ประวัติกีฬาฟุตซอล FUTSAL
คำ นำ การจัดทำ หนังสือ E-book เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการออกกำ ลัง กายเพื่อสุขภาพรหัสวิชา 30000-1608 ของระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) โดยทำ หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกีฬา ฟุตซอล ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เรียน ในปีการศึกษา 2566 ภาคเรียนที่ 2 ในหนังสือเล่มนี้ประกอบไป ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬาฟุตซอลอย่างครบถ้วน ทางคณะผู้จัดทำ หวังว่าเนื้อหานี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้า มาชมผลงาน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ
สารบัญ เรื่อง หน้า คำ นำ สารบัญ ความเป็นมาของฟุตซอล ประวัติฟุตซอลในไทย สนามฟุตซอล วิธีการเล่น กติกา ประโยชน์ของการเล่นกีฬาฟุตซอล การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬาฟุตซอล การนับคะแนน คณะผู้จัดทำ ก ข 1 3 4 5 6 7 8 9 10
ความเป็นมาของฟุตซอล คำ ว่า ฟุตซอล มีรากศัพท์มาจากภาษาสเปนหรือ โปรตุเกส ที่ว่า FUTbol หรือ FUTebolและภาษาสเปน หรือฝรั่งเศสเรียกคำ ว่า Indoor เป็นคำ ว่า SALa เมื่อนำ มา รวมกันจึงกลายเป็นคำ ว่า ฟุตซอล กีฬาฟุตซอลถือกำ เนิดขึ้นในประเทศแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1854เนื่องจากเมื่อย่างเข้าหน้าหนาวหิมะตกคลุมทั่ว บริเวณทำ ให้นักกีฬาไม่สามารถเล่นกีฬาฟุตบอลกลางแจ้ง ได้ จึงหันมาเล่นฟุตบอลในร่มโดยใช้โรงยิมบาสเกตบอล เป็นสนามแข่ง ทำ ให้ช่วงนั้นเรียกกีฬาฟุตซอลว่า Indoor soccer (อินดอร์ซอคเกอร์) หรือ five a side soccer
ค.ศ.1930 ฮวน คาร์ลอส เซอเรียนี จากเมืองมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัยได้นำ กีฬาฟุตซอลไปใช้ในสมาคมYMCA (Young Man ' s Christian Association) โดยใช้สนาม บาสเกตบอลในการเล่นทั้งภายในและภายนอกอาคารทำ ให้กีฬา Indoor soccer ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ค.ศ.1932 โรเจอร์ เกรน ได้บัญญัติกฎเพื่อใช้เป็นมาตรฐาน ควบคุมกีฬาชนิดนี้ และใช้มาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นไม่นาน กีฬาชนิดนี้ก็แพร่หลายไปทั่วโลกเป็นที่นิยมทั่วทั้งทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และแพร่กระจายไปทั่วโลก ค.ศ.1965 มีการจัดการแข่งขันฟุตซอลนานาชาติเป็นครั้งแรก และประเทศปารากวัยก็เป็นทีมชนะเลิศต่อจากนั้นก็มีการจัด แข่งขันในระดับนานาชาติมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งปี ค.ศ.1982 มี การจัดฟุตซอลชิงแชมป์โลกขึ้นที่ประเทศบราซิลและเจ้าภาพเองก็ เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะไปจึงมีการจัดการแข่งขันอย่างไม่เป็น ทางการอีก 2 ครั้ง ในปี ค.