The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักการของระบบฐานข้อมูล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ลัญนาธิป กรุงกริ่ง, 2022-06-07 00:28:41

การจัดการฐานข้อมูล บทที่1

หลักการของระบบฐานข้อมูล

โปรแกรมฐานข้อมูล

นำเสนอโดย

น.ส.ลัญนาธิป อยู่เย็น

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มี
ความสัมพันธ์กัน

นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่
ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์

การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็
รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อ
จนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วน

นี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้
ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล
สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา
หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้
รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็
สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูล
ทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้

ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

หลักการระบบ
ฐานข้อมูล

คำศัพท์พื้นฐานของระบบฐานข้อมูล
ประโยชน์ของการใช้ฐานข้อมูล

การนอร์มัลโลเซชั่น

คำศัพท์พื้นฐานของ

ระบบฐานข้อมูล

คำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล



การประมวลผลในระบบแฟ้มข้อมูล ซึ่งมีการแบ่งระดับของข้อมูลในฐานข้อมูล
ไว้ดังต่อไปนี้



1. บิต (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด



2. ไบต์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิตมารวมกัน



3. ฟิลด์ (Field) หมายถึง เขตของข้อมูลมารวมกันแล้วได้ความหมายเป็นคำ



4. เรคคอร์ด (Record) หมายถึง ระเบียนหรือหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำ
เอาฟิลด์หรือเขตข้อมูลหลายๆเขตข้อมูลที่เกี่ยวข้องมารวมกัน



5. ไฟล์ (File) หมายถึงข้อมูลหรือหน่วยของข้อมูลที่เดจากการนำข้อมูลหลายๆ
ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกัน

6. เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม



7. แอททริบิวต์ (Attribute) หมายถึง รายละเอียดที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติ
ของแอททริบิวต์หนึ่งๆ



8. ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่ง
ออกเป็น 3 ประเภทคือ



8.1 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to one Relationships)



8.2 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to many Relationships)

ประโยชน์ของการใช้ฐาน
ข้อมูล

การจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะทำให้เกิด
ประโยชน์ ดังนี้

1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิด
ความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมา
รวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหาการเกิด

ความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐาน
ข้อมูล (Database Management System : DBMS)
จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการ
ฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน

อยู่ที่ใดบ้าง

2
. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
หากมี การเก็บข้อมูล ชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมี
การปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุก
ที่ ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิด
เดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกัน ในแต่ละที่ ที่เก็บข้อมูล
อยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น

(Inconsistency)

3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดัง
นั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูล ใน ฐานข้อมูลที่มาจาก

แฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย

4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
บางครั้งพบว่า การจัดเก็บข้อมูล ในฐานข้อมูล อาจมีข้อผิด
พลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูล ป้อนข้อมูลผิด
พลาด คือป้อนจากตัวเลขหนึ่ง ไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดย
เฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคน ต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วม
กัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่ง แก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้
อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล
(DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาด

ที่เกิด



5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูล จะทำให้สามารถ

กำหนด มาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ใน
การจัดเก็บข้อมูล ให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการ
กำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ
ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า
ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)

เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ
6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มี
สิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐาน
ข้อมูล จะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูล ของผู้ใช้

แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม
7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
ในระบบฐานข้อมูล จะมีตัวจัดการฐานข้อมูล ที่ทำหน้าที่เป็น
ตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็น
ต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบาง
ครั้ง จึงอาจกระทำ เฉพาะกับโปรแกรม ที่เรียกใช้ข้อมูล ที่
เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดัง
กล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง

การนอร์มัลโลเซชั่น

การทำนอร์มัลไลเซชัน เป็นวิธีการในการ
กำหนดแอตทริบิวต์ให้กับแต่ละเอนทิตี เพื่อ

ให้ได้โครงสร้างของตารางที่ดี
สามารถควบคุมความซ้ำซ้อนของข้อมูลหลีก

เลี่ยงความผิดปกติของข้อมูล โดยทั่วไป
ผลลัพธ์ของการนอร์มัลไลเซชัน จะได้ตาราง
ที่มีโครงสร้างซับซ้อนน้อยลง แต่จำนวนของ

ตารางจะมากขึ้น
การทำนอร์มัลไลเซชัน จะป
ระกอบด้วยนอร์มัลฟอร์ม (Normal


Form)

แบบต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขของการทำให้อยู่ในรูปของนอร์มัลฟอร์มที่
แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบฐานข้อมูลว่า ต้องการลด

ความซ้ำซ้อนในฐานข้อมูลให้อยู่ในระดับใด ซึ่งประกอบด้วยนอร์มั
ลฟอร์มแบบ
ต่าง ๆ

ถึงแม้ว่าการนอร์มัลไลเซชัน จะเป็นสิ่งสำคัญและ
จำเป็นที่สุดสำหรับการออกแบบฐานข้อมูล แต่ก็ไม่
ได้หมายความว่าจะต้องทำการนอร์มัลไลเซชันจนถึง
ระดับนอร์มัลฟอร์มที่ 5 โดยทั่วไปการแสดงผล
ข้อมูลจากตารางที่อยู่ในนอร์มัลฟอร์มที่ 5 จะมีการ

เชื่อมต่อตารางเป็นจำ
นวนมาก ทำให้การแสดงผลและการโต้ตอบ
ระหว่างระบบฐานข้อมูลกับผู้ใช้กระทำได้ช้า การ
ออกแบบฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องพิจารณาถึงความ
ต้องการของผู้ใช้และต้องสามารถตอบสนองได้
อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นในบางกรณีจึงมีการลด
ระดับการนอร์มัลไลเซชันในบางส่วนของการ
ออกแบบฐานข้อมูล เพื่อให้ระบบสามารถตอบสนอง
ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ การลดระดับการน
อร์มัลไลเซชัน (Denormalization) เป็นวิธีการลด
ระดับของนอร์มัลฟอร์มลงมา เช่น การแปลงจาก
3NF มาเป็น 2NF อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะได้รับเพิ่ม
ขึ้นมาจากการลดระดับการนอร์มัลไลเซชัน นอกจาก
ความเร็วที่ดีขึ้นแล้ว ความซ้ำซ้อนของข้อมูลก็เพิ่ม
สูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรนำมาพิจารณาอย่าง

ระมัดระวัง


Click to View FlipBook Version