The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทที่ 3 เครื่องมือการนิเทศ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by นายคำแสน สองแดน, 2020-08-06 10:57:33

บทที่ 3 เครื่องมือการนิเทศ

บทที่ 3 เครื่องมือการนิเทศ

162

บทที่ 3
เครื่องมือการนิเทศ

เคร่ืองมือการนิเทศเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศมีเคร่ืองมือ
ที่ใช้สำหรับเป็นร่องรอยหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาผลการนิเทศ และเป็นแนวทาง
สำหรับการดำเนินการนิเทศที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตั้งแต่การเตรียมการนิเทศ การ
ดำเนินการนิเทศ จนกระท่ังการสรุปผลและรายงานผลการนิเทศซึ่งเคร่ืองมือการนิเทศนั้นมี
หลากหลาย แต่ไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนแน่นอนตายตัวว่าควรใช้เคร่ืองมือชนิดใด ซึ่ง
ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศที่ต้องมาพิจารณาร่วมกันว่า เคร่ืองมือใดที่
เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในเร่ืองน้ัน ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้นิเทศ
ต้องมีทักษะการใช้เคร่ืองมือดังกล่าวเป็นอย่างดี ซึ่งก่อนที่จะนำเคร่ืองมือการนิเทศมาใช้
จำเปน็ ต้องวิเคราะห์ข้อมลู ด้านการเรียนการสอนของครู เพื่อให้การนิเทศสามารถพฒั นาได้ตรง
ตามสภาพการเรียนการสอนที่ต้องการพัฒนาอย่างแท้จริง สำหรับบทนี้จะกล่าวถึงการเตรียม
เครือ่ งมอื ทีใ่ ช้สำหรบั การวางแผนการนเิ ทศการศึกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่ผู้นิเทศควรทำก่อนที่
จะดำเนนิ การนเิ ทศ

3.1 การวเิ คราะหข์ ้อมลู ด้านการเรียนการสอนของครูรายบุคคล
การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเรียนการสอนของครูนั้น จะช่วยให้ผู้นิเทศได้เข้าใจ

บริบทหรือข้อมูลพื้นฐานก่อนที่จะดำเนินการนิเทศมากขึ้น โดยผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะได้
นำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนร่วมกัน ทั้งนี้หากผู้นิเทศเป็นบุคคลที่อยู่ในสถานศึกษานั้น ๆ อยู่
แล้ว ก็ทำให้เข้าใจข้อมูลด้านการเรียนการสอนของครูผู้รับการนิเทศได้ง่ายขึ้น แต่หากผู้นิเทศ
เป็นบุคคลภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ อาจารย์นิเทศจากมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องศึกษาและ
วิเคราะหข์ อ้ มูลการเรียนการสอนโดยละเอียด ดงั ตัวอย่างตอ่ ไปนี้
ตัวอยา่ ง 1 การวเิ คราะหข์ อ้ มลู ด้านการเรียนการสอนของครรู ายบุคคล
ครผู ู้สอน คณุ ครูใจดี รักษ์นิเทศ ระดับช้ัน ประถมศกึ ษาปีที่ 4
กลุม่ สาระการเรียนรู้ สังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรยี น ฉตั รศรีรุ้ง จังหวัดเชียงใหม่

163

1. ขอ้ มูลจากการสมั ภาษณ์
1.1 ข้อมูลสว่ นตวั
1) อายุ 26 ปี
2) จบการศกึ ษาสูงสดุ ระดบั ปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศกึ ษา
3) ประสบการณ์การสอน 2 ปี
4) ปัจจุบันสอนระดบั ชั้น ป.4 กลมุ่ สาระการเรียนรู้สังคมศกึ ษา ศาสนาและ

วฒั นธรรม
1.2 ข้อมูลดา้ นการมสี ว่ นร่วมของโรงเรยี น
1) คณะกรรมการจัดทำหลกั สูตรสถานศกึ ษา
2) คณะกรรมการนเิ ทศภายใน ทำหนา้ ทีเ่ ป็นเลขานุการ
3) คณะกรรมการกล่มุ สาระการเรียนรู้สังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม
4) คณะกรรมการฝ่ายอาคารสถานทีแ่ ละงานสหกรณ์โรงเรียน
1.3 ข้อมูลด้านการจดั การเรียนการสอน
1) การวางแผนการสอน
1.1 มีการจัดทำคำอธิบายรายวิชา
1.2 มีการจัดทำกำหนดการสอน/ แนวการสอน/ หนว่ ยการเรียนรู้
1.3 มีจดั ทำแผนการจดั การเรียนรู้ รายคาบ/ ช่วั โมง
1.4 มีการสง่ แผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้า 1 สปั ดาห์กอ่ นสอน สว่ นบันทึกหลัง

สอน กรณีที่เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ให้ส่งทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นแผนการ
จัดการเรียนรู้เดิมให้สง่ ทกุ ๆ วนั ศุกร์ โดยสว่ นใหญจ่ ะใช้แผนการจดั การเรียนรู้ใหม่ ซึ่งพฒั นาให้
สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

2) วิธีสอน/ เทคนิคทีเ่ คยใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทีผ่ ่านมา
2.1 บรรยายเพือ่ ให้ความรู้เกีย่ วกับเนือ้ หาวิชา ซึง่ ใชม้ ากถึง 70 % ของเวลาใน

การสอน
2.2 สาธิต
2.3 อภปิ รายกล่มุ
2.4 จดั กิจกรรมบรู ณาการเรียนรใู้ นรายวิชา
2.5 ฝกึ ใหน้ ักเรียนได้สรุปองค์ความรโู้ ดยใช้แผนที่ความคิด
2.6 ให้นกั เรียนเรียนรแู้ บบสืบสวน สอบสวนด้วยตนเองและกล่มุ
2.7 จัดกิจกรรมโดยใช้เกมและนิทานประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2.8 จดั กิจกรรมให้นักเรียนได้ระดมความคิดจากเร่อื งที่กำหนดให้

164

3) การจัดการในช้ันเรียน
3.1 จัดให้มตี ารางเวรประจำวนั
3.2 มีการสร้างขอ้ ตกลงรว่ มกันในช้ันเรยี นโดยผู้เรยี น
3.3 มีการให้รางวลั และการลงโทษ
3.4 มีการมอบหมายงานให้รบั ผิดชอบร่วมกนั

4) การวัดและประเมินผล
4.1 รปู แบบการวดั และประเมินผล มีการดำเนินการวดั และประเมินผลกอ่ น

เรียน ระหวา่ งเรียนและหลังเรียน
4.2 วิธีการวดั และประเมินผลใช้วธิ ีการที่หลากหลาย ได้แก่ การทดสอบแบบ

ปรนยั การทดสอบแบบอัตนัย การประเมินชิ้นงาน แฟ้มสะสมผลงาน การซักถาม การปฏิบตั ิ
จรงิ และการสังเกต

1.4 ปัญหาการจัดการเรยี นการสอน ครผู สู้ อนระบุปัญหาดังน้ี
สว่ นมากเป็นสมรรถภาพทางการคิดและการวิเคราะห์ของนักเรียน โดยสังเกตจาก

นกั เรียนสว่ นใหญไ่ มส่ ามารถสื่อความหมายจากเรื่องที่สอนได้ และไมส่ ามารถขยายองค์ความรู้
จากเร่ืองที่ได้เรียนรู้ รวมทั้งขาดการเชื่อมโยงความรู้ในเร่ืองที่สอนกับสถานการณ์ใหม่ ซึ่ง
ครูผู้สอนต้องเป็นผู้แจงในรายละเอียดให้แก่นักเรียน ตัวอย่างเช่น ครูให้นักเรียนเขียนผัง
ความคิด (Mind Mapping) เร่ือง “อาณาจักรสุโขทัย” แต่นักเรียนก็ไม่สามารถเขียนเพื่อ
เชื่อมโยงความรู้ได้ เม่ือครูแจกแจงรายละเอียดในส่วนของหัวข้อให้นักเรียนดูบนกระดานดำ
นักเรียนจึงจะสามารถเขียนรายละเอียดในข้อย่อย ๆ ได้ แต่สามารถเขียนได้เพียงประเด็นเดียว
โดยข้อความที่นักเรียนเขียนได้แสดงโดยเขียนเคร่ืองหมาย (√) และข้อความที่เขียนไม่ได้แสดง
โดยเครื่องหมาย (x) กำกับไว้ ดังตัวอยา่ งแผนภาพตอ่ ไปนี้

165

√ X √
X X

X

อาณาจกั รสุโขทยั

X X
√X X
XX
X √
X√

แผนภาพท่ี 3.1 แสดงความสามารถของนักเรียนในการเขียนแผนผังความคิด เร่ือง
“อาณาจักรสโุ ขทยั

1.5 ความตอ้ งการ
1.5.1 ความตอ้ งการในการแก้ปญั หาการจัดการเรยี นการสอนของครู
1.5.1.1 จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ร่วมแสดงออกมากกว่าการฟัง

บรรยาย (เน้นให้ทำกิจกรรมมากกว่าการเขียน)
1.5.1.2 ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรจู้ ากการเล่นมากกวา่ การบนั ทึกกบั

การอา่ น
1.5.1.3 ต้องการใช้เทคนิค ทักษะการสอน และการจัดกิจกรรมเพื่อ

นำมาใช้ในการแก้ปัญหาการคิดวิเคราะห์ และเช่อื มโยงให้นักเรียนได้เกิดองค์ความรู้ในความคิด
ด้วยตนเอง

1.5.2 ความตอ้ งการในการพัฒนาตนเองของครู
1.5.2.1 ต้องการพัฒนาตนเองในเร่ืองของทักษะ เทคนิควิธีการสอน

รวมท้ังการจัดกิจกรรมทีห่ ลากหลายในการนำมาใช้จดั การเรียนรใู้ นชั้นเรียน
1.5.2.2 ต้องการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เพื่อนำมาใช้ร่วมกับการ

จัดกิจกรรมการเรยี นรู้ให้นักเรียนสนใจ และเกิดความเข้าใจในบทเรียนได้กระจา่ งชดั ขึน้
1.5.2.3 ต้องการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

