The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 1chana, 2022-07-25 03:43:38

แผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ

แผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ

แผนขบั เคลือ่ นโครงการโรงเรยี นคณุ ภาพ
ของสำนกั งานพืน้ ท่ีการศกึ ษามัธยมศกึ ษานา่ น

สำนักงานพน้ื ทีก่ ารศึกษามธั ยมศกึ ษาน่าน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน



คำนำ

ตามที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน มีโรงเรียนในสังกัดเข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม โรงเรียนทุ่งช้าง
โรงเรียนสนั ติสขุ พทิ ยาคม โรงเรียนเชียงกลางประชาพัฒนา โรงเรยี นสา และโรงเรียนนานอ้ ย โดยไดต้ ระหนกั ถึง
ความสำคัญของการสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพ เพื่อให้โรงเรียนในสังกัดที่เข้า
ร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพมีการจัดการศึกษา ได้มาตรฐานและคุณภาพครอบคลุมมาตรฐานการศึกษา
ครอบคลุมจุดเน้นของโครงการโรงเรียนคุณภาพทั้ง 8 ด้าน ตลอดจนเป็นศูนย์รวมหรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของ
ชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างความเชื่อมั่น และศรัทธาในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในการส่งบุตรหลาน
เข้ามาเรยี น น้นั

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน จึงได้จัดทำแผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ประกอบด้วย แผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร
แผนการบริหารจัดการด้านงบประมาณ และแผนการบริหารจัดการด้านวิชาการ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
แผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพน้ีจะเป็นกรอบ แนวทาง และเครื่องมือในการดำเนินงาน เกิดประโยชน์ต่อ
ภาคการศึกษาและบรรลผุ ลสำเร็จตามทศิ ทางการพัฒนาการศึกษาได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพและประสิทธผิ ลต่อไป

สำนกั งานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษามัธยมศกึ ษานา่ น



สารบญั

คำนำ ก
สารบญั ข
บทนำ 1
2
1. แผนการบรหิ ารจัดการดา้ นบคุ ลากรเพื่อขบั เคลอ่ื นโครงการโรงเรยี นคณุ ภาพ
ของสำนกั งานเขตพ้นื ท่กี ารศกึ ษามัธยมศกึ ษาน่าน 5

2. แผนการบริหารจัดการด้านงบประมาณเพือ่ ขบั เคล่อื นโครงการโรงเรียนคณุ ภาพ 8
ของสำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษามธั ยมศกึ ษาน่าน
13
3. แผนการบรหิ ารจัดการด้านวชิ าการเพ่ือขับเคลอื่ นโครงการโรงเรยี นคุณภาพ 14
16
ของสำนักงานเขตพนื้ ที่การศกึ ษามธั ยมศกึ ษาน่าน 19
เอกสารอา้ งอิง 27

ภาคผนวก
ภาคผนวก ก บันทึกข้อตกลงความร่วมมอื (MOU) การขับเคล่อื นโครงการโรงเรยี นคุณภาพ
ภาคผนวก ข แผนการบรหิ ารอัตรากำลงั โครงการโรงเรยี นคณุ ภาพ ระดบั มธั ยมศกึ ษา (ทบทวน)

ภาคผนวก ค ประมวลภาพพธิ ีลงนามบนั ทกึ ข้อตกลงความรว่ มมอื
ในการขับเคลอ่ื นโครงการโรงเรยี นคณุ ภาพ

1

บทนำ

ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้าง
ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้คนไทยในอนาคตมีความพร้อม ทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีทักษะที่จำเป็นใน
ศตวรรษที่ 21 มีทักษะการสื่อสารและมี คุณธรรม และตามเป้าหมายการพัฒนาให้วัยเรียน/วัยรุ่นมีความรู้และ
ทักษะในศตวรรษที่ 21 ครบถ้วน รู้จักคิด วิเคราะห์ รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญทาง
จริยธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลตลอด
ชีวิตดีขึ้น โดยการดำเนินการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายให้คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็น
ของโลกศตวรรษที่ 21 ในทุกระดบั และสามารถเข้าถงึ การเรียนรูอ้ ย่างต่อเน่อื งตลอดชวี ติ นนั้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ
ที่เน้นนโยบาย “สถานศึกษาปลอดภัย นักเรียนนักศึกษาไทยอบอุ่น” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นสำคัญ โดยการพัฒนาต่อยอดจากโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน
โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ซึ่งได้กำหนด
จุดเน้น 8 เรื่อง ได้แก่ 1. ความปลอดภัยของผู้เรียน 2. ระบบประกันคุณภาพ 3. หลักสูตรฐานสมรรถนะ
4. การพัฒนาครู 5. การเรียนการสอน 6. การวัดและประเมินผล 7. การนิเทศ กำกับ และติดตาม และ
8. Big Data เพื่อแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสการเข้าถึง
การศึกษาในสังคมเมืองและชนบท สร้างความพร้อมให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และโรงเรียน
ในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยตามบริบทโรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองโลก
ทม่ี ีคุณภาพตอ่ ไป

