The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

5-66-09-110566-การประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา -meet

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ครูขวัญ ศรัญญา, 2023-06-05 00:14:11

5-66-09-110566-การประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา -meet

5-66-09-110566-การประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา -meet

บันทึกข้อความ ส่วนราชการ โรงเรียนวัดพญาชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ที่ พิเศษ/2566 วันที่ 12 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เรื่อง รายงานผลการประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ผ่าน ระบบ Google Meet เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพญาชมภู อ้างถึง หนังสือที่ ศธ 04050/ว1436 ลว. 21 เมษายน 2566 สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสรุปเนื้อหาสาระที่ได้รับจากการประชุม ด้วยข้าพเจ้า นางศรัญญา วงษ์มาพันธ์ ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดพญาชมภู ปฏิบัติหน้าที่สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและรับผิดชอบงาน อนามัยโรงเรียนได้รับมอบหมายให้เข้ารับการประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ ประจำปีของสถานศึกษา ผ่านระบบ Google Meet และได้ตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการพัฒนา ตนเองและพัฒนางานในหน้าที่ในด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ จึงได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ในวันที่ 9-11 พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 08.00 น. – 17.00 น. นั้น ในการนี้ การประชุมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอรายงานผลการประชุม เพื่อขยายผลการเรียนรู้ต่อไป รายละเอียดตามเอกสารแนบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณา ลงชื่อ .................................................... (นางศรัญญา วงษ์มาพันธ์) ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา ............................................................................................................................. ....................................... ............................................................................................................................. ....................................... ลงชื่อ ..................................................... (นายณัฐวัฒน์ บุญทวี) ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพญาชมภู


คำนำ รายงานผลการประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ผ่านระบบ Google Meet ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการประชุมดังกล่าว ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลรายงานฉบับนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ เพื่อไป ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนางานในหน้าที่ต่อไป ศรัญญา วงษ์มาพันธ์


การประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ของสถานศึกษา ผ่านระบบ Google Meet ข้าพเจ้า นางศรัญญา วงษ์มาพันธ์ ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดพญาชมภู ผู้เข้า รับการอบรม ชื่อหลักสูตร การประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ ประจำปีของสถานศึกษา ผ่านระบบ Google Meet รหัสหลักสูตร - หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 วันที่จัดอบรม วันที่ 9-11 พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 08.00 น.-17.00 น. สถานที่จัดอบรม ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet จำนวนชั่วโมงระหว่างการอบรม 20 ชั่วโมง สรุปสาระสำคัญของการเข้าร่วมการอบรม ดังนี้ พิธีเปิดโดย โดย นายสายัณห์ คำลือ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการ ประจำปีของสถานศึกษา สังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 4 วิทยากร นายวิบูลย์ ทานุชิต ผู้ทรงคุณวุฒิ กศจ.ลำปาง วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1. เพื่อให้สถานศึกษา สังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 4 มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดทำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาได้ รูปแบบการอบรม 1. การประชุมผ่าน On-Site และ On-Line ผ่านระบบ Google Meet


ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ต่อตนเอง ได้แก่ 1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและ แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ต่อหน่วยงาน ได้แก่ 1. ครูมีการพัฒนาตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้ การจัดการเรียนการสอนและผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อคิดเห็น ควรมีการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้แก่คณะครูภายในโรงเรียน ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นความรู้และทักษะที่ครูควรต้อง พัฒนาตนเองและพัฒนางานในหน้าที่ ซึ่งจะส่งผลให้ครูเกิดความเข้าใจและสามารถนำมาปฏิบัติและ ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน


การสังเคราะห์นโยบายที่สำคัญ จุดเน้นของ กระทรวงศึกษาธิการสพฐ. สพป.เชียงใหม่ เขต 4 และข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา รวมทั้งผลการดำเนินงานของสถานศึกษา สรุปประเด็นสำคัญยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้รัฐมียุทธศาสตร์ชาติ เป็น เป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้ สอดคล้องและบูรณาการกัน ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ซึ่ง กำหนดให้หน่วยงานรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 มีวิสัยทัศน์คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วย การพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ประกอบด้วยความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทยขีดความสามารถ ในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ความเท่าเทียมและ ความเสมอภาคของสังคม ความหลากหลายทางชีวภาพคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของ ทรัพยากรธรรมชาติ และประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ การ พัฒนาประเทศในช่วงเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ประชารัฐ” ซึ่ง ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและวามเสมอภาคทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6) ยุทธศาสตร์ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ สรุปแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นแผนที่จัดทำไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะมีผลผูกพันต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น รวมทั้งการจัดทำ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณจะต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่ง สาระสำคัญ


ประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ความมั่นคง 2) การต่างประเทศ 3) การพัฒนาการเกษตร 4) อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 5) การท่องเที่ยว 6) การพัฒนาพื้นที่และ เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 7) โครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล 8) ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมยุคใหม่9) เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม 11) การ พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต 12) การพัฒนาการเรียนรู้ 13) การสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี 14) ศักยภาพการกีฬา 15) พลังทางสังคม 16) เศรษฐกิจฐานราก 17) ความเสมอภาคและหลักประกันทาง สังคม 18) การเติบโตอย่างยั่งยืน 19) การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ 20) การบริการประชาชนและ ประสิทธิภาพภาครัฐ 21) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 22) กฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรม และ 23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้เป็นองค์กร เจ้าภาพหลัก ในประเด็นที่ 12 การพัฒนาการเรียนรู้ เป็นองค์กรเจ้าภาพร่วม ในประเด็นที่ 11 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (12) ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ มีเป้าหมายระดับ ประเด็น 2 เป้าหมาย คือ 1) คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น มีทักษะที่จำเป็น ของโลกศตวรรษที่ 21สามารถในการแก้ปัญหาปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ประสิทธิผลเพิ่มขึ้น มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และ 2) คนไทยได้รับการพัฒนาเต็มตาม ศักยภาพตามความถนัดและความสามารถ ของพหุปัญญาดีขึ้น มีแผนย่อย 2 แผน ดังนี้ 1. แผนย่อยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมี แนวทางการพัฒนา โดย 1) ปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 2) เปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ 3) เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท 4) พัฒนา ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 5) สร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ และมี เป้าหมาย ให้คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้ และ มีทักษะที่จำเป็นของ โลกศตวรรษที่ 21 สามารถเข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตดีขึ้น 2. แผนย่อยการตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา คือ 1) พัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญา 2) สร้างเส้นทางอาชีพ สภาพแวดล้อมการทำงาน และระบบสนับสนุนที่ เหมาะสมสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ และมีเป้าหมายของแผนย่อย คือ ประเทศไทยมีระบบข้อมูลเพื่อ การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและการส่งต่อการพัฒนาให้เต็ม ตามศักยภาพเพิ่มขึ้น แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (11) ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต มี เป้าหมายระดับประเด็น คือ คนไทยทุกช่วงวัยมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้าน ร่างกายสติปัญญาและคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 รักการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีแผนย่อยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 แผนย่อย ได้แก่ 1. แผนย่อยการพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย แนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง กับ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ จัดให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการ สมรรถนะและคุณลักษณะที่


ดีที่สมวัยทุกด้าน โดยการพัฒนาหลักสูตรการสอนและปรับปรุงสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานที่เน้นการพัฒนาทักษะสำคัญด้านต่าง ๆ อาทิ ทักษะทางสมอง ทักษะด้านความคิดความจำ ทักษะการควบคุมอารมณ์ ทักษะการวางแผนและการจัดระบบ ทักษะการรู้จักประเมินตนเอง ควบคู่กับ การยกระดับบุคลากร ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมทั้งทักษะ ความรู้ จริยธรรม และความ เป็นมืออาชีพ เป้าหมายของแผนย่อยคือ เด็กเกิดอย่างมีคุณภาพมีการพัฒนาการสมวัย สามารถเข้าถึง บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น 2. แผนย่อยการพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น แนวทางพัฒนา ได้แก่ 1) จัดให้มีการพัฒนาทักษะที่ สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ความสามารถในการ แก้ปัญหาที่ซับซ้อนความคิดสร้างสรรค์การทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) จัดให้มีการพัฒนาทักษะด้านภาษา ศิลปะ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจ 3) จัดให้มีการพัฒนาทักษะในการวางแผนชีวิตและวางแผนการเงิน ตลอดจนทักษะที่เชื่อมต่อกับโลกการ ทำงาน 4) จัดให้มีพัฒนาทักษะอาชีพ สรุปนโยบายและจุดเน้นที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2565 หลักการสำคัญในการประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้ 1. สร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนและประชาชน โดยให้ ทุก หน่วยงานนำรูปแบบการทำงานโดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน และปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 2. สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนดำเนินการตามภารกิจด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร ประชาชนและประเทศชาติ โดยให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผ่านกลไก การรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา 3. ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ประกาศและแถลงนโยบายไว้แล้ว เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยมุ่งเน้นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษาที่จะก่อให้ เกิด ประโยชน์ต่อผู้เรียนและประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ นโยบายและจุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.1 เร่งสร้างสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม และป้องกันจากภัย คุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และภัยอื่น ๆ โดยมีการวางมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครูและ บุคลากรในสถานศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดโครงการโรงเรียน Sandbox : Safety zone in school (SSS) หรือ การจัดกิจกรรม Safety School Success จัดให้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดต่อ การ จัดการความรุนแรงเกี่ยวกับร่างกาย จิตใจ และเพศ เป็นต้น


