641081379 สุรัยญา หมัดเหม
กฎหมาย
อาญา
ภาคความผิด
คำนำ
หนังสือออนไลน์ (E-BOOK) ผู้จักทำ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นส่วน
หนึ่งของการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคความผิด
เพื่อนักศึกษาและผู้ที่สนใจศึกษาดันคว้ามีความรู้และเข้าใจ
เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคความผิดยิ่งขึ้น
กฎหมายอาญาภาคความผิด มีความสำคัญและจำเป็นใน
ชีวิตประจำวันในปัจจุบัน ผู้จัดจึงได้รวบรวม กฎหมาย
อาญาจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับ อินเตอร์เน็ด เอกสาร
เพื่อหวังว่าเนื้อหาในหนังสือ ออนไลน์(E-BOOK)จะเป็น
แหล่งความรู้สำหรับที่ผู้สนใจไม่มากก็น้อย
ผู้จัดทำ
641081379 นางสาวสุรยญา หมัดเหม
คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
สารบัญ หน้า
เรื่อง 1-4
5-8
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน 8-20
1.ความผิดฐานอั้งยี่ (มาตรา 209)
2.ความผิดฐานเป็นซ่องโจร (มาตรา 210)
1
บทที่ 11
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ความสงบเรียบร้อยเป็นเป้าหมายหลักของกฎหมายอาญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การรักษาความสงบสุขซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐในการสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนว่าจะใช้
ชีวิตได้โดยปกติสุข การกระทำที่อาจกระทบต่อความสงบสุขของประชาชนที่สำคัญ ได้แก่
การรวมตัวกระทำผิด ทั้งนี้เป็นการสมคบกันทั่วๆ ไป จนถึงขั้นเป็นองค์กรอาซญากรรม
การรวมตัวดังกล่าว อาจสร้างความเเสียให้แก่รัฐและสร้างคามหวาดกลัวให้แก่ประชาชน
อย่างมาก ด้วยเหตุนี้รัฐจึงต้องป้องปรามด้วยการกำหนดความผิดและโทษสำหรับบุคคลที่
สมคบกันหรือเป็นสมาชิกของสมาคมลับรือองค์กรอาชญากรรมตลอดจนผู้เกี่ยวข้องแม้ว่า
การลงมือกระทำความผิดตามที่สมคบกันยังไม่เกิดขึ้นเลยก็ตาม
กฎหมายต่างประเทศก็กำหนดให้การกระทำที่สมคบหรือเป็นสมาชิกขององค์กร
อาชญากรรมเป็นความผิดเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน
มาตรา 129 เอาผิดแก่ผู้ก่อตั้งหรือผู้เข้าเป็นสมาชิกขององค์กรอาชญากรรมนั้น ตลอด
จนผู้ชักชวนคนเข้าเป็นสมาชิกหรือเป็นสนับสนุนองค์กรดังกล่าว ในอังกฤษก็มีพระราช
บัญญัติกฎหมายอาญา คริสต์ศักราช 1977 มาตรา 1 กำหนดความผิดแก่ผู้ที่สมคบ
กันเพื่อกระทำความผิดที่เรียกว่า CONSPIRACY ซึ่งผู้สมคบกันจะมีความผิดตั้งแต่ยัง
ไม่ได้ลงมือกระทำตามที่สมคบกันเลย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ INCHOATE CRIMES
กฎหมายเก่าของไทยโดยเฉพาะกฎหมายตราสามดวงบัญญัติถึงการกระ
ทำความผิดในลักษณะเป็นกลุ่มไว้บ้าง เป็นต้นว่าพระราชกำหนดเก่ากล่าวถึงการสมคบกัน
เพื่อกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคน
2
ขึ้นไป ถ้าทางการพบว่าเป็นผู้ร้ายก็สามารถนำด้วผู้นั้นมาลงโทษได้
ครั้นต่อมาเมื่อชาวต่างประเทศมาอยู่ในเมืองไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัว ชาวจีนอพยบมาทำงานในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก มีการก่อตั้งสมาคมลับเพื่อช่วย
เหลือกันในเรื่องต่างๆ จนถึงขั้นรวมตัวกันเป็นปีกแผ่น แยกออกเป็นหลายกลุ่ม เรียกว่า
"อั้งยี่" และก่อการไม่สงบขึ้นหลายแห่งในพระราชอณาจักรด้วยการยกพวกวิวาทกันจน
เป็นที่หวาดกลัวแก่อาณาประชาราษฎร์ ครั้นจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษเจ้า
พนักงานก็ถูกขัดขวางโดยกลุ่มเหล่านี้เพื่อช่วยเหลือพรรคพวกของตน ปัญหาอั้งยี่
ดังกล่าวลุกลามบานปลายอย่างหนักและยากต่อการควบคุม รัฐบาลจึงจำเป็นต้องตรา
พระราชบัญญัติอั้งยี่รัตนโกสินทรศก 116 (พุทธศักราช 2440) ซึ่งมีมาตรการทาง
อาญาอย่างเข้มงวดและเด็ดขาดเพื่อปราบปรามมองค์กรอาชญากรรมนั้นให้มีประสิทธิภาพ
โดยกำหนดความผิดตั้งแต่ยังไม่ทันได้กระทำความผิดเลย เมื่อมีการร่างกฎหมายลักษณ
อาญาขึ้น คณะกรรมการยกร่างก็ได้นำความเกี่ยวกับอั้งยี่ตลอดจนความผิดฐานอื่นๆ ที่