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน โดยความร่วมมือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้จัดทำ ได้
จัดทำแผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน เพื่อใช้เป็น
กรอบทิศทางและเป็นกลไกในการผลักดันขันเคลื่อนนโยบายโครงการโรงเรียนคุณภาพ ระยะเวลา 4 ปี
(พ.ศ. ๒๕๖5 - ๒๕๗8) โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย แผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร แผนการ
บริหารจัดการด้านงบประมาณ และแผนการบริหารจัดการด้านวิชาการ ซึ่งมีรายละเอียดด้านการวางแผน
อัตรากำลัง การสรรหา การพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนบุคลากร สำหรับแผนการบริหารจัดการด้าน
งบประมาณ เน้นการวางแผนการใช้งบประมาณ สอดคล้องกับนโยบาย และความต้องการในการบริหารจัด
การศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมถึงกิจกรรมและงบประมาณโครงการโรงเรียนคุณภาพของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่านที่เสนอต่อต้นสังกัด และสอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการ
ด้านวิชาการเพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน

2

1. แผนการบรหิ ารจัดการด้านบคุ ลากร

เพือ่ ขับเคล่ือนโครงการโรงเรียนคุณภาพของสำนกั งานเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษามธั ยมศกึ ษาน่าน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ไดต้ ระหนักถึงความสำคัญของการมีแผนการบริหาร
จัดการด้านบุคลากร ทั้งในส่วนผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เนื่องจากทรัพยากรบุคคลจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยนำพา
ให้โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา สามารถพัฒนาได้ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)
ด้านที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้คนไทยในอนาคตมีความพร้อม ทั้งกาย ใจ
สติปัญญา มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการสื่อสารและมี คุณธรรม และตามเป้าหมายการพัฒนา
ให้วัยเรียน/วัยรุ่นมีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครบถ้วน รู้จักคิด วิเคราะห์ รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง
มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ประสิทธิผลตลอดชีวิตดีขึ้น และช่วยขับเคลื่อนนโยบาย “สถานศึกษาปลอดภัย นักเรียนศึกษาไทยอบอุ่น” ของ
รัฐมนตรวี า่ การกระทรวงศกึ ษาธิการเป็นสำคญั

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนการบริหารจัดการ
ด้านบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่านขึ้น
เพื่อเป็นกรอบทิศทางและแนวทางการพัฒนาการศึกษาด้านทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรใน
ระยะ ๔ ปี ของผู้บรหิ าร ครู และบคุ ลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนท่ีเข้ารว่ มโครงการโรงเรียนคณุ ภาพ

เป้าประสงค์
๑. ผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการโรงเรียนคุณภาพทุกคน ได้รับโอกาสทางการศึกษา

อย่างทว่ั ถงึ เสมอภาค และมีคณุ ภาพตามมาตรฐานภายใตก้ รอบการดำเนินงานตามนโยบาย ๘ จุดเนน้
๒. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนคุณภาพ สามารถปฏิบัติ

หน้าท่ีอย่างมปี ระสิทธภิ าพ รบั ผดิ ชอบตอ่ งาน และมีความกา้ วหนา้ มั่นคงในอาชีพ
๓. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพ สามารถ

บรหิ ารจดั การศึกษาไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ ตามอัตรากำลังทไี่ ดว้ างแผนไว้อย่างต่อเนื่องและมีคณุ ภาพ

กลยุทธ์
๑. บริหารงานอัตรากำลัง โดยใช้หลักธรรมภิบาล ให้เป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ท่ี

กำหนด มีประสิทธภิ าพและเกดิ ประโยชน์สูงสุด
๒. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ในการปฏบิ ตั หิ น้าท่ี
๓. พัฒนาประสิทธิภาพ ระบบการบริหารจัดการ โดยเน้นระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วน

ร่วม เสริมสร้างความรับผิดขอบต่อผลการดำเนินงาน การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การบูรณาการการ จัด
การศึกษา และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและยกระดับ คุณภาพ
การศกึ ษา

โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่านได้ทบทวนแผนการบริหารอัตรากำลัง
โรงเรยี นคุณภาพระดับมัธยมศกึ ษาเรยี บร้อยแลว้ แล้ว ดังเอกสารแนบทา้ ย

3

แผนการบริหารจัดการดา้ นบุคลากร

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ได้กำหนดแผนการบริหารจัดการด้านบุคลากร
เพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน โดยนำหลักธรรมาภิบาล
ระบบคุณธรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ได้แก่ หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักคุณธรรม

(Morality) หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ
(Responsibility) และหลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล และให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และทแ่ี กไ้ ขเพ่ิมเติม โดยมรี ายละเอยี ด 4 ดา้ น ดงั น้ี

1. ด้านการวางแผนอตั รากำลงั

๑.๑ จัดทำแผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาที่เข้า
ร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพ แบ่งเป็นแผนระยะ ๑ ปี และ 4 ปี (พ.ศ. ๒๕๖5 - ๒๕๗8) เพื่อใช้ในการกำหนด
ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รองรับภารกิจของสถานศึกษาที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเริ่มดำเนิน

