คำนำ เอกสารรายงานผลฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานพิธีมอบประกาศนียบัตรและปัจฉิม นิเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ปีการศึกษา 2565 โดยจะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนการเสนอแนะของผู้ปฏิบัติงานอันเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและนำ ข้อมูลจากการรายงานฉบับนี้ไปปรับปรุงและพัฒนางานในส่วนที่รับผิดชอบให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป ขอขอบพระคุณทางฝ่ายบริหาร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่กรุณาให้ข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะ จนส่งผล ให้การดำเนินงานตามโครงการนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีทุกประการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจได้นำไป ประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและสม ประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อไป คณะผู้จัดทำ
สารบัญ เรื่อง หน้า บทที่ ๑ บทนำ 1 บทที่ ๒ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2 บทที่ 3 วิธีดำเนินการประเมินผลโครงการ 9 บทที่ ๕ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 10 บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ 14 ภาคผนวก 16
๑ บทที่ 1 บทนำ 1. หลักการและเหตุผล โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา เป็นสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม พัฒนาการเรียนการสอนควบคู่ไปกับด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมทั้งนักเรียน ครู ผู้บริหารและชุมชน เพื่อเป็นกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมความดีในรูปแบบต่างๆ ทั้งในและภายนอก สถานศึกษาตามกรอบแนวคิดด้านวินัย ความรับผิดชอบ ความพอเพียง ความกตัญญูรู้คุณ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต การสร้างคนดีให้กับชาติบ้านเมือง และด้านอุดมการณ์คุณธรรม ซึ่งจะนำไปสู่ภารพัฒนาและปรับเปลี่ยนเป็น พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ได้อย่างยั่งยืน จนสามารถนำไปขยายเครือข่ายได้ 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรมและความ รุนแรงในรูปแบบต่างๆ สิ่งเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ ฯลฯ 3. เพื่อส่งเสริมเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 3. ขอบเขตของการประเมิน 1. ประเมินผลจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 180 คน 2. กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 561 คน ชาย 256 คน หญิง 305 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 486 คน ชาย 136 คน หญิง 350 คน 3. ระยะเวลาในการดำเนินการ 17 มีนาคม 2566 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการนี้มีความชัดเจน สามารถ นำนโยบายของโรงเรียนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. อาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานในโรงเรียนได้ตรงต่อความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายมากยิ่งขึ้น 3. อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ อันส่งผลให้เกิดความร่วมมือได้อย่างสมประโยชน์ต่อความสำเร็จของโครงการยิ่งขึ้น
๒ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดทำประกาศนียบัตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.๒) เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. ๒๙๓/๒๕๕๑ สั่ง ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เรื่องให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เกี่ยวกับการจัดทำเอกสาร หลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องใช้เหมือนกัน เพื่อประโยชน์ในการสื่อความเข้าใจที่ ตรงกัน และส่งต่อ และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแบบพิมพ์ การซื้อ และการออกประกาศนียบัตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ชั้นพื้นฐาน (ปพ.๒) ดังต่อไปนี้ ๑. ประกาศนียบัตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเอกสารหลักฐานแสดง วุฒิการศึกษาของผู้เรียนเพื่อการศึกษาต่อ สมัครเข้าทำงาน หรือเพื่อการอื่นใดที่ต้องแสดงวุฒิการศึกษา สถานศึกษาต้องออกประกาศนียบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓) และผู้สำเร็จ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยใช้แบบพิมพ์เอกสารที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดเท่านั้น ๒. ลักษณะแบบพิมพ์ประกาศนียบัตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.