The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Vol.02 April - June 2021

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Suphasan Bamnejphan, 2021-06-16 09:29:04

OEC Journal

Vol.02 April - June 2021

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

และเป็นปัจจัยท่ีส�ำคัญท่ีจะท�ำให้นักเรียนไม่สามารถต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ทางภาษาท่ีสูงขึ้นได้ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนา
ทักษะทางภาษาอังกฤษของนักเรียน (นันทกา ทาวุฒิ, 2543) และไม่สามารถต่อยอดทักษะไปสู่ความคล่องแคล่ว
ในการใช้ภาษา (fluency) (Nation, 2003)

จากปัญหาข้างต้นผู้ศึกษาได้พบปัญหานี้ในสถานการณ์จริงจากการสังเกต การท�ำแบบฝึกหัดและ
การทดสอบในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานในด้าน
ค�ำศัพท์ท่ีแตกต่างกัน นักเรียนส่วนมากไม่สามารถอ่านเน้ือหาได้อย่างเข้าใจ เน่ืองจากไม่ทราบความหมายของค�ำศัพท์
จากเน้ือเรื่อง ตลอดจนไม่สามารถใช้ค�ำที่ในการเรียบเรียงแต่งประโยคได้ โดยนักเรียนไม่มีคลังค�ำศัพท์ท่ีเพียงพอท่ีจะ
แปลความและเรียบเรยี งประโยค รวมไปถงึ ท�ำแบบฝึกหดั ได้ถกู ตอ้ ง และที่ส�ำคัญท่สี ุดหลังจากการเรยี นการสอนไปแลว้
พบว่า นักเรียนสามารถจดจ�ำค�ำศัพท์ที่ได้เรียนรู้ และความคงทนของการจดจ�ำค�ำศัพท์ระยะสั้นแม้ว่าจะมีการท่องค�ำ
ศพั ทห์ รอื มกี จิ กรรมทบทวนอยา่ งสมำ่� เสมอ สงั เกตไดว้ า่ การทำ� กจิ กรรมในชนั้ เรยี นสรา้ งความสนใจในการเรยี นรคู้ ำ� ศพั ท์
ในช้ันเรียนได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนักเรียนไม่สามารถจดจ�ำค�ำศัพท์หรือน�ำค�ำศัพท์ไปใช้ได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะ
อยา่ งย่งิ ในบทเรยี น เร่ือง อาชีพ (Jobs) ที่ประกอบไปดว้ ยกลุม่ ค�ำศัพท์ทีเ่ ฉพาะไม่ได้ใชบ้ อ่ ยในชีวิตประจำ� วันและมกี าร
ออกเสียงและการสะกดค�ำท่ีซับซ้อนข้ึนจึงเป็นเร่ืองยากและเป็นปัญหาส�ำหรับนักเรียน ปัญหาน้ีจ�ำเป็นต้องได้รับการ
แกไ้ ขเพือ่ ใหน้ ักเรียนทราบ และจดจ�ำค�ำศัพทไ์ ด้เพอื่ น�ำความรู้ไปใช้ในบทเรยี นที่ซบั ซอ้ นขน้ึ ในระดบั ท่สี ูงขน้ึ และพัฒนา
ศักยภาพให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางท่ีมุ่งหวังให้นักเรียนเกิดทักษะทางภาษาอังกฤษท่ีเน้นทักษะฟัง พูด อ่าน
เขียน การส่ือสารเกี่ยวกับเรื่องราวตนเองที่ประกอบด้วยค�ำศัพท์และเรื่องสิ่งต่าง ๆ รอบตัว งานอดิเรก สภาพอากาศ
การศึกษา อาชีพ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยก�ำหนดวงค�ำศัพท์จากหัวเร่ืองข้างต้นในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
2,100 - 2,250 ค�ำ (ส�ำนกั วิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2551) และคลงั ค�ำศัพท์ในการวดั ผล
การศึกษาระดับชาติท่ีก�ำหนดไว้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษจ�ำนวน 3,193 ค�ำ ซ่ึงค�ำศัพท์เก่ียวกับอาชีพถูกรวบรวมส�ำหรับ
การวดั ประเมนิ ผล ในการทดสอบการศึกษาระดับชาตขิ ้ันพน้ื ฐาน (สำ� นกั ทดสอบทางการศึกษาแหง่ ชาต,ิ 2555)

จากสถานการณ์ที่พบประกอบกับประสบการณ์ตรงของผู้ศึกษาท�ำให้เห็นความส�ำคัญของปัญหาเก่ียวกับ
การเรียนรู้ค�ำศัพท์จะแก้ที่กระบวนการเรียนรู้อย่างเดียวไม่เพียงพอควรมีส่ือท่ีส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาอังกฤษด้วย
ส่ือการเรียนรู้ท่ีเหมาะกับช่วงวัยและสร้างความบันเทิงใน การเรียนรู้ คือ บอร์ดเกม (board game) ซ่ึงเป็นส่ือ
ท่ีสามารถจัดกระบวนการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติได้พูดได้ส่ือสารระหว่างกัน เป็นกิจกรรมท่ีสร้างความบันเทิงและ
สร้างเสริมการมีสว่ นรว่ มทีเ่ ต็มไปด้วยความทา้ ทาย โดยเป็นผลมาจากการจดั กิจกรรมที่นกั เรยี นไดเ้ ลน่ มปี ฏิสัมพันธก์ ับ
ผ้อู ่ืนและสามารถใช้ได้กับนักเรียนทกุ วัย (Wright et al., 2006) โดยการจัดการเรยี นร้จู ะเปน็ ไปในลักษณะทส่ี นับสนุน
การมีส่วนร่วมของนักเรียน มีความสนุกสนานเสริมสร้างการเรียนรู้ท่ีได้เห็นแจ้งด้วยตัวนักเรียนเอง เป็นการเรียนรู้
ที่อย่างมีความหมายและคงทน (ทิศนา แขมมณี, 2555) คุณประโยชน์ของเกมต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาคือเกม
มกี ารใชภ้ าษาเปน็ เครื่องมอื ในการเลน่ หากผเู้ ล่นต้องการทจ่ี ะได้รบั ชยั ชนะในการเล่นหรือบรรลุจดุ หมายจ�ำเปน็ จะต้อง
ใช้ความสามารถทางภาษา ผู้เล่นจึงต้องเตรียมความพร้อมทางภาษาของตนเองมาให้ดีท่ีสุดเพ่ือท่ีจะสามารถอยู่ในเกม
และบรรลุเป้าหมายของเกมได้ซึ่งเป็นการเสริมสร้างทักษะทางภาษาอย่างไม่รู้ตัว (Read, 2007) ผู้เล่นจะสนุกสนาน
จากการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเล่นและทักษะทางภาษาอังกฤษเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการเล่น การศึกษาของ
ณัฐวราพร เปล่ียนปราณ และสุทัศน์ นาคจ่ัน (2557) ได้ศึกษาการจัดการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกม
เป็นเคร่ืองมอื ในการจัดการเรยี นการสอนภาษาอังกฤษ พบวา่ การใช้เกมสามารถทำ� ให้ผลสัมฤทธิร์ ายวชิ าภาษาองั กฤษ
เพิ่มสูงขึ้น นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับค�ำศัพท์มากข้ึน นักเรียนมีความพึงพอใจ สนุกสนาน และมีความสุข
ในการเรียนร้ภู าษาองั กฤษมากขน้ึ

ด้วยเหตุน้ีผู้ศึกษาจึงสนใจท่ีจะออกแบบพัฒนาบอร์ดเกมในการเสริมสร้างการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ
เกี่ยวกับอาชีพ (Jobs) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพ่ือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพตอ่ ไป

OECJournal 49

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

วัตถปุ ระสงค์ของการวิจยั
1) เพื่อออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เร่ือง อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับ

นกั เรยี นชั้นมธั ยมศึกษาตอนตน้
2) เพ่ือหาประสิทธิภาพบอร์ดเกม เพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เร่ือง อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับ

นักเรยี นชั้นมัธยมศกึ ษาตอนตน้
3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับนักเรียนช้ัน

มธั ยมศกึ ษาตอนต้นกอ่ นเรียน หลงั เรียน และความคงทนในการจดจ�ำค�ำศพั ทภ์ าษาอังกฤษจากการใช้บอร์ดเกม
4) เพอื่ ศกึ ษาความพงึ พอใจจากการใชบ้ อรด์ เกม เพอ่ื สง่ เสรมิ การเรยี นรคู้ ำ� ศพั ทภ์ าษาองั กฤษ เรอ่ื ง อาชพี (Jobs)

ส�ำหรับนักเรียนช้นั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น
วิธีด�ำเนินการวิจยั
การกำ� หนดประชากรและเลือกกลมุ่ ตัวอย่าง

1) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหน่ึงในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ประจ�ำอ�ำเภอ สังกัดส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3
กระทรวงศึกษาธิการ ทกี่ �ำลงั ศึกษาอยใู่ นภาคเรียนที่ 1 ปีการศกึ ษา 2563 จำ� นวน 867 คน

2) กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัด
พระนครศรอี ยธุ ยาที่กำ� ลังศกึ ษาอยใู่ นภาคเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จ�ำนวน 20 คน

ตวั แปรทศ่ี ึกษา
ตัวแปรต้น คือ บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับนักเรียน

ชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น
ตัวแปรตาม ไดแ้ ก่
1) ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี น และความคงทนในการจดจำ� ของนกั เรียนช้นั มัธยมศกึ ษาตอนตน้
2) ความพึงพอใจจากการใช้บอร์ดเกมเพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs)

ส�ำหรับนักเรยี นช้ันมัธยมศึกษาตอนตน้
การสรา้ งเคร่อื งมือท่ีใชใ้ นการวิจยั
เครื่องมือท่ใี ชใ้ นการวจิ ัย

1) บอร์ดเกมเพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับนักเรียน
ช้ันมัธยมศกึ ษาตอนต้น

2) แบบประเมนิ ประสิทธภิ าพบอรด์ เกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้านสื่อและดา้ นเน้อื หา
3) แบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรอื่ ง อาชีพ (Jobs)
4) แบบสอบถามความพึงพอใจบอร์ดเกมเพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs)
สำ� หรบั นักเรยี นชั้นมัธยมศกึ ษาตอนต้น
ขัน้ ตอนการสรา้ งเครอ่ื งมือที่ใชใ้ นการวิจัย
บอรด์ เกมเพ่ือการเรยี นรคู้ �ำศพั ทภ์ าษาองั กฤษ

1) ศึกษาข้อมูลพ้ืนฐานเก่ียวกับบอร์ดเกมการศึกษา หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการออกแบบ
บอร์ดเกมการศึกษาตามหลักการออกแบบและเนื้อหารายวิชา ในข้ันตอนนี้ผู้ศึกษาได้ศึกษาข้อมูลพ้ืนฐานเกี่ยวกับ

50 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

บอร์ดเกมและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ค�ำศัพท์ วิเคราะห์ค�ำศัพท์จากหลักสูตรและบทเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ
โดยน�ำกลวธิ ีการรูค้ ิด (Cognitive Strategy) ในการฝึกปฏิบตั จิ ดั กิจกรรมการเรียนรู้ค�ำศัพทภ์ าษาอังกฤษ และแนวคดิ
เชงิ ออกแบบ (Design Thinking) เปน็ แนวทางในการออกแบบบอร์ดเกม

2) สร้างบอร์ดเกมและคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ส�ำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยบอร์ดเกมที่สร้างข้ึนเป็นบอร์ดเกมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เร่ือง อาชีพ (Jobs)
ก�ำหนดค�ำศัพท์จากบทเรียนในระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนต้น จากคลังค�ำศัพท์จากบทเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษแล้ว
น�ำมาออกแบบด้วยกระบวนการแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) คือ ท�ำความเข้าใจปัญหาของกลุ่มตัวอย่าง
ระบุปัญหา ระดมความคิด สร้างเป็นต้นแบบน�ำไปทดสอบแล้วพัฒนาแก้ไขให้ได้เกมที่มีประสิทธิภาพ โดยเกม
ที่ออกแบบเป็นเกมท่ีส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ เร่ือง อาชีพ (Jobs) จ�ำนวน 45 ค�ำในแต่ละหมวดหมู่ เกมจ�ำลอง
การสมัครงานโดยอาศัยการสะกดค�ำศัพท์เพื่อท่ีจะสามารถสมัครงานนั้น ๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำ ความหมายค�ำศัพท์
การสืบค้นข้อมูล และฝึกซ�้ำในค�ำศัพท์แต่ละค�ำ นอกจากน้ียังมีเงื่อนไขจากการ์ดพิเศษที่จะช่วยให้สามารถบรรลุเกม
และสรา้ งความท้าทายในการเลน่

3) น�ำบอร์ดเกมและคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษท่ีออกแบบสร้างขึ้นไปปรึกษา
ผู้เชี่ยวชาญ และประเมินโดยผู้เช่ียวชาญในการออกแบบส่ือการเรียนรู้และบอร์ดเกมตรวจสอบจ�ำนวนด้านละ 3 คน
ตรวจสอบดา้ นเนอ้ื หาและการพฒั นาสอ่ื เกมเพอ่ื หาขอ้ จำ� กดั ของบอรด์ เกม แลว้ นำ� มาแกไ้ ขพฒั นาใหถ้ กู ตอ้ งและเหมาะสม

4) ผู้ศึกษาน�ำบอร์ดเกมและคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ผ่านการปรับปรุง
แกไ้ ขพฒั นาแล้ว นำ� ไปทดลองหาประสิทธิภาพการใช้งานกบั กลุม่ ตวั อย่าง จ�ำนวน 20 คน

แบบประเมินประสิทธิภาพบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs)
ด้านสอ่ื และด้านเน้อื หา

ในการประเมินประสิทธิภาพบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เร่ือง อาชีพ (Jobs)
ดา้ นส่อื และด้านเนือ้ หา มขี นั้ ตอนดงั น้ี

1) สรา้ งแบบประเมนิ ประสิทธิภาพด้านส่ือและด้านเนือ้ หาของบอร์ดเกม เพอื่ ส่งเสรมิ การเรียนรู้คำ� ศพั ท์
ภาษาอังกฤษ เร่ือง อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาตอนต้น โดยแบบประเมินประสิทธิภาพด้านสื่อ
ขอ้ คำ� ถามครอบคลมุ เรอื่ งการออกแบบ ภาพองคป์ ระกอบเกม กลไกเกม และความสนกุ ในการเลน่ เกม และแบบประเมนิ
ประสทิ ธภิ าพด้านเนอื้ หาข้อค�ำถามครอบคลมุ เร่ืองความถกู ตอ้ ง ความเหมาะสมของเน้อื หา และวตั ถปุ ระสงค์ นำ� ไปให้
ผเู้ ชยี่ วชาญและไดป้ รบั ปรงุ แบบประเมนิ ตามขอ้ แนะนำ� โดยรปู แบบการประเมนิ เปน็ มาตราประมาณคา่ (Rating Scale)
5 ระดบั ได้แก่ ระดับความเหมาะสมมากทสี่ ุด มาก ปานกลาง น้อย และนอ้ ยทส่ี ุด มีระดับความเหมาะสมและการแปล
ความหมาย ดังนี้

ระดบั 5 หมายถึง ประเด็นดังกล่าวมีความเหมาะสมมากทส่ี ุด
ระดับ 4 หมายถึง ประเด็นดังกลา่ วมีความเหมาะสมมาก
ระดบั 3 หมายถงึ ประเดน็ ดงั กลา่ วมคี วามเหมาะสมปานกลาง
ระดบั 2 หมายถงึ ประเด็นดงั กลา่ วมีความเหมาะสมนอ้ ย
ระดับ 1 หมายถึง ประเดน็ ดงั กลา่ วมคี วามเหมาะสมน้อยทสี่ ดุ
การแปลความหมายของค่าเฉล่ีย คะแนนความเหมาะสมของบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์
ภาษาองั กฤษ เร่อื ง อาชพี (Jobs) สำ� หรับนกั เรียนช้ันมธั ยมศึกษาตอนต้น แบง่ ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดบั คา่ เฉลย่ี 4.51 - 5.00 หมายถงึ เกมมคี วามเหมาะสมมากทส่ี ุด
ระดบั ค่าเฉลี่ย 3.51 - 4.50 หมายถงึ เกมมคี วามเหมาะสมมาก
ระดับคา่ เฉลยี่ 2.51 - 3.50 หมายถึง เกมมคี วามเหมาะสมปานกลาง

OECJournal 51

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ระดับคา่ เฉลี่ย 1.51 - 1.50 หมายถงึ เกมมีความเหมาะสมนอ้ ย
ระดบั คา่ เฉลย่ี 1.00 - 1.50 หมายถงึ เกมมคี วามเหมาะสมน้อยทส่ี ดุ
2) นำ� แบบประเมินประสทิ ธิภาพของบอรด์ เกมเพือ่ ส่งเสรมิ การเรียนรู้ค�ำศัพทภ์ าษาอังกฤษ เรอ่ื ง อาชีพ
(Jobs) ส�ำหรบั นกั เรยี นชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้ ท่ีได้รบั การปรบั ปรุงแก้ไขแล้วไปใหผ้ ูเ้ ชี่ยวชาญดา้ นสอ่ื จ�ำนวน 3 คน และ
ผ้เู ชยี่ วชาญด้านเนอ้ื หาจำ� นวน 3 คน โดยมขี อ้ มูลผู้เช่ียวชาญดา้ นสื่อ
แบบสอบถามความพงึ พอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจมีลักษณะเป็น 3 ตอน ครอบคลุมเร่ืองการออกแบบเกม กลไกเกม
องค์ประกอบ และความสนุกในเกม เป็นต้น โดยการประเมินความพึงพอใจด�ำเนินการหลังจากการเล่นแล้ว 3 คร้ัง
ประเมินในการเล่นครั้งสุดท้าย แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
ไดแ้ ก่ ระดบั ความเหมาะสมมากทสี่ ดุ มาก ปานกลาง นอ้ ย และนอ้ ยทส่ี ดุ คำ� นวณคะแนนเฉลยี่ และสว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน
มีระดับความเหมาะสมและการแปลความหมาย ดังนี้
ระดับ 5 หมายถึง ประเด็นดงั กลา่ วนักเรียนมคี วามพึงพอใจมากที่สุด
ระดบั 4 หมายถึง ประเดน็ ดังกลา่ วนักเรยี นมีความพงึ พอใจมาก
ระดับ 3 หมายถงึ ประเดน็ ดังกลา่ วนักเรยี นมีความพงึ พอใจปานกลาง
ระดบั 2 หมายถึง ประเด็นดังกล่าวนักเรียนมคี วามพงึ พอใจนอ้ ย
ระดบั 1 หมายถงึ ประเด็นดังกลา่ วนกั เรียนมคี วามพึงพอใจนอ้ ยทส่ี ุด
การแปลความหมายของค่าเฉล่ีย คะแนนความพึงพอใจของนักเรียนจากการใช้บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริม
การเรยี นรคู้ ำ� ศพั ทภ์ าษาองั กฤษ เรอื่ ง อาชพี (Jobs) สำ� หรบั นกั เรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ แบง่ ออกเปน็ 5 ระดบั ดงั นี้
ระดบั คา่ เฉลี่ย 4.51 - 5.00 หมายถงึ นกั เรยี นมคี วามพงึ พอใจมากท่ีสดุ
ระดบั ค่าเฉล่ีย 3.51 - 4.50 หมายถงึ นกั เรียนมคี วามพงึ พอใจมาก
ระดบั ค่าเฉลยี่ 2.51 - 3.50 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจปานกลาง
ระดับค่าเฉลี่ย 1.51 - 1.50 หมายถึง นกั เรยี นมคี วามพงึ พอใจนอ้ ย
ระดับคา่ เฉลย่ี 1.00 - 1.50 หมายถงึ นักเรียนมีความพงึ พอใจนอ้ ยทสี่ ุด
แบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นและความคงทนในการจดจ�ำคำ� ศัพท์ภาษาองั กฤษ
การศึกษาครั้งน้ีใช้แบบประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาภาษาอังกฤษพ้ืนฐานบทเรียน เร่ือง อาชีพ (Jobs)
เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ท้ังหมด 45 ข้อ แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และแบบทดสอบวัด
ความคงทนในการจดจ�ำค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยเป็นข้อสอบแบบคู่ขนาน (Parallel test) ประกอบไปด้วยเนื้อหาค�ำ
ศัพท์ในด้านความหมายค�ำและการสะกดค�ำศัพท์ เป็นลักษณะการให้ตัวอย่างหรือค�ำอธิบายค�ำศัพท์แล้วเลือกค�ำศัพท์
ให้สอดคล้องกับค�ำอธิบายหรือสถานการณ์ ประโยคกับตัวเลือกที่ก�ำหนดให้ซึ่งพัฒนามาจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ชุด I want to be a/an (Occupation) in the future ส�ำหรับ
นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของภัสรากรณ์ แม้นเหมือน (ม.ป.ป.) ผู้ศึกษาได้มีกระบวนการในการปรับปรุงประยุกต์
แบบทดสอบดังน้ี 1) ก�ำหนดรายละเอียดเนื้อหาวิชาและพฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ที่ต้องการทดสอบ 2) พิจารณาเลือกรูปแบบของค�ำถามในแบบทดสอบโดยประยุกต์ใช้เพ่ิมเติมแบบทดสอบจาก
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ 3) เรียบเรียงแบบทดสอบพิจารณาความถูกต้องของเน้ือหาและ
แบบทดสอบ 4) น�ำเสนอผู้เช่ียวชาญพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของแบบทดสอบ 5) ตรวจสอบปรับปรุงแก้ไข
แล้วนำ� มาใช้ในการจัดกิจกรรม

