สรุปสาระสำคัญ การประชุมศึกษาดูงานโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ด้าน Smart Hospital และดิจิทัลสุขภาพ (OPD-IPD Paperless-Smart ER) วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๓๐ น. ผู้เข้าร่วมประชุม ๑.นพ.พิษณุวัฒน์ เดชนันทรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ๒. นพ.วสันต์ ลักษณ์ไกรศร หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน พรส ๓.นพ อิทธาวุธ งามพสุธาดล นายแพทย์เชี่ยวชาญ ๔.พญ.นันทวัน สุอังคะ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ๔.พญ.หทัยรัตน์ จันทรพรหมกุล นายแพทย์ชำนาญการ ๕.นส.วันเพ็ญ ศุภตระกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ๖.นายธิติพัทธ์ ธีรานันท์พงษ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ ๗.จารุนันท์ ฟูวงค์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ๘..นางอรัญญา ใจหนิม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ๙.นางมยุรี วงเวียน เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญงาน ๑๐.นางศิริวรรณ การะเกษ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ๑๑.นายทศพร ยาณะสาร นักวิชการการคอมพิวเตอร์ ๑๒.นายณัฐวุฒิ อินต๊ะผัด เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ ๑๓.นายภานุพงค์เชื่อมชิด นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ๑๔.นายศิวภัช หอมละออ นักรังสีปฏิบัติการ ๑๕.นส.ระพีพรรณ ปันคำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ๑๖.นางศุภักษณา ตันซาว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ๑๗..ภก.อนุชา อินทะวงค์ เภสัชกรชำนาญการ
๑๘.นางสุพรรณ วงค์ตัน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วาระที่ ๑ เรื่องแจ้ง ไม่มี วาระที่ ๒ รับรองรายงานประชุม ไม่มี วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง ๓.๑ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องเสนอรายชื่อพิจารณาคณะกรรมการ ที่ประชุม เสนอ (แนบท้าย) ๓.๒ สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน (รายละเอียดแนบท้าย ) และสรุปสาระสำคัญดังนี้ ๑. ในภาพรวมทั้งหมด พิจารณาเอาโปรแกรม ของโรงพยาบาลลำปางมาใช้ และโรงพยาบาลนครพิงค์อาจต้อง พิจารณา Hard ware , Paper ware , อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ แทบเลต, ของโรงพยาบาลลำปางใช้ ๑๕ เตียง ต่อ ๑ อุปกรณ์ ประเมินระบบ PACs การคำนึงถึง User : ต้องครอบคลุมทั้งแพทย์ และพยาบาล จำนวน ความต้องการจะมากขึ้น ๒. เตรียมการ set ระบบ back up ป้องกันความปลอดภัยและระบบคอมล่ม ของโรงพยาบาลลำปาง set ให้อยู่ ในโรงพยาบาลอย่างเดียว อุปกรณ์ จะไม่ต่อ Internet หน้าที่ ของผู้ใช้ จะคลิก ดำเนินการอย่างเดียว หากเอาระบบ PACs ระบบLIS ระบบ tete ไว้ที่เดียวกันอาจประสบกับปัญหาความไม่ปลอดภัยตามมาได้ ๓.