166

3. ข้อมลู จากการวิเคราะห์คณุ ภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
จากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้จาก

ครูผู้สอนและผู้นิเทศ (โดยนำตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนเลือกมา 1-2 แผน)
ปรากฏดงั นี้
ตารางที่ 6.1 แสดงตัวอยา่ งผลการวิเคราะห์คุณภาพของแผนการจดั การเรยี นรู้ของครูและ
ผนู้ ิเทศ

รายการประเมิน ครผู สู้ อน ผูน้ ิเทศ

1. มีองคป์ ระกอบของแผนการสอนครบถ้วน ระดับ ระดบั
2. ระบจุ ุดประสงค์ชัดเจน เหมาะสม คุณภาพ คณุ ภาพ
3. ระบุเนือ้ หาชัดเจน
4. ระบุขั้นตอนได้เหมาะสมกับธรรมชาติวชิ า 321 321
5. จดั กิจกรรมให้นกั เรียนได้มโี อกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง  
 
 
 
  

6. จดั กิจกรรมที่สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมตาม  
จุดประสงค์
7. ระบุสื่อที่นำมาใช้เหมาะสมกบั เนือ้ หาและกิจกรรม  
8. ระบุการวัดผลได้สอดคล้องกบั จุดประสงค์  
9. มีเคร่อื งมอื วัดผลและประเมินผลทีเ่ หมาะสม  
10. มีการบนั ทึกผลหลงั การสอนชดั เจน  
11. เขียนในแต่ละองคป์ ระกอบได้สอดคล้องสัมพนั ธก์ นั   

หมายเหตุ : ไม่ปฏิบัติหรอื ปฏิบัติไมถ่ กู ต้องได้ 0 คะแนน

เกณฑ์การประเมิน :
ระดับ 3 หมายถึง มีมากหรือ เขียนได้ถกู ต้อง ชดั เจน เหมาะสมมากทีส่ ุด
ระดับ 2 หมายถึง มีปานกลางหรอื เขียนได้ถกู ต้องและเหมาะสมเปน็ ส่วนใหญ่
ระดับ 1 หมายถึง มีน้อยหรือเขียนได้ไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสม ควรได้รับการ

ปรับปรงุ แก้ไข

167

คะแนนการประเมิน
คะแนน 28-33 คะแนน อยใู่ นระดบั ดีมาก
คะแนน 22-27 คะแนน อย่ใู นระดบั ดี
คะแนน 21-16 คะแนน อยใู่ นระดับพอใช้
คะแนนตำ่ กว่า 16 คะแนน อยูใ่ นระดับควรปรับปรุง

ขอ้ สงั เกตจากการวิเคราะห์แผนการจดั การเรียนร้ขู องครู
จากการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ของครู พบวา่
1. การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของครูส่วนใหญ่มีองค์ประกอบที่ค่อนข้างเหมาะ

สมแต่ขาดประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ ขาดการระบุสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ โดยครูควรต้อง
เขียนระบุให้ชัดเจน เช่น ตัวอย่างแผนที่ครูเลือกมาคือเร่ือง พุทธประวัติ ซึ่งควรระบุให้ชัดถึง
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน ตามตารางวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ที่
สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนที่จะดำเนินการ
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในส่วนอื่น ๆ ต่อไป ส่วนองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
ตามที่ครูเขียนมานน้ั ประกอบด้วย

1.1 ตัวช้วี ัด
1.2 สาระสำคัญ (ความคิดรวบยอด)
1.3 จดุ ประสงค์การเรยี นรู้
1.4 กิจกรรมการเรียนรู้
1.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.6 สมรรถนะสำคญั
1.7 ความสมั พันธก์ ับวิชาอืน่
1.8 สือ่ และแหลง่ การเรียนรู้
1.9 การวดั ผลและประเมินผล (มีหลกั ฐานตารางรูบริค)
1.10 ผลงานและชนิ้ งานนักเรียน
1.11 บนั ทึกหลังสอน
2. การเขียนจดุ ประสงค์
ข้อที่ 2.1 เพื่อให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า เล่าพุทธประวัติอย่างย่อ ๆ ด้วยคำพูดของ
ตนเองได้ (Psychomotor Domain : P, Cognitive Domain : C)
ขอ้ เสนอแนะ ครเู ขียนสองพฤติกรรมในข้อเดียวกัน คือ ข้อแรกศึกษาค้นคว้า และ
ข้อที่สองเล่าพุทธประวัติ ซึ่งตามหลักของการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ ควรแยกแต่ละข้อ
ออกจากกันให้ชดั เจน เพือ่ สะดวกในการวดั พฤติกรรมดังกล่าว

168

ข้อที่ 2.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์คณุ ลักษณะของพระพทุ ธเจา้ ได้ (C)
ข้อที่ 2.3 เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายคุณลักษณะที่สำคัญของพระพุทธเจ้าที่
นำมาใช้ในการดำเนินชีวติ ได้ (C)
ข้อเสนอแนะ ซึ่งสองข้อนี้ยังใช้คำกริยาในการแสดงจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ไม่
สอดคล้องกับลำดับพัฒนาการ ตามหลักลำดับของการเกิดพฤติกรรมแล้วการอธิบายควรเกิด
ก่อนการวิเคราะห์ เนือ่ งจากเป็นลำดบั ขั้นพฤติกรรมจากงา่ ยไปหายาก
ข้อที่ 2.4 เพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข (Affective Domain :
A)
ข้อเสนอแนะ ควรระบุชื่อกิจกรรมที่ทำรว่ มกนั ให้ชดั เจน
ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาในการเขียนและการจัดเรียงลำดับตามพัฒนาการของ
พฤติกรรมทีถ่ กู ต้อง สามารถเขียนได้ดังนี้

2.1 เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าพุทธประวตั ิของพระพทุ ธเจ้าเกี่ยวกับ
การประสูติ ตรสั รู้ และปรินิพพานได้ (P)

2.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายพุทธประวัติอย่างย่อ ๆ ด้วยคำพูดของ
นักเรียนได้ (C)

2.3 เพือ่ ให้นักเรียนสามารถอธิบายคุณลักษณะของพระพทุ ธเจา้ ได้ (C)
2.4 เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์คุณลักษณะสำคัญของพระพุทธเจ้า ที่
นำมาใช้ในการดำเนินชีวติ ได้ (C)
2.5 เพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกันเกีย่ วกับพุทธประวัติของพระพุทธเจา้ ได้
อยา่ งมีความสุข (A)
3. ลักษณะของการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้แยกเป็นรายช่ัวโมง จึงทำให้มองไม่
เห็นภาพความสัมพันธข์ องการเรียนการสอนท้ังเร่ือง แม้ดเู หมอื นวา่ จะมีความสัมพันธ์กัน แต่ใน
ความเป็นจริงเร่ืองที่สอนก็ยังคงแยกส่วนกันอยู่ ลกั ษณะการเขียนแม้ว่าแสดงเป็นลำดับขั้นตอน
แต่ยังขาดการเช่อื มโยง
ข้อเสนอแนะ อาจเขียนรวมเป็นเร่ืองเดียวกันคือ พุทธประวัติ ท้ังหมด 3 ช่ัวโมง
แตแ่ ยกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออกเปน็ 3 ขั้นตอน คือ
3.1 ข้ันการให้ความรู้ โดยครูอาจจัดกิจกรรมในลักษณะที่ให้ความรู้ โดยการ
อธิบาย ให้ชมวิดีทัศน์ หรือให้นักเรียนศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วมานำเสนอหน้าช้ันเรียน ซึ่ง
ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาสาระที่สอน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในเนื้อหา
สาระในเรอ่ื งนน้ั ๆ ก่อนที่จะปฏิบัติในขั้นตอ่ ไป

169

3.2 ข้ันการฝึกทักษะ การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้เป็นการฝึกให้นักเรียนได้
ปฏิบัติ และทบทวนเนื้อหาสาระที่ได้เรียนมาลงสู่การปฏิบัติ ทำให้นักเรียนเกิดทักษะเพิ่มเติม
จากความรู้เดิมทีม่ ีอยู่ ในข้ันนีอ้ าจให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนเพิ่มเติมหรอื ปฏิบัติงาน
กลมุ่ ย่อยรว่ มกับเพือ่ นในชนั้ เรียน

3.3 ข้ันการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นขั้นตอนที่นักเรียนได้ประยุกต์
ความรู้ที่ได้จากการได้เรียนรู้ในข้ันการให้ความรู้และการฝึกทักษะ มาสร้างประสบการณ์การ
เรียนรู้ใหม่ เช่น ให้นักเรียนเขียนผังความคิดจากเร่ืองพุทธประวัติ โดยเขียนในประเด็นที่
นักเรียนเหน็ วา่ มีความสำคญั ซึง่ จะทำให้นักเรียนได้องคค์ วามรทู้ ี่เกิดขึน้ ได้ด้วยตนเอง

4. การวดั และประเมินผล
เคร่ืองมือวัดและประเมินผลที่ครูระบุในการเขียนแผนมีเพียงแบบประเมิน

ชิ้นงานเท่านั้น การประเมินผลไม่สอดคล้องและไม่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ตามที่ได้
ระบุไว้ เช่น การศึกษาค้นคว้า การเล่าพุทธประวัติ การวิเคราะห์คุณลักษณะ การอธิบาย
คณุ ลักษณะและการทำกิจกรรมรว่ มกัน

ขอ้ เสนอแนะ
4.1 ควรเขียนวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องและครอบคลุมกับ

จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ในทุก ๆ ข้อ
4.2 ควรแนบเคร่ืองมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับวิธีการวัดและ

ประเมินผล
5. บนั ทึกผลหลังการสอน
มีการเขียนบันทึกผลหลังการสอน แต่การเขียนน้ันเป็นการระบุพฤติกรรมที่

เกิดข้ึนโดยทัว่ ไปในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ข้อเสนอแนะ ควรเขียนบันทึกผลหลังการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การ

เรียนรู้ที่กำหนดไว้ ซึ่งทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนตามจุดประสงค์ เพื่อจะ
ได้นำไปเปน็ แนวทางในการพัฒนาคร้ังตอ่ ไป