52 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

การเก็บรวบรวมขอ้ มูล
1. ทดสอบกอ่ นเรยี น (Pre - test) กบั กลุม่ ตวั อยา่ งโดยใช้แบบทดสอบคำ� ศพั ท์ภาษาองั กฤษ เรอ่ื ง อาชพี (Jobs)

สำ� หรับนักเรยี นช้ันมธั ยมศึกษาตอนตน้ ใช้ระยะเวลาในการทดสอบก่อนเรียน 40 นาที
2. ด�ำเนินการจัดกิจกรรมการใช้บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เร่ือง อาชีพ (Jobs)

ส�ำหรับนักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาตอนตน้ กับกล่มุ ตวั อยา่ ง
3. ทดสอบหลังเรียน (Post-test) กบั กล่มุ ตวั อยา่ ง โดยใช้แบบทดสอบคำ� ศัพท์ภาษาองั กฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs)

ส�ำหรบั นกั เรียนช้นั มธั ยมศึกษาตอนต้น คนละฉบับท่ีใชก้ บั การทดสอบก่อนเรยี นแตข่ ้อสอบจะเป็นลักษณะขอ้ สอบแบบ
คขู่ นาน (Parallel test) เพอื่ ทดสอบความเข้าใจหลังจากการเรียนมาแล้ว

4. ประเมินความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจจากการใช้บอร์ดเกม เพื่อส่งเสริม
การเรยี นรูค้ �ำศพั ท์ภาษาองั กฤษ เรอื่ ง อาชพี (Jobs) สำ� หรบั นกั เรยี นชน้ั มัธยมศึกษาตอนตน้

5. ทดสอบความคงทนในการจดจ�ำค�ำศัพท์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เร่ือง
อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ข้อสอบจะเป็นลักษณะข้อสอบแบบคู่ขนานกับแบบทดสอบ
วดั ผลสัมฤทธิห์ ลงั เรยี นเพ่อื ทดสอบความคงทนในการจดจำ� ค�ำศัพท์ภาษาองั กฤษเมื่อผา่ นไปแลว้ 1 สัปดาห์

6. รวบรวมบันทกึ ผลคะแนนท่ไี ด้มาวเิ คราะหท์ างสถติ ดิ ้วยโปรแกรมวเิ คราะห์ผลทางสถิติ
สรุปผลการศึกษา

ส่วนท่ี 1 การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs)
ส�ำหรับนกั เรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาตอนต้น บอรด์ เกมท่อี อกแบบและพัฒนาขน้ึ เป็นเกมค�ำศัพทภ์ าษาอังกฤษทส่ี ามารถเลน่
ได้ 2-4 คน มีลักษณะเป็นเกมสะกดค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษเก่ียวกับค�ำศัพท์ช่ืออาชีพจ�ำนวน 45 ค�ำ ประกอบไปด้วย
ค�ำอธิบายและลักษณะของค�ำศัพท์ จ�ำลองลักษณะการเป็นบริษัทจัดหางานให้สมาชิกในบริษัทได้งานท�ำโดยการสะกด
ค�ำศัพท์ของอาชีพจึงจะได้งานนั้น ๆ ทั้งนี้ยังอาศัยกลไกของโชคหรือการสุ่มตัวอักษรในการให้ได้มาซึ่งตัวอักษร และ
มีคุณสมบัติพิเศษจากการ์ดพิเศษท่ีสามารถเพิ่มความยากง่ายให้กับผู้เล่นเองหรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม สร้างปฏิสัมพันธ์
กนั ระหวา่ งผเู้ ล่น และยงั ไดฝ้ ึกฝนค�ำศัพท์ซำ้� ในแต่ละคำ� พร้อมยังได้ทบทวนและสบื คน้ ค�ำศัพท์ในเกมไดต้ ลอดเวลา

ส่วนที่ 2 ผลการประเมินดา้ นส่อื และดา้ นเน้ือหาของบอร์ดเกมเพอ่ื สง่ เสรมิ การเรียนรคู้ ำ� ศัพทภ์ าษาอังกฤษ เรอื่ ง
อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาตอนต้น จากการประเมินด้านส่ือที่มีข้อค�ำถามครอบคลุมเร่ือง
การออกแบบเกม องค์ประกอบเกม กลไกเกม และความสนุกในการเล่นเกม โดยผลการประเมินด้านส่ือ พบว่า
ประสิทธิภาพโดยรวมของบอร์ดเกม มีประสิทธิภาพโดยรวมในระดับมากที่สุด ด้านกลไกเกมอยู่ในระดับประสิทธิภาพ
ท่ีมีความเหมาะสมมาก ด้านองค์ประกอบเกมมีประสิทธิภาพโดยรวมในระดับ มีความเหมาะสมมากท่ีสุด
ด้านภาพประกอบและลักษณะเกม มีประสิทธิภาพโดยรวมในระดับมีความเหมาะสมมากที่สุด และด้านคู่มือเกม
มีประสิทธิภาพโดยรวมในระดับมีความเหมาะสมมากท่ีสุด และการประเมินด้านเนื้อหาของบอร์ดเกมท่ีมีค�ำถาม
ครอบคลุมเร่ืองความถูกต้อง ความเหมาะสมของเน้ือหา และวัตถุประสงค์ ผลการประเมินพบว่าเนื้อหาของบอร์ดเกม
โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ทั้งน้ีสรุปผลการประเมินด้านส่ือและด้านเนื้อหาของบอร์ดเกมโดยรวมได้ว่า
ผลการประเมินโดยรวมในทกุ ดา้ นอยูใ่ นระดับเหมาะสมมากถึงระดบั ความเหมาะสมมากทสี่ ดุ

ส่วนท่ี 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับ
นักเรียนช้นั มธั ยมศึกษาตอนตน้ จากการทดสอบกลุม่ ตวั อยา่ ง จำ� นวน 20 คน โดยใชแ้ บบทดสอบ 4 ตัวเลอื ก จ�ำนวน
45 ข้อ พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นพบว่า มีค่าเฉล่ียเท่ากับ 17.85
คะแนน และ 25.45 คะแนน ตามล�ำดบั มีผลตา่ งคะแนนคือ 7.60 คะแนนคิดเปน็ รอ้ ยละ 16.86 และเมื่อเปรียบเทยี บ
ระหว่างคะแนนกอ่ นและหลงั เรียน พบว่า คะแนนสอบหลงั เรยี นของนกั เรยี นสงู กว่าก่อนเรียนอย่างมนี ัยสำ� คัญทางสถติ ิ
ที่ระดบั .05 นอกจากนัน้ การทดสอบหลังเรยี นและความคงทนของการจดจำ� คำ� ศัพท์ของนกั เรยี นชั้นมัธยมศกึ ษาตอน

OECJournal 53

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ตน้ เมอ่ื ผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์ พบว่ามีคา่ เฉล่ียเท่ากบั 25.45 คะแนน และ 23.15 คะแนน ตามลำ� ดับ มีผลต่างคะแนน
คือ 2.30 คะแนนคิดเปน็ รอ้ ยละ 5.11 และเมื่อเปรยี บเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลงั เรยี น พบวา่ คะแนนสอบหลงั
เรยี นของนกั เรยี นไมแ่ ตกตา่ งจากคะแนนสอบความคงทนในการจดจำ� คำ� ศพั ทข์ องนกั เรยี นเมอื่ ผา่ นไป 1 สปั ดาหอ์ ยา่ งมนี ยั
ส�ำคัญทางสติ ซ่ึงหมายความว่าหลังจากการใช้บอร์ดเกมเพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ
(Jobs) คะแนนเฉล่ยี เพิม่ ขึ้นแต่ความคงทนในการจดจ�ำค�ำศพั ท์หลังจากท่ีผ่านไปแลว้ 1 สปั ดาหไ์ ม่แตกต่าง

ส่วนท่ี 4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้บอร์ดเกมเพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษา
อังกฤษ เร่ือง อาชีพ (Jobs) ส�ำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้บอร์ดเกม
เพอ่ื สง่ เสรมิ การเรยี นรคู้ ำ� ศพั ทภ์ าษาองั กฤษ เรอ่ื ง อาชพี (Jobs) โดยรวมอยใู่ นระดบั มากทสี่ ดุ เมอื่ พจิ ารณาเปน็ รายดา้ น
พบว่า 1) ดา้ นคมู่ ือเกมมคี วามพึงพอใจอยูใ่ นระดบั มาก เมอ่ื พิจารณารายข้อพบวา่ ค�ำอธิบายในคมู่ อื เกมมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากท่ีสุด แต่ข้อพิจารณาเกี่ยวกับกติกาการเล่นเกมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 2) ด้านตัวเกม
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เม่ือพิจารณารายข้อพบว่า ข้อพิจารณาเกี่ยวกับอุปกรณ์ การสร้างความเข้าใจ
เก่ียวกับค�ำศัพท์ รูปแบบตัวอักษร สีสัน ภาพประกอบ และระยะเวลาในการเล่นเกม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มากที่สุด และ 3) ด้านการเล่นมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อพิจารณา
เก่ียวกับความสนุกสนาน ความท้าทาย ประสิทธิภาพในการจดจ�ำค�ำศัพท์เกี่ยวกับอาชีพ และความรู้สึกท่ีต้องการ
เล่นตอ่ ผูเ้ ลน่ มคี วามพึงพอใจในการจดั การเรียนการสอนอยู่ในระดับมากท่ีสดุ ทุกขอ้
อภิปรายผล

ข้อเสนอแนะ
ขอ้ เสนอแนะสำ� หรับการนำ� ไปใช้
1. ในการจัดการเรียนรู้ด้วยบอร์ดเกมน้ีสามารถน�ำมาใช้ในการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนและในห้องเรียน

สามารถแบง่ ขนั้ ตอนการจดั กจิ กรรมออกเปน็ 3 ขน้ั ตอน ไดแ้ ก่ 1) ขน้ั เตรยี มพรอ้ ม 2) ขน้ั เรยี นรู้ และ 3) ขนั้ ถอดบทเรยี น
โดยมีรายละเอยี ด ดังน้ี

1) ข้ันเตรียมพร้อม ในข้ันนี้ครูจะน�ำเข้าสู่บทเรียนพูดคุย เกร่ินน�ำเก่ียวกับอาชีพต่าง ๆ กระตุ้นความรู้
พื้นฐานและความสนใจเก่ียวกับค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง อาชีพ (Jobs) ก่อนการเล่นใช้ระยะเวลาในการน�ำเข้าสู่
บทเรียน 10 - 15 นาที โดยครูจะต้องพิจารณาทั้งความรู้พื้นฐานและลักษณะของนักเรียนในแต่ละคน เพ่ือที่จะสร้าง
ความน่าสนใจและลดความกังวลที่มีก่อนการด�ำเนินการเล่น โดยครูอาจเกริ่นน�ำเกี่ยวกับอาชีพในภาษาอังกฤษ
ใชค้ ำ� ถามกระตุน้ ความรู้พ้ืนฐานเกยี่ วกบั อาชีพ เช่น What do your parents do?, What vocabulary about jobs
do you know in English? จากน้นั อธบิ ายคำ� ศพั ทห์ รอื พดู คุยเกรน่ิ น�ำเพือ่ เขา้ สูเ่ กม

2) ขั้นเรียนรู้ เป็นขั้นท่ีครูอธิบายกติกาเกม การเล่น เป้าหมาย การให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ทางเลือกเสริม
และการสาธิตการเล่น เม่ือสังเกตได้ว่าผู้เล่นมีความเข้าใจในเกมจึงจะด�ำเนินการเล่นได้ เพ่ือให้ผู้เล่นมีความเข้าใจ
ในการเล่นท่ีตรงกัน ในระหว่างการเล่นจะต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้เล่นสามารถเห็นช่องทางความเป็นไปได้ท่ีจะ
สามารถบรรลุเป้าหมายของเกมได้ตามความคิดของตนเองอย่างอิสระในการแก้ปัญหาและด�ำเนินการได้ด้วยตนเอง
นอกจากนั้น ควรใหผ้ เู้ ลน่ ไดม้ โี อกาสพจิ ารณาและแลกเปล่ียนเรยี นรูค้ วามหมายของคำ� ศัพทห์ รือข้อมลู เกยี่ วกับค�ำศัพท์
นั้น ๆ ระหว่างเล่นร่วมกันเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันและเป็นการเน้นย้�ำในการเรียนรู้ค�ำศัพท์นั้นขณะเล่นมากข้ึน
โดยครูมีหน้าท่ใี นการเปน็ กระบวนกรอำ� นวยความสะดวกในการเลน่ เกม ซ่งึ ระยะเวลาในการจัดกจิ กรรม 50 - 60 นาที
หรอื ขึ้นอย่กู ับการตกลงกันของผู้เลน่

3) ขั้นถอดบทเรียน เป็นข้ันส�ำหรับการสรุปสิ่งท่ีได้เรียนรู้ ทบทวนค�ำศัพท์ท่ีได้เรียนรู้ในเกมร่วมกัน
เน้นย�้ำค�ำศัพท์อีกคร้ัง แล้วเช่ือมโยงไปสู่ประสบการณ์เรื่องราวของผู้เล่นโดยการสอบถามมุมมองเกี่ยวกับอาชีพหรือ
เปา้ หมายทส่ี นใจในอนาคต ความคิดเหน็ ต่ออาชพี น้นั ๆ ครสู ามารถใชค้ �ำถาม เชน่ Wh-questions เช่น What do you

54 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

want to do in the future?, Why do you want to be a/an…? ในการกระตุ้นความคิดท่ีจะให้นักเรียนระดม
ความคิดและสะท้อนผลเก่ียวกับเรื่องราวในหัวข้อเรื่องอาชีพได้ โดยทุกการตอบค�ำถามจะไม่มีการตัดสินความคิดเห็น
และใหอ้ ิสระในความคิดตามมุมมองของนักเรยี นแต่ละบุคคล

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบอร์ดเกมให้ครบถ้วนในแต่ละกระบวนการจ�ำเป็นต้องใช้เวลามาก
ในการจัดกิจกรรม โดยในครั้งแรกจะใช้เวลามากเป็นพิเศษใช้ระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง เน่ืองจากนักเรียนต้องใช้เวลา
ในการท�ำความเข้าใจและการสาธิตในการเล่น เพื่อท�ำความเข้าใจจนกว่าจะด�ำเนินการเล่นได้ ดังน้ันครูหรือ
กระบวนการจึงจะต้องพิจารณาระยะเวลาในการจัดกิจกรรมให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการเล่นและตามข้ันตอน
ในกระบวนการจดั การเรียนรู้ ชวงระยะเวลาในการเล่นของผู้เล่นในแตล่ ะรอบ เพอ่ื ลงตัวอกั ษร ตรวจสอบคำ� ศพั ทห์ รอื
ตัดสินใจกระท�ำบางอย่างในเกม ผู้เล่นบางคนใช้ระยะเวลานานกว่า 9 - 10 นาทีในการคิดตัดสินใจท�ำให้เกิดช่วงเวลา
ที่ผู้เล่นคนอ่ืน ๆ ใช้เวลาในการรอจนกว่าจะถึงรอบของตัวเองท�ำให้เกิดความไม่สนใจหรือไม่มีความจดจ่อในการเล่น
ดังน้ัน ครูหรือกระบวนการอาจก�ำหนดระยะเวลาในการเล่นตามความเหมาะสมให้แต่ละคน เพ่ือกระตุ้นให้เกิด
การตัดสนิ ใจได้รวดเร็วยิ่งข้นึ

3. การเรียนรู้ค�ำศัพท์ในแต่ละรอบของการเล่นการกระจายค�ำศัพท์ในแต่ละรอบไม่ครอบคลุมกับจ�ำนวน
ค�ำศัพท์ทั้งหมด มีค�ำศัพท์บางค�ำที่ผู้เล่นไม่ได้เล่นในรอบน้ัน ๆ ดังนั้นสามารถปรับเปลี่ยนการเล่นโดยการสุ่ม
การ์ดอาชีพหรือสลับการ์ดอาชีพที่อยู่ในล�ำดับสุดท้ายมาเล่นก่อนรวมไปถึงเพิ่มจ�ำนวนการ์ดอาชีพให้มากข้ึน
เพือ่ กระจายโอกาสในการเรยี นรู้คำ� ศัพท์ใหค้ รบถว้ นมากขน้ึ

4. จ�ำนวนผู้เล่น 4 คน เป็นจ�ำนวนที่มีความเหมาะสมมากท่ีสุดในการเล่น เน่ืองจากหากผู้เล่นน้อยลง
จะทำ� ใหโ้ อกาสในการไดต้ วั อกั ษรทมี่ สี ดั สว่ นเพมิ่ มากขน้ึ โอกาสในการทจ่ี ะสามารถเตมิ คำ� ศพั ทจ์ ะมคี วามยากขน้ึ ดงั นนั้
ผู้สอนจึงควรพิจารณาแนวทางในการยืดหยุ่นวิธีการเล่นส�ำหรับการเล่นที่มีจ�ำนวนผู้เล่นไม่มาก โดยสามารถเพ่ิม
จำ� นวนการ์ดค�ำศพั ท์ส�ำหรบั สะกดค�ำ และเพ่ิมจำ� นวนตวั อกั ษรใหม้ ากขน้ึ ในการเลน่ น้นั เพอื่ ที่จะลดความยากในการสุ่ม
ตวั อักษรได้

ข้อเสนอแนะส�ำหรับการศกึ ษาครง้ั ตอ่ ไป
1) การศึกษาคร้ังนี้เป็นการออกแบบบอร์ดเกมที่น�ำไปใช้เพ่ือการเรียนรู้ในบทเรียนเท่าน้ันยังไม่ครอบคลุม
ในเนื้อหาในบทเรียนอื่น ๆ และไม่สามารถเห็นลักษณะการน�ำค�ำศัพท์มาใช้ ซึ่งการศึกษาครั้งต่อไปอาจพัฒนารูปแบบ
ของบอร์ดเกม หรอื กระบวนจดั การเรียนรเู้ พม่ิ เตมิ ใหส้ อดคล้องกบั รปู แบบทส่ี ามารถน�ำคำ� ศัพทไ์ ปต่อยอดสู่การน�ำไปใช้
การส่ือสาร การสรา้ งประโยคท่ีถูกตอ้ งตามโครงสรา้ งไวยากรณ์หรอื การบรู ณาการใหเ้ ขา้ กับทกั ษะทางภาษาอ่ืน ๆ เชน่
ทกั ษะฟงั พูด อา่ น เขยี น เปน็ ต้น
2) การเรียนรู้ค�ำศัพท์ในระหว่างการเล่นเกมเน้นการจดจ�ำค�ำศัพท์ และการสะกดค�ำนักเรียนจะได้เรียนรู้
คำ� ศพั ทจ์ ากการด์ ทป่ี รากฏในเกมดว้ ยตนเองหรอื จากครู การออกเสยี งคำ� ศพั ทจ์ ะเปน็ ลกั ษณะการไดอ้ า่ นหรอื ไดฟ้ งั เมอื่ มี
ผู้อ่านค�ำนั้น ๆ ซึ่งยังขาดการออกเสียงท่ีถูกต้อง การเน้นค�ำ หรือส�ำเนียงการออกเสียงตามหลักที่ถูกต้องจากเจ้าของ
ภาษา ดังน้ัน หากการออกแบบพัฒนาเกมใหม้ ชี อ่ งทางสอื่ เทคโนโลยีที่เป็นตัวเลือกเพม่ิ เตมิ ในเกมทจ่ี ะสามารถใหผ้ ้เู ลน่
สามารถตรวจสอบค�ำศัพท์อย่างถูกต้องตามแบบเจ้าของภาษาในขณะเล่นจะสามารถช่วยให้นักเรียนคุ้นชิน และเรียนรู้
การออกเสียงซึง่ เปน็ การเรยี นรคู้ ำ� ศัพท์ได้อย่างสมบรู ณ์
3) จากการพิจารณาการเรียนรู้ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษจากการเล่นบอร์ดเกมน้ี กระบวนการพัฒนาค�ำศัพท์
ในเกมเกดิ ข้ึนจากการใช้การ์ดค�ำศัพท์ ผู้เลน่ ตอ่ คำ� ศัพทจ์ ากการ์ดและสบื ค้นค�ำศัพท์จากการด์ องคป์ ระกอบเสริมอน่ื ๆ
เช่น ตัวบอรด์ ตวั หมาก หรืออุปกรณเ์ สรมิ อืน่ ๆ ไม่ไดม้ ผี ลตอ่ การพฒั นาค�ำศัพทใ์ นการศกึ ษาคร้งั ต่อไปสามารถพฒั นา
ตอ่ ยอดเกมใหอ้ ยใู่ นรปู แบบการด์ เกม เพอ่ื ความสะดวกในการดำ� เนนิ กจิ กรรมและจดั เตรยี มอปุ กรณไ์ ดใ้ นระยะเวลาอนั สนั้

OECJournal 55

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

4) การศึกษาคร้ังน้ีเป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครเพียงกลุ่มเดียว ควรศึกษาเปรียบเทียบ
ผลการจัดการเรียนรู้จากการใช้บอร์ดเกมระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เพื่อสามารถทดสอบเปรียบเทียบ
ประสิทธิภาพของบอร์ดเกมกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เพื่อท่ีจะได้ข้อมูลท่ีแสดงความแตกต่างและประสิทธิภาพ
ของบอร์ดเกมไดอ้ ยา่ งชดั เจน

รายการอา้ งองิ

กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2562). ประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร เรื่อง นโยบายและจุดเนน้ ของกระทรวงศึกษาธิการ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564.
สืบคน้ จาก http://www.ops.moe.go.th/ops2017/attachments/article/5669/Image030120090930.pdf

ณฏั ฐน์ รี ฤทธริ ตั น์ และ ธัญภา ชิระมณี. (2557). ปญั หาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพดู ภาษาองั กฤษ
ของนกั ศกึ ษาไทย. สืบค้นจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/hmp39.pdf

ณัฐวราพร เปล่ียนปราณ และ สทุ ัศน์ นาคจั่น. (2558). การเรยี นรคู้ ำ� ศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการสอน
ของนักเรียนช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 6 โรงเรียนวดั ท่งุ น้อย อำ� เภอกุยบรุ ี จงั หวัดประจวบครี ขี นั ธ์. Veridian E-Journal, 8(2), 1672-1684.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรเู้ พือ่ การจัดกระบวนการเรียนรทู้ ่มี ีประสิทธภิ าพ.