1.2 เร่งพัฒนาบรรจุตัวชี้วัดเรื่องความปลอดภัยให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสถานศึกษา และหน่วยงานทุกระดับ 1.3 เร่งพัฒนาให้มีหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่มีโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังอย่าง หน่วยงานทุกระดับ 2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา 2.1 เร่งจัดทำและพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) โดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยความเหมาะสมความเป็นไปได้และ ทดลองใช้ก่อน การประกาศใช้หลักสูตรฯ ในเดือน เมษายน พ.ศ. 2565 2.2 จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้น กระบวนการเรียนรู้แบบถักทอความรู้ ทักษะคุณลักษณะผู้เรียนเข้าด้วยกันด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้อย่างมีความสุข และพัฒนาความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ รวมทั้งการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลเชิงสมรรถนะ 2.3 พัฒนาช่องทางการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลายและมีแพลตฟอร์มการ เรียนรู้อัจฉริยะที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนคุณภาพสูง และการ ประเมินและพัฒนาผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning) สำหรับ ผู้เรียนทุกช่วงวัย 2.4 มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้มี ความทันสมัยสอดรับกับวิถีใหม่ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ ท้องถิ่น และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 2.5 ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน โดย บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ธนาคารกรุงศรี อยุธยา ธนาคารออมสิน ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการสถานศึกษาส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช. โครงการธนาคารโรงเรียนและการเผยแพร่สื่อแอนิเมชั่นรอบรู้เรื่องเงิน 2.6 พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) ที่มีการบูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพในชุดวิชาอาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจัดการอาชีวศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และระบบทวิภาคี รวมทั้งการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อ สะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อการมีงานทำ 2.7 ศึกษาวิจัย ถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ในสถานศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อเป็นแนวทาง ให้หน่วยงานสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม


3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย 3.1 ดำเนินการสำรวจและติดตามเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน เพื่อนำเข้าสู่ระบบ การศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับ 3.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อรับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัยและต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ โดยบูรณา การร่วมงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3 มุ่งแก้ปัญหาคนพิการในวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษา โดย กำหนดตำแหน่ง (ปักหมุด) บ้านเด็กพิการทั่วประเทศ 3.4 ให้ความช่วยเหลือโรงเรียนห่างไกลกันดารได้มีโอกาสเรียนรู้ในยุคโควิด โดยการสร้าง ความพร้อมในด้านดิจิทัลและด้านอื่น ๆ 3.5 ส่งเสริม และสนับสนุนความร่วมมือการจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน องค์กรทั้ง ภาครัฐ เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันสังคมอื่น 4. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4.1 ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และส่งเสริม การผลิตกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ 4.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดย การ Re-skill, Up-skill, New skill เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาระดับที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้าง ช่องทางอาชีพในรูปแบบที่หลากหลายให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุที่มีความสนใจ โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.3 จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์ Startup) ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพ และการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อการส่งเสริม และ พัฒนาผู้ประกอบการด้านอาชีพทั้งผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเชื่อมโยงกับ กศน. และ สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในวิถีชีวิตครูรูปแบบใหม่ 4.4 พัฒนาแอปพลิเคชั่น เพื่อสนับสนุนช่างพันธุ์ R อาชีวะซ่อมทั่วไทย โดยการนำร่อง ผ่านการให้บริการของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) จำนวน 100 ศูนย์ ให้ครอบคลุมการ ให้บริการแก่ประชาชน 5. การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา 5.1 พัฒนาหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ Performance Appraisal (PA) โดยใช้ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระบบ Digital Performance Appraisal (DPA) 5.2 พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการจัดทำกรอบระดับสมรรถนะ ดิจิทัล (Digital Competency) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ระดับอาชีวศึกษา


5.3 ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลการทางการศึกษาทั้งระบบ ควบคู่กับการ ให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม 6. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล 6.1 พัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการจัดระบบ ทะเบียนประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ 6.2 ปรับปรุงแนวทางการจัดสรรเงินค่าเครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนผ่าน แอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ของกรมบัญชีกลางไปยังผู้ปกครองโดยตรง 7. การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ จัดทำกฎหมายลำดับรองและแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อรองรับพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ของกระทรวงศึกษาธิการ 1. ความปลอดภัยของผู้เรียน โดยจัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแล ช่วยเหลือ นักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้องคุ้มครอง ความ ปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเอง จาก ภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม 2. หลักสูตรฐานสมรรถนะ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยยึดความสามารถ ของ ผู้เรียนเป็นหลัก และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ 3. ฐานข้อมูล Big Data พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ซ้ำช้อน เพื่อให้ได้ ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของประเทศที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และสามารถนำมาใช้ ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง 4. ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สนับสนุนการ ดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ตามความเป็นเลิศของแต่ละ สถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน 5. พัฒนาทักษะทางอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 6. การศึกษาตลอดชีวิต การจัดเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพและ มาตรฐาน ประชาชนในแต่ละช่วงวัยได้รับการศึกษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน เหมาะสม และเต็ม ตามศักยภาพตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา และพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้า สู่ สังคมผู้สูงวัย


7. การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่งเสริมการจัดการศึกษา ให้ผู้ที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตในสังคม อย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ สรุปนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของประเทศ จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนา “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” ใน ๔ ด้านได้แก่ ด้าน ความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการต่อยอดพัฒนาการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ให้เป็น “วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ” จึงกำหนดนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ดังนี้ 1) ด้านความปลอดภัย 1.1) พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยของผู้เรียนทุกคน พร้อมเสริมสร้างระบบ และกลไกในการดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มข้น ให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา จากโรคภัย ต่าง ๆ ภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ 1.2) ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1.3) สร้างภูมิคุ้มกัน การรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และชีวิตวิถีปกติต่อไป (Next Normal) 2) ด้านโอกาส 2.1) ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ ๓ - ๖ ปีทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้อง เพื่อให้มีพัฒนาการครบทุกด้าน โดยการมี ส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.2) จัดการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้าถึงโอกาส ความเสมอ ภาค และได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสำหรับการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคตให้ สอดคล้องกับของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ 2.3) จัดการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตาม ศักยภาพ 2.4) ส่งเสริมเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและจัดหา ทางเลือก ในการเข้าถึงการเรียนรู้ การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ 2.5) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะการดูแลและป้องกันไม่ให้นักเรียนหลุดออก จากระบบการศึกษา และช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบ


3) ด้านคุณภาพ 3.1) ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาที่มีความพร้อม ให้นำหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เน้นสมรรถนะไปใช้ตามศักยภาพของสถานศึกษาให้สามารถออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับ ความต้องการและบริบท 3.2) พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถณะที่เหมาะสมตามช่วงวัย สามารถจัดการตนเอง มีการ คิดขั้นสูงมีความสามารถในการสื่อสาร สามารถจัดระบบและกระบวนการทำงานของตนเองและร่วมกับ ผู้อื่น โดยใช้ การรวมพลังทำงานเป็นทีม เป็นพลเมืองที่ดี มีศีลธรรม และอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการ อย่างยั่งยืนรวมทั้งมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3.3) จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ นำไปสู่การมีอาชีพ มีงาน ทำ และส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.4) ส่งเสริม และพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียน ให้ควบคู่การเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งส่งเสริมการนำระบบธนาคาร หน่วยกิตมาใช้ในการเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียนในสถานศึกษา 3.5) พัฒนา ส่งเสริม ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการ ศึกษารวมทั้งบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีสมรรถะตามมาตรฐาน ตำแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพ 4) ด้านประสิทธิภาพ 4.1) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็น ฐานที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักธรรมาภิบาล 4.2) นำเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการฐานข้อมูล มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้ของผู้เรียน 4.3) ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ ใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการ ขับเคลื่อนบริหารจัดการโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน และแสวงหาการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุก ระดับ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม 4.4) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ โรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ และโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4.5) เพิ่มประสิทธิภาพการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และปรับกระบวนการ นิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดรับกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และชีวิตวิถี ปกติต่อไป (Next Normal) จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ 1. เร่งแก้ปัญหากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19


โดยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับผู้เรียนทุกระดับ รวมทั้งลดความเครียดและสุขภาพจิตของผู้เรียน 2. เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐาน ความ ปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) 3. ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ ๓ - ๖ ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าถึงโอกาส ทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และ เด็กพิการที่ค้นพบจากการปักหมุดบ้านเด็กพิการให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา 4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ เน้นสมรรถนะและการจัดทำกรอบหลักสูตร รวมทั้ง จัด กระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน 5. จัดการอบรมครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัย ด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู 6. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมี ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ หลากหลายรูปแบบ (Active Leaming) มีการวัดและ ประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Assessment for Learning) ทุก ระดับ 7. ยกระดับคุณภาพของนักเรียนประจำพักนอน สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง ห่างไกล และถิ่น ทุรกันดาร 8. มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทุกระดับ 9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อ สร้างความเข้มแข็ง โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล ให้กับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สรุปแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566 สพป.เชียงใหม่ เขต 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 กำหนดรูปแบบการพัฒนาการศึกษา ในรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ภายใต้นโยบายหลัก ได้แก่ นโยบาย สพฐ. “วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” หลักสูตรฐานสมรรถนะ ระบบดูแลช่วยเหลือ ข้อตกลงการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) และนโยบายสำคัญของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 4 ได้แก่ การประกันคุณภาพภายใน นิเทศภายใน โรงเรียนรักษาศีล 5 และอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น โดยบูรณาการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนตามแนวคิดห้องเรียนอนาคต(Future Classroom) ซึ่งผู้เรียนต้องมีทักษะศตวรรษที่ 21 ตามวัยและตามบริบทของสถานศึกษา ครูพัฒนางาน ตามข้อตกลงสู่การเป็นครูมืออาชีพ สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารจัดการตามบริบท สำนักงานเขตพื้นที่ มีมาตรฐาน เป็นแบบอย่าง โดยกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติดังนี้ 1. วิสัยทัศน์ (Vision)


“ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เป็นองค์กรส่งเสริมการศึกษาสู่พลเมืองโลก นำเทคโนโลยีสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการ ผสานการทำงานทุกมิติ ” 2. พันธกิจ (Mission) 1. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความปลอดภัยแก่ผู้เรียน 2. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถ ในการแข่งขัน 3. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 4. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทาง การศึกษา อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม 5. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความสามารถในการจัดการศึกษา ที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ 6. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับและการจัดการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล 4. กลยุทธ์ (Strategic) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม องค์กร เป้าประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องนโยบายด้านการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานด้าน การศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้กำหนด กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา 5. เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ 1) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพสู่ความเป็นเลิศ 2) สามารถบริหารจัดการตามภารกิจและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล ผู้รับบริการพึงพอใจและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 3) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตรงตามสมรรถนะ และภาระงาน มีขวัญ กำลังใจสามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ โดยกำกับดูแลส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือ พัฒนาสถานศึกษาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย


5) สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก ให้มีความเข้าใจและเข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม 6. จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 จึงได้กำหนดจุดเน้นการพัฒนา คุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ดังนี้ จุดเน้นด้านนักเรียน Smart Student จุดเน้นที่ 1 นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ เป้าหมาย 1. นักเรียน ป.3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น 2. นักเรียน ป.6 ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดคำนวณเป็น จุดเน้นที่ 2 นักเรียนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม เป้าหมาย 1. นักเรียนทุกคนมีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมืองโดยการได้รับการส่งเสริมผ่านกิจกรรม การ เรียนรู้อย่างน้อย 2 กิจกรรม 2. นักเรียนทุกคนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยได้รับการ ส่งเสริมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้อย่างน้อย 2 กิจกรรม จุดเน้นด้านครู Smart Teacher จุดเน้นที่ 3 ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป้าหมาย 1. ครูทุกคนมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีการประเมินผลตามสภาพจริง 2. ครูทุกคนมีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อย่างน้อย 1 รูปแบบ และมี การรายงานสัมฤทธิ์ผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ได้ดำเนินการ จุดเน้นที่ 4 ครูสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการจัดการเรียนรู้และผลิตสื่อการเรียนรู้ เป้าหมาย 1. ครูทุกคนสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ได้ 2. ครูทุกคนสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิตสื่อการเรียนได้ จุดเน้นด้านสถานศึกษา Smart School จุดเน้นที่ 5 สถานศึกษามีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเข้มแข็ง เป้าหมาย 1. สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง 2. สถานศึกษาทุกแห่งไม่มีเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน


จุดเน้นที่ 6 สถานศึกษาปลอดภัย เป้าหมาย 1. สถานศึกษาทุกแห่งมีสภาพแวดล้อมที่น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ทั้งในและนอกห้องเรียน 2. สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบการดูแลความปลอดภัยแก่ผู้เรียนทั้งทางกายภาพและภัย คุกคามทุกรูปแบบ หลักความสัมพันธ์เชื่อมโยงเชิงเหตุเชิงผลระหว่าง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบาย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2566 กับยุทธศาสตร์ (แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน) สพฐ. ระยะ 5 ปี(พ.ศ. 2566-2570) (แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน) สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)


สรุปสาระสำคัญของมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย 1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ ดี และดูแลความปลอดภัยของ มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 มีจำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก 1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ 1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ 1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม 1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้งสี่ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น 2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน 2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ 2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ 2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ 2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ 3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข 3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย 3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัด ประสบการณ์และพัฒนาเด็ก สรุปสาระสำคัญของมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 มีจำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ 2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร


5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 6) มีความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด 2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 4) สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตร สถานศึกษาและทุก กลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โดยวิเคราะห์แบบ C-PEST รูปแบบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) เป็นการวิเคราะห์สภาพ ที่ เป็นโอกาส (Opportunities) หรืออุปสรรค (Threats) โดยพิจารณาถึงแนวโน้มของปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อ ความคงอยู่และการขยายตัวของภารกิจหน่วยงาน มีทั้งปัจจัยที่เป็นโอกาส และปัจจัยที่เป็นที่เป็นอุปสรรค ส่งผลต่อการบริหารจัดการของหน่วยงานซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ หรือควบคุมได้ในระยะสั้น ๆ การ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางด้านการศึกษา สามารถใช้หลักการวิเคราะห์ที่เรียกว่า STEP หรือ CPEST ซึ่งในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ใช้หลักการวิเคราะห์แบบ C-PEST ซึ่งปัจจัยที่ต้องนำมา วิเคราะห์ ดังนี้