ศ.1985 และ ค.ศ.1988 ที่มีประเทศ สเปนและออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพจนกระทั่งปี ค.ศ. 1989 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ได้เข้ามาดูแลจัดการ แข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกอย่างเป็นทางการ
ประวัติฟุตซอลในไทย กีฬาฟุตซอลได้เริ่มต้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2540 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันจัดการแข่งขัน ฟุตซอล 5 คน ครั้งแรกในวันที่ 12-21 กรกฎาคม ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 ทีมสโมสรที่ได้เข้าร่วมการ แข่งขันทีมที่ชนะเลิศคือการท่าเรือแห่งประเทศไทยด้วยรูป แบบการเล่นที่คล้ายกันกับฟุตบอลและกติกาที่เข้าใจง่ายไม่ ซับซ้อนและยังเล่นได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย
สนามฟุตซอล กลาง สนามมีวงกลมแสดงเขตห้ามเข้าตอนเขี่ยลูกเริ่ม เล่นขนาดรัศมี 3 เมตร แบ่ง เป็น 2 ฝั่งแต่ละฝั่งจะมีกรอบ เขตโทษรัศมี 6 เมตรจากเส้นกรอบประตู จุดโทษ จะอยู่บน เส้น ระยะ 6 เมตรจากกรอบประตู จุดโทษที่ 2 ระยะ 10 เมตรจากกรอบประตู เขตเปลี่ยนตัวห่างจากเส้นกึ่งกลางสนาม 5 เมตร ยาว 5 เมตร (ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตัวเข้าออกบริเวณนี้ เท่านั้น) ประตูยาว 3 เมตร สูง 2 เมตร
วิธีการเล่น 1.สร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตซอลไม่ว่าจะเล่นกีฬาอะไรก็ตาม จำ เป็นต้องสร้างความคุ้นเคยกับอุปกรณ์นั้นๆ ให้มากที่สุด เพราะเมื่อใช้งานจริงจะได้ใช้ได้อย่างถนัดและคล่องแคล่ว สำ หรับกีฬาฟุตซอล การสร้างความคุ้นเคยกับบอลช่วยให้ผู้ เล่นครอบครองบอลได้ง่ายขึ้น รวมถึง สามารถควบคุมบอลไป ในทิศทางต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ขึ้นอีกด้วย 2.การหยุดหรือบังคับลูกฟุตซอล การหยุดบอลเป็นทักษะการเล่นฟุตซอลอย่างหนึ่ง ที่ต้องหยุด ลูกบอลที่เพื่อนในทีมส่งมาให้ หรือลูกบอลที่แย่งมาจากฝ่าย ตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นลูกเรียด ลูกโด่ง หรือลูกที่ลอยอยู่กลาง อากาศ โดยใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายในการหยุดบอล เช่น การใช้ฝ่าเท้า การใช้เท้าด้านใน การใช้ข้างเท้าด้านนอก การ ใช้เข่าหรือหน้าขา การใช้หลังเท้า และการใช้หน้าอก เป็นต้น 3.การทรงตัวการทรงตัวหรือการสร้างบาลานซ์ เป็นการควบคุม ร่างกายให้ตั้งตรงได้ตามแรงโน้มถ่วงของโลก โดยไม่ล้มหรือ โซเซได้ง่าย เป็นหนึ่งในทักษะที่ไม่ว่ากีฬาไหนก็จำ เป็นต้อง ใช้ เพราะมีส่วนช่วยให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึง ช่วยกำ หนดทิศทางในการเคลื่อนไหวได้ง่ายและ รวดเร็ว
การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ทางซ้าย และทางขวา การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย หรือไปทางขวา ถือเป็นทักษะที่มีความจำ เป็น เพราะการเล่นฟุตซอลจำ เป็น ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการฝึกเคลื่อนไหวไม่ว่าจะ ในทิศทางใดก็ตามให้คล่องตัวอยู่เสมอ มีส่วนช่วยให้เล่นได้ ดีขึ้น โดยมีวิธีการฝึกดังนี้ ตามองลูกบอลอยู่เสมอ วางเท้าข้าง ที่ถนัดไปยังทิศทางที่จะเคลื่อนไหวก่อน แล้วค่อยเคลื่อนเท้า อีกข้างตามไปโดยเร็ว ถ่ายเทน้ำ หนักไปยังทิศทางที่จะเคลื่อน ตัวไป เทคนิคสำ คัญที่ช่วยให้เคลื่อนตัวเร็วขึ้น คือการใช้ ปลายเท้าสัมผัสกับพื้นอยู่เสมอ
กติกาของกีฬาฟุตซอล 1. สนาม (The pitch)) กลางสนามมีวงกลมแสดงเขตห้ามเข้าตอนเขี่ยลูกเริ่มเล่น ขนาดรัศมี 3 เมตร แบ่ง เป็น 2 ฝั่งแต่ละฝั่งจะมีกรอบเขต โทษรัศมี 6 เมตรจากเส้นกรอบประตู จุดโทษ จะอยู่บนเส้น ระยะ 6 เมตรจากกรอบประตู จุดโทษที่ 2 ระยะ 10 เมตรจาก กรอบประตู เขตเปลี่ยนตัวห่างจากเส้นกึ่งกลางสนาม 5 เมตร ยาว 5 เมตร (ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตัวเข้าออกบริเวณนี้เท่านั้น) ประตูยาว 3 เมตร สูง 2 เมตร 2. ลูกบอล (The ball) 3. จำ นวนผู้เล่น (The number of players)สามารถ เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ไม่จำ กัดจำ นวนผู้เล่นที่ เปลี่ยนออกไป แล้ว เปลี่ยนกลับเข้ามาเล่นได้ การเปลี่ยนตัวสามารถทำ ได้ ตลอดเวลา (ไม่ว่าบอลจะตายหรือไม่ก็ตาม) โดยขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของผู้ ตัดสิน (ผู้ติดสินอนุญาตก็เปลี่ยนเข้าได้) และ ต้องเปลี่ยนตัวเข้าออกตรง บริเวณเขตเปลี่ยนตัว 5 เมตร เท่านั้น (หากทำ ผิดโดนใบเหลืองเลยนะครับ)และ ต้องให้ผู้ เล่นที่จะเปลี่ยนออกออกนอกสนามก่อน ผู้เล่นที่จะเปลี่ยน เข้าจึงจะเข้าไปได้ การเริ่มเล่นต้องมีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน ถ้า เล่นๆ ไปแล้วมีผู้เล่นโดยไล่ออกจนฝ่ายนึงเหลือผู้เล่นแค่ 2 คน (ประตู 1 ผู้เล่น 1) ให้ยกเลิกการแข่งขัน
4. อุปกรณ์ผู้เล่น (The players ' equipment)เสื้อยืด หรือ เสื้อเชิ้ต กางเกงขาสั้น (ยกเว้นผู้รักษาประตูใส่ขายาวได้) ถุงเท้ายาว สนับแข้ง รองเท้าผู้รักษา ประตูต้องใส่ชุดที่มีสี ต่างจากผู้เล่นคนอื่น และผู้ตัดสิน ถ้าผู้เล่น เปลี่ยนเป็นผู้ รักษาประตู ให้เปลี่ยนใส่เสื้อผู้รักษาประตูที่ติดเบอร์ตนเอง 7. ระยะเวลาการแข่งขัน (The duration of the match) แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที พักครึ่งเวลาไม่เกิน 15 