เกี่ยวข้องกันมาบัญญัติไว้ในส่วนที่ 5 ว่าด้วยความผิดที่กระทำให้เกิดภยันตรายแก่บุคคล
และทรัพย์ ตั้งแต่มาตรา 177จนถึงมาตรา 184 ทั้งนี้เพราะรัฐเกรงว่าหากไม่มีกฏ
หมายในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในพระราช
บัญญัติอั้งยี่แล้ว ปัญหาองค์กรอที่เรื้อรังมาแต่เดิมจะเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง
3
ต่อมาเมื่อยกร่างประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการยกร่างก็มิได้แก้ไขเพิ่ม
บทบัญญัติ ในเรื่องอั้งยี่ ช่องโจร และความผิดที่เกี่ยวข้องให้ผ่อนคลายความเข้มงวดลง
แต่ยังคงนำแนวคิดเดิมมาบัญญัติไว้ในลักษณะ 5 ของประมวลกฎหมายอาญา และแก้ไข
ชื่อของลักษณะเสียใหม่เป็น “ความผิดกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน"
(OFIENSES AGAINST PUBLIC TRANQUILITY)
ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลาที่ร่างกฎหมายนี้ ปรากฎว่ามีการรวมตัวกันออกปลันชาว
บ้านในลักษณะเป็นช่องโจรอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาบริบททางสังคม
ในปัจจุบันแล้ว บทบัญญัติบางบทอาจไม่สมกับกาลสมัยที่คำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหาหรือ
จำเลยเป็นสำคัญ
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชนไว้
จำนวน 8 มาดรา ซึ่งจำแนกเป็น 3 ฐานดวามผิดใหญ่ ๆ ได้แก่ ฐานความผิดเกี่ยวกับ
อั้งยี่และซ่องโจร (มาดรา 209 จนถึง มาตรา 213) ฐานความผิดเกี่ยวกับการช่วยผู้
กระทำความผิดเป็นปกติธุระ (มาตรา 214)
และฐานความผิดเกี่ยวกับการมั่วสุม (มาตรา 215 และมาตรา 216)
4
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่ เป็นอั้งยี่ (มาตรา 209)
และซ่องโจร
เป็นซ่องโจร (มาตรา 201)
ความผิดฐานช่วยผู้กระทำ หรือปซร่อะงชุโมจใรนที(่มปารตะชรุมาอั้2งย1ี่ 1)
ความผิดเป็นปกติธุระ ช่วยเห(ลมือาตอั้รงยาี่ห2รือ1ซ2อ)งโจร
การลซ่งอโงทโจษรกกรรณะีทสำมคาวชิากมอัผ้งิยดี่หรือ
(มาตรา 214)
ความผิดเกี่ยวกับการ (มาตรา 213)
มั่วสุ่ม (มาตรา 215)
มั่วสุม ไม่เลิกมั(่วมสาุส่ัตม่งเรใมหืา่้อเล2เิจก้1าพ6น)ักงาน
5
1. ความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่และซ่องโจร
ความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่และซ่องโจรมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความผิดทั่วไป
ตรงที่ทั้งสองฐานความผิดจะลงโทษผู้ที่ยังไม่ทันได้กระทำความผิดตามที่ตกลงกันไว้เลย
แต่กฎหมายอาญาได้กำหนดให้เป็นความผิดตั้งแต่การเป็นเพียงสมาชิกของกลุ่มองค์กรที่
อาจกระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือเพียงแต่สมคบกันเพื่อกระทำความผิดเท่านั้น
ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนตระเตรียมการหรือลงมือกระทำความผิด ทั้งนี้เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิด
การกระทำความผิดที่อาจส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามมาได้
ฐานความผิดเกี่ยวกับอั้งยี่และซ่องโจรนั้นจำแนกออกเป็นความผิดฐานเป็นอั้งยี่
(มาตรา 209) เป็นช่องโจร (มาตรา 210) ประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือช่องโจร
(มาตรา 211) ช่วยเหลืออั้งยี่หรือซ่องโจร (มาดรา 212) และการลงโทษกรณีสมาชิก
อั้งยี่หรือช่องโจรได้กระทำความผิด (มาตรา 213)
1.1 ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ (มาตรา 209)
ก. บทบัญญัติ
มาตรา 209 ผู้ใดเป็นสมาชิของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่ง
หมาย เพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสีหมื่นบาท
ผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) เป็นสมาชิกของคณะบุคคล
6
(3) ปกปิดวิธีดำเนินการ
(4) มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา
ค. เหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
“เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง” รับโทษหนักขึ้นถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า
ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลนั้น
ง. คำอธิบาย
ง.1 เป็นสมาชิกของคณะบุคคล
"เป็นสมาชิกของคณะบุคคล" หมายความว่า เป็นสมาชิกของกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคน
ขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรที่สมาชิกมีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน เช่น เป็นสมาธิก
ของกลุ่มบุดคลเพื่อช่วยเหลือหาพยานเท็จและออกเงินช่วยเหลือเมื่อสมาชิกตกเป็นผู้
ต้องหาในคดีอาญา
ถ้าการรวมตัวกันกระทำความผิดซึ่งมิใช่ลักษณะในเชิงคณะบุคคล ผู้กระทำไม่มี
ความผิดฐานนี้ เช่น เพียงแต่นัดหมายมาเล่นการพนันกันเป็นครั้งคราว แต่เจ้าของบ่อน
กับผู้ร่วมก่อการจัดให้มีการเล่นการพนันเป็นประจำ เข้าข่ายกระทำในเชิงคณะบุคคล
ย่อมมีความผิดฐานนี้
ความผิดฐานนี้สำเร็จเมื่อเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้
กระทำการตามความมุ่งหมายเลยก็ตาม อีกทั้งยังเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่เป็น
สมาชิกหรือมีตำแหน่งหน้าที่อยู่
7
ง.2 ปกปิดวิธีดำเนินการ
คณะบุคคลที่เข้าเป็นสมาชิกนั้นปกปิดวิธีดำเนินการ เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่รู้วิธี
ดำเนินการ ซึ่งไม่เป็นที่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอก เช่น ใช้วิธีการซุ่มโจมดีเจ้าหน้าที่รัฐ
ใช้ป้ายชื่อสำนักงานทนายคามมาปิดบังไม่ให้รู้ว่าเป็นสถานที่ใช้เล่นการพนัน
ง.3 มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากจะปกปิดวิธีดำเนินการแล้ว คณะบุดคลดังกล่าวยังมีความมุ่งหมายเพื่อ
การอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการอันมิชอบดังกล่าวไม่จำต้องถึงขนาดเป็นความผิด
อาญา
เสียทีเดียวแต่หมายความรวมถึงการอื่นใดที่ไม่มีกฏหมายรับรองให้กระทำได้เพราะขัดต่อ
ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประซาชน เช่น การที่สถาบันกวดวิชาช่วยเหลือ
กลุ่มผู้เข้าสอบ เข้าเรียน หรือสำนักงานให้โกงการสอบ
ง.4 เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง
ผู้เป็นหัวหน้า ผู้จัดการหรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในคณะบุคคลซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร
เช่น เหรัญญิก ต้องระวางโทษหนักขึ้น
จ. คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ
คำพิพากษาฎีกาที่ 283/2565 ความผิดฐานร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่เป็น
ความผิดหันหมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความ
มุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย และความผิดฐานร่วมกันเป็นช่องโจรก็เป็นความ
ผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกัน ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด
ตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งตามองค์ประกอบของความ
ผิดสองฐานนี้ จึงอาจเป็นความผิดต่างกรรมกันได้ แต่เมื่อการกระทำควมผิดฐานร่วมกัน
มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการมีส่วน
ร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติพ.ศ. 2556 มาตรา 5 (1)
8
และ (2) มีองค์ประกอบของความผิดในลักษณะเดียวกันกับความผิดฐานร่วมกันกระทำ
การเป็นอั้งยี่และ ความผิดฐานร่วมกันเป็นช่องโจร คามผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการกระทำ
กรรมเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าการเข้าเป็นสมาชิกหรือการสมคบกันนั้นก็เพื่อจะกระทำความ
ผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและด้วยการนำเข้าสู่ระบบ
คอมพิวเตอร์ที่ปลอมหรือเป็นเท็จ ความผิดฐานร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่ และฐาน
ร่วมกันเป็นช่องโจร และฐานร่วมกัน มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จึ
เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันและโดยมีเจตนามุ่งหมายอันเดียวกันกับความผิดฐานร่วมกัน
ฉัอโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและฐานร่วมกันนำเข้าสู่ะบบคอมผิวเตอร์ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปลอมหรือเป็นเท็จ ความผิดฐานต่างๆ ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรม
เดียวกัน แต่ความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินนั้น พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอก
เงิน พ.ศ. 2542 มีเจตนารมณ์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดมูลฐานที่ได้นำเงิน
หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมากระทำการในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการ
พื่อนำเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปใช้เป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก ความผิด
ฐานร่วมกันฟอกเงินจึงเป็นการกระทำความผิดที่เกิดภายหลังเมื่อมีการกระทำความผิด
ฐาน
อื่นๆ ดังกล่าวสำเร็จแล้ว และเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถแยกเจตนาและการก
จากการกระทำความผิดฐานอื่นนั้นได้ จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างกรรมกัน
1.2 ความผิดฐานเป็นซ่องโจร (มาตรา 210)
ความผิดฐานเป็นช่องโจรเปรียบเทียบได้กับความผิดฐานสมคบในระบบคอมมอนลธ
มผิดฐานนี้เอาผิดตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการลงมือกระทำความผิดที่สมคบกัน ซึ่งสาระสำคัญ
ความผิดได้แก่การตกลงกันว่าจะกระทำความผิด
9
ก. บทบัญญัติ
มาตรา 210 ผู้ใดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิด
อย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุก
อย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นช่องโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึงแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าเป็นการสมคบเพื่อกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต จำคุกตลอด
ชีวิตหรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ - เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติ
ไว้ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้น
ค. เหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง รับโทษหนักขึ้นถ้าเป็นการสมคบกันโดยมีเจตนา
พิเศษเพื่อกระทำวามผิดที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกอย่าง
สูงตั้งแต่
สิบปีขึ้นไป
10
ง.คำอธิบาย
ความผิดฐานนี้มุ่งพิจารณาถึลักษณะการกระทำที่เป็นการสมคบกันโดยมี
จำนวนห้าคนขึ้นไป ถ้าไม่ถึงห้าคนมไม่เป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร ซึ่งลักษณะการกระทำ
แตกต่างจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตรงที่ว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่นั้นพิจารณาจากการ
เป็นสมาชิกของคณะบุคคล โดยไม่พักต้องคำนึงว่าจะมีบุคคลจำนวนเท่าใด ส่วนความผิด
ฐานเป็นช่องโจรนั้น ผู้กระทำไม่จำต้องเป็นสมาชิกองคณะบุคคลใด เพียงแต่แสดงให้เห็น
ว่ามีการสมคบกันจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนก็เป็นความผิดฐานนี้ นอกจากนี้ การเป็นอั้งยี่
นั้นมีการปกปิดวิธีดำเนินการอันมิชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจไม่ถึงกับเป็นความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ก็ได้ ในขณะที่การเป็นช่องโจรต้องสมคบกันกระทำความ
ผิดตามภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น
ง.1 สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
คำว่า "สมคบ" หมายความว่า ร่วมกันคิดและตกลงกันกระทำการในทางที่ไม่
ชอบความผิดสำเร็จเมื่อมีการตกลงกันกระทำความผิด
(AGREEMENTS TO COMMIT A CRIME) ซึ่งต้องพิสูจน์ได้ว่ามีการตกลงกันเช่น
นั้นอย่างแน่ชัด กล่าวคือ มีการประชุมหารือร่วมกันและดกลงกันว่ากระทำความผิดอะไร
เพราะการ "ตกลงกัน" เป็นสาระสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่ามีการกระทำความผิดฐานเป็น
ช่องโจรหรือไม่ และเป็นความผิดสำเร็จเมื่สมคบกัน ถ้าไม่อาจแสดงให้เห็นได้ว่ามีการ