พิมพค์ รงั้ ท่ี 16. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพมิ พ์แห่งจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย.
นันทกา ทาวุฒิ. (2543). ภาษาอังกฤษเพอื่ การสื่อสารและทักษะการเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เธริ ์ดเวฟเอด็ ดเู คช่นั .
ปัญจลักษณ์ ถวาย. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธ์ิและความคงทนในการจำ� คำ� ศพั ท์ภาษาอังกฤษของนกั เรยี น

ชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 5 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏบา้ นสมเด็จเจ้าพระยาทเ่ี รยี น
โดยใช้แบบฝกึ กจิ กรรมเพิ่มพนู คำ� ศพั ท์รว่ มกับการอ่าน. วารสารวจิ ยั มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร.์ 10(2). 55-72.
ปิยนุช อุดมเกยี รติสกลุ . (2559). กลยุทธ์การเรียนรู้ค�ำศพั ท์ภาษาอังกฤษของนกั เรยี นชัน้ มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย
ในโรงเรยี นเอกชนจงั หวัดปทุมธานี. ใน วิทยาลัยนครราชสมี า, การประชุมวชิ าการและเสนอผลงานวิจยั ระดบั ชาติ คร้ังท่ี 3
กา้ วส่ทู ศวรรษท่ี 2: บรู ณาการวิจยั ใชค้ วามรู้สคู่ วามย่งั ยนื (น. 844-848).
ภสั รากรณ์ แมน้ เหมือน. (ม.ป.ป.). ชดุ I want to be a/an (Occupation) in the future. ส�ำหรับนกั เรยี น
ชั้นมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1. สบื ค้นจาก https://www.tsn.ac.th/web/wp-content/uploads/ 2017/02/12669/ ชดุ การเรยี นร.ู้ pdf
ศรีจิตรา นวรัตนาภรณ.์ (2560). การศึกษาการใช้ค�ำศพั ทภ์ าษาองั กฤษแบบอังกฤษและแบบอเมริกนั ของนักศกึ ษา
เอกภาษาองั กฤษ ระดับชนั้ ปีที่ 1 มหาวิทยาลยั ราชภฏั เลย. วารสารวิจัยและพฒั นามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(45), 79-89.
สถาบนั ทดสอบทางการศกึ ษาแหง่ ชาต.ิ (2562). สรปุ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาตขิ น้ั พน้ื ฐาน (O-NET).
สบื คน้ จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx
ส�ำนกั งานเลขาธกิ ารการสภาการศึกษา. (มถิ นุ ายน 2556). พัฒนาการหลักสูตรการศึกษาข้นั พ้ืนฐานของไทย.
ในสำ� นกั งานเลขาธิการการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธกิ าร, การศกึ ษาเพือ่ อนาคตประเทศไทย.
การประชมุ สมั มนาทางวชิ าการระหว่างประเทศ, กรุงเทพฯ.
สำ� นักทดสอบทางการศกึ ษาแหง่ ชาต.ิ (2555). คาํ ศพั ทภาษาองั กฤษระดับมธั ยมศกึ ษาปท่ี 3.
สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/uploads/content_pdf/research_1347348576.pdf
สำ� นกั วชิ าการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. (2551). ตัวช้ีวัดและสาระการเรียนร้แู กนกลางกลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พื้นฐานพุทธศกั ราช 2551. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพช์ ุมนุมสหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย.
สำ� เนา ศรีประมงค์. (2547). การศกึ ษาผลการใชค้ �ำศัพท์ประกอบการสอนที่มีต่อความคงทนในการเรียนรู้คำ� ศพั ท์
ภาษาอังกฤษของนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง. (ปรญิ ญานพิ นธ)์ .
มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สุทธพร รตั นกุล. (2549). การเรียนการสอนภาษาองั กฤษในประเทศไทยตัง้ แต่อดตี จนถงึ ปจั จุบัน. กรุงเทพฯ: สหธรรมมกิ .
อนภุ าพ ดลโสภณ. (2540). การเปรยี บเทียบผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนวิชาภาษาองั กฤษของนกั เรียนชนั้ ประถมศึกษา
ปีที่5 ระหวา่ งการสอนโดยใช้เกมและการสอนตามคมู่ อื ครู. (วทิ ยาพนธ์ปริญญามหาบณั ฑติ ).
บณั ฑิตวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม, มหาสารคาม.
English First. (2018). EF English proficiency index. Retrieved from https://www.ef.com/__/~/media/
centralefcom/epi/downloads/full-reports/v8/ef-epi-2018-english.pdf
Gentner, M., T. (2014). Teaching English to Thai Learner. Bangkok: Bangkok University Press.
Nation, I. S.P. (2003). Vocabulary. In: David Nunan, editor. Practical English language teaching. New York: McGraw-Hill.
Read C. (2007). 500 Activities for the primary classroom. London: Macmillan.
Rohmatillah. (2014). A study on students’ difficulties in learning vocabulary. Jurnal Tadris Bahasa
Inggris, 6(1), 69-86. Retrieved from https://doi.org/10.24042/ee-jtbi.v6i1.520.
Saeed Al-Sobhi, B., & Preece, A. (2018). Teaching English speaking skills to the Arab students in the
Saudi school in Kuala Lumpur: problems and solutions. International Journal of Education
and Literacy Studies, 6(1), 1-11.
Wright, A., Betteridge, D. & Buckby, M. (2006). Games for language learning (3rd ed). Cambridge: Cambridge University Press.
56 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

การพัฒนารปู แบบ สุธารตั น์ สมรรถการ
ไพศาล จรรยา
การจดั การเรียนรู้ เกษชดุ า เพียรนุเคราะหช์ น
คณิตศาสตร์ : โรงเรยี นสาธติ
มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ
ประสานมติ ร (ฝา่ ยมธั ยม)

6Ps Model
เพ่อื สง่ เสรมิ ความสามารถในการแกป้ ญั หาและการเหน็ คณุ คา่

ในวชิ าคณติ ศาสตร์ สำ� หรบั นกั เรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1

บทน�ำ
การจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐานจะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

สภาพแวดล้อม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาและเสริมสร้าง
ศักยภาพคนของชาติให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษา
และการเรียนร้ใู ห้มคี ณุ ภาพและมาตรฐานระดบั สากล สอดคลอ้ งกบั ประเทศไทย 4.0 และโลกในศตวรรษที่ 21

กระทรวงศึกษาธิการโดยส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานได้ด�ำเนินการทบทวนหลักสูตร
แกนกลางการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 โดยนำ� ขอ้ มลู จากแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 12
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 มาใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนา
หลักสูตรให้มีความเหมาะสมชัดเจนย่ิงข้ึน ในระยะสั้นเห็นควรปรับปรุงหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งมีความส�ำคัญต่อ
การพฒั นาประเทศ และเป็นรากฐานส�ำคัญที่จะช่วยใหม้ นุษย์มีความคิดรเิ ริม่ สรา้ งสรรค์ คิดอย่างมเี หตผุ ล เปน็ ระบบ
สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถ่ีถ้วน สามารถน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ตลอดจน
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบูรณาการกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาหรือ
พัฒนางานด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่น�ำไปสู่การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ หรือสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ
ท่ีเอ้ือประโยชนต์ ่อการดำ� รงชีวติ การใชท้ กั ษะการคดิ เชงิ ค�ำนวณ ความร้ทู างด้านวิทยาการคอมพิวเตอรแ์ ละเทคโนโลยี
และการส่ือสารในการแก้ปัญหาท่ีพบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมท้ังใช้ความรู้ ความสามารถ ทักษะ
กระบวนการ และเครอื่ งมอื ทางภูมิศาสตร์ เรยี นรสู้ ง่ิ ต่าง ๆ ที่อยูร่ อบตัวอยา่ งเข้าใจสภาพทเี่ ปน็ อยูแ่ ละการเปลี่ยนแปลง
เพ่ือน�ำไปสู่การจัดการและปรับใช้ในการด�ำรงชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างสร้างสรรค (ส�ำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน, 2560)

ประเด็นท่ีส�ำคัญเพื่อแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธ์ิได้อย่างแท้จริง ตามยุทธศาสตร์การพัฒนา
และเสริมสร้างศกั ยภาพคน คือ การเตรียมพรอ้ มดา้ นก�ำลงั คน และการเสรมิ สร้างศกั ยภาพของประชากรในทกุ ชว่ งวยั
มุ่งเนน้ การยกระดบั คุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยพัฒนาคนใหเ้ หมาะสมตามช่วงวัย เพือ่ ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
การพัฒนาทักษะท่ีสอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงาน และทักษะท่ีจ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
ของคนในแต่ละช่วงวัยตามความเหมาะสม การเตรียมความพร้อมของก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จะเปล่ียนแปลงในอนาคต ตลอดจนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (ส�ำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาข้นั พืน้ ฐาน, 2560)

OECJournal 57

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

การปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ ยังคงหลักการและโครงสร้างเดิมของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 คือ ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ
ภาษาต่างประเทศ แต่มุ่งเน้นการปรับปรุงเน้ือหาให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้า
ทางวิทยาการต่าง ๆ ค�ำนึงถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะท่ีจ�ำเป็นส�ำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 เป็นส�ำคัญ
เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมท่ีจะเรียนรู้ส่ิงต่าง ๆ พร้อมท่ีจะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือสามารถศึกษาต่อ
ในระดับท่ีสูงขึ้น สามารถแข่งขันและอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้ โดยกรอบในการปรับปรุง คือ ให้มีองค์ความรู้
ทเ่ี ปน็ สากลเทยี บเทา่ นานาชาติ ปรบั มาตรฐานการเรยี นรูแ้ ละตวั ชวี้ ดั ใหม้ คี วามชดั เจน ลดความซำ�้ ซอ้ น สอดคล้อง และ
เช่ือมโยงกันภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนเช่ือมโยงองค์ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เข้าด้วยกัน จัดเรียงล�ำดับความยากง่ายของเน้ือหาในแต่ละระดับชั้นตาม
พัฒนาการแต่ละช่วงวัย ให้มีความเช่ือมโยงความรู้และกระบวนการเรียนรู้ โดยให้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ส่งเสริมให้
ผ้เู รียนพฒั นาความคดิ ซ่ึงสาระส�ำคัญของการปรับปรงุ หลักสตู รในกลุม่ สาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์ คือ จัดกล่มุ ความรู้
ใหม่และน�ำทักษะกระบวนการไปบูรณาการกับตัวช้ีวัด เน้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และมีทักษะ
ในศตวรรษท่ี 21 (สำ� นกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน, 2560)
จากหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 (ฉบบั ปรบั ปรงุ 2560) สำ� นกั งานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (2560) มุ่งพัฒนาและให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์
คิดแก้ปัญหา และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ซ่ึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ได้ก�ำหนดการประเมินด้านการคิดวิเคราะห์เป็นส่วนหนึ่งของ
การประเมินผล กระทรวงศึกษาธิการ (ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน, 2551) จะช่วยให้ผู้เรียน
เกิดสมรรถนะส�ำคัญ 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถ
ในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิด
สมรรถนะท่ีส�ำคัญทั้ง 5 ประการดังกล่าวข้างต้น คณิตศาสตร์มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ
เหล่านน้ั ดงั ที่หลักสตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ได้กลา่ วไว้ว่า คณติ ศาสตรม์ บี ทบาทส�ำคัญยิง่
ตอ่ การพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำ� ใหม้ นษุ ย์มคี วามคดิ สรา้ งสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มแี บบแผน สามารถ
วเิ คราะห์ปัญหาหรอื สถานการณไ์ ดอ้ ย่าง ถ่ถี ้วนรอบคอบ ชว่ ยใหค้ าดการณ์ วางแผน ตัดสนิ ใจ แกป้ ัญหา และน�ำไปใช้
ในชีวิตประจ�ำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากน้ีคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยแี ละศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จงึ มีประโยชน์ตอ่ การดำ� เนนิ ชวี ิต ชว่ ยพฒั นาคุณภาพชวี ิตให้ดีขึ้น และสามารถ
อยรู่ ่วมกับผอู้ นื่ ได้อย่างมีความสุข (ส�ำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน, 2551)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม ฉบับท่ี 2 พ.ศ. 2545 ได้เห็นถึง
ความส�ำคญั ของคณิตศาสตร์ จากการเน้นให้ผูเ้ รยี นมีความรู้และทักษะด้านคณติ ศาสตร์ไว้ในมาตรา 23 วรรค 4 และได้
ก�ำหนดจุดเน้นของกระบวนการจัดการเรียนรู้ไว้ในมาตรา 24 วรรค 2 ว่า ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัด
กระบวนการเรียนรู้โดย ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545) การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ที่ท�ำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้นจะต้องมีความสมดุลระหว่างสาระด้านความรู้ ทักษะและกระบวนการ
ควบคู่ไปกับคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ได้แก่ การท�ำงานอย่างมีระบบ มีระเบียบ มีความรอบคอบ
มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความเช่ือม่ันในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติท่ีดีต่อคณิตศาสตร์
(สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน, 2551)
การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ถือเป็นจุดเร่ิมต้นหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้
ส�ำหรับครูทุกคนท่ีต้องช่วยกันพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เนื่องจากเยาวชนเหล่านี้จะเป็น
ผู้ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต การพัฒนาคุณภาพด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์จ�ำเป็นต้องให้ผู้เรียน

58 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ท่ีถูกต้อง ตลอดจนมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นกลไกน�ำไปสู่เป้าหมาย
ของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ กล่าวคือ ในการจัดการเรียนการสอนควรปลูกฝังนักเรียนในเรื่องของความคิด
ความเป็นเหตุเป็นผล เป็นคนช่างสังเกต ควรฝึกให้นักเรียนรู้จักมอง และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ดังน้ัน
จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของชาติประการหน่ึง จึงเป็นการจัดการศึกษาให้ผู้ศึกษามีความรู้ความสามารถ
ทางคณิตศาสตร์ โดยจุดม่งุ หมายหลกั ของการจดั การศึกษาทุกระบบ คือการเตรยี มเยาวชนใหเ้ ป็นพลเมอื งท่มี คี ุณภาพ
มีความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิด น�ำไปวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี, 2556) ซ่ึงความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนมีแนวทางการคิดที่หลากหลาย
มีนิสัยกระตือรือร้นไม่ย่อท้อและมีความม่ันใจในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ท้ังภายในและภายนอกห้องเรียน ตลอดจน
เป็นทักษะพื้นฐานท่ีผู้เรียนสามารถน�ำติดตัวไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ตลอดชีวิต นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้
คณิตศาสตร์โดยใช้สถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงมาเป็นประเด็นในการจัดการเรียนรู้ จะท�ำให้ผู้เรียน
เหน็ คุณคา่ และเหน็ ความส�ำคัญของคณติ ศาสตร์
แต่การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่ประสบผลส�ำเร็จเท่าที่ควรและควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน
นักเรียนส่วนใหญ่มีผลการทดสอบในรายวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต�่ำท้ังในการประเมินระดับชาติและนานาชาติ เช่น
รายงานผลการประเมินของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงปี พ.ศ.2558 ซ่ึงมีผลคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า
ร้อยละ 50 ในทุก ๆ ปี (ส�ำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, 2558) สอดคล้องกับผลการประเมินโครงการ
PISA 2012 (Programme for International Student Assessment) ซึง่ ประเมินผลเกยี่ วกับการร้เู ร่ืองคณิตศาสตร์
ของนักเรียนอายุ 15 ปี ร่วมกับนานาชาติ พบว่านักเรียนไทยมีผลคะแนนเฉล่ียวิชาคณิตศาสตร์อยู่ที่ 427 คะแนน
ในขณะทค่ี า่ เฉล่ยี วิชาคณติ ศาสตร์ของนานาชาติอยู่ท่ี 494 คะแนน (โครงการ PISA ประเทศไทย, 2557)
จากสภาพปัญหาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในประเทศไทย
สาเหตุท่ีท�ำให้การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกิดความล้มเหลวอาจเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากความสามารถ
ความต้ังใจ และความชอบส่วนตัวของนักเรียนเอง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู หรือลักษณะเฉพาะของรายวิชา
ท่ีมีความเป็นนามธรรมสูง (จิณดิษฐ์ ลออปักษิณ, 2558) จากการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ท่ีผ่านมา
มุ่งให้นักเรียนจดจ�ำสูตร กฎ ทฤษฎีบท ท�ำตามตัวอย่าง วิธีการหาค�ำตอบหรือวิธีพิสูจน์ โดยไม่สนใจที่จะให้นักเรียน
มีความเข้าใจถึงเหตุผลท่ีแท้จริงว่าท�ำไมต้องเรียนเน้ือหาคณิตศาสตร์เหล่าน้ัน และคณิตศาสตร์ท่ีเรียนไปสามารถใช้
อธิบายส่ิงต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างไร (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555ข) ซ่ึงแนวคิดเช่นน้ี
จะท�ำให้นักเรียนเห็นว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในสถานการณ์จริงและไม่สามารถปรับไปใช้ในสถานการณ์ท่ีแตกต่าง
กันได้ นักเรียนจะน�ำคณิตศาสตร์ไปใช้ได้เพียงสถานการณ์เหมือนสิ่งท่ีเรียน ใช้ได้ไม่กว้างขวาง ส่ิงส�ำคัญคือนักเรียน
จะจ�ำได้ไม่นาน และไม่มีวิธีการที่จะให้นักเรียนนึกถึงสิ่งท่ีเรียนมาแล้วเพ่ือน�ำกลับมาใช้ในการเรียนต่อไปได้
(สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547)
ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ก�ำหนดให้ทักษะและกระบวนการทาง
คณิตศาสตร์เป็นสาระหน่ึงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซ่ึงเมื่อจบการศึกษาข้ันพื้นฐานแล้วผู้เรียนจะต้องเกิด
5 ทักษะ คือ การแก้ปัญหาด้วยวิธีการท่ีหลากหลาย การให้เหตุผล การสื่อสาร ส่ือความหมายทางคณิตศาสตร์ และ
การนำ� เสนอการเช่อื มโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อน่ื ๆ และการคิดรเิ รม่ิ สรา้ งสรรค์ (ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพ้ืนฐาน, 2551) ทักษะทางด้าน “การแก้ปัญหา” เป็นหนึ่งในทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่นักเรียน
ทุกคนต้องฝึกฝน และพัฒนาให้เกิดขึ้น การเรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนมีแนวทางการคิด
ท่ีหลากหลาย มีนิสัยกระตือรือร้นไม่ย่อท้อและมีความม่ันใจในการแก้ปัญหาท่ีเผชิญอยู่ทั้งภายในและภายนอก
ห้องเรียน ตลอดจนเป็นทักษะพื้นฐานท่ีผู้เรียนสามารถน�ำติดตัวไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจ�ำวันได้ตลอดชีวิต
(สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลย,ี 2551) นอกจากนสี้ ภาครคู ณติ ศาสตรแ์ หง่ ชาติของสหรฐั อเมริกา
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM, 2000) ซ่ึงเป็นองค์กรส�ำคัญท่ีมีบทบาทอย่างมากต่อ