ระบบงานผู้ป่วยนอก (OPD paperless) พยาบาลเห็นจอของแพทย์ คนไข้มีใบนำทาง ปลายทาง หน้าจอจะมีการ Ident ให้ทีมงาน นำเสนอ Flow OPD เทียบกันระหว่างของนครพิงค์และลำปาง เพื่อพิจารณา GAP และการ Lean ระบบ -ต้องการโปรแกรม และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพิ่ม เพื่อให้พยาบาล ช่วยแพทย์ได้ น่าจะมีคอมกี่เครื่อง -เสนอแพทย์ดู lab เอง ลีน ไม่ต้องให้พยาบาลปรินส์ให้ -สามารถเช็คสิทธิ์ ที่ OPD ได้เลยหรือไม่ -สามารถ Authen ที่ OPD ได้หรือไม่ -แสดงภาระงานของคอม แต่ละจุด
๔.ระบบงานผู้ป่วยใน (IPD paperless) โปรแกรมที่ใช้ ได้แก่ SMART HIS IPD,Thai-Ident,Food app ,U report ,โปรแกรมจองห้องพิเศษ สิ่งที่ต้องพิจารณารอระบบสามารถดำเนินการได้ คือ การ ปรับปรุง preset ของ Nurse note ความเป็นไปได้ในการใช้ น่าจะสามารถปรับเปลี่ยนได้เลยถ้ายกโปรแกรมของลำปางมาใช้ การใช้ IPD paperless system การใช้ Thai Ident สิ่งที่น่าชื่นชม Bed label info (ทุกวันนี้เราจะปรินส์กระดาษติดแปะตามเตียง เช่น NPO,Line, Nutrition ) ข้อคิดเห็นจากแพทย์ ระบบของลำปาง พยาบาลต้องคีย์ Lab อีก ซึ่งถ้าสามารถให้แพทย์ ทำจากหน้าจอเลย ก้อจะลด เวลา จอแสดงผล มี popup alert การรอ admit , lab, order มี summary order, tx พยาบาลรับ order แล้วกับไม่ได้รับ order ยังยุ่งยาก ที่อื่น แยกกันด้วยสี ((ที่อื่น) TPN ยังเป็นระบบคีย์แยก ปรินส์ สแกน ข้อดี การสรุป chart น่าจะดี ตรง ความสมบูรณ์เวชระเบียน น่าจะดีขึ้น ๕.ระบบยา มีใบ ยส digital ,ระบบส่งยา ใช้ logistic ต้นทางสามารถระบุได้ว่า ต้องการไปรับยาแบบไหน ทำให้รวดเร็วและลดการโทร มีการใช้ฉลากยาพูดได้: Tele pharmacy การแก้ไข การรอยา ทำอย่างไรให้เร็วขึ้น ไม่ให้เป็นคอขวด ของลำปาง คนไข้กระจายอยู่หลายแห่ง และมีจอแสดงผล คิว ทให้ไม่ต้องมารอที่หน้าห้องยา ใช้โปรแกรม Que Park ๖. ระบบ X ray request ผ่าน ระบบ ๗. ระบบ consult request ผ่าน ระบบ ที่ใช้ 100 % เป็นกลุ่มงาน Ortho ๘. ระบบ งาน IT นัดทีมของโรงพยาบาลลำปาง จะมา สำรวจ อีกครั้ง เพื่อประเมินความพร้อมของ โรงพยาบาลนครพิงค์
รายละเอียด แนบท้าย
ระบบ OPD Paperlessโรงพยาบาลลำปาง - เริ่มต้นจากการแจกบัตรคิวที่หน้าตึก opd /ประชาสัมพันธ์หน้าตึก บุคลากรที่มาให้บริการ เป็นบุคลากรที่มาจาก หลากหลายแผนกในที่อยู่ในแผนกผู้ป่ยนอก เช่น ห้องยา ห้องLAB ห้องการเงิน มาช่วยกันโดยจัดเป็นตารางเวร ให้ OT ตามเวลา - จุดคัดกรอง จะมีพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ในการคัดกรองผู่ป่วยตามลำดับคิว การคัดกรองจะมีการ แยกประเภทผู้ป่วยที่ตรวจทั่วไป ไปตรวจที่ ศสม หัวเวียง (รวม covid , uri ) ทำหน้าที่คล้าย รพช.