3. สรุปประเดน็ ปญั หาการเรียนการสอน
จากการสัมภาษณเ์ พิ่มเติมเกี่ยวกบั ปญั หาการจัดการเรียนรขู้ องครู ได้ระบปุ ัญหาที่

เกิดขึน้ กบั นักเรียนส่วนใหญ่พบวา่ เกิดปัญหาทางด้านสมรรถภาพทางการคิดและการวิเคราะห์
จงึ ส่งผลในการจัดการเรียนรใู้ นเนือ้ หาบทเรียนอื่น ๆ ตามมาด้วย ตัวอย่างเช่น เรือ่ งพุทธประวัติ
อาณาจักรสุโขทัย พลเมืองดีตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น จากปัญหา
ดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้นักเรียนไม่สามารถสื่อความหมายด้วยผังความคิด (Mind Mapping)

170

และไม่สามารถแตกองค์ความรู้จากเร่ืองที่เรียนได้ รวมถึงขาดการเชื่อมโยงความรู้กับ
สถานการณ์ใหม่ ๆ จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้นักเรียนไม่สามารถเขียนผัง
ความคิดเพื่อแสดงถึงความรู้ ความเข้าใจของตนเองเพื่อการสื่อความหมาย การเขียนแสดง
รายละเอียดจากองค์ความรู้ และการเชื่อมโยงสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เม่ือสนทนาใน
รายละเอียดต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ครูผู้สอนและผู้นิเทศ จึงได้ตกลง
ร่วมกันว่าจะนำปัญหาเกี่ยวกับการเขียนผังความคิดเพื่อสะท้อนถึงความรู้ ความเข้าใจในการ
คิดวิเคราะหข์ องนักเรียนด้วยการนเิ ทศแบบคลินิก

4. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการเรียนการสอน
จากข้อมูลการสัมภาษณ์และข้อมูลการวิเคราะห์คุณภาพของแผนการจัดการ

เรียนรู้ ผนู้ ิเทศควรใหข้ ้อเสนอแนะดังน้ี
1. จากการที่ครูผู้สอนเลือกปัญหาการเขียนผังความคิด เพื่อแสดงถึงความรู้

ของนักเรียนในการสื่อความหมาย การเขียนแสดงรายละเอียดจากองค์ความรู้ และการ
เชื่อมโยงความรู้ เป็นประเด็นปัญหาที่จะร่วมกันพัฒนาสมรรถภาพการคิดวิเคราะห์ของ
นกั เรียน

ข้อเสนอแนะ ผู้นิเทศได้เตรียมการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเทคนิควิธีการ
สอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และเทคนิควิธีการพัฒนาสมรรถภาพการคิดวิเคราะห์
เพื่อนำมาสู่การเขียนผังความคิด โดยวิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อม
ทั้งเสนอแนะให้ครูผู้สอนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้มี
ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ เพื่อนำมาสู่การแก้ปัญหาการเขียนผัง
ความคิด จากน้ันครูและผนู้ ิเทศจึงมาปรึกษารว่ มกนั ในชว่ งก่อนเปิดภาคเรียนเป็นเวลา 1 เดือน

2. จากข้อมูลการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูเขียนแผนการ
จัดการเรียนรู้ไม่ชัดเจน และไม่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ดงั ทีก่ ลา่ วไว้ในการวิเคราะหค์ ุณภาพของแผนการจดั การเรยี นรู้

ขอ้ เสนอแนะ ผู้นิเทศได้เตรียมการให้ความรู้ ความเข้าใจกับครูผู้สอนเพื่อการ
พัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ
พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เดิมให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาสมรรถภาพทางการคิด
วิเคราะห์ เพื่อนำมาสู่การเขียนผังความคิดจากเรื่อง และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียน
แก่นักเรียนอย่างสงู สุด

นอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเรียนการสอนของครูรายบุคคลดังกล่าวแล้ว
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2556 : 48) ได้เสนอแบบบันทึก

171

การศึกษาสภาพปัจจบุ ันและสภาพปัญหา ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์รว่ มกันกับการ
เรียนการสอนของครู ดงั ตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง 2 แบบบันทึกการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหา ตามมาตรฐานด้านหลักสูตร
และการจดั การเรียนการสอน

ผลคุณภาพ

ตวั บ่งช้ี คณุ ภาพ คุณภาพ ตามเป้าหมาย
เปา้ หมายของ ทป่ี รากฏ กำหนด

สถานศึกษา ผ่าน ไม่

ผ่าน

1. ระดับคุณภาพในการใช้และพัฒนาหลักสูตร ดีมาก
ฐานสมรรถนะรายวิชาที่สอดคล้องกับความ 5 คะแนน
ต้องการของสถานประกอบการหรือประชาคม
อาเซียน

2. ระดบั คุณภาพในการจัดทำแผนการจัด ดีมาก
การเรียนรรู้ ายวิชา 5 คะแนน

3. ระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน ดีมาก

รายวิชา 5 คะแนน

4. ระดบั คณุ ภาพในการวดั และประเมินผล ดีมาก
การจัดการเรียนการสอนรายวิชา 5 คะแนน

5. ระดบั คณุ ภาพในการฝึกงาน ดี
55-64.99

หมายเหตุ สถานศึกษาอาจเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนตามเป้าหมายที่
สถานศกึ ษากำหนด

จดุ ทีต่ ้องพัฒนาตามท่ปี รากฏในรายงานการประเมินตนเอง (SAR)
…..........................................................................................................................

...............................................................................................................................................

172

ตวั อย่าง 3 แบบตรวจสอบรายการความกา้ วหน้าเบื้องต้นของนักศกึ ษาฝึกประสบการณ์
วิชาชีพครูหรือผู้รับการนิเทศ (Roe, Betty D., Ross Elinor P., Smith Sandra H., 2006 :
233)

ชื่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู..............................................................................
ชื่อผู้นิเทศ.............................................................................................................................
ชื่อโรงเรียนทีใ่ ห้คำปรึกษา....................................................................................................
ระดับช้ันเรยี น/ วิชาท่สี อน.....................................................................................................
วัน/ เดือน/ ป.ี .........................................................................................................................

ตัวยอ่ ระดับความสำเร็จ
EE = มากกว่าที่คาดหวงั (Exceed Expectations)
ME = เปน็ ไปตามทีค่ าดหวัง (Meets Expectations)
NI = ต้องได้รับการพฒั นา (Needs Improvement)
BE = ต่ำกวา่ ทีค่ าดหวัง (Below Expectations))

รายการ EE ME NI BE
1. มีความกระตอื รอื ร้น
2. ตรงตอ่ เวลาในการเข้าชั้นเรยี นและมาโรงเรียน
3. มีความคุ้นเคยกบั โรงเรียนเป็นอย่างดี
4. รู้จกั ชือ่ ของนักเรียนเป็นอย่างดี
5. มีการเตรียมความพร้อมในการสอน โดยใช้วธิ ีการ

ที่หลากหลาย
6. เตรียมคำถามสำหรับการสอน
7. สำรวจวิธีการสอนของโรงเรียน
8. มีปฏิสัมพันธ์ทีด่ กี ับนกั ศึกษาฝกึ สอนคนอื่น ๆ
9. รู้จกั กฎระเบียบ บทบาทหนา้ ที่ วินัยของโรงเรียน
10. มีสว่ นรว่ มการวางแผนในอนาคตร่วมกับโรงเรียน

173

3.2 โครงการพัฒนาการเรียนการสอน
หลังจากที่ผู้นิเทศได้วิเคราะห์การเรียนการสอนในประเด็นต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา

ข้างต้นแล้ว ลำดับต่อมาคือ การเขียนโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยครูผู้สอน ซึ่งการ
เขียนโครงการพัฒนาการเรียนการสอนมีรูปแบบการเขียนที่หลากหลาย เกี่ยวกับเรื่องนี้ วชิรา
เครือคำอ้าย (2552 : 390) ได้เขียนแผนการนิเทศแบบคลินิกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
วิเคราะหด์ ้วยเทคนิคการสบื เสาะหาความรู้ ดงั ตวั อยา่ งดงั ตอ่ ไปนี้

ตัวอย่าง โครงการพัฒนาการเรียนการสอน
1. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการเรยี นการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคดิ วิเคราะห์
สำหรับนกั เรียนช้นั ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรยี นฉัตรศรรี ุง้
2. หลักการและเหตุผล

โครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 ได้
พัฒนาขึ้นจากสภาพปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของนักเรียนโรงเรียนฉัตรศรีรุ้ง ประกอบกับ
สถานการณ์ ท างสังคม ในระดั บชาติ และจากผลสัม ฤทธิ์ทางการเรีย นของนักเรียนพ บว่า
นักเรียนส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยที่สะท้อนถึงความรู้ และทักษะด้านการคิดต่ำกวา่ ที่กำหนด ซึ่ง
ควรได้รับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
และจำเป็นต้องพัฒนาให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นตามเป้าหมายของโรงเรียน ท้ังนี้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ และสามารถดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการ
จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของครูจงึ มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านความรู้และ
ทักษะการคิด รวมถึงการเสริมสร้างเจตคติที่ดีให้กับนักเรียนซึ่งเป็นเร่ืองที่ท้าทายที่ครูทุกคน
ต้องพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง การพัฒนาการเรียนการสอนดังกล่าว มีแนวคิด
เดียวกันภายใต้การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระ
การเรียนรู้แกนกลาง กล่มุ สาระการเรียนรวู้ ิทยาศาสตร์ ระดบั ช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 6 โดยผู้สอน
ได้จัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งคาดว่าเม่ือ
เสร็จสิ้นภาคเรียนนี้แล้วนักเรียนจะมีความรู้และทักษะการคิดตามที่มุ่งหวัง จากการวัดผลและ
ประเมินผลที่เหมาะกับวัยและระดับความสามารถของนักเรียน ประกอบกับความร่วมมือจาก
ผู้ปกครองที่ได้ร่วมกันสังเกตพฤติกรรมในด้านทักษะการคิดตามการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้
กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนานักเรียนในทุก ๆ ด้าน โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากร
ทุกฝ่ายที่คอยดูแล ให้คำชี้แนะและช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ภายใต้การได้รับการสนับสนุนด้าน

