หน่วยที่ 12 กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
1. อธิบายสาระสำ คัญของบทบัญญัติของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ได้ 2. วิเคราะห์สาระสำ คัญของบทบัญญัติของกฎหมายทรัพย์สินเกี่ยวกับสิทธิบัตรได้ 3.ปฎิบัติตนตามสาระสำ คัญของบทบัญญัติของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับครื่องหมายการค้าได้ สาระการเรียนรู้ สมรรถนะประจำ หน่วย 1. ลิขสิทธิ์ 2. สิทธิบัตร 3. เครื่องหมายการค้า 1. แสดงความรู้ของหลักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า 2. วิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า 3. ปฎิบัติตนในการดำ เนินชีวิตและประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จุดประสงค์การเรียนรู้
กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร แผนผังความคิด ลิขสิทธิ์ นิยามศัพท์ งานอันมีลิขสิทธิ์ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ ข้อยกเวินการละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิของนักแสดง นิยามศัพท์ การขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า การแก้ไขเปลี่ยนแปลง การจดทะเบียนเครื่อง หมายการค้า การอนุญาตให้ใช้เครื่อง หมายการค้า นิยามศัพท์ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ การออกสิทธิบัตร สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร การใช้สิทธิตามสิทธิ บัตร สิทธิบัตรการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ อนุสิทธิบัตร
กฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งมีสาระสำ คัญ ดังนี้ 1. ลิขสิทธิ์ 1.1 นิยามศัพท์ ในพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 4) ผู้สร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์ หมายความว่า ผู้ทำ หรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญํตินี้ หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำ การใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำ ขึ้น วรรณกรรม หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำ ขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำ ปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความว่า คำ สั่ง ชุดคำ สั่ง หรือสิ่งอื่นใดทีี่นำ ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำ งาน หรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด นาฏกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำ ท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความ รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
ศิลปกรรม หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (1) งานจิตรกรรม (4) งานสถาปัตยกรรม (7) งานศิลปประยุกต์ (2) งานประติมากรรม (5) งานภาพถ่าย (3) งานภาพพิมพ์ (6) งานภาพประกอบ ดนตรีกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำ นองและคำ ร้องหรือมีทำ นองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว โสดทัศนวัสดุ หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำ นองและคำ ร้องหรือมีทำ นองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว ภาพยนตร์ หมายความว่า โสดทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำ ดับของภาพ ซึ่งสามาารถนำ อออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือ สามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำ ออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบ ภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี
สิ่งบันทึกเสียง หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำ ดับของเสียงดนตรีเสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่า จะมีลักษณะใดๆ อันสามารถที่จะนำ มาเล่นซ้ำ ได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำ เป็นสำ หรับการใช้วัสดุนั้น นักแสดง หมายความว่า ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำ และผู้ซึ่งแสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทหรือ ในลักษณะอื่นใด งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หมายความว่า งานที่นำ ออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทาง วิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน ทำ ซ้ำ หมายความว่า คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใดๆ เลียนแบบ ทำ สำ เนา ทำ แม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพหรือบันทึกเสียง และภาพ จากต้นฉบับ จากสำ เนา หรือโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำ คัญ ดัดแปลง หมายความว่า ทำ ซ้ำ โดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพ่ิมเติม หรือจำ ลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำ คัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำ งานขึ้นใหม่
เผยแพร่ต่อสาธารณชน หมายความว่า ทำ ให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำ ให้ปรากฏด้วย เสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำ หน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำ ขึ้น การโฆษณา หมายความว่า การนำ สำ เนาจำ ลองของงานไม่ว่าในรูปหรือลักษณะอย่างใดที่ทำ ขึ้นโดยความยินยอมของผู้สร้างสรรค์ ออกจำ หน่าย ข้อมูลการบริหารสิทธิ หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและ เงื่อนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทนข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏ เกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกกการแสดง มาตราการทางเทคโนโลยี หมายความว่า เทคโนโลยีที่ใช้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ เทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น สร้างสรรค์ที่ผู้สร้างสรรค์ได้แสดงออกซึ่งความคิดโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้ใช้ความรู้ ความชำ นาญ ทักษะ และความสามารถของผู้สร้างสรรค์ ในการทำ หรือก่อให้เกิดงานนั้นขึ้นด้วยตนเอง