โครงการ
1.2 จัดทำแผนการกำหนดตำแหน่งข้าราชกรครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี

การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖5 เพื่อใช้ในการสรรหาบุคคลไปดำรงตำแหน่งให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนใน

โรงเรยี นคุณภาพ
๑.๓ บริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาภายใน

สังกัด เป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีความยุติธรรมมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่

สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษาและสถานศึกษาในสังกดั
๑.๔ สนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีและเลื่อนวิทยฐานะตาม

หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด เพื่อสิทธิประโยชน์และความก้าวหน้าของข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาเข้ารว่ มโครงการโรงเรียนคณุ ภาพด้วยความยุตธิ รรม

๒. ด้านการสรรหา

2.1 ตรวจสอบความต้องการวิชาเอก ตามมาตรฐานวิชาเอก และวิชาภาษาต่างประเทศ
ตามความต้องการของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพ รวมถึงจัดทำข้อมูลตำแหน่งว่าง
ขา้ ราชการครูและบคุ ลากรทางการศึกษา และดำเนินการตามหลักการและวิธกี ารที่ ก.ค.ศ. และ สพฐ. กำหนด

๒.2 การสรรหาผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พนักงาน
ราชการ และลูกจ้างชั่วคราว ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการกำลังคนของสถานศึกษาที่เข้าร่วม
โครงการโรงเรยี นคณุ ภาพ

๒.๓ ประชาสัมพันธ์การดำเนินการสรรหาบรรจุและแต่งตั้ง เช่น ย้าย โอน บรรจุ เป็นต้น
และดำเนินการตามหลักการและวิธีการที่ ก.ค.ศ. และ สพฐ. กำหนด ให้หน่วยงานอื่นและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
อย่างท่วั ถงึ

4

๓. ด้านการพฒั นาบุคลากร
๓.๑ ศึกษาวเิ คราะห์ความตอ้ งการและความจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูและบคุ ลากร

ทางการศกึ ษาของสถานศกึ ษาทีเ่ ขา้ ร่วมโครงการโรงเรียนคณุ ภาพ
๓.๒ ดำเนินการตามแผนพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนา

ความรู้ความสามารถข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ปฏิบัติงาน
ไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชพี และจรรยาบรรณ

3.๓ ส่งเสริม สนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาที่เข้า
รว่ มโครงการโรงเรยี นคณุ ภาพ พฒั นาตนเองให้สูงขนึ้

4. ดา้ นการสนับสนนุ บุคลากร
4.1 ควบคุมให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และ

ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หลักเกณฑ์และวิธีการท่ี
ก.ค.ศ.และสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐานกำหนด

๔.2 มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม มีการยกย่อง
เชดิ ชเู กยี รติขา้ ราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา เพ่ือเสรมิ สรา้ งขวญั และกำลงั ใจในการปฏิบัติหน้าที่

๔.3 ส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและ
การรักษาวินัยต่อตนเอง การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย โดยสร้างความตระหนักความชื่อสัตย์ต่อ
ตนเอง ขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรง
ตำแหน่ง การมคี วามจงรักภกั ดีตอ่ ชาติ ศาสนา พระมหากษตั ริย์

5

2. แผนการบริหารจัดการด้านงบประมาณ

เพอื่ ขับเคลอ่ื นโครงการโรงเรยี นคณุ ภาพของสำนกั งานเขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษามัธยมศกึ ษาน่าน

ตามท่ี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน มีโรงเรียนในสังกัดเข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 6 โรงเรียน โดยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสนับสนุนและ
ขับเคลื่อนการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพ เพื่อให้โรงเรียนในสังกัดที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพมี
การจัดการศึกษา ได้มาตรฐานและคุณภาพครอบคลุมมาตรฐานการศึกษา ครอบคลุมจุดเน้นของโครงการ
โรงเรียนคุณภาพทั้ง 8 ด้าน ตลอดจนเป็นศูนย์รวมหรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วม
สร้างความเช่ือมน่ั และศรทั ธาในการพฒั นาคณุ ภาพของโรงเรียนในการสง่ บตุ รหลานเข้ามาเรยี น นนั้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ได้ทบทวนและจัดทำภารกิจขับเคลื่อนโครงการ
โรงเรยี นคุณภาพ โดยไดเ้ สนอโครงการ/กิจกรรม พร้อมงบประมาณตอ่ ต้นสังกดั เพ่ือดำเนินงานโครงการดงั กลา่ ว
จึงได้จัดทำแผนการบริหารจัดการด้านงบประมาณขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการดำเนินงานตามโครงการ/
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการโรงเรยี นคณุ ภาพของสำนกั งานเขตพื้นทกี่ ารศึกษามธั ยมศกึ ษานา่ น ต่อไป

แผนการบริหารจัดการดา้ นงบประมาณ

1. การวางแผนการใช้งบประมาณ สอดคล้องกับนโยบาย และความต้องการในการบริหารจัด
การศกึ ษา และการพฒั นาคุณภาพการศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ได้วางแผนการใช้งบประมาณ สอดคล้องกับ
นโยบายการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ ตามกลยุทธ์ จุดเน้นของโครงการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า คุ้ม
ทุน ประหยัดและเกิดประโยชน์สงู สุดตอ่ ผ้เู รยี น