ตกลงกัน หรือเพียงแต่มาประชุมหารือกันโดยมิได้ตกลงอะไรกันหรือยังตกลงกันไม่ได้ ก็
ย่อมไม่เป็นการสมคบกันเป็นซ่องโจร
ตัวอย่างที่ 1 จำเลยกับพวกทำทีเข้าไปขอเช่าที่ดินจากผู้เสียหาย ชักนำไป
บ้าน
หลังหนึ่งและให้ดื่มน้ำผสมสารมึนเมา แล้วให้ผู้เสียหายไปถอนเงินที่ธนาคาร
11
และขอยืมเงินไปเล่นการพนันจนหมด จำเลยทั้งสองกับพวกไม่เคยปริปากพูดถึงเรื่องการ
เช่าที่ดินอีกเลย ซึ่งวิธีการเช่นนี้หากไม่มีการนัดแนะและร่วมกันวางแผนกันมาก่อน ผลก็
ย่อมจะเกิดขึ้นเป็นลำดับสอดคล้องเช่นนั้นไม่ได้ กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาอันถือได้ว่า
จำเลยทั้งสองได้สมคบกับพวกตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฉ้อโกง จำเลย
จึงมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร แต่ถ้าไไม่ได้ความว่าจำเลยกุบพวกได้คบคิดร่วมประชุม
ปรึกษาหารือกันไหนเมื่อใด และได้ตกลงจะกระทำความผิดอย่างใดหรือไม่ จึงจะลงโทษ
จำเลยฐานเป็นซ่องโจร
ตัวอย่างที่ 2 จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เพียงแต่ร่วมกันเจรจากับเจ้า
พนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อ โดยเสนอขายรถจักรยานยนค์ที่กลักมาเท่านั้น เป็นลักษณะที่
เป็นการกระทำต่อบุคคลภายนอก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5
ได้มีการคบคิดกันว่าจะกระทำความผิดร่วมกันรับของโจร จึงยังฟังไม่ได้ว่ากระทำความ
ผิดฐานเป็นช่องโจร
ตัวอย่างที่ 3 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่กับ ช. ร่วมกันเป็นซ่องโจรโดยสมคบ
คิดกันตั้งแต่ห้าคน เพื่อกระทำผิดฐานปลันทรัพย์และชิงทรัพย์ผู้อื่น แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟัง
ไม่ได้ว่าในคืนเกิดเหตุ ช. อยู่ร่วมกับจำเลยทั้งสี่ ดังนั้น พฤติการณ์ตามที่โจทก์กล่าวหา
จำเลยทั้งสี่ จึงไม่เป็นความผิดฐานซ่องโจร
12
นอกจากนี้ หลังจากได้ตกลงกันแล้ว แม้จะยังไม่ได้กระทำการตามที่ตกลงกันและไม่ว่า
จะได้กระทำในฐานะตัวการหรือไม่ก็ตาม การสมคบกันนั้นก็เป็นอันตรายต่อสังคมแล้ว
ดังนั้นจึงเป็นความผิดตามมาตรา 210 เช่น ตกลงกันไปปลัน แต่ก่อนออกเดินทาง
ไปปล้นเกิดเปลี่ยนใจเสียก่อน หรือจำเลยทั้งห้าสมคบกันเสร็จเรียบร้อยแล้วว่าจะไปปลัน
แต่จำเลยคนหนึ่งไม่ได้ไปด้วย จำเลยทั้งห้าก็ยังมีความผิดฐานเป็นช่องโจร
คำว่า "ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป" หมายความถึงบุคคลที่มีความสามารถกระทำความ
ผิดและร่วมสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเพียงผู้บรรลุนิติภาวะหรือ
มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีเท่านั้น ดังนั้นผู้กระทำอาจเป็นเด็กที่พอรู้เดียงสา หรือบุคคล
ที่มีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนที่พอจะรู้ผิดชอบได้บ้างก็ได้ ถ้าการกระทำอัน
เป็นความผิดมีจำนวนผู้กระทำไม่ถึงห้าคนก็ไม่อาจลงโทษฐานเป็นซ่องโจรได้
ตัวอย่าง จำเลยที่ 12 ให้เงินจำเลยที่ 11เพื่อให้นำไปให้จำเลยที่ 7 และที่
8 เช่าสถานที่ละซื้อไม้มาสร้างโรงถเพื่อถอดแยกชิ้นส่วนรถยนต์ โดยไม่ได้สมคบกันเพื่อ
ลักทรัพย์หรือรับของโจร และเมื่อนับรวมกันแล้วก็มีเพียง 4 คนเท่านั้น ส่วนคนร้าย
ที่ทำการถอดแยกชิ้นส่วนรถยนต์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 12 ได้ร่วมสมคบในการ
ลักทรัพย์ด้วย ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าจำเลย ที่ 12 สมคบกับคนอื่นตั้งแต่ห้าคนขึ้น
ไปเพื่อกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร
13
ง.2 เจตนาพิเศษ -เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติ
ไนภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปี
นอกจากผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดและประสงค์ต่อ
ผลหรือเล็งเห็นผลแล้ว ยังจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตาม
ตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 กล่าวคือ เป็นการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดดังที่บัญญัติ