และงานนั้นต้องทำ หรือก่อให้เกิดขึ้นโดยมีการใช้ความวิริยะอุตสาหะและ แรงงานของผู้สร้างสรรค์ในขนาดหรือระดับที่เหมาะสมแก่สภาพของงานที่สร้างสรรค์ขึ้นตลอดจนการใช้วิจารณญาณจาก ประสบการณ์ในการทำ หรือก่อให้เกิดงานนั้นๆ ตามควรแก่สภาพของงานด้วย 1.2 งานอันมีลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสด ทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ งานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 นั้นต้องเป็นงาน งานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ (1) ข่าวประจำ วัน และข้อเท็จจริงต่างๆ (2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย (3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำ สั่ง คำ ชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่ยงานอื่น (4) คำ พิพากษา คำ สั่ง คำ วินิจฉัย และรายงานของทางราชการ (5) คำ แปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่น สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือยู่ในราชอาณาจักรหรือ เป็นผู้มี สัญชาติหรือยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตลอดระยะ เวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรค์งานนั้น (2) ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้กระทําขึ้นในราชอาณาจักรหรือ ในประเทศ ที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยหรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้ กระทํานอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็น ภาคีอยู่ด้วยหากได้มีการโฆษณางานดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญา ว่าด้วยการ คุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก หรือผู้ สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ใน (1) ในขณะที่มีการโฆษณางานครั้งแรก 1.3 การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
1.4 การคุ้มครองลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้อนุญาตให้ผู้ใดใช้สิทธิตามมาตรา15(5) ย่อมไม่ตัดสิทธิของ เจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้นได้ด้วยเว้นแต่ในหนังสือนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้ (มาตรา16) การโอนลิขสิทธิ์ให้แก่บุคลอื่น ลิขสิทธิ์นั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ เจ้าของลิขสิทธิ์อาจโอนลิขสิทธิ์ของตนทั้งหมด หรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลอื่นได้และจะโอนให้โดยมีกำ หนด เวลาหรือตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็ได้ การโอนลิขสิทธิ์ตามวรรคสองซึ่งมิใช่ทางมรดกต้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้อนและผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กําหนด ระยะเวลาไว้ในสัญาโอนให้ถือว่าเป็นการโอนมีกําหนดระยะเวลาสิบปี (มาตรา17)
1.5 อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ภายใต้บังคับมาตรา 21 และมาตรา 2 ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อ ไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความดาย ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วมลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา ห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความต่าย ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้นให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าว มีอายุห้า สิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคลให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นแต่ถ้าได้มี การ โฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก(มาตรา19) อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์โดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรค์ขึ้นโดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ให้ ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นแต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
1.6 การละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15(5) ให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้ (มาตรา 27) 1. ทำ ซ้ำ หรือดัดแปลง 2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน การละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อหากำ ไร ผู้ได้รู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำ ขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อ หากําไรให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้ (1) ขายมีไว้เพื่อขายเสนอขายให้เช่าเสนอให้เช่าให้เช่าซื้อหรือเสนอให้เช่าซื้อ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ (4) นำ หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร (มาตรา 31)
1.7 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทําโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกล่าวคัดลอก เลียนหรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการ รับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นมิให้ถือว่าเ ป็นการละเ มิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามาตรา32 วรรคหนึ่ง (มาตร า 33) การทําซ้ําเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติรายการโดยเจ้าพนักงาน การทําซ้ําเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงานซึ่ งมีอํานาจตามกฎหมายหรือตามคําสั่งของ เจ้าพนักงานดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการมีให้ ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามาตรา32วรรคหนึ่ง(มาตรา43)