2. การควบคุมการใช้งบประมาณ
2.1 การตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณตามเป้าหมายและ Timeline โครงการ

ขับเคลือ่ นกิจกรรมโรงเรียนคณุ ภาพของสำนกั งานเขตพน้ื ที่การศกึ ษามธั ยมศึกษานา่ น
2.2 การควบคุมการใช้งบประมาณ มีความถูกต้อง ชัดเจน ตรวจสอบได้และเป็นไปตาม

วตั ถุประสงค์ของโครงการ และมีรายงานผลการเบิกจ่ายจากระบบ GFMIS
3. การจัดระบบการบรหิ ารดา้ นการเงนิ บญั ชแี ละพัสดุ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ได้วางแผนการจัดระบบการบริหารด้าน

การเงิน บัญชีและพัสดุ ของโครงการโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ระบบบริหารด้านการเงิน มีการตรวจสอบความ
ถกู ต้อง ตามระเบยี บและกฎหมายที่เกย่ี วข้องในลกั ษณะเดยี วกับการบรหิ ารจัดการงบประมาณประจำปี

4. การพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ในการบริหารงบประมาณ ทำให้
งานมีความถกู ตอ้ งเปน็ ปจั จุบนั โปร่งใส ตรวจสอบได้

5. การเร่งรดั ติดตาม การตรวจสอบ และการรายงานผล
เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการเร่งรัด ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามที่

กระทรวงการคลังกำหนด รวมทั้งมีการตรวจสอบทางการเงินบัญชี และตรวจสอบการปฏิบัติกฎหมายเกี่ยวกับ
การเบิกจ่ายงบประมาณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน กำหนดการรายงานผลการดำเนินการ
ตามแผนการใช้จา่ ยเงิน และการรายงานทางการเงนิ เปน็ รายเดือน รายไตรมาส และประจำปี

6

กจิ กรรมและงบประมาณ
โครงการโรงเรียนคณุ ภาพของสำนักงานเขตพ้นื ที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน (ท่เี สนอตอ่ ต้นสงั กัด)

ลำดับ กิจกรรม ประมาณการงบประมาณ

1. โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรยี นคณุ ภาพ ระดบั มธั ยมศกึ ษา สำนักงานเขตพ้นื ทก่ี ารศกึ ษามัธยมศึกษานา่ น

1.1 กิจกรรมท่ี 1 : วางแผนขบั เคล่อื นการดำเนนิ งานโครงการ 30,000

1.2 กิจกรรมที่ 2 : ปรับปรุงภูมทิ ัศนโ์ รงเรียน 120,000

1.3 กจิ กรรมท่ี 3 : ประชาสัมพนั ธโ์ ครงการ 66,000

1.4 กิจกรรมท่ี 6 : ตดิ ตามและประเมินผล 2,000

รวม 218,000

2. โครงการพัฒนาโรงเรยี นคุณภาพตามนโยบาย ๘ จดุ เน้น ของสำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศึกษามธั ยมศกึ ษานา่ น

2.1 กิจกรรมท่ี 1 : ความปลอดภยั ของผูเ้ รียน 120,000
- โครงการระบบมาตรฐานความปลอดภัย (MOE SAFETY CENTER) สำหรับ
นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการประสบ 50,000
อุบัติเหตุการเสียชีวิตและภัยทุกรูปแบบในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 50,000
มธั ยมศึกษาน่าน 100,000

2.2 กจิ กรรมท่ี 2 : ระบบประกนั คณุ ภาพ 100,000
- โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาด้วยการขับเคลื่อน
การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศกึ ษา 30,000
45,000
2.3 กิจกรรมท่ี 3 : หลักสตู รฐานสมรรถนะ 45,000
- โครงการพัฒนากรอบหลักสตู รฐานสมรรถนะเพ่อื พัฒนาผเู้ รียน 60,000
ตามบริบททอ้ งถน่ิ
- โครงการพัฒนาชุดการเรยี นรฐู้ านสมรรถนะเชงิ รุกชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1
จากโรงเรยี นใหญ่ส่โู รงเรียนขนาดเล็ก

2.4 กิจกรรมท่ี 4 : การพฒั นาครู
- โครงการอบรมข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา เพอ่ื ประเมิน
ตำแหน่งและวทิ ยฐานะครูตามหลกั เกณฑ์และวิธีการฯ วPA
ประจำปี งบประมาณ 2565

2.5 กจิ กรรมที่ 5 : การเรยี นการสอน
- โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมสื่อการสอนรปู แบบวดิ โี อแบบปฏิสัมพนั ธ์

2.6 กจิ กรรมท่ี 6 : การวัดและประเมนิ ผล
- โครงการพฒั นาการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
- โครงการพัฒนาแนวทางในการวัดประเมนิ ผลในช้นั เรียน ในสถานการณ์
การแพร่ระบาดโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019

