The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by zar8910, 2022-05-25 03:03:13

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน1

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน1

การส่งเสริมศักยภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
สู่วิสาหกิจชุมชนแบบครบวงจร

ไม้ไผ่

คือวัตถุดิบหลักในการสร้างงานหัต
กรรมจักสาน ไม้ไผ่ และไม้ไผ่ที่ใช้เพื่อ
การสร้างเป็นงานหัตถกรรมนั้นมีด้วย
กัน หลายชนิด เช่น ตระกร้า ชะลอม พัด
ผนัง กระเป๋า ด้วยเพราะคุณสมบัติของ
ไผ่แต่ละประเภท อาจจะมี ความเหมาะ
สมกับงานหัตถกรรมแตกต่างกัน
จึงต้องเลือกใช้ชนิดไผ่ที่มีเหมาะสมใน
การนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น
ไม้ไผ่ที่นิยมใช้ทำเครื่องจักสานมากที่สุด
คือ ไผ่สีสุก ซึ่งเป็นไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่ตามพื้น
ราบมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ไม้ไผ่ที่นำมาใช้สำหรับการทำงาน
หัตถกรรมจักสาน จะต้อง เป็นไผ่ที่
มีอายุไม่น้อยกว่า 3 ปี ต้องเลือกพันธุ์ไผ่
ที่สามารถ ยืดหยุ่นได้ดี ลำต้นมีความ
ยาว เมื่อเวลานำมาเหลาจะได้เส้นตอกที่
ยาวเหมาะกับงานจักสาน ไผ่ป่า เป็น
ไม้ไผ่ที่มีการเจริญเติบโตได้อย่าง
รวดเร็ว มีประโยชน์ในการใช้งานค่อน
ข้างมาก โดยในส่วนของลำสามารถใช้
ทำบันได สร้างผนังบ้าน ทำฟากปูพื้น
รั้ว แพลูกบวบ หรือปลูกเป็นแนวกันลม
และนิยมนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
เช่นเก้าอี้ โต๊ะ แคร่

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนในลักษณะ
เชิงพื้นที่ (Project based) การส่งเสริมศักยภาพ

การปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่สู่วิสาหกิจ
ชุมชนแบบครบวงจร

เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ชุมชนได้รู้จักการใช้
ไม้ไผ่ที่มีอยู่ในทั่วไปในท้องที่มาต่อยอดเป็น
ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ชะลอม ตะกร้า
ไม้กวาด เฟอร์นิเจอร์ อีกทั้งมีการอบรมการเจาะน้ำ
เยื่อไผ่เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิต
ประจำวันเช่น สบู่อาบน้ำ  ครีมทาผิว น้ำยาล้างจาน
และเจลล้างมือ ภายใต้แบรนด์ Numpai by ทุ่งเกร็ง
 โดยแบ่งเป็นกิจกรรมดังนี้

กิจกรรม การจักรสานไม้ไผ่
          กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้สูงอายุ จาก อำเภอแว้ง
และอำเภอระแงะ  ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ การจักรสาน

ชะลอม ตะกร้า จากไม้ไผ่

ขั้นตอนการผลิต
งานจักสานไม้ไผ่

1. เตรียมไม้ไผ่เพื่อนำมาเหลา
เป็นเส้น

2. เหลาไม้ไผ่ให้เป็นเส้นตอก
โดยมีตามความยาวที่ต้องการ

3. นำเส้นตอกไปต้มเพื่อ
เป็นการฆ่าเชื้อรา

4.  นำเส้นตอกไปตากให้แห้ง
5.  นำเส้นตอกไปสานเป็น
ผลิตภัณฑ์ตามต้องการ

กิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำเยื่อไผ่ 

          กลุ่มเป้าหมาย คือ ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งเกร็ง
อำเภอระแงะ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ สบู่อาบน้ำ  ครีมทาผิว
น้ำยาล้างจาน และเจลล้างมือ ภายใต้แบรนด์ Numpai
by ทุ่งเกร็ง

การเจาะน้ำไผ่เพื่อแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะน้ำไผ่
ได้แก่    

1.สว่านมือ
2.สายยาง
3.ขวดพลาสติก
4.แอลกอฮอล์

วิธีการเจาะน้ำไผ่

1. เลือกต้นไผ่ที่มีอายุ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้น
ไป ที่เมื่อจับลำต้นแล้วลำต้นให้ความ
รู้สึกเย็น

2.เจาะสว่านเข้ากับสายยางจะไม่เจาะ
ลงไปที่หัวขวดพลาสติกโดยตรง เพราะ
จะทำให้น้ำฝนซึมลงมาในลำไผ่ได้

3.เจาะรูที่ต้นไผ่โดยจะเจาะใต้ข้อทะลุ
ปล้องในลักษณะเฉียงขึ้นไป 45 องศา
เพื่อให้การไหลของน้ำไผ่ค่อยๆ หยดลง
มาก็ไม่ซึมตามปากท่อ

4.สอดสายยางเข้าไปโดยปลายด้าน
หนึ่งใส่เข้าไปในรูที่เจาะเอาไว้ ปลายอีก
ข้างติดอยู่กับแกลลอนน้ำสำหรับรองน้ำ
ไผ่

5.หลังจากเจาะแล้วทิ้งไว้ประมาณ
6 – 7 ชั่วโมงเพื่อให้น้ำเยื่อไผ่ไหลลงสู่
ภาชนะที่รองไว้

6. นำน้ำไผ่ที่ได้ไปผ่านกระบวนการ
นึ่งฆ่าเชื้อและเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่
เกิน 8 องศาเพื่อรักษาคุณภาพของน้ำ
ไผ่

กิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ในรูป
แบบอุตสากรรมเพื่อเข้าสู่วิสาหกิจชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย คือ  กลุ่มเฟอร์นิเจอร์บ้านกรือซอ อำเภอ
แว้ง จังหวัดนราธิวาส ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ โต๊ะ เก้าอี้ ศาลา

ขั้นตอนในการเตรียม
ไม้ไผ่เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์

1.เลือกไผ่ที่เจริญเติบโต
เต็มที่ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
       2. ควรเลือกตัดไม้ไผ่ใน
ฤดูแล้ง จะทำให้ทนทานต่อ
แมลงได้มากกว่าฤดูกาลอื่ น

3.นำไผ่ที่ได้ไปประกอบ
เป็นเฟอร์นิเจอร์ตามทีต้อการ
  4.ทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ที่
เฟอร์นิเจอร์และนำไปตาก
แดด


Click to View FlipBook Version