ในการตรวจคัดกรอง ผู้ป่วยก่อน ส่วนคนไข้ที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทางให้ขึ้นตรวจตามแผนกต่างๆ - ห้องบัตร มีการตั้งจุดตั้งรับผู้ป่วยด้านนอก ในช่วงเช้าที่มีผู้ป่วยหนาแน่น จะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ 2 ช่อง - ผู้ป่วยใหม่ เปิดเลข รพ.ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ - ผู้ป่วยเก่าที่มีเลข รพ. ทำการติดต่อที่ตู้คีออสได้เลยโดยเจ้าหน้าที่ห้องบัตร ช่วงบ่าย ติดต่อที่ ห้องบัตรเลย - ห้องตรวจ ใช้Flow ดังนี้ - จุดที่ 1 ออกบัตรคิวตามห้องตรวจ สามารถระบุชื่อแพทย์ ถ้าผู้ป่วยนัดเดิม จะมีการตรวจสอบสิทธ์ให้ (ถ้ามีปัญหาส่งไปติดต่อเช็คสิทธ์)เสร็จแล้วให้ผู้ป่วยมารับเอกสารใบนำทางเพื่อไปซักประวัติ - จุดที่ 2 การซักประวัติ พยาบาลใช้โปรแกรม Paperless ทั้งหมด ผู้ป่วยวัด v/s ข้อมูลจะเข้าสู่ระบบ เสร็จแล้วแจกบัตรคิวให้คนไข้นั่งรอดูการเรียกคิวหน้าห้อง ซึ่งจะมีเลขห้องเป็นภาษาไทย - จุดที่ 3 เข้าหาแพทย์ใช้โปรแกรม Paperless เช่นกัน มีการสั่ง LAB CXR ออกนัดและสามารถดู จำนวนนัดทั้งหมดได้ด้วยตนเอง - จุดที่ 4 เมื่อออกจากห้องตรวจ พยาบาลจะสามารถดูที่แพทย์บันทึกได้ในโปรแกรม Paperlessเพื่อให้ คำแนะนำผู้ป่วย/ส่งผู้ป่วยไปทำกิจกรรมต่างๆ การทำเรื่องนอน สามารถเปิด VN ได้ที่โปรแกรม Paperless สามารถส่งผู้ป่วยขึ้นตึกได้เลย ไม่มีการรอเตียงที่ OPD ปัญหาและอุปสรรคของโรงพยาบาลนครพิงค์ - โปรแกรม OPD Paperless ที่พัฒนาโดย รพ.นครพิงค์ ไม่สามารถลิ้งค์เข้าโปรแกรม Doctor Room เมื่อพยาบาลกดบันทึก จะต้องกลับมาปริ้นเป็นกระดาษอีกครั้ง
- ข้อมูลในโปรแกรม OPD Paperless ที่พัฒนาโดย รพ.นครพิงค์ ไม่ครอบคลุม - การวัด v/s ของผู้ป่วยไม่สามารถใช้บัตรประชาชนและยังไม่ลิ้งเข้าระบบ - โปรแกรม Doctor Room ยังไม่สามารถทำการสั่งตรวจเอกซเรย์ผ่านระบบ SSB-OPD ได้ปัจจุบันพยาบาลจะต้อง มาเปิดโปรแกรม SSB-OPD แล้วคีย์ส่งตรวจเอกซเรย์( CXR ) - โปรแกรม Doctor Room ยังไม่สามารถทำการสั่งตรวจ LAB - โปรแกรม Doctor Room ยังไม่สามารถออกนัดได้แพทย์ ไม่เห็นจำนวนนัดในแต่ละวันของตนเอง เมื่อพยาบาล ออกนัดให้ในโปรแกรม SSB-OPD พยาบาลไม่เห็นจำนวนัดทันที ทำให้มีการนัดผู้ป่วยไม่สมดุลย์กัน และระบบการล็อคนัด แบ่งนัด ไม่เป็นไปตามที่กำหนด - ไม่มีอุปกรณ์เพียงพอในการปฎิบัติงาน - การทำเรื่องนอน จะต้องเปลี่ยนไปใช้อีกโปรแกรมหนึ่ง ในการเปิดเลข VN และมีปัญหาเรื่องเตียงเต็มที่ยังต้องรอ อยู่ที่ OPD เป็นเวลานาน บางครั้งต้องไปรอที่คลินิกนอกเวลา 112 ซึ่งที่ รพ.ลำปาง ไม่มีคลินิกนอกเวลามีแต่ SMC หากผู้ป่วย มาใกล้เวลา 16.00น. สามารถนัดหรือส่งตรวจที่ ER ได้กรณีเร่งด่วน - เจ้าหน้าที่ในแต่ละ OPD ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ เช่น OPD ศํลยกรรม ของ รพ. ลำปาง มีเจ้าหน้าที่ในการ ให้บริการที่ OPD แยกกับห้องทำแผลและ OR เล็ก แต่ที่รพ.