2.7 กจิ กรรมที่ 7 : การนิเทศ กำกบั และตดิ ตาม
- โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วยการนิเทศเชิงรกุ บกุ หอ้ งเรียน

7

ลำดับ กจิ กรรม ประมาณการงบประมาณ

2.8 กิจกรรมท่ี 8 : Big Data 10,000
- โครงการจัดทำขอ้ มลู พื้นฐานและสารสนเทศ SPM NAN Big Data 610,000

รวม

3. โครงการเพ่อื ขอสนับสนุนงบประมาณค่าพาหนะในการเดินทางของสำนักงานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษามธั ยมศึกษานา่ น”

3.1 โรงเรียนท่าวงั ผาพทิ ยาคม 936,000
3.2 โรงเรยี นทุ่งชา้ ง 366,000
3.3 โรงเรยี นสันตสิ ุขพิทยาคม 5,088,800
3.4 โรงเรยี นเชยี งกลางประชาพฒั นา 348,000
3.5 โรงเรยี นสา*
3.6 โรงเรียนาน้อย -
1,260,000
รวมทั้งสิน้ รวม 7,998,800
8,826,800

หมายเหตุ 1. โรงเรียนสา แจง้ ไมป่ ระสงคข์ อรบั การสนับสนุนค่าพาหนะรบั - สง่ นกั เรยี นมาเรียนรวม
2. ขอถวั เฉลีย่ ทกุ รายการ

8

3. แผนการบริหารจดั การดา้ นวิชาการ

เพื่อขบั เคลื่อนโครงการโรงเรยี นคณุ ภาพของสำนกั งานเขตพนื้ ที่การศกึ ษามธั ยมศึกษานา่ น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหา
โรงเรียนขนาดเล็กที่มีแนวโน้มสูงขึ้นซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มของประชากรวัยเด็กลดลงส่งผลต่อคุณภาพของ
ผู้เรียน ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการกระจายทรัพยากรให้แกโรงเรียนใน

สังกัด จึงกำหนดแนวทางการสร้างโรงเรียนคุณภาพให้ชุมชนเป็น “โรงเรียนคุณภาพของชุมชน” ใน
ระดับประถมศึกษา ยกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในชนบทให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพระดับ
มัธยมศึกษา” และเพิ่มคุณภาพโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่อยู่ห่างไกลและมีความสามารถพึ่งพาตนเองในการ

จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพให้เป็น “โรงเรียน STAND ALONE” การขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว
กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบ
ดำเนินการในแต่ละจังหวัด ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. ๑๑/๒๕๖๔ เรื่อง การบูรณาการด้าน

การศึกษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร สั่ง ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔
จากนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล โดยการบริหารจัดการโรงเรียนระดับประถม

ขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สามารถจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและเกิด

ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของโรงเรียน โดยการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม
นโยบาย “โรงเรียนคุณภาพของชุมชน”และ “โรงเรียน STAND ALONE” ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อม และเหมาะสมในองค์ประกอบทุกด้านเป็นโรงเรียนหลักของชุมชน

มีการบริหารจัดการงบประมาณ บุคลากรสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อม โดยยึดหลักการทำโรงเรียนขนาดเล็ก
ให้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการรวมโรงเรียนเครือข่าย จำนวนไม่เกิน ๑0 โรงเรียน (จำนวน ๗ - ๘
โรงเรียน) ให้เป็น ๑ กลุ่มโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร แต่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีคุณภาพให้

เป็น “โรงเรียน STAND ALONE” หรือในอัตราส่วนที่มากที่สุดที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสามารถ
ดำเนินการได้เพื่อให้เป็นโรงเรียนศูนย์กลางการเรียนรู้ให้ผู้ปกครอง ชุมชนเชื่อมั่น และเกิดการยอมรับ สำหรับ
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจะมีการยกระดับคุณภาพของโรงเรียนที่อยู่ในชนบทหรืออำเภอต่าง ๆ ให้ทั่วทั้ง

จังหวัดเพื่อการกระจายคุณภาพการจัดการศึกษา ไม่ต้องให้นักเรียนเดินทางมาสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนประจำ
จังหวัด หรือโรงเรียนที่มีชื่อเสียง โดยจะจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากรพร้อมทั้งเทคโนโลยี
ต่าง ๆ เพื่อให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา” ให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนในจังหวัดต่อไป ใน

การ “ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา โดยยึดคุณภาพผู้เรียนและ
ประสิทธภิ าพในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ

เปา้ ประสงค์

๑. ผูเ้ รยี นมีผลสมั ฤทธิ์ คณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะทีส่ ำคัญ
๒. ผูเ้ รยี นไดร้ ับโอกาสทางการศึกษาข้ันพน้ื ฐานอยา่ งท่ัวถงึ และมีคุณภาพ

๓. ครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษามีสมรรถนะตรงตามสายงานและมาตรฐานวิชาชพี
๔. มกี ารบรหิ ารจัดการแบบบรู ณาการ เน้นการมสี ่วนร่วม กระจายอำนาจไปสสู่ หวทิ ยาเขต