OECJournal 59

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาและท่ัวโลกได้ก�ำหนดให้การแก้ปัญหาเป็นมาตรฐานหน่ึง
ในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และกล่าวว่า การแก้ปัญหาจะเป็นแนวทางในการพัฒนาให้เกิดการแสดงออกถึง
ความเขา้ ใจอนั ลกึ ซึ้งเกี่ยวกบั ปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ ได้อยา่ งกว้างขวาง
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์จะต้องค�ำนึงถึงความสมดุลทั้งด้านความรู้ ทักษะและกระบวนการ ควบคู่
ไปกับคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมท่ีพึงประสงค์ พร้อมท้ังตระหนักในคุณค่าและการมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
(ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน, 2551) เจตคติท่ีดีของครูมักส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ด้วย ทั้งน้ีเพราะการจัดการเรียนรู้ของครูมีความส�ำคัญต่อนักเรียนท�ำให้นักเรียนสามารถเช่ือมโยงความรู้
เกิดแรงจูงใจให้อยากเรียนพบความส�ำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ และเห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ (สถาบันส่งเสริม
การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555ก)
ดังน้ันเพ่ือให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและเห็นคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์ ผู้วิจัย
จึงสนใจพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพ่ือส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเห็นคุณค่า
ในวิชาคณิตศาสตร์ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพ่ือใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
คณิตศาสตรท์ ่จี ะน�ำไปประยุกตใ์ ชใ้ นการจดั การเรยี นร้ใู หม้ ีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถปุ ระสงค์ของการวิจยั
1. เพ่ือสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ท่ีส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและ
การเห็นคณุ ค่าในวิชาคณติ ศาสตร์ส�ำหรบั นักเรยี นชัน้ มัธยมศึกษาปที ่ี 1
2. เพอื่ ศกึ ษาผลการทดลองใชร้ ปู แบบการการจดั การเรยี นรคู้ ณติ ศาสตร์ ทสี่ ง่ เสรมิ ความสามารถในการแกป้ ญั หา
และการเหน็ คณุ คา่ ในวชิ าคณติ ศาสตรส์ �ำหรบั นกั เรียนช้นั มธั ยมศึกษาปีท่ี 1
2.1 เพอื่ เปรียบเทยี บความสามารถในการแก้ปญั หาทางคณิตศาสตรก์ อ่ น และหลงั เรยี นด้วย 6Ps Model
2.2 เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ก่อน และหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ดว้ ย 6Ps Model
2.3 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนท่ีมีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริม
ความสามารถในการแก้ปัญหา และการเห็นคณุ ค่าในวชิ าคณติ ศาสตร์
วิธีด�ำเนินการวิจยั

การสังเคราะหร์ ปู แบบการจดั การเรียนรู้คณิตศาสตร์ : 6Ps Model ทสี่ ่งเสรมิ ความสามารถในการแกป้ ญั หา
และการเหน็ คุณคา่ ในวชิ าคณติ ศาสตรส์ ำ� หรับนักเรียนชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 คร้ังน้ี ผ้วู ิจัยประยุกตใ์ ชแ้ นวคิดแบบจ�ำลอง
การออกแบบระบบการเรียนการสอน ADDIE Model (Kruse, 2009) แบบจ�ำลองการออกแบบการเรยี นการสอนเชิง
ระบบของ ดิกค์ แคเรย์ และแคเรย์ (Dick et al., 2005) และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของ จอยซ์และเวลล์
(Joyce & Weil, 2009) ร่วมกบั แนวคดิ การวจิ ัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยสงั เคราะห์
เป็นข้ันตอนของการศึกษา เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ : 6Ps Model ท่ีส่งเสริมความสามารถ
ในการแกป้ ญั หา และการเหน็ คณุ คา่ ในวชิ าคณติ ศาสตรส์ ำ� หรบั นกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 1 ประกอบดว้ ย 4 ขน้ั ตอน ดงั นี้

ข้ันตอนที่ 1 การวจิ ยั (Research : R1) เปน็ การวิเคราะห์ข้อมลู พนื้ ฐาน (Analysis: A) ศึกษาขอ้ มลู พน้ื ฐาน
สำ� หรบั การพฒั นารปู แบบการเรยี นการสอน ในขน้ั นผ้ี วู้ จิ ยั ใชแ้ นวคดิ การวจิ ยั และพฒั นา ในขนั้ ของการวจิ ยั (Research : R1)
และแนวคิดแบบจ�ำลองการออกแบบการเรียนการสอน ADDIE Model ในข้ันตอนที่ 1 ซึ่งเป็นขั้นของการวิเคราะห์
ความต้องการจ�ำเป็น (Analysis: A) ร่วมกับแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบของ ดิกค์ แคเรย์
ท่ีกล่าวถึงการวิเคราะห์ความต้องการจ�ำเป็น การวิเคราะห์การเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนและรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอน ของจอยซ์ และเวลล์ ซึ่งผ้วู จิ ัยไดศ้ ึกษาวเิ คราะห์ ดงั นี้

60 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

1) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งท่ีคาดหวังกับสภาพที่เป็นจริง เพ่ือเติมเต็มทักษะท่ีต้องมีมาก่อน ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์
ข้อมูลพ้ืนฐานเชิงนโยบาย เป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง
2560) มาตรฐานและตัวช้ีวัดของหลักสูตรสมรรถนะส�ำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะ
ผเู้ รียนในศตวรรษท่ี 21

2) ระบุเป้าหมายและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล สรุปเป้าหมาย และผลลัพธ์
ท่ีพึงประสงค์ ได้ว่า การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ส�ำหรับผู้เรียนในปัจจุบัน จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริม
ความสามารถในการแกป้ ญั หา และการเหน็ คณุ คา่ ในวชิ าคณติ ศาสตร์ เพราะการแกป้ ญั หาทางคณติ ศาสตรจ์ ะชว่ ยใหผ้ เู้ รยี น
มีแนวทางการคิดที่หลากหลาย มีนิสัยกระตือรือร้นไม่ย่อท้อ และมีความม่ันใจในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ท้ังภายใน
และภายนอกห้องเรียน ตลอดจนเป็นทักษะพื้นฐานท่ีผู้เรียนสามารถน�ำติดตัวไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ตลอดชีวิต
นอกจากน้ีการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้สถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงมาเป็นประเด็นในการ
จดั การเรยี นรู้ จะทำ� ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า และเห็นความสำ� คญั ของคณิตศาสตรด์ ว้ ย

3) ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีท่ีเกี่ยวข้อง สอดคล้องกับเป้าหมาย และผลลัพธ์ที่พึงประสงค์
เพอื่ ใหไ้ ดร้ ปู แบบการเรยี นการสอนทเี่ หมาะสม มปี ระสทิ ธภิ าพและประสทิ ธผิ ล ผวู้ จิ ยั ไดศ้ กึ ษาวเิ คราะหแ์ นวคดิ หลกั การ
ออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบ หลักการ แนวคิด การวิจัยและพัฒนา และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ของ จอยซ์ และเวลล์ วิเคราะหแ์ นวคิด ทฤษฎี งานวจิ ยั ทเี่ กยี่ วข้องกบั การพฒั นารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อสง่ เสริม
ความสามารถในการแก้ปญั หา และการเหน็ คณุ คา่ ในวชิ าคณิตศาสตร์

4) สร้างแบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนและแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนให้ครอบคลุมประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ จากนั้น
น�ำไปให้ผู้เช่ียวชาญพิจารณาความสอดคล้องของข้อค�ำถามกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ และหาความเที่ยงตรง
จากการคำ� นวณหาค่า IOC

5) ศกึ ษาวิเคราะหผ์ ้เู รยี น ส�ำรวจขอ้ มูลพืน้ ฐาน วธิ ีการเรยี นรู้ของผู้เรยี นโดยนำ� แบบสมั ภาษณ์ทแี่ ก้ไขปรบั ปรงุ
แล้วไปสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนและสัมภาษณ์ผู้เรียน เพ่ือให้ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรม
ทเี่ หมาะสมสำ� หรบั ผเู้ รียน

6) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
แกป้ ญั หา และการเห็นคุณคา่ ในวชิ าคณติ ศาสตร์ โดยการสมั ภาษณ์อาจารย์ผู้เช่ยี วชาญ เพื่อใหไ้ ด้ข้อมลู ในการตัดสินใจ
เกีย่ วกบั การจดั การเรียนการสอน เพอ่ื สง่ เสริมความสามารถในการแกป้ ัญหา และการเหน็ คณุ ค่าในวชิ าคณิตศาสตร์

ข้ันตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D1) เป็นการออกแบบ
และพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ : 6Ps Model ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
และการเห็นคณุ ค่าในวชิ าคณิตศาสตร์ ผูว้ จิ ัยใช้แนวคิดการวจิ ยั และพัฒนาในขนั้ ของการพัฒนา (Development : D1)
และแนวคิดแบบจ�ำลองการออกแบบการเรียนการสอน ADDIE Model มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาร่วมกับ
แนวคิดการออกแบบการสอนเชงิ ระบบของ ดกิ ค์ แคเรย์ และแคเรย์ และรูปแบบการจดั การเรียนการสอนของ จอยซ์
และเวลล์ ในการพฒั นาเคร่อื งมอื ประเมินผล พฒั นากลยุทธก์ ารสอน พัฒนา และเลอื กสอ่ื การเรียนการสอน ซ่งึ ในขน้ั นี้
ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนา สังเคราะห์ร่างรูปแบบการเรียนการสอน จัดกระบวนการเรียนการสอนท่ีสอดคล้องกับ
ธรรมชาติของผู้เรียน และมุ่งพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ ซ่ึงจะได้
รา่ งรปู แบบการจดั การเรยี นรปู้ ระกอบดว้ ย หลกั การ วตั ถปุ ระสงค์ เงอื่ นไขการนำ� รปู แบบไปใช้ ปจั จยั ทเ่ี ออ้ื ตอ่ การเรยี นรู้
คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการสอน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัด
การเห็นคณุ คา่ ในวิชาคณติ ศาสตร์ แล้วนำ� ร่างรูปแบบการจัดการเรยี นรู้ แผนการสอน แบบทดสอบวดั ความสามารถใน
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ไปตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา จ�ำนวน 5 ท่าน น�ำผลท่ีได้จากการตรวจสอบร่างรูปแบบไปแก้ไข

OECJournal 61

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ปรับปรุงร่างรูปแบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมท้ังพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ในกระบวนการของรูปแบบ
การจัดการเรยี นรู้

ข้ันตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เป็นการน�ำไปใช้ (Implementation: I) ในขั้นนี้ผู้วิจัย
ท�ำการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใชแ้ นวคดิ การวจิ ยั และพัฒนา ในขนั้ ของการวจิ ัย (Research: R2) และ
แนวคิดแบบจ�ำลองการเรยี นการสอน ADDIE Model ในขนั้ การน�ำไปใช้ (Implementation) ผูว้ จิ ยั น�ำรูปแบบการจดั
การเรียนรู้ท่ีพัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซ่ึงได้แก่ นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จ�ำนวน 50 คน ซ่ึงเป็นห้องเรียนท่ีผู้วิจัยด�ำเนินการสอนด้วยตนเอง
ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ท่ีพัฒนาข้ึน โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียน (One - Group Pretest - Posttest Design) โดยด�ำเนนิ การ ดังนี้

1) วดั ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเหน็ คณุ ค่าในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลอง
2) ด�ำเนินการทดลองโดยจดั การเรียนร้ตู ามรปู แบบการจัดการเรียนรู้ทพ่ี ัฒนาข้ึน
3) วัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการทดลอง และ
ใหน้ ักเรยี นทำ� แบบสอบถามความคดิ เห็นท่ีมีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ประชากรทีใ่ ช้ในการศกึ ษาคน้ ควา้
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ท่ีก�ำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2563 โรงเรยี นสาธติ มหาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ ประสานมติ ร (ฝ่ายมธั ยม) จำ� นวน 6 ห้องเรียน
กลมุ่ ตวั อย่างทใ่ี ช้ในการศกึ ษาค้นควา้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งน้ีเป็นนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ท่ีก�ำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1
ปกี ารศกึ ษา 2563 โรงเรยี นสาธติ มหาวทิ ยาลัยศรีนครนิ ทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝา่ ยมธั ยม) ไดม้ าโดยการสมุ่ แบบกล่มุ
(Cluster Random Sampling) โดยใชห้ อ้ งเรยี นเป็นหนว่ ยในการสมุ่ (Sampling Unit) จ�ำนวน 1 ห้องเรียน 42 คน
เนอื้ หาท่ีใชใ้ นการวิจยั
เน้ือหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งน้ีเป็นเน้ือหาสาระในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรบั ปรงุ 2560) กล่มุ สาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์ เร่อื ง จ�ำนวนเต็ม เศษสว่ นและทศนิยม เลขยกก�ำลัง การสร้าง
ทางเรขาคณติ ซึง่ โรงเรยี นจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชีว้ ดั ในระดับช้นั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 1 ภาคเรยี นที่ 1
ระยะเวลาทีใ่ ช้ในการวจิ ยั
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพ่ือเสริมสร้างความสามารถในการ
แกป้ ญั หาและการเห็นคุณคา่ ในวิชาคณิตศาสตร์ (6Ps Model) โดยด�ำเนนิ การวิจยั ในภาคเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563
จ�ำนวน 16 สปั ดาห์ สปั ดาหล์ ะ 1 ชว่ั โมง รวมเปน็ 16 ชั่วโมง
ตัวแปรท่ศี ึกษา
ตวั แปรต้น ไดแ้ ก่ รูปแบบการจดั การเรยี นรูค้ ณติ ศาสตร์ด้วย 6Ps Model
ตัวแปรตาม ได้แก่
- ความสามารถในการแกป้ ญั หาทางคณิตศาสตร์
- การเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์
- ความคิดเหน็ ทีม่ ตี ่อการใชร้ ูปแบบการจัดการเรียนรู้

62 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

การด�ำเนินการทดลอง
ผู้วิจัยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One - Group Pretest
- Posttest Design) โดยด�ำเนนิ การ ดังน้ี
1)วดั ความสามารถในการแกป้ ญั หาและการเหน็ คณุ คา่ ในวชิ าคณติ ศาสตรข์ องนกั เรยี นกอ่ นการทดลอง
2) ด�ำเนนิ การทดลองโดยจดั การเรียนรตู้ ามรปู แบบการจดั การเรยี นรู้ทีพ่ ฒั นาข้ึน
3) วัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลัง
การทดลอง และให้นักเรยี นท�ำแบบสอบถามความคดิ เหน็ ท่มี ีต่อรปู แบบการจัดการเรยี นรู้
การวิเคราะห์ขอ้ มูล
การวเิ คราะห์ข้อมลู และสถิติทใี่ ชใ้ นการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ในการวิจยั คร้งั นป้ี ระกอบด้วย
1. วเิ คราะหค์ วามสามารถในการแกป้ ญั หาทางคณติ ศาสตร์ โดยใชค้ า่ เฉลยี่ ( X ) คา่ เบย่ี งเบนมาตรฐาน (S.D.)
2. เปรยี บเทยี บคะแนนความสามารถในการแกป้ ัญหาของนักเรยี นก่อนและหลังการทดลองด้วยสถติ ิ t - test
for dependent samples
3. ประเมินความคิดเห็นของนักเรียนท่ีมีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ค่าเฉล่ีย ( X ) ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.)
ขั้นตอนท่ี 4 การพัฒนา (Development: D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation: E) การประเมินและ
แกไ้ ขปรบั ปรงุ รปู แบบการจดั การเรยี นรู้ ผวู้ จิ ยั ใชแ้ นวคดิ การวจิ ยั และพฒั นา ในขน้ั ของการพฒั นา (Development: D2)
และแนวคิดการประเมินผลตามแบบจ�ำลองการออกแบบการเรียนการสอน ADDIE Model ร่วมกับแนวคิด
การออกแบบการสอนเชิงระบบของ ดิกค์ แคเรย์ และแคเรย์ และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของ จอยซ์ และ
เวลล์ การด�ำเนินการวิจัยในข้ันนี้เป็นการน�ำผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนท่ี 3 ซึ่งเป็น
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ น�ำมาปรับปรุง
แกไ้ ขรปู แบบการจดั การเรียนรใู้ ห้มีความเหมาะสมมากยง่ิ ขน้ึ และพร้อมทจี่ ะน�ำไปใช้ตอ่ ไป
ผลการวิจยั
ผลจากการด�ำเนินการวิจัยในขั้นตอนท่ี 1 และขั้นตอนท่ี 2 ท�ำให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์:
6Ps Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ส�ำหรับนักเรียน
ชัน้ มัธยมศึกษาปที ี่ 1 รายละเอยี ดดงั นี้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 6Ps Model หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพ่ือน�ำมาใช้
ในการจัดการเรยี นรู้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดงั น้ี
1. ข้ันน�ำเสนอประเด็นปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง (Paving and Discussing) หมายถึง ผู้สอน
น�ำเสนอประเด็นปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงที่สอดคล้องกับเน้ือหาท่ีจะสอน จากน้ันผู้สอนและผู้เรียนร่วมกัน
อภิปรายเก่ียวกับสถานการณ์ท่ียกมา ผู้สอนใช้ค�ำถามเพ่ือตรวจสอบความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของผู้เรียน และ
เชื่อมโยงเข้ากับความรทู้ างคณิตศาสตรท์ ี่ผู้เรยี นมี

2. ขั้นน�ำเสนอมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ (Propose) หมายถึง ผู้สอนน�ำเสนอมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
(ทฤษฎีบท บทนิยาม สูตร) ทเ่ี กี่ยวขอ้ งกับสถานการณ์ปญั หาทางคณิตศาสตรใ์ นชวี ิตจรงิ
3. ข้ันฝึกการน�ำมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์มาใช้ (Practice) หมายถึง ผู้สอนให้ผู้เรียนลงมือท�ำแบบฝึกหัด
ท่มี โี ครงสรา้ งไมซ่ บั ซอ้ น โดยผู้เรยี นสามารถนำ� มโนทัศน์ทางคณติ ศาสตร์ทไ่ี ด้รบั มาใชไ้ ด้

OECJournal 63

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

4. ข้ันแก้ปัญหา (Problem solving) หมายถึง ผู้สอนน�ำเสนอสถานการณ์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ที่เกี่ยวข้องกับเร่ืองท่ีเรียน ซ่ึงกระบวนการสอนใช้แนวคิดของโพลยาโดยให้นักเรียนท�ำความเข้าใจปัญหา วางแผน
แก้ปัญหา ดำ� เนนิ การตามแผน และเม่อื นักเรียนแกป้ ัญหาสำ� เร็จก็จะตรวจสอบดวู ่าผลท่ีไดน้ ัน้ ถกู ตอ้ งหรอื ไม่

5. ข้ันน�ำเสนอแนวคิดและประเมินผล (Predicate and Evaluation) หมายถึง ผู้เรียนน�ำเสนอแนวคิด
ในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ผู้สอนก�ำหนดให้ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายแนวคิด
ในการแกป้ ญั หาและสรุปแนวทางในการแกป้ ญั หารว่ มกัน

6. ขั้นตั้งปัญหา (Problem posing) หมายถึง ผู้เรียนประยุกต์ใช้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์มาสร้างเป็น
สถานการณ์ใหม่ พรอ้ มทง้ั แสดงแนวคิดในการแกส้ ถานการณป์ ัญหา
ผลการสรา้ งและตรวจสอบคณุ ภาพของรูปแบบ พบว่า
1. รปู แบบมอี งคป์ ระกอบ คือ หลักการ วตั ถปุ ระสงค์ เนื้อหา กระบวนการจดั กจิ กรรม และการวัดประเมนิ ผล
มขี น้ั ตอนตามแบบ 6Ps Model ดงั ภาพ



รูปแบบการจดั การเรยี นรู้ 6Ps Model
2. ผลการทดลองใช้รปู แบบ น�ำเสนอได้ดงั น้ี
2.1 ผลการเปรยี บเทยี บความสามารถในการแกป้ ญั หาทางคณติ ศาสตรก์ อ่ นและหลงั เรยี นดว้ ย 6Ps Model
น�ำเสนอดังตาราง 1

64 OECJournal

2. ผลการทดลองใชร้ ปู แบบ นำเสนอไดด้ ังนี้

2.1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตรก์ ่อนและหลังเรียนดว้ ย 6Ps Model

นำเสนอดงั ตาราง 1 ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ตาราง 1 แสดงผลกตาารรเาปง ร1ียแบสเดทงผียลบกคารวเปามรียสบาเทมยีาบรคถวใานมกสาามราแรกถใ้ปนัญกาหรแากทป้ าัญงหคาณทาติ งคศณาสติ ศตารสก์ ต่อร์กน่อแนลและะหหลลงัังเเรรยี ยี นนดด้วย้วย6P6sPMsodMeol del
̅ S.D.S.D. t t
การทดสอบ การทดสอบ n n K K
ก่อนการทดลอง 42 20 4146..22.3667 12..97001.90 27.58**
กอ่ นการทดลอง หลงั การทดลอง 42 42 20 20

หลงั การทดลอง 42 ** มนี ัย2ส0ำคญั ทางสถติ ทิ ี่ระด1ับ6..0317 2.70 27.58**

** มีนยั ส�ำคัญทางสถิติทีร่ ะดบั .01
จากตาราง 1 พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสอน

จากตาดรว้ ายรงปู แ1บบพทบีพ่ วัฒ่านาคขึ้นวหาลมงั สเราียมนาสรูงกถวใ่านกอ่กนาเรรยีแนกอ้ปยา่ัญงมหนี ายั ทสาาคงัญคทณางิตสศถติาทิสร่ี ตะรดับ์ขอ.0ง1กลุ่มตัวอย่างท่ีได้รับการสอน
ด้วยรูปแบบที่พฒั นาข้นึ หลงั เรยี นสงู กว่าก่อนเรียนอยา่ งมนี ยั สาคญั ทางสถิตทิ รี่ ะดบั .01