นครพิงค์ ใช้เจ้าหน้าที่ชุดเดียวกัน และ ห้องทำแผลคับแคบต่อการให้บริการผู้ป่วย อีกทั้ง OR เล็ก ของรพ. ลำปางอยู่ในชั้นเดียวกัน สามารถให้บริการในวันนั้นๆ แต่ ที่ รพ. นครพิงค์ อยู่คนละตึก และไม่สามารถส่งผู้ป่วยทำหัตถการได้ต้องนัดหมายครั้งต่อไป การแก้ปัญหาและแนวพัฒนา - ถ้ามีโปรแกรม OPD Paperless เหมือน รพ.ลำปาง ที่มีความครอบคลุม สามารถนัดคนไข้ได้เหมาะสมอาจจะ ช่วยลดแออัดได้ - สามารถนัดออนไลน์ โดยการใช้ line official ของรพ.นครพิงค์(อยู่ในระหว่างพัฒนา) ข้อเสนอแนะ - ถ้าสามารถจัดแยกประเภทผู้ป่วยที่ตรวจทั่วไป ไปตรวจที่คลินิกโรคทั่วไปได้ก่อน แล้วมีการส่งต่อ เพื่อให้เหมาะสม กับรพ.ตติยภูมิ อาจช่วยลดความแออัดได้เนื่องจากในปัจจุบันพื้นที่ในการให้บริการ คับแคบ ทำให้เกิดปัญหาแออัด - การทำเรื่องนอน เมื่อผู้ป่วยได้รับคำสั่งให้นอน รพ.แล้วสามารถขึ้นตึกได้เลย อาจช่วยลดความแออัดได้
ระบบการส่งตรวจ OPD ผู้ป่วย Work in และผู้ป่วยมีใบนัดแล้ว - ผู้ป่วยพร้อมยื่นใบนำทาง ไปห้องเจาะเลือด / ใบนัด และรับบัตรคิวเจาะเลือด ที่มี QR Code สามารถ ติดตามคิวของตนเองได้ในระบบ โดยการ สแกน QR Code หรือจอมอนิเตอร์ที่บริเวณ Happy park ลด แรงกดดันและ ลดความแออัดบริเวณห้องเจาะเลือดได้ - เจ้าหน้าที่ห้องเจาะเลือดทำการ Request / Edit hold Request ตามใบนัด Receive เข้าระบบติด Tube อัตโนมัติตามรายการที่มีการส่งตรวจ เรียกคิวผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือด โดยระบบอัตโนมัติ จุด นี้จะมีเจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิ์ นั่งประจำ ทำให้ผู้รับบริการไม่ต้องเดินไปมาหลายจุด - เจ้าหน้าที่จุดเจาะเลือด ตรวจสอบรายการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ อีกครั้ง และเจาะเลือดตามรายการ - ผู้รับบริการกลับไปรอที่ห้องตรวจ หรือ รอดูคิวตรวจของตนเองตามจุดต่างๆที่มีมอนิเตอร์ แสดง - ห้องเจาะเลือด ส่ง Tube เลือด เข้าไปตามท่อกระสวย เข้าไปในระบบคัดแยก ตามแผนกต่างๆ ระบบการส่งตรวจ IPD Ward ทำการ request Lab ผ่านระบบ และทำการเจาะเก็บ ติด barcode ที่ภาชนะส่งตรวจ ส่งตรวจมาทางกระสวย (หรือยังมีนำส่งโดยเจ้าหน้าที่บริเวณหน้าห้อง LAB) - เจ้าหน้าที่ห้อง LAB รับสิ่งส่งตรวจที่ส่งมาทางกระสวย โดย ทำการ Receive จาก ภาชนะส่งตรวจและ ตรวจสอบรายการตรวจผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และแยกเป็นแผนก จุดตรวจออกมารับ สิ่งส่งตรวจเพื่อ เข้าไปทำการตรวจวิเคราะห์ - ปัญหาและอุปสรรค 1. ต้องใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การอ่าน QR Code และบุคลากร จำนวนมาก 2. การส่งตรวจบางรายการยังต้องมีเอกสารแนบเพื่อใช้ประกอบการส่งตรวจในกรณีที่เป็น LAB ส่งต่อหรือ กรณีของการตรวจ HIV ที่ต้องมีการยืนยันตัวตนไว้เป็นหลักฐาน 3. จุดเจาะเลือดของโรงพยาบาลนครพิงค์มีหลายจุด ทำให้การบริหารจัดการเรื่องบุคลากร อุปกรณ์และ เครื่องมืออำนวยความสะดวกมีความยาก 4. ระบบของ Bar code ข้างภาชนะ ต้องแม่นยำ ชัดเจน เพื่อให้ ห้อง Lab ทำงานได้ง่ายขึ้น