174

การบริหารจัดการ สื่อวสั ดุอปุ กรณ์เพือ่ พัฒนาการเรียนการสอน สิง่ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ตลอดจนบรรยากาศของสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมโรงเรียนที่เอือ้ ต่อการพัฒนานักเรียนให้
บรรลตุ ามเป้าหมาย
3. วัตถปุ ระสงค์

3.1 เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฉัตรศรีรุ้ง ได้พัฒนา
ความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ หน่วยการเรียนรู้เร่ือง “ส่ิงมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม” กลุ่มสาระ
การเรียนรวู้ ิทยาศาสตร์

3.2 เพื่อให้ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการเรียนรู้ตามธรรมชาติและ
เต็มตามศกั ยภาพ

3.3 เพื่อปลูกฝงั ให้นกั เรียนเกิดทกั ษะการเรียนรโู้ ดยการคิดวิเคราะหอ์ ยา่ งเปน็ ระบบ
3.4 เพื่อให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการดำรง
ชีวติ ประจำวันได้อยา่ งเหมาะสม

4. ขอบเขตการดำเนินการ
4.1 กลมุ่ ตัวอยา่ ง ได้แก่
นักเรยี นช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรยี นฉัตรศรีรงุ้ จงั หวดั เชียงใหม่ จำนวน 159 คน
4.2 มาตรฐาน/ตัวช้วี ัด
มาตรฐาน
สาระท่ี 2 ชีวติ กับสิ่งแวดลอ้ ม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธร์ ะหว่างสิ่งแวดล้อม

กับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ
หาความรแู้ ละจติ วิทยาศาสตร์ สื่อสารสิง่ ที่เรยี นรู้และนำความรไู้ ปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากร
ธ รรม ช าติ ใน ระดั บ ท้ อ งถิ่ น ป ระเท ศ แ ล ะโล ก น ำค ว าม รู้ไป ใช้ ใน ใน ก ารจั ด ก าร
ทรพั ยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อมในท้องถิน่ อยา่ งยั่งยืน

4.3 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1. ชีวติ กบั สิง่ แวดล้อม
2. ความสมั พนั ธ์ของกลุม่ สิ่งมชี ีวติ

3. ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งสิ่งมีชีวติ กับสิ่งแวดล้อม
4. การดแู ลรักษาทรพั ยากรธรรมชาติ

175

5. แนวคิดและวิธีการในการพัฒนา ได้ดำเนินการจากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดตามมาตรฐาน
การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้แกนกลาง และกระบวนการคิดเพื่อนำมาใช้จัดกิจกรรมการ
จดั การเรยี นรู้ให้กบั นักเรียน ดงั ตารางต่อไปนี้

สาระท่ี 2 ชีวติ กับสิ่งแวดลอ้ ม
มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่าง
สิง่ แวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบ
เสาะหาความรแู้ ละจติ วิทยาศาสตร์ สื่อสารสิง่ ทีเ่ รยี นรู้และนำความรไู้ ปใช้
แผนการจัดการเรียนรู้ครงั้ ที่ 1 เรือ่ ง สิง่ แวดล้อมและแหล่งที่อยอู่ าศยั

ตวั ชี้วัด แนวทางวเิ คราะห์ กระบวนการคดิ เทคนิค/ทักษะ/

1. สำรวจและอธิบาย นกั เรียนสามารถสำรวจ การคดิ วเิ คราะห์ กิจกรรมการ
ความหมายของ บอกความหมาย จำแนก ด้านการสงั เกตและ
สิง่ แวดลอ้ มและ ประเภท บอกลกั ษณะของ การจำแนกและด้าน จดั การเรียนรทู้ ใ่ี ช้
องค์ประกอบของ สิ่งแวดลอ้ มในโรงเรียนและ การวเิ คราะห์เหตผุ ล
สิง่ แวดลอ้ ม ท้องถิน่ จำแนกสิ่งมชี วี ติ ไว้ ใชก้ ระบวนการ
2. สบื ค้นขอ้ มูลและ ในกลมุ่ สง่ิ มชี วี ติ และกลุ่ม จัดการเรียนรู้ดว้ ย
อภิปรายเกี่ยวกบั การ ประชากรและเหน็ คุณคา่ เทคนิคการสบื เสาะหา
จดั จำแนกประเภท ของส่งิ แวดลอ้ มต่อการ ความรู้ (Inquiry Based
ของส่งิ แวดลอ้ ม ดำรงชวี ติ ของสิง่ มชี วี ติ Learning Technique )
3. อธิบายความ ประกอบด้วยขน้ั ตอน
สัมพันธ์ของสง่ิ แวดลอ้ ม ดงั น้ี
กับแหลง่ ทีอ่ ยูอ่ าศยั 1. นยิ ามคำถามและ
4. อธิบายความสัมพนั ธ์ ทำความเขา้ ใจให้
ของประชากร และกลมุ่ ชัดเจนกบั คำถาม
สิง่ มีชีวิตในแหลง่ ทีอ่ ยู่ 2. ศกึ ษาสำรวจ
อาศยั รวบรวมขอ้ มลู
5. สบื เสาะหาความรู้ 3. สร้างความคิด
เกีย่ วกบั สง่ิ แวดลอ้ ม รวบยอด อภปิ ราย
และแหล่งทีอ่ ย่อู าศัยโดย สรปุ ผล คิดไตร่ตรอง
สำรวจสิ่งแวดล้อมใน กำหนดแนวคิดและ
โรงเรียนและชมุ ชนของ ปฏบิ ัติ
ตนเอง

176

6. สื่อการจดั การเรียนรแู้ ละแหลง่ การเรียนรู้
สื่อการจัดการเรียนรู้
1. ภาพเกีย่ วกับสิ่งแวดล้อม
2. สื่อการสอนโปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอ (Power Point) เร่ือง

“ส่งิ แวดล้อมกับแหล่งทีอ่ ยู่อาศยั ”
3. หนังสือเรยี นวิทยาศาสตร์ ป.6
4. ใบงานชิน้ ที่ 1 เรือ่ ง การสำรวจสิง่ แวดล้อมในท้องถิน่ ของเรา

แหล่งการเรียนรู้
1. หอ้ งสมุด
2. หอ้ งปฏิบตั ิการคอมพิวเตอร์

7. การวดั ผลและประเมินผล
1. ดา้ นความรู้
ผลการทำแบบฝกึ หดั “การสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของเรา”
2. ดา้ นทักษะกระบวนการ
พฤติกรรมการอภปิ ราย แสดงความคิดเห็น และการตอบคำถามของนกั เรียน
3. ดา้ นเจตคติ
พฤติกรรมที่แสดงถึงความสนใจตอ่ การเรียนรู้ และการมเี จตคติทาง

วิทยาศาสตร์

วิธีการวัด/สิ่งที่วดั เครื่องมือวดั เกณฑ์การวัด/ประเมิน
1. แบบฝกึ หัด “การสำรวจ 1. แบบประเมินผลงานจาก 1. เกณฑ์การประเมินได้
สิ่งแวดล้อมในท้องถิน่ การสำรวจสิง่ แวดล้อมใน คะแนน ตง้ั แต่ 12 คะแนน
ของเรา” ท้องถิ่น ขึน้ ไปจากคะแนนเตม็
ท้ังหมด 20 คะแนน
2. สังเกตการอภปิ ราย การ 2. แบบประเมินผลการ ถือว่าผ่านเกณฑ์
ตอบคำถามและการแสดง อภปิ ราย การตอบคำถาม 2. เกณฑ์การประเมินได้
ความคิดเห็นเกีย่ วกบั และการแสดงความคิดเห็น คะแนนตั้งแต่ 6 คะแนนข้ึน
สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ไป จากคะแนนเตม็ ท้ังหมด
และในท้องถิ่นของตน 10 คะแนน ถือว่าผา่ น
เกณฑ์

177

วิธีการวัด/สิ่งที่วัด เครือ่ งมือวัด เกณฑก์ ารวดั /ประเมิน
3. สงั เกตพฤติกรรมการ 3. แบบประเมินพฤติกรรม 3. เกณฑก์ ารประเมินได้
เรียนและการปฏิบตั ิงานที่ การเรียนและการมเี จตคติ คะแนนตั้งแต่ 6 คะแนน
มอบหมายให้ ซึง่ แสดงถึง ทางวิทยาศาสตร์ ขนึ้ ไปจากคะแนนเตม็
ความสนใจตอ่ การเรียนรู้ ทั้งหมด 10 คะแนน
และการมีเจตคติทาง ถือว่าผ่านเกณฑ์
วิทยาศาสตร์

จากตัวอย่างที่นำเสนอ เป็นส่วนหนึ่งที่ให้ผู้ศึกษาได้มองเห็นแนวทางสำหรับการ
ปฏิบัติจริง ซึ่งครูจำเป็นต้องเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดที่
ต้องการพฒั นาในทุก ๆ แผน ตามทีไ่ ด้วเิ คราะหก์ ารเรยี นการสอนท้ังหมดในภาคเรียนนี้

8. ขัน้ การดำเนินงาน

รายการ ระยะเวลา สถานท่ี เครือ่ งมือ
1. ศกึ ษาข้อมลู พ้ืนฐาน 1-30 เม.ย. โรงเรียน -แบบสำรวจ
ฉตั รศรีรุ้ง -แบบสอบถาม
1.1 วิเคราะหผ์ ู้เรียน 2556 -แบบสัมภาษณ์
1.2 ศกึ ษาหลักการ
แนวคิด และทฤษฎีที่ 6-10 โรงเรียน -แบบสงั เกต
เกี่ยวข้องกับการพฒั นาการ พ.ค. 2556 ฉตั รศรีรุ้ง -แบบทดสอบ
เรียนการสอน -แบบสอบถาม
1.3 ศกึ ษาเทคนิคและการ -แบบสมั ภาษณ์
จดั การเรยี นรู้ทีส่ ่งเสริมการ -แบบประเมินความ
คิดวิเคราะห์ สอดคล้อง
2. กำหนดวิธีการสอนและ
พฒั นาเคร่อื งมอื การสอน
2.1 กำหนดวธิ ีสอนและ
ทักษะ/เทคนิคการสอนที่ใช้
2.2 พัฒนาและเลือกใช้
เครือ่ งมือในการสอน

