่อนําไปเปน็ แนวทางในการควบคมุ กระบวนการผลิต โดยการ
ตดิ ตามและตรวจจับขอ้ มูลท่อี อกนอกขอบเขต (Control limit)

2.4.1 ทฤษฎเี ครือ่ งมอื คณุ ภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools)

เครอ่ื งมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools) เป็นเครอ่ื งมอื ทใ่ี ช้สําหรบั วางแผน และ
ปอ้ งกนั ปัญหา เพ่ือให้ได้นโยบาย และมาตรการเชงิ รกุ ท่ีชดั เจน เปน็ รปู ธรรม เครือ่ งมือ คุณภาพใหม่ 7 อย่าง
ประกอบดว้ ย

1. แผนภูมกิ ารจดั กลมุ่ ความคิด (Affinity Diagram) เปน็ เคร่อื งมือทมี่ ปี ระสิทธิภาพใน การระดมและ
รวบรวมความคดิ ท่ีกระจัดกระจายของคนทเ่ี ป็นสมาชิกในกลุ่มมาจัดเรยี งให้เป็น หมวดหมู่ หรือกลุม่ ตาม
ลกั ษณะทม่ี ีความเก่ยี วขอ้ งซงึ่ กนั และกนั หรือมีความหมายทีค่ ล้ายคลึงกัน เพื่อท่จี ะได้นาํ กลุ่มความคิดเหล่าน้ัน
ไปใชป้ ระโยชนต์ ่อไป

2. แผนภมู ิแสดงความสมั พันธ์ (Relation Diagram) เปน็ เครอ่ื งมือทใี่ ช้สำหรบั แกไ้ ขเรอื่ ง ยงุ่ ยากโดย
การคล่คี ลายการเช่อื ม โยงกนั อยา่ งมเี หตุผล (Logical connection) ระหวา่ งสาเหตุ และผล ที่ เกดิ ขึ้น ซึ่ง
เก่ียวข้องกัน (หรือ วัตถปุ ระสงค์ และกลยทุ ธท์ ีจ่ ะบรรลุ ความสำเรจ็ ในเรือ่ งน้ี รปู แบบ ของแผนผังความสัมพันธ์
หลัก ๆ มอี ยู่ 4 แบบ ได้แก่ แบบรวม ศนู ย์ แบบมีทิศทาง แบบแสดง ความสมั พันธ์ และแบบตามการ
ประยุกตใ์ ช้

3. แผนภูมิตน้ ไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram) ใช้เพ่ือหาแนวทางแก้ไข ป้องกัน ในรูปของ แผนงาน/
แนวทางหรอื วิธกี าร โดยตอบคําถามวา่ “ทำอย่างไร” เพ่ือมงุ่ ส่วู ัตถุประสงค์ เปา้ หมายที่ อยากเปน็ โดยการ
มงุ่ เน้นไปท่ตี น้ ตอหรือสาเหตุท่แี ทจ้ ริงของปัญหา จากแผนภูมแิ สดง ความสัมพนั ธ์ (Relation Diagram

4. แผนภมู เิ มตริกซ์ (Matrix Diagram) เปน็ เครอ่ื งมือทช่ี ่วยหาความสมั พนั ธ์ของ วัตถุประสงค์
เปา้ หมาย และแผนงาน/มาตรการ/วธิ ีการ ท่ไี ด้จากการเสนอแนะขึ้นว่าแนวทางใด นา่ จะมคี วามเปน็ ไปได้ มี
ความคุม้ คา่ และสง่ ผลกระทบใหบ้ รรลุถงึ เปา้ หมายไดก้ ่อน โดยใช้ ทรพั ยากรท่มี ีอย่จู าํ กดั อย่างเต็ม
ประสิทธภิ าพ/ประสิทธิผล

5. แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชงิ เมตริกซ์ (Matrix Data Analysis Chart) เคร่ืองมือทีใ่ ช้
เปรยี บเทียบสมรรถนะ (Benchmark) จากมุมมองของลกู ค้าและเทียบกบั คู่แข่งที่เป็นผู้นาํ ในด้าน สนิ ค้า หรอื
บริการคล้ายๆกบั องคก์ รของเรา วิธนี ้ีจะทำใหเ้ หน็ ภาพวา่ องค์กรเราอยู่ในตำแหน่งใด (Positioning) เพื่อมองกล
ยทุ ธใ์ นการบรหิ ารจัดการท่เี หมาะสมต่อไปอย่างถกู ทิศทาง