9

กลยทุ ธ์ท่ี ๑ การจดั การศกึ ษาเพอ่ื ความม่นั คง
แนวทาง
๑. พฒั นาผเู้ รียนให้เปน็ พลเมืองดขี องชาตแิ ละเป็นพลโลกทีด่ ี
๒. พัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ ทุกระดับความ

รนุ แรง ท่ีมผี ลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
ตัวชี้วดั ความสำเร็จ
๑. ร้อยละของผู้เรียนที่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรักในสถาบันหลักของชาติยึดมั่นการ

ปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั รยิ ท์ รงเปน็ ประมขุ
๒. ร้อยละของผู้เรียนที่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมืองมีหลักคิดที่

ถกู ต้องเป็นพลเมอื งดีของชาติ มีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม มีค่านิยมที่พงึ ประสงค์ มีคณุ ธรรมอัตลกั ษณ์ มจี ิตสาธารณะ
มจี ติ อาสา รับผดิ ชอบต่อครอบครัว ผู้อื่น และสังคมโดยรวม ชอ่ื สตั ย์ สจุ รติ มัธยัสถ์ อดออม โอบออ้ มอารี มวี นิ ัย
และรกั ษาศลี ธรรม

๓. ร้อยละของผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามทุก
รูปแบบที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เช่น ภัยจากยาเสพติด ความรุนแรงการคุกคาม ในชีวิตและทรัพย์สิน
การคา้ มนุษย์ อาชญากรรมไซเบอร์ และภัยพบิ ตั ิต่าง ๆ เป็นตน้

๔. ร้อยละของผู้เรียนในเขตพื้นที่เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่
ห่างไกลทุรกันดาร เช่น พื้นที่สูง ชายแดน ได้รับการบริการ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและเหมาะสม
ตรงตามความต้องการสอดคล้องกับบรบิ ทของพ้ืนท่ี

๕. จำนวนสถานศึกษาที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร
รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปพัฒนา
ผู้เรยี นให้มีคุณลกั ษณะอนั พึงประสงคต์ ามที่กำหนดไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ

๖. จำนวนสถานศึกษาที่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อม และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
แสดงออกถึงความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมขุ มที ศั นคตทิ ่ดี ตี อ่ บา้ นเมือง มหี ลักคิดทีถ่ กู ตอ้ งเปน็ พลเมืองดีของชาติ มีคุณธรรม จรยิ ธรรม

กลยทุ ธท์ ่ี ๒ การจัดการศึกษาเพอ่ื เพ่ิมความสามารถในการแขง่ ขัน
แนวทาง
พัฒนาคุณภาพผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ นำไปสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ ตามความสามารถ

ความสนใจ มีทักษะท่ีจำเป็นในศตวรรษท่ี ๒๑ สรา้ งขีดความสามารถในการแขง่ ขนั ของประเทศ
ตวั ช้ีวัดความสำเรจ็
๑. จำนวนผเู้ รียนมคี วามเป็นเลศิ ทางดา้ นวิชาการ มที กั ษะความร้ทู ี่สอดคลอ้ งกับทกั ษะ

ทจี่ ำเปน็ ในศตวรรษที่ ๒๑
2. ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาผ่านการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นด้านการรู้เรื่องการอ่าน

(Reading Literacy) ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และด้านการรู้เรื่อง วิทยาศาสตร์
(Scientific Literacy) ตามแนวทางการประเมนิ PISA

๓. รอ้ ยละของผูเ้ รยี นทม่ี ศี ักยภาพได้รับโอกาสเข้าสู่เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ

10

กลยุทธท์ ่ี ๓ การพัฒนาและเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพทรัพยากรมนษุ ย์
แนวทาง
๑. พฒั นาหลักสตู รทกุ ระดบั การศกึ ษา
๒. การพฒั นาศกั ยภาพ และคุณภาพของผู้เรยี น
3. นำเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology มาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียนทุก

ระดบั การจัดการศกึ ษา
๔. การพฒั นาคณุ ภาพครู และบุคลากรทางการศกึ ษา
ตวั ชี้วดั ความสำเรจ็
๑. ผเู้ รียนทกุ ระดบั มีสมรรถนะสำคญั ตามหลกั สูตร มีทักษะการเรียนร้ใู นศตวรรษท่ี ๒๑ (๓R๘C)
๒. ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

มากกวา่ ร้อยละ ๕o ในแต่ละวิชาเพม่ิ ขึ้นจากปกี ารศึกษาท่ผี ่านมา
๓. ร้อยละผู้เรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีทักษะการ

เรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่อาชีพและการมีงานทำ ตามความถนัด และความต้องการของตนเอง มีทักษะอาชีพที่
สอดคล้องกบั ความต้องการของประเทศ วางแผนชีวติ และวางแผนทางการเงินที่เหมาะสมและนำไปปฏบิ ัติได้

๔. ผู้เรียนทุกคนมีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมี
ความสุข มคี วามยืดหยุ่นทางดา้ นความคิด สามารถทำงานร่วมกบั ผ้อู น่ื ได้ ภายใต้สังคมทเี่ ป็นพหวุ ฒั นธรรม