178

รายการ ระยะเวลา สถานท่ี เครือ่ งมือ
3. ปฏิบัติการสอน 22 ม.ิ ย.- โรงเรียน -เอกสารเสริมความรู้
30 ก.ย. ฉัตรศรีรุ้ง -แบบทดสอบ
2556 -แบบสังเกต

4. ประเมินผลและปรับปรงุ 1-10 โรงเรียน -แบบสงั เกต
การสอน ดังน้ี ต.ค. 2556 ฉัตรศรีรุ้ง -แบบทดสอบ
-แบบสอบถาม
4.1 ผลการเรียนรู้และ -แบบสัมภาษณ์
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ของนักเรียน

4.2 ความคิดเหน็ ของ
นักเรียนทีม่ ีตอ่ วิธีการสอน
ของครู

4.3 การประเมินตนเอง
ของครทู ีม่ ตี อ่ การจัดการ
เรียนการสอน

9. ทรัพยากรบคุ คล

9.1 ท่ปี รึกษาโครงการ

1. นายนิคม สขุ นเิ ทศ ผอู้ ำนวยการโรงเรียนฉัตรศรีรงุ้

2. อาจารย์ ดร.วชริ า เครือคำอา้ ย อาจารย์คณะครศุ าสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

9.2ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ คุณครสู อนเก่ง ใจดีมาก และคณะ

10. การประเมินผลการพฒั นาการสอนทงั้ ระบบ

ขนั้ ตอนการประเมิน วิธีการ เครื่องมือ
-ศกึ ษาเอกสาร -แบบสำรวจ
ขนั้ ท่ี 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความ ของโรงเรียน -แบบสอบถาม
ตอ้ งการ -การสอบถาม -แบบสัมภาษณ์
-การสมั ภาษณ์
สภาพปัญหาการจดั การเรยี นการสอนของ
ครูและสิ่งที่ต้องการพฒั นาให้กบั นักเรียน

179

ข้ันตอนการประเมิน วิธีการ เครื่องมือ
ขน้ั ท่ี 2 การกำหนดวิธีการสอนและ -เขียนโครงการ -ประเด็น
นวตั กรรมที่ใช้ในการสอน พฒั นาการเรียน การศกึ ษา
1. วิธีการสอนของครู การสอน เอกสาร
2. นวัตกรรมทีใ่ ช้ในการสอน -จัดทำส่อื การ -แบบประเมิน
จัดการเรียนรู้ ความสอดคล้อง
ขนั้ ท่ี 3 ผลจากการพฒั นาการเรียน -เขียนแผนการ
การสอน จัดการเรียนรู้ -แบบทดสอบ
-ให้ผู้เชี่ยวชาญ -แบบบนั ทึกการ
1. ความรคู้ วามสามารถในการจดั การเรียนรู้/ ตรวจสอบ สงั เกต
การใชน้ วัตกรรม/ สื่อการสอนและการวดั ผล -การทดสอบ -แบบประเมิน
ประเมินผลของครู -การสงั เกต ชนิ้ งาน/ ผลงาน
-การประเมิน
2. ผลการเรียนรู้และทกั ษะการคิดวิเคราะห์ ชิน้ งาน/ ผลงาน -แบบทดสอบ
ของนักเรียน
ข้ันท่ี 4 การประเมินผลการสอน -การทดสอบ -แบบสอบถาม
1. ผลการเรียนรู้และทกั ษะการคิดวิเคราะห์ -แบบสอบถาม
ของนกั เรียน -การสอบถาม
2. ความคิดเห็นของนกั เรียนที่มตี อ่ วิธีการ -การสอบถาม
สอนของครู
3. การประเมินตนเองของครูที่มตี อ่ การ
จัดการเรยี นรู้

ลงชือ่ .................................................ผเู้ สนอโครงการ
(คณุ ครสู อนเกง่ ใจดีมาก)

ลงชือ่ ................................................ผอู้ นมุ ตั โิ ครงการ
(นายนิคม สุขนิเทศ)

ผอู้ ำนวยการโรงเรียนฉัตรศรีรงุ้

180

3.3 โครงการนิเทศ
การเขียนโครงการนิเทศจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อครูมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเขียน

โครงการพัฒนาการเรียนการสอนเรียบร้อยแล้ว หลังจากน้ันผู้นิเทศจึงเขียนโครงการนิเทศ ซึ่ง
การเขียนโครงการนเิ ทศนน้ั จะต้องสมั พันธ์กบั โครงการพฒั นาการเรียนการสอน เกีย่ วกับเรื่องนี้
วชิรา เครือคำอ้าย (2552 : 509) ได้นำเสนอตัวอย่างโครงการนิเทศแบบคลินิก ซึ่งผู้เขียนได้
พฒั นาเพิ่มเติม ดังตวั อย่างต่อไปนี้

ตวั อย่าง โครงการนิเทศแบบคลินิก

1. ชื่อโครงการ การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการนิเทศแบบคลินิก

2. หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจความต้องการของครูผู้สอนทุกคนในสถานศึกษา ที่สนใจในการ

พัฒนาด้านการเรียนการสอน พบว่า ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มาบรรจุใหม่ในช่วง 2-5 ปี มีความต้องการรับการนิเทศจากฝา่ ยวิชาการ
และจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
สภาพท่ัวไปของการจัดการศึกษา พบว่า สภาพปัญหาการเรียนการสอนด้านการพัฒนาทักษะ
การคิดวิเคราะห์ จำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ซึ่งเป็นกลุ่มสาระหลักอันเป็นพื้นฐานสำคัญทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี ท้ังนี้
สอดคล้องกับผลการประเมินภายในของโรงเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะใน
มาตรฐานที่ 5 เร่ือง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ดังน้ันเพื่อพัฒนาตามเจตนารมณ์
ดังกล่าวจงึ จดั ทำโครงการนิเทศนีข้ นึ้ อยา่ งเป็นระบบ

จากความจำเป็นที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้นิเทศฝ่ายวิชาการของโรงเรียนได้เห็น
ความสำคัญที่จะต้องส่งเสริมพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระดังกล่าว ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการ
เรียนรู้ของผู้เรียน คณะผนู้ ิเทศจึงมีความประสงค์ที่จะช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ให้แกค่ รูสามารถ
พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์ฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อให้การนิเทศในคร้ัง
นบี้ รรลตุ ามเป้าหมาย

181

3. กรอบแนวคิดในการนิเทศ
สำหรับกรอบแนวคิดการนิเทศคร้ังนี้ ได้ศึกษาจากแนวคิดของนักการศึกษา

ดังต่อไปนี้
กลิกแมน กอร์ดอน และรอสส์ กอร์ดอน (Glickman Gordon and Ross Gordon,

2010 : 10) กล่าวถึงงานการนิเทศการสอน 5 งาน คือ 1) การให้ความช่วยเหลือครูโดยตรง 2)
การพฒั นากลมุ่ 3) การพัฒนาบุคลากร 4) การพฒั นาหลักสูตร และ 5) การวิจยั เชิงปฏิบตั ิการ

โบยัน และคอพแลนด์ (Boyan & Copeland, 1978 : 4-6) กล่าวถึงขั้นตอนการ
นิเทศการสอน 4 ขั้นตอนคือ 1) การประชมุ ปรึกษาหารอื ก่อนการสงั เกต 2) การสังเกตการสอน
3) การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตการสอน และ 4) การประชุมปรึกษาหารือ เพื่อให้ข้อมูล
ย้อนกลบั หลงั การสังเกตการสอน

แกลทธอร์น (Glatthorn 1984 : 4, อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี, 2554 : 97) เสนอ
รูปแบบการนิเทศ 4 รูปแบบ คือ 1) การนิเทศแบบคลินิก 2) การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ
3) การนเิ ทศแบบพฒั นาตนเอง และ 4) การนเิ ทศโดยผบู้ ริหาร

สงัด อุทรานันท์ (2530 : 84-88) กล่าวถึงกระบวนการนิเทศการสอน 5 ขั้นตอน
คือ 1) การวางแผนการนิเทศ 2) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ 3) การดำเนินการนิเทศ 4) การ
สร้างเสริมกำลังใจในการนเิ ทศ และ 5) การประเมนิ ผลการนเิ ทศ

จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าว ผู้นิเทศได้นำวิธีการนิเทศการสอนของแกลทธอร์น
(Glatthorn ) ใน 2 วิธีคือ 1) การนิเทศแบบคลินิก และ 2) การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพมา
ดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนฉัตรศรีรุ้ง ในด้านกระบวนการนิเทศการ
สอนและนำกระบวนการนิเทศของ สงัด อุทรานันท์ มาประยุกต์เป็นกระบวนการนิเทศการสอน
3 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนการนิเทศ 2) การปฏิบัติการนิเทศ และ 3) การประเมินผลการ
นิเทศ ในด้านกิจกรรมการนิเทศนำเอากิจกรรมการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพือ่ นของ โรเบิร์ต เจ.
แกมส์กอน (Robert J. Gamgort) ใน 3 รูปแบบมาช่วยเหลือครูผสู้ อน คือ 1) การช่วยเหลือครูใน
การถ่ายโยงความรู้ ทักษะสู่การปฏิบัติการสอน 2) การช่วยเหลือครูให้พัฒนา ปรับปรุงการ
เรียนการสอน และ 3) การช่วยเหลอื ครใู หร้ ่วมมอื กนั ในการแก้ปญั หาการเรียนการสอน

จากแนวคิดดังกล่าว คณะผู้นิเทศได้นำมาจัดทำเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนา
สมรรถภาพในการจดั การเรียนการสอนของครู โดยมีข้ันตอนการดำเนินงานดงั น้ี

1. ศกึ ษาข้อมลู พ้ืนฐาน
1.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทางการนิเทศการศึกษา และศึกษาแนวคิดหลักการใน

การพัฒนาการเรียนการสอน

182

1.2 ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ
ในการจัดการเรยี นการสอน

2. กำหนดวิธีสอนและพฒั นาเครื่องมือการนเิ ทศ
2.1 กำหนดวิธีสอนของครผู รู้ ับการนเิ ทศ
2.2 สร้างและพฒั นาเครื่องมือในการนเิ ทศ