6. แผนภาพทางเลอื กตัดสนิ ใจ เพื่อบริหารความเสย่ี ง (Process Decision Program Chart) เป็น
เครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซงึ่ อาจเป็นแผนงาน มาตรการมวิธกี าร โดยมุง่ เนน้ ไปยังอุปสรรคที่ น่าจะมโี อกาส
เกดิ ขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวตั ถปุ ระสงค์เปา้ หมายที่กำหนดไว้ เมื่อ ทราบถึงทกุ อปุ สรรคใน
กระบวนการกส็ ามารถหาแนวทางในการขจัดอปุ สรรคทุกประเภทท่ีอาจ เกิดขนึ้ ได้ในอนาคต คล้ายกับการมี
แผนปฏบิ ตั กิ ารฉกุ เฉินรองรับไว้เผือ่ สำหรบั การเปลีย่ นแปลง หรอื ความไมแ่ นน่ อนทจี่ ะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำ
ใหอ้ งค์กรมีความม่นั ใจต่อการเผชญิ

7. แผนภมู ลิ ูกศร (Arrow Diagram) เปน็ การวางแผนงานที่มกี ารกำหนดกจิ กรรม ผรู้ ับผิดชอบ
ระยะเวลา และลำดบั ก่อนหลงั ของแตล่ ะกิจกรรมวา่ กจิ กรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อทจ่ี ะบริหารโครงการหรือ
แผนงานใหบ้ รรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
2.5 ทฤษฎี 5 ส

5ส เป็นการนาํ อักษรตวั หนา้ ของคําภาษาอังกฤษท่ีเขียนตามการออกเสยี งในภาษาญ่ีปุ่น มาใชเ้ พื่อ ให้
สามารถจดจาํ ได้งา่ ยจึงกลายมาเปน็ คาํ ว่า 5ส ตามลำดับดังนี้

S1 : SEIRI : สะสาง: ส1 (Clearing Up)
S2 : SEITON : สะดวก : ส2 (Organizing)
S3 : SEISO : สะอาด : ส3 (Cleaning)
S4 : SEIKETSU : สร้างมาตรฐาน : ส4 (Standardizing)
S5 : SHITSUKE : สร้างนสิ ัย : สร Training & Discipline)
ญี่ปนุ่ ได้นํา ส.แตล่ ะตวั ไปใช้และพฒั นาอย่างจรงิ จัง โดยจัดทำให้เปน็ ระบบมีการกำหนด ขนั้ ตอน ใน
การดำเนนิ กิจกรรม มีการติดตามผลงานเป็นระยะๆ อีกทงั้ ยงั มีวิธกี ารควบคุมกจิ กรรมให้ เกิดความยงั่ ยืนได้ จงึ
ไดร้ บั ความนิยมและเผยแพร่ไปทั่วประเทศญป่ี นุ่
วตั ถปุ ระสงคข์ อง 5ส
5ส. เปน็ ปัจจยั พ้นื ฐานในการบรหิ ารงานอย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ นบั เป็นเครื่องมือตวั แรกที่ ถูกนำมาใช้
ก่อนทจี่ ะใช้เคร่ืองมือระดับสูงข้ึนไป เช่น TPM TQM และ ISO เปน็ ตน้ โดยกาํ หนดให้ ส1 ,ส2 ,ส3 เป็นการ
จัดการในเรอ่ื งของวัตถสุ ง่ิ ของเครื่องใช้ และสถานท่ี สว่ น ส4 และ สร เป็นการ จัดการเร่ืองของคน โดยมี

เป้าหมายให้สถานทีทำงานสะอาด เปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ย ลดความสูญเปลา่ ในการทำงาน สินค้ามีคุณภาพดี
เปน็ ทปี่ ระทบั ใจของลูกคา้ ตลอดไป