แบบ C-PEST คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน นำปัจจัย 5 ด้านที่ส่งผลต่อ การบริหารจัดการหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ มาวิเคราะห์ ให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มี ส่วน ได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ได้แก่ 1. ด้านพฤติกรรมของผู้รับบริการ (Customer Behaviors : C) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่องผู้รับ ผลประโยชน์ ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานท้องถิ่น ผู้ปกครอง ชุมชนที่อยู่โดยรอบ/สภาพของ คู่แข่งและการแข่งขัน ฯลฯ 2. ด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and legal Factors : P) เป็นการวิเคราะห์ ในเรื่อง รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ มาตรฐานการศึกษา หลักสูตร นโยบาย รัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ หน่วยงาน ฯลฯ 3. ด้านเศรษฐกิจ (Economic factors : E) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่องสภาพและแนวโน้มเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจของผู้ปกครอง ภาวะทางการเงิน การว่างงาน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตรา ดอกเบี้ย และการลงทุนต่าง ๆ ฯลฯ 4. ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social - cultural Factors : S) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่อง โครงสร้างประชากร ระบบการศึกษา ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี แนวคิด อนุรักษ์ คุณภาพชีวิต การอนามัย สภาพและกระแสสังคมและชุมชน ที่ล้อมรอบหน่วยงาน ความต้องการ ของประชาชน ปัญหาของสังคม เครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ 5. ด้านเทคโนโลยี (Technological Factors : T) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่องความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการบริหาร ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ เพื่อให้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของหน่วยงานมีความแม่นยำเชื่อถือได้ หน่วยงาน จึง จำเป็นต้องมีการขั้นตอนในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ดังนี้ 5.1 การตรวจสอบ (Scanning) เป็นการศึกษาหรือตรวจสอบถึงปัจจัยในด้านต่าง ๆ ของ สภาพแวดล้อมภายนอก ที่มีความสำคัญ เป็นโอกาส เอื้อต่อการทำให้หน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์มี อะไรบ้าง หรือมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคไม่เอื้ออะไรบ้าง รวมทั้งปัจจัยเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงในด้าน ใดบ้าง จะทำให้ทราบถึงข้อมูลทั้งในอดีตและในปัจจุบัน 5.2 การพยากรณ์ (Forecasting) เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากขั้นการตรวจสอบ (Scanning สภาพแวดล้อมภายนอกทั้งในอดีตและปัจจุบันมาคาดการณ์และพยากรณ์ถึงแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งขั้นตอน การพยากรณ์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อหน่วยงาน เนื่องจากข้อมูลหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน จะ ทำให้หน่วยงานสามารถจัดทำหรือเตรียมกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับการบริหารหน่วยงาน ให้บรรลุ วัตถุประสงค์ได้ในภายภาคหน้า 2


5.3 การประเมิน (Assessing) เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เป็น การนำข้อมูลของสภาวะแวดล้อมภายนอก ในขั้นตอนการตรวจสอบ (Scanning) และการพยากรณ์ (Forecasting) มาวิเคราะห์และประเมินดูว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมนั้น ๆ จะมีผลอย่างไร ต่อหน่วยงานบ้างทั้งในแง่ของโอกาสหรืออุปสรรค วิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการ วิเคราะห์ประกอบตัวอย่าง แบบ C-PEST ดังต่อไปนี้ 1. สมาชิกวางแผนร่วมกันตรวจสอบและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในแต่ละประเด็น เพื่อหา ข้อสรุปที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานในส่วนที่เป็นโอกาส (Opportunities) และในส่วนที่เป็นอุปสรรค (Threats) แล้วเขียนข้อความในช่องประเด็นที่เป็นโอกาส (Opportunities) และประเด็นที่เป็นอุปสรรค (Threats) ตามแบบในตารางที่ 1 ตารางการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ของสถานศึกษา โดยเขียน ข้อความให้เป็นประโยคที่มีใจความบูรณ์ มีปัจจัยเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานให้ ครอบคลุมทุกเรื่องของปัจจัย C-PEST 2. สมาชิกร่วมกันอภิปรายว่าปัจจัยที่สำคัญเป็นโอกาส (Opportunities) และปัจจัยที่เป็น อุปสรรค (Threats) ครอบคลุมทุกเรื่องของปัจจัย C-PEST เพื่อหาปัจจัยภายนอกที่สำคัญอะไรบ้าง เป็น โอกาสเอื้อ (Opportunities) หรือเป็นอุปสรรค (Threats) ต่อการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการ จัดการศึกษาให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ 3. สมาชิกร่วมกันอภิปรายสรุปประมวลผลภาพรวมว่าหน่วยงานของเรามีปัจจัยภายนอกเป็น โอกาส (Opportunities) เอื้อ หรือเป็นอุปสรรค (Threats) ต่อการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการ จัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ เรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน แบบ 7S รูปแบบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) เป็นการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของ ตัวแปรปัจจัย ที่เป็นจุดแข็ง (Strengths : S) และจุดอ่อน (Weaknesses :W) ที่หน่วยงาน สามารถ ควบคุม/บริหารจัดการได้และมีอิทธิพลโดยตรง ที่แสดงถึงศักยภาพของหน่วยงาน ที่ส่งผลต่อการกำหนด กลยุทธ์ของหน่วยงาน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในทางด้านการศึกษาเดิมนิยมใช้ประเด็นสำคัญมา วิเคราะห์ ที่เรียกว่า 25 4M หรือใช้หลักการวิเคราะห์ตามแนวคิดของ McKinsey 7S ซึ่งในการจัดประชุม เชิงปฏิบัติการครั้งนี้ใช้หลักการวิเคราะห์แบบ 7S แบบ 7 S ตามแนวคิดของ McKinsey คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานโดยนำปัจจัย 7 ด้าน มาวิเคราะห์ ประกอบด้วย 1. ด้านโครงสร้าง (Structure : S1) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่องโครงสร้างหน่วยงานที่ได้ตั้งขึ้นตาม กฎหมาย การแบ่งหน่วยงาน การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ และสายการบังคับบัญชา การพิจารณา