๒) จำแนกเป็น ๒ แบบ คือ ๒.๑ ประกาศนียบัตร (ปพ.๒ : บ) สำหรับผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓) ๒.๒ ประกาศนียบัตร (ปพ.๒ : พ สำหรับผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖) ๓. การพิมพ์และการสั่งซื้อแบบพิมพ์ประกาศนียบัตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.๒) ๓.๑ การพิมพ์ ให้องค์การค้าของ สกส. จัดพิมพ์แบบพิมพ์ประกาศนียบัตรตามแบบที่ กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ๓.๒ การสั่งซื้อแบบพิมพ์ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้สั่งซื้อให้สถานศึกษา ทุกแห่งทุกสังกัดในเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบ ๔. การออกประกาศนียบัตร ๔.๑ ให้สถานศึกษาออกประกาศนียบัตรให้ผู้สำเร็จการศึกษาตามข้อ ๒ ทุกคน และกรอก รายการในประกาศนียบัตรให้ปฏิบัติตามคำอธิบายท้ายคำสั่งนี้ ๔.๒ กรณีผู้สำเร็จการศึกษามิได้มารับประกาศนียบัตรตามเวลาที่ สถานศึกษากำหนด ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องยื่นคำร้องและขอรับประกาศนียบัตรด้วยตนเอง ๔.๓ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษา และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน เป็นผู้มีอำนาจลงนามในประกาศนียบัตร กรณีสถานศึกษาเลิกล้มกิจการ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเก็บรักษา หลักฐานการศึกษาของสถานศึกษานั้นไว้ เป็นผู้มีอำนาจลงนามในประกาศนียบัตร
๓ ๕. กรณีที่ผู้สำเร็จการศึกษารับประกาศนียบัตรไปแล้ว เกิดชำรุดหรือสูญหาย ให้สถานศึกษา ออกใบแทนประกาศนียบัตรให้ และเก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ ๒0 บาท ถ้าผู้สำเร็จการศึกษาขอรับเมื่อพ้นกำหนด ๑๐ ปี นับตั้งแต่วันออกประกาศนียบัตร ให้เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ ๓0 บาท โดยให้ผู้สำเร็จการศึกษา เป็นผู้ยื่นคำร้องและขอรับใบแทนด้วยตนเอง ๕.๑ การออกใบแทนกรณีประกาศนียบัตรสูญหาย ให้นำใบแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มายื่นประกอบคำร้องขอรับใบแทน ๕.๒ การออกใบแทนกรณีประกาศนียบัตรชำรุด ให้นำประกาศนียบัตรที่ชำรุดมายื่นประกอบ คำร้องขอรับใบแทน ๕.๓ ใบแทนประกาศนียบัตร ให้ใช้แบบพิมพ์ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์ตามที่กำหนด ไว้ท้ายคำสั่งนี้ การจัดพิมพ์ การสั่งซื้อ และการออกใบแทนประกาศนียบัตร ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับ ประกาศนียบัตร ๖. ให้สถานศึกษาจัดทำแบบรายงานการออกประกาศนียบัตร ตามแบบท้ายคำสั่งนี้ โดยจัดทำ ๒ ชุด เก็บรักษาไว้ที่สถานศึกษา ๑ ชุด และเก็บที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๑ ชุด ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ปัจฉิมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศ (Post training) คือการให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังจะจบการศึกษา งานปัจฉิมนิเทศ มักจะประกอบด้วยการเชิญวิทยากรที่เป็น ศิษย์เก่า, ผู้เชี่ยวชาญ หรือ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลฝ่ายบุคคลจากหน่วยงาน/ บริษัทที่เกี่ยวข้อง มาให้ความรู้เรื่องการเขียนจดหมายสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน สถานการแรงงานปัจจุบัน หรือ แม้กระทั่งวิทยาการที่มาแนะนำการใช้ชีวิตในอนาคต การปรับปรุงบุคลิกภาพ การแต่งหน้า(สำหรับสุภาพสตรี) โดย ปกติทุกสถานศึกษาจะจัดงานปัจฉิมนิเทศสำหรับนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาทุกปี จัดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของปีการศึกษาให้กับนักเรียนที่จะจบการศึกษา คือ มัธยมศึกษาปีที่ ๓ และมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ให้แนวทางในการวางตัว การปฏิบัติตนในสังคมและแนวทางในการประกอบ สัมมาชีพหรือการศึกษาต่อเพื่อปลูกฝังความศรัทธาและความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียน เด็กที่ประสบความสำเร็จ คือ เด็กที่มีความมั่นใจสามารถควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆได้ ความมั่นใจ เป็นกุญแจสำคัญที่จะปลดล็อคเด็กวัยรุ่น สู่อิสรภาพรวมถึงปลดปล่อยความสามารถในด้านอื่น ๆ ของตนเองออกมาพ่อแม่จึงควรสนับสนุนให้ลูกวัยรุ่น หรือ วัยพรีทีนมีโอกาสแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆด้วยตัวเองและรับผิดชอบชีวิตของตนเอง เด็กที่มีความมั่นใจจะเข้าใจ ว่าตัวเขาเองคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับทุกสิ่งทุกและเขาจะไม่กลายเป็นเด็กที่ชอบโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่นว่าเป็นต้นเหตุ ของปัญหาด้วย เด็กที่ประสบความสำเร็จ คือ เด็กที่มีเป้าหมายในชีวิต เด็กวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยเกิดความสับสนเกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตและคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ เขาอาจ ไม่ทราบว่า ทำไมเขาถึงต้องทำสิ่งนี้เขาจะประสบความสำเร็จไปเพื่อใครและอาจมองชีวิตว่าเป็นการเดินทางที่ ไร้จุดหมายแน่นอน ในจุดนี้หากพ่อแม่ช่วยลูกสร้างเป้าหมายในชีวิตหรือแนะแนวทางในการตัดสินใจเสือกเส้นทาง เดินชีวิตได้ก็จะช่วยให้ชีวิตและทางเดินของเขามีคุณค่าต่อตัวเองและต่อสังคมมากยิ่งขึ้น
๔ เด็กที่ประสบความสำเร็จคือคนที่รู้จักจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง เด็กที่รู้จักจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังและรู้จักการบริหารเวลาจะทำให้เขาสามารถพุ่งความสนใจใน สิ่งที่ควรให้ความสนใจเป็นอันดับแรกและทำมันได้สำเร็จ อีกทั้งความหมายของหัวข้อดังกล่าวยังมองไป ถึงการก้าวข้ามความกลัวซึ่งเป็นอุปสรรคในการตัดสินใจในช่วงเวลาสำคัญ ฯ ได้อีกด้วย เด็กที่ประสบความสำเร็จคือเด็กที่มีแนวคิดแบบ Win-Win ในโลกใบนี้ การต้องมีผู้แพ้-ผู้ชนะในการแช่งขันดูจะเป็นเรื่องธรรมดาแต่มันจะดีมากกว่า หากเด็ก ๆ ได้ เรียนรู้การทำให้เกิดผู้ชนะทั้งสองฝ่ายไม่มีใครเป็นฝ่ายแพ้เด็กจะได้เรียนรู้จากบรรยากาศที่ทุกฝ่ายสามารถฉลองชัย ร่วมกันได้แทนที่จะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกเยาะเย้ยจากความพ่ายแพ้ เด็กที่ประสบความสำเร็จคือเด็กที่รู้จักฟัง ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายบนโลกใบนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่รับฟังคนอื่นมากพอ จนทำให้เกิดความเข้าใจ ผิดระหว่างกันการฝึกการฟังให้เด็กเป็นผู้ฟังอย่างมีสติ จับประเด็นได้ถูกต้องจะทำให้เขาประสบความสำเร็จ ในชีวิตได้ง่ายและเร็วกว่าคนอื่น เด็กที่ประสบความสำเร็จคือเด็กที่ทำงานเป็นทีมได้ การทำงานเป็นทีมมักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการทำงานเพียงคนเดียวหลายเท่าพันทวีและมักสร้างสิ่งดี ๆ ให้ เกิดแก่สังคมได้มากมาย เด็กที่จะผ่านจุดนี้ไปได้นั้นต้องเรียนรู้ให้มากกว่าการยึดเอาตามความคิดของ "ฉัน" หรือความคิดของ "เธอ"แต่เป็นการรวมสมองเพื่อมองหาทางที่แตกต่าง ทางใหม่ ที่ทุกคนสามารถได้รับประโยชน์ โดยเท่าเทียมกัน เด็กที่ประสบความสำเร็จคือเด็กที่มีวิสัยทัศน์ เด็กวัยรุ่นเป็นช่วงที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก และพร้อมสำหรับการรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต ซึ่งในจุดนี้ทำให้เขาพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพ และวิสัยทัศนให้เฉียบคมเพื่อที่เขาจะนำมันไปใช้รับมือกับอุปสรรค ต่าง ๆ ในชีวิตต่อไป เรียบเรียงจาก education.com ความหมายของความพึงพอใจ ความพึงพอใจ (Satisfaction) ได้มีผู้ให้ความหมายของความพึงพอใจ ไว้หลายความหมาย ดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า พึงพอใจ หมายถึง รัก ชอบใจ และพึงใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ ดิเรก (2528) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติทางบวกของบุคคล ที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นความรู้สึก หรือทัศนคติที่ดีต่องาน ที่ทำของบุคคล ที่มีต่องานในทางบวก ความสุขของบุคคลอันเกิดจาก การปฏิบัติงาน และได้รับผลเป็นที่พึงพอใจ ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น มีความสุข ความมุ่งมั่นที่จะทำงาน มีขวัญและมีกำลังใจ มีความผูกพันกับหน่วยงาน มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จของงานที่ทำ และสิ่งเหล่านี้