ไว้ในลักษณะ 1 จนถึงลักษณะ 13 ของภาค 2 แห่งประมวลกฏหมายอาญา เช่น การ
ก่อการร้าย การฆ่าหรือทำร้ายร่างกาย การข่มขื่นใจหรือหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง การลัก
ทรัพย์ การชิงทรัพย์หรือปลันทรัพย์ การฉ้อโกงโจทย์มีหน้าที่บรรยายฟ้องให้ซัดเจนเพียง
พอว่าจำเลยได้ตกลงกระทำความผิดฐานใด ด้วยวิธีการอย่างไร หาไม่แล้วอาจเป็นฟ้องที่
ไม่ชอบซึ่งศาลอาจยกฟ้องได้
อย่างไรก็ตาม ความผิดที่สมคบกันอันเป็นความผิดฐานเป็นช่องโจรนั้นจำกัด
เฉพาะความผิดในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น ความผิดตามภาค 3 และ
ตามกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญาไม่อยู่ในขอบเขตของความผิดฐานนี้ เช่น ความผิด
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พระราชบัญญัติยาเสพดิด
หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราดาต่อหน่วยงานของรัฐ
ยิ่งกว่านั้น ความผิดตามภาค 2 นั้นจะต้องเป็นความผิดที่มีกำหนดโทษจำคุก
อย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปเท่านั้น เช่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามมาดรา 295
กำหนดระหว่างโทษจำคุกไว้ไม่เกินสองปี จึงเป็นความผิดที่สมคบกันเป็นช่องโจรได้ และผู้
สมคบกันไม่จำเป็นต้องรู้ร่วมความผิดฐานดังกล่าวมีระวางโทษตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือไม่
14
ถ้าระวางโทษขั้นสูงในความผิดนั้นไม่ถึงหนึ่งปี แม้จะได้สมคบกันกระทำความผิด
ฐานนั้นก็ตาม ผู้กระทำก็ไม่มีความผิดฐานเป็นช่องโจร เช่น สมคบกันแจ้งข้อความอันเป็น
เพียงแก่เจ้าพนักงาน ดามมาตรา 137 หรือสมคบกันกีดกันหรือขัดขวางการขายทอด
ตลาดขอวเจ้าพนักงาน 197 ซึ่งความผิดทั้งสองฐานนี้แม้จะอยู่ในภาค 2 แต่มีระวาง
โทษจำคุกเพียงไม่เกินหกเดือน
4.3 เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง
ถ้าหากการสมคบกันนั้นมีเจตนาพิเศษเพื่อกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึง
ประหารชีวิต จำคุกดลอดชีวิต หรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องได้รับโทษ
หนักขึ้นตามวรรคสอง ผู้กระทำเพียงแต่รู้ว่าสมคบกันไปกระทำความผิดอะไร แต่ไม่จำต้อง
รู้ว่า
ระวางโทษของความผิดนั้นเป็นเท่าใด เช่น ผู้กระทำต้องทราบว่าความผิดที่สมคบกันคือ
ฐานเป็นกบฏ ตามมาตรา 113 โดยไม่จำต้องรู้ว่าระวางโทษของความผิดฐานนี้คือประหาร
ชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
จ. ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ
จ.1 การลงโทษผู้กระทำความผิด
ปัญหาประการหนึ่งที่มักจะพบเสมอคือ จะลงโทษผู้กระทำในความผิดฐานเป็น
ซ่องโจรกับความผิดได้สมคบกันกระทำลงอย่างไร กล่าวคือ ความผิดทั้งสองนั้นจะถือเป็น
การกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฏหมายหลายบท
15
หรือเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน ถ้าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฏหมาย
หลายบทซึ่งแม้จะมีหลายการกระทำแต่มีเจตนาอย่างเดียวกันและเกี่ยวเนื่องกัน ก็ลงโทษ
เฉพระบทหนักเพียงบทเดียว ตามมาตรา 90 ในทางตรงข้าม ถ้าเป็นการกระทำหลาย
กรรมต่างกันซึ่งเป็นกรณีมีจตนาคนละอย่างหรือแยกต่างหากจากกันได้ ก็ได้ลงโทษเรียง
กระทงกันไป ตามมาตรา 91
ตัวอย่างที่ 1 จำเลยทั้งสองกับพวก 5 คน ร่วมกันปรึกษาวางแผนลัก
ทรัพย์
ของชาวต่างชาติบนรถโดยสารสองแถว โดยขึ้นรถโดยสารสองแถวมาพร้อมกันซึ่งจะ
ทำให้มีผู้โดยสารมากพอที่จะทำให้พวกของจำเลยที่ 1 สามารถเข้าไปนั่งชิดกับผู้เสีย
หายทางด้านขวาที่มีกระเป๋าสตางค์อยู่ในกระเป๋ากางเกง พวกของจำเลยทั้งสองจึงมีโอกา
สลัวงกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายและมีการแบ่งหน้าที่กันทำตามที่จำเลยที่ 1 กับพวก
รวม 5 คน สมคบกัน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกับพากลักทรัพย์ในยวดยาน
สาธารณะและเป็นซ่องโจร ซึ่งความผิดฐานเป็นช่องโจรกับฐานร่วมกันลักทรัพธ์ใน