1.8 สิทธิของนักแสดง ค่าตอบแทนในการนําสิ่งบันทึกเสียงการแสดงออกเผยแพร่ ผู้ใดนําสิ่งบันทึกเสียงการแสดงซึ่งได้นําออกเผยแพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าแล้ว หรือนําสําเนาของงาน นั้น ไปแพร่เสียงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยตรงให้ผู้นั้นจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่นักแสดงในกรณีที่ ตกลงค่าตอบแทน ไม่ได้ให้อธิบดีเป็นผู้มีคําสั่งกําหนดค่าตอบแทน ทั้งนี้โดยให้คํานึงถึงอัตราค่าตอบแทนปกติใน ธุรกิจประเภทนั้น เงื่อนไขการมีสิทธิในการแสดงของนักแสดง นักแสดงมีสิทธิในการแสดงตามมาตรา 44 หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (มาตรา 47) 1. นักแสดงนั้นมีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือ 2. การแสดงหรือส่วนใหญ่ของการแสดงนั้นเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่า ด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
2. สิทธิบัตร กฎหมายที่ใช้บังคับกับสิทธิบัตรคือพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ. 2522ซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้ 2.1 นิยามศัพท์ ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ (มาตรา 3) สิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำ คัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ อนุสิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสําคัญที่อกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ตามที่กําหนดในหมวด3 ทวิ แห่งพระราชบัญญัตินี้ การประดิษฐ์ หมายความว่า การคิดค้นหรือคิดทำ ขึ้น อันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำ ใดๆ ที่ทำ ให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี กรรมวิธี หมายความว่า วิธีการกระบวนการหรือกรมวิธีในการผลิตหรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพ ดีขึ้นหรือ การปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้นๆ ด้วย
2.2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ การขอรับสิทธิบัตร (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้นและ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม (มาตรา 5) การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (1) การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แแพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (2) การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสําคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าใน หรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรและไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำ โดยเอกสารสิ่งพิมพ์การนำ ออก แสดงหรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใดๆ (3) การประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรแล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (4) การประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วนอกราชอาณาจักรเป็นเวลาเกินสิบแปดเดือนก่อนวัน ขอรับสิทธิบัตรแต่ยังมิได้มีการอกสิทธิบัตรหรือนุสิทธิบัตรให้ (5) การประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรและได้ประกาศโฆษณา แล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร
2.3 การออกสิทธิบัตร ในการออกสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำ การตรวจสอบ ดังนี้ 1. ตรวจสอบคําขอรับสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามมาตรา17 2. ตรวจสอบการประดิษฐ์ว่าเป็นการประดิษฐ์ตามมาตรา5 อายุของสิทธิบัตร สิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร ในกรณีที่มีการดําเนินคดีทาง ศาลตามมาตรา16 มาตรา74 หรือมาตรา77 ฉ มิให้นับระยะเวลาในระหว่างการดำ เนินคดีดังกล่าวเป็นอายุของสิทธิ บัตรนั้น (มาตรา 35)
2.4 สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้ (1 ) ในกรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์สิทธิในการผลิตใช้ขายมีไว้เพื่อขายเสนอขาย หรือนำ เข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร (2) ในกรณีสิทธิบัตรกรมวิธี สิทธิ์ในการใช้กรมวิธีตามสิทธิบัตรผลิตใช้ขายมีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำ เข้ามา ในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร 2.5 การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร เมื่ออธิบดีวินิจฉัยว่าผู้ขอใช้สิทธิตามมาตรา 46 มาตรา 47 หรือมาตรา 47 ทวิ เป็นผู้สมควรได้รับอนุญาตให้ ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรได้ ให้อธิบดีกำ หนดค่าตอบแทน เงื่อนไขในการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร และข้อจำ กัดสิทธิ ผู้ทรงสิทธิบัตร และผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรตามมาตรา 48 วรรคสอง ตามที่ผู้ทรงสิทธิบัตร และผู้ได้รับอนุญาตได้ตกลงกัน และในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลาที่อธิบดีกําหนด ให้อธิน ดีกําหนดค่าตอบแทนเงื่อนไขในการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและข้อจำ กัดสิทธิดังกล่าวตามที่อธิบดีพิจารณาเห็น สมควร
2.6 สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นการออกแบบใหม่ การออกแบผลิตภัณฑ์ที่ จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ต้องเป็นการอกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อ อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม (มาตรา 56 ) การออกแบบที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการอกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ (1) แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (2) แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสําคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (3) แบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28 มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (4)แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใน (1) (2) หรือ (3) จนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ (มาตรา 57)