๕ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน ส่งผลต่อถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จ ขององค์การอีก ด้วย วิรุฬ (2542) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ แต่ละบุคคลว่าจะมีความคาดหมายกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างไร ถ้าคาดหวังหรือมีความตั้งใจมากและได้รับการ ตอบสนองด้วยดีจะมีความพึงพอใจมากแต่ในทางตรงกันข้ามอาจผิดหวังหรือไม่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อไม่ได้รับ การตอบสนองตามที่คาดหวังไว้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตั้งใจไว้ว่าจะมีมากหรือน้อยสอดคล้องกับ ฉัตรชัย (2535) กล่าวว่า ความพึงพอใจหมายถึงความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งหรือปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ความรู้สึกพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนองหรือบรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง กิตติมา (2529) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบหรือพอใจที่มีต่อองค์ประกอบ และสิ่งจูงใจในด้านต่างๆเมื่อได้รับการตอบสนอง กาญจนา (2546) กล่าวว่า ความพึงพอใจของมนุษย์เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ การที่เราจะทราบว่าบุคคลมีความพึงพอใจหรือไม่ สามารถสังเกตโดยการ แสดงออกที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและต้องมีสิ่งเร้าที่ตรงต่อความต้องการของบุคคล จึงจะทำให้บุคคลเกิด ความพึงพอใจ ดังนั้นการสิ่งเร้าจึงเป็นแรงจูงใจของบุคคลนั้นให้เกิดความพึงพอใจในงานนั้น นภารัตน์ (2544) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกทางบวกความรู้สึกทางลบและความสุขที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน โดยความพึงพอใจ จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ เทพพนม และสวิง (2540) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นภาวะของความพึงใจหรือภาวะที่มีอารมณ์ใน ทางบวกที่เกิดขึ้น เนื่องจากการประเมินประสบการณ์ของ คนๆหนึ่ง สิ่งที่ขาดหายไประหว่างการเสนอให้กับ สิ่งที่ได้รับจะเป็นรากฐานของการพอใจและไม่พอใจได้ สง่า (2540) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย หรือเป็นความรู้สึกขั้นสุดท้ายที่ได้รับ ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จากการตรวจเอกสารข้างต้นสรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือทัศนคติที่ดีของบุคคล ซึ่งมัก เกิดจากการได้รับการตอบสนอง ตามที่ตนต้องการ ก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งนั้น ตรงกันข้ามหากความต้องการ ของตนไม่ได้รับการตอบสนองความไม่พึงพอใจก็จะเกิดขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ Shelly อ้างโดย ประกายดาว (2536) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ ว่าความพึงพอใจเป็น ความรู้สึกสองแบบของมนุษย์ คือ ความรู้สึกทางบวกและ ความรู้สึกทางลบ ความรู้สึกทางบวกเป็นความรู้สึกที่ เกิดขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความสุข ความสุขนี้เป็นความรู้สึกที่แตกต่างจากความรู้สึกทางบวกอื่นๆ กล่าวคือ เป็นความรู้สึกที่มีระบบย้อนกลับความสุขสามารถทำให้เกิดความรู้สึกทางบวกเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจะเห็นได้ ว่า ความสุขเป็นความรู้สึกที่สลับซับซ้อน และความสุขนี้จะมีผลต่อบุคคลมากกว่าความรู้สึกในทางบวกอื่นๆ ขณะที่
๖ วิชัย (2531) กล่าวว่า แนวคิดความพึงพอใจ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความต้องการของมนุษย์ กล่าวคือ ความพึงพอใจ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อความต้องการของมนุษย์ได้รับการตอบสนอง ซึ่งมนุษย์ไม่ว่าอยู่ในที่ใด ย่อมมีความต้องการ ขั้นพื้นฐานไม่ต่างกัน พิทักษ์ (2538) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นปฏิกิริยาด้านความรู้สึกต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่แสดงผล ออกมาในลักษณะของผลลัพธ์สุดท้าย ของกระบวนการประเมิน โดยบ่งบอกทิศทางของผลการประเมินว่าเป็นไปใน ลักษณะทิศทางบวกหรือทิศทางลบหรือไม่มีปฏิกิริยาคือเฉยๆ ต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มากระตุ้น สุเทพ (2541) ได้สรุปว่า สิ่งจูงใจที่ใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ มีด้วยกัน 4 ประการ คือ สิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ (material inducement) ได้แก่ เงิน สิ่งของ หรือสภาวะทางกายที่ให้แก่ผู้ประกอบ กิจกรรมต่างๆ สภาพทางกายที่พึงปรารถนา (desirable physical condition ) คือ สิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจกรรม ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งอันก่อให้เกิดความสุขทางกาย ผลประโยชน์ทางอุดมคติ (ideal benefaction) หมายถึง สิ่งต่างๆที่สนองความต้องการของบุคคล ผลประโยชน์ทางสังคม (association attractiveness) หมายถึง ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับผู้ร่วมกิจกรรม อันจะทำให้เกิดความผูกพัน ความพึงพอใจและ สภาพการร่วมกัน อันเป็นความพึงพอใจของบุคคลในด้านสังคม หรือความมั่นคงในสังคม ซึ่งจะทำให้รู้สึกมีหลักประกันและมีความมั่นคงในการประกอบกิจกรรม ขณะที่ ปรียากร (2535) ได้มีการสรุปว่า ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ใช้เป็นเครื่องมือบ่งชี้ถึงปัญหา ที่เกี่ยวกับความพึงพอใจในการทำงานนั้นมี 3 ประการ คือ ปัจจัยด้านบุคคล (personal factors) หมายถึง คุณลักษณะส่วนตัวของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ งาน ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน เพศ จำนวนสมาชิกในความรับผิดชอบ อายุ เวลาในการทำงาน การศึกษา เงินเดือน ความสนใจ เป็นต้น ปัจจัยด้านงาน (factor in the Job) ได้แก่ ลักษณะของงาน ทักษะในการทำงาน ฐานะทาง วิชาชีพ ขนาดของหน่วยงาน ความห่างไกลของบ้านและที่ทำงาน สภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น ปัจจัยด้านการจัดการ (factors controllable by management) ได้แก่ ความมั่นคงในงาน รายรับ ผลประโยชน์ โอกาสก้าวหน้า อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ สภาพการทำงาน เพื่อนร่วมงาน ความรับผิด การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา ความศรัทธาในตัวผู้บริหาร การนิเทศงาน เป็นต้น ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ Kotler and Armstrong (2002) รายงานว่า พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นต้องมีสิ่งจูงใจ (motive) หรือแรงขับดัน (drive) เป็นความต้องการที่กดดัน จนมากพอที่จะจูงใจให้บุคคลเกิดพฤติกรรมเพื่อตอบสนอง ความต้องการของตนเอง ซึ่งความต้องการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความต้องการบางอย่างเป็นความต้องการ ทางชีววิทยา(biological) เกิดขึ้นจากสภาวะตึงเครียด เช่น ความหิวกระหายหรือความลำบากบางอย่าง เป็น ความต้องการทางจิตวิทยา (psychological) เกิดจากความต้องการการยอมรับ (recognition) การยกย่อง
๗ (esteem) หรือการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (belonging) ความต้องการส่วนใหญ่อาจไม่มากพอที่จะจูงใจให้บุคคล กระทำในช่วงเวลานั้น ความต้องการกลายเป็นสิ่งจูงใจ เมื่อได้รับการกระตุ้นอย่างเพียงพอจนเกิดความตึงเครียด โดยทฤษฎีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มี 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีของอับราฮัม มาสโลว์ และทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ 1. ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์(Maslow’s theory motivation) อับราฮัม มาสโลว์ (A.H.Maslow) ค้นหาวิธีที่จะอธิบายว่าทำไมคนจึงถูกผลักดันโดยความต้องการ บางอย่าง ณ เวลาหนึ่ง ทำไมคนหนึ่งจึงทุ่มเทเวลาและพลังงานอย่างมากเพื่อให้ได้มาซึ่งความปลอดภัยของตนเอง แต่อีกคนหนึ่งกลับทำสิ่งเหล่านั้น เพื่อให้ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น คำตอบของมาสโลว์ คือ ความต้องการ ของมนุษย์จะถูกเรียงตามลำดับจากสิ่งที่กดดันมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด ทฤษฎีของมาสโลว์ได้จัดลำดับความต้องการ ตามความสำคัญ คือ 1.1 ความต้องการทางกาย (physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐาน คือ อาหาร ที่พัก อากาศ ยารักษาโรค 1.2 ความต้องการความปลอดภัย (safety needs) เป็นความต้องการที่เหนือกว่า ความต้องการ เพื่อความอยู่รอด เป็นความต้องการใน ด้านความปลอดภัยจากอันตราย 1.3 ความต้องการทางสังคม (social needs) เป็นการต้องการการยอมรับจากเพื่อน 1.4 ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) เป็นความต้องการการยกย่องส่วนตัว ความนับถือ และ สถานะทางสังคม 1.5 ความต้องการให้ตนประสบความสำเร็จ (self – actualization