1. องค์ประกอบของ 5ส
กจิ กรรม 5ส น้นั ส.ทกุ ตัวจะถูกกำหนดคาํ นิยามไวเ้ พื่อให้เกิดความรูค้ วามเข้าใจ และ นําไปสู่การ
ปฏิบตั ไิ ด้อยา่ งถกู ต้องดงั นี้
ส1 : สะสาง คือการแยกของทจ่ี ําเปน็ ออกจากของท่ีไม่จําเปน็ และขจดั ของทไ่ี ม่จาํ เปน็ ออกไปโดย
กําหนดข้ันตอนไว้ 3 ขนั้ ตอนประกอบด้วยสาํ รวจ แยก และ ขจดั
ส2 : สะดวก คอื การจัดวางหรือจดั เก็บส่งิ ของต่างๆ ในสถานท่ที าํ งานอย่างเป็นระบบเพือ่ ความ
สะดวกปลอดภัยและคงไวซ้ ึง่ คุณภาพประสทิ ธิภาพในการทาํ งานโดยกําหนดขัน้ ตอนไว้ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย
กาํ หนดของทีจ่ ําเปน็ แบง่ หมวดหมู่ จัดเก็บให้เป็นระบบมรี ะเบียบ
ส3 : สะอาด คือการทาํ ความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถ)ู เคร่ืองมือ เครอื่ งจกั ร อุปกรณ์ สถานทีแ่ ละใช้
เป็นการตรวจสอบและบาํ รุงรักษาไปดว้ ยโดยกําหนดขนั้ ตอนไว้ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย กําหนดพนื้ ที่
รับผิดชอบ ขจดั ตน้ เหตขุ องความสกปรกปัด กวาด เช็ด ถูพื้นใหส้ ะอาด และ ทาํ ความสะอาดแม้แตจ่ ุดเล็กๆ
ส4 : สร้างมาตรฐาน คือการรักษามาตรฐานของความเปน็ ระเบียบเรียบรอ้ ยใหค้ งอยู่ ตลอดไป ไม่มี
ส่ิงของไมจ่ าํ เป็นอยใู่ นพ้นื ท่ี ไม่มีสภาพรกรงุ รัง ไม่มีสิ่งสกปรกตกค้าง
ส5 : สรา้ งนสิ ยั คือการสร้างนิสยั ในการมจี ติ สํานึก ทัศนคติท่ดี ใี นการปฏิบตั งิ านตาม ระเบียบและ
ข้อบงั คับอยา่ งเครง่ ครดั รวมท้ัง อบรมให้พนกั งานรู้จกั ค้นคว้า และปรับปรุงสถานท่ีทํางาน
2. ประโยชนข์ อง 5ส
5ส มีคณุ ค่าในการพัฒนาคนใหป้ ฏบิ ตั กิ ิจกรรมจนเกิดเปน็ นิสัยทีด่ มี วี นิ ยั อันเปน็ รากฐานของระบบ
คุณภาพเพราะเปน็ กจิ กรรมท่ีฝกึ ให้ทุกคนร่วมกนั คดิ ร่วมกันทําเป็นทมี ค่อยเป็น ค่อยไปไม่ย่งุ ยาก ไมร่ ู้สึกว่าการ
ปฏิบัติงานอยา่ งมรี ะเบยี บวินัยเป็นภาระเพิม่ ข้นึ อกี ต่อไป ซึ่งจะเป็น ประโยชนต์ ่อองคก์ ารดังต่อไปนี้
• สงิ่ แวดลอ้ มในการทาํ งานดี เป็นการเพ่ิมขวัญกําลงั ใจให้แก่พนักงาน
• ลดอบุ ตั ิเหตใุ นการทํางาน
• ลดความส้ินเปลืองในการจดั ซื้อวสั ดุเกนิ ความจําเปน็
• ลดการสญู หายของวสั ดุ เคร่ืองมือ และอุปกรณต์ า่ งๆ
• พ้นื ทก่ี ารทํางานเพิ่มขน้ึ จากการขจัดวัสดุท่เี กินความจําเป็นออกไป
• เพ่มิ ความสะดวกและรวดเรว็ ในการทํางานมากขนึ้
• สถานท่ีทาํ งานสะอาดเปน็ ระเบียบเรียบร้อยสรา้ งความประทบั ใจใหเ้ กดิ
ข้ึนกบั ลกู คา้
• พนกั งานมีการทาํ งานรว่ มกันเปน็ ทีมมากขนึ้
• สรา้ งความรูส้ กึ เป็นเจา้ ของต่อองค์การของพนักงาน

2.5 วงจรเดมม่ิง PDCA
PDCA คอื วงจรท่ีพฒั นามาจากวงจรท่คี ิดคน้ โดยวอล์ทเตอร์ ซิวฮารท์ (Walter - Shewhart)ผู้บกุ เบิก