นาทีสามารถขอเวลานอกได้ครึ่งละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที การขอเวลานอกกระทำ ได้ตลอดเวลา แต่จะให้ได้เมื่อทีมตน ได้ส่งลูกเข้าเล่น เมื่อได้เวลานอกผู้เล่นจะ ต้องอยู่ในสนาม ส่วนเจ้าหน้าที่ทีมก็ต้องไม่เข้ามาในสนาม (สอนกันตรงขอบ สนาม) ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวต้องรอให้จบการขอเวลานอก ก่อน จึงจะเปลี่ยนตัวได้ เวลานอกที่ไม่ใช้ในครึ่งแรก ไม่ สามารถนำ ไปใช้ในครึ่งหลังได้ ถ้ามีต่อเวลาพิเศษจะไม่มี การขอเวลานอก 8. การเริ่มเล่น และการเริ่มเล่นใหม่ (The start and restart of play) ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนตนเอง ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอล ไม่น้อยกว่า 3 เมตร (อยู่นอกวงกลมกลางสนาม) ลูกบอลต้องเคลื่อนที่ไป ข้าง หน้า 9. การทำ ประตู (The method of scoring) ผู้รักษาประตู ไม่สามารถทำ ประตูได้จากการขว้างลูกจากประตู
10. การกระทำ ผิดกฎกติกา และมารยาท (Fouls and misconduct)การทำ ฟาวล์มี 2 ลักษณะ คือการฟาวล์ที่โดนโทษ โดยตรง (Direct Free KickCyber Monday FRYE Women ' s Harness 12R Boot) กับโดนโทษโดยอ้อม (Indirect Free Kick) โทษโดยตรง การฟาวล์ที่โดนโทษโดยตรงจะนับรวมใน ฟาวล์รวมด้วย ห้ามเตะ (Kick) ขัดขา (Trips) กระโดดเข้าใส่ (Jump) ชน (Charges) (รวมถึงชนด้วยใหล่ด้วย หลายๆ คน เข้าใจผิดว่าการชนด้วยใหล่คือการเบียด) ทำ ร้าย (Strikes) หรือ ผลัก (Pushes) คู่ต่อสู้ หากการกระทำ ดังกล่าวผู้ตัดสินพิจารณา ว่ากระทำ โดยขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองยั้งคิด หรือใช้กำ ลัง เกินกว่าเหตุ จะโดนโทษโดยตรง ห้ามดึง (Holds) ถ่มน้ำ ลาย (Spits) หรือสไลด์ (Slides) ใส่คู่ต่อสู้ หรือเล่นลูกด้วยมือโดย เจตนา การกระทำ ดังกล่าวจะโดนลูกโทษโดยตรงทันที โทษโดย อ้อม ผู้รักษาประตูไม่สามารถรับลูกที่ผู้เล่นฝ่าย เดียวกันเจตนาเตะส่งมาให้ได้ ผู้รักษาประตูครองบอล (ไม่ว่าด้วย มือหรือเท้า) ในเขตโทษตนเองเกินกว่า 4 วินาที หลังจากขว้าง ลูกจากประตูแล้ว ผู้รักษาประตูไม่สามารถรับลูก (ด้วยมือ) ที่ส่ง คืนจากผู้เล่น (ด้วยหัว อก ต้นขา ฯลฯ) หากลูกยังไม่ผ่านเส้น แบ่งครึ่งสนาม หรือถูกสัมผัสโดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเล่นใน ลักษณะที่เป็นอันตรายเจตนา กีดขวางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม (Obstruction) ปัองกันผู้รักษาประตูไม่ให้ ขว้างลูก ใบเหลือง ใบแดง คล้ายฟุตบอล (ไปดูเอง) ผู้เล่นที่โดนใบแดงจะ ไม่ สามารถกลับลงมาเล่นได้อีก และไม่อนุญาตให้อยู่บนม้านั่งสำ รอง หรือบริเวณสนาม (ต้องออกนอกสถานที่แข่งไปเลย)