3. การนเิ ทศ
3.1 ผรู้ ับการนเิ ทศดำเนินการสอนตามวิธีการสอนทีก่ ำหนด
3.2 ผนู้ ิเทศดำเนินการนเิ ทศโดยใช้เครื่องมอื การนเิ ทศที่พัฒนาขึน้

4. ประเมินและปรับปรงุ
4.1 ประเมินความรู้ ความสามารถ และความเหน็ ของครูต่อวิธีการนเิ ทศ
4.2 ประเมินผลการเรียนรู้ และความคิดเหน็ ของนักเรียนที่มีต่อวิธีการสอน

ของครู
4.3 ประเมินความคิดเหน็ ของผู้บริหารที่มีต่อวธิ ีการนเิ ทศ

การดำเนินการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูด้วยวิธีการนิเทศแบบ
คลินิกสรุปเป็นแผนภมู ิ ได้ดงั นี้

183

ศึกษาขอ้ มลู กำหนดวธิ ีสอน การนิเทศ ประเมนิ และ
พื้นฐาน และพฒั นา ปรับปรงุ
เครื่องมอื 1. ผู้รับการนเิ ทศ
1. ศกึ ษาแนวคิด การนิเทศ ดำเนนิ การสอน 1. ประเมินความ
ทฤษฎีการนิเทศ ตามวธิ ีสอนที่ รู้ความสามารถ
และศกึ ษาแนวคิด 1. กำหนดวธิ ี กำหนด และความคิด
หลกั การในการ สอนของผู้รบั 2. ผู้นิเทศ เห็นของครตู อ่
พฒั นาสมรรถ- การนเิ ทศ ดำเนนิ การนิเทศ วธิ ีการนิเทศ
ภาพในการจดั 2. สร้างและ โดยใชเ้ ครอ่ื งมือ 2. ประเมินผล
การเรียนรู้ พัฒนาเครือ่ งมอื การนเิ ทศที่ การเรียนรู้และ
2. ศกึ ษาสภาพ ในการนิเทศ พฒั นาขึ้น ความคิดเห็น
ปญั หาและความ ของนกั เรียนทีม่ ี
ตอ้ งการในการ ต่อวธิ ีการสอน
นเิ ทศเพอ่ื พฒั นา ของครู
สมรรถภาพใน 3. ประเมินความ
การจดั การเรียนรู้ คิดเหน็ ของ
ผู้บริหารที่มีตอ่
วธิ ีการนิเทศ

แผนภูมิที่ 3.1 แสดงกรอบแนวคิดการนิเทศแบบคลินิก

4. วัตถปุ ระสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นในการนิเทศเพื่อพัฒนาการ

จดั การเรยี นรู้ของครู
2. เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนโดยวิธีการนิเทศแบบ

คลินิก
3. เพื่อประเมินผล และปรับปรุงสมรรถภาพการจัดการเรยี นรู้ของครูผสู้ อน

184

5. ขอบเขตการดำเนินการ
1. กลมุ่ ตัวอย่าง
ดำเนินการโดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน (ระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 4 – 6)

จำนวน 9 คน ประกอบด้วย
1.1 ครูผสู้ อนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 คน
1.2 ครูผสู้ อนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 คน
1.3 ครูผสู้ อนระดบั ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 6 จำนวน 3 คน

2. สาระการเรียนรทู้ ีด่ ำเนินการนเิ ทศ
ประกอบด้วย 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

สงั คมศกึ ษาศาสนาและวฒั นธรรม และภาษาต่างประเทศ
3. เนือ้ หาสาระ ประกอบด้วย
3.1 การจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปญั หา หรือพัฒนานักเรียนในสมรรถภาพ

ทีเ่ ป็นปญั หาของครูกลุม่ ตวั อยา่ ง
3.2 การสังเกตการสอน

4. วิธีการนเิ ทศ คือ
การนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) เป็นการนิเทศที่เน้นกระบวนการ

ปรับปรุงการสอนของครูอย่างเข้มข้นเป็นระบบทุกขั้นตอน เน้นการสังเกตการสอนโดย
ผเู้ ช่ยี วชาญทางการนิเทศ

5. ระยะเวลาในการปฏิบตั ิการนเิ ทศ
1 ภาคเรียนการศกึ ษา

6. ตัวแปรที่ศึกษา
6.1 ตวั แปรต้น คือ วิธีการนเิ ทศแบบคลินิก
6.2 ตัวแปรตาม คือ
6.2.1 ความรู้ ความสามารถของครูผสู้ อนในการจดั การเรยี นการสอน
6.2.2 ความคิดเห็นของครผู สู้ อนทีม่ ตี ่อวิธีการนเิ ทศ
6.2.3 ผลการเรียนรู้ของผเู้ รียน
6.2.4 ความคิดเหน็ ของผเู้ รียนทีม่ ตี ่อวิธีการสอนของครูผสู้ อน
6.2.5 ความคิดเห็นของผบู้ ริหารที่มีต่อวธิ ีการนเิ ทศแบบคลินิก

185

6. ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา สถานท่ี เครือ่ งมือ
รายการปฏิบัติ

1. ศึกษาขอ้ มลู พื้นฐาน 1 - 10 โรงเรียน -แบบสำรวจ
1.1 ศกึ ษาแนวคิด ทฤษฎี เม.ย. 2556 ฉตั รศรีรุ้ง -แบบสอบถาม
-แบบสัมภาษณ์
และหลักการในการพฒั นาการ
เรียนการสอน

1.2 ศกึ ษาสภาพปญั หา 11 - 30 โรงเรียนฉตั รศรีรุ้ง -แบบสงั เกต
และความตอ้ งการรบั การนเิ ทศ เม.ย. 2556 และศนู ย์ -แบบทดสอบ
2. กำหนดวิธีสอนและพฒั นา -แบบสอบถาม
เครื่องมือนิเทศ ฝกึ ประสบการณ์ -แบบสัมภาษณ์
วิชาชีพครู -แบบประเมิน
2.1 กำหนดวิธีสอนของครู ความสอดคล้อง
2.2 สร้างและพฒั นา คณะครศุ าสตร์
เครือ่ งมือการนิเทศ มหาวิทยาลัย -เอกสารเสริม
ราชภัฏเชียงใหม่ ความรู้
3. ปฏิบัติการนิเทศ 1 พ.ค.- -แบบทดสอบ
3.1 ทบทวนความรู้เดิมและให้ 15 ม.ิ ย. โรงเรียน -แบบสงั เกต
2556 ฉตั รศรีรุ้ง
ความรู้ก่อนการนิเทศและร่วมกัน -แบบสงั เกต
วางแผนการนเิ ทศ 16-30 โรงเรียน -แบบทดสอบ
ม.ิ ย. 2556 ฉตั รศรีรุ้ง -แบบสอบถาม
3.2 ปฏิบัติการนิเทศด้วยการ -แบบสัมภาษณ์
สังเกตการสอน

4. ประเมินผลและปรบั ปรงุ
การนิเทศ

4.1 ประเมินความรู้ความ
สามารถและความคิดเห็นของ
ครูทีม่ ตี อ่ วิธีการนเิ ทศ

186

รายการปฏิบตั ิ ระยะเวลา สถานท่ี เครือ่ งมือ
4.2 ประเมินผลการเรียนรแู้ ละ
ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีตอ่
วิธีการสอนของครู
4.3 ประเมินความคิดเห็นของ
ผบู้ ริหารที่มีตอ่ วธิ ีการนเิ ทศ

7. ทรพั ยากรบคุ คล
7.1 ที่ปรึกษาโครงการ
7.1.1 ผอู้ ำนวยการโรงเรียนฉัตรศรีรงุ้
7.1.2 คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชยี งใหม่
7.1.3 รองคณบดีฝา่ ยวิชาการ คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชียงใหม่
7.1.4 ประธานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏเชียงใหม่
7.2 ผนู้ ิเทศ
7.2.1 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนฉตั รศรีรงุ้
7.2.2 หัวหนา้ กลุ่มสาระการเรียนรวู้ ิทยาศาสตร์
7.2.3 คณาจารยค์ ณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชียงใหม่
7.3 ผรู้ บั การนเิ ทศ
ครผู สู้ อนโรงเรียนฉัตรศรีรงุ้ ระดบั ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 9 คน

8. การประเมินผลการนิเทศ

ประเด็นการประเมิน วิธีการ เครื่องมือ
-ศกึ ษาเอกสาร -แบบสำรวจ
ข้ันท่ี 1 การศกึ ษาสภาพปญั หาและ -สอบถาม -แบบสอบถาม
ความตอ้ งการ -สัมภาษณ์ -แบบสมั ภาษณ์

1.1 สภาพปญั หาการจัดการเรยี น
การสอนของครู

1.2 ความตอ้ งการรบั การนเิ ทศ
การสอนของครู

187

ประเดน็ การประเมิน วิธีการ เครื่องมือ
-ศกึ ษาเอกสาร
ขน้ั ท่ี 2 กำหนดวิธีสอนและพฒั นา -ประเดน็ การศกึ ษา
เครือ่ งมือนิเทศ -ให้ผู้เชีย่ วชาญ เอกสาร
ตรวจสอบ -แบบประเมิน
2.1 วิธีสอนของครู ความสอดคล้อง
2.2 เครื่องมือการนเิ ทศ

ขัน้ ท่ี 3 การนเิ ทศ -ทดสอบ -แบบทดสอบ
-แบบสงั เกต
ความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ -สงั เกต

ของครู

ขัน้ ท่ี 4 การประเมนิ ผลการนเิ ทศ

4.1 ความรู้ ความสามารถของครู -สังเกต/ทดสอบ -แบบบันทึก
การสังเกต/
ในการจดั การเรยี นรู้ แบบทดสอบ
-แบบสอบถาม
4.2 ความคิดเหน็ ของครูทีม่ ตี อ่ วิธีการนเิ ทศ -สอบถาม -แบบทดสอบ
-แบบสอบถาม
4.3 ผลการเรียนรู้ของผเู้ รียน -ทดสอบ -แบบสัมภาษณ์