5. เจ้าหน้าที่ห้องเจาะหรือเจ้าหน้าที่บนหอผู้ป่วยที่ต้องติด Label Bar code บนสิ่งส่งตรวจต้องมีความ แม่นยำ Comment ไม่เอาใบ request จากหน่วยงานแล้ว อุปกรณ์ต้องเพิ่ม คอม กำลังเสริมเรื่องคน ต้องเช็ค ทุก tube จุดเจาะแลบ เขามีที่เดว ทำให้ใช้คนได้ ถ้ารวม ที่เดว อาจไม่ต้องเพิ่มคน ของเรา คนเรากระจาย เพราะเรามีจุดเจาะหลายจุด แต่อาจต้องมีการเงิน ต้นทาง: ต้องเป๊ะ เชื่อถือได้ กระบวนการ : ควรพิจารณา เพื่อที่จะเสนอทางลีน ระบบ ควรมีการวิเคราะห์ ระบบ Ident การป้องกันความเสี่ยงในกระบวนการเจาะแลป LAB OPD, IPD GAP ของเราเทียบกับลำปาง ปลายทาง ถ้ารวมศูนย์ ใช้คนน้อย เรื่องการเพิ่มคน เป็นไปได้น้อย เราต้องออกแบบระบบใหม่ อื่นๆ P4P จนท ต้องตรวจสอบการเช็คสิทธิ์ ร่วมด้วย
ระบบการส่งตรวจเอกซเรย์ OPD โรงพยาบาลลำปาง - แพทย์คีย์ส่งตรวจเอกซเรย์ทั่วไปในระบบ SSB-OPD โดยผ่านโปรแกรมห้องตรวจแพทย์ (ขณะนี้โรงพยาบาลนคร พิงค์ยังไม่สามารถทำได้) - พยาบาลหน้าห้องตรวจตรวจส่งผู้ป่วยพร้อมใบนำทางไปที่ติ๊กเอกซเรย์ในช่องไปแผนกเอกซเรย์ - แผนกเอกซเรย์ทำการกดรับ order - ส่งตรวจเอกซเรย์ตามคำสั่งแพทย์ - ส่งผู้ป่วยกลับห้องตรวจพร้อมประทับตรา “เอกซเรย์แล้ว” ในใบนำทางช่องเอกซเรย์ - ภาพเอกซเรย์ที่ส่งมาจากโรงพยาบาลอำเภอ จะถูกอัปโหลดผ่านระบบคลาวนด์ match กับ HN และเลข 13 หลัก ของผู้ป่วยโรงพยาบาลโดยอัติโนมัติ - การส่งตรวจเอกซเรย์พิเศษต่าง ๆ ( Ultrasound,CT,Fluoroscopy,Mammogram) ยังใช้ระบบเขียนใบรีเควส ปัญหาและอุปสรรคของโรงพยาบาลนครพิงค์ - ระบบ Doctor Room ยังไม่สามารถทำการสั่งตรวจเอกซเรย์ผ่านระบบ SSB-OPD ได้ - ระบบ SSB-OPD ยังไม่สามารถคีย์ส่งตรวจเอกซเรย์ เพื่อให้เกิด Order ในระบบ PACs ตามที่ต้องการได้ ทำให้ระบบ การคีย์ส่งตรวจเอกซเรย์ในปัจจุบันมีความยุ่งยาก เมื่อให้แพทย์คีย์ส่งตรวจอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย - ระบบการคีย์เอกซเรย์ล่วงหน้า Hold Request ยังไม่แน่ชัดจะมีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในกรณีผู้ป่วยมาไม่ตรงนัดหรือ สิทธิไม่ถูกต้องในวันตรวจเอกซเรย์ การแก้ปัญหาและแนวพัฒนา - ติดต่อบริษัท PACs และแผนก IT (คุณณัฐวุฒิ) เพื่อปรับปรุงแก้ไขวิธีคีย์ส่งตรวจเอกซเรย์ ให้สามารถทำได้โดยง่าย และสื่อสารคำสั่งเอกซเรย์ลงในระบบ PACs เพื่อให้ จนท.เอกซเรย์ สามารถรู้ถึงคำสั่งตรวจเอกซเรย์ได้อย่างถูกต้อง - จนท.เอกซเรย์จัดทำรายการเอกซเรย์เพื่อให้แพทย์สามารถคีย์เอกซเรย์ได้อย่างถูกต้อง