การใช้สถิตสิ าหรับวงการอุตสาหกรรมและต่อมาวงจรนเ้ี ร่มิ เป็นที่ร้จู ักกนั มากขน้ึ เม่ือ เอดวาร์ด เดมมิ่ง
(W.Edwards Deming) ปรมาจารย์ด้านการบรหิ ารคุณภาพเผยแพร่ใหเ้ ปน็ เคร่อื งมือสาหรับการปรบั ปรุง
กระบวนการทางานของพนกั งานภายในโรงงานใหด้ ยี ิ่งข้นึ และชว่ ย ค้นหาปญั หาอุปสรรคในแตล่ ะขนั้ ตอนการ
ผลติ โดยพนักงานเอง จนวงจรนี้เปน็ ทีร่ จู้ กั กนั ในอีกช่อื วา่ “วงจรเตม็ ม่ิง” ต่อมาพบว่า แนวคดิ ในการใชว้ งจร
PDCA นั้นสามารถนามาใชไ้ ด้กบั ทุกกจิ กรรม จึง ทาให้เป็นที่ร้จู กั กนั อย่างแพรห่ ลายมากข้ึนทวั่ โลก PDCA เป็น
อกั ษรนาของศัพท์ภาษาอังกฤษ 4 คาํ คือ

• P : Plan = วางแผน
• D : D0 = ปฏบิ ัตติ ามแผน
• C: Check = ตรวจสอบ / ประเมนิ ผลและนาผลประเมินมาวเิ คราะห์
• A : Action = ปรบั ปรุงคาเนนิ การให้เหมาะสมตามผลการประเมิน

รูปท่ี 2.4วงจรเคมมิ่ง
การวางแผน (Plan: P) เปน็ สว่ นประกอบของวงจรที่มีความสาํ คัญ เน่อื งจากการวางแผนเป็น จุดเร่ิมต้นของ
งานและเป็นส่วนสําคญั ที่จะทาใหก้ ารทางานในสว่ นอ่ืน เป็นไปอย่างมปี ระสิทธิผล การวางแผนในวงจรเคมมิ่ง
เปน็ การหาองค์ประกอบของปัญหา โดยวธิ กี ารระดมความคดิ การหา สาเหตุของปญั หา การหาวธิ กี าร
แก้ปัญหา การจัดทาตารางการปฏบิ ัตงิ าน การกาํ หนดวธิ ีดาเนนิ การ การกําหนดวิธีการตรวจสอบ และ
ประเมินผล ในขัน้ ตอนน้ี มกี ารดาเนนิ การดงั นี้

1. ตระหนกั และกาํ หนดปัญหาทตี่ อ้ งการแก้ไข หรอื ปรับปรุงให้ดีขนึ้ โดยสมาชกิ แต่ละ คนร่วมมอื และ
ประสานกนั อยา่ งใกลช้ ิด ในการระบุปัญหาที่เกิดขนึ้ ในการดาเนนิ งาน เพื่อทจี่ ะ ร่วมกนั ทาการศึกษาและ
วเิ คราะหห์ าแนวทางแก้ไขต่อไป

2. เกบ็ รวบรวมขอ้ มูล สาหรับการวเิ คราะห์และตรวจสอบการดาเนินงาน หรอื หาสาเหตุ ของปัญหา
เพื่อใชใ้ นการปรบั ปรุง หรือแกไ้ ขปัญหาท่ีเกิดขน้ึ ซ่ึงควรจะวางแผนและดาเนนิ การเกบ็ ข้อมลู ใหเ้ ป็นระบบ
ระเบียบ เข้าใจง่าย และสะดวกตอ่ การใช้งาน เช่น ตารางตรวจสอบ แผนภมู ิ แผนภาพ หรอื แบบสอบถาม เป็น
ตน้

3. อธิบายปญั หาและกําหนดทางเลือก วเิ คราะหป์ ญั หา เพ่ือใชก้ าํ หนดสาเหตุของความ บกพร่อง
ตลอดจนแสดงสภาพปัญหาที่เกิดข้ึน ซงึ่ นยิ มใช้วิธีการเขียนและวเิ คราะห์แผนภมู ิหรอื แผนภาพ เช่น แผนภมู ิ
ก้างปลา แผนภูมิพาเรโต และแผนภูมิการควบคุม เปน็ ตน้ เพ่ือให้สมาชกิ ทุก คน ในทีมงานคณุ ภาพเกิดความ
เข้าใจในสาเหตแุ ละปญั หาอย่างชดั เจน แลว้ รว่ มกนั ระดมความคดิ


Click to View FlipBook Version