11. การเตะโทษ (Free kicks) ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่าง จากลูกบอลไม่น้อย กว่า 5 เมตร ถ้าฝ่ายที่ได้เตะโทษใช้เวลา เกินกว่า 4 วินาที ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม สัญญาณของผู้ตัดสิน (ดูภาพด้านล่าง) โทษโดยตรงผู้ตัดสิน จะยกแขนในแนวนอนชี้ไปในทิศทางของทีมที่กระทำ ผิด และนับเป็นการกระทำ ผิดรวม โทษโดยอ้อม ผู้ตัดสินจะยก แขนชูขึ้นเหนือศีรษะจนกว่าการเตะจะเกิดขึ้น 12. การฟาวล์รวม (Accumulated fouls)ฟุตซอลจะมีกฎการ ฟาวล์พิเศษคือการฟาวล์ รวม โดยจะอนุญาตให้ฟาวล์ได้ 5 ครั้ง (ที่เป็นลูกโทษโดยตรง) ใน 5 ครั้งแรกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถตั้งกำ แพงได้ โดยจะ อยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร และผู้เตะสามารถทำ ประตูได้ โดยตรง ส่วนการทำ ฟาวล์รวมครั้งที่ 6 เป็นต้นไป ผู้เล่นฝ่าย ตรงข้ามห้ามตั้ง กำ แพง ผู้เตะต้องแสดงตัว (ว่าจะเป็นผู้เตะ ไม่ให้หลอก) ผู้รักษาประตู ต้องอยู่ในเขตโทษ และอยู่ห่าง จากลูกบอล 5 เมตร ผู้เล่นคนอื่นๆ อยู่หลังแนวลูกบอล และ ห่างจากลูกบอล 5 เมตร ผู้เตะต้องยิงประตูเท่านั้น ห้ามส่งให้ เพื่อน โดยหากการทำ ฟาวล์รวมนี้เกิดขึ้นระหว่างเส้นประตูของ ฝ่ายที่ถูกทำ ฟาวล์ และแนวจุดโทษที่ 2 ของฝ่ายที่ทำ ฟาวล์ ให้ตั้งเตะที่จุดโทษที่ 2 (10 เมตรจากเส้นประตู) แต่หากทำ ฟาวล์ระหว่าง แนวจุดโทษที่ 2 ของฝ่ายที่ทำ ฟาวล์ และเส้น ประตูของฝ่ายที่ทำ ฟาวล์ ให้เลือกได้ว่าจะตั้งเตะที่จุดเกิดเหตุ หรือที่จุดโทษที่ 2
15. ลูกจุดโทษ (The penalty kick) ผู้รักษาประตูต้องอยู่ บนเส้น ประตู ผู้เล่นคนอื่นต้องอยู่นอกเขตโทษ และห่างจากลูกบอล 5 เมตร 16. เตะเข้าเล่น (The kick-in) ลูกบอลต้องวางนิ่งบนเส้น ข้าง ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร ผู้เตะ เข้าเล่นต้องเล่นภาย ใน 4 วินาที
ประโยชน์ของการเล่นกีฬาฟุตซอล มีไหวพริบที่ดี กีฬาฟุตซอลเป็นกีฬาที่เล่นกันเป็นทีม แม้ว่า จะมีการวางแผนวิธีการเล่นฟุตซอลมาก่อนแล้ว แต่เมื่อเจอทีม ฝั่งตรงข้าม แผนการเล่นที่วางไว้อาจไม่สามารถทำ ประตูให้กับ ทีมได้ ดังนั้น การเล่นฟุตซอลจึงช่วยให้มีไหวพริบตลอดเวลา รู้ว่าควรแก้เกมอย่างไร และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ กีฬาฟุตซอลมีส่วนช่วยฝึกให้ผู้เล่นมี ไหวพริบที่ดี แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และตัดสินใจได้อย่าง รวดเร็วมากขึ้น ระบบต่างๆ ภายในร่างกายดีขึ้น การเล่นฟุต ซอลช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวหลายส่วนจึงมีส่วนช่วยสร้าง ภูมิต้านทานให้กับร่างกายและเสริมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น นอกจากนี้ การเล่นฟุตซอลยังช่วยให้ระบบต่างๆ ภายใน