Smart Hospital โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ระบบยา สิ่งที่พบจากการดูงาน OPD - ระบบ CPOE - ระบบคิวที่ชัดเจน การเรียกคิวที่สะดวก - มีการเช็คสิทธิตั่งแต่แรก ทำให้ไม่เกิดการติดขัดในเรื่องสิทธิในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในขั้นตอนถัดไป เช่น การเงิน และสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา - Software Friendly (One Page) IPD - ระบบ CPOE 70% Paper 30%(รอ hardware) - ระบบคิวที่ชัดเจน การเรียกคิวที่สะดวก หอผู้ป่วยสามารถดูสถานะของยากลับบ้านก่อนส่งผู้ป่วยรับยา - มีการเช็คสิทธิตั่งแต่แรก ทำให้ไม่เกิดการติดขัดในเรื่องสิทธิในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในขั้นตอนถัดไป เช่น การเงิน และสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา - Software Friendly (One Page) - Robot - Thai Ident, Smart HIS IPD, E Mar, MedRecon - ระบบการแจ้งเตือน DUE - นวตกรรมการจ่ายยาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน(LASA) Strengths (จุดเเข็ง) - มีทีมนำด้าน IT ของโรงพยาบาล อีกทั้งแต่ละหน่วยงานจะมีผู้รับผิดชอบด้าน IT โดยเฉพาะ - Software ทั้งในรูปแบบ owner และ outsource ที่ตอบสนองความต้องการต่อความต้องการของผู้ใช้ e.g. HIS MEDICINE, HIS OPD, HIS IPD, Thai gen. เป็นต้น - มีการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงานและการให้บริการในรูปแบบ digital - ระบบหลักของการสั่งยาเป็น CPOE - เอกสารประกอบการสั่งใช้ยาถูกจัดเก็บในรูปแบบของ pdf with digital signature e.g. ยส.5 เป็นต้น
- Ambulatory care ทีม สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องการใช้ยาของ ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลด workload ของระบบจ่ายยาผู้ป่วยนอก - การตรวจสอบสิทธิ์การรักษาของผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งช่วยลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านยา - การนำ Robot มาช่วยจัดยา Opportunities (โอกาส) - การกำหนดผู้รับผิดชอบด้าน IT ในแต่ละหน่วยงาน จะช่วยสื่อสารความต้องการของผู้ปฏิบัติงานให้แก่ทีมนำ IT ได้ชัดเจน - Software owner มีความยืดยุ่นสามารถพัฒนาปรับปรุงศักยภาพเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ - การจัดสรรสิ่งแวดล้อมและสื่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม ช่วยสร้างบรรยากาศและเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมการปฏิบัติ ไปสู่รูปแบบ digital ได้อย่างยั่งยืน - การใช้ CPOE เป็นจุดเริ่มต้นของระบบ digital