The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Final_ณธษา_6401252 ข้อมูล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nathasa Asawatitapat, 2023-09-27 14:31:31

Final_ณธษา_6401252 ข้อมูล

Final_ณธษา_6401252 ข้อมูล

ผลิตภัณฑ์พริกแกงยกครก นางสาวณธษา อัศวฐิตาภัทร์ 6401252 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการสร้างสรรค์และผลิตโฆษณา (ADM260) วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565


สารบัญ ภูมิหลังของสินค้า............................................................................................................................................1 ต้นตำรับความอร่อยของพริกแกงแบรนด์พริกแกงยกครก...........................................................................1 แบรนด์พริกแกงยกครกในยุคปัจจุบัน..........................................................................................................2 ตลาดเป้าหมาย (Target Market)...................................................................................................................3 กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategies).....................................................................................................4 กลยุทธ์การตลาด 4Ps (Marketing Mix) ....................................................................................................4 SWOT Analysis ........................................................................................................................................5 สภาพตลาดและสภาพการแข่งขัน (Market and Competition Situation)..................................................6 1.สภาพการแข่งขันในปัจจุบัน.....................................................................................................................6 2.คู่แข่งรายใหม่ที่มีศักยภาพ .......................................................................................................................6 3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ.......................................................................................................................6 4.อำนาจการต่อรองของผู้ขาย.....................................................................................................................6 5.ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน....................................................................................................................6 วิเคราะห์คู่แข่งขัน .......................................................................................................................................7


1 ภูมิหลังของสินค้า พริกแกงยกครก ต้นตำรับความอร่อยของพริกแกงแบรนด์พริกแกงยกครก พริกแกงยกครก มีความเป็นมายาวนานกว่า 40 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 เริ่มเดิมที อาศัยอยู่ในตำบลบาง ใบไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหญิงชาวบ้านธรรมดา ๆ ชีวิตเรียบง่าย ใจดี ชอบทำบุญ เนื่องจากในสมัยก่อนมี การจัดงานตามบ้านงาน บรรดาแม่ครัวที่เป็นชาวบ้านต่างก็ช่วยกันร่วมแรงร่วมใจเข้าครัวปรุงอาหารเตรียมงาน ในเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งมีความถนัดในการประกอบอาหารอยู่แล้วจึงได้ริเริ่มทำเครื่องแกงเพื่ออำนวยความสะดวก แก่ผู้ที่ต้องการเครื่องแกงนำไปประกอบอาหารส่วนหนึ่งและต่อมาได้ยึดอาชีพนี้เป็นอาชีพหลัก เริ่มต้นผลิตด้วย การใช้วิธีการตำด้วยมือ มีสินค้า 2 ชนิด คือ เครื่องแกงกะทิ และแกงส้ม ใส่กะละมังใบเล็กๆไปขายในตลาดโดย การพายเรือจากตำบลบางใบไม้ไปในอำเภอเมือง เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ต่อมาเป็นที่รู้จักมากขึ้นเนื่องจากมี ประสบการณ์ทำกับข้าวตามบ้านงานจึงรู้ว่าคนพื้นเพในท้องถิ่นชอบรสชาติแบบไหน ถ้านำเครื่องแกงไป ประกอบอาหารจะปรุงง่าย รสชาติอร่อยกลมกล่อม บวกกับความใส่ใจและความสะอาด พิถีพิถันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบรู้ว่าต้องใช้ชนิดไหน ขนาดเท่าไหร่ อายุประมาณไหนถึงจะมีรสชาติที่ดีที่สุด ต่อมาลูกค้า มีความต้องการมากขึ้น จึงใช้เครื่องทุ่นแรงโดยใช้เครื่องบดเครื่องแกงขนาดเล็ก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความ ต้องการของลูกค้า จึงเปลี่ยนมาเป็นเครื่องบดขนาดใหญ่ ได้เพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น และได้คิดค้นสูตรน้ำพริก แกงเขียวหวานขึ้นมาอีกหนึ่งชนิด รวมเป็น 3 กะละมังต่อวัน (กะละมังละ 30 กิโลกรัม) และได้ริเริ่มทำ เครื่องแกงชนิดอื่นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ด้วยความที่มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และมีความ กลมกล่อมจึงเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น