๕. ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพในการจัดการสุขภาวะของตนเองให้มีสุขภาวะที่ดี สามารถ
ดำรงชวี ิตอยา่ งมคี วามสขุ ทัง้ ดา้ นร่างกายและจิตใจ

๖. ครู มีการเปลี่ยนบทบาทจาก “ครูผู้สอน” เป็น “Coach” ผู้ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะการ
เรยี นรูห้ รอื ผอู้ ำนวยการการเรยี นรู้

กลยุทธ์ที่ ๔ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล้ำ
ทางการศึกษา
แนวทาง
๑. สร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองระดับท้องถิ่น ภาคเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน

การจดั การศึกษาใหส้ อดคล้องกบั บรบิ ทของพนื้ ที่
๒. การยกระดับสถานศึกษาในสังกัดทุกระดับและทุกประเภท ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตาม

บริบทของพืน้ ท่ี
๓. จัดสรรงบประมาณสนับสนุนผู้เรียนทุกกลุ่ม และสถานศึกษาทุกประเภทอย่างเหมาะสม

และเพยี งพอ
๔. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา

คุณภาพของผเู้ รยี น
ตัวช้ีวดั ความสำเรจ็
๑. ผู้เรยี นทุกคนสามารถเขา้ เรยี นในสถานศึกษาท่มี คี ุณภาพเป็นมาตรฐานเสมอกนั
๒. ผู้เรียนทุกคนได้รับจัดสรรงบประมาณอุดหนุนอย่างเพียงพอ และเหมาะสมสอดคล้องกับ

สภาพข้อเท็จจริง โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์ สภาพทางเศรษฐกิจ และที่ตั้งของ
สถานศกึ ษา และความต้องการจำเปน็ พิเศษสำหรับผู้พิการ

๓. ผู้เรียนได้รับการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ และอุปกรณ์ดิจิทัล (Digital Device) เพื่อใช้เป็น
เครอ่ื งมือในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เพียงพอ

11

๔. ครูได้รับการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ และอุปกรณ์ดิจิทัล (Digital Device) เพื่อใช้เป็น
เครอ่ื งมอื ในการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ให้แก่ผู้เรียน

๕. สถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานอย่างเหมาะสมตามบริบท ด้านประเภท ขนาด
และพ้ืนท่ี

๖. สถานศึกษานำเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัด
กจิ กรรมการเรยี นรใู้ หแ้ กผ่ ้เู รยี นได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

๗. สถานศึกษามีระบบการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียนและการแนะแนวที่มี
ประสทิ ธิภาพ

๘. สถานศึกษาที่มีระบบฐานข้อมูลประชากรวัยเรียนและสามารถนำมาใช้ในการวางแผน
จัดการเรียนรใู้ ห้แกผ่ ้เู รยี นไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ

กลยุทธท์ ี่ ๕ การจดั การศึกษาเพื่อพฒั นาคณุ ภาพชีวติ ท่เี ป็นมติ รกบั สิง่ แวดลอ้ ม
แนวทาง
๑. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาให้นักเรียน โรงเรียนได้ศึกษา เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ โรงงาน

อุตสาหกรรม การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนเมืองนิเวศ และหน่วยงานส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตร
กับสงิ่ แวดล้อมเพ่อื นำความรู้มาประยุกต์ใชแ้ ละจดั ทำโครงงานดา้ นการอนรุ ักษ์ สงิ่ แวดล้อม

๒. สง่ เสริมแนวทางการจดั การเรียนรอู้ าชีพที่เปน็ มิตรกับสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
๓. นิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานในสถานศึกษาทั้งในระบบออนไลน์ และนิเทศเชิงคุณภาพ
แลกเปลี่ยนนำเสนอผลงาน และมอบรางวัลเกียรติยศ ประชาสัมพันธ์ ผลงานเพื่อเผยแพร่และเป็นต้นแบบ
สรุปผลรายงาน
ตวั ชี้วดั ความสำเร็จ
๑. สถานศึกษาในสังกัดมีนโยบายและจัดกิจกรรมให้ความรู้ ที่ถูกต้องและสร้างจิตสำนึกด้าน
การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนำไปปฏิบัติใช้ที่บ้านและชุมชน เช่น การส่งเสริมอาชีพที่เป็นมิตร
กบั สง่ิ แวดลอ้ ม การลดใชส้ ารเคมจี ากปยุ๋ และยาฆา่ แมลง
๒. สถานศึกษามีการนำขยะมาใช้ประยชน์ในรูปผลิตภัณฑ์และพลังงานเพื่อลดปริมาณขยะ
และส่งเสริมการคดั แยกขยะในชมุ ชนเพือ่ ลดปริมาณคาร์บอนทโี่ รงเรยี นและชมุ ชน
๓. สถานศึกษามีการบูรณาการเรื่องการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมและการนำขยะมาใช้
ประโยชน์รวมทั้งสอดแทรกในสาระการเรียนรทู้ ่ีเกย่ี วขอ้ ง
๔.นักเรียนเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ มีการขยายผลแหล่งเรียนรู้ นักเรียนโรงเรียน ชุมชน เรียนรู้
ด้านการลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และตัวอย่างรูปแบบ
ผลิตภัณฑ์ท่ีเป็นมิตรกับสง่ิ แวดล้อม เช่น โรงงานอตุ สาหกรรมสีเขียว ฯลฯ
๕. นักเรียน สถานศึกษามีการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ ใน
การดำเนินกิจกรรมประจำวันในสถานศึกษาและที่บ้าน และข้อมูลของ Carbon Footprint ในรูปแบบ QR
CODE และ Paper less
๖. ครู มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และดำเนินการจัดทำงานวิจัยด้าน
การสรา้ งสำนกึ ด้านการผลิตและบรโิ ภคทเ่ี ป็นมิตรกบั สง่ิ แวดล้อมได้
๗.ครูและนักเรียนสามารถนำสื่อนวัตกรรมที่ผ่านกระบวนการคิดมาประยุกต์ใช้ ในโรงเรียน
การจดั การเรียนรู้ และประยุกตใ์ ชใ้ นชีวิตประจำวันและชมุ ชนไดต้ ามแนวทาง Thailand ๔.o