ทั้งหมด Aspirations (แรงบันดาลใจ) - ระบบ IT ทั้ง software และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และสามารถติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานได้ - หน่วยงานมีวัฒนธรรมการทำงานแบบ digital - หน่วยงานสามารถการทำ Data analysis ผลการดำเนินงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทั้งในแง่การดูแลผู้ป่วย และ การตอบสนองต่อนโยบายขององค์กรได้อย่างเหมาะสม Results (ผลลัพธ์) - Phase 1 หน่วยงานจัดตั้งทีมผู้รับผิดชอบด้าน IT ประสานกับทีมนำ IT ของโรงพยาบาล เพื่อพัฒนา software ที่ ตอบสนองความต้องการต่อความต้องการของผู้ใช้ - Phase 2 generate เอกสารประกอบการใช้ยาให้ถูกจัดเก็บในรูปแบบของ pdf with digital signature - Phase 3 นำร่องการใช้ CPOE สำหรับ IPD บางแผนก
พื้นที่ดูงาน IPD ศัลยกรรมหญิง , กุมารเวชกรรม, พิเศษ ENT, ICU Neuro สรุปสาระสำคัญ โปรแกรม/ app ใน IPD SMART HIS IPD มีไว้สำหรับ chart ผู้ป่วย แบบฟอร์มซักประวัติแรกรับ Nurse note Manual, preset Focus list D-method ลายเซ็น Vital sign order Lab-X-ray Thai-Ident กระบวนการตรจสอบก่อน ได้รับยาเป็นหลัก Food app Request อาหารผู้ป่วย เชื่อมกับฝ่ายโภชนาการ U report โปรแกรมจองห้องพิเศษ
กระบวนการและขั้นตอนการทำงาน ลำดับ 1 ผู้ป่วยเข้ามาใน ward พร้อมใบนำทาง (ใบนัดเพื่อนอน (ถ้ามี) + ใบสีเขียว + ใบ order แพทย์ OPD เขียน) 2 การมอบหมายงาน พยาบาล 1 คนทำ chart รับใหม่ พยาบาลหรือPN รับผู้ป่วยเข้าเตียง รับเอกสารเพื่อจัดทำ chart รับใหม่ (มีคอม และ PAD สำหรับให้ ผู้ป่วยเซ็นชื่อได้) วัดvital sign 3 เข้า SSB IPD admit ผู้ป่วยเข้าเตียง 4 เข้า SMART HIS ผ่าน User,password เข้าเตียงเข้า AN , ระบบ Identify ผู้ป่วยด้วยรูป ซักประวัติ/ให้ผู้ป่วยเซ็นชื่อ บันทึกอาการแรกรับ รับ order (keyยากรณีแพทย์ไม่ใช้ระบบ) ทำ Tx Request Lab, X-ray, consult ด้วยระบบ SSB เดิม รับยา/เช็คยา/ให้ยาใช้ Thai Ident 5. การดูแลต่อเนื่อง แพทย์จะ round Order ด้วย tablet 6 การจำหน่าย เชื่อมระบบกับห้องยา การเงิน พยาบาล จำหน่าย ปรินส์รายการให้ญาติถือไปติดต่อ สิ่งที่คิดว่า น่าจะนำมาใช้ การใช้IPD paperless system การใช้ Thai Ident อยากได้ Bed label info (ทุกวันนี้เราจะปรินส์กระดาษติดแปะตามเตียง เช่น NPO,Line, Nutrition ) ข้อคิดเห็นจากแพทย์ ข้อที่ต้องพัฒนา พยาบาลต้องคีย์ Lab อีก ซึ่งถ้าสามารถให้แพทย์ ทำจากหน้าจอเลย ก้อจะลดเวลา จอแสดงผล มี popup alert การรอadmit , lab, order มี summary order, tx พยาบาลรับ order แล้วกับไม่ได้รับ order ยังยุ่งยาก ที่อื่น แยกกันด้วยสี ((ที่อื่น) TPN ยังเป็นระบบคีย์แยก ปรินส์ สแกน ข้อดี การสรุป chart น่าจะดี ตรง ความสมบูรณ์เวชระเบียน น่าจะดีขึ้น