2 แบรนด์พริกแกงยกครกในยุคปัจจุบัน หลังจากนั้นในปัจจุบันมีการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดพริกแกงยกครก เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ปัจจุบันร้านพริกแกงยกครกมีเครื่องแกงวางจำหน่ายมากกว่า 23 ชนิด ร้านตั้งอยู่ในตลาดสดเทศบาล เมืองสุราษฎร์ธานีเราก็ได้ยึดหลักแนวทางที่ดีมาเป็นแนวทางของกิจการในปัจจุบัน ใช้หลักใจเขาใจเรา เป็น ผู้หญิงธรรมดาที่แสนจะเรียบง่าย ทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงครอบครัวตั้งแต่เช้ามืดยันค่ำทุกวัน ใช้วิถีแบบชาวบ้าน และคำสอนหนึ่งที่ได้ให้ไว้ คือ “ลูกค้าที่อุดหนุนเราถือว่าเป็นผู้มีพระคุณ ถ้าเค้าไม่อุดหนุนเรา ก็คงไม่มีเราใน วันนี้ เพราะฉะนั้นเราต้องทำของดี ให้เค้าทาน ต้องซื่อสัตย์กับลูกค้า”ผู้หญิงคนหนึ่งที่คิดดีทำดี ประกอบอาชีพ สุจริต และซื่อสัตย์ต่ออาชีพของตนเอง อาชีพนี้นั้นได้หาเลี้ยงหลายชีวิตให้เติบใหญ่ ได้ให้อาชีพแก่ลูกหลานได้มี กินมีใช้มาจนถึงปัจจุบัน รสชาติฝีมือนั้นได้เป็นที่จดจำและยังมีการพูดถึงอยู่ในปัจจุบัน สิ่งที่ได้ทำนั้นกลายเป็น ตำนานไปเสียแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเหลืออยู่คือ “พริกแกงยกครก” ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น บ่งบอกถึง วัฒนธรรมอาหารชาวใต้ บ่งบอกถึงตัวตน บ่งบอกถึงวีถีชีวิต ที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเครื่องแกงรสชาติ ปักษ์ใต้แท้ๆ ดั้งเดิม จากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นตำนานที่เหลือเพียงสิ่งเดียวจากแม่สู่ลูก ในฐานะที่เป็นรุ่นลูก เรา ยังคงมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดสิ่งที่ดีๆ ตำนานของแม่ที่ยังคงเหลืออยู่ส่งต่อให้ผู้บริโภคให้รับรู้ ถึงรสชาติแท้ๆเครื่องแกงปักษ์ใต้ต่อไป


3 ตลาดเป้าหมาย (Target Market) 1.กลุ่มนักศึกษา (ช่างอายุ 18 - 23 ปี) 2.กลุ่มคนวัยทำงานหรือครอบครัวเดียว (ช่วงอายุ 31 - 40 ปี) กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์เครื่องแกงสำเร็จ “พริกแกงยกครก” ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ เข้าถึง อินเทอร์เน็ตและใช้เวลาส่วนหนึ่งอยู่กับสมาร์ตโฟน มีพฤติกรรมสนใจสื่อออนไลน์ โดยนำข้อมูลต่าง ๆ มาเลือก ตัดสินใจ ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอจะต้องมีรูปแบบที่น่าสนใจ สะดวกใช้งาน ตรงตามความต้องการเพื่อให้สอดคล้อง ต่อกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ สัดส่วน 90% สินค้าที่ขายผ่านตลาด E-Commerce ปัจจุบันมี แนวโน้มการเติบโตอย่างมาก อาทิเช่น Lazada Shopee เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีความน่าสนใจอย่างมาก ทำ ให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย พร้อมส่งเสริมการตลาดจากช่องทางออนไลน์ฟรีอีกด้วย อย่างเช่น Line Facebook เป็นต้น