2.2 เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้

2.2 เพด2ื่อว้.ยเผปล6กรPาียsรบMทเดoทลdอียeงlบในชกำ้ราเูปสรแนเบอหบด็นงันตคำาุณเรสานคงอ่า2ไใดน้ดังวนิช้ี าคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ดว้ ย 6Ps Model นตำ� าเรสานง อ2ดแังสตด2าง.1ผรลผากลงากร2าเรปเปรียรียบบเทเทียยีบบกคาวรเาหม็นสคามณุ าคร่าถในวกิชาารคแกณป้ ติ ัญศหาสาตทรา์กงค่อณนแิตลศะาหสตลรังก์เร่อียนนแดลว้ ะยหรลูปังแเรบียบนกดาว้ รยจัด6กPาsรMเรoียdนeรlู้
Mแสoดdงeผlลกดตนก้วาาำยอ่เรรสนาเ6นงปกPอาก1sรดราียMทังแรตบดสทoาลดดเdรทองสeาผงงอlียลบบ1กากราเปรรเียหบ็นเทคยี ุณ4nบ2คคว่าาใมนสวามิชาาร2Kคถ0ใณนกิตาศรแากสป้ ตญั รห์กา่อทนางแคลณะิตหศาลส9ังต1เ ̅ รร. 8 ์กีย4อ่ นนดแล้วะยหรลูปงั 1เSแ6ร.ียบ.D5น.2บดก้วยาร6จPัดs กMtาoรdเeรlียนรู้
ตาราง 2 ̅ 110.85 S.DS.1.4D.5.9 t4.957*t*
ด้วย 6Ps

การทดสหอลังบการทกดาลรทองดสอบ n42 n 20 K K
ก่อนการทดลอง 42 ** มนี ัยส2ำ0คญั 22ท00างสถิตทิ ร่ี ะด9ับ1416..0.2.381674 12..971006.52 27.58**
กอ่ นการทดลอง หลังการทดลอง 42 42
หลังการทดลอง
จากตาราง 2 พบ4ว2่า การเห็น*ค*ุณมคีน่ายั ใ2สนำ0วคิชญั าทคาณงิสตถศติาสิทตี่ระรด์ข1ับอ1ง0.ก0.ล18ุ่ม5ตัวอย่างที่ได้รับ1ก4า.5รส9อนด้วยรูป4แ.9บ5บ7ท*ี่ *
** มีนยั สำ� คญั ทางสพถัฒติ นิทาขร่ี ึน้ะหดลบั ังเร.0ยี น1สงู กว่าก่อนเรียนอย่างมนี ยั สาคัญทางสถิติทีร่ ะดบั .01
นน พ ควัักกัฒาเเนรมรียีายสนขนา้นึรมมู้วหาีคิธรลวีกถจจ2งั าาใเาา.รนมร3กกียแกเผตหนกาเลาพ็สนรคกนรน้ปดตดดรกวู้าวแักังูก้ววว้้ื่าวอัญธิาราายยยกเรกเีต่ารมอศงรารรหว้ปียร66สภีสยงูปึสกว่านPPาา2นปิญัแาจ2ก�ำกมษssรใมรบมคารู้วหาหอ่าMMแพีาบคำริรธวายส้าเนตทวถทีคกooบ2จจปรผ2จดแอาใดาddพี่เา.ว.ลาคนถงวรม็3บนร2ลสeeกัฒกผกากแีย่าเวนอllผะขลตหเเานากมานพบพลน�ำกกร้ันรา็นา้ปกมกืค่อำวแือรา่กอขาวัตญเาาารเจิกคิึน้ศสยดร่าปารเงอรห้ปยันหปิดึสเกา่สรรเเาหัญน1อลราีหยำษงเหแใียหมรดังห็นบมหแพา็นก็นเวบังาาเ้เคร็นลนีคบจตทปรเแ้ปขคยีวทะควขุณาถัยีย็นลนาุณอัร่ีายญวกนบะอสขสมาคnาบงกำัก้นรคูงงคงาคมหกา่กานกาวตะนคิคด่2าราใราาวาอับกิดเรัญันกเใเรา่มไหนหหเนเกแวเเปหวสห็นทแ็็นรนร่อกนวาิช็น็นคลใีคยีนขาย้ปมิชชคกุณาะขุณงอเนานัญุณกราอค้าใสคงรคยีชงครนหทรณคนถ่าKถ่านนะั้นใ่าณาใัใชกี่มิตบนอักตินในไนมเนียวเปววีิทิตตกรวศรักัธชิน่าวิตใิชีายียศร่ี่างอิชชายกเรานนมปะรคสาา้ใาแครมชนีทคนียณดรสตรกณูปั้นศยัณีช่มนบั้ิตะปตรนิสตมึกแีวีิตศต์ัคญักจราศัธิตษศ.าบ่อคเย�์ิขดำา0หรสปารัญสมาบวีย1าอวตสรูปตศปททนันตร่ะางกรแึก์าาครีทจรก์กไาษบงง์กิดำูปด่อี่สลครา่อบวว1นถแณปุ้่ม่ัานนจกิตแรทีทบแไิตัาตดิทลูทปดี่ลร�ศำบัวะรี่1กแ้ะ่ีจมาใะหทอบกหัาสดทหีตดลำบยา ล̅ตกรี่มับ ใ่อัง้ วกังร่ร าาหีตเเเกิารเ.์รขจรงร่อ้0วครียเอีียาทยัด1ิกเจรนครนงราักนดีี่ไยดกราดใรดกนา้วชลารใ้วะาช้ยรรระุ่มยู้ร้ครห้รรูัห้บเครตูปเรูปูปณรูป์์ณโโัวกียียแแจแจแอSิิาตตนบบทนบบ.ยทDรศรบบยศบ่ารบู้นย.สาก์กปงกู้นาีก้สเท์าาปอัาญขสี้เรตรีา่รไ้ขานัญจหจดรจตรใ้าัดัด์ดจ้ราัดจรหใกทักงไบก้วัดจด่า์าาาากี่สยยร้งงรกทราไ่งเ่เาtร่เารดรทารเร่ีสยูปยสสียียียรำ้งข่อนงรนในแเ่้ึนาหิรมนเรทรรบยสู้้ียูู้้ �ำบขนรใิึ้หทมนรู้้ี่
รวู้ ธิ ีตรวจค�ำตอบ ก่อนก1า.รทจาดกลหองลักสูตรแกนกลา4ง2การศึกษาข2ั้น0พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 9(ฉ1.บ8ับ4ปรับปรุง 1265.6502) มุ่งพัฒนาและ
ใหห้คลวังากมาสรำทคดัญลตอ่องการพัฒนาผู้เรีย4น2ด้านทักษะก2า0รคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา แ11ล0ะ.ม8ีท5ักษะในศต1ว4ร.ร5ษ9ที่ 21 4ซ.ึ่ง9ก5า7ร*ว*ัด

การอภิปรายผลการวิจยั ** มีนัยสำคัญทางสถติ ทิ รี่ ะดับ .01
1. จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) มุ่งพัฒนาและ
ให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาผจู้เราียกตนาดรา้างน2ทพักบษวะ่ากกาารคเหิด็นวคิเุณคคร่าาใะนหวิช์ าคคิดณแิตกศ้ปาสัญตหร์ขาองแกลุ่มะตมัวีทอักย่าษงะทใี่ไนด้รศับตกวารรสรอษนทดี่้ว2ยร1ูปแซบึ่งบกทา่ี รวัด
และประเมินผลการพเัฒรียนานขรึ้นู้ตหลาังมเรหยี ลนัสกูงสกูตว่ารกแ่อกนเนรียกนลอายง่ากงมานี รยั ศสึกาคษญั าทขา้ันงสพถิต้ืนทิ ฐี่ราะนดบั พ.0ุท1ธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)
ไสคด�วำ้กาคม�ำัญหสาน5มดากปราถรรใะปนกรกาะารเรคมใวคชินาืม้ทอดสัก้าาคษนมาวกะราชาถ2มรวีใ.น3คิตสกิดาเาแพรวมลแื่อิเากคะศร้ปึครกถญั าษวใหะาานาคหมแกวส์เลาปาาะมรก็มนคาสาสิดรื่รอเเ่วหหถสนน็็นใาหคนขรุณนอกคงาึ่งคนา่ รขใวักในอชเาวรง้เิชมียกทาสนาคคทาณรโีมป่นมติ ีศตาโรลา่อะรสยรถเตมูปี ใรใินแน์นบผกกบลาากผรราพู้เครรจิัฒดียัดนนกคาาวรจผเาะู้เรรมีชยียนส่วนรยาใู้คใมหณหา้เ้ิผกตรศู้ดิเถราสใียสนมตนรกรเ์รกาทถิดรี่นสแส่งะกมเทสร้ปรีส่ริมัญ�ำถคนหญั ะา
ทง้ั 5 ประการดงั กลา่ วขา้ งตน้ คจณากติผลศกาาสรตสำรรม์ วบีจคทวบามาคทิดอเหย็นา่ งขมองานกักใเนรียกนาชรั้นพมฒั ัธยนมาศใึกหษผ้ าเู้ปรีทยี ี่ น1เทกี่มดิ ีตส่อมกรารรใถชน้รูปะแเหบบลกา่ านรนั้จัดดกงัารทเรหี่ ียลนกั รู้สตู ร
แกนกลางการศกึ ษานขักัน้ เรพียน้ื นฐมาีคนวาพมเทุหธ็นศว่ากั สราามชาร2ถ5น5ำก1ารไดแก้ก้ปลัญา่ วหไาวไปว้ ใ่าช้ใคนณชีวิติตศปารสะตจำรว์มันีบไดท้ บทาำใทหส้ว�ำิเคครัญาะยห่ิง์โตจ่อทยก์ปาัญรพหฒัาไดน้งา่าคยวขา้ึนมคิด
นักเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาให้เป็นขั้นตอนและกระบวนการ นักเรียนคิดว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้เข้าใจง่าย ทำให้

รูว้ ธิ ีตรวจคำตอบ OECJournal 65

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ของมนุษย์ ท�ำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ
สถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเคร่ืองมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
ศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการด�ำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีข้ึน และสามารถอยู่ร่วมกับ
ผอู้ ่ืนไดอ้ ยา่ งมีความสุข (ส�ำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551)
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้น้ีพัฒนาข้ึนจากแนวคิดปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism), ปรัชญาพิพัฒนนิยม
(Progressivism), ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง, ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ และทฤษฎีการเรียนรู้
อย่างมีความหมาย ซ่ึงหลักการแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ใช้กระบวนการแก้ปัญหาของ
โพลยา กล่าวได้ว่าแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นส�ำคัญ 6Ps Model หมายถึง กระบวนการจัดการเรียน
การสอน เพ่ือน�ำมาใชใ้ นการจดั การเรยี นรูป้ ระกอบดว้ ย 6 ข้ันตอน ดังน้ี

1. ข้ันน�ำเสนอประเด็นปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง (Paving and Discussing) หมายถึง ผู้สอน
น�ำเสนอประเด็นปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงท่ีสอดคล้องกับเนื้อหาท่ีจะสอน จากนั้นผู้สอนและผู้เรียนร่วมกัน
อภิปรายเก่ียวกับสถานการณ์ท่ียกมา ผู้สอนใช้ค�ำถามเพ่ือตรวจสอบความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของผู้เรียนและ
เช่อื มโยงเขา้ กับความรู้ทางคณิตศาสตร์ทีผ่ ู้เรียนมี

2. ขั้นน�ำเสนอมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ (Propose) หมายถึง ผู้สอนน�ำเสนอมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
(ทฤษฎบี ท บทนิยาม สูตร) ท่ีเก่ียวขอ้ งกบั สถานการณ์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชวี ติ จรงิ

3. ขน้ั ฝกึ การนำ� มโนทศั น์ทางคณิตศาสตร์มาใช้ (Practice) หมายถงึ ผู้สอนให้ผเู้ รียนลงมือท�ำแบบฝึกหัด
ทมี่ ีโครงสร้างไม่ซับซอ้ น โดยผ้เู รยี นสามารถน�ำมโนทศั น์ทางคณิตศาสตร์ทีไ่ ดร้ ับมาใช้ได้

4. ขั้นแก้ปัญหา (Problem solving) หมายถึง ผู้สอนน�ำเสนอสถานการณ์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ที่เก่ียวข้องกับเร่ืองท่ีเรียน ซึ่งกระบวนการสอนใช้แนวคิดของโพลยาโดยให้นักเรียนท�ำความเข้าใจปัญหา วางแผน
แก้ปญั หา ด�ำเนินการตามแผน และเมื่อนักเรยี นแกป้ ัญหาสำ� เรจ็ ก็จะตรวจสอบดวู ่าผลทไี่ ด้นั้นถูกต้องหรอื ไม่

5. ข้นั นำ� เสนอแนวคดิ และประเมินผล (Predicate and Evaluation) หมายถงึ ผู้เรยี นน�ำเสนอแนวคิด
ในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ผู้สอนก�ำหนดให้ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายแนวคิด
ในการแกป้ ญั หา และสรปุ แนวทางในการแกป้ ัญหาร่วมกัน

6. ขั้นต้ังปัญหา (Problem posing) หมายถึง ผู้เรียนประยุกต์ใช้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
มาสรา้ งเป็นสถานการณใ์ หม่ พรอ้ มทั้งแสดงแนวคดิ ในการแก้สถานการณ์ปญั หา
3. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นท�ำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมนี ัยสาคญั ทางสถติ ิท่ีระดบั .01 ซึง่ สอดคล้องกับสมมตฐิ านท่ีตั้งไว้ เพราะว่ารูปแบบถกู พฒั นาขนึ้ อยา่ งเปน็ ระบบ
มีขั้นตอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน สอดคล้องกับกระบวนการแก้ปัญหา
ของโพลยา และการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สอดคลอ้ งกบั สมมตฐิ านที่ต้ังไว้เน่อื งดว้ ยการจัดการเรียนรคู้ ณติ ศาสตรจ์ ะต้องค�ำนงึ ถึงความสมดลุ ทั้งด้านความรู้ ทกั ษะ
และกระบวนการ ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมท่ีพึงประสงค์ พร้อมท้ังตระหนักในคุณค่าและการมีเจตคติ
ที่ดีต่อคณิตศาสตร์ (ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน, 2551) เจตคติท่ีดีของครูมักส่งผลให้นักเรียน
มีเจตคติท่ีดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วย ทั้งน้ีเพราะการจัดการเรียนรู้ของครูมีความส�ำคัญต่อนักเรียนท�ำให้นักเรียน
สามารถเช่ือมโยงความรู้ เกิดแรงจูงใจให้อยากเรียนพบความส�ำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ และเห็นคุณค่าของ
คณิตศาสตร์ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555ก) นอกจากน้ี จากการศึกษาศึกษา
ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ท่ีส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและ
การเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพราะสามารถ
นำ� การแกป้ ญั หาไปใชใ้ นชวี ติ ประจำ� วนั ได้ ทำ� ใหว้ เิ คราะหโ์ จทยป์ ญั หาไดง้ า่ ยขนึ้ นกั เรยี นรวู้ ธิ กี ารแกป้ ญั หาใหเ้ ปน็ ขนั้ ตอน
และกระบวนการ นักเรียนคิดวา่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้น้เี ข้าใจง่าย ทำ� ใหร้ ้วู ธิ ใี นการตรวจคำ� ตอบ

66 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะท่วั ไป
1.1 ในการจดั การเรยี นรู้ โดยใชร้ ปู แบบการจดั การเรยี นรู้ 6Ps Model ทสี่ ง่ เสรมิ ความสามารถในการแกป้ ญั หา

และเหน็ คณุ คา่ ในวชิ าคณติ ศาสตร์ ครจู ะตอ้ งศกึ ษาทำ� ความเขา้ ใจกระบวนการจดั การเรยี นรทู้ ง้ั 6 ขนั้ ตอน อยา่ งลกึ ซงึ้
1.2 การฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ จะไม่มีประสิทธิภาพหากผู้เรียนขาดทักษะ

การเรยี นรพู้ น้ื ฐาน เชน่ การเขยี น การคำ� นวณ การสอ่ื สาร การอภปิ ราย การอธบิ าย เปน็ ตน้ จะทำ� ใหเ้ กดิ ความเบอ่ื หนา่ ย
ในการเรยี น ดงั นนั้ ผสู้ อนควรเตรยี มความพรอ้ มของผเู้ รยี นในการแกป้ ญั หา มกี ารวเิ คราะหผ์ เู้ รยี นและออกแบบการชว่ ยเหลอื
ผ้เู รยี นใหส้ ามารถต้ังปัญหาท่มี ีความสอดคลอ้ งกบั ปัญหาตงั้ ต้นดว้ ย

1.3 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ จ�ำเป็นต้องใช้ระยะเวลา
ในการพฒั นา ดังนัน้ ผู้สอนต้องมคี วามอดทนและด�ำเนินการอยา่ งต่อเนอื่ ง

2. ข้อเสนอแนะส�ำหรบั งานวจิ ยั
2.1 ควรมีการศึกษาการจัดการเรียนรู้ท่ีพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านอื่น ๆ เช่น

ความสามารถในการใหเ้ หตผุ ล ความสามารถในการเชอื่ มโยงทางคณติ ศาสตร์ ความสามารถในการสอ่ื สาร การสอื่ ความหมาย
ทางคณิตศาสตร์ เปน็ ต้น

2.2 ควรมกี ารศึกษาการจดั การเรียนรทู้ สี่ ง่ เสริมความสามารถในการแกป้ ญั หาในระดบั ช้นั อืน่ ๆ

รายการอา้ งองิ
โครงการ PISA ประเทศไทย. (2557). ตวั อย่างขอ้ สอบคณติ ศาสตร์ PISA 2012. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นตงิ้ .
จิณดษิ ฐ์ ละออปักษณิ . (2558). รายงานการวจิ ัยเรอื่ ง ผลของการใช้สารคดีบทน�ำคณติ ศาสตร์ทมี่ ตี ่อ
เจตคตแิ ละการเหน็ คุณค่าของวิชาคณติ ศาสตร.์ กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .
สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2547). การใหเ้ หตุผลในวชิ าคณติ ศาสตร์ ระดับชน้ั ประถมศึกษา ตามหลกั สตู รการศึกษา

ขนั้ พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: เอส.พ.ี เอน็ ..
______. (2551). ทกั ษะและกระบวนการทางคณติ ศาสตร์. พิมพค์ ร้ังท่ี 2. กรุงเทพฯ: ส.เจรญิ การพิมพ์.
______. (2555ก). การวัดประเมนิ ผลคณติ ศาสตร.์ กรงุ เทพฯ: ซเี อ็ดยูเคชั่น.
______. (2555ข). ครูคณิตศาสตรม์ อื อาชพี เส้นทางสู่ความส�ำเรจ็ . กรุงเทพฯ: 3 - ควิ มีเดยี .
______. (2556). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่านและวทิ ยาศาสตร์ บทสรปุ สำ� หรับผบู้ รหิ าร. สมุทรปราการ: แอดวานซ์
พรน้ิ ตงิ้ เซอรว์ ิสจ�ำกดั .
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. (2551). ตัวชวี้ ัดและสาระการเรยี นร้แู กนกลางกล่มุ สาระการเรียนรู้

คณติ ศาสตรต์ ามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนมุ สหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย.
สำ� นกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. (2560). มาตรการเรยี นรูแ้ ละตัวชวี้ ัด กลุม่ สาระการเรียนร้คู ณิตศาสตร์
วทิ ยาศาสตร์ และสาระภมู ิศาสตรใ์ นกลุ่มสาระการเรียนรู้สงั คมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ. 2560)
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551. . กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำ� นักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาต.ิ (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ
ทีแ่ ก้ไขเพมิ่ เติม (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2545. กรงุ เทพฯ: พริกหวานกราฟฟคิ .
สำ� นกั ทดสอบทางการศึกษาแหง่ ชาต.ิ (2558). สทศ.วิเคราะหค์ ่าสถิติพื้นฐาน O-NET ปีการศกึ ษา 2557. จดหมายขา่ วอิเล็กทรอนิกส์. ฉบบั ท่ี 51.
Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O. (2005). The systematic design of instruction. 6 ed. Boston: Pearson/Allyn and Bacon.
Joyce, B., & Weil, M., (2009). Models of teaching. 8 ed. Boston: Pearson
Kruse, (2009) Introduction to instructional design and the ADDIE model, Retrieved from http://www.transformativedesigns.
com/id_systems.html
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards for School Mathematics. Reston,
VA: National Council of Teachers of Mathematics.