needs) เป็นความต้องการสูงสุดของ แต่ละบุคคล ความต้องการทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ บุคคลพยายามที่สร้างความพึงพอใจให้กับความต้องการที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกก่อนเมื่อความต้องการ นั้นได้รับความพึงพอใจ ความต้องการนั้นก็จะหมดลงและเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลพยายามสร้างความพึงพอใจให้กับ ความต้องการที่สำคัญที่สุดลำดับต่อไป ตัวอย่าง เช่น คนที่อดอยาก (ความต้องการทางกาย) จะไม่สนใจต่อ งานศิลปะชิ้นล่าสุด (ความต้องการสูงสุด) หรือไม่ต้องการยกย่องจากผู้อื่น หรือไม่ต้องการแม้แต่อากาศที่บริสุทธิ์ (ความปลอดภัย) แต่เมื่อความต้องการแต่ละขั้นได้รับความพึงพอใจแล้วก็จะมีความต้องการในขั้นลำดับต่อไป 2. ทฤษฎีแรงจูงใจของฟรอยด์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( S. M. Freud) ตั้งสมมุติฐานว่าบุคคลมักไม่รู้ตัวมากนักว่าพลังทางจิตวิทยามีส่วน ช่วยสร้างให้เกิดพฤติกรรม ฟรอยด์พบว่าบุคคลเพิ่มและ ควบคุมสิ่งเร้าหลายอย่าง สิ่งเร้าเหล่านี้อยู่นอกเหนือ การควบคุมอย่างสิ้นเชิง บุคคลจึงมีความฝัน พูดคำที่ไม่ตั้งใจพูด มีอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล และมีพฤติกรรม หลอกหลอนหรือเกิดอาการวิตกจริตอย่างมาก ขณะที่ ชาริณี (2535) ได้เสนอทฤษฎีการแสวงหาความพึงพอใจไว้ว่า บุคคลพอใจจะกระทำสิ่งใด ๆที่ให้ มีความสุขและจะหลีกเลี่ยงไม่กระทำ ในสิ่งที่เขาจะได้รับความทุกข์หรือความยากลำบาก โดยอาจแบ่งประเภท ความพอใจกรณีนี้ได้ 3 ประเภท คือ
๘ ความพอใจด้านจิตวิทยา (psychological hedonism) เป็นทรรศนะของความพึงพอใจว่ามนุษย์โดย ธรรมชาติจะมีความแสวงหา ความสุขส่วนตัวหรือหลีกเลี่ยงจากความทุกข์ใดๆ ความพอใจเกี่ยวกับตนเอง (egoistic hedonism) เป็นทรรศนะของความพอใจว่ามนุษย์จะพยายาม แสวงหาความสุขส่วนตัว แต่ไม่จำเป็นว่าการแสวงหาความสุขต้องเป็นธรรมชาติของมนุษย์เสมอไป ความพอใจเกี่ยวกับจริยธรรม (ethical hedonism) ทรรศนะนี้ถือว่ามนุษย์แสวงหาความสุข เพื่อผลประโยชน์ของมวลมนุษย์หรือ สังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่และเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ผู้หนึ่งด้วย
๙ บทที่ 3 วิธีดำเนินการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรมและความ รุนแรงในรูปแบบต่างๆ สิ่งเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ ฯลฯ 3. เพื่อส่งเสริมเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามที่กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยาจัดทำขึ้นเอง โดยแบ่งการประเมิน ออกเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็นข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๒เป็นข้อมูลแสดงความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๑๔ ข้อ สำหรับคำถามแต่ละข้อได้ใช้มาตรประมาณค่า ( Rating Scales ) โดยประเมินเป็น ๕ ระดับ คือ มากที่สุด เท่ากับ ๕ คะแนน มาก เท่ากับ ๔ คะแนน ปานกลาง เท่ากับ ๓ คะแนน น้อย เท่ากับ ๒ คะแนน น้อยที่สุด เท่ากับ ๑ คะแนน ตอนที่ ๓ เป็นข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นข้อคำถามแบบปลายเปิดเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องใน โครงการนี้ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเขียนรายงานฉบับนี้ได้ชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์จากแบบสอบถามเป็นหลัก โดยตอนที่ 1, และ 2 คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนตอนที่ 3 ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ในการเขียน เชิงพรรณนา และเพื่อให้รายงานฉบับนี้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นผู้รายงานจึงได้วิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ โครงการ
๑๐ บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบประเมิน 1.1 เพศ จากผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 753 คน พบว่า เป็นเพศชาย จำนวน 273 คน คิดเป็น ร้อยละ 36.3% เป็นเพศหญิง จำนวน 480 คน คิดเป็นร้อยละ 63.7% รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงเพศของผู้ตอบแบบประเมิน ข้อมูลพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ 1. ชาย 273 36.3 % 2. หญิง 480 63.7 % รวม 753 100.00 แผนภูมิที่ 1 แสดงร้อยละของเพศผู้ตอบแบบประเมิน