4 กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategies) กลยุทธ์การตลาด 4Ps (Marketing Mix) Product พริกแกงแบบสำเร็จรูปพร้อมปรุง เป็นพริกแกงเขียวหวาน ในปัจจุบันที่มีจำหน่ายอยู่ ในการพัฒนา สินค้าของ พริกแกงยกครกสำเร็จรูป จะมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าเป็นหลัก เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ตรงตาต้องการ ของลูกค้ามากที่สุด - ปรับปรุงขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมตามการบริโภคของลูกค้า - บรรจุภัณฑ์ปิดผนึกอย่างดี ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ให้มีสีสันสดใจ ดูสะอาดและฉลากสินค้าที่มี รายละเอียดชัดเจน เชื่อถือได้ มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุ, ส่วนผสมที่ใช้, สถานที่ตั้งเป็นต้น Price กลยุทธ์การตั้งราคายังคงใช้กลยุทธ์การตั้งราคาต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อเป็นการป้องกันคู่แข่งที่จะเข้ามา ใหม่ในตลาด แต่จะมีการปรับราคาสูงขึ้นถ้าหากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น กิจการจะปรับราคาสินค้าพร้อมกับมี การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของสินค้าให้ทันสมัยทั้งบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้า พริกแกงเขียวหวาน 200 กรัม 45 บาท Place พริกแกงยกครก มีช่องทางการจัดจำหน่ายหลัก 3 ช่องทาง ประกอบด้วย 1. การขายหน้าร้าน ตลาดสดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 2. การขายผ่านทางออนไลน์ Lazada Shopee Facebook Line 3. ขายตามงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลอาหาร สินค้า OTOP เป็นต้น Promotion การส่งเสริมการขายเป็นเครื่องมือที่กิจการนำมาใช้เป็นกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้า โดยจัด กิจกรรมการตลาดและการส่งเสริมการขายต่าง ๆ การส่งเสริมการขาย - จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เช่น ซื้อ 1 กระปุกแถม 1 กระปุก เป็นต้น ซึ่งจะจัดโปรโมชั่นในช่วง เดือนที่มียอดขายลดลง - ออกบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ สำหรับเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ วันครอบครัว เป็นต้น การโฆษณา - ใช้ Point of Purchase Advertising คือ การใช้โฆษณา ณ จุดขาย เพื่อเตือนความทรงจำของลูกค้า รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการซื้อที่ไม่ได้ว่างแผนล่วงหน้า โดยการทำป้ายโฆษณาหน้าจุดที่มีการจัดเทศกาลต่าง ๆ เป็นต้น


5 การประชาสัมพันธ์ - ให้การสนับสนุนกิจกรรมภายในท้องถิ่นโดย ร่วมือหรือส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมของ ชุมชน เช่น มีการนำน้ำพริกมาร่วมช่วยกันปรุงเป็นแกงเขียวหวานเพื่อนำไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม SWOT Analysis จุดแข็ง (Strength) 1. การจำหน่ายสินค้า ผ่านแอปพลิเคชั่นช้อปปิ้งออนไลน์ 2. ได้รับประโยชน์จากสั่งซื้อร่วมกับธุรกิจเดิมของครอบครัว ต้นทุนต่ำ 3. เทอมลูกหนี้การค้า สั้น ด้วยการสั่งซื้อทางออนไลน์ จุดอ่อน ( Weakness) 1. สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก อยู่ในจำเพาะกลุ่ม พื้นที่ท้องถิ่น 2. การทำการตลาดยังไม่ชัดเจน 3. การคิดต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ทำได้ช้า 4. ปัจจัยต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ มีหลายด้าน โอกาส (Opportunity) 1. การขยายตัวของธุรกิจ สินค้าบนออนไลน์ 2. ธุรกิจ SMEs Start Up มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3. ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่งข้นไม่มากนักการตลาดยังไม่โดดเด่น ของสินค้าเพื่อการบริโภค 4. วิถีการดำเนินชีวิต Life Style ของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป 5. มุ่งเน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้ 6. สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น 7. รัฐบาลส่งเสริมธุรกิจ SMEs และเน้นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ อุปสรรค (Threat) 1. ผู้บริโภคมีทางเลือกที่มากขึ้นการเลือกซื้อมีการศึกษาเปรียบเทียบ 2. ผู้ประกอบการรายใหญ่มีความแข็งแกร่งมีการทำการตลาดสม่ำเสมอ 3. การขัดข้องทางเทคนิคในการใช้แอปพลิเคชั่น 4. เทคโนโลยีปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 5. ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 6. นโยบายภาครัฐ อาทิ การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลต่อต้นทุน