OECJournal 67

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ผลการจดั การเรยี นรู้ เร่อื ง ศักด์ิชาย ขวญั สิน*
โรงเรยี นบา้ นปงแมล่ อบ
สถิติเบ้อื งต้น ส�ำนักงานเขตพ้นื ท่ี

การศึกษาประถมศึกษา

ลำ� พูน เขต 1

โดยใชร้ ูปแบบ
SAKORN Model
ของนักเรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรยี นบ้านปงแมล่ อบ

Learning management results on :

Basic statistics using the SAKORN Model

in Mathayomsuksa 3 Banpongmaelop School

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สถิติเบ้ืองต้น

โดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model ช้นั มัธยมศกึ ษาปีที่ 3 2) เพอื่ ศกึ ษาความก้าวหน้าผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นของนักเรยี น
หลังเรียน เร่ือง สถิติเบ้ืองต้น โดยใช้รูปแบบ SAKORN Model และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เร่ือง สถิติเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบ SAKORN Model ประชากร
ท่ใี ช้ในการศกึ ษาเปน็ นกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2562 โรงเรยี นบา้ นปงแมล่ อบ จำ� นวน 11 คน
เครื่องมือท่ีใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สถิติเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบ SAKORN Model
จำ� นวน 15 แผน แบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนกอ่ นเรยี นและหลงั เรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของ
นักเรยี นทม่ี ตี อ่ การจัดการเรียนรู้ เร่ือง สถิตเิ บอ้ื งต้น โดยใช้รูปแบบ SAKORN Model สถติ ิท่ใี ช้ในการวิเคราะหข์ อ้ มูล
ได้แก่ ดัชนีประสิทธิผล ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนี
ประสทิ ธผิ ลของแผนการจัดการเรียนรู้ เร่อื ง สถิติเบอ้ื งตน้ โดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model มคี า่ 0.6126 ซึ่งแสดงว่า
นกั เรยี นมคี วามรู้เพ่ิมขน้ึ คิดเปน็ ร้อยละ 61.26 2) ความก้าวหนา้ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนกั เรยี นหลังเรียนเพ่ิมขึ้น
จากกอ่ นเรียน เท่ากบั รอ้ ยละ 26.37 และ 3) นกั เรียนมคี วามพงึ พอใจตอ่ การจัดการเรยี นรู้ เร่ือง สถิติเบ้อื งต้น โดยใช้
รูปแบบ SAKORN Model อยใู่ นระดบั มาก
ค�ำส�ำคัญ : สถติ เิ บอ้ื งตน้
Abstract

The purposes of this research were 1) To evaluate effectiveness of the learning management
plan on : Basic statistics using the SAKORN Model in Mathayomsuksa 3 2) To study the progress of
their academic achievement after studying on : Basic statistics and 3) To study their satisfaction with
their learning through the SAKORN Model. The target group included 11 Mathayomsuksa 3’s students

* ครู คศ.3 โรงเรยี นบ้านปงแม่ลอบ ส�ำนักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษาล�ำพนู เขต 1
68 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

who enrolled in the second semester of 2019 academic year at Banpongmaelop School. The tools
used in the study included 15 learning plans, learning achievement test, and satisfaction questionnaire.
Statistics used in analyzing data were Effectiveness index, average, percentage, and standard
deviation. The research findings revealed that 1) the effectiveness index of the learning management
plan on : Basic statistics using the SAKORN Model precious 0.6126 which shows that students have
increased knowledge representing 61.26% 2) their academic progress after learning through the
learning management plans using the SAKORN Model increased 26.37%, and 3) they were satisfied
with their learning a high level.
Keywords : Basic statistics, SAKORN Model
บทน�ำ

คณิตศาสตร์เปน็ วชิ าวา่ ด้วยเหตุผล กระบวนการคิด และการแกป้ ญั หา คณิตศาสตร์จึงเปน็ วิชาท่ชี ่วยเสรมิ สร้าง
ให้นกั เรยี นเป็นคนมีเหตผุ ล มกี ารคดิ อยา่ งมวี ิจารณญาณ และเปน็ ระบบ ตลอดจนมที กั ษะการแกป้ ญั หา ท�ำใหส้ ามารถ
วิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ยิ่งกว่านั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเคร่ืองมือ
ส�ำคัญในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อ่ืน ๆ ท�ำให้มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีอย่างมากมายในทุกวันนี้ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2552 ) ประกอบกับ
คณติ ศาสตรม์ ีบทบาทส�ำคัญอยา่ งยิ่งตอ่ การพัฒนาความคดิ ของมนุษย์ ใหม้ นษุ ยม์ ีความคิดสรา้ งสรรค์ คดิ อยา่ งมีเหตุผล
เป็นระบบระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ
ในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อ
การด�ำรงชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น นอกจากน้ีคณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์มีความสมดุล
ทงั้ ทางร่างกาย จติ ใจ สตปิ ัญญา และสามารถอย่รู ่วมกบั ผอู้ ื่นไดอ้ ย่างมีความสขุ (กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, 2553 )

จากความสำ� คญั ของวชิ าคณติ ศาสตร์ จงึ สามารถกลา่ วไดว้ า่ การพฒั นาการเรยี นรขู้ องผเู้ รยี นในวชิ าคณติ ศาสตรน์ น้ั
ครูผู้สอนต้องหาวิธีการสอน เทคนิคการสอน นวัตกรรมส่ือการสอน เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จัดเป็นกลุ่มสาระส�ำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้จัดการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์ทุกระดับช้ัน และต้องจัดการเรียนการสอนในสาระหลักท่ีจ�ำเป็น 6 สาระ สาระที่ 1 จ�ำนวนและ
การดำ� เนนิ การ สาระท่ี 2 การวดั สาระที่ 3 เรขาคณติ สาระที่ 4 พชี คณติ สาระท่ี 5 การวเิ คราะหข์ อ้ มลู และความนา่ จะเปน็
สาระท่ี 6 ทกั ษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทง้ั 6 สาระมีบทบาทสำ� คญั ยงิ่ ต่อการพฒั นาความคดิ มนุษย์ ท�ำให้
มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบมีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้
อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเคร่ืองมือในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อ่ืน ๆ
คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการด�ำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีข้ึน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้
อยา่ งมคี วามสุข (สิรพิ ร ทิพยค์ ง, 2556)

ปัจจุบันปัญหาความล้มเหลวของการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์
เพราะเน้ือหามีแต่ตัวเลขและสัญลักษณ์ ขาดความรู้พื้นฐานท่ีดี ขาดทักษะในการคิดค�ำนวณ คิดแก้ปัญหา คิดแบบ
มขี น้ั ตอนกระบวนการ สริ พิ ร ทพิ ยค์ ง (2541) ในการจดั การเรยี นการสอนใหบ้ รรลตุ ามวตั ถปุ ระสงคข์ องหลกั สตู รไดน้ น้ั
ครูมักจะพบปัญหาหลายอยา่ ง เนอ่ื งจากคณิตศาสตรเ์ ป็นวชิ าทเ่ี ป็นนามธรรม โครงสรา้ ง และความสมั พันธ์ของเนื้อหา
ยุ่งยากซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจของนักเรียน ท�ำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนมักจะคิดวา่
คณิตศาสตร์เป็นวชิ าทยี่ าก ท�ำให้เกดิ ความเบ่อื หนา่ ย และไม่อยากเรยี นคณิตศาสตร์ ปัญหานักเรียนขาดแรงจงู ใจ และ
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ นักเรียนเป็นโรคกลัวคณิตศาสตร์ท�ำให้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียน และไม่ชอบแก้ปัญหา
คณิตศาสตร์ ไมใ่ ห้ความสนใจและไมเ่ ห็นคณุ คา่ คณติ ศาสตร์ กลวธิ กี ารแก้ปัญหาท่หี ลากหลายไมไ่ ดถ้ ูกน�ำมาใช้พจิ ารณา

OECJournal 69

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

หลักสูตรเดิมไม่ยืดหยุ่นพอที่จะส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาของนักเรียน การจัดการเรียนการสอนยังยึดติดอยู่กับ
ความช�ำนาญของครู ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (O-NET) ของนักเรียน
ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 พบว่าคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 27.26 คะแนน
ระดับประเทศ 30.04 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซ่ึงมีค่าคะแนนเฉลี่ยต�่ำกว่าระดับประเทศ และจาก
การวเิ คราะหเ์ ปน็ รายสาระ พบวา่ สาระท่ี 5 การวเิ คราะหข์ อ้ มลู และความนา่ จะเปน็ มคี ะแนนเฉลยี่ ตำ่� กวา่ ระดบั ประเทศ
รอ้ ยละ 3.48 และสำ� หรบั นักเรียนชัน้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 มีผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนวชิ าคณิตศาสตร์ ปีการศกึ ษา 2561
มีคะแนนเฉลี่ย รอ้ ยละ 63.54 ซ่ึงตำ่� กวา่ เป้าหมายท่ีโรงเรียนก�ำหนดคอื ร้อยละ70 ส�ำหรับการประเมนิ ผลสมั ฤทธ์วิ ชิ า
คณติ ศาสตร์ เรอื่ ง สถติ เิ บอื้ งตน้ มนี กั เรยี นไดค้ ะแนนตำ่� กวา่ เกณฑท์ โี่ รงเรยี นกำ� หนด รอ้ ยละ 50 นนั่ คอื ปกี ารศกึ ษา 2561
มนี กั เรยี นไดค้ ะแนนตำ่� กวา่ เกณฑ์ รอ้ ยละ 12.50 ของนกั เรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 (โรงเรยี นบา้ นปงแมล่ อบ, 2561)

เมื่อพจิ ารณาสาเหตเุ หลา่ นจี้ ะพบว่า วธิ กี ารสอนหรือเทคนิคการสอนของครทู ้งั สิน้ โดยเฉพาะสือ่ การสอนทไี่ ม่มี
คุณภาพ ไม่สามารถเร้าความสนใจหรือกระตุ้นความสนใจ และเกิดแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเรียน นั่นคือวิธีการสอน
หรอื เทคนคิ การสอนของครเู ปน็ ตน้ เหตขุ องปญั หาการเรยี นการสอน (กรมวชิ าการ, 2546) สงิ่ สำ� คญั ทจี่ ะชว่ ยใหก้ ารสอน
ของครูและการเรียนของนักเรียนมีประสิทธิภาพคือ กระบวนการเรียนการสอนตามแนวการสอนใหม่ ซ่ึงจ�ำเป็นต้อง
น�ำสอ่ื หรอื เครื่องมอื และวธิ ีการท่ีเหมาะสมเขา้ มาช่วยใหผ้ เู้ รยี นเกิดการเรียนรู้ ความเขา้ ใจ และมเี จตคตทิ ด่ี ีต่อการเรียน
ครูผู้สอนจะต้องใช้ความรู้ความสามารถและเทคนิคต่าง ๆ ในการจูงใจให้ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ท้ังน้ีเพื่อให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น (แสงเดือน ทวีสิน, 2545) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมและเอ้ือต่อการเรียนรู้
สามารถตอบสนองความสนใจ ความแตกตา่ งระหว่างบคุ คลของนักเรยี น เพ่ือใหน้ กั เรยี นเรียนเนื้อหาดงั กลา่ วไม่นา่ เบอื่
วิธีการสอนวิธีหน่ึงท่ีสามารถตอบสนองความสนใจของนักเรียนได้ดี คือ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบ
SAKORN Model (ศกรโมเดล) นั้นประกอบด้วยการด�ำเนินการเป็นล�ำดับข้ันตอน 6 ข้ันตอน ประกอบด้วย ข้ันท่ี 1
S: Search ขั้นตอนค้นหาข้อมูล เป็นข้ันที่นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นหาข้อมูลที่เก่ียวกับปัญหาและการแยกแยะประเด็น
ปัญหา การแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้องกับปัญหา ซึ่งประกอบด้วยการระดมสมอง เพื่อท�ำให้เกิดการแยกแยะ
ปญั หาตา่ ง ๆ ชว่ ยนกั เรยี นในดา้ นการมองเหน็ ความสมั พนั ธ์ของมโนมตติ ่าง ๆ ทมี่ อี ยู่ในปัญหาน้นั ๆ โดยครใู หน้ ักเรยี น
ช่วยกันค้นหาข้อมูลแยกประเด็นปัญหา โดยให้ครอบคลุมประเด็น โดยครูท�ำหน้าที่คอยตรวจสอบความถูกต้องในการ
ท�ำความเข้าใจของนักเรียนในแต่ละประเด็น ข้ันที่ 2 A: Active learning ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ด้วยวิธีการเรียนรู้ท่ีหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ขั้นที่ 3
K: Knowledge Management ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเพื่อประมวลเป็นองค์ความรู้ท่ีมีอยู่ในตัวบุคคล หรือ
เอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในกลุ่มสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมท้ังปฏิบัติ
งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นท่ี 4 O: Obtain ขั้นตอนการน�ำผลการเรียนรู้ท่ีได้รับไปใช้ประโยชน์ ท�ำการเผยแพร่
ความรู้สคู่ รอบครวั ชมุ ชน และสงั คม โดยใช้สอ่ื ออนไลน์หรือเทคโนโลยที ่เี หมาะสม ขนั้ ท่ี 5 R: Reporting ข้นั ตอนการ
จดั ทำ� รายงานรปู เลม่ และน�ำเสนอผลการเรยี นรูด้ ้วยวธิ กี ารจัดนิทรรศการ และขั้นที่ 6 N: Network ขั้นตอนการสร้าง
เครือข่ายวิชาการโดยมีการติดต่อ สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างการร่วมมือทางวิชาการภายในและ
ภายนอกโรงเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบหน่ึงท่ีน่าสนใจ โดยเน้นให้นักเรียนฝึกทักษะการแก้ปัญหา
ใชก้ ระบวนการคดิ อย่างมีเหตุผล มุ่งให้นกั เรยี นเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง โดยครเู ปน็ เพยี งผ้นู �ำเสนอปญั หาและเปน็ ผกู้ ระตุ้นให้
นักเรียนคิดและค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งมุ่งเน้นให้นักเรียนเผชิญกับสถานการณ์ปัญหา วิเคราะห์สถานการณ์
วางแผน ดำ� เนนิ การแกป้ ญั หา และแลกเปล่ยี นเรียนรู้เพือ่ ค้นหาค�ำตอบของปญั หา

จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้ตระหนักถึงภาระหน้าท่ีของครูผู้สอน และความส�ำคัญของวิชาคณิตศาสตร์
ผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะปรับการเรียนเปล่ียนการสอน เพื่อที่จะท�ำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ทส่ี งู ขนึ้ และเพอ่ื จะเปน็ แนวทางในการพฒั นาการจดั การเรยี นรใู้ หน้ า่ สนใจ มเี จตคตทิ ดี่ ตี อ่ วชิ าคณติ ศาสตร์ ดงั นนั้ ผวู้ จิ ยั
จงึ ไดค้ วามสนใจทพ่ี ฒั นากจิ กรรมการเรยี นรู้ เรอ่ื ง สถติ เิ บอ้ื งตน้ โดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3
โดยมงุ่ หวังให้นักเรยี นได้เรยี นร้อู ย่างเตม็ ศักยภาพของแตล่ ะคนควบคู่ไปกับการเรียนรูอ้ ยา่ งมีความสขุ

70 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

วัตถปุ ระสงค์ของงานวิจยั
1. เพ่อื ประเมนิ ประสทิ ธิผลของแผนการจดั การเรยี นรู้ เรือ่ ง สถติ ิเบื้องต้น โดยใช้รปู แบบ SAKORN Model
2. เพ่ือศึกษาความก้าวหน้าผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน เร่ือง สถิติเบ้ืองต้น โดยใช้รูปแบบ

SAKORN Model
3. เพอื่ ศกึ ษาความพงึ พอใจของนกั เรยี นทมี่ ตี อ่ การจดั การเรยี นรู้ เรอ่ื ง สถติ เิ บอ้ื งตน้ โดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model

นิยามศัพท์เฉพาะ
การจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ โดยใช้รปู แบบ SAKORN Model หมายถงึ การจดั การเรียนร้ทู ี่เนน้ ผเู้ รยี นเป็นส�ำคัญ

โดยนกั เรยี นจะตอ้ งแยกแยะประเดน็ ปญั หาและขอ้ มลู ตา่ ง ๆ ทช่ี ว่ ยสง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ แนวทางในการแกป้ ญั หา เปน็ การฝกึ ให้
นักเรียนแสดงความคิดเห็นและแลกเปล่ียนความคิดเห็น โดยมีครูเป็นเพียงผู้แนะน�ำและให้ความช่วยเหลือนักเรียน
ครูแบ่งกล่มุ ใหน้ กั เรยี น กล่มุ ละ 4 - 5 คน ซ่งึ แตล่ ะกลุ่มประกอบดว้ ยสมาชิกทมี่ คี วามสามารถแตกตา่ งกนั ประกอบด้วย
เดก็ เรียนเกง่ 1 คน เดก็ เรยี นปานกลาง 2 - 3 คน และเดก็ เรยี นออ่ น 1 คน ข้นั สอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดงั นี้

ขนั้ ที่ 1 S: Search ขน้ั ตอนค้นหาขอ้ มูล
ขน้ั ที่ 2 A: Active learning ขัน้ ตอนการลงมอื ปฏบิ ัติดว้ ยตนเอง
ขนั้ ที่ 3 K: Knowledge Management ข้นั ตอนการรวบรวมข้อมลู
ข้ันท่ี 4 O: Obtain ขนั้ ตอนการนำ� ผลการเรียนรู้
ขน้ั ที่ 5 R: Reporting ขั้นตอนการจัดทำ� รายงานรูปเล่ม และน�ำเสนอผลการเรยี นรู้
ข้ันท่ี 6 N: Network ขนั้ ตอนการสร้างเครอื ข่ายวชิ าการ
กรอบแนวคิดการวิจยั

การจดั การเรยี นรู้ เร่อื ง สถิติเบ้อื งต้น โดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model ชนั้ มธั ยมศึกษาปที ่ี 3

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

แผนการจดั การเรยี นรู้ เร่อื ง สถิติเบ้ืองต้น 1) ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นของนักเรยี น
โดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model เร่อื ง สถิติเบ้ืองต้น ชน้ั มธั ยมศึกษาปที ี่ 3
ชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 3 2) ความพงึ พอใจของนักเรยี นที่มตี ่อ
การจดั การเรยี นรู้ เร่อื ง สถิติเบ้ืองต้น
โดยใชร้ ปู แบบSAKORN Model
ชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 3

OECJournal 71

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

วิธีการด�ำเนินการวิจยั
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในเร่ืองน้ีได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

โรงเรยี นบา้ นปงแม่ลอบ อำ� เภอป่าซาง ส�ำนักงานเขตพื้นทกี่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษาล�ำพูน เขต 1 จำ� นวน 11 คน
เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการวิจัย
1. คู่มอื การจดั การเรียนรู้ กล่มุ สาระการเรยี นรูค้ ณิตศาสตร์ เรอ่ื ง สถิตเิ บื้องตน้ โดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model

ชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 มที ั้งหมด 1 เล่ม แผนการจดั การเรียนรู้ จ�ำนวน 15 แผน ใช้เวลา 15 ชัว่ โมง มขี ัน้ ตอนในการสร้าง
ดงั นี้

1.1 ศกึ ษาแนวคดิ ทฤษฎี และผลการวจิ ยั ทเ่ี กย่ี วกบั การสอนคณติ ศาสตร์ โดยใชร้ ปู แบบการสอนแบบตา่ ง ๆ
จากวารสาร เวบ็ ไซตต์ า่ ง ๆ และงานวจิ ยั ที่เก่ียวข้อง

1.2 ศกึ ษาหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ตวั ชวี้ ดั และสาระการเรยี นรแู้ กนกลาง
กลุ่มสาระการเรยี นรคู้ ณติ ศาสตร์ ชน้ั มัธยมศกึ ษาปที ่ี 3 ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐานพุทธศกั ราช 2551

1.3 ก�ำหนดล�ำดับเน้ือหาที่ใช้ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้วิจัยจัดท�ำขึ้นเอง โดยรายละเอียด
แสดงในตาราง 1

ตาราง 1 เนอื้ หาและระยะเวลาในการจัดการเรยี นรู้ เวลา
(ชว่ั โมง)
ที่ สาระการเรียนรู้
1
1 สถิติในโรงเรียนและชมุ ชน 1
2 ขอ้ มลู กบั แหล่งเรียนรู้ 2
3 สถติ กิ ับการใชป้ ระโยชนใ์ นชีวติ จรงิ 1
4 สถิติกับการตั้งประเดน็ ปญั หา 2
5 ค�ำตอบของปญั หา 3
6 ตัวแทนของขอ้ มลู และความเหมาะสม 1
7 ข้อมูลกบั การแสดงแทน 1
8 การแปลความหมายข้อมลู 1
9 การใชส้ ถติ ิเพอ่ื การตัดสนิ ใจ 2
10 การนำ� เสนอผลงานทางสถิติ 15
รวม

72 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

1.4 จัดทำ� ข้นั ตอนการจดั การเรียนรู้ โดยใช้รปู แบบ SAKORN Model ดังแผนภาพตอ่ ไปนี้

มาตรฐานการเรยี นรู/้ ตัวชวี้ ัด กิจกรรมน�ำเข้าสู่บทเรยี น

จุดประสงค์การเรยี นรูส้ ู่ตัวชว้ี ัด การกระต้นุ ใหน้ ักเรยี นเกิดความสนใจและพรอ้ ม
ท่ีจะเรยี น โดยใชก้ ิจกรรมการสนทนาซกั ถาม
เกย่ี วกบั สถติ กิ บั ชวี ติ ประจำ� วนั เพ่อื ทบทวนเน้อื หา