ยวดยานสาธารณะเกี่ยวเนื่องกันจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
16
ตัวอย่างที่ 2 จำเลยทั้งห้าสมคบกันเพื่อกระทำการก่อการร้ายและลงมือ
กระทำ
ความผิดฐานก่อการร้ายโดยร่วมกันมีวัตถุระเบิด การกระทำทั้งสองฐานนี้มีเจตนา
เดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ส่วนการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐาน
เป็นช่องโจรเป็นการกระทำที่มีเจตนาต่างกัน อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จ.2 ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดฐานเป็นช่องโจร
ความผิดฐานเป็นช่องโจรมีลักษณะแตกต่างจากความผิดฐานอื่นๆ ตรงที่
ความผิดฐานนี้ลงโทษจำเลยก่อนที่จะได้กระทำความผิดที่สมคบกัน และอาศัยเพียงการ
”ตกลง” ว่าจะกระทำความผิดเท่านั้นความผิดก็สำเร็จลงแล้ว ในขณะที่ความผิดทั่วไป
ผู้กระทำจะมีความผิดก็ต่อเมื่อ “ลงมือ” กระทำเท่านั้น ดังนั้น ความผิดฐานเป็นช่อง
โจรจึงเป็นการกำหนดความผิดแก่ผู้ที่แม้ตกลงใจจะกระทำนั้นโดยยังไม่แน่ชัดว่าจะได้
กระทำความผิดตามที่ตกลงนั้นหรือไม่ก็ตาม ผู้พิพากษาอังกฤษในคดี R. V BAROT
[2007] แสดงคมไม่ห็นด้วยและกล่าวว่าความผิดฐานสมคบกันเมินฐานความผิดที่ไร้
ระบบและไร้ซึ่งเหตุผลมากที่สุดในกฎหมายอาญาของอังกฤษทีเดียว
17
คิด ตกลงใจ/สมคบ ตระเตรียมการ ลงมือ ความผิดสำเร็จ
ความผิดอาญาทั่วไป เช่น ฆ่า
ความผิดอาญาร้ายแรง เช่น ฆ่า
ความผิดฐานเป็นซ่องโจร หรือความผิดต่อความมั่นคง เช่น สมคบกันเป็นกบฏ
แผนผังขั้นตอนการกระทำความผิดฐานช่องโจรเปรียบเทียบกับความผิดอาญาอื่น
การกำหนดให้การสมคบกันเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตกลงกันทำให้เกิด
ปัญหา
การนำความผิดฐานซ่องโจรมาบังคับใช้อย่างไม่เหมาะสม ซึ่งอาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนเป็นอย่างมาก ดังที่ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ได้กรุณาอธิบาย
ว่าก่อนที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเดิมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ศาลเป็นผู้มี
อำนาจพิจารณาออกหมายจับผู้ต้องหา มีการใช้ความผิดฐานดังกล่าว “อย่างพร่ำเพรื่อ
มาก" แม้จะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความดังกล่าวเพื่อป็นหลักประกัน
สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าบทบัญญัติความผิด
ฐานนี้ยังมีความไม่เหมาะสมหลายประการ ดังต่อไปนี้
18
ประการแรก แม้ว่าเจตนารมณ์ของความผิดฐานเป็นช่องโจรได้แก่การ
คุ้มครองให้ประชาชนอยู่อย่างมเย็นเป็นสุขก็ตาม แต่บทบัญญัในลักษณะนี้กระทบ
กระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเอาผิดกับผู้กระทำ
ตั้งแต่ขั้นตอนการ "ตกลง” ใจ ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนการ "ตระเตรียมใจ" และ "ลงมือ"
กระทำความผิดซึ่งเป็นขั้นตอนที่ความผิดจะปรากฏเด่นชัดที่สุดเพราะมีการแสดงออก
ถึงการกระทำความผิดอาญาอย่างเป็นรูปธรรม และโดยหลักกฎหมายอาญาจะลงโทษผู้
นั้นก็ต่อเมื่อได้ "ลงมือ" กระทำแล้ว ยกเว้นกรณีที่เป็นความผิดร้ายแรงจริงๆ เช่น
เป็นกบฎ หรือวางเพลิงเผาทรัพย์ กฎหมายอาจกำหนดให้การกระทำนั้นเป็นความผิด
ตั้งแต่
ขั้นสมคบกันหรือขั้นตระเตรียมการเพื่เป็นการป้องกันมิให้การกระทำความผิลงได้ แต่
เมื่อพิเคราห์ถึงบทบัญญัติมาตรา 210 แล้วจะเห็นว่ากฎหมายกำหนดให้ผู้กระทำผิด
ได้ตั้งแต่การตกลงใจซึ่งมักจะเกิดก่อนการตระเตรียมการ และห่างไกลจากขั้นตอนลงมือ
กระทำความผิดออกไปอีก ทำให้ความแน่ชัดของการกระทำความผิดยิ่งลดน้อยลง
ประการที่สอง แม้ว่าขอบเขตของความผิดฐานเป็นซ่องโจรมุ่งพิจารณาที่
การกระทำความผิดตามภาคสองแห่งประมาลกฏหมายอาญาเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา
210 วรรคเพื่อกำหนดให้พิจารณาจากระวางโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปเป็น
สำคัญ แต่เมื่อพิเคราะห์แล้วจะเห็นว่าฐานความผิดตามภาคสองแห่งประมวลกฎหมาย