ร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจ ระบบไหลเวียน เลือด และระบบขับถ่าย เป็นต้น ทำ งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ได้รับโอกาสต่างๆ นอกจากช่วย ให้มีไหวพริบที่ดีและระบบต่างๆ ภายในร่างกายแข็งแรงขึ้น แล้ว การเล่นฟุตซอลยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเป็นตัวแทน ของจังหวัด หรืออาจเป็นตัวแทนระดับประเทศ จนสามารถ เล่นเป็นอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเองได้เลยทีเดียว
วิธีการดูแลรักษาลูกฟุตซอล 1.ก่อนที่จะนำ มาเล่นนั้นควรนำ มาทำ ความสะอาดก่อนและ จะต้องเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อยจัดวางให้อยู่ใน ตำ แหน่งที่เหมาะสมเพื่อที่ครั้งต่อไปจะได้นำ มาใชงานได้ อย่างสะดวกนั่นเอง 2. ควรทำ ความสะอาดหลังจากที่ใช้งานเสร็จแล้วและนำ ไป เก็บให้เรียบร้อย 3. หากลูกฟุตบอลเกิดความเสียหายให้รีบนำ มาซ่อมแซม ทันทีหรืออาจจะเปลี่ยนใหม่ตามสภาพก็ได้ หากชำ รุดเสีย หายแล้วปล่อยทิ้งไว้นานๆอาจจะทำ ให้เสียหายมากกว่าเดิม ก็ได้ เพราะฉะนั้นแล้วหากชำ รุดแล้วให้รีบซ่อมทันทีเพื่อจะ ได้นำ มาใช้งานได้นานขึ้นเป็นการประหยัดอีกทางหนึ่ง 4. ควรที่จะมีชั้นหรือตู้เก็บอุปกรณ์โดยเฉพาะเพื่อการหยิบ จับที่สะดวกและง่ายนั่นเอง หรืออาจจะมีถุงผ้าไว้สำ หรับใส่ ลูกบอลโดยเฉพาะด้วยก็ได้เพื่อความสะดวกในการเก็บ รักษาที่ดี 5.ควรใช้เข็มสำ หรับสูบลมหรือปล่อยลมของลูกฟุตบอล เท่านั้นหากใช้เข็มชนิดอื่นจะทำ ให้ลูำ ฟุตบอลชำ รุดเสียหาย ได้ 6. ไม่ควรวางลูกฟุตบอลไว้กลางแดดเด็ดขาดเพราะจะทำ ให้ ฟุตบอลเสียหายเร็วกว่าเวลาอันควร
7. หากลูกฟุตบอลแฟ้บไม่ควรที่จะสูบลมให้แน่นจนเกินไป เพราะการสูบลมที่แน่นจนเกินไปนั้นจะทำ ให้ลูกบอลปริหรือ ฉีกขาดได้
การนับประตู (Goal Scored) จะถือว่าได้ประตูเมื่อลูกบอลทั้ง ลูกได้ผ่านเส้นประตูระหว่างเสาประตูและภายใต้คานประตู ข้อยกเว้น ผู้เล่นฝ่ายรุกรวมทั้งผู้รักษาประตูไม่สามารถทำ ประตูได้โดยตรงจากการใช้มือขว้าง เลี้ยง หรือเจตนาใช้มือ และแขนผลักดันลูกบอล ทีมชนะ (Winning Team) ทีมที่ทำ ประตูได้มากกว่าใน ระหว่างการแข่งขันจะเป็นฝ่าย " ชนะ " (Winning) ถ้าทั้งสอง ทีมทำ ประตูได้เท่ากันหรือทำ ประตูกันไม่ได้ การแข่งขันครั้งนี้ จะถือว่า " เสมอกัน " (Draw) ระเบียบการแข่งขัน (Competition Rules) กรณีที่การ แข่งขันจบลงโดยผลการแข่งขันเสมอกัน ระเบียบการแข่งขัน อาจจะกำ หนด รายละเอียดเกี่ยวกับการต่อเวลาพิเศษหรือการ ดำ เนินการอื่น ๆ เพื่อหาทีมที่ชนะในการแข่งขัน การนับประตู
คณะผู้จัดทำ นางสาวณัฏฐ์วรินท์ แพนศรี สชฟ.1/3 รหัสประจำ ตัว 048 นายวรชน เผ่าม่วง สชฟ.1/3 รหัสประจำ ตัว 058 นายอัษฎาวุธ เสล็ม สชฟ.1/3 รหัสประจำ ตัว 066