ลักษณะของโครงสร้างหน่วยงานมีประโยชน์ต่อการจัดทำกลยุทธ์ของหน่วยงาน เนื่องจาก ถ้าโครงสร้าง หน่วยงานมีความเหมาะสมและสอดคล้อง คล่องตัวต่อการปฏิบัติงานบุคลากรทราบขอบเขตงาน ความ รับผิดชอบ มีความสะดวกในการติดต่อประสานงานผู้ปฏิบัติงานสามารถตัดสินใจในการบริหารจัดการได้ ถูกต้องและรวดเร็วส่งผลดีต่อการผลักดันให้ การดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่เลือกใช้บรรลุความสำเร็จตาม วัตถุประสงค์ ก็จะเป็นจุดแข็งของหน่วยงาน แต่ถ้าโครงสร้างของหน่วยงานไม่เหมาะสมและสอดคล้องทำ ให้การดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่เลือกใช้ ไม่บรรลุความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ก็จะเป็นจุดอ่อนของ หน่วยงาน 2. ด้านยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ (Strategy : S2 ) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่องทิศทางและขอบเขตที่ หน่วยงานจะดำเนินการในระยะปานกลาง หรือระยะยาว ที่หน่วยงานได้ศึกษาว่าหน่วยงานของเรานั้นอยู่ที่ ไหนในขณะนี้ พันธกิจของเราคืออะไร และใครเป็นผู้รับบริการแล้ววางแผนขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องและ เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้หน่วยงานมีความสามารถในการแข่งขันและบริหารจัดการได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด/บรรลุ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ของหน่วยงานมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของหน่วยงานอย่างใกล้ชิดเนื่องจากการจัด โครงสร้างของหน่วยงานนั้นจะเป็นเครื่องมือให้การบริหารจัดการตามตามกลยุทธ์ของ หน่วยงานนั้น ๆ บรรลุวัตถุประสงค์/วิสัยทัศน์ที่กำหนด 3. ด้านระบบในการดำเนินงานของหน่วยงาน (Systems : S3) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่อง ระบบ หรือขั้นตอนการดำเนินงานภายในหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นช่วยให้หน่วยงานสามารถดำเนิน ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริหารจัดการหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์/วิสัยทัศน์ ตอบสนองกลยุทธ์ของ หน่วยงาน เช่น ระบบงานมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระบบการวางแผน ระบบการนิทศ ติดตามและรายงานผล ระบบด้านงบประมาณและระบบบัญชี /การเงิน การพัสดุ ระบบในการสรรหาและ คัดเลือกพนักงาน ระบบในการฝึกอบรม ระบบในการติดต่อสื่อสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ ติดตาม/ประเมินผล ระบบหรือขั้นตอนการทำงานเหล่านี้จะบ่งบอกถึงวิธีการทำงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน 4. ด้านแบบแผนหรือพฤติกรรมในการบริหารจัดการ (Style : S4) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่อง รูปแบบระบบการบริหารจัดการของผู้บริหารหน่วยงาน รวมถึงบุคลิกภาพ ภาวะผู้นำและคุณธรรมของ ผู้บริหารเนื่องจากการกระทำหรือพฤติกรรมของผู้บริหาร จะเป็นแบบอย่างและมีอิทธิพลต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของหน่วยงาน รวมถึงความรู้สึกนึกคิดของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานมากกว่าคำพูดของ ผู้บริหาร หากผู้บริหารมีภาวะผู้นำที่ดีจะสามารถนำพาหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จพร้อมด้วยคุณธรรม 5. ด้านบุคลากรในหน่วยงาน (Staff : S5) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่องบุคลากรทุกระดับภายใน หน่วยงาน ทั้งในเรื่องจำนวนบุคลากร เพียงพอ เหมาะสมกับเกณฑ์ รวมถึงตอบสนองต่อการเจริญเติบโต ของหน่วยงานในอนาคต การปฏิบัติต่อบุคลากรภายในหน่วยงาน เช่น การพัฒนาทีมงาน การมอบหมาย ให้ฝ้ายบุคคลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับด้านบุคลากรทั้งหมด หรือ การที่ผู้บริหารเข้ามาเกี่ยวข้องต่อการจูงใจและ พัฒนาบุคลากร