6 สภาพตลาดและสภาพการแข่งขัน (Market and Competition Situation) การศึกษาความเป็นไปได้ในการประกอบธุรกิจพริกแกงสำเร็จรูป พริกแกงยกครก จำเป็นที่ต้องทราบ สภาวะการแข่งขันของตลาดพริกแกงในปัจจุบัน เพื่อพิจารณาถึงความรุนแรงในการแข่งขันของตลาดดังกล่าว รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจพริกแกง โดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 5 ประการ ดังนี้ 1.สภาพการแข่งขันในปัจจุบัน จำนวนคู่แข่งในอุตสาหกรรมนี้มาก เนื่องจากส่วนใหญ่พัฒนามาจากผู้ผลิตพริกแกงรายเดิมที่ ปรับปรุง สูตรการผลิตแบบอุตสาหกรรมมากขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตของตลาดพริกแกงมีแนวโน้มสูงขึ้นความ แตกต่างของสินค้าหรือบริการมีไม่มากส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับรสชาติ เนื่องจากธุรกิจที่พริกแกงใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก ดังนั้นหากผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจพริกแกง อยู่ใน ปัจจุบันและไม่ประสบความสำเร็จ สามารถถอนตัวออกจากอุตสาหกรรมได้ไม่ยาก ซึ่งการถอนตัวออกจาก อุตสาหกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้ระดับของการแข่งขันในตลาดลดความรุนแรงลง 2.คู่แข่งรายใหม่ที่มีศักยภาพ ธุรกิจพริกแกงเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากนัก แต่ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดได้ยาก ดังนั้นคู่แข่งรายใหม่จึงไม่มีความกังวล ว่าผู้ประกอบการใหญ่ ๆ ในตลาดจะได้เปรียบในด้านต้นทุนนอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายใหม่ยังสามารถหาแหล่งวัตถุดิบและวิธีการผลิตที่มีคุณภาพได้ไม่ยากสามารถเข้าถึงช่องทาง จัดจำหน่ายได้ง่าย รวมทั้งผู้บริโภคมีความภักดีต่อสินค้า 3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ ผู้บริโภคพริกแกงส่วนใหญ่ซื้อพริกแกงไปเพื่อรับประทานจึงไม่มีอำนาจต่อรองที่ชัดเจนแต่ ผู้บริโภคมี ทางเลือกที่หลากหลายเนื่องจากมีผู้ผลิตอยู่ในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนให้ซื้อพริก แกงจากผู้ผลิตรายอื่นได้โดยไม่มีต้นทุนในการเปลี่ยนยี่ห้อ 4.อำนาจการต่อรองของผู้ขาย วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตพริกแกงสามารถหาได้จากหลายแหล่ง ดังนั้นอำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัย การ ผลิตจึงมีไม่มากนัก นอกจากนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มียอดขายสูงจะมีอำนาจต่อรองกับ Suppler ทั้งเรื่อง ของคุณภาพวัตถุดิบและการชำระเงินแต่สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยหรือผู้ประกอบการรายใหม่จะมีอำนาจ ต่อรองกับ Suppler น้อยกว่า 5.ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน สินค้าที่ใช้ทดแทนพริกแกงสำเร็จรูปมีอยู่จำนวนมาก เนื่องจากพริกแกงสำเร็จรูปจัดอยู่ในประเภท อาหาร แต่ถึงแม้จะมีอาหารที่ใช้ทดแทนพริกแกงได้จำนวนมาก แต่ละระดับการทดแทนของอาหารแต่ละชนิด จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าที่ทดแทน


7 วิเคราะห์คู่แข่งขัน คู่แข่งขันทางตรง (Direct Competitor) บริษัทขนาดใหญ่ ที่ขายผลิตภัณฑ์สินค้า ประเภทเครื่องแกงปรุงสำเร็จ อาทิบริษัท โกลโบ ฟู้ดส์ จำกัด (ตราสินค้า โลโบ) บริษัท เทพผงพรมะพร้าว จำกัด (ตราสินค้า แม่ พลอย) หจก.สุเพ็ญน้ำพริกแกง (ตราสินค้า แม่สุเพ็ญ) บริษัท กนกวรรณ ฟู้ด โปรดักส์ (ตรา สินค้า พริกแกงกนกวรรณ) เป็นต้น บริษัทดังกล่าวมี ประสบการณ์ในธุรกิจมากอย่างยาวนาน สินค้าเป็นที่รู้จักของตลาดในวงกว้าง สินค้ามีวางขายใน ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และร้านค้าภายนอก มีการสืบค้น ซื้อสินค้าได้ง่าย แต่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่คลายคลึงกัน คู่แข่งขันทางอ้อม (Indirect Competitor) เครื่องแกงท้องถิ่นของไทย คือสิ่งที่ถ่ายทอดสืบต่อมายาวนาน การคัดสรรวัตถุดิบการปรุงอาหาร ถูก ถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน เห็นได้จากเครื่องปรุงที่มีการผสมผสานของสมุนไพรทั้งสดและแห้ง ที่มีขายตามท้องถิ่น ให้ทั้งรสชาติเฉพาะ กลมกล่อม กลิ่นหอม เป็นภูมิปัญญาวัฒนธรรม สิ่งสำคัญที่สุดของ "เครื่องแกง' คือ การ กำหนดรสชาติของอาหาร ไม่ว่าวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารจะมีคุณภาพมากเพียงใด แต่หากขาดเครื่องแกง ที่ดี มีคุณภาพก็จะทำให้รสชาติของอาหารด้อยลง ดังนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงมีพื้นฐานความรู้ในการทำอาหาร หรือทำเครื่องแกงได้เองภายในครัวเรือน


Click to View FlipBook Version