4.4 ความคิดเหน็ ของผเู้ รียนที่มี -สอบถาม

ตอ่ วิธีการสอนของครู

4.5 ความคิดเหน็ ของผู้บริหาร -สัมภาษณ์

ที่มตี ่อวิธีการนเิ ทศ

ลงชื่อ....................................................ผเู้ สนอโครงการ
(นางพรนบั พนั กัลยาณมติ ร)

ลงชื่อ....................................................ผอู้ นมุ ตั โิ ครงการ
(นายนิคม สขุ นิเทศ)

ผอู้ ำนวยการโรงเรียนฉัตรศรีรงุ้

188

3.4 แผนการนิเทศ
การเขียนแผนการนิเทศจะดำเนินการได้ ก็ต่อเม่ือผู้นิเทศได้กำหนดโครงการนิเทศ

เรียบร้อยแล้วหลังจากน้ัน จึงดำเนินการเขียนแผนการนิเทศ ซึ่งหลักของการเขียนแผนการ
นิเทศนั้น จำเป็นต้องพิจารณาควบคู่ไปกับแผนการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อให้สอดคล้องและ
สัมพันธ์กัน เกี่ยวกับเร่ืองนี้ วชิรา เครือคำอ้าย (2552 : 389) ได้นำเสนอแผนการนิเทศ ซึ่ง
ผเู้ ขียนได้พัฒนาเพิ่มเติม ดงั ตวั อยา่ งตอ่ ไปนี้

ตัวอย่าง แผนการนิเทศแบบคลินิก

แผนการนิเทศแบบคลินิกครงั้ ท่ี 1 เพื่อพัฒนาการจดั การเรียนรู้ดว้ ยเทคนิคการเรียนรแู้ บบสืบ

เสาะหาความรู้ (Inquiry Based) ของผู้รบั การนเิ ทศ โรงเรียนฉตั รศรีรงุ้

เร่อื ง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กบั ระบบขบั ถา่ ยของเสีย ระดับชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 6

ผนู้ ิเทศ คุณครสู อนเก่ง ใจดีมาก ผูร้ บั การนิเทศ คุณครูเติมเต็ม สงวนนเิ ทศ

กลุ่มสาระการเรียนรวู้ ทิ ยาศาสตร์ วนั ที่นิเทศ 23 มิถนุ ายน 2556

เวลา 08.30 น. – 09.30 น. ระยะเวลาในการสงั เกต 1 ชั่วโมง

1. สาระสำคญั

ผู้นิเทศช่วยเหลือแนะนำครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้สามารถ

ดำเนินการสอนเร่ือง “แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับระบบขับถ่ายของเสีย” ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ

สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based) ครบตามข้ันตอนและมีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมให้

นักเรียนคิดวิเคราะห์ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน

พ.ศ. 2551 จากแผนการจัดการเรยี นรู้ที่ได้พฒั นารว่ มกนั

2. ตวั ชี้วัด
1. เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรยี นรู้ที่สง่ เสริมทักษะการคิดของครู
2. เพื่อให้ครเู กิดความม่นั ใจในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสรมิ การคดิ
3. เพือ่ สง่ เสริมความร่วมมอื และการทำงานรว่ มกันระหว่างผนู้ ิเทศกบั ครู

3. ขอบขา่ ย
ข้ันตอนเทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based)
1. นิยามคำถามและทำความเข้าใจกับคำถาม
2. ต้ังสมมตุ ฐิ าน แนะนำแนวทางการแก้ปญั หาทีเ่ ป็นไปได้
3. เกบ็ รวบรวมข้อมลู และจดั การดำเนินการเก็บข้อมลู
4. การประเมนิ ผลข้อมลู การวิเคราะห์และตีความหมายข้อมลู

189

5. การสรปุ อ้างองิ และสรปุ หลักการทั่วไป
4. กิจกรรมการนิเทศ

ผู้นิเทศและครูร่วมมือกันปฏิบัติงานตามโครงการ การพัฒนาสมรรถภาพการ
จัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วย
วิธีการนเิ ทศแบบคลินิก โดยมีกิจกรรมการนิเทศดงั นี้

1. ผู้นิเทศและครูร่วมกันทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและวาง
แผนการนเิ ทศแบบคลินิก ระยะเวลา 1 ภาคเรียน โดยกำหนดเปน็ ปฏิทินการสังเกตการสอน

2. ครูส่งแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้นิเทศตรวจสอบความถูกต้องและปรับปรุง
แก้ไข เพิ่มเติมกิจกรรมการสอน ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based)
ให้สมบูรณย์ ิ่งขึน้

3. ครูปฏิบัติการสอนตามโครงการและแผนที่ได้เสนอไว้ในการพัฒนาการเรียนการ
สอน

4. ขณะที่ครูดำเนินการสอน ผู้นิเทศจะเข้าไปช่วยเหลือแนะนำและสังเกตการณ์
ตามปฏิทินที่ได้กำหนดรว่ มกัน โดยใช้แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมการสอนตามตวั บ่งชี้ด้วย
เทคนิคการเรียนรแู้ บบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based)

4.1 ผนู้ ิเทศทำหนา้ ที่นเิ ทศโดยสังเกตการสอนของครู
4.2 ผนู้ ิเทศและครูร่วมกันพิจารณาข้อมูลจากการสังเกต เพือ่ การปรับปรุงและ
พัฒนาการสอนในครั้งต่อไปให้ดียิง่ ขนึ้
5. ในการสังเกตการสอน ผู้นิเทศและครูจะตกลงร่วมกันถึงวิธีบันทึกรายงานผล
การสงั เกตการสอน
6. ผู้นิเทศสรุปและรายงานผลการนิเทศในภาพรวมจากการสังเกตทุกคร้ัง แล้ว
นำเสนอผอู้ ำนวยการสถานศกึ ษาและผทู้ ีเ่ กี่ยวข้อง

5. สือ่ /เครื่องมือการนิเทศ
1. โครงการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่ม

สาระการเรียนรวู้ ิทยาศาสตร์ ระดบั ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. แผนการจดั การเรียนรู้
3. ปฏิทินสงั เกตการสอน
4. เคร่ืองมือสังเกตการสอน แบบสงั เกตและบันทึกพฤติกรรมการสอนตามตัวบ่งชี้

ด้วยเทคนิคการเรียนรแู้ บบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based)
5. แบบรายงานผลการสอนของครูผู้รบั การนเิ ทศ

190

6. การวัดและประเมินผล
1. ผลการบันทึกการสงั เกตการสอน แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมการสอนตาม

ตัวบง่ ชีด้ ้วยเทคนิคการเรียนรแู้ บบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based)
2. การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ครูผู้รับการนิเทศและการเขียนรายงานผลการสังเกต

การสอนของแต่ละครง้ั

ลงชื่อ....................................................
(คณุ ครูสอนเกง่ ใจดีมาก)
ผนู้ ิเทศการสอน
23 มิถนุ ายน 2556

191

3.5 แบบฟอรม์ ปฏิทินการนิเทศ
หลังจากที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศได้ปรึกษาหารือร่วมกัน และดำเนินการเขียน

โครงการพัฒนาการเรียนการสอน โครงการนิเทศและแผนการนิเทศเรียบร้อยแล้ว จึงมาสู่
ข้ันตอนของการกำหนดปฏิทินการนิเทศ ดังตัวอย่างแบบฟอร์มปฏิทินการนิเทศการสอน
ต่อไปนี้

ตวั อย่าง แบบฟอรม์ ปฏิทินการนิเทศการสอน
ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา..................โรงเรยี น.....................................................................
ชือ่ -สกลุ ผู้รับการนิเทศ........................................................................................................
ชื่อ-สกุล ผูน้ ิเทศ................................................กลุ่มสาระการเรียนรู้.................................
วัน/เดือน/ปี เร่มิ ต้น-สิ้นสดุ ภาคเรียนในปีการศึกษา ...................ระดับช้ัน....................

เดือน ครั้งท่ี วัน/เดือน/ปี เวลา เร่อื ง
ท่นี ิเทศการสอน

192

การกำหนดปฏิทินการนิเทศน้ัน เป็นการนัดหมายเพื่อให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
ได้วางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบ โดยเวลาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความ
เหมาะสม แต่มีผู้นิเทศบางคนมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องว่า ตนเองสามารถไปพบผู้รับการนิเทศ
เม่ือใดก็ได้ตามที่ตนเองสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้รับการนิเทศทราบล่วงหน้า ซึ่งตาม
หลักของการนิเทศนั้น ควรแจ้งให้ผู้รับการนิเทศทราบก่อนล่วงหน้าทุกครั้งเสมอ เพราะการ
นิเทศที่ประสบความสำเร็จตอ้ งเริ่มต้นจากความไว้เนือ้ เชอ่ื ใจซึ่งกันและกัน ใหเ้ กียรติกันและเช่ือ
วา่ ผู้รบั การนเิ ทศทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้

3.6 แบบสำรวจการปฏิบตั ิงานนิเทศ
หลังจากที่ผนู้ ิเทศและผู้รับการนิเทศได้ดำเนินการมาระยะหน่ึงแล้ว อาจสำรวจการ

ปฏิบัติงานนิเทศระหว่างที่ดำเนินการหรือสำรวจในช่วงท้ายเม่ือสิ้นสุดโครงการ เพื่อนำมา
พัฒนาการนิเทศต่อไป เกี่ยวกับเรื่องนี้ ชารี มณีศรี (2542 : 248) ได้แสดงตัวอย่างแบบสำรวจ
การปฏิบัติงานนิเทศไว้ ดังต่อไปนี้

ตัวอย่างแบบสำรวจการปฏิบัติงานนิเทศ
คำชี้แจง แบบสำรวจน้ีเป็นแบบสำรวจทีใ่ หค้ รูในโรงเรียนเป็นผู้ตอบ แบง่ เปน็ 2 ตอน

ตอนท่ี 1 สำรวจเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียน
ตอนท่ี 2 สำรวจเกีย่ วกับกิจกรรมของผู้นเิ ทศ/ศกึ ษานิเทศก์ประสานงาน
กรุณาเขียนเคร่อื งหมาย  ลงในชอ่ งทีต่ รงกับสภาพความเป็นจรงิ
ตอนท่ี 1 สำรวจเกีย่ วกับกิจกรรมของโรงเรียน