6. ด้านทักษะ ความรู้ ความลามารถ (Skills : S6) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่อง ความรู้ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานของบุคลากร ให้บริการผู้รับบริการความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนา สมรรถนะ (Competency) ของบุคลากร ทั้งสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน และ จรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบและบริหารจัดการให้ สำเร็จ มีภาวะผู้นำสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7. ด้านคำนิยมร่วมกันของสมาชิกในหน่วยงาน (Shared Values : S7) เป็นการวิเคราะห์ในเรื่อง แนวคิดร่วมกัน ค่านิยม ความคาดหวังของหน่วยงาน เป็นแนวคิดพื้นฐานของหน่วยงานแต่ละแห่ง ที่ บุคลากรส่วนใหญ่ในหน่วยงานเห็นว่าเป็นสิ่งดี พึงปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรมการทำงาน ทำให้เกิด ปทัสถาน (Norm) ของหน่วยงาน เช่น หน่วยงานที่มีความเป็นเลิศในการบริหารมักจะมีค่านิยมร่วมกัน "บริหารเชิงกลยุทธ์ เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้" ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหาร กล่าวโดยสรุป การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน 7S เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนจะเน้นประเด็นใด ประเด็นหนึ่งไม่ไต้ ต้องวิเคราะห์ทุกประเด็นให้ครอบคลุมกระบวนการบริหารจัดการทั้งระบบ ทั้ง 7 ประเด็น เพราะเมื่อประเด็นใดประเด็นหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบต่อประเด็นอื่นด้วย วิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมในที่นี้ ขอนำเสนอ วิธีการวิเคราะห์ ประกอบตัวอย่าง แบบ 7 S ดังต่อไปนี้ 1) สมาชิกวางแผนร่วมกันตรวจสอบและวิเคราะห์สถานการณ์ ข้อมูลสารสนเทศปัจจุบันในแต่ละ ประเด็นการวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุ/ข้อสรุปผลกระทบต่อหน่วยงานทั้งในส่วนที่ เป็นจุดแข็ง (Strengths) ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา/ต่อยอดให้หน่วยงานดีขึ้นกว่าเดิมขึ้นและในส่วนที่เป็นจุดอ่อน (Weaknesses) ที่จะต้องแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น แล้วเขียนข้อความในช่องประเด็นการวิเคราะห์ที่เป็น จุดแข็ง (Strengths) และประเด็นการวิเคราะห์ที่เป็นจุดอ่อน (Weaknesses) โดยเขียนข้อความ/ สถานการณ์ที่เป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์มีปัจจัยเหตุที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 2) สมาชิกร่วมกันอภิปรายว่า ปัจจัยสำคัญที่เป็นจุดแข็ง (Strengths) และปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน (Weaknesses) ครอบคลุมทุกเรื่องของปัจจัย 7 S เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงอะไรบ้าง ที่ทำให้การบริหาร จัดการบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนด เป็นจุดแข็ง (Strengths) หรือสาเหตุที่แท้จริงอะไรบ้าง ที่ การบริหารจัดการบรรลุไม่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนด เป็นจุดอ่อน (Weaknesses) 3) สมาชิกร่วมกันอภิปรายสรุปประมวลผลภาพรวม ว่าหน่วยงานของเรามีปัจจัยภายในภาพรวม ว่าเป็นจุดแข็ง (Strengths) หรือเป็นจุดอ่อน (Weaknesses) ต่อการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการ จัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์


บันทึกการเผยแพร่ การประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ผ่านระบบ Google Meet ที่ ชื่อ – สกุล ตำแหน่ง เอกสารที่ได้รับ ลายเซ็น


ภาคผนวก - หนังสือแจ้งประชาสัมพันธ์ - กำหนดการอบรม - ภาพกิจกรรม


หนังสือแจ้งประชาสัมพันธ์


กำหนดการอบรม


กำหนดการอบรม


ภาพกิจกรรม


ภาพกิจกรรม


Click to View FlipBook Version