สาระส�ำคัญ กิจกรรมน�ำเข้าสู่บทเรยี น

สาระการเรยี นรู้ ขน้ั ที่ 1 S: Search นกั เรยี นแตล่ ะกลมุ่ สบื คน้ หา
ขอ้ มลู ทเี่ กยี่ วกบั การตง้ั คำ� ถามทางสถติ ิ รวมถงึ
กระบวนการจดั การเรยี นรู้ ปญั หาและการแยกแยะประเดน็ ปญั หาทมี่ อี ยใู่ น
โรงเรยี นและชมุ ชน และการแสวงหาขอ้ มลู ตา่ ง ๆ
ส่ือและแหล่งเรยี นรู้ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั ปญั หาดว้ ยการระดมสมอง
เพ่อื ทำ� ใหเ้ กดิ การแยกแยะปญั หาตา่ ง ๆ
การวัดและประเมนิ ผล ขน้ั ท่ี 2 A: Active learning นกั เรยี นแตล่ ะกลมุ่
ลงมอื ปฏบิ ตั ิ การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ดว้ ยวธิ กี ารที่
วดั และประเมนิ ผลจาก หลากหลาย จากแหลง่ เรยี นรตู้ า่ ง ๆ ทหี่ ลากหลาย
- การตรวจชนิ้ งานของนักเรยี น ท้งั ภายในและภายนอกโรงเรยี น
- แบบสังเกตพฤติกรรมการเขา้ ขน้ั ท่ี 3 K: Knowledge Management
รว่ มกิจกรรม นกั เรยี นนำ� ขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ากการรวบรวมขอ้ มลู
- แบบประเมนิ ความสามารถใน เพ่อื ประมวลและวเิ คราะหเ์ ปน็
การแก้ปัญหาโดยใชร้ ปู แบบ องคค์ วามรแู้ ละพฒั นาใหเ้ ปน็ ระบบ เพ่อื ใหท้ กุ คนใน
SAKORN Model กลมุ่ สามารถเขา้ ถงึ ความรดู้ ว้ ยส่อื เทคโนโลยี
ขน้ั ที่ 4 O: Obtain นกั เรยี นนำ� ผลทไี่ ดร้ บั จากการ
เอาขอ้ มลู ไปวเิ คราะหแ์ ละประมวลผล ไปใชป้ ระโยชน์
โดยทำ� การเผยแพรค่ วามรสู้ เู่ พ่อื น ๆ นกั เรยี น
ครอบครวั ชมุ ชน และสงั คม โดยใชส้ ่อื ออนไลนห์ รอื
เทคโนโลยที เ่ี หมาะสม
ขน้ั ท่ี 5 R: Reporting นกั เรยี นแตล่ ะกลมุ่ การจดั
ทำ� รายงานเปน็ รปู เลม่ พรอ้ มเตรยี มนำ� เสนอผลงาน
ทางสถติ ทิ ไี่ ดจ้ ากการเกบ็ รวบรวมและประมวลผล
โดยการจดั นทิ รรศการ
ขน้ั ท่ี 6 N: Network นกั เรยี นนำ� ความรเู้ ผยแพร่
โดยการสรา้ งเครอื ขา่ ยวชิ าการโดยใหม้ ี
การแลกเปลยี่ นเรยี นรู้ และสรา้ งการรว่ มมอื
ทางวชิ าการภายในและภายนอกโรงเรยี น

กิจกรรมน�ำเขา้ สู่บทเรยี น

สรปุ ความรู้ เน้อื หา และความคดิ รวบยอด
ท่ีได้รบั จากการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ เร่อื ง สถิติ
เบ้อื งตน้ โดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model
โดยครแู ละนกั เรยี นรว่ มกนั สรปุ

แผนภาพ 1 แสดงโครงสรา้ งของขั้นตอนการจัดการเรยี นรู้ โดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model

OECJournal 73

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

1.5 จดั ทำ� แผนการจดั การเรยี นรู้ เรอื่ ง สถติ เิ บอื้ งตน้ ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 โดยในแตล่ ะแผนประกอบไปดว้ ย
หัวข้อดังนี้ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวช้ีวัด เป็นมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดท่ีสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แต่ละ
แผนการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวช้ีวัดระบุไว้ให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถตรงตามจุดประสงค์
ที่วางไว้ ซ่ึงจะเกิดข้ึนระหว่างเรียนหรือด�ำเนินกิจกรรม สาระส�ำคัญเป็นสาระส�ำคัญของสาระการเรียนรู้ แต่ละแผน
การจดั การเรยี นรู้ สาระการเรยี นรู้ กระบวนการจดั การเรยี นรู้ ไดแ้ ก่ กจิ กรรมนำ� เขา้ สบู่ ทเรยี น กจิ กรรมทชี่ ว่ ยพฒั นาผเู้ รยี น
โดยใช้รูปแบบ SAKORN Model และกิจกรรมรวบยอด/และสรุปการเรียนรู้ ส่ือและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและ
ประเมนิ ผล บันทกึ หลงั การจัดการเรยี นรู้

1.6 ให้ผู้เช่ียวชาญซึ่งเป็นครูผู้สอนคณิตศาสตร์ช้ันมัธยมศึกษาตอนต้น จ�ำนวน 5 คน ตรวจสอบคุณภาพ
ดา้ นแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยพิจารณาความถกู ตอ้ งและใหข้ อ้ เสนอแนะเกีย่ วกับการใช้ภาษา
องค์ประกอบส�ำคัญ ความสอดคล้องของเน้ือหากับจุดประสงค์ ความเหมาะสมของเวลากิจกรรมการจัดการเรียนรู้
สอื่ การสอน วิธกี ารวดั และประเมนิ ผล

1.7 นำ� แผนการจดั การเรยี นรู้ กลมุ่ สาระการเรยี นรคู้ ณติ ศาสตร์ เรอ่ื ง สถติ เิ บอื้ งตน้ โดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model
ไปใชใ้ นการจดั การเรยี นรขู้ องนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 ปกี ารศกึ ษา 2562 โรงเรยี นบา้ นปงแมล่ อบ จำ� นวน 11 คน

2. การสร้างแบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียน เรือ่ ง สถิติเบ้ืองต้น ช้ันมัธยมศึกษาปที ี่ 3 จ�ำนวน 1 ฉบบั
เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตวั เลอื ก ฉบับละ 40 ข้อ มีขัน้ ตอนในการสรา้ ง ดังน้ี

2.1 ศึกษาหลักการ ทฤษฎี เอกสาร และต�ำราท่ีเกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบ เพื่อก�ำหนด
กรอบแนวคิดและโครงสร้างของแบบทดสอบ

2.2 วิเคราะห์เน้ือหาคณิตศาสตร์ ระดับช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 เร่ือง สถิติเบื้องต้น เพ่ือน�ำข้อมูลมาสร้าง
แบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตรต์ ามรายจดุ ประสงคท์ ่ีตง้ั ไว้ จำ� นวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลอื ก ฉบับละ 40 ข้อ

2.3 นำ� แบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน เรือ่ ง สถติ เิ บอ้ื งต้นท่สี ร้างขึน้ โดยใชผ้ เู้ ช่ยี วชาญชดุ เดิมตรวจ
สอบความเท่ียงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้าง แล้วน�ำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของจุดประสงค์การเรียนรู้กับ
แบบทดสอบแตล่ ะข้อ โดยมขี นั้ ตอน ดงั น้ี

2.3.1 น�ำข้อค�ำถามแต่ละข้อในแบบทดสอบไปให้ผู้เช่ียวชาญชุดเดิม จ�ำนวน 5 คน พิจารณาว่า
แบบทดสอบแต่ละขอ้ มคี วามเทยี่ งตรงตามเนือ้ หาและโครงสรา้ งสิ่งตอ้ งการวัดหรอื ไม่

2.3.2 น�ำผลการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมาสรุป โดยการแจกแจงความถ่ีในแต่ละข้อค�ำถามว่า
มผี เู้ ช่ียวชาญเหน็ ว่าวดั ได้ตรงเนอ้ื หาและโครงสรา้ งท่ีต้องการวดั กีค่ น ไม่ตรงก่ีคน

2.3.3 ตัดสินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเท่ียงตรงเชิงโครงสร้างแต่ละข้อค�ำถาม โดยใช้เกณฑ์
การวิเคราะห์หาดัชนีความสอดคล้อง IOC โดยพิจารณาคา่ 0.50 ขึ้นไป ผลการตรวจสอบได้แบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธ์ิ
ทางการเรียน เรือ่ ง สถติ ิเบอื้ งตน้ จำ� นวน 30 ขอ้

2.4 นำ� แบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น เรอ่ื ง สถติ เิ บอ้ื งตน้ ไปทดลองใชน้ กั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3
ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านปงแม่ลอบ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาล�ำพูน เขต 1
จำ� นวน 30 คน เพ่ือหาความยากง่าย ค่าอ�ำนาจจำ� แนก และคา่ ความเชือ่ ม่นั

2.5 น�ำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติเบ้ืองต้น มาหาค่าความยากง่าย (p) และ
ค่าอำ� นาจจ�ำแนก (r) เป็นรายขอ้ แล้วเลือกเฉพาะขอ้ ท่ีมคี า่ ความยากงา่ ย ระหว่าง 0.20 - 0.80 และ ค่าอ�ำนาจจำ� แนก
ตง้ั แต่ 0.20 ข้นึ ไป ไดแ้ บบทดสอบวัดสมั ฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติเบื้องต้น จำ� นวน 30 ข้อ ซึง่ ครอบคลุมเนื้อหาและ
ตวั ช้วี ัด มคี ่า p และ r อยใู่ นช่วง p = 0.48 - 0.60, r = 0.32 - 0.80

2.6 การหาความเชื่อม่ันของข้อสอบท้ังฉบับ วิเคราะห์โดยใช้สูตร KR - 20 ซึ่งการหาค่าความเชื่อมั่นวิธีน้ี
จะใช้แบบทดสอบฉบับเดียวไปทดสอบกับผู้สอบครั้งเดียว โดยมีการให้คะแนนเป็นระบบ 0 - 1 คือ ตอบถูกได้
1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน ได้แบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ของหน่วยการเรียนรู้ เร่ือง
สถิติเบอื้ งต้น แบบปรนัย จำ� นวน 30 ข้อ ซ่ึงมคี า่ ความเชอ่ื มัน่ ของแบบทดสอบ เท่ากับ 0.82

3. สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สถิติเบ้ืองต้น โดยใช้รูปแบบ
SAKORN Model ชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 ผู้ศึกษาไดด้ ำ� เนินการ ดังนี้

74 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

3.1 ศกึ ษาเอกสารและงานวิจยั ท่ีเกย่ี วขอ้ งกบั การสรา้ งแบบสอบถามความพึงพอใจ
3.2 วเิ คราะห์เนอื้ หาทีว่ ดั เลือกรูปแบบเครอื่ งมอื ทว่ี ัด
3.3 สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สถิติเบ้ืองต้น โดยใช้
รูปแบบ SAKORN Model ชั้นมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 ซ่ึงเป็นแบบมาตราสว่ นประมาณคา่ มี 5 ระดับ คอื พึงพอใจมากทสี่ ุด
พงึ พอใจมาก พึงพอใจ ปานกลาง พงึ พอใจนอ้ ยท่สี ุด โดยมีรายการประเมิน จ�ำนวน 10 ข้อ ซง่ึ มรี ะดับคะแนน ดังน้ี

พงึ พอใจมากท่สี ดุ 5 คะแนน
พงึ พอใจมาก 4 คะแนน
พึงพอใจปานกลาง 3 คะแนน
พงึ พอใจนอ้ ย 2 คะแนน
พึงพอใจนอ้ ยทส่ี ดุ 1 คะแนน
3.4 น�ำไปให้ผู้เช่ียวชาญชุดเดิมพิจารณาตรวจสอบข้อความและภาษาที่ใช้ เพ่ือให้มีความชัดเจนและ
เหมาะสมกับงานวิจัย แล้วน�ำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจากการตรวจพบว่า มีข้อแก้ไขในเร่ืองภาษาและความชัดเจน
เล็กน้อย ผู้วิจัยจึงได้แก้ไขให้เหมาะสมตามค�ำแนะน�ำท่ีได้ รวมท้ังค�ำนวณหาค่า IOC และคัดเลือกข้อความท่ีมีค่า IOC
ตงั้ แต่ 0.50 ขนึ้ ไป ซงึ่ ไดข้ อ้ ความแบบสอบถามความพงึ พอใจของนกั เรยี น จำ� นวน 10 ขอ้ ซงึ่ มคี า่ IOC อยรู่ ะหวา่ ง 0.60 - 1
3.5 นำ� แบบสอบถามความพงึ พอใจไปใช้กับนกั เรียนที่เปน็ ประชากรตอ่ ไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศกึ ษาครง้ั นี้ ผูศ้ ึกษาด�ำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดว้ ยตนเองตามลำ� ดับขัน้ ตอน ดงั นี้
1. ท�ำการทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนเรียนกับนักเรียนซ่ึงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3
ปกี ารศกึ ษา 2562 โรงเรยี นบา้ นปงแมล่ อบ สำ� นกั งานเขตพน้ื ทกี่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษาลำ� พนู เขต 1 จำ� นวน 11 คน โดยใช้
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนเรียน เร่ือง สถิติเบื้องต้น จ�ำนวน 30 ข้อ เสร็จแล้วน�ำมาตรวจและบันทึก
คะแนน
2. ดำ� เนนิ การสอนตามแผนการจดั การเรยี นรู้ กลมุ่ สาระการเรยี นรคู้ ณติ ศาสตร์ เรอื่ ง สถติ เิ บอ้ื งตน้ โดยใชร้ ปู แบบ
SAKORN Model จ�ำนวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลา 15 วัน โดยผู้ศึกษาเป็นผู้สอนเองและในระหว่าง
การสอนได้สังเกตพฤติกรรมการเข้ารว่ มกจิ กรรมของนกั เรียน และบนั ทกึ ในแบบสงั เกตพฤตกิ รรมการเข้าร่วมกิจกรรม
3. หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้แล้วให้นักเรียนท�ำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรยี นหลังเรยี น เรอ่ื ง สถติ ิเบอ้ื งต้น จำ� นวน 30 ข้อ ชดุ เดิมอกี ครง้ั แต่สลบั ขอ้ ใหม่แลว้ ตรวจและบันทึกคะแนน
4. สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สถิติเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบ SAKORN
Model โดยใหน้ กั เรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ
การวิเคราะห์ขอ้ มูล
1. วิเคราะหป์ ระสิทธผิ ล (E.I.) ของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนร้คู ณติ ศาสตร์ เร่อื ง สถติ เิ บื้องตน้
โดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model ชั้นมัธยมศึกษาปที ่ี 3 ปกี ารศึกษา 2562
2.วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เร่ือง สถิติเบ้ืองต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ท�ำการ
วเิ คราะหจ์ ากการหาคา่ ความกา้ วหนา้ ของคะแนนทดสอบกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น โดยใชค้ า่ รอ้ ยละและคา่ เฉลยี่ รอ้ ยละ
3. วิเคราะห์ระดับแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สถิติเบื้องต้น โดยใช้
รูปแบบ SAKORN Model โดยใช้ค่าเฉลีย่ และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส�ำหรบั การแปลผลการวเิ คราะห์ โดยภาพรวม
ใชเ้ กณฑ์ดังน้ี (หนมู ้วน ร่มแกว้ และคณะ, 2549)

OECJournal 75

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ค่าเฉลี่ยก�ำหนดดงั น้ี
ค่าเฉลย่ี ตั้งแต่ 4.51 - 5.00 หมายความถึง พงึ พอใจมากทีส่ ุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 - 4.50 หมายความถงึ พึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ยตงั้ แต่ 2.51 - 3.50 หมายความถึง พงึ พอใจปานกลาง
ค่าเฉลยี่ ตั้งแต่ 1.51 - 2.50 หมายความถงึ พึงพอใจนอ้ ย
คา่ เฉลี่ยต้ังแต่ 1.00 - 1.50 หมายความถึง พงึ พอใจนอ้ ยทีส่ ดุ
สรุปผลการวิจยั
1. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการจัดกิจรรมการเรียนรู้ เร่ือง สถิติเบื้องต้นโดยใช้รูปแบบ SAKORN
Model ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 ดังตาราง 2
ตาราง 2 แสดงค่าดชั นีประสิทธผิ ล (E.I.) ของแผนการจัดกจิ รรมการเรียนรู้ เร่ือง สถิติเบ้ืองตน้ โดยใช้รปู แบบ SAKORN
Model ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 โรงเรยี นบ้านปงแมล่ อบ อ�ำเภอแมท่ า จงั หวดั ล�ำพูน

ผลคณู ของจำ� นวนนักเรยี นกับ ผลรวมของคะแนน ผลรวมคะแนนสอบหลัง ค่าดชั นปี ระสิทธิผล
คะแนนเต็ม (Total) ทดสอบกอ่ นเรยี น เรยี น (E.I.)

11 x 30 = 330 188 275 0.6126
จากตาราง 2 ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการจัดกิจรรมการเรียนรู้ เร่ือง สถิติเบ้ืองต้นโดยใช้รูปแบบ
SAKORN Model ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 มคี า่ เทา่ กบั 0.6126 ซงึ่ แสดงวา่ นกั รยี นมคี วามรเู้ พมิ่ ขนึ้ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 61.26

2. ความกา้ วหนา้ ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นของนกั เรยี นหลงั เรยี น เรอื่ ง สถติ เิ บอื้ งตน้ ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 ดงั ตาราง 3

ตาราง 3 แสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง สถิติเบ้ืองต้น ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านปงแมล่ อบ อ�ำเภอแม่ทา จงั หวดั ล�ำพนู
คนท่ี คะแนกน่อกนาเรรียทนดสอบ คะแนหนลกังาเรรียทนดสอบ
คะแนนทเี่ พ่มิ ขนึ้

1 คะแนน ร้อยละ คะแนน ร้อยละ คะแนน ร้อยละ
19 63.33 23 76.67 4 13.34
2 17 56.66 24 80.00 7 23.34
3 19 63.33 23 76.67 4 13.34
4 19 63.33 25 83.33 6 20.00
5 15 50.00 26 86.67 11 36.67
6 15 50.00 26 86.67 11 36.67
7 18 60.00 24 80.00 6 20.00
8 17 56.67 27 90.00 10 33.33
9 15 50.00 25 83.33 10 33.33
10 15 50.00 24 80.00 9 30.00
11 19 63.33 28 93.33 9 30.00
รวม 188 275 87
คา่ เฉลีย่ 17.09 56.96 25.00 83.33 7.91 26.37

76 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

จากตาราง 3 พบว่า นักเรียนที่ได้เรียนโดยใช้รูปแบบ SAKORN Model มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 70 ทุกคน โดยได้คะแนนโดยภาพรวมนักเรียนมีคะแนนจากการทดสอบก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
17.07 คดิ เปน็ รอ้ ยละ 56.96 คะแนนทดสอบหลังเรยี นมคี ะแนนเฉล่ยี เทา่ กับ 25.00 คดิ เป็นรอ้ ยละ 83.33 แสดงวา่
คา่ รอ้ ยละความกา้ วหนา้ ของคะแนนเฉลี่ยของนกั เรียนกอ่ นเรยี นและหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 26.37

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เร่ือง สถิติเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบ SAKORN Model
ชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 ดังตาราง 4
ตาราง 4 แสดงคะแนนเฉล่ยี และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐานของความพึงพอใจทม่ี ตี ่อการจัดการเรยี นรู้ เรื่อง สถิตเิ บื้องตน้

โดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model ชัน้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 โรงเรียนบ้านปงแมล่ อบ อ�ำเภอแม่ทา จงั หวดั ล�ำพูน

ที่ รายการ µ σ ระดบั ความ
พงึ พอใจ

1 การจัดการเรยี นรู้โดยใช้รปู แบบ SAKORN Model 4.22 0.64 มาก
ชว่ ยให้นกั เรยี นไดเ้ รียนรไู้ ด้อย่างรวดเร็วและง่าย

2 การจัดการเรยี นร้โู ดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model 3.89 0.83 มาก
ช่วยให้เข้าใจเนอื้ หาของบทเรียนมากขน้ึ

3 การจดั การเรียนรโู้ ดยใช้รปู แบบ SAKORN Model 4.00 0.76 มาก
ชว่ ยใหน้ ักเรยี นสามารถเรยี นรูไ้ ดด้ ้วยตนเอง

4 เนอื้ หาในการจดั การเรยี นรโู้ ดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model ชดั เจน และเขา้ ใจงา่ ย 4.11 0.58 มาก

5 แบบฝกึ ทกั ษะในการจดั การเรยี นรโู้ ดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model มคี วามเหมาะสม 3.89 0.83 มาก

6 การจัดการเรยี นรโู้ ดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model 4.11 0.58 มาก
ชว่ ยใหน้ ักเรียนมเี จตคติทด่ี ตี อ่ การเรยี นรู้

7 การจัดการเรียนรโู้ ดยใช้รปู แบบ SAKORN Model 4.22 0.64 มาก
เปน็ วิธกี ารเรียนทน่ี ่าสนใจ

8 การจดั การเรียนรูโ้ ดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model 3.83 0.78 มาก
ช่วยใหน้ ักเรียนมีความสนุกสนานกับการเรยี นรู้

9 การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SAKORN Model 4.11 0.58 มาก
เปิดโอกาสใหน้ ักเรยี นมีอิสระในการเรยี นรู้