12

๘. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรและสถานที่ให้
เป็นสำนักงานสีเขียวต้นแบบมีนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของ
นกั เรียนและชุมชน

กลยทุ ธ์ที่ ๖ การปรับสมดุลและพฒั นาระบบการบริหารจัดการศึกษา
แนวทาง
๑. ให้สถานศึกษา หรอื กลุ่มเครือขา่ ยมีความเปน็ อิสระในการบริหารจัดการศึกษา
๒. พฒั นาสำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา เปน็ หน่วยงาน มคี วามทันสมัยอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ
๓. ปฏิรูปการคลังด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา โดยการ

จัดสรรงบประมาณตรงสผู่ ู้เรียน และสถานศกึ ษา
๔. พัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) และระบบการทำงานที่เป็น

ดจิ ิทัลเขา้ มาประยุกตใ์ ชอ้ ย่างคุ้มคา่ และเกดิ ประโยชน์สูงสดุ
ตัวขีว้ ดั ความสำเร็จ
๑.สถานศึกษาไดร้ บั การกระจายอำนาจการบรหิ ารจดั การศึกษาอย่างเป็นอิสระ
๒. สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับการพัฒนาให้เป็นหน่วยงานที่มีความ

ทันสมัย ยืดหยุ่น คล่องตัวสูง พร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลาเป็นหน่วยงาน
ที่มีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม ตรวจสอบ ติดตาม เพื่อให้สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ครอบคลุมทกุ ตำบล

๓. สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital
Technology) มาใช้ในการบรหิ ารจดั การและตัดสินใจ ทั้งระบบ

๔. สถานศึกษาในสังกัดมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริต และประพฤติมิชอบบริหารจัดการ
ตามหลักธรรมาภิบาล

๕. สถานศึกษา หน่วยงานในสังกัด ผ่านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ
ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA)

๖. สถานศึกษาในสงั กดั มรี ะบบฐานข้อมูลสารสนเทศวิชาการ ผู้เรยี น ครู บคุ ลากรทางการศึกษา
๗. สถานศกึ ษาทุกแห่งมีขอ้ มูลผเู้ รยี นรายบุคคลทสี่ ามารถเชือ่ มโยงกับขอ้ มูลต่าง ๆ นำไปสู่
การวิเคราะหเ์ พอ่ื วางแผนการจดั การเรียนรสู้ ่ผู เู้ รียนไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ (Big Data Technology)
๘. สถานศึกษาในสังกัดมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่สามารถใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษา
ได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ

13

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 (2561). แผนพัฒนาการศึกษา
ขัน้ พ้นื ฐาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561 - 2564) ของ สำนักงานเขตพ้ืนที่การศกึ ษา
ประถมศึกษานา่ น เขต 2.

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน (2564).
การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบูรณาการด้านการศึกษาโรงเรียนคุณภาพ:
โรงเรยี นท่าวงั ผาพิทยาคม ระดับมัธยมศึกษา สงั กัดสำนกั งานเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษามัธยมศกึ ษานา่ น.

กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 (2561). แผนการ
บริหารงบประมาณ ของ กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศกึ ษาสุโขทยั เขต 1.

กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 (2563). ประกาศสำนักงานเขต
พื้นทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษานา่ น เขต 2 เรือ่ ง นโยบายการบริหารทรพั ยากรบุคคล.

14

ภาคผนวก

15

ภาคผนวก ก







19

ภาคผนวก ข















122760

ภาคผนวก ค

2218

ประมวลภาพ
พธิ ีลงนามบนั ทึกข้อตกลงความร่วมมอื ในการขบั เคล่อื นโครงการโรงเรียนคณุ ภาพ

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ณ โรงเรียนท่าวงั ผาพิทยาคม อำเภอทา่ วงั ผา จงั หวดั น่าน


Click to View FlipBook Version