๑๑ 1.2 ตำแหน่ง จากผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 753 คน พบว่า เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.1 % เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.5% เป็นครูจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 7.3% เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 388 คน คิดเป็นร้อยละ 52.4% และเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 41.2% รายละเอียดดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของตำแหน่งของผู้ตอบแบบประเมิน ข้อมูลพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ 1. ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 0.1 % 2. รองผู้อำนวยการโรงเรียน 4 0.5 % 3. ครู 55 7.3 % 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 388 52.4 % 5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 305 41.2 % รวม 753 100.00 แผนภูมิที่ 2 แสดงร้อยละของตำแหน่งของผู้ตอบแบบประเมิน
๑๒ 2.ระดับความพึงพอใจต่อการจัดพิธีการมอบประกาศนียบัตร จากผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วม พิธีการมอบประกาศนียบัตรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา มีค่าเฉลี่ยในการประเมินความหมาย ดังนี้ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.51 - 5.00 มาก ค่าเฉลี่ย 3.51 - 4.50 ปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.51 - 3.50 น้อย ค่าเฉลี่ย 1.51 - 2.50 น้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 โดยสรุปภาพรวมทั้งหมด พบว่าผู้เข้าร่วมพิธีการมอบประกาศนียบัตรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ “มาก” ( = 3.83) หริอคิดเป็นร้อยละ 76.56 ตารางที่ 3 แสดงพึงพอใจต่อการเข้าร่วมพิธีการมอบประกาศนียบัตร หัวข้อ ระดับความเหมาะสม มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน/ S.D. ระดับ ร้อยละ จำนวน/ ร้อยละ จำนวน/ ร้อยละ จำนวน/ ร้อยละ จำนวน/ ร้อยละ 1. ความพร้อมและความ เหมาะสมของสถานที่จัด งาน 210 (27.89) 285 (37.85) 215 (28.55) 6 (0.80) 37 (4.90) 3.83 1.00 มาก 2. การประชาสัมพันธ์ และการประสานงาน 196 (26.03) 295 (39.18) 212 (28.15) 14 (1.86) 36 (4.78) 3.80 1.00 มาก 3. ความพร้อมของ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ 207 (27.49) 307 (40.77) 195 (25.90) 12 (1.59) 32 (4.25) 3.86 0.98 มาก 4. การจัดสถานที่/ซุ้ม ต่างๆ มีความสวยงาม 212 294 197 17 33 3.84 1.00 มาก
๑๓ หัวข้อ ระดับความเหมาะสม มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน/ S.D. ระดับ ร้อยละ จำนวน/ ร้อยละ จำนวน/ ร้อยละ จำนวน/ ร้อยละ จำนวน/ ร้อยละ เหมาะสม (28.15) (39.04) (26.16) (2.26) (4.38) 5. การรับมอบเกียรติ บัตรเป็นการสร้างความ ระหนักให้นักเรียนเห็น ความสำคัญของ พิธีการ ที่สำคัญๆ 226 (30.01) 288 (38.25) 188 (24.97) 29 (2.26) 40 (4.52) 3.87 1.01 มาก 6. ความเหมาะสมของ ระยะเวลาในการจัด กิจกรรม 186 (24.70) 280 (37.18) 218 (28.95) 29 (3.85) 40 (5.31) 3.72 1.04 มาก 7. บรรยากาศพิธีผูก ข้อมือช่วยส่งเสริม สัมพันธภาพอันดีระหว่าง ครูและศิษย์ 227 (30.15) 277 (36.79) 196 (26.30) 18 (2.39) 35 (4.65) 3.85 1.03 มาก 8. ภาพรวมท่านมีความ พึงพอใจต่อการเข้าร่วม กิจกรรมครั้งนี้ 219 (29.08) 290 (38.51) 194 (25.76) 14 (1.86) 36 (4.78) 3.85 1.02 มาก รวมค่าเฉลี่ย 1683.00 2316.00 1615.00 127.00 283.00 3.83 1.01 มาก จากตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมพิธีการมอบประกาศนียบัตรนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ “มาก” ( = 3.87) หริอคิดเป็นร้อยละ 76.56 โดยเรียงลำดับจากคะแนนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้ การรับมอบเกียรติบัตรเป็นการสร้างความระหนักให้นักเรียนเห็นความสำคัญของพิธีการที่สำคัญๆ ( = 3.87) , ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์( = 3.86) ,บรรยากาศพิธีผูกข้อมือช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพอัน ดีระหว่างครูและศิษย์( = 3.85) , ภาพรวมท่านมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้( = 3.85) ,การ จัดสถานที่/ซุ้มต่างๆ มีความสวยงามเหมาะสม ( = 3.84) , ความพร้อมและความเหมาะสมของสถานที่จัดงาน ( = 3.83) , การประชาสัมพันธ์และการประสานงาน ( = 3.80) และความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัด กิจกรรม ( = 3.72)