กิจกรรมของโรงเรยี น การปฏิบัติ
บ่อย ๆ นาน ๆ คร้ัง ไม่ปฏิบัติ

1. การส่งเสริมให้บุคลากรหลกั ใหค้ ำแนะนำแก่ครู

2. การประชมุ ปรึกษาหารอื

3. การจัดอบรม

4. การปฐมนเิ ทศ

5. การใชเ้ อกสารให้ความรู้

6. การเชญิ วิทยากรมาให้ความรู้

ึ7. การสาธิตวิธีสอนและการใชเ้ ครื่องมือ

8. การสาธิตการใชส้ ือ่ และอปุ กรณก์ ารสอน

193
ตอนท่ี 2 สำรวจเกีย่ วกบั กิจกรรมของผู้นเิ ทศ/ ศกึ ษานิเทศกป์ ระสานงาน

กิจกรรมของผู้นิเทศ/ การปฏิบัติงาน
ศึกษานิเทศกป์ ระสานงาน บอ่ ย ๆ นาน ๆ คร้ัง ไม่ชว่ ยเหลือ

1. ชว่ ยบุคลากรหลกั ใหช้ ว่ ยครูได้

2. การทำงานรว่ มกนั ระหวา่ งผนู้ ิเทศ/
ศกึ ษานิเทศกก์ บั บุคลากรหลกั

3. ชว่ ยใหโ้ รงเรียนทำตามนโยบายและจุดเน้น
ของกรมได้

4. ช่วยใหผ้ บู้ ริหารใชก้ ระบวนการกลมุ่ ในการ
ทำงานได้

5. ช่วยโรงเรยี นในการจดั หาวิทยากรมาชว่ ย

6. แก้ปญั หาของโรงเรียน
ฯลฯ

การนำเคร่ืองมือการนิเทศการศึกษามาใช้ในการนิเทศนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะ
เคร่ืองมือการนิเทศเป็นสื่อกลางที่จะช่วยในด้านการสื่อสารและสื่อความหมาย ระหว่างผู้นิเทศ
และผู้รับการนิเทศ รวมถึงช่วยบันทึกร่องรอยหลักฐานที่เป็นระบบ ซึ่งเคร่ืองมือการนิเทศบาง
ชนิดอาจจำเป็นต้องนำมาใช้และจัดทำเป็นลำดับแรก ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเรียน
การสอนของครูรายบุคคล การเขียนโครงการพัฒนาการเรียนการสอน เป็นต้น และการ
ดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการประชุมและให้ข้อมูลย้อนกลับทุก ๆ ครั้ง และหากพบว่ามี
ข้อควรแก้ไขหรือเพิ่มเติมประการใดก็สามารถกระทำได้ทันที ทำให้การพัฒนาการเรียนการ
สอนมีความทันสมัยและยืดหย่นุ ได้ตามความเหมาะสม

194

3.7 สรุปท้ายบท
เคร่ืองมือการนิเทศการศึกษานั้นประกอบด้วย เคร่ืองมือที่ใช้ดำเนินการวางแผน

สำหรับเตรียมการก่อนการนิเทศและเคร่ืองมือการสังเกตการสอน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่นำมาใช้
บันทึกข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการสอนของครูหรือผู้รับการนิเทศอย่างเป็น
ระบบ รวมทั้งช่วยให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศนำผลที่ได้จากการใช้เคร่ืองมือดังกล่าวมา
รวบรวม พิจารณา วิเคราะห์ สรุปผล และรายงานผลร่วมกัน อาจกล่าวได้ว่าการใช้เคร่ืองมือ
การนิเทศนั้นมิได้เป็นเร่ืองง่ายที่ใคร ๆ ก็สามารถกระทำได้ แต่ต้องอาศัยความรู้ ทักษะและ
ความชำนาญ ซึ่งผู้นิเทศเองต้องฝึกฝนอย่างต่อเน่ืองและสมำ่ เสมอ จึงจะเกิดความชำนาญและ
สามารถใช้เคร่ืองมือการนิเทศดังกล่าวได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามก่อนการใช้เคร่ืองมือการ
นิเทศ ผู้นเิ ทศจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมลู ด้านการเรียนการสอนร่วมกนั กับครูเป็นรายบคุ คลกอ่ น
เพื่อทำใหไ้ ด้ขอ้ มูลทีจ่ ำเป็นสำหรับการพัฒนาการสอนอย่างแท้จริง อันจะก่อใหเ้ กิดประโยชนแ์ ก่
ผู้เรียน โดยมิได้เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้นิเทศเป็นหลัก เม่ือได้ผลการวิเคราะห์ผู้เรียนที่
ชัดเจนแล้ว ครูผู้รับการนิเทศจึงดำเนินการเขียนโครงการพัฒนาการเรียนการสอน ใน
ขณะเดียวกันผู้นิเทศต้องเขียนโครงการนิเทศ ซึ่งจำเป็นต้องสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันกับ
โครงการพัฒนาการเรียนการสอนของครู จากนั้นผู้นิเทศจึงเขียนแผนการนิเทศในแต่ละคร้ังที่
กอ่ นที่จะดำเนินการนิเทศภาคสนาม ซึ่งจำเปน็ ต้องพิจารณาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครไู ด้เขียน
ขนึ้ ว่าสนใจพัฒนาผู้เรียนในด้านใดและพัฒนาด้วยวิธีการใด แผนการนิเทศจึงมีความสอดคล้อง
และสัมพันธ์กับแผนการจัดการเรียนรู้ นอกจากนี้เคร่ืองมือการนิเทศที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
คือ ปฏิทินการนิเทศ ซึง่ ปฏิทินดงั กลา่ วนีจ้ ะชว่ ยด้านการวางแผน โดยกำหนดวนั เวลา และเรื่อง
ที่จะนิเทศตลอดท้ังภาคเรียน อาจกล่าวได้ว่าเม่ือผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศวางแผนการนิเทศ
ร่วมกันต้ังแต่เริม่ ต้นตามที่ได้กลา่ วมาแล้ว จะทำใหก้ ารทำงานเป็นระบบ และนำสู่เป้าหมายของ
ความสำเรจ็ ทีแ่ ท้จรงิ

195

3.8 คำถามทบทวน
1. เหตุใดจึงต้องวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเรียนการสอนของครูรายบุคคลเป็นอันดับ

แรกก่อนที่จะดำเนนิ การนเิ ทศการสอน
2. การวิเคราะหค์ ุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้มีประโยชนอ์ ย่างไร
3. การประเมินและสรุปผลการสังเกตการสอน ควรกล่าวถึงประเด็นใดจึงจะเกิด

ประโยชนแ์ ก่ครูมากทีส่ ุด
4. ให้เขียนโครงการนิเทศการศึกษามา 1 โครงการ โดยเนื้อหาหลักของการนิเทศ

เพื่อสง่ เสริมการจดั การเรยี นรู้ของครใู นศตวรรษที่ 21 ตามองค์ประกอบที่ได้ศกึ ษามา
5. แผนการนเิ ทศควรดำเนนิ การก่อนหรอื หลงั โครงการนเิ ทศ เพราะเหตุใด
6. สมมุติว่าท่านเป็นผู้นิเทศในสถานศึกษาและต้องนัดหมายกับผู้รับการนิเทศ ให้

ร่วมกันกำหนดตารางการนิเทศการสอนตลอดภาคเรียน ลงในแบบฟอรม์ ปฏิทินการนิเทศ
7. หากท่านเป็นผู้นิเทศท่านคิดว่าท่านจะหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเคร่ืองมือการ

นิเทศการศกึ ษาจากแหล่งใดบ้าง
8. จงสืบค้นแหล่งข้อมูลเคร่ืองมือการนิเทศการศึกษาจากแหล่งใดก็ได้ตามที่ท่าน

สนใจมา 1 แหล่ง พร้อมท้ังบอกที่มาของแหล่งสืบค้นข้อมูลดังกล่าว (อาจสืบค้นจาก
อินเทอร์เน็ต หอ้ งสมดุ หรอื จากการสมั ภาษณ์ เป็นต้น)

9. กรณีที่ท่านเป็นผู้นิเทศการศึกษาแล้วมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสร้างหรือพัฒนา
เครื่องมือการนเิ ทศ ทา่ นจะแก้ปญั หานั้นอยา่ งไร จงอธิบาย

10. จงบอกข้อดีและข้อจำกัดของการใช้เคร่ืองมือการนิเทศ ตามความคิดเห็นของ
ทา่ น

196

เอกสารอ้างอิง

ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพ์ศลิ ปาบรรณาคาร.
วชริ า เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนกั ศกึ ษาฝึกประสบการณ์

วิชาชีพครเู พือ่ พัฒนาสมรรถภาพการจดั การเรียนรู้ทส่ี ง่ เสรมิ การคดิ ของ
นกั เรยี นประถมศึกษา. วิทยานิพนธป์ ริญญาปรัชญาดษุ ฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตร
และการสอน บณั ฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลยั ศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554) . นิเทศการสอน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สงดั อุทรานันท์. (2530) . การนิเทศการศึกษา. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพม์ ิตรสยาม.
สามารถ ทิมนาค และคณะ. (2550). เอกสารเย็บเล่มรายงานการประเมินผลการนิเทศ
การสอนด้วยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวชิ าชีพ โรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอ
สามพราน จงั หวัดนครปฐม.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). เอกสารแนวทางการ
นิเทศภ ายในด้านก ารจัดการเรียนก ารสอนของสถานศึกษาอาชีวศึก ษา .
สืบค้นวันที่ 21 เมษายน 2556, จาก : http://www.vec.go.th/Portals/25/%.pdf.
Boyan, Norman J. and Copeland, Willis D. (1978). Instructional Supervision Training
Program. Columbus, Ohio : Charles, E. Merrill Publishing Company.
Glickman, Carl D., Stephen P. Gordon, and Jovita M. Ross-Gordon. (2010). Supervision
and Instructional Leadership A Developmental Approach. 8th
The United States of America : Pearson Education, Inc.
Roe, Betty D., Ross Elinor P., Smith Sandra H. (2006). Student Teaching and Field
Experiences Handbook. 6th The United States of America : Pearson
Education, Inc.


Click to View FlipBook Version