2.7 อนุสิทธิบัตร ลักษณะของการประดิษฐ์ที่ขอนุสิทธิบัตรได้ การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้ (มาตร า65 ทวิ) 1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ 2 .เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหก ขอทั้งอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรในการประดิษฐ์อย่างเดียวกันไม่ได้ บุคลใดจะขอรับทั้งอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรสําหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันไม่ได้ (มาตรา65 ตรี) การขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตรหรือผู้ขอรับสิทธิบัตรมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิที่จะขอรับจากอนุสิทธิบัตร เป็น สิทธิบัตรหรือจากสิทธิบัตรเป็นอนุสิทธิบัตรได้ก่อนการจดทะเบียนการประดิษฐ์และอกอนุสิทธิบัตร หรือ ก่อน การประกาศโฆษณาคําขอรับสิทธิบัตรตามาตรา 28 แล้วแต่กรณีและผู้ขอมีสิทธิให้ถือเอาวันยื่นคําขอเดิม เป็นวันยื่นคำ ขอทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำ หนดโดยกฎกระทรวง (มาตรา 65 จัตวา)
3. เครื่องหมายการค้า กฎหมายที่ใช้บังคับกับเครื่องหมายการค้าคือพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 ซึ่งมีสาระสําคัญ ดังนี้ 3.1 นิยามศัพท์ ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ (มาตรา 4) เครื่องหมาย หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อคําข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูป ร่างหรือรูปทรงของวัตถุเสียงหรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมาย ของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคลอื่น เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมาย ของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคลอื่น
3.2 การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ (3) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว (มาตรา 6) 3.3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิ์ในคําขอจดทะเบียนเครื่ องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้แล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ ในกรณีที่มีการโอน สิทธิในคําขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งให้นายทะเบียนทราบ ในกรณีที่ผู้ขอจด ทะเบียนตาย ให้ทายาทคนหนึ่งคนใดหรือผู้จัดการมรดกแจ้งให้นายทะเบียนทราบ ก่อนการจดทะเบียนเพื่อดํา เนินการรับมรดกสิทธิในคําขอจดทะเบียนนั้นต่อไป (มาตรา 48)
3.4 การอนุมัติให้ใช้เครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบีย นแล้วจะทําสัญาอนุญาตให้บุคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของ ตนสำ หรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้ สัญาอนุญาติให้ใช้เครื่องหมายการค้าตามวรคหนึ่ง ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน การขอจดทะเบียนสัญาอนุญาตดังกล่าวตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ กระทรวงแต่คำ ขอจดทะเบียนนั้นอย่างน้อยต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้ (1) เงื่อนไขหรือข้อกําหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและผู้ของดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุราต ที่จะทําให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับ อนุญาตได้อย่างแท้จริง (2) สินค้าที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น (มาตรา 68)
เกร็ดความรู้ สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ําชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าถวายสิทธิบัตรในพระ ปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลก ที่รับ สิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่ได้รับการจัดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์ จึงนับว่าเป็น สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย และเป็นเครื่องแรกของโลก
สรุปประเด็นสำ คัญ ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นผลของความคิดสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาของมนุษย์ ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน้าที่ สำ คัญของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา คือ ยับยั้งการกระทำ โด ๆ ของผู้ที่ไม่มีสิทธิตามกฎหมายมิให้เกิดการลอก เลียนหรือการกระทำ ที่เอาเปรียบไม่เป็นธธรรมเพื่อใช้ประโยชน์จากงานสร้างสรรค์การค้นคิด และการละเมิดอันก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สาระสำ คัญของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ประกอบด้วย งานอันมีลิขสิทธิ์ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ การคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ อายุการคุ้มครองการละเมิดลิขสิทธิ์ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิของนักแสดง การใช้ สิทธิในพฤติการณ์พิเศษและลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ สิทธิบัตร มีสาระสำ คัญดังนี้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอรับ สิทธิบัตร การออกสิทธิบัตร สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร การคืนสิทธิบัตร การเลิก ข้อถือสิทธิ และการเพิกถอนสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า มีสาระสำ คัญดังนี้ การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การรับจดทะเบียนและผลแห่งการ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนการค้า การต่ออายุและการเพิกถอนการค้า การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า บทบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายรับรองและเครื่องหมาย ร่วม
แบบทดสอบหลังเรียน จงตอบคำ ถามต่อไปนี้ให้ได้ใจความสมบูรณ์ (ทำ ลงในสมุด) 1. งานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง 2. เงื่อนไขการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นมามีอะไรบ้าง 3. ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิอะไรบ้าง 4. การออกแบบผลิตภัณฑ์แบบไหนที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 5. เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดที่ห้ามมิให้จดทะเบียน