๑๔ บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ การรายงานผลพิธีการมอบประกาศนียบัตรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 รายงานได้นำเสนอเป็น ๒ ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ 1 เป็นบทสรุปที่แสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพของ โครงการนี้ว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับความคิดเห็น บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ สำหรับส่วนที่ ๒ เป็น ข้อเสนอแนะที่ผู้รายงานเป็นผู้นำเสนอข้อมูลหรือข้อคิดเห็นอันอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการนี้ให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรืออาจจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานอื่น ๆ ในหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น บทสรุป 1. กิจกรรมการมอบประกาศนียบัตรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 บรรลุวัตถุประสงค์ที่ผู้รายงานได้กำหนดไว้ 2. ประสิทธิภาพของการดำเนินงานปรากฎผล ดังนี้ 2.1 ประสิทธิภาพในภาพรวมของโครงกรอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ ที่น่าพอใจ 2.2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมพิธีการมอบประกาศนียบัตรนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับ “มาก” ( = 3.87) หริอคิดเป็นร้อยละ 76.56 ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการจัดซ้อมล่วงหน้า1-2วันเพื่อที่จะไม่เสียเวลาในวันจริง 2. มีความสุขมากครับ 3. ขอบคุณสำหรับช่วงเวลา6ปีที่โรงเรียนนี้มอบให้เรา 4. ควรนัดซ้อมรับก่อนรับวันจริง 5. ดีแล้วว 6. ของรูปเยอะๆค่ะ 7. ลดแอร์นิดนึง 8. ไม่ดีเท่าปีที่แล้วเลย 9. It's the last time that we will stay together as a student, but I will remember this moment forever although it sad and I know everyone has to go in the way they choose. All I want to say is it's the best moment I've ever experienced. 10. นักเรียน Top10 ไม่ได้รับการแจ้งก่อนล่วงหน้า ทำให้มาไม่ทันค่ะ เนื่องจากบ้านไกล 11. อยากให้สะดวกและรวดเร็วกว่านี้ 12. ดีสุดแล้ว
๑๕ 13. การจัดงานช้า 14. บายศรีควรดีกว่านี้ 15. เวลาซ้อมน้อยแต่ทุกอย่างออกมา…เพอร์เฟค 16. Everything is perfect! 17. เหนื่อยครับ ยังไม่ได้กินข้าวเลย 18. หิวข้าวครับ ปล่อยผมเถอะ 19. สถานที่คับแคบ 20. ท่านประธานในพิธีช่วยมาเร็วกว่านี้หน่อยครับ 21. มีการจัดแสดงมากกว่านี้ 22. ควรมีการจัดซ้อมนักเรียนล่วงหน้า 23. เป็นมิติที่ดีที่เห็นผู้ปกครอง ญาติและเพื่อนขอนักเรียนเดินทางมาแสดงความยินดีในวันนี้ 24. จัดสถานที่ได้สวยมากครับ 25. ควรมีการประชุม ร่วมกันทั้งสองงาน เพื่อที่จะได้วางแผนจัดกิจกรรมให้เหมาะสม ทั้งเวลา สถานที่ และอื่นๆก่อนจะถึงเวลาเข้าสู่พิธีการอยากให้แนะนำคุณครูที่สวมชุดครุยว่าจบจาก สถาบันใดบ้างเพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนครับ 26. เรื่องผมควรให้เรียบร้อย
๑๖ เอกสารอ้างอิง ความสำคัญของวันปัจฉิม. (255๕). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2566. จาก http://siriratpotae.blogspot.com/2012/03/blog-post_14.html งานวิจัย ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี อ าเภอเมืองสระบุรีจังหวัดสระบุรีประจ าปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓. (2563). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2566. จาก https://www.saraburipao.go.th/home/wp-content/uploads/2020/10/srbpao-satis-report-2563.pdf ความหมายความพึงพอใจ. (2564). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2566. จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Manage/ ทฤษฎีความพึงพอใจ.htm
๑๗ ภาคผนวก
๑๘ คำสั่งโรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยาที่ 108/2566
๑๙
๒๐
๒๑
๒๒
๒๓
๒๔
๒๕ คำกล่าวรายงาน
๒๖
๒๗
๒๘
๒๙
๓๐ กำหนดการ
๓๑
๓๒
๓๓ ภาพกิจกรรม
๓๔ ภาพขณะเตรียมงาน
๓๕
๓๖ ภาพขณะซ้อมพิธีมอบประกาศนียบัตร
๓๗
๓๘ ภาพขณะดำเนินงานพิธีมอบประกาศนียบัตร
๓๙
๔๐
๔๑
๔๒
๔๓ ภาพคณะกรรมการดำเนิน งานพิธีมอบประกาศนียบัตร
๔๔
๔๕ ภาพบรรยากาศงานปัจฉิมนิเทศ
๔๖