อาญามีระวางโทษจำดุกขั้นสูงตั้น ตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปเกือบทั้งสิ้น คงเหลือดวามผิดบาง
ฐานซึ่งมีจำนวนน้อยมากที่ไม่อยู่ในขอบเขตของความผิดฐานเป็นช่องโจรเพราะะวาง
โทษจำคุกอย่างสูงน้อยกว่าหนึ่งปี และความผิดบางฐานโดยลักษณะแล้วก็ไม่อาจเป็น
ความผิดฐานเป็นช่องโจรได้
19
ขณะที่ความผิดฐานสมคบหรือดระเตรียนการที่กฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดจำกัด
เฉพาะความผิดร้ายแรงที่กระทบอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของ
ประชาชนเท่านั้น ดังนั้น ความผิดฐานเป็นซ่องโจรด้วยระวางโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่
หนึ่งปีขึ้นไปจึงยังมีขอบเขตที่กว้างขวางมากและน่าจะไม่เหมาะสมกับบริบท
ของสังคมไทยในปัจจุบันเท่าใดนัก
ประการที่สาม ในทางทฤษฎี ความผิดฐานนี้จะสำเร็จเมื่อมีการ "ตกลง" กัน
ขั้นตกลงนั้นอาจจะยังไม่แน่ชัดว่าผู้สมคบกันนั้นจะกระทำความผิดตามที่ตกลงกันไว้หรือ
าอีกระยะหนึ่งในการตรึกตรองและอาจเปลี่ยนใจไม่กระทำความผิดต่อไปก็ได้ หรืออาจมี
เหตุบางอย่างทำให้ไม่ได้ลงมือกระทำความผิดด้วย แต่กลับต้องถูกลงโทษในสิ่งที่ตนยัง
ไม่ได้ลงมือกระทำเลย ดังที่ปรากฏในคำพิพากษาฎีกาที่ 871/2457 ซึ่งศาลวินิจฉัย
ว่า แม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดความตามที่ตกลงไว้ จำเลยก็ยังคงมีความผิดฐานเป็น
ซ่องโจร นอกจากนี้ผู้นั้นยังอาจได้รับโทษที่หนักขึ้นเพราะพรรคพวกซ่องโจรคนหนึ่งคน
ใดไปกระทำความผิดที่สมคบกันนั้น ตามมาตรา 213 ด้วยการลงโทษในกรณีดัง
กล่าวอาจขัดต่อหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาถ้าหากไม่มีเหตุผลงโทษที่เพียงพอ
แม้ว่าความผิดฐานเป็นช่องโจรอาจมีข้อพิจารณาหลายประการดังกล่าวข้างต้น
ก็ตาม แต่การไม่มีบทบัญญัติเช่นนี้เสียเลยก็คงไม่อาจป้องกันผลร้ายแรงที่เกิดจากการ
ก่ออาชญกรรมได้ ซึ่งเมื่อชั่งน้ำหนักถึงความปลอดภัยของประชาชนกับสิทธิเสรีภาพ
ส่วนบุคคลแล้วบางครั้งก็จำต้องบัญญัติกฎหมายที่กระทบกะเทือนต่อสิทธิเสภาพส่วน
บุคคลในลักษณะของการควบคุมอาซญากรรม (CRIME CONTRO1) บ้าง
20
ในต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน แม้จะมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในความผิดฐานสมคบอย่างมาก
ก็ตาม แต่รัฐก็คงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดความผิดในลักษณะนี้สำหรับการกระ
ทำที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อรัฐได้
เมื่อตรวจสอบประมวลกฎหมายอาญาแล้วพบว่า นอกจากความผิดฐานเป็น
ช่องโจร ตามมาตรา 210 แล้ว ยังมีบทบัญญัติมาตราอื่น ๆ ที่กล่าวถึงการสมคบกัน
เป็นความผิด โดยความผิดเหล่านั้นมีผลกระทบต่อรัฐและประชาชนอย่างร้ายแรง ซึ่ง
สอดคล้องกับที่ได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น ได้แก่ ความผิดฐานสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ
ตามมาตรา 114 ความผิดฐานคบคิดกับบุคคลที่กระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐต่าง
ประเทศ ตามมาตรา 120 หรือความผิดฐานสมคบกันเพื่อก่อการร้าย ตามมาตรา
135/2 (2) ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่ายังจำเป็นที่ต้องมีบทบัญญัติเช่นว่านั้น
นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังเห็นว่ารัฐจำเป็นต้องมีบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับ
ซ่องโจรตามมาดรา 210 อยู่ แต่ควรแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ปัจจุบัน โดยอาจกำหนดให้ระวางโทษจำคุกของความผิดตามภาคสองของประมวล
กฎหมายอาญาให้สูงขึ้นกว่าหนึ่งปีขึ้นไปเพื่อให้ความผิดบางฐานไม่ตกอยู่ภายใต้ขอบเขต
ของมาตรา 210 การแก้ไขเพิ่มเติมดังที่ว่ามานี้จะทำให้ฐานความผิดฐานช่องโจรตาม
มาตรา 210 จำกัดอยู่เฉพาะความผิดที่รัฐเห็นว่าร้ายแรงเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ความผิด
สอดคล้องกับการกระทำและเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยของประชาชน
ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น