10 การจัดการเรียนรู้โดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model 4.00 0.76 มาก
ชว่ ยสรา้ งแรงจูงใจในการเรยี นรู้

เฉล่ยี รวม 4.04 0.70 มาก
จากตาราง 4 พบวา่ ในภาพรวมนักเรยี นมีความพึงพอใจอยใู่ นระดับมาก (µ=4.04,σ =0.70) และเมอ่ื พจิ ารณา
รายการประเมินรายข้อ พบว่านักเรยี นมีความพึงพอใจอยใู่ นระดับมากทกุ รายการ

อภิปรายผล
จากผลการศึกษาในครั้งนีน้ �ำมาอภปิ รายผล ไดด้ ังน้ี
1. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบ SAKORN Model

ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6126 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มข้ึน คิดเป็นร้อยละ 61.26 ทั้งน้ีอาจเปน
ผลเนื่องมาจากการสอนที่เน้นให้นักเรียนฝึกทักษะการแก้ปัญหาใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล มุ่งให้นักเรียนเรียนรู้

OECJournal 77

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ด้วยตนเองโดยครูเป็นเพียงผู้น�ำเสนอปัญหา และเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนคิดและค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งมุ่งเน้นให้
นักเรียนเผชิญกับสถานการณ์ปัญหา วิเคราะห์สถานการณ์ วางแผน ด�ำเนินการแก้ปัญหา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เพ่ือค้นหาค�ำตอบของปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของปรารถนา เมืองพรม (2559) ได้ท�ำการวิจัยการพัฒนา
ทกั ษะการแกป้ ญั หา เร่อื ง จ�ำนวนจริง ของนกั เรียนช้นั มัธยมศึกษาปที ่ี 3 โดยใช้รปู แบบการสอนเพอื่ แก้ปญั หา (SSCS)
รว่ มกบั เทคนคิ STAD พบวา่ แผนการจดั การเรยี นรู้ โดยใชร้ ปู แบบการสอนเพอ่ื แกป้ ญั หา (SSCS) รว่ มกบั เทคนคิ STAD
มีท้ังหมด 12 แผนการจัดการเรียนรู้ จ�ำนวน 12 ช่ัวโมง ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เร่ืองจ�ำนวนจริง นักเรียน
มคี วามรเู้ พิม่ ขน้ึ คดิ เป็น รอ้ ยละ 75.84 และสอดคล้องกับงานวจิ ยั ของจิราภรณ์ อนิ ทะวงศ์ (2557) ได้ศกึ ษาการสอน
โดยใชร้ ปู แบบ เอส เอส ซี เอส เพอ่ื สง่ เสรมิ ความคดิ รวบยอดและความสามารถในการแกป้ ญั หา เรอ่ื ง ทฤษฎบี ทพที าโกรสั
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 2 โรงเรียนสองแคววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่านักเรียนมีความสามารถใน
การแก้ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 68.13 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ และ
สอดคล้องกบั งานวิจยั ของจรยิ าลักษณ์ กิตติกา (2559) ได้ทำ� การวจิ ยั การพฒั นาผลการเรยี นรูค้ ณิตศาสตร์ เรอ่ื งสมการ
และการแก้สมการชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดฝึกเสริม
ทักษะ ผลการวิจัยพบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดฝึกเสริม
ทักษะคิดเป็นร้อยละ 64.20 และสอดคล้องกับงานวิจัยของพรพิทักษ์ หมู่หัวนา (2561) ได้ท�ำการวิจัยการพัฒนาการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เร่ืองเงิน ส�ำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 4
ผลการวิจัยพบว่า คา่ ดัชชีประสทิ ธิผลของแผนการจดั การเรยี นรู้ มมีค่าเทา่ กับ 0.6419 คดิ เป็นร้อยละ 64.19

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนรูปแบบ SAKORN Model พบว่า มีค่าร้อยละความก้าวหน้า
ของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนเพิ่มข้ึนเท่ากับ 26.37 โดยคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉล่ีย
ร้อยละเท่ากับ 56.96 และ 83.33 ตามล�ำดับ ทั้งนี้เพราะการสอนโดยใช้รูปแบบ SAKORN Model เป็นการสอน
ท่ีส่งเสริมทักษะกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี ซึ่งท�ำให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงข้ึน และ
การสอนรปู แบบ SAKORN Model มคี วามเหมาะสมในการจดั กจิ กรรมการเรยี นรสู้ ำ� หรบั นกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3
ปีการศึกษา 2562 นอกจากนี้การสอนโดยใช้รูปแบบ SAKORN Model ยังเป็นการสอนท่ีเปิดโอกาสให้นักเรียน
ได้แสดงความคิดเห็น และได้อภิปรายแลกเปล่ียนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ช่วยท�ำให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถใน
การพัฒนาศักยภาพของตนเอง และมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงขึ้น ท้ังน้ีคู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณติ ศาสตร์ เรื่อง สถิติเบ้ืองต้น โดยใชร้ ูปแบบ SAKORN Model ท่ีผ้ศู กึ ษาสร้างข้ึนได้ผ่านขั้นตอนกระบวนการสรา้ ง
และพัฒนาอยา่ งมีระบบดว้ ยวิธกี ารที่เหมาะสมโดยศึกษาขัน้ ตอนวิธีการสรา้ งค่มู ือการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการ
เรียนรู้จากเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อ งเพ่ือก�ำหนดหัวเรื่องและเนื้อหาที่เหมาะสมกับนักเรียนโดยค�ำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความรู้เดิมของนักเรียนผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเน้ือหา ความสอดคล้องของ
ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้แกนกลางกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และเน้ือหาเหมาะสมกับวัยของนักเรียนจาก
ผู้เชี่ยวชาญ รวมท้ังได้หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย
ของกลุ ธดิ า ทบั ทมิ ศรี (2561) ไดท้ ำ� การวจิ ยั ผลการจดั การเรยี นรโู้ ดยใชร้ ปู แบบสบื เสาะหาความรู้ 5 ขน้ั (5Es) รว่ มกบั
เทคนคิ เค ดบั เบิล้ ยู ดี แอล (K-W-D-L) ทมี่ ตี อ่ ความสามารถในการแกป้ ญั หาและผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี นคณติ ศาสตร์
ของนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 ผลการวจิ ยั พบวา่ ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นคณติ ศาสตรข์ องนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 3 หลงั
ไดร้ บั การจดั การเรยี นรู้ โดยใชร้ ปู แบบสบื เสาะหาความรู้ 5 ขนั้ (5Es) รว่ มกบั เทคนคิ เค ดบั เบลิ้ ยู ดี แอล (K-W-D-L) สงู กวา่
เกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 และสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ สันนิสา สมัยอยู่ (2554)
ไดท้ ำ� การศกึ ษาผลการจดั การเรยี นรแู้ บบ SSCS ท่ีมตี อ่ ความสามารถใน การแกป้ ัญหาและการสือ่ สารทางคณติ ศาสตร์
ของนักเรยี นชน้ั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 2 เร่อื ง การประยกุ ตข์ องสมการเชงิ เส้นตวั แปรเดยี ว ผลการศกึ ษาพบว่า ความสามารถ
ในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ
SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ท่ีระดับ .01 และสอดคล้องกับผลงานวิจัยของประทีป
สุภพมิ ล (2554) ได้ท�ำการวิจัยผลการจดั การเรยี นร้ตู ามรปู แบบ CIPPA และรูปแบบวัฏจกั รการเรยี นรู้ 4 MAT ท่มี ีต่อ

78 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า
นกั เรยี นช้ันมธั ยมศกึ ษาปีที่ 1 กลมุ่ ทีไ่ ดร้ บั การจัดการเรยี นรตู้ ามรูปแบบ CIPPA และกลมุ่ ท่ไี ด้รับการจดั การเรียนรตู้ าม
รูปแบบวัฏจกั รการเรียนรู้ 4 MAT มีผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นทกั ษะและกระบวนการทางคณติ ศาสตร์ หลงั เรยี นสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 กลุ่มท่ีได้รับการจัดการเรียนรู้ตาม
รูปแบบ CIPPA และกลุ่มท่ีได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ไมแ่ ตกต่างกัน

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติเบื้องต้น โดยใช้
รูปแบบ SAKORN Model อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉล่ียรวม (µ) เท่ากับ 4.04 และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน (σ )
เทา่ กับ 0.70 ทง้ั นเ้ี น่ืองจากการจัดการเรียนรู้ โดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model ชว่ ยใหน้ ักเรยี นได้เรียนร้อู ยา่ งรวดเรว็
และง่าย ช่วยให้เขา้ ใจบทเรียน สามารถสรา้ งองค์ความรู้ด้วยตนเองเปดิ โอกาสใหน้ ักเรียนมอี ิสระในการเรียนรู้ มกี ารจดั
สภาพแวดล้อมที่เอ้ือต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมีการเสริมแรง รวมทั้ง การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครูผู้วิจัย
อย่างทว่ั ถึง ทำ� ให้นักเรยี นมีความเข้าใจในบทเรียนไดด้ ี ตลอดจนทำ� ใหน้ ักเรยี นสนกุ กบั การรว่ มกจิ กรรม และมีความสขุ
ในการเรียนมากข้ึน นอกจากนี้อาจจะเน่ืองมาจากนักเรียนเริ่มเปล่ียนเจตคติต่อคณิตศาสตร์ไปในเชิงบวกมากขึ้น
เริ่มสนใจและอยากเรียนมากขึ้นจากเดิม ซึ่งก็สอดคล้องกับผลด้านพฤติกรรมการแสดงออกในชั้นเรียนของนักเรียน
ซึ่งจากการสังเกตพบว่า นักเรียนร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นสนใจเรียนและร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน กล้าคิด
กล้าท�ำ และภาคภูมิใจในผลงานของตนและผลงานกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนมีก�ำลังใจและมีความมั่นใจในการเรียน และ
การร่วมกิจกรรมมากขึ้น ส่งผลให้เปลี่ยนความคิดและเจตคติจากเดิมท่ีว่าคณิตศาสตร์น้ันยากและน่าเบื่อ มาเป็น
คณิตศาสตร์ไม่ได้ยากอย่างท่ีคิดและเรียนให้สนุกได้ ไม่เครียด รู้สึกดีกับคณิตศาสตร์ รวมท้ังสอดคล้องกับงานวิจัย
ของปรารถนา เมืองพรม (2559) ได้ท�ำการวิจัยการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เร่ือง จ�ำนวนจริง ของนักเรียนชั้น
มัธยมศกึ ษาปีท่ี 3 โดยใช้รูปแบบการสอนเพอื่ แกป้ ญั หา (SSCS) ร่วมกบั เทคนิค STAD พบวา่ นักเรยี นมีความพงึ พอใจ
ต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เร่ือง จ�ำนวนจริง โดยใช้รูปแบบการสอนเพ่ือแก้ปัญหา (SSCS) ร่วมกับเทคนิค
STAD อยู่ในระดับมาก และสอดคลอ้ งกบั ผลงานวิจยั ของจิรภา นุชทองมว่ ง (2559) ได้ท�ำการวจิ ัยการพฒั นาผลสมั ฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์เร่ืองการหาพื้นที่ โดยใช้กระดานตะปูร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
ในระดับประถมศึกษาปีท่ี 4 โรงเรียนสว่างวิทยา ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับ
การจัดการเรียนการสอนตามแผน มีคะแนนเฉล่ีย 4.34 ซ่ึงอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ซัฟฟี
ยะห์สา (2559) ได้ท�ำการวิจัยผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL เรื่องค่ากลางของข้อมูลที่มีต่อผลสัมฤทธ์ิทาง
การเรยี นและความสามารถในการสอ่ื สารทางคณติ ศาสตรข์ องนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 5 ผลการวจิ ยั พบวา่ ความพงึ พอใจ
ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL เรื่องค่ากลางของข้อมูลของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากข้ึนไป
และสอดคลอ้ งกบั งานวจิ ยั ของพรพทิ กั ษ์ หมหู่ วั นา (2561) ไดท้ ำ� การวจิ ยั การพฒั นาการจดั กจิ กรรมการเรยี นรแู้ บบซปิ ปา
กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเงิน ส�ำหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจ
ต่อการเรียนดว้ ยแผนการจดั การเรยี นรู้แบบซิปปา เรอื่ ง เงนิ โดยรวมอยู่ในระดบั มากทีส่ ุด
ขอ้ เสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการน�ำผลการวจิ ยั ไปใช้
1. ครูควรน�ำรูปแบบการสอนแบบ SAKORN Model ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพ่ือให้
นกั เรียนได้รับการพฒั นาอย่างสม่�ำเสมอ
2. ในขั้นของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูล และวิธีการแก้ปัญหา ครูควรก�ำหนดให้นักเรียน
ที่ออกมาน�ำเสนอผลงานการแก้ปัญหาของกลุ่มตนเองในแต่ละคร้ังไม่ให้ซ้�ำนักเรียนคนเดิม เพ่ือเปิดโอกาสให้กับ
นักเรียนทุกคนได้แสดงความสามารถในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเก่ียวกับข้อมูลและวิธีการแก้ปัญหา และมีการน�ำ
ผลงานไปจัดนทิ รรศการในหอ้ งเรยี น เพือ่ ให้นกั เรยี นทต่ี ามไม่ทันจะได้มาศกึ ษาเพม่ิ เติม

OECJournal 79

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย

3. การจัดสาระการเรียนรู้โดยมีการล�ำดับเน้ือหาใหม่ จะท�ำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเน่ือง
เห็นความสัมพันธข์ องเนือ้ หานน้ั ๆ และสอดคลอ้ งกบั บริบทของนักเรยี น

ข้อเสนอแนะในการวจิ ยั ครัง้ ต่อไป
1. ควรศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรูโดยใช้รูปแบบ SAKORN Model ในกลุมสาระการเรียนรู
คณติ ศาสตรก บั วิธกี ารเรยี นการสอนแบบอน่ื ๆ
2. ควรศกึ ษาเปรยี บเทยี บการจดั กจิ กรรมการเรยี นรโู้ ดยใชร้ ปู แบบ SAKORN Model บรู ณาการกบั วธิ กี ารสอนอนื่
เพื่อพัฒนารปู การการสอนใหมีความหลากหลายเกิดสิ่งใหมม าพฒั นาการเรยี นการสอนใหมีประสทิ ธิผลมากขึ้น

รายการอา้ งองิ

กรมวชิ าการ. (2546). การจดั สาระการเรียนสงั คมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม กลุ่มสาระการเรียนรสู้ ังคมศกึ ษา
ศาสนา และวฒั นธรรม. กรุงเทพฯ: องคก์ ารรับส่งสนิ ค้าและพสั ดุภณั ฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. (2553). หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551. พมิ พค์ รงั้ ที่ 2.
กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์ชมุ นุมสหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย.

กุลธดิ า ทบั ทมิ ศร.ี (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รปู แบบสบื เสาะหาความรู้ 5 ข้ัน (5Es) รว่ มกับเทคนิค
เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K-W-D-L) ที่มีต่อความสามารถในการแกป้ ญั หา และผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนคณิตศาสตรข์ องนกั เรียนชน้ั มธั ยมศกึ ษา
ปีที่ 3. (วทิ ยานิพนธป์ ริญญามหาบณั ฑติ ). มหาวทิ ยาลยั บูรพา, ชลบุร.ี

จริยาลักษณ์ กิตตกิ า. (2559). การพัฒนาผลการเรยี นรคู้ ณิตศาสตร์ เรอ่ื งสมการและการแก้สมการ
ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 6 โดยใช้การจดั การเรยี นรแู้ บบรว่ มมือเทคนคิ STAD ประกอบชดุ ฝึกเสรมิ ทกั ษะ.(วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบัณฑติ ).
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั มหาสารคาม, มหาสารคาม.

จริ าภรณ์ อินทะวงศ.์ (2557). การสอนโดยใชร้ ูปแบบ เอส เอส ซี เอส เพ่ือสง่ เสริมความคิดรวบยอดและความสามารถในการแก้ปัญหา เร่อื ง
ทฤษฎีบทพที าโกรสั ของนักเรียนชน้ั มธั ยมศึกษาปีท่ี 2 โรงเรียนสองแคววิทยาคม จังหวดั เชยี งใหม่. (วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบัณฑติ ).
มหาวิทยาลยั เชียงใหม,่ เชียงใหม.่

จริ ภา นุชทองมว่ ง. (2559). การพฒั นาผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นคณิตศาสตรเ์ รอื่ งการหาพ้ืนท่ี โดยใช้กระดานตะปูรว่ มกับการจดั การเรยี นรูแ้ บบสบื
เสาะหาความรู้ (5E) ในระดับประถมศกึ ษาปที ่ี 4 โรงเรียนสวา่ งวทิ ยา. (วทิ ยานิพนธป์ ริญญามหาบณั ฑิต). มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร, นครปฐม.

ซฟั ฟี ยะหส์ าและ. (2559). ผลการจดั การเรยี นรดู้ ้วยเทคนคิ KWDL เร่อื ง คา่ กลางของข้อมลู ทม่ี ตี อ่ ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรยี นและความสามารถในการส่ือสารทางคณติ ศาสตรข์ อง นกั เรยี นช้นั มธั ยมศึกษาปที ่ี 5. (วิทยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑติ ).
มหาวทิ ยาลัยบูรพา, ชลบุร.ี

ประทปี สภุ พิมล. (2554). ผลการจัดการเรียนรตู้ ามรูปแบบ CIPPA และรูปแบบวัฏจกั รการเรยี นรู้ 4 MAT
ท่ีมตี อ่ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี น ทกั ษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนกั เรียนช้ันมัธยมศกึ ษาปีที่ 1.
(วทิ ยานิพนธป์ รญิ ญามหาบัณฑติ ). มหาวิทยาลัยราชภฏั ร�ำไพพรรณ,ี จันทบรุ .ี

ปรารถนา เมอื งพรม. (2559). การพัฒนาทกั ษะการแก้ปัญหา เรือ่ ง จ�ำนวนจริง ของนกั เรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 3
โดยใชร้ ปู แบบการสอนเพอ่ื แกป้ ญั หา (SSCS) รว่ มกบั เทคนคิ STAD. (วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญามหาบณั ฑติ ). มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั อตุ รดติ ถ,์ อตุ รดติ ถ.์

พรพทิ กั ษ์ หมหู่ วั นา. (2561). การพฒั นาการจดั กจิ กรรมการเรยี นรแู้ บบซปิ ปา กลมุ่ สาระการเรยี นรคู้ ณติ ศาสตร์ เรอ่ื ง
เงนิ สำ� หรบั นกั เรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 4. (วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญามหาบณั ฑติ ). มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั มหาสารคาม, มหาสารคาม.

โรงเรียนบา้ นปงแม่ลอบ. (2561). รายงานผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนของนักเรยี นโรงเรยี นบ้านปงแม่ลอบ
ปกี ารศึกษา 2561. (เอกสารอดั สำ� เนา)

สันนิสา สมยั อยู่. (2554). ผลการเรยี นรูแ้ บบ SSCS ทม่ี ีตอ่ ความสามารถในการแกป้ ญั หาและการสื่อสาร
ทางคณิตศาสตร์ ของนกั เรยี นชั้นประถมศึกษาปที ี่ 2 เร่ืองการประยกุ ต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว. (วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑติ ).
มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สริ ิพร ทพิ ย์คง. (2541). การแก้โจทย์ปญั หาคณติ ศาสตรใ์ นช้ันประถมศึกษา. วารสารคณิตศาสตรป์ ริมา.
38 (กรกฎาคม - สิงหาคม), 56-57.
. (2556). จำ� นวนและการดำ� เนนิ การ. วารสารคณิตศาสตร,์ 58(3), 656-658.

แสงเดอื น ทวสี ิน. (2545). จติ วิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพไ์ ทเสง็ .
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552). การจดั การเรียนรกู้ ลมุ่ สาระการเรยี นรูค้ ณติ ศาสตร์ ระดบั ประถมศึกษา. กรงุ เทพฯ:

ครุ ุสภาลาดพรา้ ว.
หนมู ว้ น รม่ แกว้ และคณะ. (2549). เอกสารประกอบการอบรมปฏบิ ตั กิ ารหลกั สตู ร. เชยี งใหม:่ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เชยี งใหม.่

80 OECJournal

CALL FOR PAPERS

ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ขอเชิญส่งบทความเพ่ือเผยแพรใ่ น

วารสารการศกึ ษาไทย

OEC Journal

เปดิ รบั รายงานการวจิ ยั

ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั
ศาสตรก์ ารศกึ ษาทกุ แขนง

รปู แบบและ ติดตามขา่ วสารได้ท่ี
วธิ ีการส่งบทความ Facebook :

OEC News สภาการศึกษา

ติดตามรายละเอยี ดได้ท่ี
Facebook : OEC News สภาการศึกษา

LINE : @oecnews
โทร 02-668-7123 ต่อ 1118, 1124

สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา

99/20 ถนนสุโขทยั เขตดุสติ กรงุ เทพฯ 10300
โทร. 0 2668 7123 ตอ 1118 /1124
โทรสาร 0 2243 0083
www.onec.go.th
Line : @oecnews
Facebook : OEC News สภาการศึกษา
Blockdit : OEC News สภาการศกึ ษา EE--bbooookk


Click to View FlipBook Version